ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

TFEX Recommendation :

SET50 Futures: แนะนำ “เปิด” สถานะ Short ที่บริเวณแนวต้าน 875-878 จุด โดยมีเป้าหมายการปรับลดลงไปที่ 860 จุด ขณะที่กำหนด Trailing Stop ที่ 880 จุด โดยคาดการณ์ S50H14 เคลื่อนไหว “ผันผวน” ตามแรงเก็งกำไรผลการประชุมระหว่าง กกต.กับ รัฐบาล

Gold Futures: แนะนำ “ถือ” สถานะ Long ต่อเนื่อง ด้วยเป้าหมายการปรับสูงขึ้นที่ 20,000 บาท และกำหนด Trailing Stop ที่ 19,700 บาท ทั้งนี้ในกรณีที่ Fed มีมติลดวงเงิน QE มากกว่า US$1 หมื่นล้าน หมื่นล้าน ในการประชุม FOMC วันที่ 28-29 ม.ค.นี้จะเป็นปัจจัยกกดดันราคาทองคำตลาดโลก

Oil Futures: แนะนำ “ถือ” สถานะ Long ต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายการปรับสูงขึ้นที่ 3,620-3,640 ขณะที่กำหนด Trailing Stop ที่ 3,510-3,520 ล่าสุดราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับลดลง US$1.19/bbl

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ประเด็นสำคัญ หนทางทำกำไรทองคำยากมากขึ้น คือ การตั้งราคาซื้อขาย นั้นคือในความคิดเห็นส่วนตัวของผม โดยมีสิ่งแปรข้ออ้างที่บรรดาผู้ขายกล่าวกัน คือ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ค่าเงินบาท ถ้าช่วงนี้เพื่อนๆ เห็นผมโพสต์ข่าวทองน้อยลง ก็เพราะว่า ความเสี่ยงเล่น ซื้อขายทองมีมากขึ้น ไม่อยากเสี่ยง ลดอัตราส่วนการลงทุนทองคำให้น้อยลง หันไปมองแบบอื่น หรือ ควรหยุดลงทุนทองคำชั่วคราว

 

มีที่ไหนกัน ตอนราคาทองลง ก็ไม่ปรับราคาลงให้แฟร์ๆๆ พอราคาขึ้น ก็ขึ้นแบบแฟร์ๆๆ พอนักเก็งกำไรขายทองทิ้ง รอซื้อคืนราคาต่ำ ก็ไม่ยอมให้ราคาต่ำ แต่พอราคาทองตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่นักเก็งกำไร ไม่มีทองในพอร์ต ก็ตั้งราคาขายสูงเกินแฟร์ กะว่า จะให้นักเก็งกำไรไล่ตามราคาแพงๆๆ อยู่ดีๆๆ ทองหล่นฮวบ เวร ! ติดดอย

สหรัฐเผชิญลมหนาวระลอกสอง ยกเลิกกว่า 500 เที่ยวบิน

สหรัฐเผชิญสภาพอากาศหนาวจัดอุณหภูมิติดลบต่ำกว่าศูนย์องศาระลอกใหม่ อันเนื่องมาจากพายุฤดูหนาวที่พัดมาจากอาร์คติก ส่งผลให้เกิดลมกรรโชกแรงทั่วแถบอัปเปอร์ มิดเวสต์ เมื่อวันจันทร์ ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องสั่งปิดโรงเรียนและเตือนภัยประชาชนให้หลีกเลี่ยงการใช้ถนน รวมถึงทำให้ระบบการขนส่งสาธารณะและการสัญจรทางน้ำต้องล่าช้าไปด้วย

 

เว็บไซท์พยากรณ์อากาศ แอคคิวเวธเทอร์ ดอท คอม รายงานว่า เมืองใหญ่ ๆ เช่น ชิคาโก , มินนีอาโปลิส , มิลวอล์คกี้และอีกหลายพื้นที่ในอัปเปอร์ มิดเวสต์ จะต้องเผชิญกับอุณหภูมิลบต่ำกว่าศูนย์องศาเซลเซียสจนถึงวันอังคาร รายงานยังคาดการณ์ด้วยว่า บางพื้นที่อาจเผชิญฝันร้ายที่อุณหภูมิอาจจะลดต่ำถึง ลบ 25 องศาเซลเซียส จนถึงลบ 45 องศาเซลเซียส

