ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

รหัส 7,5,2 ปิดตลาดเมืีอวันศุกร์ดำยาวกว่าแดง ระวังการหักศอก และ้วก็หักศอกหลังจากขึ้นไป 127x เส้นดำเส้นแดงหัวชนกัน แต่แดงค่อนข้างจะโผล่ลงล่าง จึงเดาว่า มีโอกาสปิดวันนี้ ลดลงกว่าเดิม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ว่าด้วยเรื่องค่าเงินบาท มีจังหวะแข็งค่าขึ้น ไม่ว่าจะมีเลือกตั้งหรือ ไม่มีเลือกตั้ง ในวันที่ 2 กพ. 57 แต่น่าจะมีเลือกตั้ง เพราะฝ่ายฯ ระฐบาลที่คิดและคาดว่า ตนได้เปรียบ ไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น ถึงแม้ว่า ทางข้างหน้าจะมีแต่สร้างปัญหาให้กับบ้านเมือง ขอให้ได้ทำ ในสิ่งที่คิดว่า ทำได้ แต่ในความจริง คือความผิดพลาด นับเป็นอีกครั้งของความผิดพลาดหลายๆ ครั้งเป็นร้อยกว่าครั้ง ในห้วงเวลาที่ผ่านมา / แข็งค่าขึ้นชั่วคราว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รายงานเมื่อคืนออกมาไม่ดี ทำไมราคาทองไม่ปรับขึ้น แปลกไหม !

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รายงานคืนนี้ ไม่น่าเป็นปัจจัย เท่ากับประชุมเฟดวันพรุ่งนี้ มะรืนนี้ ขาใหญ่จึงอาจมุ่งมั่นในการปรับลงเพื่อรอข่าวเฟด

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 27 ม.ค. 2557

 

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (27 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจและสถานการณ์การเมืองในประเทศกลุ่มตลาดเกิดใหม่ รวมทั้งการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดขนาดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ลงอีก

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 15,837.88 จุด ลดลง 41.23 จุด หรือ -0.26% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,781.56 จุด ลดลง 8.73 จุด หรือ -0.49% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,083.61 จุด ลดลง 44.56 จุด หรือ -1.08%

 

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (27 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐ หลังจากมีรายงานว่า ยอดขายบ้านใหม่ปรับตัวลดลงมาเกินคาดในเดือนธ.ค.

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาด NYMEX ปรับตัวลง 92 เซนต์ ปิดที่ 95.72 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมี.ค. ที่ตลาดลอนดอน ร่วงลง 1.19 ดอลลาร์ ปิดที่ 106.69 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (27 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไร อันเนื่องมาจากความวิตกกังวลที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดขนาดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ลงอีก

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ. ลดลง 90 เซนต์ หรือ 0.07% ปิดที่ 1,263.4 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 2.8 เซนต์ ปิดที่ 19.793 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย. ร่วงลง 7.5 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,421.1 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.ร่วงลง 12.25 ดอลลาร์ ปิดที่ 722.55 ดอลลาร์/ออนซ์

 

-- ค่าเงินดอลลาร์ปรับตัวขึ้นเทียบยูโรเมื่อคืนนี้ (27 ม.ค.) ขณะที่เทรดเดอร์คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะชะลอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลังการประชุมนโยบายการเงินในวันนี้

 

ค่าเงินยูโรร่วงลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.3669 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3677 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 1.6577 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.6506 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 102.74 เยน จากระดับ 102.3 เยน และปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.8970 ฟรังค์ จากระดับ 0.8950 ฟรังค์

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียบวกขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8751 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8712 ดอลลาร์สหรัฐ

 

-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (27 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดขนาดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ลงอีก โดยหุ้นโวดาโฟน กรุ๊ป และ บีจี กรุ๊ป ร่วงลงอย่างหนัก ในขณะที่แรงเทขายสกุลเงินประเทศตลาดเกิดใหม่ส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับความยั่งยืนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

 

ดัชนี FTSE 100 ปิดที่ 6,550.66 จุด ลดลง 113.08 จุด หรือ -1.70%

-- ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนนี้ (27 ม.ค.) ทำสถิติปิดลบติดต่อกัน 3 วันทำการ โดยดัชนี Stoxx 600 ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 1 เดือน เพราะได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของบริษัทรายใหญ่อย่าง โวดาโฟน และบีจี กรุ๊ป

