ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

ตลาดหุ้นโตเกียว:ข้อมูลภาคการผลิตสหรัฐหนุนนิกเกอิปิดเช้าบวก

 

 

ตลาดหุ้นโตเกียวปิดเช้านี้เพิ่มขึ้น โดยได้แรงหนุนจากข้อมูลภาคการผลิต ของสหรัฐที่เพิ่มขึ้นเกินคาด ขณะที่เยนที่อ่อนค่าลงเป็นปัจจัยหนุนหุ้นกลุ่มส่งออก

ทั้งนี้ ดัชนีนิกเกอิปิดตลาดเช้าบวก 21.87 จุด หรือ 0.25% สู่ระดับ 8,818.38

 

สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยดัชนีภาคการผลิต เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 51.5 ในเดือนก.ย.จาก 49.6 ในเดือนส.ค. และสูงกว่าที่นัก เศรษฐศาสตร์ที่ได้รับการสำรวจโดยรอยเตอร์คาดไว้ที่ระดับ 49.7

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

02 ตุลาคม 2555

 

ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ระบุเศรษฐกิจสหรัฐฯมีแนวโน้มดีขึ้น - บมจ.ปตท.

 

 

Macroeconomic News

+ Institute for Supply Management รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ Purchasing Manager Index (PMI) ของสหรัฐฯเดือน ก.ย. 55 อยู่ที่ 51.5 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ระดับ 49.6 จุด

- สำนักวิจัยเศรษฐกิจ Markit ของเยอรมนีรายงาน Manufacturing Purchasing Manager Index ของสหภาพยุโรปเดือน ก.ย. 55 อยู่ที่ระดับ 46.1 จุด บ่งชี้ภาคเศรษฐกิจหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14

 

Crude

+ บริษัท Nexen ผู้ผลิตน้ำมันดิบแหล่ง Buzzard ในทะเลเหนือประกาศการเริ่มผลิตน้ำมันดิบจากแหล่งดังกล่าวหลังเลื่อนการปิดซ่อมบำรุงจากเดิมวันที่ 10 ต.ค. เป็นวันที่ 15 ต.ค. 55

+ บริษัท Shell Petroleum Development Company of Nigeria ประกาศหยุดการผลิตน้ำมันดิบ Bonny Light (150 KBD) ตั้งแต่วันที่ 30 ก.ย. 55 เนื่องจากท่อขนส่งน้ำมันระเบิดจากการลอบขโมยน้ำมัน

- ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของอิรักเดือน ก.ย. 55 อยู่ที่ระดับ 2.6 MMBD สูงสุดในรอบ 30 ปี โดยสร้างรายได้ให้กับอิรักประมาณ 8.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

 

Light Distillates

- Petroleum Association of Japan (PAJ) รายงานปริมาณนำเข้าน้ำมัน Gasoline ของญี่ปุ่นเดือน ส.ค. 55 อยู่ที่ระดับ 39.43 KBD ลดลง 41.3% จากเดือนก่อนหน้า

- Petrolimex ของเวียดนามมีแผนไม่นำเข้าน้ำมัน Gasoline ในช่วงไตรมาส 4/55 เนื่องจากมีความต้องการลดลง และมีปริมาณสำรองเพียงพอ

 

Middle Distillates

- MRPL ของอินเดียประมูลขายน้ำมัน Gas Oil 0.5%S ปริมาณ 40 KB ส่งมอบช่วง 1-3 พ.ย. 55

- Platts รายงานความต้องการน้ำมัน Gas Oil ในจีนเดือน ส.ค. 55 ลดลง 1.4% (Y-O-Y) อยู่ที่ระดับ 3.31 MMBD เนื่องจากความร้อนแรงของเศรษฐกิจจีนที่ลดลง

 

Fuel Oil

- Formosa ของไต้หวันประมูลขายน้ำมัน Fuel Oil 280 CST ปริมาณ 40 KT ส่งมอบ 12-14 ต.ค. 55

- Reuters คาดปริมาณ Arbitrage น้ำมัน Fuel Oil จากฝั่งตะวันตกสู่เอเชียเดือน ต.ค. 55 อยู่ที่ระดับ 5 ล้านตัน

 

Market Trend

ราคาน้ำมันดิบปรับลดลงจากมุมมองเศรษฐกิจเชิงลบของนักลงทุนโดย Factory Purchasing Manager Index ของจีนต่ำกว่าระดับ 50 จุด ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 7 ซึ่งบ่งชี้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหดตัวต่อเนื่อง (อยู่ที่ 49.8 จุดในเดือน ก.ย. ) โดยความต้องการผลิตภัณฑ์กลุ่มเหล็กและอุปกรณ์ก่อสร้างที่เป็น Energy Intensive ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และ อัตราว่างงานของประเทศในสหภาพยุโรป 17 ประเทศอยู่ในระดับสูงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเริ่มสูงขึ้นทำให้ ECB มีข้อจำกัดในการลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่ง IMF คาดว่าปีนี้เศรษฐกิจของ Euro Zone จะหดตัว 0.3% อย่างไรก็ตามประธาน FED เห็นว่าตลาดแรงงานมีการปรับตัวดีขึ้น และประเมินว่าสหรัฐฯจะไม่ประสบปัญหาเศรษฐกิจถดถอยโดย GDP ปีนี้น่าจะเติบโตที่ 1.5-2% ด้านการส่งมอบน้ำมันดิบในทะเลเหนือมีความล่าช้าทำให้ต้องเลื่อนการส่งมอบน้ำมันดิบจากเดือน ต.ค. ไปเดือน พ.ย. อีกจำนวน 3 เที่ยวเรือ ให้จับตาธนาคารกลางจีนที่ระบุว่ากำลังพิจารณาหามาตรการการเงินรองรับเศรษฐกิจโลกขาลงโดยการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนปรน

 

โดย ฝ่ายบริหารความเสี่ยงราคาและวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ บมจ.ปตท. ประจำวันที่ 2 ต.ค. 2555

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ช่วงนี้ บรรยากาศขาขึ้น อะไรที่เคยเป็นมาเมื่อปีที่แล้ว ก่อนทำราคาสูงสุด 27,200 บาทต่อบาททอง เริ่มมีมากยิ่งขึ้น เดี๋ยวคงมีการยุ ขายบ้านขายรถ ซื้อทองตามมา ยับยั้งชั่งใจ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดหุ้นรายวันตามสัญญาณเทคนิค - บล.ฟินันเซีย ไซรัส

 

 

“ตลาดวิ่งขึ้นได้ดีเกินคาดทำให้มีสิทธิขยับแกว่งตัวในกรอบ 1300-1350 จุดเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมได้ อย่างไรก็ตามยังเน้นแค่เทรดดิ้งสั้นตามรอบ โดยต้องตามระวังแรงขายจากแนวต้านไว้ด้วย...”

