ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

สหรัฐจ่อเทยาแรงกระตุ้นเศรษฐกิจ เอเชียต้องพร้อมรับมือพายุทุนลูกสอง

เป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันอย่างไม่กะพริบกับความเคลื่อนไหวของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระลอกสำคัญหลังจากนี้ ภายหลังจากที่ เบน เบอร์แนนคี ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐได้ส่งสัญญาณว่า “กระตุ้นแน่” แต่ทว่าจะเป็นไปในรูปแบบใดนั้นจำเป็นที่จะต้องผ่านการหารือของเจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายของเฟดอีกครั้งในเดือนนี้

 

ถือว่าไม่ใช่เรื่องใหม่นัก เพราะในช่วงที่ผ่านมาการคาดการณ์ว่าเฟดจะใช้มาตรการกระตุ้นแบบผ่อนปรนเชิงปริมาณ หรือ Quantive Easing รอบ 3 นั้นได้มีการพูดถึงกันมาเป็นระยะๆ

 

ดังในการประชุมของผู้กำหนดนโยบายเฟดครั้งล่าสุดเมื่อต้นเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ได้มีการเปิดเผยรายละเอียดการประชุมว่าบรรดาเจ้าหน้าที่หัวกะทิของเฟดเองได้ถกเถียงกันอย่างหนักหน่วงถึงมาตรการกระตุ้นแบบคิวอีดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ก็มีการพูดถึงผลกระทบที่อาจจะตามมา

 

ดังนั้น ในที่ประชุมจึงเสนอทางเลือกอื่นๆ เพื่อหลีกเลี่ยงนโยบายคิวอี ซึ่งเป็นนโยบายที่สหรัฐจะพิมพ์ธนบัตรหว่านเข้าสู่ระบบผ่านการเข้าซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งด้วยวิธีการนี้แน่นอนว่าจะสร้างผลข้างเคียงอย่างรุนแรง โดยเฉพาะต่อค่าเงินเหรียญสหรัฐที่จะอ่อนตัวลงมากกว่าเดิม

 

ที่ประชุมจึงมีการเสนอทางเลือกอื่นเพื่อหลีกเลี่ยงการ “พิมพ์แบงก์” ครั้งใหม่ เช่น การปล่อยขายพันธบัตรระยะสั้นเพื่อนำเงินมาใช้ในโครงการซื้อคืนพันธบัตรระยะยาว ถือเป็นหนึ่งในทางเลือกที่มีความเป็นไปได้ ซึ่งนโยบายเหล่านี้ล้วนแต่เป็นทางเลือกที่เฟดพยายามใช้กดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐให้อยู่ในระดับต่ำที่ 0-0.25% ต่อไป

 

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจจะเป็นคิวอี หรือเป็นไปในรูปแบบใดก็ตาม ดูเหมือนว่าเอเชียย่อมหลีกไม่พ้นต่อผลกระทบข้างเคียงจากการใช้ยาแรงของสหรัฐในครั้งนี้ ในเมื่ออัตราดอกเบี้ยในเอเชียนั้นอยู่ในระดับที่สูงกว่าในสหรัฐย่อมเป็นแรงดึงดูดให้ทุนร้อนหลั่งไหลทะลักเข้ามาเก็งกำไรกันเช่นเดิม

 

อีกทั้งสถานะทางการคลังของรัฐบาลสหรัฐจากปัญหาหนี้สาธารณะ ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใดๆ ที่จะทำให้มีกระแสเงินเหรียญสหรัฐไหลเข้าไปสู่ระบบการเงินมากขึ้น ก็จะทำให้มูลค่าเงินเหรียญสหรัฐอ่อนยวบยาบต่อไป สวนทางกับค่าเงินสกุลต่างๆ ในเอเชียที่จะแข็งค่าขึ้นดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้วเมื่อเฟดได้ประกาศใช้มาตรการคิวอี 2 ในระหว่างเดือน พ.ย. 2010-มิ.ย. 2011

 

ขณะเดียวกัน ต้องยอมรับกันว่า ช่วงจังหวะเวลาที่เฟดกำลังจะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านั้น ถือว่าเป็นช่วงจังหวะที่ “ย่ำแย่” พอเหมาะพอเจาะกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในเอเชีย ที่หลายประเทศกำลังเผชิญหน้ากับภาวะเงินแข็งค่าอยู่แล้ว อีกทั้งทั่วภูมิภาคเอเชียกำลังถูกปกคลุมไปด้วยปัญหาเงินเฟ้ออย่างหนัก