 

ดัชนี Stoxx 600 ลดลง 0.8% ปิดที่ 322.02 จุด

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,144.56 จุด ลดลง 16.91 จุด หรือ -0.41% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,349.22 จุด ลดลง 42.80 จุด หรือ -0.46% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,550.66 จุด ลดลง 113.08 จุด หรือ -1.70%

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลงเป็นส่วนใหญ่ในช่วงเช้าวันนี้ อันเนื่องมาจากความวิตกกังวลที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดขนาดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ลงอีก และจากสัญญาณที่บ่งชี้ถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจีน

 

ดัชนี MSCI Asia Pacific Index ปรับตัวลง 0.1% แตะที่ 134.63 จุด เมื่อเวลา 9:28 น.ตามเวลาโตเกียว

 

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 15,038.64 จุด เพิ่มขึ้น 32.91 จุด, +0.22% ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียเปิดวันนี้ที่ 5,240.90 จุด ไม่เปลี่ยนแปลง ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,784.10 จุด เพิ่มขึ้น 5.22 จุด, +0.29%

 

ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,035.70 จุด ลดลง 6.73 จุด, -0.22% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 22,012.51 จุด เพิ่มขึ้น 36.41 จุด, +0.17% ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 2,036.40 จุด เพิ่มขึ้น 3.10 จุด, +0.15%

 

ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นเอเชียเป็นไปอย่างผันผวน โดยตลาดต่างๆปรับตัวขึ้นลงคละเคล้ากันไป ขณะที่นักลงทุนจับตาดูการประชุมระยะเวลา 2 วันของเฟดซึ่งจะเริ่มในวันนี้ โดยมีการคาดการณ์ว่า เฟดจะชะลอมาตรการ QE ต่อไป หลังจากที่ในเดือนที่แล้วได้ตัดสินใจเริ่มลดวงเงินในการซื้อพันธบัตรราย เดือนลง 1.0 หมื่นล้านดอลลาร์ มาอยู่ที่ 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยเริ่มตั้งแต่เดือนม.ค.

 

นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลต่อเนื่องเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจ จีน หลังจากเอชเอสบีซี โฮลดิงส์เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นของจีนในเดือนม.ค.ลดลงแตะ 49.6 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือน จากระดับ 50.5 ในเดือนธ.ค.

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 28 มกราคม 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ประเด็นสำคัญ หนทางทำกำไรทองคำยากมากขึ้น คือ การตั้งราคาซื้อขาย นั้นคือในความคิดเห็นส่วนตัวของผม โดยมีสิ่งแปรข้ออ้างที่บรรดาผู้ขายกล่าวกัน คือ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ค่าเงินบาท ถ้าช่วงนี้เพื่อนๆ เห็นผมโพสต์ข่าวทองน้อยลง ก็เพราะว่า ความเสี่ยงเล่น ซื้อขายทองมีมากขึ้น ไม่อยากเสี่ยง ลดอัตราส่วนการลงทุนทองคำให้น้อยลง หันไปมองแบบอื่น หรือ ควรหยุดลงทุนทองคำชั่วคราว

 

มีที่ไหนกัน ตอนราคาทองลง ก็ไม่ปรับราคาลงให้แฟร์ๆๆ พอราคาขึ้น ก็ขึ้นแบบแฟร์ๆๆ พอนักเก็งกำไรขายทองทิ้ง รอซื้อคืนราคาต่ำ ก็ไม่ยอมให้ราคาต่ำ แต่พอราคาทองตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่นักเก็งกำไร ไม่มีทองในพอร์ต ก็ตั้งราคาขายสูงเกินแฟร์ กะว่า จะให้นักเก็งกำไรไล่ตามราคาแพงๆๆ อยู่ดีๆๆ ทองหล่นฮวบ เวร ! ติดดอย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สรุปสภาวะตลาดทองคำแท่ง และโกลด์ฟิวเจอร์ส วันที่ 27 มกราคม 2557 ราคาทองคำแกว่งตัวในกรอบที่ระดับ 1,266.55-1,278.01 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่โกลด์ฟิวเจอร์ส GFG14 อยู่ที่ 19,890 บาท โดยราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น 160 บาท จากวันก่อนหน้าที่ระดับ 19,730 บาท ขณะที่ซิวเวอร์ฟิวเจอร์ SVG14 อยู่ที่ 671 บาท โดยราคาไม่เปลี่ยนแปลงจากวันก่อนหน้าที่ระดับ 671 บาท