 

ด้านสำนักงานพยากรณ์อากาศแห่งชาติ ระบุว่า อากาศหนาวจัดรอบใหม่ เป็นผลมาจากความกดอากาศที่สูงขึ้นในอาร์คติก นอกชายฝั่งแคนาดา ที่แผ่ปกคลุมที่ราบอัปเปอร์ มิดเวสต์ ไปจนถึงภาคกลางของสหรัฐ ทางการประกาศปิดโรงเรียนในชิคาโก , มิลวอล์คกี้ , ซินซิเนติ และคลีฟแลนด์ และอีกหลายพื้นที่ในรัฐมินนีโซต้า

 

เว็บไซท์ตรวจสอบเที่ยวบิน ไฟล์ทอะแวร์ ดอท คอม รายงานว่า เที่ยวบินทั้งขาเข้าและออกจากสนามบินหลัก 2 แห่ง ในนครชิคาโก มากกว่า 515 เที่ยว ถูกยกเลิก ขณะที่ลมกรรโชกแรง ส่งผลให้สายไฟฟ้าขาดและไฟดับในหลายพื้นที่ในรัฐเท็กซัส และคาดว่าอุณหภูมิจะลดต่ำลงอีก ทำให้ต้องประกาศปิดโรงเรียนในรัฐเท็กซัสและนิวออร์ลีนส์ จนถึงวันอังคาร

 

คาดว่า จะเกิดหิมะตกหนักที่รัฐนอร์ธ คาโรไลน่า ส่วนรัฐเซาท์ คาโรไลน่าเผชิญหิมะและอุณหภูมิลดต่ำกว่าศูนย์องศาเซลเซียส ไปจนถึงวันพุธ ประชาชนในรัฐอลาสก้า ราว 4 พันคน ถูกตัดขาดจากภายนอก หลังจากเกิดหิมะถล่มลงไปกีดขวางถนน ตั้งแต่ช่วงสุดสัปดาห์

 

ทางการนครชิคาโก ได้ส่งรถตักหิมะและรถหว่านเกลือ 200 คัน เข้าไปบนถนนสายหลักและเล้คชอร์ ไดร์ฟ ตั้งแต่เมื่อเช้าวันอาทิตย์ ทางการยังประกาศเตือนความเป็นได้ที่ระบบขนส่งสาธารณะจะล่าช้า และขอให้ประชาชนเผื่อเวลาในการเดินทางเอาไว้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ประเด็นสำคัญ หนทางทำกำไรทองคำยากมากขึ้น คือ การตั้งราคาซื้อขาย นั้นคือในความคิดเห็นส่วนตัวของผม โดยมีสิ่งแปรข้ออ้างที่บรรดาผู้ขายกล่าวกัน คือ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ค่าเงินบาท ถ้าช่วงนี้เพื่อนๆ เห็นผมโพสต์ข่าวทองน้อยลง ก็เพราะว่า ความเสี่ยงเล่น ซื้อขายทองมีมากขึ้น ไม่อยากเสี่ยง ลดอัตราส่วนการลงทุนทองคำให้น้อยลง หันไปมองแบบอื่น หรือ ควรหยุดลงทุนทองคำชั่วคราว

 

มีที่ไหนกัน ตอนราคาทองลง ก็ไม่ปรับราคาลงให้แฟร์ๆๆ พอราคาขึ้น ก็ขึ้นแบบแฟร์ๆๆ พอนักเก็งกำไรขายทองทิ้ง รอซื้อคืนราคาต่ำ ก็ไม่ยอมให้ราคาต่ำ แต่พอราคาทองตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่นักเก็งกำไร ไม่มีทองในพอร์ต ก็ตั้งราคาขายสูงเกินแฟร์ กะว่า จะให้นักเก็งกำไรไล่ตามราคาแพงๆๆ อยู่ดีๆๆ ทองหล่นฮวบ เวร ! ติดดอย