 

SET INDEX ปิดที่ 1,299.71 จุด เปลี่ยนแปลง +0.92 จุด คิดเป็น +0.07%

แนวรับ 1295-1293** , 1290-1287*** จุด

แนวต้าน 1302-1304*** , 1308-1315** , 1350(+/-)

 

Technical View:

สำหรับการเข้าเทรดดิ้งระยะสั้น – SET ขยับขึ้นมาแกว่งตัวเหนือ 1300 จุดได้เร็วกว่าที่เคยคาดไว้เดิม ทำให้มีสิทธิที่ดัชนีจะขยับแกว่งตัวในกรอบ 1300-1350 จุดเพื่อลุ้นทำจุดสูงสุดใหม่แถว 1350 จุด(+/-) เพื่อรอจบรอบขาขึ้นครั้งนี้ได้ทันที ดังนั้นถ้าตลาดไม่ย้อนต่ำกว่า 1293 จุดเสียก่อน ก็ยังสามารถตามเข้าเลือกหุ้นซื้อเพื่อเทรดดิ้งขึ้นไปรอขายทำกำไรที่แนวต้านเป้าหมายแถว 1350 จุด(+/-) ได้ แต่ต้องตามระวังจังหวะแกว่งผันผวนจากแนวต้านระหว่างทางที่ 1308-1315 จุดไว้บ้าง โดยช่วงนี้จะใช้ 1287 จุดเป็นเกณฑ์ในการชะลอการเข้าเทรดดิ้ง เพราะถ้าดัชนีหลุดต่ำกว่านี้ลงไปก่อน ก็ต้องถอยไปรอจังหวะซื้อที่แนวรับถัดไปแถว 1260 จุด(+/-) อีกครั้ง

แนวโน้มระยะกลาง-ยาว ยังถือหุ้นไม่เกิน 50% ของเงินลงทุน เพื่อรอจังหวะเข้าซื้ออีกครั้งเมื่อ SET ปรับตัวลงไปแกว่งแถว 1260 จุดหรือใกล้เคียง ส่วนถ้า SET ขยับขึ้นไปใกล้ 1350 จุดก่อน แนะนำให้ทยอยขายลดพอร์ตลงอีกครั้งให้เหลือหุ้นไม่เกิน 25% ของเงินลงทุน

 

Technical Picks:

HMPRO (Bt 13.40 เป้าเทคนิค 13.8-14.5 cut lossถ้าหลุด 13)

HTC (Bt 19.40 เป้าเทคนิค 20.8-21.5 cut loss ถ้าหลุด 18.8)

CPN (Bt 59.75 ยืมหุ้น short เพื่อรอซื้อคืนทำกำไรที่ 58-55)

 

HMPRO ราคาปิด แนวรับ แนวต้าน

ซื้อเก็งกำไร 13.40 13.30-13 13.80-14.20 , 14.50

ราคาปรับพักตัวลงมาบ้างหลังจากดีดตัวขึ้นแรงในต้นสัปดาห์ที่แล้ว แต่ก็ยังมีแรงซื้อจากแนวรับเส้นต้นทุนเฉลี่ย และการฟอร์มตัวของ Indicators ช่วยสนับสนุนในเชิงบวก ทำให้คาดว่ายังมีลุ้นโอกาสดีดขึ้นรอบใหม่เพื่อไปทดสอบแนวต้านข้างต้นให้ทำกำไรได้

 

HTC ราคาปิด แนวรับ แนวต้าน

ซื้อเก็งกำไร 19.40 19.20-18.8 20.80-21.20 , 21.50-22

ราคายังแกว่งทรงตัว และสลับกับขยับไต่ระดับขึ้นได้ดี ขณะที่รูปแบบกราฟราคา และการฟอร์มตัวของ Indicators ต่างๆ ยังสนับสนุนในเชิงบวก ทำให้คาดว่ามีโอกาสขยับขึ้นหาแนวต้านให้ทำกำไรตามรอบได้ ดังนั้นจึงยังน่าเทรดดิ้งตามต่อ

 

For SBL

CPN ราคาปิด แนวรับ แนวต้าน

ขาย short 59.75 58-55 60-62

หลังจากรอบที่แล้วไม่ประสบความสำเร็จในการยืมหุ้น short ทำให้ต้องซื้อคืนตัดขาดทุนไปที่ 57 บ. มาช่วงนี้ราคายังขึ้นร้อนแรงต่อเนื่อง ทำให้ยังมีความเสี่ยงจากภาวะซื้อมากเกินไปอยู่ ขณะที่แรงซื้อเริ่มหดตัว จึงแนะนำให้ยืมหุ้น short อีกครั้ง เพื่อลุ้นโอกาสกลับเข้าซื้อคืนเพื่อทำกำไรที่แนวรับในกรอบ 58-55 บ.

 

Analyst: Somchai Anekthaweepon Register: 002265 Tel.: 0-2646-9967 www.fnsyrus.com

 

โดย บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) ประจำวันที่ 2 ตุลาคม 2555

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

'หนี้ครัวเรือน-หนี้รัฐ'พุ่งเฉียดเส้น'อันตราย(02/10/2555)

พบหนี้ครัวเรือนพุ่งแตะ 50% ของรายได้ จากเดิมที่ระดับ 30-40% ธปท.ผวาก่อความเสี่ยงให้เศรษฐกิจ เล็งปรับเกณฑ์คุมไม่ให้เพิ่มขึ้น แจงกรณีสินเชื่อเช่าซื้อบางแห่งคิดดอกเบี้ยแพง หากเกิน 15% ต่อปีกฎหมายเอาผิดได้ ขณะที่หนี้รัฐบาลเริ่มโป่งพองลามสู่เส้นอันตราย เตรียมถกครม.วันนี้ ในแผนก่อหนี้ใหม่วงเงินรวม 7.177 แสนล้านบาท

 