(หมายเหตุ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้น ณ เวลา 15.40 น.ของวันที่ 27/01/14)

แนวโน้มวันที่ 28 มกราคม 2557

 

ความวิตกเกี่ยวกับสกุลเงินของละตินอเมริกา และ เศรษฐกิจของประเทศเกิดใหม่โดยเฉพาะอาร์เจนตินาได้ช่วยเพิ่มความน่าดึงดูดใจ ของทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำท่ามกลางความผันผวนในตลาดปริวรรตเงินตรา โดยสกุลเงินเปโซของอาร์เจนตินาดิ่งลงอย่างรุนแรงเมื่อรัฐบาลอาร์เจนตินา อนุญาตให้ชาวอาร์เจนตินาออมเงินในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ และทางการอาร์เจนตินาตัดสินใจลดการแทรกแซงสกุลเงินเปโซหลังจากทุนสำรองของ ธนาคารกลางร่วงลงสู่ระดับต่ำกว่า 3 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งส่งผลให้สกุลเงินเปโซทรุดตัวลงหนักที่สุดในรอบ 12 ปี ราคาทองคำปิดตลาดในแดนบวกบวกเป็นสัปดาห์ที่ 5 ติดต่อกัน ขณะที่แรงซื้อราคาทองคำปิดยังคงหนุนตลาดในวันจันทร์ให้ราคาขยับขึ้นไปแตะจุด สูงสุดรอบ 2 เดือนที่ 1,278.01 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

ทั้งนี้ ตลาดทองคำอาจเผชิญกับคำสั่งขายออกมา ในขณะที่ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจปรับลดขนาดมาตรการ QE ลงอีก ซึ่งคณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟด (FOMC) จะประชุมกันใน วันอังคารและวันพุธนี้ โดยเป็นที่คาดกันว่าเฟดจะปรับลดขนาดมาตรการลงจาก 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน สู่ 6.5 หมื่น ล้านดอลลาร์ต่อเดือน แต่แรงขายในตลาดทองคำอาจจะไม่รุนแรงมากนัก เพราะนักลงทุนเคยคาดการณ์ไว้ว่าเฟดจะปรับลดขนาด QE ลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป เบื้องต้นมุมมองของวายแอลจีต่อราคาทองคำ ในขณะนี้ว่าราคาทองคำพยายามรักษาฐานราคาเพื่อยืนเหนือเหนือแนวรับบริเวณ 1,250 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยหากราคาสามารถยืนเหนือแนวรับดังกล่าวได้ มีโอกาสปรับตัวขึ้นไปทดสอบแนวต้านที่ 1,284 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ แต่หากราคายังไม่สามารถผ่านแนวต้านดังกล่าวไปได้ ก็จะเห็นการย่อตัวของราคากลับลงมาบริเวณแนวรับอีกครั้ง

 

กลยุทธ์การลงทุน วายแอลจีมีมุมมองว่า หากราคาทองคำยืนเหนือบริเวณแนวรับ 1,250 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ในระยะสั้นราคาทองคำยังมีโอกาสขยับขึ้นทดสอบแนวต้าน 1,284 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยบริเวณนี้นักลงทุนที่สะสมทองคำไว้อาจมีการขายทำกำไรเพียงบ้างส่วนออกมา บ้าง โดยให้ดูว่าราคาจะผ่านแนวต้านได้หรือไม่ ซึ่งหากไม่ผ่านราคาอาจจะมีการอ่อนตัวลงอีกครั้ง โดยนักลงทุนที่รอซื้อทองคำอาจรอดูการตั้งฐานของราคาโดยประเมินแนวรับไว้ที่ 1,260-1,250 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แนะนำนักลงทุนในระยะสั้น และ หากราคาการย่อตัวลงมาและสามารถตั้งฐานบริเวณแนวรับดังกล่าวได้แข็งแกร็ง สามารถเข้าสะสมทองคำเพิ่มเติม

 

ทองคำแท่ง (96.50%)

แนวรับ 1,260 (19,620บาท) 1,250 (19,460บาท) 1,240 (19,300บาท)