 

ส่วนประเทศกำลังพัฒนาที่ต้องพึ่งพาการส่งออกในย่านนี้ก็อาจจะต้องเผชิญหน้ากับภาวะซบเซาของการส่งออกตามสภาวะเชื่องช้าของเศรษฐกิจทั้งในสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น

 

หนึ่งในสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกของเอเชียในขณะนี้ ก็คือ เอเชียไม่สามารถที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อควบคุมปัญหาเงินเฟ้อได้อย่างเต็มที่นัก เนื่องจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยใดๆ ก็ตามจะยิ่งเป็นแรงดึงดูดให้กระแสทุนร้อนจากตะวันตกยิ่งถาโถมเข้ามาสู่ตลาดเอเชียมากขึ้น และจะยิ่งสร้างความเสี่ยงให้กับค่าเงินและตลาดทุนในภูมิภาค โดยเฉพาะที่ในขณะนี้อัตราดอกเบี้ยในสหรัฐและยุโรปอยู่ในระดับต่ำมากที่สุดในประวัติศาสตร์ เอเชียยังจำเป็นที่จะต้องหาทางสกัดเงินทุนเหล่านี้มากขึ้นกว่าเดิม

 

ยิ่งไปกว่านั้นในท้ายที่สุดแล้วไม่ว่าธนาคารกลางสหรัฐจะคลอดมาตรการเศรษฐกิจออกมาหรือไม่ แต่ที่แน่ยิ่งกว่าแน่ ก็คือการตอกย้ำของผู้ว่าการเฟดก่อนหน้านี้ว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำที่สุดลากยาวไปถึงกลางปี 2013 ซึ่งถือว่านานมากกว่าที่นักลงทุนคาดการณ์เอาไว้ ประกอบกับเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วแทบจะไม่ขยับตัวในช่วงที่ผ่านมา ก็ยิ่งทำให้ความเสี่ยงจากกระแสทุนร้อนจากโลกตะวันตกที่จะหลั่งไหลมายังเอเชียนั้นก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว

 

การหลั่งไหลของกระแสทุนเข้าสู่เอเชียนั้นยังทำให้เกิดภาพลวงตาของการเติบโตทางเศรษฐกิจที่บรรดาผู้กำหนดนโยบายของเอเชียจำเป็นต้องพึงระวังอย่างสูงสุด

 

ดังเช่นตัวอย่างของอินโดนีเซีย การเติบโตของจีดีพีอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นมากกว่า 6.5% ในปีนี้เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า อันเป็นผลจากกระแสทุนจากต่างชาติที่หลั่งไหลเข้าไปอย่างบ้าคลั่ง ซึ่งในขณะเดียวกันนั้นความร้อนแรงของเศรษฐกิจได้ปั่นให้ระดับเงินเฟ้อของอินโดนีเซียเบ่งบานขึ้นอย่างน่ากลัว โดยดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภคในอินโดนีเซียปรับเพิ่มขึ้นถึง 5.98% ในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

 

นั่นถือเป็นการประเมินสถานการณ์ผิดพลาดของบรรดาเจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายของอินโดนีเซีย ที่มองข้ามผลกระทบจากการกระตุ้นเศรษฐกิจในสหรัฐที่ทำให้กระแสทุนหลั่งไหลเข้าไปยังอินโดนีเซียอย่างผิดปกติในช่วงปีที่ผ่านมา

 

ภาวะดังกล่าวถือเป็นปัจจัยที่เจ้าหน้าที่รัฐทั่วเอเชียยังต้องพึงระวัง เรื่องจากกระแสทุนที่หลั่งไหลเข้ามาอย่างมหาศาลนั้น นอกเหนือจะทำให้เกิดการแข็งค่าของสกุลเงินในเอเชียแล้ว จะยังเป็นแรงดันให้เกิดการเติบโตแบบลวงๆ ของเศรษฐกิจในเอเชียด้วย ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการตระหนักที่ผิดๆ ว่า เศรษฐกิจเอเชียกำลังเดินหน้าสู่การฟื้นตัวอย่างเต็มที่ แต่แท้จริงแล้วคือการสร้างภาวะฟองสบู่ครั้งใหม่ขึ้นมาต่างหาก

 