นายเกริก วณิกกุล รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า สัดส่วนหนี้ต่อรายได้ของภาคครัวเรือนมีแนวโน้มสูงขึ้น ล่าสุดอยู่ที่ 40-50% ของรายได้รวม จากที่ในอดีตเคยอยู่ระดับ 30% โดยยังไม่นับรวมหนี้นอกระบบ ซึ่งการเพิ่มสูงของหนี้ครัวเรือนหากมากเกินไปก็ย่อมสร้างความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจรวมด้วย ดังนั้น ธปท.จึงต้องเข้าไปดูแลการก่อหนี้ของภาคครัวเรือนให้มากขึ้น เพื่อไม่ให้สัดส่วนหนี้เหล่านี้เพิ่มมากเกินไป อย่างไรก็ตาม การดูแลจะต้องไม่กระทบกับประชาชนที่มีความจำเป็นต้องการใช้เงิน และจะดูแลไม่ให้ประชาชนกลุ่มนี้ถูกเอาเปรียบมากเกินไปด้วย

 

“มันมีเหตุผลที่ไม่อยากให้ก่อหนี้มาก แต่บางทีเขาก็มีความจำเป็นต้องใช้ ดังนั้นก็ต้องช่วยดูแลไม่ให้เขาถูกขูดรีดหรือถูกเอาเปรียบมากเกินไปด้วย แต่ถ้าหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นเยอะ หรือกู้กันได้โดยไม่มีข้อจำกัด หนี้ก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แน่นอนว่าเป็นความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจมหภาคด้วย” นายเกริกกล่าว และว่า การดูแลไม่ได้หมายความว่าจะต้องลดสัดส่วนหนี้ต่อรายได้ลง แต่จะพยายามไม่ให้สัดส่วนสูงขึ้นไปมากกว่านี้ ซึ่ง ธปท.ก็มีเครื่องอยู่แล้ว แต่จะพิจารณาเพิ่มเติมว่า เกณฑ์ส่วนไหนที่ยังไม่เหมาะสมก็คงปรับเพิ่มเติม

 

ส่วนกรณี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ประเภทไฮเพอร์เชสของบางแห่งมีการคิดอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมในระดับสูง รวมถึงกรณีธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ออกโฆษณาจูงใจให้คนเป็นหนี้กันมากนั้น เรื่องนี้ ธปท.จะเชิญ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร มาให้คำแนะนำและขอข้อมูลเพิ่มเติมในเร็วๆ นี้

 

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของบริษัทที่ปล่อยสินเชื่อประเภทไฮเพอร์เชส หรือลิสซิ่งต่างๆ ซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมของ ธปท.นั้น หากพบว่ามีการคิดอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า 15% กรณีเหล่านี้ก็สามารถดำเนินการเอาผิดได้ เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ห้ามมิให้คิดอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินกว่า 15% ต่อปี แต่การเอาผิดบริษัทดังกล่าวจำเป็นต้องมีหน่วยงานอื่นเข้ามาร่วมด้วย เพราะลำพัง ธปท.คงทำอะไรมากไม่ได้

 

เปิดเแผนก่อนหนี้รัฐปี 2556

 

การประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ (1 ต.ค.) กระทรวงการคลังจะเสนอแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2556 โดยรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจมีแผนก่อหนี้ใหม่ 9.5 แสนล้านบาท โดยยังไม่นับโครงการนำจำพืชผลทางการเกษตร มีรายละเอียดดังนี้

 

แผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2556 รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจมีแผนก่อหนี้ใหม่ดังนี้

 

การก่อหนี้ใหม่ของรัฐบาล วงเงินรวม 717,741.22 ล้านบาท แบ่งได้ดังนี้

 

1. หนี้ในประเทศ แบ่งเป็น

 

(ก.) เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล วงเงิน 300,000 ล้านบาท เนื่องจากงบประมาณที่ตั้งไว้ 2.4 ล้านล้านบาท ขณะประมาณการรายได้ 2.1 ล้านล้านบาท และมีวงเงินกูเพื่อชดเชยการขาดดุล 3 แสนล้านบาท โดยการจัดสรรเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล ทางกระทรวงการคลังจะดำเนินการออกพันธบัตรรัฐบาลรวมกับตราสารหนี้อื่น เช่น ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วเงินคลัง หรือการทำสัญญาเงินกู้ ทั้งนี้การกู้เงินขึ้นกับความจำเป็นในการใช้จ่ายเงินของรัฐบาล

 

(ข.) เงินกู้เพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ วงเงิน 3.4 แสนล้านบาท โดยเป็นการกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 วงเงินรวม 3.5 แสนล้านบาท โดยในงบประมาณ 2555 กระทรวงการคลังกู้ไปแล้ว 1 หมื่นล้านบาท และจะต้องดำเนินการกู้ในส่วนที่เหลือให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิ.ย. 2556

 

(ค.) เงินกู้เพื่อนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ วงเงิน 4.95 หมื่นล้านบาท เป็นการกู้ภายใต้พระราชกำหนดกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติพ.ศ. 2555 โดยในวบประมาณปี 2555 ได้กู้เงินไปแล้ว 500 ล้านบาท

 

2. หนี้ที่รัฐบาลกู้มาเพื่อให้กู้ต่อ วงเงิน 28,241.22 ล้านบาท แบ่งเป็น (ก.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กู้ต่อวงเงินรวม 16,217.76 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการรถไฟสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ

 

(ข.) การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) กู้วงเงิน 11,603.46 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล (สายสีแดง) บางซื่อ-รังสิต งานติดตั้งรั้วสองข้างทางตามแนวเขตทางรถไฟ โครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัยและโครงการก่อสร้างทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย พร้อมทางคู่เลี่ยงเมือง

 

(ค.) บริษัทรถไฟฟ้า รฟท. จำกัด กู้เงิน 420 ล้านบาท เพื่อให้ดำเนินงานตามโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง(Airport Rial Link)

 

การก่อหนี้ใหม่ของรัฐวิสาหกิจ วงเงินรวม 241,650.65 ล้านบาท

 

1.หนี้ในประเทศ วงเงิน 226,194.88 ล้านบาท แบ่งเป็น (ก.) เงินกู้เพื่อการลงทุนในโครงการรัฐวิสาหกิจ 8 แห่ง จำนวน 50 โครงการ วงเงิน 47,156.32 ล้านบาท เป็นโครงการที่ขอให้กระทรวงการคลังค้ำประกัน 10,231.29 ล้านบาท และไม่ให้กระทรวงการคลังค้ำประกัน 36,925.03 ล้านบาท (ข.) การกู้เงินเพื่อดำเนินการทั่วไป เป็นเงินกู้เพื่อใช้จ่ายในการเสริมสภาพคล่อง ปล่อยสินเชื่อ และดำเนินงานปกติทั่วไปของหน่วยงาน โดยปีงบประมาณ 2556 มีรัฐวิสาหกิจ จำนวน 7 แห่ง ขอกู้เพื่อดำเนิน วงเงินรวม 179,038.56 ล้านบาท โดยเป็นการกู้เงินที่ขอให้กระทรวงการคลังค้ำประกัน 174,083 ล้านบาท และไม่ได้ขอให้กระทรวงการคลังค้ำประกัน 4,955.30 ล้านบาท