ขอบคุณมากๆๆค่ะคุณป๋า แต่อย่าหายไปเลย มาวิจารย์ วิเคราะห์ ให้ความเห็นบ้างก็ยังดี น๊ะน๊ะ ขอร้อง ถูกแก้ไข โดย tiptip

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาพเมฆหมอก ของเมื่อวานนี้ ยังน่าจะมีจังหวะเห็น 124x แล้วค่อยมาว่ากันต่อไป

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธนาคารกลางอินเดียมีมติขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น 8%

 

 

ธนาคารกลางอินเดียมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% เป็น 8% ในการประชุมวันนี้ ซึ่งสวนทางกับการคาดการณ์ ในขณะที่แบงก์ชาติอินเดียอยู่ในระหว่างการพิจารณาเรื่องการปรับปรุงกรอบการดำเนินการด้านนโยบายเงิน เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คณะกรรมการนโยบายของธนาคารกลางได้เสนอให้มีการกำหนดเป้าการขยายตัวของเงินเฟ้อไว้ที่ 4% ภายในปี 2559 ซึ่งถือเป็นการส่งสัญญาณถึงความจำเป็นในการเพิ่มต้นทุนการกู้ยืม เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่ปรับตัวขึ้นใกล้กับระดับ 10% แม้ว่า เศรษฐกิจจะไม่ดีนักก็ตาม

แถลงการณ์ของธนาคารกลางอินเดียระบุว่า ในระยะใกล้นี้ คงจะไม่มีการคุมเข้มนโยบายการเงิน หากดัชนี CPI ชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 8% ภายในเดือนมี.ค.2558 ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สอดคล้องกับคำแนะนำของทางคณะกรรมการกำหนดนโยบาย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ การประชุมเฟดรอบแรกของปี 2557: คาดเฟดปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์เพิ่มเติม ท่ามกลางการฟื้นตัวที่ต่อเนื่องของเศรษฐกิจสหรัฐฯ

 

ประเด็นสำคัญ

 เฟดน่าจะปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ลงอีก 10 พันล้านดอลลาร์ฯ/เดือน ในการประชุมวันที่ 28-29 มกราคม 2557 หลังเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในภาพรวมยังสะท้อนถึงการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง

 แม้ว่า ข้อมูลการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐฯ ในเดือน ธันวาคม 2556 จะออกมาน่าผิดหวัง แต่ส่วนหนึ่งคงเป็นผลจากปัจจัยทางฤดูกาลซึ่งเป็นปัจจัยชั่วคราว อันไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน และท่าทีเชิงนโยบายของเฟด

 สำหรับปัจจัยที่ต้องจับตา คงได้แก่ การเปลี่ยนผ่านตำแหน่งประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ และการผลัดเปลี่ยนคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (Federal Open Market Committee) ชุดใหม่ และปัจจัยทางเศรษฐกิจ อาทิ พัฒนาการของตลาดแรงงานสหรัฐฯ รวมทั้งความเสี่ยงทางเศรษฐกิจในประเทศตลาดเกิดใหม่ และเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินของจีน

 

 

ในปี 2557 คงเป็นอีกปีที่ตลาดการเงินคงให้ความสนใจต่อการดำเนินนโยบายการเงินของเฟด โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับจังหวะความต่อเนื่องในการปรับลดขนาดการซื้อ สินทรัพย์ภายใต้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) หลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (FOMC) ได้มีมติในการประชุมครั้งสุดท้ายของปี 2556 ให้เริ่มปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ลง 10 พันล้านดอลลาร์ฯ ในเดือน มกราคม 2557 นี้ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในการประชุมรอบแรกของปี 2557 ในวันที่ 28-29 มกราคม นี้ คณะกรรมการนโยบาย FOMC น่าจะมีมติให้ปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ลงอีก 10 พันล้านดอลลาร์ฯ จาก 75 พันล้านดอลลาร์ฯ/เดือน เหลือ 65 พันล้านดอลลาร์ฯ/เดือน เพื่อรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจในระยะยาว ท่ามกลางตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สะท้อนการฟื้นตัวที่ยั่งยืนของสหรัฐฯ

