ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

อรุณสวัสดิ์เช้าวันอังคาร ครับทุกๆท่าน

ราคาทองเมื่อคืนนี้พุ่งแรงเสียเหลือเกิน

จากลมปากของนาย Charles Evans ประธานเฟดสาขา Chicago

คงต้องมาลุ้นกันต่อไปว่า ราคาทองจะสามารถทะลุผ่าน $1.800

ไปได้ในคราวนี้หรือไม่นะครับ

To Be Continue....

ขอให้ทุกท่านโชคดีนะครับ

 

 

ทองบวก$9.4หลังปธ.เฟดชิคาโกคาดใช้QE3ถึงปี56

วันเผยแพร่ วันอังคาร, 02 ตุลาคม 2555 07:21

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 9.4 ดอลลาร์ หรือ 0.53% ปิดที่ 1,783.3 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1788.6 - 1788.6 ดอลลาร์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค.ปิดที่ 34.952 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 37.50 เซนต์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนม.ค.ปิดที่ 1,685.80 ดอลลาร์/ออนซ์ พุ่งขึ้น 16.50 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนธ.ค.ปิดที่ 645.60 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 4.80 ดอลลาร์

 

โดยสัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (1 ต.ค.) เพราะได้แรงหนุนจากดัชนีภาคการผลิตที่ขยายตัวได้ดีเกินคาดของสหรัฐ นอกจากนี้ยังได้แรงหนุนหลังจากนายชาร์ลส์ อีแวนส์ ประธานเฟดสาขาชิคาโกกล่าวกับสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นบีซีว่า มีแนวโน้มที่เฟดจะขยายระยะเวลาดำเนินโครงการซื้อพันธบัตรรอบใหม่ หรือ QE3 ที่เพิ่งประกาศใช้เมื่อเดือนที่แล้ว ออกไปจนถึงปี 2556

 

ทั้งนี้ มาตรการผ่อนคลายทางการเงินดังกล่าวดึงดูดให้นักลงทุนเข้าซื้อโลหะมีค่า เพราะวิตกว่ามาตรการเหล่านี้อาจทำให้มูลค่าของเงินลดลง นอกจากนี้ นักลงทุนมักใช้ทองเป็นตัวปกป้องความเสี่ยงจากเงินเฟ้อซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นจากมาตรการผ่อนคลายทางการเงินต่างๆ

 

http://www.moneychannel.co.th

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาทองฟิว​เจอร์พุ่ง​แตะระดับสูงสุด​ในปีนี้ หลังปธ.​เฟดชิคา​โก​แย้ม QE3 อยู่ยาว​ถึงปีหน้า

ข่าวต่างประ​เทศ สำนักข่าวอิน​โฟ​เควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 1 ตุลาคม 2555 21:24:52 น.

 

สัญญาทองคำปรับตัวขึ้น​แตะระดับสูงสุด​ในรอบปีนี้ ​เพราะ​ได้​แรงหนุนจากคำกล่าวของประธาน​เฟดสาขาชิคา​โกที่ระบุว่า ​โครง​การซื้อพันธบัตรของธนาคารกลางสหรัฐอาจดำ​เนินต่อ​เนื่อง​ไปจน​ถึงปีหน้า

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบ​เดือนธันวาคมพุ่งขึ้น 16.70 ดอลลาร์ ​หรือ 0.9% ​แตะที่ 1,790.60 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ​เมื่อ​เวลาประมาณ 20.40 น.ตาม​เวลาประ​เทศ​ไทย ​โดยก่อนหน้านั้น สัญญาทองคำพุ่งสูง​ถึง 1,794.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ​ซึ่ง​เป็นระดับสูงสุดนับตั้ง​แต่ช่วงกลาง​เดือนพ.ย.2554

 

ชาร์ลส์ อี​แวนส์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (​เฟด) สาขาชิคา​โกกล่าวกับสถานี​โทรทัศน์ซี​เอ็นบีซีว่า มี​แนว​โน้มที่​เฟดจะขยายระยะ​เวลาดำ​เนิน​โครง​การซื้อพันธบัตรรอบ​ใหม่ที่​เพิ่งประกาศ​ใช้​เมื่อ​เดือนที่​แล้ว ออก​ไปจน​ถึงปี 2556

 

​ทั้งนี้ มาตร​การผ่อนคลายทาง​การ​เงินดังกล่าวดึงดูด​ให้นักลงทุน​เข้าซื้อ​โลหะมีค่า ​เพราะวิตกว่ามาตร​การ​เหล่านี้อาจ​ทำ​ให้มูลค่าของ​เงินลดลง นอกจากนี้ นักลงทุนมัก​ใช้ทอง​เป็นตัวปกป้อง​ความ​เสี่ยงจาก​เงิน​เฟ้อ​ซึ่งมี​แนว​โน้มว่าจะ​เกิดขึ้นจากมาตร​การผ่อนคลายทาง​การ​เงินต่างๆ

--อิน​โฟ​เควสท์ ​แปล​และ​เรียบ​เรียง​โดย ปนัยดา ปัทม​โกวิท/รัตนา ​โทร.02-2535000 ต่อ 327 อี​เมล์: ratana@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันที่ 1 ตุลาคม 2555 11:20

สิงคโปร์ยกเลิกภาษีทองคำปูทางสู่ฮับเอเชีย

news_img_472155_1.jpg

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

สิงคโปร์ประกาศยกเลิกภาษีทองคำ-เงิน หวังยกระดับประเทศเป็นศูนย์กลางการค้าโลหะมีค่า แข่งกับลอนดอนและซูริก

 

สิงคโปร์ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในศูนย์กลางธนบดีธนกิจระดับโลก พยายามผลักดันตัวเองให้เป็นคลังทองคำแห่งเอเชีย ด้วยการยกเลิกภาษี 7% สำหรับการซื้อขายทองคำและเงิน เริ่มมีผลตั้งแต่วันนี้ (1 ต.ค.) เป็นต้นไป

 

การตัดสินใจดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามผลักดันประเทศสู่การเป็นศูนย์กลางการค้าโลหะมีค่า แข่งกับกรุงลอนดอน ของอังกฤษ และเมืองซูริก ของสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งไม่มีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการซื้อขายทองคำเพื่อการลงทุน

 

นักลงทุนแห่ซื้อทองคำและเงินในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เมื่อเศรษฐกิจโลกเกิดอาการสะดุด โดยส่วนใหญ่เลือกซื้อทองคำแท่ง ก้อนโลหะมีค่า และเหรียญ เพื่อปกป้องความมั่งคั่งของตัวเอง

 

การเปลี่ยนแปลงแนวโน้มการลงทุน ทำให้สิงคโปร์ ที่พยายามสร้างภาพตัวเองเป็นแหล่งลงทุนปลอดภัย มั่นคง และไม่ซักถามจุกจิก ตั้งความหวังว่าจะกลายเป็นแหล่งลงทุนทองคำและเงินสำหรับนักลงทุนมากขึ้น

 

นายเซดริก ชานุ ผู้อำนวยการฝ่ายการค้าโลหะมีค่าในเอเชีย ของดอยช์แบงก์ กล่าวว่า ลูกค้าที่ต้องการโยกไปลงทุนในทองคำมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก และมีลูกค้าที่ต้องการย้ายทองคำจากยุโรปมาที่สิงคโปร์