 

2.หนี้ต่างประเทศ วงเงิน 15,555.77 ล้านบาท เป็นเงินกู้เพื่อใช้ในโครงการลงทุนที่มีค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งที่ต้องจ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศ หรือมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างคุ้มค่า โดยปีงบประมาณ 2556 มีรัฐวิสาหกิจ 2 แห่งคือ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และรฟท. ขอเงินกู้ต่างประเทศ วงเงินรวม 15,455.77 ล้านบาท หรือเทียบเท่า 498.57 ล้านดอลลาร์

 

ที่มา : สิทธิชัยหยุ่น(วันที่ 2 ตุลาคม 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผู้ผลิตทั่วเอเชีย'ช้ำ'ยอดสั่งซื้อทรุด ผลพวงยุโรปถดถอย-ศก.มะกันนิ่ง (02/10/2555)

เอเจนซี - บรรดาผู้ผลิตในเอเชียตั้งแต่จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไปจนถึงอินโดนีเซีย ยังคงเผชิญกับภาวะดีมานด์ทรุดนิ่ง สืบเนื่องจากเศรษฐกิจย่ำแย่ในอเมริกาและยุโรป โดยที่มีแนวโน้มบ่งบอกว่า ถึงแม้ยูโรโซนประกาศใช้แผนกระตุ้นมูลค่ามหาศาลเมื่อไม่นานมานี้ แต่ก็ยังจะติดอยู่ในหล่มแห่งภาวะเศรษฐกิจถดถอย ขณะที่ทางสหรัฐฯนั้น การฟื้นตัวอยู่ในอาการเปราะบางน่าเป็นห่วง

 

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (พีเอ็มไอ) ภาคการผลิตของทางการของจีนประจำเดือนกันยายน ที่นำออกเผยแพร่ในวันจันทร์ (1) อยู่ที่ 49.8สูงขึ้นจาก 49 ในเดือนสิงหาคม ซึ่งถือเป็นตัวเลขต่ำสุดนับจากเดือนพฤศจิกายน 2011 กระนั้นตัวเลขนี้ก็ยังสะท้อนสภาพการณ์อันไม่สดใสอยู่ดี เนื่องจากค่าดัชนีนี้หากต่ำกว่า 50 คือการบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจกำลังจะติดลบ ถ้าสูงกว่า 50 จึงจะเป็นสัญญาณของการเติบโตขยายตัว

 

นักวิเคราะห์ของไอเอ็นจีในสิงคโปร์ชี้ว่า ดัชนีพีเอ็มไอของทางการจีนติดลบเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันแล้ว โดยที่ทางแบงก์ไอเอ็นจีคาดว่าเศรษฐกิจจีนในไตรมาส 3 และ 4 ของปีนี้จะขยายตัวต่ำกว่าระดับ 7%

 

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันเสาร์(29 ก.ย.) เอชเอสบีซีได้แถลงตัวเลขดัชนีพีเอ็มไอภาคเอกชนของตนประจำเดือนกันยายน ซึ่งปรากฏว่า ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11 ทั้งนี้ ดัชนีพีเอ็มไอของทางการจีน เน้นสำรวจความคิดเห็นผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของพวกบริษัทรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ ขณะที่ของธนาคารเอชเอสบีซีเน้นทัศนะของบริษัทขนาดเล็กกว่าซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ส่งออก

 

ในระยะไม่กี่เดือนที่ผ่านมา จีนได้ใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายระลอก โดยที่มีการลดอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้ง, การผ่อนคลายข้อกำหนดการกันสำรองของแบงก์พาณิชย์ที่ทำให้มีสภาพคล่อง 1.2 ล้านล้านหยวน (190,000 ล้านดอลลาร์) ไหลเวียนสำหรับการปล่อยกู้, และการอนุมัติโครงการโครงสร้างพื้นฐานมูลค่ากว่า 150,000 ล้านดอลลาร์ ทว่ายังคงไม่สามารถหยุดยั้งแนวโน้มการเติบโตขาลงของแดนมังกรได้

 

ผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ของรอยเตอร์ก็ชี้ว่า เศรษฐกิจจีนไตรมาส 3 อาจแผ่วลงอยู่ที่ 7.4% ซึ่งถือเป็นการลดลงต่อเนื่องเดือนที่ 7 ก่อนที่จะขยับขึ้นในอัตรา 7.6% ในไตรมาสสุดท้าย อันจะทำให้อัตราเติบโตตลอดปี 2012 ต่ำกว่า 8% ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนนับจากปี 1999

 

ไม่เฉพาะจีนเท่านั้น ภาวะดีมานด์ทรุดตัวโลกยังเล่นงานญี่ปุ่นเช่นเดียวกัน โดยในวันจันทร์ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ได้เปิดเผยผลสำรวจความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ (ดัชนี “ตังกัง”) ประจำไตรมาสนี้ ที่ตอกย้ำมุมมองของบีโอเจว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศที่พึ่งพิงการส่งออกแห่งนี้จะชะงักงันตลอดปีงบประมาณปัจจุบัน (เม.ย.2012 - มี.ค.2013)

 

ทั้งนี้ดัชนีตังกังสำหรับผู้ผลิตขนาดใหญ่ของไตรมาสนี้ อยู่ที่ -3 ซึ่งต่ำลงมาอีก 2 จุดเมื่อเทียบกับการสำรวจเมื่อ 3 เดือนก่อนหน้านี้ แสดงให้เห็นว่า ความเชื่อมั่นของผู้ผลิตเหล่านี้ได้ถดถอยลงอีก หลังจากที่มีการกระเตื้องดีขึ้นในช่วง 2 ไตรมาสก่อนหน้า

 

ฮิโรเอกิ มูโตะ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของ สุมิโตโม มิตซุย แอสเสต แมเนจเมนต์ ในโตเกียว ตีความว่าดัชนีตังกังเช่นนี้สะท้อนดีมานด์ที่ซบเซาทั้งในและนอกประเทศ และตอกย้ำการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีผลต่อญี่ปุ่น