 

 

แม้ว่าข้อมูลการจ้างงานสะท้อนการชะลอตัวในเดือนธันวาคม ที่ผ่านมา คาดเฟดยังคงดำเนินการปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ลงต่อเนื่องอีก 10 พันล้านดอลลาร์ฯ ท่ามกลางมุมมองเชิงบวกต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยรวมที่ยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

 

แม้ข้อมูลล่าสุดของตลาดแรงงานสหรัฐฯ จะสะท้อนถึงการขยายตัวที่ชะลอลงของการจ้างการงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐฯ โดยเดือนธันวาคม 2556 ขยายตัวเพียง 74,000 ตำแหน่ง โดยเป็นผลส่วนหนึ่งจากสภาวะอากาศที่หนาวเย็นเป็นพิเศษ ขณะที่มาตรการการปรับลดรายจ่าย (Sequestration) ก็กดดันการจ้างงานภาครัฐอีกทางหนึ่งด้วย อย่างไรก็ดี ปัจจัยกดดันตลาดแรงงานสหรัฐฯ ดังกล่าวถือว่าเป็นปัจจัยชั่วคราว และไม่น่าส่งผลกระทบต่อภาวะการฟื้นตัวของการจ้างงานในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ หากพิจารณาค่าเฉลี่ยของการเพิ่มตำแหน่งงานในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา ยังคงอยู่ที่ระดับ 172,000 ตำแหน่ง/เดือน ไม่แตกต่างจากค่าเฉลี่ยทั้งปี 2556 ที่ 182,000 ตำแหน่ง/เดือน เท่าใดนัก ขณะที่ ยอดการขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ และอัตราการว่างงานในเดือนธันวาคม 2556 ก็ยังคงปรับลดลงต่อเนื่อง

 

ท่ามกลางมุมมองต่อตลาดแรงงานที่ยังคงมีโมเมนตัมที่ดี กอปรกับเครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจอื่นๆ ของสหรัฐฯ ในภาพรวม ก็ยังคงบ่งชี้ถึงการฟื้นตัวอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริโภคอันเป็นภาคส่วนสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นยอดค้าปลีก และยอดขายรถยนต์ที่ขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่เครื่องชี้ภาคการผลิต (ISM Manufacturing) และอัตราการใช้กำลังการผลิตที่มีแนวโน้มสดใสเช่นกัน ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า เฟดจะยังคงเดินหน้าปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ลงอีก 10 พันล้านดอลลาร์ฯ/เดือน ต่อเนื่องในการประชุมในวันที่ 28-29 มกราคม นี้

 

นอกจากนี้ ยังคาดว่าการปรับลดการซื้อสินทรัพย์ภายใต้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณหลังจาก นี้ ก็คงเป็นไปในลักษณะการทยอยปรับลด เพื่อประคับประคองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขณะเดียวกันก็เป็นการสื่อสารกับตลาดเพื่อบริหารจัดการการคาดการณ์ของตลาดให้ เป็นไปในทิศทางตามที่เฟดให้สัญญาณ ทั้งนี้ อาจต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงระยะสั้นๆ ที่อาจกระทบจังหวะในการปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ของเฟดในอนาคต อาทิ ผลการเจรจาการขยายเพดานหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ซึ่งมาตรการผ่อนผันชั่วคราวจะสิ้นสุดลงในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557 รวมถึงพัฒนาการของตลาดแรงงานในระยะข้างหน้าว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงลบ จนอาจกระทบเสถียรภาพการฟื้นตัวของตลาดแรงงานหรือไม่ นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเกี่ยวกับเสถียรภาพของระบบการเงินจีน และความเปราะบางของเศรษฐกิจประเทศเกิดใหม่ ที่อาจจะส่งต่อผลกระทบต่อเนื่องไปยังประเทศอื่นๆ และอาจทำให้ภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกต้องเผชิญกับความเสี่ยงมากขึ้น ก็เป็นได้ ซึ่งหากความเสี่ยงดังกล่าวเหล่านี้ มีพัฒนาการไปในทิศทางที่แย่ลงอย่างมีนัยสำคัญ ก็มีความเป็นไปได้เพิ่มขึ้นที่เฟดอาจจะผ่อนการปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ใน จังหวะที่ช้าลง ในระยะถัดไป