แนวต้าน 1,284 (19,990บาท) 1,295 (20,160บาท) 1,307 (20,350บาท)

 

GOLD FUTURES (GFG14)

แนวรับ 1,260 (19,740บาท) 1,250 (19,590บาท) 1,240 (19,430บาท)

แนวต้าน 1,284 (20,120บาท) 1,295 (20,290บาท) 1,307 (20,480บาท)

 

SILVER FUTURES (SVG14)

แนวรับ 19.65 (662 บาท) 19.40 (654 บาท) 19.10 (644 บาท)

แนวต้าน 20.20 (681 บาท) 20.50 (690 บาท) 20.75 (699 บาท)

 

ที่มา: ฐานเศรษฐกิจ(วันที่ 28 มค.57)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ประเด็นสำคัญ หนทางทำกำไรทองคำยากมากขึ้น คือ การตั้งราคาซื้อขาย นั้นคือในความคิดเห็นส่วนตัวของผม โดยมีสิ่งแปรข้ออ้างที่บรรดาผู้ขายกล่าวกัน คือ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ค่าเงินบาท ถ้าช่วงนี้เพื่อนๆ เห็นผมโพสต์ข่าวทองน้อยลง ก็เพราะว่า ความเสี่ยงเล่น ซื้อขายทองมีมากขึ้น ไม่อยากเสี่ยง ลดอัตราส่วนการลงทุนทองคำให้น้อยลง หันไปมองแบบอื่น หรือ ควรหยุดลงทุนทองคำชั่วคราว

 

มีที่ไหนกัน ตอนราคาทองลง ก็ไม่ปรับราคาลงให้แฟร์ๆๆ พอราคาขึ้น ก็ขึ้นแบบแฟร์ๆๆ พอนักเก็งกำไรขายทองทิ้ง รอซื้อคืนราคาต่ำ ก็ไม่ยอมให้ราคาต่ำ แต่พอราคาทองตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่นักเก็งกำไร ไม่มีทองในพอร์ต ก็ตั้งราคาขายสูงเกินแฟร์ กะว่า จะให้นักเก็งกำไรไล่ตามราคาแพงๆๆ อยู่ดีๆๆ ทองหล่นฮวบ เวร ! ติดดอย

ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ 32.86-32.91 บาท/ดอลลาร์ จับตาผลการประชุมเฟด กรอบ 32.80-33.00 บาท/ดอลลาร์

 

นักบริหารเงินจากธนาคารพาณิชย์ กล่าวว่า ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 32.86-32.91 บาท/ดอลลาร์ โดยปัจจัยที่ต้องติดตามในวันนี้ คือรอติดตามดูผลประชุม FOMC ในคืนนี้ว่าจะมีการประกาศปรับลด QE ลงตามที่ตลาดคาดหรือไม่ และปัจจัยในประเทศติดตามสถานการณ์การเมืองเนื่องจากการเมืองเริ่มรุนแรงจะส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง

 

ทั้งนี้ ประเมินกรอบเคลื่อนไหววันนี้ที่ 32.80-33.00 บาท/ดอลลาร์

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 28 มกราคม 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง

ราคาทองคำวานนี้เริ่มอ่อนตัวลงหลังจากมีแรงขายทำกำไรสลับออกมา แม้ว่ารายงานยอดขายบ้านของสหรัฐฯเดือนล่าสุด จะออกมาต่ำกว่าที่ตลาดประเมิน นักลงทุนต่างยังให้ความสนใจกับการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯที่จะมีขึ้นใน สัปดาห์นี้ เพื่อหาสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงินของสหรัฐฯในอนาคต โดยราคาทองปิดตลาดเมื่อวานนี้ที่ 1,256.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ลดลง 13.35 ดอลลาร์ ราคาทำจุดต่ำสุดและจุดสูงสุดที่ 1,251 และ 1,278 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ตามลำดับ

 

ส่วนราคาซื้อขายทองคำแท่งในประเทศชนิด 96.5% เมื่อวานนี้ ขายออกที่บาทละ 19,750 บาท และรับซื้อคืนที่บาทละ 19,650 บาท กองทุน SPDR ไม่มีรายงานการเปลี่ยนแปลงปริมาณการถือครองทองคำ โดยปัจจุบันกองทุนถือครองทองคำรวม 790.46 ตัน