 

เวลานี้ปัจจัยที่ถ่วงรั้งเศรษฐกิจโลกมากที่สุด ก็คือวิกฤตหนี้ที่ฉุดยูโรโซนเข้าสู่ภาวะถดถอย และบั่นทอนความต้องการสินค้าเอเชียของยุโรป

 

นอกเหนือจากจีนและญี่ปุ่นแล้ว เกาหลีใต้ ที่เป็นบ้านเกิดของผู้ส่งออกสำคัญ เช่น ซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์และฮุนได มอเตอร์ ก็รายงานว่ายอดส่งออกไปยังยุโรปประจำเดือนที่ผ่านมาลดลง 5.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ขณะที่ยอดส่งออกไปอเมริกาลดลง 0.4%

 

โดยรวมแล้วยอดส่งออกของแดนกิมจิร่วงลง 1.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา และถือเป็นการลดลงต่อเนื่อง 7 เดือนจากรอบ 9 เดือนแรกของปีนี้

 

ขณะที่ อินโดนีเซียแถลงว่า ยอดส่งออกเดือนสิงหาคมยังคงลดลง ถือเป็นการตำลงมาติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5

 

ทางด้านไต้หวัน ดาวเด่นส่งออกอีกดวงของเอเชียตะวันออก ดัชนีพีเอ็มไอของที่นี่บ่งชี้ว่ายอดสั่งซื้อสินค้าใหม่ทรุดลงรุนแรงที่สุดนับจากเดือนพฤศจิกายน 2011

 

มีเพียงอินเดีย ซึ่งดัชนีพีเอ็มไอของเดือนกันยายน ยังคงอยู่ที่เดิม คือ 52.8 กระนั้นนักเศรษฐศาสตร์ก็แสดงความเป็นห่วงว่า การที่สินค้าคงคลังกำลังเพิ่มสูงขึ้น น่าจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตในอนาคต

 

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ต่างออกมาตรการกระตุ้นทางการเงินขนานใหญ่เพื่อผลักดันการเติบโต แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่า การดำเนินดังกล่าวเริ่มส่งผลแล้วหรือยัง

 

ที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์ (วันที่ 2 ตุลาคม 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เอเชียจุกวิกฤติยุโรป ภาคการผลิตเดินหน้าซึมยาว (02/10/2555)

 

ดิ้นหนีไม่รอด สลัดไม่หลุดเสียแล้ว สำหรับเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียที่จะไม่เจ็บตัวปวดใจไปกับสถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจโลกซบเซาในปัจจุบัน อันมีต้นเหตุมาจากปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะของภูมิภาคยุโรป ซึ่งสั่งสมบ่มเพาะเชื้อจนเรื้อรังได้ที่กับปัญหาการขาดดุลงบประมาณมหาศาลของรัฐบาลสหรัฐ ที่ยากเกินจะเยียวยาให้หายขาดได้ภายในอนาคตอันใกล้

 

หลักฐานยืนยันที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือ ตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของหลายประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะประเทศหลักๆ อย่างญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ต่างปรับตัวลดลง ส่งสัญญาณการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างทั่วหน้า ขณะที่บางประเทศ เช่น จีน อินเดีย และอินโดนีเซีย ที่แม้เศรษฐกิจของประเทศยังคงสามารถเดินหน้าขยับขยายเติบโตต่อไปได้ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับการขยายตัวในช่วงก่อนหน้า ก็เห็นได้ค่อนข้างชัดเจนว่าอัตราความเร็วของการเติบโตเริ่มชะลอตัวช้าลงเรียบร้อยแล้ว

 

พูดให้เข้าใจง่ายขึ้น คือ ตัวเลขข้อมูล สถิติ รายงาน หรือผลสำรวจใดๆ ที่ทยอยออกมาในช่วงนี้หรือนับต่อจากนี้ จะเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมดว่า สถานการณ์เศรษฐกิจของเอเชียอยู่ในระดับที่เปราะบางและขาดภูมิต้านทานอย่างรุนแรง ขณะที่สถานการณ์เศรษฐกิจของยูโรโซนจะเดินหน้าถดถอยต่อไป และมหาอำนาจอันดับ 1 ของโลกอย่างสหรัฐไม่อยู่ในสภาพที่ควรจะเรียกได้ว่าฟื้นตัวเต็มที่

 

ทั้งนี้ สัญญาณอันตรายของภาคอุตสาหกรรมเอเชียแรกสุดย่อมหนีไม่พ้นรายงานข้อมูลจากจีน เบอร์ 1 ของภูมิภาค และหมายเลข 2 ของโลกรองจากสหรัฐ ที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (พีเอ็มไอ) หนึ่งในดัชนีสำคัญสำหรับการวัดความเคลื่อนไหวในภาคอุตสาหกรรมการผลิตของแต่ละประเทศที่นักลงทุนจับตามองมากที่สุด ขยับเขยื้อนปรับเพิ่มได้น้อยที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 2554

 

รายงานจากสำนักสถิติแห่งชาติ และสหพันธ์โลจิสติกส์และการซื้อจีน ระบุว่า ดัชนีพีเอ็มไอประจำเดือน ก.ย. เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 49.8 จาก 49.2 ในเดือน ส.ค. ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ และคาดหวังไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับปริ่มๆ 50 ซึ่งถือเป็นตัวเลขกำลังสวยในสายตานักลงทุน เนื่องจากแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น

 

ข้อมูลรายงานข้างต้นสอดคล้องกับรายงานผลสำรวจของธนาคารเอชเอสบีซีที่เผยออกมาก่อนหน้าเมื่อวันที่ 29 ก.ย. ที่ระบุว่า กิจกรรมภาคอุตสาหกรรมโดยรวมของจีนในเดือน ก.ย. จะชะลอตัวอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 ขณะที่ยอดการสั่งซื้อสินค้าจากจีนถือได้ว่าต่ำที่สุดในรอบ 42 เดือน

 

ปราคาช ศักปาล นักวิเคราะห์จากไอเอ็นจีในสิงคโปร์ กล่าวว่า สิ่งที่น่าวิตกก็คือข้อมูลข้างต้นกลายเป็นปัจจัยสนับสนุนการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่เอ่ยเตือนกันมาตลอดว่าเศรษฐกิจของจีนมีสิทธิร่วงหนักดิ่งแรง (ฮาร์ดแลนดิง) อย่างไม่ต้องสงสัย

 

