ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

ราคาน้ำมัน NYMEX บวก 21 เซนต์ คาดคว่ำบาตรอิหร่านกระทบอุปทานน้ำมัน

 

 

สัญญาน้ำมัน NYMEX ซึ่งมีการซื้อขายทางระบบอิเล็กทรอนิกที่ตลาดสิงคโปร์ ดีดตัวขึ้น 21 เซนต์ แตะที่ 98.91 ดอลลาร์ในวันนี้ (16 ม.ค.) จากระดับปิดที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ที่ 98.70 ดอลลาร์/บาร์เรล เนื่องจากการคาดการณ์ที่ว่า มาตรการคว่ำบาตรอุตสาหกรรมส่งออกน้ำมันของอิหร่านจะส่งผลให้อุปทานพลังงานซบเซาลง

 

สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม เพรสทีวี ของอิหร่านรายงานว่า พลเรือตรี ฮาบิบอลลาห์ เซย์ยาริ ผู้บัญชาการกองทัพเรืออิหร่าน ได้ออกมาปฏิเสธการรายงานข่าวของสื่อตะวันตกที่ว่า การปฏิการซ้อมรบของกองทัพเรืออิหร่านเมื่อเร็วๆ นี้ มีจุดประสงค์เพื่อแสดงถึงแสนยานุภาพของอิหร่านในการปิดช่องแคบฮอร์มุซ

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) มีมติตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ 0.5% ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ซึ่งเป็นไปตามการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ เพราะความวิตกกังวลเกี่ยวกับความแข็งแกร่งของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากการใช้จ่ายผู้บริโภคที่อ่อนแอและวิกฤตหนี้ยูโรโซน พร้อมกันนี้ยังได้ตัดสินใจที่จะไม่ขยายมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) วงเงิน 2.75 แสนล้านปอนด์

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 16 มกราคม 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กรีซ คาด จะบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการสว็อปพันธบัตรกับเจ้าหนี้เอกชนในช่วงปลายสัปดาห์หน้า ก่อนเส้นตายไถ่ถอนพันธบัตรวันที่ 20 มีนาคม

 

หากกรีซไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกับเจ้าหนี้ และไม่ได้รับเงินช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ กรีซก็มีแนวโน้มที่จะผิดนัดชำระหนี้ในวันที่ 20 มีนาคมนี้

 

ที่มา : money channel (วันที่ 16 มกราคม 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เตหะราน 15 ม.ค.- ทางการเตหะรานเตือนเพื่อนบ้านอาหรับอย่าเพิ่มกำลังผลิตน้ำมันเพื่อทดแทนน้ำมันจากอิหร่านหลังสหภาพยุโรป (อียู) คว่ำบาตรการนำเข้าน้ำมันจากอิหร่าน

 

นายโมฮัมหมัด อาลี คาติบี ผู้แทนอิหร่านในกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันหรือโอเปก ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ชาร์คว่า มาตรการคว่ำบาตรดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลกระทบที่คาดไม่ถึง ดังนั้นจึงจำเป็นที่กลุ่มประเทศอาหรับจะต้องดำเนินนโยบายด้วยความฉลาดและไม่ให้ความร่วมมือกับฝ่ายตรงข้าม

 

เสียงเตือนจากอิหร่านมีขึ้นหลังประเทศสมาชิกอียูเห็นพ้องให้คว่ำบาตรน้ำมันจากอิหร่าน อันเป็นมาตรการยกระดับกดดันอิหร่าน โดยได้เรียกร้องไปยังผู้ส่งออกน้ำมันรายอื่นให้เพิ่มการผลิตทดแทนส่วนที่ขาดไป พร้อมกันนี้ได้กำหนดกรอบเวลา 1-12 เดือนสำหรับให้เอกชนหาผู้จัดส่งน้ำมันรายใหม่ก่อนประกาศใช้มาตรการห้ามนำเข้าน้ำมันอิหร่าน  ขณะที่นายอาลี อัล-นาอิมี รมว.น้ำมันซาอุดิอาระเบียประกาศแล้วว่าพร้อมที่จะเพิ่มการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศคู่ค้า

 