 

หลังจากยกเลิกภาษีทองคำและเงินแล้ว สิงคโปร์ตั้งเป้าชิงส่วนแบ่งตลาด 10-15% ของความต้องการทองคำทั่วโลก ภายในเวลา 5-10 ปี เพิ่มขึ้นจากประมาณ 2% ในปัจจุบัน

 

นายเกรเกอร์ เกรเกอร์สัน ผู้อำนวยการบริษัทซิลเวอร์ บุลเลียน ซัพพลายเออร์ทองคำและเงินในสิงคโปร์ กล่าวว่า อัตราการเกิดอาชญากรรมในระดับต่ำของสิงคโปร์ และความมั่นคงทางการเมือง จะเป็นปัจจัยหลักในการทำให้สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางการค้าโลหะมีค่า เนื่องจากนักลงทุนรู้สึกปลอดภัย

 

http://www.bangkokbiznews.com/'>http://www.bangkokbiznews.com/

 

 

วันที่ 1 ตุลาคม 2555 16:34

'จิตติ'ชี้สิงคโปร์ยกเลิกภาษีทองไม่กระทบไทย

news_img_472221_1.jpg

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

นายกสมาคมค้าทองคำมองสิงคโปร์ประกาศยกเลิกภาษีซื้อ-ขายทองคำ ตั้งแต่ 1 ต.ค.55 ไม่กระทบไทย เหตุต่างชาติส่วนใหญ่นิยมเทรดในฮ่องกง

 

นายจิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี นายกสมาคมค้าทองคำ กล่าวว่า การที่ประเทศสิงคโปร์ประกาศยกเลิกภาษีซื้อขายทองคำและเงิน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 เนื่องจากต้องการที่จะผลักดันให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางในภูมิภาคเอเชียนั้น มองว่าในระยะสั้นยังไม่มีผลกระทบกับตลาดทองคำในประเทศไทยรวมถึงการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการค้าทองคำ เนื่องจากปัจจุบันการซื้อขายทองคำในไทยมีความคล่องตัว และนักลงทุนที่เข้ามาซื้อขายทองคำส่วนมากเป็นนักลงทุนในประเทศไทย ขณะที่ปัจจุบันมีนักลงทุนต่างประเทศมีสัดส่วนไม่ถึง 10% ของมูลค่าการซื้อขายรวม โดยนักลงทุนต่างชาติอยู่ในแถบพม่า กัมพูชา ลาว

 

"เมื่อสิงคโปร์ยกเว้นภาษีกลุ่มประเทศที่น่าจะเข้าไปซื้อขายมากขึ้นน่าจะเป็นแถบอินเดีย อินโดนีเซีย เพราะอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน แต่ก็ไม่ได้กระทบกับตลาดทองคำในประเทศไทยมากนัก เพราะนักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่จะนิยมไปเทรดในตลาดฮ่องกงมากกว่า แต่ระยะยาวก็คงต้องรอดูว่าจะการพัฒนาอย่างไร"

 

เขากล่าวว่า แนวโน้มราคาทองคำในงวดไตรมาส4/55 คาดว่าราคาทองคำจะแกว่งตัวในทิศทางขาขึ้นแต่ไม่มาก โดยคาดว่าจะอยู่ในระดับ 1,800 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ยกเว้นเกิดกรณีความตรึงเครียดของปัญหาในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่างจีนและญี่ปุ่น รวมถึงชาวมุสลิมกับสหรัฐ ซึ่งต้องติดตามจะมีปัจจัยใหม่ทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยลบเข้ามามีผลกระทบหรือไม่ หากมีความรุนแรงหรือความแย้งมากขึ้นก็อาจทำให้ราคาทองขยับขึ้นไปแตะระดับนิวไฮด์ได้ แต่คาดว่าก่อนจะปรับตัวขึ้นไปจะต้องย่อลงมาแรงก่อน

 

http://www.bangkokbiznews.com

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เงินบาทเปิด 30.74/76 แข็งค่าตามทิศทางยูโร มองกรอบวันนี้ 30.70-30.80 (02/10/2555)

นักบริหารเงินของธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 30.74/76 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจากปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 30.77/79 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับค่าเงินยูโร

 

"เงินบาทขยับแข็งค่าตามยูโร วันนี้น่าจะเคลื่อนตัวในกรอบแคบๆ ระหว่าง 30.70-30.80(บาท/ดอลลาร์)" นักบริหารเงิน กล่าว

 

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน โดยล่าสุดเป็นเรื่องปัญหาระบบธนาคารของสเปน

 

สำหรับความเคลื่อนไหวของค่าเงินสกุลหลักต่างประเทศที่สำคัญ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 78.05/08 เยน/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจากระดับ 77.98/78.00 เยน/ดอลลาร์ ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.2893/2896 ดอลลาร์/ยูโร จากระดับ 1.2897/2903 ดอลลาร์/ยูโร

 

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบความเคลื่อนไหวของเงินบาทไว้ระหว่าง 30.70-30.80 บาท/ดอลลาร์

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 2 ตุลาคม 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน : บมจ.ไทยออยล์ (02/10/2555)

ตัวเลขภาคการผลิตสหรัฐฯดี ส่วนยุโรปและจีนหดตัว ทำให้...WTI เพิ่ม...เบรนท์ ลด"

 

เวสต์เท็กซัสส่งมอบ พ.ย. เพิ่มขึ้น 0.29 เหรียญฯ ปิดที่ 92.48 เหรียญฯ และเบรนท์ส่งมอบ พ.ย. ลดลง 0.20 เหรียญฯ ปิดที่ 112.19 เหรียญฯ

 

+ ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ประกาศในคืนที่ผ่านมาออกมาดีกว่าความคาดหมายของนักวิเคราะห์ ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับลดลง เนื่องจากมีสัญญาณว่าเศรษฐกิจของเอเชียมีแนวโน้มที่จะอ่อนตัวลง นำโดยจีน ประกอบกับความเป็นไปได้ว่าเศรษฐกิจยุโรปจะเข้าสู่ภาวะถดถอยอีกครั้ง

 

+ ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐฯ ล่าสุดเดือน ก.ย. 55 ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 51.5 มากกว่าเดือนก่อนหน้าที่ 49.6 และนักวิเคราะห์คาดอยู่ที่ 49.7 ทั้งนี้เนื่องจากอัตราการจ้างงานที่ดีขึ้นส่งผลให้ผู้บริโภคในประเทศมีการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้น

 

- นายเบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางของสหรัฐฯ ได้ออกมากล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะไม่เข้าสู่ภาวะถดถอยแต่การเติบโตจะช้าไม่เพียงพอที่จะลดอัตราการว่างงานที่ระดับ 8% ลงได้อย่างที่ตั้งใจไว้

 

- ดัชนีภาคการผลิตของจีน (Official PMI) เดือน ก.ย. 55 ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 49.8 จากเดือนก่อนหน้าที่ 49.2 ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับจาก พ.ย. 54 แม้ว่าตัวเลขที่ประกาศออกมาจะปรับตัวดีขึ้นแต่ถือว่าต่ำกว่าการคาดหมายของตลาด เนื่องจากตัวเลขที่ประกาสออกมาอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่สองจากภาคการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากปริมาณการส่งออกที่ลดลง ทำให้ภาคการผลิตลดกำลังการผลิตลงตามลงไป