 

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานว่า ยอดขายบ้านใหม่ในเดือนธันวาคมลดลง 7% มาอยู่ที่ 414,000 ยูนิต จากระดับ 445,000 ยูนิตในเดือนก่อนหน้า และต่ำกว่าผลสำรวจที่ประเมินว่าจะอยู่ที่ 455,000 ยูนิต สภาพอากาศที่หนาวเย็นกว่าปกติอาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อยอดขายบ้านใน ช่วงเดือนสุดท้ายของปี 2556 ส่วนราคากลางสำหรับบ้านใหม่ในเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้น 4.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แตะ 270,200 ดอลลาร์ และเป็นระดับสูงสุดนับแต่เดือนเมษายน แต่รายงานตัวเลขดังกล่าวไม่ได้มีผลให้ราคาทองดีดตัวขึ้นตอบรับแต่อย่างใด คาดว่าเป็นเพราะราคาดีดตัวขึ้นมากในการซื้อขายช่วงปลายสัปดาห์ก่อนจึงเริ่ม มีแรงขายทำกำไรสลับออกมา

 

ส่วนเงินบาทเคลื่อนไหวทรงตัวในการซื้อขาย วานนี้ แม้ว่าจะมีแรงขายออกมามากในตลาดหุ้นไทยโดยมีประเด็นลบจากประเด็นการเมืองใน ประเทศกดดันการลงทุน หากมีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นกับการชุมนุมของกลุ่มผู้ชุมนุมที่ต่อต้าน รัฐบาลก็จะเป็นปัจจัยลบกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลง ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อการเคลื่อนไหวของราคาทองในประเทศให้ปรับตัวลดลงใน ปริมาณค่อนข้างน้อย และสำหรับภาพการเคลื่อนไหวทางเทคนิคของราคาทอง ซึ่งวานนี้ราคาอ่อนตัวลงจากแนวต้านบริเวณ 1,280-1,285 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และกลับลงมาปิดที่แนวรับบริเวณ 1,250-1,255 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

ภาพการ เคลื่อนไหวทางเทคนิคของราคาทองจึงยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นได้ต่อ การอ่อนตัวลงที่เกิดขึ้นเมื่อวานยังเป็นการปรับฐานในระยะสั้น หากราคาทองยังสามารถยืนเหนือแนวรับบริเวณ 1,235-1,240 ดอลลาร์ต่อออนซ์ คาดว่าราคาทองยังคงมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวขึ้นได้ต่อไป

 

 

 

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ (28/01/2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นักวิเคราะห์ คาด เฟด หั่น QE รอบใหม่ ในการประชุมที่จะสิ้นสุดในวันพรุ่งนี้ พร้อมระบุ สัปดาห์นี้เม็ดเงินยังไหลออกจากตลาดเกิดใหม่

 

 

 

ในการประชุมนโยบายการเงินของเฟด ในวันอังคารและวันพุธนี้ มีแนวโน้มว่าเฟดจะตัดสินใจปรับลดมาตรการ QE อีกครั้ง ท่ามกลางแรงขายสินทรัพย์ในตลาดเกิดใหม่ ที่ปะทุมาจากการเทขายสินทรัพย์ของตุรกีและอาร์เจนตินา

 

มาตรการ QE ในช่วงที่ผ่านมา ได้ช่วยหนุนสกุลเงินและหุ้นของประเทศตลาดเกิดใหม่ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวลง และนักลงทุนหาแหล่งลงทุนที่ได้อัตราผลตอบแทนสูง

 

ทั้งนี้ การที่เฟดจะยุติมาตรการ QEในปีนี้ ได้กลับมาส่งผลฉุดราคาสินทรัพย์ตลาดเกิดใหม่ ให้ลดลงอย่างรุนแรง โดยเฉพาะตลาดของประเทศที่มียอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูง จนส่งผลให้ธนาคารกลางของหลายประเทศ ต้องออกมาตรการแก้ปัญหามาบ้างแล้ว

 

นาย ชาร์ลส์ พลอสเซอร์ ประธานเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย มองผลกระทบจากนโยบายเฟดต่อตลาดเกิดใหม่ว่า ถ้าหากนโยบายการเงินของสหรัฐฯ เป็นสิ่งที่ดีที่สุดต่อเศรษฐกิจสหรัฐเอง นั่นก็ถือเป็นนโยบายที่สมควรจะใช้ เพราะว่าเศรษฐกิจสหรัฐ ที่แข็งแกร่ง ย่อมจะส่งผลดีต่อประเทศส่วนใหญ่