 

จับตาการเปลี่ยนผ่านตำแหน่งประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ จากนาย Bernanke เป็น นาง Yellen รวมทั้ง การผลัดเปลี่ยนคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐ (Federal Open Market Committee) ชุดใหม่ ที่อาจจะมีผลต่อแนวทางในการดำเนินนโยบายการเงินของเฟดในระยะข้างหน้า

 

ท่ามกลางกระแสการคาดการณ์ของตลาดเกี่ยวกับผลกระทบต่อจังหวะและท่าทีของเฟด ต่อการปรับลดมาตรการ QE ภายใต้การเปลี่ยนผ่านตำแหน่งประธานเฟด จากนาย Bernanke เป็นนาง Yellen ซึ่งจากถ้อยแถลงในอดีตของ Yellen ทำให้ตลาดคาดว่าทิศทางของเฟดภายใต้การนำของนาง Yellen อาจเป็นไปในลักษณะประคับประคองและให้ความสำคัญกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมาก ขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดแรงงาน ภายใต้สถานการณ์เงินเฟ้อที่ยังไม่เป็นประเด็นกังวล นอกจากนี้ หลังจากการประชุมในรอบนี้ จะมีการเปลี่ยนองค์ประกอบของคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (FOMC) โดยคณะกรรมการชุดเก่าหลายท่านจะสิ้นสุดวาระลงในการประชุมรอบนี้ เช่นกัน

 

ทั้งนี้ แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารระดับสูงของเฟดและองค์ประกอบของคณะกรรมการ FOMC คงจะไม่นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงท่าทีเชิงนโยบายของเฟดอย่างมีนัยสำคัญ แต่ก็เป็นอีกปัจจัยที่น่าติดตาม เนื่องจากคงมีผลต่อจังหวะ ทิศทางและแนวโน้มของนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ในระยะข้างหน้า ซึ่งก็คงมีผลโดยตรงต่อภาวะตลาดการเงินโลก และกระแสเงินทุนเคลื่อนย้าย อันจะสร้างความท้าทายเชิงนโยบายให้แก่ธนาคารกลางทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธนาคารกลางของประเทศตลาดเกิดใหม่ ในการบริหารจัดการความผันผวนดังกล่าว ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด

 

กล่าวโดยสรุป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เฟดน่าจะยังคงดำเนินการปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ตามมาตรการผ่อนคลายเชิง ปริมาณลงอีก 10 พันล้านดอลลาร์ฯ ในการประชุมครั้งแรกของปี 2557 ในวันที่ 28-29 มกราคม นี้ ท่ามกลาง เครื่องชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังคงยืนยันภาพการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าการจ้างงานนอกภาคการเกษตรในเดือน ธันวาคม 2556 จะชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญจากปัจจัยฤดูกาลอันเป็นปัจจัยชั่วคราว

 

อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่ต้องจับตาในระยะอันใกล้คงได้แก่ การเปลี่ยนผ่านตำแหน่งประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ จากนาย Bernanke เป็น นาง Yellen รวมทั้ง การผลัดเปลี่ยนคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐ (Federal Open Market Committee) ชุดใหม่ ที่อาจจะมีผลต่อแนวทางในการดำเนินนโยบายการเงินของเฟดในระยะข้างหน้า ซึ่งคงจะเป็นตัวแปรสำคัญต่อทิศทางในการดำเนินนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ในระยะต่อไป นอกจากนี้ ยังต้องจับตาปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจจะกระทบจังหวะในการปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ของเฟด อาทิ การเจรจาในการขยายเพดานหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ และพัฒนาการของตลาดแรงงาน ตลอดจนประเด็นเกี่ยวกับเสถียรภาพของระบบการเงินจีน และความเปราะบางของเศรษฐกิจประเทศเกิดใหม่ อันอาจเป็นปัจจัยที่คงมีผลต่อจังหวะในการปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ของเฟด ในระยะข้างหน้า