อีกทั้งนั่นเป็นเหตุผลสำคัญที่เพราะเหตุใดเศรษฐกิจของเอเชียซึ่งแม้ว่าจะดูดีกว่าในสหรัฐและยุโรป แต่ก็ยังไม่คึกคักอย่างเต็มที่ อีกทั้งยังเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นอย่างรุนแรงจนทำให้หลายฝ่ายวิตกว่าเอเชียเองก็อาจจะไม่รอดจากภาวะ Stagflation ซึ่งเป็นภาวะที่เศรษฐกิจเกิดเงินเฟ้อขึ้นทั้งๆ ที่อยู่ในช่วงซบเซา ดังที่กำลังเกิดขึ้นในสหรัฐแล้ว

 

แม้ว่าที่ผ่านมาเอเชียอาจจะเอาตัวรอดมาได้อย่างหวุดหวิดจากภาวะวิกฤตการเงินโลกในช่วงเกือบ 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งนั่นเป็นเพราะว่าการลงทุนของธนาคารเอเชียส่วนใหญ่ในภาคการเงินสหรัฐและยุโรปนั้นมีไม่มากนัก

 

แต่ทว่าตลอดปีที่แล้วก็เป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นว่าเอเชียก็ไม่ได้แข็งแกร่งจริงตามที่ทึกทักกันไปเอง เมื่อกระแสทุนจากตะวันตกได้ทะลักเข้าเก็งกำไรในเอเชียอย่างบ้าคลั่งในช่วงที่ธนาคารกลางสหรัฐประกาศใช้นโยบายคิวอี 2 ที่ทำให้หลายประเทศเจอกับวิกฤตค่าเงินแข็งค่า โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่ยังต้องพึ่งพาการส่งออก ตลอดไปจนถึงภาวะการเติบโตของเศรษฐกิจแบบลวงๆ อันเป็นผลมาจากการหลั่งไหลเข้ามาของกระแสทุนชั่วคราวจากโลกตะวันตก

 

และยิ่งในครั้งนี้สหรัฐยังไม่บอกกันชัดๆ ว่าจะใช้ไม้ไหนกับการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ เอเชียยิ่งต้องเตรียมตัว และระมัดระวังตัวมากขึ้นว่าผลข้างเคียงจากยาแรงของพี่ใหญ่จะเป็นพายุทุนที่พัดมาในรูปแบบเดิม หรือจะมาในรูปแบบใหม่ที่เอเชียอาจจะไม่ทันได้ตั้งตัว...!

 

 

 

Post Today

Last update : 9/1/2011 2:24:59 PM

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
:mad: ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
:blush: ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีเพื่อนๆทุกท่านครับ ขอบคุณข้อมูลข่าวสารที่กรุณานำมาฝากครับ:lol:

สองวันนี้ลุ้นน้องทองให้ขึ้นนี่เหนื่อยจริงๆเลย..-_- -_-

วันนี้คาดเดาทิศทางกันอย่างไรบ้างครับเพื่อนๆ3c68bb64.gif 3c68bb64.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
^_^ ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
:wub: ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดัชนี Stoxx Europe 600 พุ่งขึ้น 0.6% ปิดที่ 238.93 จุด ดัชนี FTSEurofirst 300 ซึ่งเป็นดัชนีหุ้นกลุ่มบลูชิพปิดบวก 0.65% แตะที่ 973.39 จุด

 

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดบวก 9.07จุด หรือ 0.28% แตะที่ 3,265.83 จุด และดัชนี FTSE 100 ปิดที่ 5418.65 จุด บวก 24.12 จุด อย่างไรก็ตาม ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปรับตัวลง 54.22 จุด หรือ 0.94% ปิดที่ 5,730.63 จุด

 

อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นยุโรปได้รับแรงกดดันจากข้อมูลภาคการผลิตที่อ่อนแอของยูโรโซน ซึ่งฉุดตลาดหุ้นเยอรมนีปิดลบเมื่อคืนนี้ด้วย โดยมาร์กิต อิโคโนมิครายงานว่า ดัชนี PMI ภาคการผลิตในยูโรโซนร่วงลงแตะ 49 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี  จากเดือนก.ค.ที่ระดับ 50.4 จุด

 

จากเหตุของรายงานสหรัฐ ISM ทำให้หุ้นยุโรป. ปิดบวกยกเว้นเยอรมัน

จากตัวเลขรายงานของเยอรมันที่ออกมาไม่ดี บ่ายนี้ หลังจากนักลงทุนฝั่งยุโรปเริ่มคิดว่า