 

- ดัชนีภาคการผลิตของยุโรป (PMI) เดือน ก.ย. 55 ปรับเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ 46.1 จากเดือนก่อนหน้าที่ 45.1 ซึ่งถือว่ายังอยู่ในภาวะหดตัวเป็นเดือนที่ 14 ติดต่อกัน อาจเข้าสู่สภาวะถดถอยได้อีกครั้ง ทั้งนี้ภาคการผลิตได้รับผลกระทบอย่างหนักจากอุปสงค์ที่ปรับลดลงประกอบกับราคาสินค้าที่ยังลดต่ำลงอีกด้วย ส่งผลให้ดัชนียอดสั่งซื้อสิ้นค้าใหม่ ในเดือน ก.ย. ปรับลดลง มาอยู่ที่ 43.5 จากเดือนก่อนหน้าที่ 43.7

 

- อัตราการว่างงานของกลุ่มสหภาพยุโรปยังปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเดือน ส.ค. 55 อยู่ที่ 11.4% คิดเป็นประชากรที่ว่างงานทั้งหมด 18.2 ล้านคน เพิ่มจากปีก่อนหน้าที่มีประชากรว่างงานเพียง 2.6 ล้านคน ทั้งนี้นักวิเคราะห์ยังคาดการณ์อีกว่าอัตราการว่างงานจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ12 หรือคิดเป็น 19 ล้านคน ในปี 2557

 

ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากมีโอกาสส่งออกน้ำมับจากภูมิภาคไปยังสหรัฐฯ หลังโรงกลั่นในสหรัฐฯ อาจกลับมาดำเนินการผลิตล่าช้า และมีแรงซื้อที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องจากทางแอฟริกา

 

ราคาน้ำมันดีเซล ปรับลดลงตามราคาน้ำมันดิบดูไบ ขณะที่อุปทานที่เพิ่มขึ้นจากทางตะวันออกกลาง อินเดีย และไต้หวัน

 

 

ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง

 

กรอบการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้ เบรนท์ 105 - 115 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัส 85 - 95 เหรียญฯ

ติดตามความคืบหน้าในการขอเงินช่วยเหลือของสเปนหลังรัฐบาลได้ประกาศแผนการปฏิรูปเศรษฐกิจและปัญหาในกรีซจากการประท้วงต่อมาตรการรัดเข็มขัด

ติดตามการประชุมธนาคารกลางยุโรปในวันพฤหัส รวมทั้งตัวเลขภาคแรงงานของสหรัฐฯ ที่จะประกาศในสัปดาห์นี้

ตัวเลขเศรษฐกิจที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่

วันอังคาร: --

วันพุธ: การจ้างงานภาคเอกชนและดัชนีภาคการบริการสหรัฐฯ รวมถึงดัชนีภาคการบริการสหภาพยุโรป และจีน

วันพฤหัสฯ: ยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานและยอดคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานสหรัฐฯ

วันศุกร์: การจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานสหรัฐฯ รวมถึงจีดีพี ไตรมาส 2/2555 (final) สหภาพยุโรป และยอดคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานเยอรมนี

- สเปนจะขอความช่วยเหลือทางการเงินเพิ่มเติมจากสหภาพยุโรปเมื่อไร หลังสเปนได้ประกาศแผนปฏิรูปเศรษฐกิจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะนำไปสู่การที่ธนาคารกลางยุโรปจะเริ่มเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลของสเปน ล่าสุดคาดว่าสเปนพร้อมที่จะขอรับความช่วยเหลือในช่วงสุดสัปดาห์นี้

- การตัดสินใจให้เงินช่วยเหลือกรีซอาจจะต้องล่าช้าออกไป หลังรายงานการตรวจสอบสถานะการเงินกรีซจาก EC/ECB/IMF ได้เลื่อนออกไปจากเดิมในช่วงต้นเดือน ต.ค. เป็นกลางเดือน พ.ย. เนื่องจากสหรัฐฯ ไม่ต้องการให้เศรษฐกิจโลกมีปัญหาในช่วงก่อนการเลือกตั้งสหรัฐฯ ในวันที่ 6 พ.ย. นี้ ขณะที่มีประชาชนออกมาประท้วงรัฐบาลในเรื่องมาตรการรัดเข็มขัด 11.5 พันล้านยูโร ที่เป็นเงื่อนไขหลักของ EU/EMF

- ความพยายามของสหรัฐฯ และพันธมิตรชาติตะวันตกในการปล่อยน้ำมันสำรองทางยุทธศาสตร์เพื่อบรรเทาราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงขณะนี้

- ปัญหาความขัดแย้งในเรื่องโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านที่เพิ่มมากขึ้น หลังอิสราเอลประกาศเส้นตายแก่อิหร่านโดยกำหนดระดับการเสริมสมรรถนะแร่ยูเรเนียมที่ 20% ซึ่งคาดว่า อิหร่านจะพัฒนาได้ถึงระดับนี้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิหรือฤดูร้อนปีหน้า

- ซาอุดิอาระเบียอาจเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการและความพยายามของกลุ่มโอเปกเพื่อกดดันราคาน้ำมันดิบให้อยู่ที่ระดับ 100 เหรียญฯ

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 2 ตุลาคม 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รายงานเศรษฐกิจต่างๆ เมื่อวานนี้

 

จำนวนคนว่างงานกลุ่มยูโรโซนพุ่งสูงสุดครั้งใหม่ที่ 18.2 ล้านคน(02/10/2555)

ยุโรป 2 ต.ค.-จำนวนคนว่างงานในกลุ่มประเทศยูโรโซนเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ที่ 18.2 ล้านคน แต่อัตราว่างงานยังคงที่อยู่ที่ 11.4%

 

ในเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา มีจำนวนคนว่างงานในประเทศกลุ่มยูโรโซนเพิ่มขึ้นอีก 34,000 ราย ทำให้จำนวนของผู้ว่างงานในประเทศกลุ่มยูโรโซนเพิ่มขึ้นเป็น 18.2 ล้านคน สูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ แต่อัตราว่างงานยังคงอยู่ที่ 11.4% เท่ากับในเดือน มิ.ย. และ ก.ค. เนื่องจากวิกฤตหนี้ได้ฉุดรั้งเศรษฐกิจของภูมิภาคให้เข้าสู่ภาวะถดถอย ขณะที่มาตรการรัดเข็มขัดและลดรายจ่ายของรัฐบาลประเทศต่างๆ ทำให้บริษัทและธุรกิจจำนวนมากลดการจ้างงานลง

 

สำหรับประเทศในกลุ่มยูโรโซนที่ยังมีอัตราว่างงานสูงสุด ยังคงเป็นของสเปนที่ระดับ 25.1% เยอรมนีชาติมหาอำนาจของยูโรโซนมีอัตราว่างงาน 5.5% ส่วนออสเตรียมีอัตราว่างงานต่ำสุดที่ 4.5%.-สำนักข่าวไทย

 

สหรัฐเผยตัวเลขการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างลดลง 0.6% ในเดือนส.ค. (02/10/2555)

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผย ตัวเลขการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างของสหรัฐลดลงในเดือนส.ค. เนื่องจากกิจกรรมการก่อสร้างของภาคเอกชนและภาครัฐชะลอตัวลง

 