 

สำหรับ ในการประชุมวันอังคารและวันพุธนี้ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า เฟดจะปรับลดขนาดมาตรการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลและหลักทรัพย์ ลงสู่ 6 หมื่น 5 พันล้านเหรียญต่อเดือน จากระดับ 7 หมื่น 5 พันล้านเหรียญ หลังจากที่เคยปรับลดลงไปแล้ว 1 หมื่นล้านเหรียญในการประชุมเมื่อเดือนธ.ค.

 

นาย เบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟด ก่อนหน้านี้ระบุว่า มาตรการ QE มีแนวโน้มที่จะยุติลงทั้งหมดในปีนี้ ตราบใดที่เศรษฐกิจสหรัฐ และตลาดแรงงานยังคงปรับตัวดีขึ้น

 

แผนการปรับลดขนาด QE ของเฟด // การชะลอตัวทางเศรษฐกิจในสหรัฐ // และปัญหาในบางประเทศ ส่งผลให้เม็ดเงินจำนวนมาก ย้ายออกจากสินทรัพย์ในตลาดเกิดใหม่ในสัปดาห์ที่แล้ว ขณะนักวิเคราะห์บางคนยังมองว่า เม็ดเงินอาจจะไหลออกต่อเนื่องในสัปดาห์นี้

 

สำหรับ ความกังวลว่า ปัญหาของเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ จะกระทบต่ออเมริกานั้น // นักเศรษฐศาสตร์ของบริษัท เจพีมอร์แกน มองว่า จนถึงปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลชัดเจนที่แรงกดดันในตลาดการเงินในช่วงหลายวัน ที่ผ่านมา จะมากพอที่จะกระทบแนวโน้มเศรษฐกิจโลก ซึ่งก็หมายความว่า ปัญหาดังกล่าวยังไม่มีผลใดๆ ต่อเศรษฐกิจสหรัฐ

 

ที่มา:money channel (วันที่ 28 มค.57)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดเงินเอเชียร่วง ผวาวิกฤติการเงินรอบใหม่ (28/01/2557)

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง

ค่าเงินอาร์เจนตินา ป่วนตลาดเงินเอเชียร่วงหนัก ผวาเกิดวิกฤติการเงินครั้งใหม่ ด้านแบงก์ชาติ มั่นใจพื้นฐานศก.ไทยต่างอาร์เจนตินา เงินสำรองแกร่ง

 

ภาวะปั่นป่วนในตลาดเงินประเทศเกิดใหม่ในละตินอเมริกา โดยอาร์เจนตินาที่ค่าเงินดิ่งลงอย่างหนักในสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้นักลงทุนวิตกว่า อาจนำไปสู่วิกฤติการเงินครั้งใหญ่ ได้ลามมาถึงตลาดเกิดใหม่แถบเอเชีย รวมทั้ง ตุรกี และส่วนใหญ่วานนี้ ค่าเงินปรับตัวลดลงถ้วนหน้า ผสมกับความวิตกว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวมากขึ้น รวมไปถึงคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังคงปรับลดโครงการซื้อพันธบัตรในสัปดาห์นี้

 

นักค้าเงินจากธนาคารพาณิชย์ กล่าวว่า มีแรงเทขาย สินทรัพย์เสี่ยงโดยรวม และแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย ส่งผลให้เงินรูเปี๊ยะห์ นำสกุลเงินในภูมิภาคร่วงลง โดยดิ่งลง 0.4% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ เนื่องจากรูเปี๊ยะห์มีความเสี่ยงต่อการปรับลดมาตรการกระตุ้นของเฟดมากกว่าสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชีย เนื่องจากยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมากของอินโดนีเซีย

 

โดยนับตั้งแต่ต้นปี ค่าเงินรูเปี๊ยะห์ร่วงลง 0.5% มากกว่าสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค ส่วนริงกิตอ่อนค่าลง 0.4% มาที่ 3.3455 ต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2553 เปโซร่วง 0.3% มาที่ 45.45 ต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุด นับตั้งแต่เดือนส.ค. 2553 วอนร่วงลงถึง 0.7% มาที่ 1,087.7 ต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ก.ย. 2556 ขณะที่ค่าเงินบาทวานนี้อยู่ที่ 32.92 บาทอ่อนค่าเล็กน้อย