ทั้งนี้ นอกจากจีนที่โดนเศรษฐกิจโลกฉุดจนติดหล่มโคลนแล้ว ญี่ปุ่น พันธมิตรและคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญของจีน ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ในภูมิภาค ก็หนีไม่พ้นชะตากรรมเดียวกัน

 

ผลสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจประจำไตรมาสของธนาคารกลางญี่ปุ่น หรือที่รู้จักกันดีในนามดัชนีทังคัง (Tankan) จากบรรดานักธุรกิจหรือผู้ประกอบการชั้นนำกว่าพันราย ปรับตัวร่วงลงมา 2 จุด อยู่ที่ระดับลบ 3 จากไตรมาสก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ลบ 1

 

แปลความได้ว่า ในมุมมองของนักธุรกิจและนักลงทุนแล้ว เศรษฐกิจของญี่ปุ่น โดยเฉพาะภาคการส่งออกซึ่งเป็นเสาหลักในการขับเคลื่อนประเทศ อยู่ในสภาพที่พึ่งพาไม่ได้และไม่น่าวางใจ โดยมีสิทธิชะงักยาวไปจนถึงเดือน มี.ค. 2556

 

ด้าน ฮิโรอากิ มุโต นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากสุมิโตโม มิตซุย แอสเซต แมเนจเมนท์ ในกรุงโตเกียว ช่วยสรุปให้เข้าใจง่ายขึ้นว่า ดัชนีทังคังสะท้อนให้เห็นว่าความต้องการบริโภคสินค้าทั้งภายในและภายนอกประเทศญี่ปุ่นอยู่ในสภาพอ่อนแรงมาก

 

ยิ่งเมื่อบวกกับการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินเยนจากการแห่เข้ามาเก็งกำไรของนักลงทุน เนื่องจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ก็ยิ่งทำให้ภาคการส่งออกของญี่ปุ่นติดขัดหนัก เนื่องจากสูญเสียความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ

 

ขณะเดียวกัน ประเทศเอเชียที่ร่วงตามกันมาติดๆ และถือเป็นประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยการส่งออกอย่างแท้จริง จนนักวิเคราะห์และนักลงทุนส่วนหนึ่งใช้เป็นตัววัดภาคการส่งออกของภูมิภาคเอเชียก็คือ เกาหลีใต้

 

เพราะแม้จะมีสินค้าขายดีตีตลาดทั่วโลก เช่น สมาร์ตโฟนหรือเครื่องใช้ไฟฟ้ายี่ห้อซัมซุง หรือรถยนต์ยี่ห้อฮุนได แต่การส่งออกของเกาหลีใต้ไปยังยุโรปในเดือน ก.ย. ก็ร่วงลงแล้ว 5.1% ขณะที่การส่งออกไปยังสหรัฐลดลง 0.4%

 

เรียกได้ว่าเฉลี่ยรวมแล้วการส่งออกของเกาหลีใต้ปรับลดลงไปแล้ว 1.8% และเป็นการปรับลดเป็นเดือนที่ 7 จากทั้งหมด 9 เดือนในปีนี้

 

หันมาที่ละแวกใกล้เรือนเคียงประเทศไทยอย่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ซึ่งตกอยู่ในสภาพบอบช้ำไม่แพ้กัน โดย อินโดนีเซีย ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของอาเซียน ก็เผชิญหน้ากับยอดการส่งออกที่ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ในเดือน ก.ย. เรียบร้อยแล้ว เช่นเดียวกับภาคการผลิตของเวียดนามซึ่งหดตัวค่อนข้างแรงจน มูดี้ส์ บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำของโลกต้องปรับเครดิตลงจาก บี1 เป็น บี2 เนื่องจากภาคธนาคารและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอ่อนแอ

 

นอกจากนี้ ยังไม่นับรวม ไต้หวัน ที่ดัชนีพีเอ็มไอล่าสุดระบุชัดว่าการส่งออกของประเทศหดตัวลงในระดับที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 2554 ขณะที่ดัชนีพีเอ็มไอของ อินเดีย แม้จะขยับขึ้นสวนทางกับหลายๆ ประเทศในเอเชีย จนช่วยให้เศรษฐกิจแดนภารตขยายตัวจนเห็นได้ชัดในเดือน ก.ย. ทว่าแนวโน้มของราคาต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นกับยอดส่งออกที่คาดว่าจะลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก ก็อาจทำให้อินเดียหนีไม่พ้นความเจ็บปวดในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

 

ทั้งนี้ นอกจากปัจจัยจากยุโรปและสหรัฐจะยังคงคุกคามเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียต่อเนื่องไปอย่างยาวนานสักระยะหนึ่งแล้ว สิ่งที่น่าวิตกมากที่สุดสำหรับเอเชียโดยรวมก็คือสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศจีน ซึ่งเป็นเสมือนเครื่องยนต์ขับเคลื่อนหลักของภูมิภาค

 

นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งแสดงความเห็นผ่านหนังสือพิมพ์วอลสตรีต เจอร์นัล ไว้อย่างชัดเจนตรงกันว่า ความร้อนแรงที่ลดลงของจีนไม่ได้เป็นข่าวไม่สู้ดีเฉพาะกับพญามังกรเท่านั้น แต่ยังเป็นข่าวร้ายสำหรับบรรดาเพื่อนบ้านแวดล้อมที่หันมาผลิตเพื่อส่งออกให้จีนมากขึ้น แทนที่ตลาดในยุโรปและสหรัฐซึ่งกำลังถดถอยและซบเซาหนัก โดยยกตัวอย่างประเทศที่ได้รับผลกระทบไปแล้ว เช่น สิงคโปร์ และไทย

 

กุนดี ชาห์ยาดี นักเศรษฐศาสตร์จากโอเวอร์ซี ไชนีส แบงกิง คอร์ป กล่าวว่า การคิดหรือแม้แต่คาดหวังว่าเศรษฐกิจของเอเชียจะมีเสถียรภาพมากขึ้นในเร็ววันนี้ เนื่องจากหลายๆ ประเทศเริ่มปรับเปลี่ยนนโยบายหันมากระตุ้นการบริโภคภายในกันมากขึ้น ออกจะเป็นการด่วนตัดสินใจและมองโลกในแง่ดีจนเกินไป

 