อิหร่านซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับสองของโอเปกรองจากซาอุดิอาระเบียด้วยกำลังผลิตราววันละ 3.5 ล้านบาร์เรลกำลังเผชิญกับมาตรการคว่ำบาตรการค้าเพื่อกดดันให้ยุติโครงการพัฒนานิวเคลียร์ ซึ่งแม้อิหร่านยืนยันว่าจำเป็นต้องใช้พลังงานนิวเคลียร์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า แต่สหรัฐและพันธมิตรเชื่อว่าเป็นการแอบอ้างเพื่อพัฒนาอาวุธ.- ที่มา : สำนักข่าวไทย (วันที่ 16 มกราคม 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นางอังเกลา แมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนีเปิดเผยว่า กรีซจำเป็นต้องปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการใช้มาตรการรัดเข็มขัด เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กับมาขยายตัวได้อีกครั้ง

 

นางแมร์เคลกล่าวทางสถานีวิทยุ Deutschlandfunk ของเยอรมนีว่า กรีซจะต้องผลักดันการปฏิรูปโครงสร้างเศณษฐกิจเพื่อฟื้นฟูการเติบโตทางเศรษฐกิจและรับมือกับวิกฤตหนี้สาธารณะ ซึ่งแม้การปฏิรูปดังกล่าวจะเห็นผลค่อนข้างช้า แต่ก็เชื่อว่าจะทำให้ตัวเลขหนี้สินของกรีซปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 120% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ภายในปี 2563 จากปัจจุบันที่ระดับ 150% ของจีดีพี

 

ถ้อยแถลงของนางแมร์เคลมีขึ้นไม่นานหลังจากที่นายลูคัส ปาปาเดมอส นายกรัฐมนตรีกรีซ ออกมายอมรับว่า กรีซอาจจะถูกบีบให้ต้องผิดนัดชำระหนี้ในเดือนมี.ค. หากการเจรจาเรื่องเงินกู้งวดต่อไปกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และสหภาพยุโรป (EU) ล้มเหลว

 

"ในช่วง 3 เดือนข้างหน้าถือเป็นช่วงเวลาที่วิกฤตมาก หากไม่มีการทำข้อตกลงกับผู้ตรวจสอบบัญชีของ EU/IMF ในเรื่องของเงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินในขั้นตอนต่อไปแล้ว กรีซก็มีความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้ในเดือนมี.ค." นายปาปาเดมอสกล่าว

 

ทั้งนี้ คณะผู้ตรวจสอบของ EU/IMF จะเดินทางมายังกรุงเอเธนส์ในช่วงกลางเดือนม.ค.นี้ เพื่อทบทวนสถานะทางการเงินของกรีซ ขณะที่กรีซได้รับแรงกดดันมากขึ้นให้เร่งดำเนินการปฏิรูปเพื่อลดการขาดดุลงบประมาณ เพื่อแลกกับเงินช่วยเหลืองวดต่อไป

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป หรือ ยูโรสแตท เปิดเผยว่า ยอดเกินดุลการค้าของกลุ่มยูโรโซนพุ่งขึ้นมาอยู่ที่ 6.9 พันล้านยูโร (8.9 พันล้านดอลลาร์) ในเดือนพ.ย.ปีที่ผ่านมา สูงกว่าเดือนต.ค.ซึ่งมียอดเกินดุล 1 พันล้านยูโร (1.3 พันล้านดอลลาร์) และสูงกว่าเดือนพ.ย. ปี 2553 ซึ่งในเวลานั้นขาดดุล 2.3 พันล้านยูโร (2.9 พันล้านดอลลาร์)  โดยการส่งออกเพิ่มขึ้น 3.9% ขณะที่ยอดการนำเข้าคงที่เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนต.ค.           ส่วนสหภาพยุโรป (อียู) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 27 ประเทศ มียอดขาดดุลการค้า 7.2 พันล้านยูโร (9.2 พันล้านดอลลาร์) ในเดือนพ.ย. 2554 ลดลงจากเดือนพ.ย.ปี 2553 ซึ่งขาดดุลสูงถึง 1.68 หมื่นล้านยูโร และลดลงจากเดือนต.ค.ที่ผ่านมาซึ่งขาดดุล 1.12 หมื่นล้านยูโร