รายงานระบุว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างในเดือนส.ค. อยู่ที่ 8.371 แสนล้านดอลลาร์ต่อปี ต่ำกว่าตัวเลขของเดือนก.ค.ที่ระดับ 8.42 แสนล้านดอลลาร์ อยู่ประมาณ 0.6%

 

การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างที่ลดลงในเดือนส.ค. นั้นเกิดขึ้นตามหลังการลดลง 0.4% ในเดือนก.ค. ถือเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 และเมื่อเทียบกับเมื่อหนึ่งปีก่อนพบว่า ตัวเลขเดือนส.ค.ปีนี้ยังสูงกว่า 6.5%

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ในเดือนส.ค.นั้น การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างของภาคเอกชนอยู่ที่ 5.622 แสนล้านดอลลาร์ต่อปี ลดลงจากตัวเลขของเดือนก.ค.อยู่ 0.5% ขณะที่การก่อสร้างที่อยู่อาศัยปรับขึ้น 0.9% เมื่อเทียวกับเดือนก่อน ขณะที่การก่อสร้างซึ่งไม่ใช่ที่อยู่อาศัยลดลง 1.7%

 

ตลาดที่อยู่อาศัยสหรัฐเผชิญกับภาวะผันผวนมาเป็นเวลา 6 ปีภายหลังเกิดวิกฤตทางการเงิน แม้ว่าตัวเลขยอดขายและราคาที่อยู่อาศัยโดยรวมปรับตัวขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ก็ตาม แต่นักเศรษฐศาสตร์หลายคนเชื่อว่าภาคที่อยู่อาศัยยังต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะฟื้นตัวขึ้นอย่างเต็มที่

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 2 ตุลาคม 2555)

 

 

ดัชนี PMI ภาคการผลิตของอังกฤษเดือนก.ย.หดตัวต่อเนื่องแตะ 48.4 (02/10/2555)

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของอังกฤษปรับตัวลดลงสู่ระดับ 48.4 ในเดือนก.ย. จากระดับ 49.6 ในเดือนส.ค. ซึ่งตัวเลขที่อยู่ต่ำกว่าระดับ 50 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตของอังกฤษยังคงหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง

ภารการผลิตที่อ่อนตัวลงนี้มีสาเหตุมาจากอุปสงค์ที่อ่อนแอจากต่างประเทศ และต้นทุนที่สูงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อการผลิต

 

ที่มา : ทันหุ้น (วันที่ 2 ตุลาคม 2555)

 

 

ดัชนี PMI ภาคการผลิตยูโรโซนเดือนก.ย.หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 (02/10/2555)

มาร์กิตผลสำรวจซึ่งแสดงให้เห็นว่า ภาคการผลิตในกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร 17 ประเทศหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 ติดต่อกันในเดือนกันยายน

 

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของยูโรโซนอยู่ที่ระดับ 46.1 ในเดือนก.ย. เพิ่มขึ้นจากระดับ 45.1 ในเดือนส.ค. และสูงกว่าตัวเลขประมาณการเบื้องต้นที่ 46 อยู่เล็กน้อย

 

ทั้งนี้ ดัชนี PMI ภาคการผลิตของยูโรโซนปรับตัวขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนก.ค. ซึ่งในเวลานั้น ดัชนีร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 37 เดือนที่ 44.0 จุด อย่างไรก็ตาม แม้ดัชนี PMI เดือนก.ย.ปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน แต่ตัวเลขที่ต่ำกว่าระดับ 50 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตของยูโรโซนยังคงอยู่ในภาวะหดตัว

 

คริส วิลเลียมสัน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของมาร์กิตระบุว่า ช่วง 3 เดือนจนถึงเดือนก.ย.ถือเป็นไตรมาสที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 3 ปีสำหรับภาคการผลิตของยูโรโซน และข้อมูลดังกล่าวสะท้อนว่าเศรษฐกิจยูโรโซนจะกลับเข้าสู่ภาวะถดถอยรอบใหม่ในไตรมาส 3

 

ในวันนี้ มาร์กิตยังได้เปิดเผยผลสำรวจกิจกรรมภาคการผลิตของหลายประเทศในยูโรโซน ซึ่งรวมถึง 4 ประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่สุดในภูมิภาค

 

โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตของเยอรมนีพุ่งขึ้นแตะระดับ 47.4 ในเดือนก.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่มี.ค. จากระดับ 44.7 ในเดือนส.ค. แต่ตัวเลขต่ำกว่า 50 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตของเยอรมนียังอยู่ในภาวะหดตัว

 

ขณะที่ดัชนี PMI ภาคการผลิตของฝรั่งเศสร่วงลงอย่างหนักมาอยู่ที่ 42.7 ในเดือนก.ย. จากระดับ 46.0 ในเดือนส.ค. ซึ่งตัวเลขล่าสุดถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 41 เดือน

 

ด้านดัชนี PMI ภาคการผลิตของอิตาลีเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือนที่ 45.7 ในเดือนก.ย. จากระดับ 43.6 ในเดือนส.ค. บ่งชี้ว่าภาคการผลิตของอิตาลียังคงหดตัว แต่ในอัตราที่ช้าลง

 

สำหรับดัชนี PMI ภาคผลิตสเปนปรับตัวขึ้นแตะ 44.5 ในเดือนก.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือนเช่นกัน เพิ่มขึ้นจากระดับ 44.0 ในเดือนส.ค.

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 2 ตุลาคม 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

บาทผันผวน จับตาหนี้สเปน (02/10/2555)

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพรายงานว่า ภาวะการเคลื่อนไหวของค่าเงินประจำวันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม 2555 ค่าเงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 30.87/89 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดวันศุกร์ (28/9) ที่ระดับ 30.77/79 บาท/ดอลลาร์ จากความกังวลของนักลงทุนเกี่ยวกับการขอความช่วยเหลือทางการเงินของประเทศสเปน และภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ได้หนุนความต้องการเงินดอลลาร์ในช่วงสั้น ก่อนที่เงินบาทจะปรับตัวแข็งค่าขึ้นในช่วงบ่าย โดยได้แรงหนุนจากการซื้อทำกำไรสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ ทองคำ และสกุลเงินที่ให้ผลตอบแทนสูง เช่น ยูโร ในระยะสั้น ทั้งนี้ ค่าเงินสกุลส่วนใหญ่ในภูมิภาคแข็งค่าขึ้น ภายหลังจากที่มีการปิดงบดุลของไตรมาสที่สาม ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐ และยุโรป ส่งผลให้นักลงทุนโอนถ่ายเงินมาลงทุนในสกุลเงินที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า โดยตลอดทั้งวันค่าเงินบาทมีกรอบการเคลื่อนไหวอยู่ที่ 30.775-30.88 บาท/ดอลลาร์ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 30.78/79 บาท/ดอลลาร์

 