 

ที่มา: ฐานเศรษฐกิจ(วันที่ 28 มค.57)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ประธานกลุ่มยูโรกรุ๊ป "เจอโรน ดิสเซลโบลม" ระบุว่า ประเทศในยูโรโซนมีความกังวลต่อปัญหาที่ถาโถมกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่

 

ความวิตกกังวลเกี่ยวกับตลาดในอาร์เจนตินา ตุรกี และรัสเซีย มีขึ้นในช่วงที่ยูโรโซนเพิ่งหลุดพ้นจากวิกฤติหนี้สาธารณะครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์

 

อย่างไรก็ตาม นายดิสเซลโบลมแถลงว่า การฟื้นตัวที่มีความอ่อนไหวของยูโรโซนไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ เนื่องจากมีบริบทแตกต่างกันและยูโรโซนยังสามารถรักษาความคืบหน้าในการฟื้นตัวได้

 

นายดิสเซลโบลมเสริมว่า การลดมาตรการกระตุ้นทางการเงินครั้งล่าสุดของธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟด ก็มีผลส่วนหนึ่ง แต่ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ยังคงต้องจัดการปัญหาความไม่สมดุลเชิงโครงสร้าง นอกจากนี้ เขายังเผยว่าไม่ได้มีความกังวลต่อยูโรโซน แต่เป็นห่วงสถานการณ์ในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่มากกว่า

 

ขณะที่กรรมาธิการด้านกิจการเศรษฐศาสตร์ของสหภาพยุโรปหรืออียู "นายโอลลี่ เรห์น" ก็เห็นพ้องว่า กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่จำเป็นต้องมีการปฏิรูป

 

นายเรห์นแถลงว่า สิ่งสำคัญที่สุดในความคิดของเขาคือ ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในระยะสั้นและระยะกลางโดยการปฏิรูปเชิงโครงสร้างเพื่อเพิ่มปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

 

ทั้งนี้ กระแสความกังวลเกี่ยวกับความผันผวนในตลาดเกิดใหม่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ก่อน หลังจากที่ค่าเงินเปโซของอาร์เจนตินาร่วงอย่างหนักถึง 14% ภายในสองวัน

 

ที่มา หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 28 มกราคม 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฝรั่งเดาทองยามบ่ายกล่าวว่า " ราคาทองถูกกดดันด้านลบจากเมฆหมอกมาที่ระดับ 1257-1259 ณ ขณะนี้ และมีแนวรับในช่วง 1251-1253 ที่จะต้องรับอยู่ เพื่อเป็นฐานที่มั่นในการรอข่าวการปรับลดวงเงิน คิวอี จาก เฟด ในวันพรุ่งนี้ ซึ่งในวันพรุ่งนี้. จะ. 1220 หรือ. 1280 แต่ที่น่าใช่ วันนี้ คือ Sideway. Down พร้อมตัวเลขสำหรับขาเสี่ยง ดังนี้

 

ปล. ลุ้นเสียสุขภาพจิตจะแย่ ถ้าเจอการตั้งราคาซื้อขาย จากคนขายแบบนี้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณป๋าค่ะ เหนื่อยใจทองแท่งนะ ราคาดีๆก็มาตอนตลาดปิดไปซะแล้ว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณป๋าค่ะ เหนื่อยใจทองแท่งนะ ราคาดีๆก็มาตอนตลาดปิดไปซะแล้ว

และอย่างตอนนี้ 1253 ราคาลดลง แต่ราคาไทย เหอะๆๆๆถอนหายใจยาวๆๆ สมาคมฯคนขายทอง คงบอกว่า ค่าเงินบาท อ้างทั้งปี มันจะ Real Time กันแบบ บ้านๆ กรู เรื่องของกรู ไปถึงไหน รับความจริงกันไม่ลง