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 16 มกราคม 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เอเอฟพี/ASTVผู้จัดการออนไลน์ - รัฐมนตรีคลัง จุน อาสึมิ ของญี่ปุ่น วันนี้(15) แสดงความเป็นห่วงฐานะเครดิตของประเทศ หลังจากในวันศุกร์(13)เอสแอนด์พีหั่นอันดับความน่าเชื่อถือของยุโรปรวดเดียว 9 ชาติ ไม่เว้นแม้แต่ฝรั่งเศส ทางด้านนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล แห่งเยอรมนีชี้ว่า การดาวน์เกรดครั้งนี้หมายความว่า อียูต้องเร่งเดินหน้าจัดทำสนธิสัญญาด้านการคลังฉบับใหม่

       

       รัฐมนตรีคลังแดนอาทิตย์อุทัยกล่าวเตือนว่า หากไม่เร่งแก้ไขให้สถานะการเงินของประเทศมีความมั่นคงและสร้างนโยบายการคลังใหม่ ญี่ปุ่นอาจเป็นรายต่อไปที่ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ

       

       ก่อนหน้านั้นหนึ่งวัน นายกรัฐมนตรีโยชิฮิโกะ โนดะ แสดงความวิตกเช่นกันว่า แม้แต่ฝรั่งเศสยังถูกลดความน่าเชื่อถือได้ ดังนั้น หากยังคงเดินหน้านโยบายการคลังปัจจุบันต่อไป ญี่ปุ่นอาจเผชิญชะตากรรมเดียวกัน ด้วยเหตุนี้สิ่งที่ต้องทำคือ การจัดการปัญหานี้อย่างเร่งด่วน

       

       ปัจจุบัน ญี่ปุ่นมีหนี้สาธารณะสูงลิบลิ่วเท่ากับ 200% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) และแม้ประกาศใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมาแล้วหลายระลอก แต่ไม่อาจหยุดยั้งภาวะขาลงเรื้อรังได้

       

       รัฐบาลผสมของโนดะ ซึ่งมีพรรคเดโมแครติก ปาร์ตี้ ออฟ แจแปน (ดีพีเจ) ของเขาเป็นแกนนำ ได้จัดทำแผนขึ้นภาษีการขาย (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) อีกเท่าตัวจากระดับปัจจุบันที่ 5% เพื่อหารายได้เข้าคลังให้มากขึ้น ทว่า แผนการนี้ยังต้องฝ่าฟันการคัดค้านอีกมาก

       

       ความกังวลเช่นนี้ของญี่ปุ่นมีที่มาจากการที่สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส (เอสแอนด์พี) ลดอันดับความน่าเชื่อถือ 9 ชาติยุโรปเมื่อวันศุกร์ (13)

       

       ทั้งนี้ในบรรดาชาติยูโรโซนทั้ง 17 ชาติ มีเพียง 7 ประเทศที่เอสแอนด์พียืนยันให้อยู่ในอันดับเดิม ได้แก่ เบลเยียม, เอสโตเนีย, ฟินแลนด์, ไอร์แลนด์, ลักเซมเบิร์ก, เนเธอร์แลนด์, และเยอรมนี โดยที่เยอรมนียังคงได้รับเรตติ้งสูงสุด คือ AAA

       

       ส่วนประเทศที่เหลือมี 4 ชาติถูกลดอันดับลงมาถึง 2 อันดับ ได้แก่ ไซปรัส, อิตาลี, โปรตุเกส, และ สเปน แล้วมีอีก 5 ประเทศถูกหั่นลงมา 1 อันดับ คือ ออสเตรีย, ฝรั่งเศส, มอลตา, สโลวาเกีย, และ สโลวีเนีย ทั้งนี้ ฝรั่งเศส กับ ออสเตรีย ถูกลดเรตติ้งจากระดับสูงสุด คือ AAA ลงมาที่ AA

       

       สำหรับอีก 1 ชาติยูโรโซนที่เหลือ ได้แก่ กรีซ ไม่ได้ถูกแตะต้องอะไรในคราวนี้ ทว่าตั้งแต่ปีที่แล้วได้ถูกเอสแอนด์พีหั่นเรตติ้งลงมาอยู่ที่ระดับ CC ซึ่งแปลว่าอยู่ในภาวะผิดนัดชำระหนี้เป็นบางส่วน

       

       บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำแห่งนี้ให้เหตุผลที่หั่นเรตติ้งชาติยูโรโซนลงกว่าครึ่งหนึ่งคราวนี้ว่า นโยบายของสหภาพยุโรป (อียู) ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาไม่เพียงพอรับมือความกดดันเชิงระบบที่เกิดขึ้นกับยูโรโซนอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ในภาวะที่ปรากฏเค้าลางการถดถอย การที่ยูโรโซนมุ่งเน้นแต่มาตรการรัดเข็มขัด ก็อาจส่งผลลบต่อเศรษฐกิจรุนแรงขึ้น

       

       ท่ามกลางวิกฤตที่ยืดเยื้อมากว่า 2 ปี การที่อียูพยายามแก้ไขปัญหาทั้งด้วยการอัดฉีดเงินกู้ให้กรีซ โปรตุเกส และไอร์แลนด์, การสร้างกองทุนฉุกเฉิน, และมาตรการรัดเข็มขัดที่ใช้อยู่ทั่วภูมิภาค ยังคงไม่สามารถบรรเทาความกลัวที่ว่า ยูโรโซนอาจแตกได้

       

       โซนี่ คาปูร์ หัวหน้ากลุ่มคลังสมองด้านเศรษฐกิจ รี-ดีไฟน์ ชี้ว่า ยังจะมีการลดอันดับความน่าเชื่อถือของชาติอียูกันต่อไปอีก สืบเนื่องจากความล้มเหลวในการจัดการวิกฤตของยูโรโซน

       

       “เอสแอนด์พีเตือนมานานหลายเดือนแล้ว แต่ผู้นำอียูกลับไม่สามารถเปลี่ยนแปลงและคิดหากลยุทธ์การแก้วิกตที่เชื่อถือได้”เดือนที่แล้ว ผู้นำอียูทั้งหมด ยกเว้นอังกฤษ ได้ตกลงให้จัดทำแผนการทางการคลังฉบับใหม่ภายในเดือนมีนาคมปีนี้ ซึ่งจะเน้นให้ชาติสมาชิกเพิ่มความเข้มงวดในวินัยงบประมาณ อีกทั้งมีการผนวกรวมตัวกันในระดับลึกขึ้น เพื่อโน้มน้าวให้ตลาดเชื่อว่า จะไม่มีวิกฤตซ้ำรอยอีก

       

       แต่ล่าสุด เอสแอนด์พีกลับเตือนว่า กระบวนการปฏิรูปที่อิงกับวินัยทางการคลังเพียงอย่างเดียวอาจเป็นการทำลายตัวเอง

       

       บรรดาผู้นำอียูมีกำหนดอยู่แล้วที่จะประชุมกันในวันที่ 30 นี้ โดยวาระสำคัญคือการหารือวิธีส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน แต่คาดกันว่าสนธิสัญญาการคลังฉบับใหม่จะกลายเป็นเรื่องที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดกันมากที่สุด

       

       สนธิสัญญานี้กำหนดให้ชาติสมาชิกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญของประเทศตนว่าจะต้องจัดทำงบประมาณแบบสมดุล นอกจากนี้ยังมีการระบุว่า จะมีมาตรการลงโทษโดยอัตโนมัติต่อประเทศที่ขาดดุลงบประมาณรุนแรง

       

       ทางด้านนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล ของเยอรมนี ที่สนับสนุนกฎงบประมาณที่เข้มงวดขึ้น กล่าวเมื่อวันเสาร์ (14) ว่าการลดอันดับของเอสแอนด์พีหมายความว่า ยุโรปต้องเร่งเดินหน้าสนธิสัญญาฉบับใหม่นี้ “ไม่ใช่เหลาะแหละเหมือนเดิม” เพื่อฟื้นความมั่นใจของนักลงทุน

       

       ความเคลื่อนไหวของเอสแอนด์พี ยังกระตุ้นความสงสัยเกี่ยวกับความสามารถของยูโรโซนในการอัดฉีดกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (อีเอฟเอสเอฟ) ที่เหลือเงินเพียง 250,000 ล้านยูโร หลังเข้าช่วยเหลือโปรตุเกสและไอร์แลนด์ ซึ่งไม่น่าเพียงพอหากอิตาลีหรือสเปนต้องการความช่วยเหลือ

       

       ปีที่แล้ว ผู้นำอียูตกลงกันว่า จะขยายกองทุนเป็น 1 ล้านล้านยูโร แต่ไม่สามารถดึงดูดนักลงทุนได้ ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชนหรือรัฐบาลต่างประเทศ

       