" เมื่อคืนนี้ กูดันราคาหุ้นฯ ไปได้ยังไงว่ะ เศรษฐกิจแบบนี้ ก็คงเทขายหุ้น และหันมาซื้อทองแท่งแทน

เสร็จแล้ว ก็อาจโดยสหรัฐฯ ขายทำกำไรหน้าตาเฉย ฉลองวันแรงงาน " กรณีบ่ายนี้ แรงถึงขนาด

25,950/26,050 อาจต้องพิจารณาถอยออกชั่วคราวจากตลาดทอง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รบกวนถามคุณเด็กขายของค่ะ รายงานคืนนี้ออกกี่โมงค่ะ และขอบคุณมากค่ะสำหรับข่าวสารดีๆค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
:ph34r: ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

" เมื่อคืนนี้ กูดันราคาหุ้นฯ ไปได้ยังไงว่ะ เศรษฐกิจแบบนี้ ก็คงเทขายหุ้น และหันมาซื้อทองแท่งแทน

เสร็จแล้ว ก็อาจโดยสหรัฐฯ ขายทำกำไรหน้าตาเฉย ฉลองวันแรงงาน " กรณีบ่ายนี้ แรงถึงขนาด

25,950/26,050 อาจต้องพิจารณาถอยออกชั่วคราวจากตลาดทอง

 

 

พี่ใหญ่วันนี้มีความรู้สึกว่าตาขวามันเขม่นพิกล :blink:

สงสัยต้องหาจังหวะออกวันนี้ครับ รอเพียงแค่เสมอตัวก็ยอมครับ

ผมซื้อตั๋วแพงกว่าพี่ใหญ่ เลยไม่กล้าอยู่ลุ้นต่อ เพราะไม่ว่าเกิด

อะไรขึ้นคืนวันศุกร์ ก็ทำอะไรวันเสาร์-อาทิตย์ ไม่ได้อยู่ดี

สมมุติแทงขึ้นตามเฮียกัมก็ไปลุ้นเช้าวันจันทร์ หรือโชคดีหน่อย

อาศัย option พิเศษคืนวันศุกร์ แต่อย่าคาดหวังกับมันมากนัก....

แต่ถ้าแทงลง วันจันทร์เช้า ก็คงมีราคาที่น่าพอใจให้เข้าอยู่นา...

 

คิดคนเดียว..ดังๆ ให้พี่ใหญ่ได้ยิน(ด้วย)

ถูกแก้ไข โดย GB2514

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รบกวนถามคุณเด็กขายของค่ะ รายงานคืนนี้ออกกี่โมงค่ะ และขอบคุณมากค่ะสำหรับข่าวสารดีๆค่ะ

FRIDAY, SEPT. 2

8:30 am Nonfarm payrolls Aug.   คาดการณ์. 53,000 ของเดิม 117,000

8:30 am Unemployment rate Aug. คาดการณ์   9.1%.ของเก่า 9.1%

8:30 am Average hourly earnings Aug.   คาดการณ์ 0.1% ของเก่า 0.4%

เวลาไทยแลนด์ คือ 1 ทุ่มครึ่งนะครับ ที่ปรากฎคือเวลาที่สหรัฐ

 

เก็บไว้ใน favorite เผื่อเรียกมาดูนะครับ

http://www.marketwatch.com/economy-politics/calendars/economic?siteId

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีครับ คุณ GB2514

รอบ่ายๆครับ ขอลางาน ออกจากที่ทำงานเวลาประมาณ 16.00 น. มาเดินเตร็ดเตร่ แถวถนนเยาวราช

หาของทานมื้อเย็น และซื้อของทาน หรือ ของเล่นกลับบ้าน ( อย่าซื้อ YOYO ที่สำเพ็ง 230 บาท อยากซื้อไปซื้อ

ที่สะพานเหล็ก 150 บาท ถูกกว่า )

 

วันจันทร์ ก็คือ คืนวันจันทร์บ้านเรา สหรัฐอเมริกา เป็นวันแรงงานแห่งชาติ ปิดทำการ 1 วัน ดังนั้น

ถือว่าเป็น Long Weekend. สัญญานก็มีการบ่งบอกว่า " จะลง "

 

ก็แล้วแต่พิจารณาตามเหตุและผลของแต่ละท่านนะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
:wacko: ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
:blush: ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...