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินสกุลหลักอื่น ๆ เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินยูโรเปิดตลาดที่ระดับ 1.2818/21 ดอลลาร์/ยูโร ปรับตัวอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับราคาปิดตลาดวันศุกร์ (28/9) ที่ระดับ 1.2933/39 ดอลลาร์/ยูโร จากแรงกดดันของปัญหาหนี้ของประเทศสเปนที่ยังคงเป็นปัญหาหลักของภูมิภาคนี้ โดยนักวิเคราะห์บางรายกล่าวว่า ธนาคารพาณิชย์ในประเทศสเปนจำเป็นที่จะต้องได้รับเงินอัดฉีดประมาณ 5.93 หมื่นล้านยูโร หรือประมาณ 7.63 หมื่นล้านดอลลาร์ในการเพิ่มทุนหลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งผลทดสอบนี้ช่วยขจัดอุปสรรคที่จะขัดขวางการให้เงินช่วยเหลือจากองค์กรระหว่างประเทศ ทั้งนี้ รัฐบาลสเปนยังไม่มีการส่งสัญญาณที่ชัดเจนในการขอความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากต่างประเทศ จึงเป็นผลเชื่อมโยงให้กองทุน ESM ยังไม่สามารถปล่อยกู้ให้กลุ่มประเทศที่ประสบปัญหาหนี้ได้ ถึงแม้ว่าผลตัดสินจากศาลรัฐธรรมนูญของประเทศเยอรมนีจะสรุปว่ากองทุนดังกล่าวไม่ขัดต่อกฎหมายของประเทศเยอรมนี อย่างไรก็ตาม นายมาริโอ้ มอนติ นายกรัฐมนตรีประเทศอิตาลีกล่าวว่า ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และกลุ่มสหภาพยุโรป (อีซี) ควรเร่งมือในการหาข้อสรุปเงื่อนไขที่กลุ่มประเทศที่มีปัญหาหนี้จะต้องปฏิบัติตามหากต้องการขอความช่วยเหลือ โดยเงื่อนไขไม่ควรที่จะเข้มงวดมากจนเกินไปนัก ในขณะเดียวกันฟิทซ์ เรตติ้ง ซึ่งเป็นบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือได้ประกาศว่า จะยังไม่มีการปรับอันดับความน่าเชื่อถือของสเปนจากปัจจุบันที่อยู่ในระดับ BBB โดยมีแนวโน้มเชิงลบลงจนกว่าจะถึงปีหน้า เพื่อเป็นการให้โอกาสแก่สเปน ทั้งนี้ ตลอดทั้งวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวในกรอบ 1.2805-1.2910 ดอลลาร์/ยูโร ก่อนจะปิดที่ระดับ 1.2891/94 ดอลลาร์/ยูโร

 

ส่วนค่าเงินเยนนั้นเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ๆ โดยเปิดตลาดที่ 77.93/95 เยน/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดวันศุกร์ (28/9) ที่ 77.63/65 เยน/ดอลลาร์ หลังจากแข็งค่าขึ้นมากในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากนักลงทุนญี่ปุ่นโอนย้ายเงินกลับประเทศก่อนปิดงบดุลบัญชีรอบครึ่งปี ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินเยนมีกรอบการเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 77.79-78.03 เยน/ดอลลาร์ ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 77.98/78.00 เยน/ดอลลาร์

 

ส่วนค่าเงินอื่น ๆ อาทิ ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย และดอลลาร์นิวซีแลนด์ปรับตัวแข็งค่าขึ้นตามสกุลเงินอื่น ๆ ที่มีค่าตอบแทนสูง ทั้งนี้ ปริมาณการซื้อ-ขายระหว่างวันนี้ค่อนข้างเงียบ เนื่องจากตลาดในประเทศจีน ฮ่องกง และเกาหลีได้ปิดทำการ โดยตลาดในประเทศจีนปิดเนื่องในวันหยุดเฉลิมฉลองวันชาติ

 

ในสัปดาห์นี้ตลาดจับตาการรายงานข้อมูลทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ ผลการประชุมของธนาคารกลางออสเตรเลีย (2/10) ผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟด (4/10)

 

อัตราป้องกันความเสี่ยง (swap point) 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ +7.2/7.6 สตางค์/ดอลลาร์ และอัตราป้องกันความเสี่ยง (swap point) 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ +5.00/6.00 สตางค์/ดอลลาร์

 

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ (วันที่ 1 ตุลาคม 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

PTT คาดราคาน้ำมันดิบตลาดโลกสัปดาห์นี้มีแนวโน้มปรับตัวลดลง (02/10/2555)

บมจ.ปตท.(PTT) คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้(1-5 ต.ค.) มีแนวโน้มปรับตัวลดลง โดยราคาน้ำมันดิบ Brent มีแนวรับแนวต้านอยู่ที่ 108-113 USD/BBL ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI มีแนวรับแนวต้านอยู่ที่ 90-95 USD/BBL

 

ทั้งนี้ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้มีแนวโน้มปรับตัวลดลงภายหลังการทำ Stress-Test ระบบธนาคารในสเปนปรากฏว่า สเปนมีความต้องการเงินทุนเพิ่ม 5.93 หมื่นล้านยูโร โดยทางธนาคารมีความสามารถในการหาเงินทุนอยู่ที่ 1.9 หมื่นล้านยูโร ส่งผลต่อความไม่แน่นอนของ Credit Rating ของสเปนที่จะมีการวัดผลโดย Moody’s ในเร็วๆนี้ ซึ่งนักวิเคราะห์คาด Credit Rating ของสเปนอาจตกไปอยู่ในกลุ่มขยะ (Junk)

 

ทางด้านซูดานและซูดานใต้มีแผนติดตั้งระบบวัดปริมาณส่งออกน้ำมันดิบจากซูดานใต้ไปยังท่าในทะเลแดงเขตซูดาน เพื่อยุติความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ก่อนหน้านี้ซูดานใต้หยุดกำลังการผลิตน้ำมันดิบ 3.5 แสนบาร์เรลต่อวัน อย่างสิ้นเชิงเนื่องจากไม่สามารถตกลงค่าธรรมเนียมผ่านท่อได้จนเป็นเหตุทำให้มีการปะทะกันตามขอบชายแดนส่งผลให้แหล่งผลิตน้ำมันดิบเสียหาย

 

ขณะที่ CFTC รายงานปริมาณ net long position ในตลาดสหรัฐฯและอังกฤษสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 25 ก.ย. 55 ลดลง 44,088 สัญญา อยู่ที่ระดับ 199,215 สัญญา ทั้งนี้ให้จับตามองแหล่งผลิตน้ำมันดิบในย่านทะเลเหนือที่การซ่อมบำรุงแหล่งผลิตใช้เวลานานกว่ากำหนด ส่งผลให้การส่งมอบน้ำมันดิบในเดือน ต.ค. 55 ล่าช้า

 

อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ภายหลังสเปนประกาศรัดเข็มขัดในปีงบประมาณ 2556 เพิ่มเติม และนายกรัฐมนตรีอิสราเอล Benjamin Netanyahu แถลงขีดเส้นตาย (Red Line) ให้กับโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 2 ตุลาคม 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สภาแท็กซี่นัด8พันคนถกแท็กซี่ฟรีดาวน์2ต.ค.

ข่าวเศรษฐกิจ วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2555 8:43น.