 

ทั้งนี้ สกุลเงินเรียลของบราซิลร่วงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือน สกุลเงินแรนด์ของแอฟริกาใต้แตะระดับต่ำสุดรอบ 5 ปี และสกุลเงินลีร์ของตุรกี ทรุดตัวลงแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 2.36 เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ส่วนค่าเงินเปโซของอาร์เจนตินาก็ทรุดตัวลงหนักสุดในรอบ 12 ปี จนทำให้รัฐบาลอาร์เจนตินาตัดสินใจในวันศุกร์ที่จะผ่อนคลายมาตรการควบคุมค่าเงิน

 

ธปท.มั่นใจไม่ย่ำรอยอาร์เจนตินา

 

นางรุ่ง มัลลิกะมาส โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า โดยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยแล้วค่อนข้างแตกต่างกับทางอาร์เจนตินา ประกอบกับเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยก็อยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับขนาดของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) แล้ว เงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยถือว่าสูงเป็นอันดับ 3 หรืออันดับ 4 ของโลก รองจากฮ่องกงและสิงคโปร์

 

"ปัญหาที่เกิดกับอาร์เจนตินา ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของพื้นฐานเศรษฐกิจที่ไม่ได้มั่นคงเหมือนกับเรา และจุดเปราะบางเขาก็มีมากกว่าเรา จึงเทียบเคียงกันค่อนข้างยาก ต้องบอกว่าความเปราะบางเศรษฐกิจเรามีน้อยกว่ามาก และเงินสำรองระหว่างประเทศเทียบกับจีดีพีแล้ว เราสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลกรองจากฮ่องกงและสิงคโปร์ ซึ่งทั้งสองประเทศนี้ใช้นโยบายการเงินที่ต่างกับไทย ส่วนที่มีใกล้เคียงกับเราก็คือมาเลเซีย"นางรุ่ง กล่าว

 

อย่างไรก็ตาม ธปท. ยังคงติดตามดูการเคลื่อนไหวในตลาดเงินอย่างใกล้ชิด ซึ่ง ธปท. จะพยายามดูแลให้อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวสอดคล้องกับพื้นฐานของเศรษฐกิจ แต่หากช่วงไหนที่พบการเคลื่อนไหวซึ่งฮวบฮาบผิดไปจากภาวะปกติ ทาง ธปท. เอง ก็พร้อมเข้าดูแล เพียงแต่จนถึงขณะนี้ยังไม่พบความผิดปกติใดๆ

 

กสิกรไทยเชื่อไม่ส่งผลค่าบาท

 

นายธิติ ตันติกุลานันท์ ผู้บริหารสายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า การปรับลดค่าเงินของอาร์เจนตินา เป็นผลจากปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และทุนสำรองที่ปรับลดลง เป็นปัจจัยที่ทำให้ตลาดมีปฏิกิริยาในการเทขายหุ้นออกมา เนื่องจากมองว่าแนวโน้มเศรษฐกิจโลกจะอาจจะไม่ดี แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเฉพาะตัว เหมือนที่เคยเกิดขึ้นกับประเทศอินเดียและอินโดนีเซียก่อนหน้านี้ไม่น่าจะลุกลามไปยังประเทศอื่นๆ รวมถึงไม่ได้มีผลต่อค่าเงินบาทมากนัก

 

ทั้งนี้ ปัจจัยที่จะมีผลต่อตลาดเงินที่สำคัญ คือ เศรษฐกิจสหรัฐและยุโรปที่เป็นความหวังของโลกว่าจะฟื้นตัวได้จริง ส่วนประเด็นเรื่องการปรับลดมาตรการคิวอีนั้นตลาดได้รับรู้ไปแล้วว่าจะมีการทยอยปรับลดวงเงินต่อเนื่อง ซึ่งก็น่าจะเป็นไปตามแผนจึงยังไม่มีปัจจัยที่กระทบต่อค่าเงินบาทมากนัก

 