เหตุผลก็เพราะการเติบโตในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาเซียน ได้รับการสนับสนุนทุ่มทุนเต็มที่จากภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นโครงการสาธารณูปโภค หรือนโยบายอุดหนุนต่างๆ ซึ่งเป็นแนวทางที่ไม่สามารถทำได้ตลอดไป ขณะที่การฟื้นตัวของภาคการส่งออกอย่างแข็งแกร่งยังมีความจำเป็นต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชียโดยรวมอยู่ดี

 

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ตลาดส่วนหนึ่งเห็นตรงกันว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดในขณะนี้ ก็ยังพอจะมีข้อดีให้เห็นอยู่บ้างตรงที่จะทำให้ภูมิภาคเอเชียตระหนักและตาสว่างเสียทีว่าไม่ใช่เวลาของการแตกแยกหรือแข่งขันชิงดีชิงเด่นเพื่อเอาตัวรอดแต่เพียงผู้เดียวอีกต่อไป

 

ขณะเดียวกัน ควรหันหน้าเพื่อแสวงหาความร่วมมือจากกันและกันอย่างจริงจังและจริงใจ

 

เพราะแม้ไม่อาจทำให้รอดพ้นจากผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่จะถาโถมเข้ามาอีกหลายระลอก แต่ก็ช่วยให้เจ็บตัวน้อยที่สุดเช่นกัน

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ (วันที่ 2 ตุลาคม 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดทองคำ Gold Futures by Classic Gold Futures (02/10/2555)

คลาสสิก โกลด์ ฟิวเจอร์ส

 

Price Movement

 

ราคาทองคำในตลาด COMEX ปิดที่ 1,783.30 USDต่อออนซ์ เพิ่มขึ้น 9.40 USDต่ออออนซ์ โดยมีความเคลื่อนไหวระหว่าง 1,765.70 — 1,794.40 USDต่อออนซ์ โดยในช่วงแรกราคาปรับขึ้นแรงเมื่อ ปธ.เฟดสาขาชิคาโก นายชาร์ล อีแวน กล่าวว่า ธนาคารกลางสหรัฐจะพยายามทำเพิ่มขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งจะมีผลทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น ราคาทองคำได้ขึ้นไปทำจุดสูงสุดระหว่างวันที่ 1,794 แต่เมื่อ ISM การประกาศตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 51.5 ดีเกินคาดทำให้มีแรงขายทำกำไรทองคำออกมา ราคาทองคำเริ่มได้รับแรงหนุนจากค่าเงินยูโรที่แข็งค่าขึ้น ในช่วงบ่ายวานนี้ หลังจากการประกาศตัวเลขดัชนี PMI ของสเปนและอิตาลีดีเกินคาด ทำให้ราคา break ผ่านแนวต้านบริเวณ 1,770 ขึ้นไปได้ และปรับขึ้นแรงเมื่อผ่าน 1,775 ขึ้นไปในช่วง 19.30 น.วานนี้ สำหรับในช่วงเช้าวันนี้ราคาทองคำเคลื่อนไหวบริเวณ 1,779 คาดว่าวันนี้มีแนวรับบริเวณ 1,772/1,767/1,755 และแนวต้านบริเวณ 1,795/1,800 การ break ผ่าน 1,790 เมื่อวานนี้ทำให้ คาดว่าในสัปดาห์นี้ราคาทองคำจะแกว่งตัวในกรอบ side way up ที่กว้างขึ้นอยู่ระหว่าง 1,737 — 1,810 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก การเข้าซื้อทองคำของกองทุนรวมทองคำ และธนาคารกลางของประเทศต่างๆ เนื่องจากทองคำมีฐานะเป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันความเสี่ยง และรักษามูลค่า อย่างไรก็ตาม การแกว่งตัวผันผวนมีมากขึ้น จากความกังวลในเรื่อง การที่ Moody’s จะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสเปน ความเคลื่อนไหวของเงิน USD และราคาน้ำมัน

 

Spot Gold

 

Technical Analysis

 

สำหรับภาพทางเทคนิคในรายวันราคาแกว่งตัว side way up โดยมีความผันผวนเพิ่มขึ้น ราคาสามารถขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่ในปีนี้ได้ที่ 1,794 อย่างไรก็ตาม สัญญาณทางเทคนิคในรายวัน RSI และ MACD ส่งสัญญาณ divergence ดังนั้นเมื่อมีการปรับขึ้นแรงจะมีแรงขายทำกำไรแรงตามมาด้วย คาดว่า แนวรับในวันนี้ที่บริเวณ 1,772/1,767/1,755 และแนวต้านบริเวณ 1,795/1,800 แนะนำ นักลงทุนระยะสั้น Trading ในกรอบ 1,755 — 1,800 หรือ รอราคาอ่อนตัวเพื่อเปิด Long บริเวณแนวรับ

 

Key Point in Precious Market

 

- ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาทองคำ ค่าเงิน USD อ่อนค่าลง ( + ) ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้น ( + ) ECB ประกาศจะเข้าซื้อพันธบัตรรอบใหม่ไม่จำกัดจำนวน แต่มีเงื่อนไขให้ประเทศที่ประสบปัญหาหนี้มีวินัยทางการคลัง ( + ) เฟดออกมาตรการ QE3 ตามคาด ( + ) เศรษฐกิจโลกอ่อนแอลง ( - ) มูดี้ส์ อาจลดอันดับความน่าเชื่อถือของสเปนลง ( - )

 

- ประเด็นที่ต้องติดตาม การที่สเปนจะขอความช่วยเหลือทางการเงินหรือไม่ ธนาคารกลางยุโรปประชุม ( 4 ต.ค.) ประชุมระหว่างปธ.ยูโรกรุ๊ปกับกองทุน ESM ( 8 ต.ค.) ประชุม G7 เรื่องวิกฤติหนี้ยุโรป ( 11 ต.ค.)

 

- การรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของ วันอังคาร ดัชนีภาวะธุรกิจรัฐนิวยอร์คเดือนก.ย. วันพุธ ตัวเลขการจ้างงานทั่วประเทศเดือนก.ย. ดัชนีภาคบริการเดือนก.ย. ตัวเลขสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์ วันพฤหัสบดี จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ยอดสั่งซื้อของโรงงานเดือนส.ค. เฟด เปิดเผยรายงานการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 12-13 ก.ย. วันศุกร์ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนก.ย.