 

สภาแท็กซี่ นัดคนขับ 8,000 คน หารือโครงการ "แท็กซี่ฟรีดาวน์" 2 ต.ค. นี้ ก่อนเสนอ "ชัชชาติ" เห็นชอบ คาด นำร่องได้ 10,000 คัน

นายธารินทร์ แกมขุนทด ประธานสภาแท็กซี่ไทย เปิดเผยว่า ในวันที่ 2 ตุลาคม 2555 จะมีการหารือกันกับคนขับรถแท็กซี่กว่า 8,000 คน ที่ วัดบางนานอก เกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานของโครงการ แท็กซี่ฟรีดาวน์ ที่เตรียมจะเสนอให้ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ให้เห็นชอบ ซึ่งในเบื้องต้นคาดว่า ถ้าโครงการดังกล่าวสามารถดำเนินการเป็นรูปธรรมได้จริง น่าจะมีจำนวนแท็กซี่นำร่องประมาณ 10,000 คัน และโครงการดังกล่าว สามารถเริ่มดำเนินการได้ทันที ถ้ารัฐบาลออกนโยบาย พร้อมทั้ง จัดตั้งกองทุนของคนขับรถแท็กซี่ เพื่อเป็นกองทุนค้ำประกัน และเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับบริษัทรถด้วย

 

อย่างไรก็ตาม ประธานสภาแท็กซี่ไทย กล่าวด้วยอีกว่า หลังจากการหารือในวันที่ 2 ตุลาคม 2555 เรื่องแท็กซี่ฟรีดาวน์ แล้วเสร็จ จะเดินทางไปจดทะเบีนยสมาคมสำหรับผู้ที่มีอาชีพขับรถแท็กซี่ โดยใช้ชื่อว่า สมาคมพัฒนาแท็กซี่ไทย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กรุงเทพฯ ติดอันดับเมืองหลวงที่รถติดมากที่สุด

เว็บไซท์ของสำนักข่าว บีบีซี ของอังกฤษ ระบุว่า หลังจากได้รายงานข่าวเรื่องปัญหาการจราจรติดขัดในเซา เปาโล เมืองใหญ่อันดับที่สองของบราซิล ที่เผชิญปัญหารถติดยาวถึง 180 กิโลเมตร ในบางจุด ซึ่งพบว่า ได้รับการตอบสนองจากผู้อ่านจากทั่วโลก ทำให้มีการเสนอชื่อเมืองหลวงที่เผชิญปัญหารถติดวินาศสันตะโรที่สุด 10 แห่ง และแห่งแรกที่ถูกกล่าวขวัญถึงคือ กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของไทย

ปัญหารถติดในกรุงเทพฯ ได้เลวร้ายลง นับตั้งแต่รัฐบาลใช้นโยบายคืนภาษีรถยนต์คันแรก บวกกับความปรารถนาของคนไทยที่อยากจะมีรถเป็นของตัวเองเพื่อยกระดับทางสังคม ทำให้มีรถยนต์มากถึง 5 ล้านคน แออัดกันอยู่ในกรุงเทพฯ ที่จริง ๆ แล้ว ถนนในเมืองหลวงแห่งนี้ รองรับรถยนต์ได้ไม่ถึง 2 ล้านคัน

การสัญจรในกรุงเทพฯ ในระยะทางเพียง 50-60 กิโลเมตร ต้องใช้เวลานานนับชั่วโมง ผู้อ่านคนหนึ่ง บอกกับบีบีซีว่า เคยตกอยู่ท่ามกลางการจราจรที่ติดขัดในกรุงเทพฯ และต้องเสียเวลาถึง 2 ชั่วโมง ในการเดินทางไม่ถึงหนึ่งกิโลเมตร เพื่อน ๆ ของเขาเคยไปทำงานสายถึง 4 ชั่วโมง และคิดว่า กรุงเทพฯควรจะให้ความสนใจต่อระบบขนส่งสาธารณะให้จริงจังกว่านี้ เพื่อให้คนได้ทำประโยชน์อย่างอื่นมากกว่า ที่จะมัวมานั่งติดอยู่บนถนน วันละหลายชั่วโมง และเมื่อสองหรือสามสัปดาห์ก่อน การเดินทางจากจังหวัดปทุมธานี ไปยังใจกลางกรุงเทพฯต้องใช้เวลาถึง 4 ชั่วโมงครึ่ง ทั้งที่เมื่อก่อนใช้เวลาไม่ถึงชั่วโมง

เมืองหลวงที่มีปัญหาการจราจรติดขัดแห่งที่สอง คือ กรุงจาการ์ต้า ของอินโดนีเซีย ชาวกรุงจาการ์ต้ามีคำเรียกสถานการณ์รถติดที่พวกเขาเผชิญว่า " มาเซ็ท " เพราะต้องวางแผนชีวิตกันตลอดทั้งวันเพื่อรับมือกับปัญหารถติด เพราะแม้การเดินทางระยะใกล้ก็อาจต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง และบางส่วนของเมืองก็เผชิญปัญหารถติดไม่เปลี่ยนแปลง และยิ่งโชคร้าย ที่ผู้คนมีทางเลือกน้อยมาก ระบบขนส่งสาธารณะไม่อำนวย และแม้จะมีการจัดเลนสำหรับรถประจำทางในกรุงจาการ์ต้า แต่แทบไม่ช่วยอะไร ขณะที่การจราจรตามสี่แยกยังคงติดขัด

แห่งที่สาม คือ กรุงไนโรบี เมืองหลวงของเคนยา อดีตอาณานิคมของอังกฤษ ที่ต้องเผชิญปัญหารถติดเพราะเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยวงเวียน รถหลายคันไม่สามารถสัญจรต่อไปได้เพราะติดรถที่อยู่บริเวณวงเวียน และยิ่งถ้ามีฝนตกพรำ ๆ ก็สามารถหลับรอในรถได้เลย

 

แห่งที่สี่ คือ กรุงมะนิลา ของฟิลิปปินส์ ที่เคยเผชิญสถานการณ์รถติดเลวร้ายที่สุดเมื่อ 10 ปีก่อน แต่เพิ่งจะผ่อนคลายลง เมื่อรัฐบาลมีมาตรการให้เจ้าของรถ ห้ามนำรถยนต์ส่วนบุคคลออกไปวิ่งบนถนนสัปดาห์ละ 1 วัน ส่วนพวกที่ป้ายทะเบียนลงท้ายด้วย 1 หรือ 2 ห้ามเอารถไปวิ่งในวันจันทร์ และถ้าลงท้ายด้วย 3 หรือ 4 ห้ามวิ่งวันอังคาร , 5 หรือ 6 ห้ามวิ่งวันพุธ เรียบแบบนี้ไปเรื่อย ๆ แต่ถ้าเป็นช่วงสุดสัปดาห์ สามารถวิ่งได้เหมือนกันหมด และสภาพการจราจรที่แออัดก็กลับมาเหมือนเดิม

 

แห่งที่ห้า คือ นครมุมไบ ของอินเดีย ที่คนขับรถยนต์พากันอิจฉาคนขับรถพยาบาลที่วิ่งขอทางอยู่ตามเลนต่าง ๆ ด้วยเพราะนอกจากบนถนนจะเต็มไปด้วยรถยนต์นานาชนิดแล้วยังมีฝูงวัว , ลูกม้าและขอทาน เดินกันให้พล่านไปหมด จนคนอินเดียแทบจะคิดว่า รถยนต์ของพวกแล่นโดยอาศัยแตรรถนำทาง ไม่ใช่เชื้อเพลิง

ส่วนอีก 5 แห่งที่เหลือ ได้แก่ กรุงคัมปาล่า ของอูกันดา ที่รถติดเป็นประจำทุกเช้าและเย็นโดยเฉพาะในช่วงฝนตกหนัก บวกกับระบบระบายน้ำไม่ดี , ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐก็มีเมืองรถติดถึง 2 เมือง คือ เล็กซิงตัน รัฐเคนตั๊กกี้ และเมืองออสติน รัฐเท็กซัส , กรุงโซล ของเกาหลีใต้ ที่ขึ้นชื่อเรื่องผู้ใช้รถใช้ถนนไม่สนใจสัญญาณไฟจราจร และกรุงธากา ของบังคลาเทศ

 

http://breakingnews.nationchannel.com/home/read.php?newsid=652367&lang=T&cat=&key=

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดหุ้นเอเชียปรับเพิ่มขึ้นเช้านี้ หลังภาคการผลิตสหรัฐขยายตัวเกินคาด

 

 

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 2 ตุลาคม 2555 08:55:59 น.