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

**บาท/ดอลลาร์ภาคบ่ายแกว่งกรอบแคบ,รอความชัดเจนการเมือง-ประชุมเฟด

 

 

*บาท/ดอลลาร์ภาคบ่ายแกว่งตัวในกรอบแคบ โดยนักลงทุนยังรอดูความ

ชัดเจนจากปัจจัยการเมืองในประเทศ และทิศทางการดำเนินมาตรการ

กระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐ ต่อไป

*วอน เกาหลีใต้ นำสกุลเงินตลาดเกิดใหม่ในเอเชียแข็งค่าในวันนี้ ขณะที่

ตลาดคลายวิตกเกี่ยวกับตลาดเกิดใหม่ แต่ช่วงขาขึ้นถูกสกัด เนื่องจากการ

คาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) จะปรับลดวงเงินของมาตรการ

ผ่อนคลายเชิงปริมาณ(QE) ต่อไปอีก

*วอนและดอลลาร์ไต้หวัน ดีดตัวขึ้นจากแรงซื้อของกลุ่มผู้ส่งออกในประเทศ

ขณะที่ริงกิตพุ่งขึ้น จากแรงซื้อของนักลงทุนในประเทศ โดยนักวิเคราะห์

คาดว่าวิกฤตการณ์เต็มรูปแบบในตลาดเกิดใหม่ จะยังไม่เกิดขึ้นในขณะนี้

และเอเชียก็อยู่ในสถานะที่ดีกว่าตลาดประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ เนื่องจาก

มีปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งกว่า

*นักลงทุนกำลังจับตาดูว่า ธนาคารกลางตุรกี ซึ่งเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของ

ภาวะปั่นป่วนครั้งล่าสุดของตลาดเกิดใหม่ จะช่วยพยุงค่าเงินลีร์ได้หรือไม่

ในการประชุมนโยบายฉุกเฉินในวันนี้

*ค่าเงินลีร์ของตุรกีแข็งค่าขึ้นในวันนี้ ขณะที่นักลงทุนคาดหวังว่า ธนาคาร

กลางตุรกี จะไม่สนใจแรงกดดันทางการเมือง และจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

เพื่อสกัดการร่วงลงของค่าเงิน ในการประชุมนโยบายฉุกเฉินในวันนี้

*ตลาดคาดว่าเฟดจะปรับลดขนาด QE ลงอีก 1 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน

หลังเสร็จสิ้นการประชุมวันพรุ่งนี้ เพราะเฟดมุ่งความสนใจไปที่การฟื้นตัว

ของเศรษฐกิจสหรัฐ มากกว่าปัญหาในตลาดเกิดใหม่ในระยะนี้

*17.04 น.บาท/ดอลลาร์ อยู่ที่ 32.90/92 จาก 32.87/92 ช่วงเช้า

ขณะที่ใน offshore อยู่ที่ 32.89/93 จาก 32.87/91 ช่วงเช้า

*เยน/ดอลลาร์ อยู่ที่ 103.14/16 จาก 102.56/59 ช่วงเช้า

*ยูโร/ดอลลาร์ อยู่ที่ 1.3638/41 จาก 1.3670/73 ช่วงเช้า

 

"บาทวันนี้แกว่งแคบๆ ตลาดไม่มีปัจจัยอะไรเข้ามาผลักดัน ก็ยัง wait and see ทั้งการเมือง กับเรื่องของเฟด" ดีลเลอร์ กล่าว

เขา กล่าวว่า เงินบาทในวันนี้ เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบ เนื่องจากนักลงทุนยังชะลอการทำธุรกรรมเพื่อรอผลการประชุมเฟด ที่จะออกมาในคืนวันพรุ่งนี้รวมทั้งปัจจัยการเมืองในประเทศ ที่กำลังจะเดินไปสู่การเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.นี้ว่าจะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นหรือไม่

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...