       เดือนที่ผ่านมา เอสแอนด์พียังเตือนว่า การดาวน์เกรด 1 ใน 6 ประเทศอียูที่ถือครองอันดับ AAA อาจกระทบต่อเรตติ้งของอีเอฟเอสเอฟที่อยู่ในระดับเดียวกัน

       

       ขณะเดียวกัน ชาติสมาชิกยังมีความคิดเห็นแตกแยกว่า จะขยายกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (อีเอสเอ็ม) ซึ่งเป็นกองทุนถาวรใหม่ที่มีกำหนดเปิดตัวในเดือนกรกฎาคมด้วยฐานเงินทุน 500,000 ล้านยูโร หรือไม่ โดยบางประเทศเป็นห่วงเรื่องที่ต้องมีการนำเงินภาษีมาอัดฉีด

       

       สำหรับนักวิเคราะห์ อาทิ เจนิส เอมมานูลิดิส จากศูนย์นโยบายยุโรป การดาวน์เกรดของเอสแอนด์พีเตือนว่า ความพยายามของยูโรโซนในการหนีจากวิกฤตยังไม่สัมฤทธิ์ผล และยังมีงานหนักรออยู่อีกมาก

 

ที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์ (วันที่ 16 มกราคม 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
:Announce หวัดดีคะคุณเด็กขายของ วันเด็กไปเที่ยวไหนมาคะ ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆมีประโยชน์มากนะคะ like :32

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณลุง คุณป้า คุณน้า คุณอา ในสมาคมฯครับ วันเด็ก ผมขอ +50 นะฮัฟ :10

 

ปล. ก่อนบ่าย 2 นะฮัฟ ตรงที่รอ พอศอ ที่คิดถึง อิอิ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณลุง คุณป้า คุณน้า คุณอา ในสมาคมฯครับ วันเด็ก ผมขอ +50 นะฮัฟ :10

 

ปล. ก่อนบ่าย 2 นะฮัฟ ตรงที่รอ พอศอ ที่คิดถึง อิอิ

 

จะไปหาสาวละซิ ได้ตอน 1625 สบายไป

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับคุณเด็กขายของสำหรับข่าวสาร

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณค่ะ คุณเด็กขายของ

วันนี้มีเวลาลุ้นอีกไม่นาน ตลาดเมกาปิด

จะไปถึงยอดดอยไหมเนี่ย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับ คุณ เด็กขายของ :Announce ขออีก...50 น๊า...จาขาย 2 ก้อนเลย.. :57

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สงสัยจะไม่ทันที่จะเพิ่มอีก 50 บาท คงเนื่องจาก ไม่มีคนชง มีแต่คนรอรับ และ คนรอตบ เท่านั้น ตามสมัยนิยม ชง-รับ-ตบ หรือถ้าจะกล่าวให้เข้าใจมากกว่านี้ จะประมาณ นำเสนอเรื่อง / หลายคนออกมาตอบรับเห็นด้วย / ตบ หมายถึง การเสนอวิธีการที่นำเสนอให้คนอื่นๆ คล้อยตาม ดีแบบนั้น ดีแบบนี้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

16  มกราคม 2012

 

เงินบาทปิด 31.88/92 อ่อนค่าต่อเนื่อง ประเมินกรอบพรุ่งนี้ 31.85-31.95

 

 

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดวันนี้ที่ระดับ 31.88/92 บาท/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 31.87/90 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวไปทำ High ที่ระดับ 31.92 บาท/ดอลลาร์

 

ส่วนค่าเงินยูโรล่าสุดอยู่ที่ระดับ 1.264 ดอลลาร์/ยูโร ขณะที่ค่าเงินเยนล่าสุดอยู่ที่ระดับ 76.78 เยน/ดอลลาร์ ค่อนข้างคงที่

 

นักบริหารเงิน กล่าวว่า เนื่องจากวันนี้มีคนเอาเงินมาขายมาก และคืนนี้อาจจะยังไม่มีข่าวอะไรใหม่ๆจากทางยุโรป เพราะฉะนั้นมีความเป็นไปได้ที่ค่าเงินบาทอาจจะแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย แต่ก็ให้จับตาคอมเม้นท์ต่างๆของทางยุโรปว่าจะออกมาในลักษณะไหน

 

โดยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ระหว่าง 31.85-31.95 บาท/ดอลลาร์

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...