ตลาดหุ้นเอเชียบวกขึ้นเช้านี้ หลังจากที่ภาคการผลิตของสหรัฐขยายตัวมากเกินคาด

ดัชนี MSCI Asia Pacific Index (MXAP) บวก 0.2% ที่ระดับ 122.18 จุด ณ เวลา 9.54 น.ตามเวลาโตเกียว โดยมีสัดส่วนหุ้นบวกต่อหุ้นลบ 3 ต่อ 2 หุ้น

 

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 8,826.36 จุด เพิ่มขึ้น 29.85 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 7,703.10 จุด เพิ่มขึ้น 27.38 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 1,998.52 จุด เพิ่มขึ้น 2.31 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,061.72 จุด เพิ่มขึ้น 3.86 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เปิดวันนี้ที่ 5,321.71 จุด เพิ่มขึ้น 13.19 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,645.67 จุด เพิ่มขึ้น 2.36 จุด และดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียเปิดวันนี้ที่ 4,393.60 จุด เพิ่มขึ้น 5.00 จุด

 

ทั้งนี้ ตลาดหุ้นจีนและฮ่องกงปิดทำการวันนี้เนื่องในวันหยุดเฉลิมฉลองวันชาติ

หุ้นซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ บวก 1.3%, หุ้นเน็กซอน พุ่ง 8.9% และหุ้นซอฟต์แบงก์ คอร์ป ปรับเพิ่มขึ้น 2.6%

 

ตลาดหุ้นเอเชียได้รับแรงหนุนจากข้อมูลที่สดใสในสหรัฐ โดยสถาบันจัดการอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 51.5 ในเดือนก.ย. จากระดับ 49.6 ในเดือนส.ค. ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะอยู่ที่ 49.7 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตของสหรัฐกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรก หลังจากหดตัวมาสามเดือนติดต่อกัน

 

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปรียพรรณ มีสุข/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

 

ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้ลุ้นบวก-ยืนเหนือ 1,300 จุด ยังเกาะติดปัจจัยนอกปท.

 

 

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 2 ตุลาคม 2555 09:06:44 น.

นายเจริญ เอี่ยมพัฒนธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บล.เคที ซีมิโก้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะยังอยู่ในแดนบวกได้ โดยเชื่อว่าตลาดฯจะสามารถยืนเหนือระดับ 1,300 จุดได้

 

วันนี้ตลาดบ้านเราคงจะยังเคลื่อนไหวตามตลาดเพื่อนบ้าน โดยตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียที่เช้านี้ส่วนใหญ่จะเปิดตลาดในแดนบวกเล็กน้อย เนื่องจากยังไม่ได้มีปัจจัยใหม่เข้ามาเพิ่มเติม คงยังติดตามปัจจัยจากทั้งฝั่งยุโรปและสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด แต่อย่างไรก็ดี ตลาดบ้านเราจะเห็นได้ว่านักลงทุนต่างชาติยังไม่ได้ขาย แต่เป็นลักษณะของการทยอยเข้าซื้อ ดังนั้น หุ้นไทยก็น่าจะค่อย ๆ ไปต่อได้

 

พร้อมให้แนวรับ 1,290 จุด แนวต้าน 1,304-1,320 จุด ช่วงนี้ควรเลือกเล่นเป็นรายตัว แนะนำหุ้นในกลุ่ม Domestic plays

 

--อินโฟเควสท์ โดย พรเพ็ญ ดวงเฉลิมวงศ์/ศศิธร โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: sasithorn@infoquest.co.th--

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

น้ำมันนิวยอร์ก-ทองคำ-หุ้นสหรัฐฯ ปิดบวกจากข้อมูลการผลิตอเมริกา blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 ตุลาคม 2555 05:32 น.

 

blank.gif 555000012711401.JPEG blank.gif เอเอฟพี - ราคาน้ำมันตลาดนิวยอร์กและทองคำวานนี้(1ต.ค.) จากข้อมูลการผลิตที่สดใสในสหรัฐฯ ขณะที่ปัจจัยนี้ ก็ส่งผลให้วอลล์สตรีท ปิดบวกพอสมควร ท่ามกลางการเฝ้ารออย่างใจจดใจจ่อต่อตัวเลขภาคแรงงานอันสำคัญของอเมริกา

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนพฤศจิกายน เพิ่มขึ้น 29 เซนต์ ปิดที่ 92.48 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 20 เซนต์ ปิดที่ 112.19 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ราคาน้ำมันตลาดนิวยอร์กได้แรงหนุนจากการดีขึ้นอย่างผิดคาดของกิจกรรม การผลิตของอเมริกา หลังพบว่าดัชนีคำสั่งซื้อภาคโรงงานของสถาบันจัดการด้านอุปทานของไอเอสเอ็มใน เดือนกันยายน เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรก หลังจากลดลงมาตลอดช่วง 3 เดือนหลัง

 

ดัชนีคำสั่งซื้อภาคโรงงานของเดือนกันยายน อยู่ที่ 51.5 จุด เพิ่มขึ้นจาก 49.6 จุดในเดือนสิงหาคม โดยได้แรงขับเคลื่อนจากคำสั่งซื้อใหม่ๆและการขยายตัวของการจ้างงาน

 

ปัจจัยข้างต้นส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ(1ต.ค.) เปิดตัวในการซื้อขายวันแรกของช่วงไตรมาส 4 ด้วยการขยับขึ้นพอสมควร ขณะที่นักลงทุนเฝ้ารออย่างใจจดใจจ่อต่อตัวเลขภาคแรงงานอันสำคัญของอเมริกา ที่จะเปิดเผยออกมาในช่วงปลายสัปดาห์นี้

 

ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 77.91 จุด (0.58 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 13,512.40 จุด แนสแดค ลดลง 2.70 จุด (0.09 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 3,113.53 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 3.80 จุด (0.26 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,444.47 จุด

 

ด้านราคาทองคำวานนี้(1ต.ค.) ยังเดินหน้าในแดนบวกและปิดสูงสุดในรอบ 7 เดือน หลังช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ก็ทำสถิติเป็นไตรมาสที่ขยับขึ้นมากที่สุดในรอบกว่า 2 ปี จากแรงหนุนของข้อมูลภาคการผลิตสหรัฐฯ โดยราคาทองคำตลาดโคเมกซ์ของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนธันวาคม เพิ่มขึ้น 9.40 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,783.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดซื้อขายดอลลาร์/เยน:ยูโรพุ่งขึ้นช่วงเช้านี้