 

- SPDR ซื้อทอง 1.81 ตัน ถือทองคำจำนวน 1,322.59 ตัน

 

Spot Silver

 

ราคาโลหะเงินปิดที่ 34.95 USDต่อออนซ์ โดยมีความเคลื่อนไหวระหว่าง 34.21 — 35.43 USDต่อออนซ์ ishares silver trust ซื้อ 13.55 ตัน ถือโลหะเงินจำนวน 9,939.15 ตัน คาดว่าวันนี้มีแนวต้านบริเวณ 35.4/ 35.5 มีแนวรับบริเวณ 34.2/33.5 แนะนำนักลงทุน Trading ในกรอบแนวรับ แนวต้าน

 

ที่มา : ThaiPR.net (วันที่ 2 ตุลาคม 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กองสลากฯเดินหน้าหวยออนไลน์2ตัวและ3ตัว

ข่าวเศรษฐกิจ วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2555 11:28น.

 

กองสลาก เดินหน้าหวยออนไลน์ 2 ตัว และ 3 ตัว ชี้เป็นเรื่องดี ระบุ หาก ครม.อนุมัติ ก็พร้อมปูพรม 6,000 เครื่อง ขายได้ทันที

พล.ต.ต.อรรถกฤษณ์ ธารีฉัตร ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า กองสลาก ยังคงเดินหน้าที่จะจำหน่ายสลาก 2 ตัว และ 3 ตัว ผ่านเครื่องจำหน่ายสลากอัตโนมัติ หรือ หวยออนไลน์ เพราะมองว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่จะช่วยแก้ปัญหาการขายลอตเตอรี่เกินราคา รวมทั้งจะทำให้หวยใต้ดินซึ่งมีเงินหมุนเวียนไม่ต่ำกว่าปีละ 300,000 ล้านบาท ขึ้นมาไว้บนดินเพื่อทำให้ถูกกฎหมาย ซึ่งเงินที่ประชาชนซื้อหวยออนไลน์ก็จะกลับมาพัฒนาประเทศต่อไป

 

 

ทั้งนี้ พล.ต.ต.อรรถกฤษณ์ ยืนยันว่า หากคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. อนุมัติให้กองสลากจำหน่ายหวยออนไลน์ได้แล้ว ทางกองสลาก ก็พร้อมที่จะดำเนินการวางเครื่องจำหน่ายได้ทันที โดยเบื้องต้น คาดว่า จะมีประมาณ 6,000 เครื่อง กระจายตามจุดต่างๆ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึง

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

RBA cuts rates by 25 bps to 3.25%

Australia RBA Interest Rate Decision falls to 3.25% in Oct 2 from 3.5% ออสเตรเลีย ประกาสลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาที่ 3.5%

 

 

Interest Rate Decision

Actual 3.25%

Forecast 3.50%

Previous 3.50%

Reserve Bank of Australia (RBA) board members come to a consensus on where to set the rate. Traders watch interest rate changes closely as short term interest rates are the primary factor in currency valuation.

 

A higher than expected rate is positive/bullish for the AUD, while a lower than expected rate is negative/bearish for the AUD.

 

การตัดสินใจปรับลด ย่อมทำให้ค่าเงินออสซี่ ลดค่าลง ในขณะที่ ค่าเงินดอลล์สหรัฐ อาจกลับมาแข็งค่าขึ้นได้ในระยะเวลาสั้นๆๆ

 

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธนาคารกลางทั่วโลกออกQE ดันทองนิวไฮ

 

เอ็มทีเอสโกลด์ มองราคาทองคำในปีนี้มีโอกาสทดสอบไฮเดิม 1,920 ดอลลาร์/ออนซ์ ปี"56 มีลุ้นทะยานแตะ 2,000 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังธนาคารกลางทั่วโลกงัดQE

 

 

นพ.กฤชรัตน์ หิรัณยศิริประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ แม่ทองสุก จำกัด ให้ความเห็นผ่านรายการ Market Wise ทางกรุงเทพธุรกิจทีวี ในช่วงเช้าของวันนี้ (2 ต.ค.) ว่า แนวโน้มราคาทองคำ ในไตรมาส 4 ของปีนี้ มีโอกาสขึ้นทดสอบจุดสูงสุดเดิมที่ระดับ 1,920 ดอลลาร์/ออนซ์ ได้ หลังจากที่ธนาคารกลางทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ธนาคารกลางญี่ปุ่น ต่างออกมาตรการอัดฉีดเม้ดเงินเข้าระบบ ผ่านมาตาการ QE ซึ่งทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่จะทำให้ราคาทองขึ้น ทดสอบระดับสูงสุดเดิมที่ทำไว้ในเดือนก.พ. 2554 ที่ขึ้นไปแตะ 1,920 ดลลาร์/ออนซ์ ส่วนแนวโน้มในปี 2556 คาดว่ามีโอกาสทำนิวไฮรอบใหม่แตะ 2,000 ดอลลาร์/ออนซ์ จากแนวโน้มความต้องการลงทุนที่เพิ่มสูงขึ้น

ขณะเดียวกันยังมองว่ากรณีที่สิงคโปร์ได้ประกาศยกเลิกเก็บภาษีทองคำ จะทำให้ดีมานด์ทองคำในตลาดเพิ่มมากขึ้นในไตรมาส 4 อย่างไรก็ตาม ในแง่ของผลกระทบที่เกิดขึ้นกับทองคำในไทยคงมีไม่มากนัก เนื่องจากไทยก็ไม่มีการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ทองคำเช่นเดียวกัน

ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ แม่ทองสุก ให้ความเห็นว่า การลดภาษีในครั้งนี้ ทำให้มีความเป็นไปได้ที่สิงคโปร์จะเป็นฮับในตลาดซื้อขายทองคำแข่งกับฮ่อง เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานในหลายๆด้านของสิงคโปร์เอื้อต่อการลงทุน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ป๋าครับแล้ว AUS ลดดอกเบี้ยลงจะส่งผลยังไงกับการลงทุนพวกหุ้นไทย ทองคำ และน้ำมัน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Support: - 1759.75, 1751.32 and 1744.68(main). Break of the latter will give 1731.43, where a correction is possible. Then 1719.30, where a correction is also possible. Be there a strong impulse, we would see 1710.12. Continuation will bring 1698.72.

 

Resistance: - 1788.70(main), where a correction may happen. Break would bring 1794.36, where a correction may also happen. Then follows 1805.62. Be there a strong impulse, we’d see 1822.52. Continuation would bring 1845.14.

 

คาดว่าวันนี้มีแนวรับบริเวณ 1,759.75/1,751.32/1,744.68 และแนวต้านบริเวณ 1,788.70/1,794.36

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

เฮีย มีบ้านผมอยู่ในแผนที่ด้วย อิอิ

หลังไหนเอ่ย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...