 

 

ยูโรได้รับแรงซื้อในช่วงเช้านี้ที่ตลาดเอเชีย โดยดีดตัวขึ้นจากระดับต่ำ สุดในรอบ 3 สัปดาห์เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ขณะที่นักลงทุนเข้าซื้อคืน ส่วนดอลลาร์ ออสเตรเลียร่วงลงก่อนความเป็นไปได้ที่จะมีการลดอัตราดอกเบี้ย

 

ในช่วงเช้านี้ ยูโรอยู่ที่ 1.2890 ดอลลาร์ แทบไม่เปลี่ยนแปลงจากระดับ ช่วงท้ายตลาดนิวยอร์ค แต่ก็ดีดตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดของเมื่อวานนี้ที่ 1.2804 ดอล ลาร์

 

เทรดเดอร์กล่าวว่า ความต้องการสกุลเงินที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย อาทิ ดอลลาร์และเยน หยุดชะงัก หลังจากสหรัฐเปิดเผยว่า ภาคการผลิตในเดือนก.ย. ขยายตัวเล็กน้อยเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือนพ.ค.

 

ดัชนีดอลลาร์ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดที่ 79.575 จากระดับสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์ที่ 80.447 และในช่วงเช้านี้ ดัชนีดอลาร์ร่วงลง 0.4% มาที่ 79.791 ส่วนดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 78.04 โดยอ่อนตัวลงจากระดับสูงสุดในรอบ 1 สัปดาห์ที่ 78.15

 

การเคลื่อนไหวดังกล่าวสะท้อนการปรับสถานะ ขณะที่นักลงทุนยังคงรอให้ สเปนขอความช่วยเหลือ และใช้โครงการซื้อพันธบัตรของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี)

 

มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิสยังไม่ได้ประกาศการทบทวนอันดับความน่าเชื่อ ถือของสเปน ซึ่งอาจจะส่งผลให้อันดับความน่าเชื่อถือของสเปนลดลงสู่สถานะขยะ

 

เจ้าหน้าที่ยุโรปกล่าววานนี้ว่า สเปนพร้อมจะขอความช่วยเหลืออย่างเร็ว ที่สุดในช่วงสุดสัปดาห์หน้า แต่เยอรมนีส่งสัญญาณว่า สเปนควรจะชะลอไว้ก่อน

 

นักลงทุนยังจับตาดูดอลลาร์ออสเตรเลียก่อนการประกาศมติการประชุมของ ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ในเวลา 11.30 น.ตามเวลาไทย และตลาดได้ ปรับตัวรับโอกาส 62% ที่ RBA จะลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% จากระดับ 3.5% ในขณะนี้

 

ผลสำรวจของรอยเตอร์เมื่อวันศุกร์ที่แล้วพบว่า นักวิเคราะห์โดยทั่วไปคาดว่า RBA จะคงอัตราดอกเบี้ย แต่หลายคนระบุว่า พวกเขาจะไม่ประหลาดใจถ้า RBA ตัดสิน ใจลดดอกเบี้ย

 

นักวิเคราะห์กล่าวว่า ดอลลาร์ที่แข็งค่าอย่างมาก ประกอบการกับดิ่งลงของ ราคาสินค้าส่งออกชั้นนำบางตัวของออสเตรเลีย และภาวะชะลอตัวของอุตสาหรรมเหมือง ล้วนสนับสนุนให้มีการลดดอกเบี้ย

 

แต่นักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดว่า RBA จะรอสัญญาณเพิ่มเติมที่บ่งชี้ถึงภาวะ ถดถอยในเศรษฐกิจ รวมทั้งรายงานภาวะเงินเฟ้อประจำไตรมาสในปลายเดือนนี้ ก่อนที่ จะลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมในเดือนพ.ย.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดโลหะมีค่านิวยอร์ค:กลุ่มกองทุนหนุนราคาทองขยับขึ้น

 

 

ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐขยับขึ้น 3.10 ดอลลาร์ สู่ 1,773.79 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ หลังจากขึ้นไปแตะจุดสูงสุดในรอบเกือบ 1 ปีที่ 1,791.20 ดอลลาร์ในระหว่างวัน โดยได้รับแรงหนุนจากคำสั่งซื้อของกลุ่มกองทุน ใน ขณะที่มีการตั้งข้อสงสัยว่าธนาคารกลางบางแห่งอาจส่งคำสั่งซื้อเข้ามาด้วย โดยตลาด ได้เข้าสู่ไตรมาสใหม่ในวันจันทร์ขณะที่ดอลลาร์อยู่ในภาวะอ่อนแอ

 

ราคาสัญญาทองเดือนธ.ค.ปิดตลาดปรับขึ้น 9.40 ดอลลาร์ สู่ 1,783.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1,765.70-1,794.40 ดอลลาร์

 

ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินขึ้นไปแตะจุดสูงสุดรอบ 3 สัปดาห์ที่ 80.147 ก่อนจะร่วงลงสู่ระดับ 79.824 ในช่วงท้ายตลาด ในขณะที่นักลงทุน ขายดอลลาร์เพื่อเข้าซื้อสินทรัพย์เสี่ยง หลังจากสหรัฐรายงานว่ากิจกรรมภาคการผลิต พุ่งสูงขึ้น

 

ราคาทองสปอตสามารถขึ้นไปแตะจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2011 ได้ในวัน จันทร์ โดยคำสั่งซื้อของกลุ่มกองทุนส่งผลให้มีการซื้อขายทองเกือบ 4.0 ล้านออนซ์ ภายในเวลาเพียงไม่กี่นาที

 

นักลงทุนบางรายคาดว่า ธนาคารกลางอาจเข้าซื้อทองในตลาดด้วยเช่นกัน เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงนี้ส่งผลให้ดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนแอในระยะยาว

 

นายเอเดรียน เดย์ จากบริษัทเอเดรียน เดย์ แอสเซท แมเนจเมนท์กล่าวว่า "ผมจะไม่ประหลาดใจถ้าหากเราได้รับรู้ข้อมูลในอนาคตว่า ธนาคารกลางบางแห่งได้เข้า ซื้อทองในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา"

 

 

"ธนาคารกลางมักจะไม่บอกล่วงหน้าว่าธนาคารกลางจะเข้าซื้อทอง แต่ธนาคารกลาง ได้เข้าซื้อทองในฤดูร้อนที่ผ่านมา และอาจจะเข้าซื้อต่อไปในช่วงนี้"

 

สำหรับราคาโลหะมีค่าที่ตลาด COMEX ในวันจันทร์มีดังต่อไปนี้

ปิดที่ระดับ (ดอลลาร์/ออนซ์) เปลี่ยนแปลง (ดอลลาร์)

ทองเดือนธ.ค. 1,783.30 + 9.40

เงินเดือนธ.ค. 34.952 + 37.50(เซนต์)

 

 

ส่วนราคาโลหะมีค่าที่ตลาด NYMEX ในวันจันทร์มีดังต่อไปนี้

ปิดที่ระดับ (ดอลลาร์/ออนซ์) เปลี่ยนแปลง (ดอลลาร์)

พลาตินั่มเดือนม.ค. 1,685.80 + 16.20

พัลลาเดียมเดือนธ.ค. 645.60 + 4.80

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...