นายอิทธิพันธ์ เจียกเจิม ผู้จัดการขายผลิตภัณฑ์ตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า การลดค่าเงินและเข้าแทรกแซงค่าเงินของอาร์เจนตินาและตุรกีส่งผลกดดันตลาดเงินวานนี้ แต่เป็นเพียงบรรยากาศการลงทุนเท่านั้นไม่น่าจะส่งผลกระทบมาถึงไทย เนื่องจากไม่ได้มีความเชื่อมโยงกันทางเศรษฐกิจมากนัก ขณะที่การลดขนาดคิวอี ทางเฟดพูดชัดว่าจะหยุดมาตรการคิวอีเมื่อเห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีการฟื้นตัวอย่างยั่งยืนเท่านั้น ซึ่งหากสหรัฐฟื้นตัวจริงก็น่าจะส่งผลดีกับประเทศไทยในฐานะคู่ค้าที่จะช่วยให้การส่งออกและการบริโภคฟื้นตัวได้

 

"ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดในขณะนี้คือตัวเลขเศรษฐกิจของจีนที่สร้างความผิดหวังให้ตลาด และเกิดคำถามว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวจริงหรือไม่จนเกิดแรงเทขายออกมา ขณะที่สหรัฐเองที่เป็นตัวดึงตลาดอยู่ในขณะนี้คนก็สงสัยว่าจะดึงได้แค่ไหน"

 

ส่วนการที่ค่าเงินบาทวานนี้ไม่ได้อ่อนค่าลงมากนักคาดว่าจะเป็นการเข้ามาดูแลของ ธปท. ที่มีความเป็นห่วงเรื่องความเปราะบางของเศรษฐกิจในขณะนี้ ซึ่งการไม่ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินหรือกนง.ครั้งที่ผ่านมานั้น เนื่องจากธปท.มองภาพรวม และช่วยพยุงให้เกิดเสถียรภาพของค่าเงินบาทและดอกเบี้ย ทั้งนี้แนวโน้มค่าเงินบาทในระยะนี้ยังมีความผันผวนและอาจทำให้เงินบาทแกว่งตัวในกรอบ 32.75-33.10 บาทต่อดอลลาร์ ได้

 

เตือนไทยอยู่ในจอเรดาร์ต่างชาติ

 

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า สาเหตุการไหลออกของเงินทุนเคลื่อนย้ายในแถบละตินอเมริกา ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการลดขนาดคิวอีลง ทำให้นักลงทุนต่างชาติเริ่มมองหาประเทศที่เป็นจุดอ่อน

 

"ก่อนหน้านี้คนส่วนใหญ่ค่อนข้างดูแคลนการลดขนาดคิวอี โดยมองว่าผลกระทบไม่มากนัก ซึ่งผมมองว่าไม่จริง และภาพเหล่านี้ก็สะท้อนให้เห็นแล้วผ่านหลายประเทศที่กำลังเผชิญปัญหาเงินทุนไหลออก ล่าสุด ทางละตินอเมริกา โดยเฉพาะอาร์เจนตินา ก็เพิ่งโดนผลกระทบดังกล่าวไป ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพื้นฐานเศรษฐกิจที่ค่อนข้างอ่อนแออยู่แล้วด้วย"นายกอบศักดิ์ กล่าว

 

สถานการณ์ที่เกิดกับอาร์เจนตินา ค่อนข้างคล้ายกับไทยในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 คือ ในช่วงแรกที่เกิดปัญหาเงินทุนไหลออก ธนาคารกลางของอาร์เจนตินาเข้าไปแทรกแซงค่าเงินจนทำให้ระดับเงินสำรองระหว่างประเทศที่เคยอยู่ระดับ 4-5 หมื่นล้านดอลลาร์ ลงมาเหลือเพียง 2 หมื่นล้านดอลลาร์ หลังจากนั้นธนาคารกลางอาร์เจนตินาตัดสินใจเลิกการแทรกแซง ยอมปล่อยให้ค่าเงินเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด ผลที่ตามมา คือ ค่าเงินอ่อนค่าลงไปค่อนข้างมาก

 

"ถ้าตามดูการเคลื่อนไหวของค่าเงินเปโซหลังจากที่ธนาคารกลางเขาตัดสินใจเลิกแทรกแซง จะเห็นว่าช่วงแรกตลาดเงินไม่ได้แพนิก (ตื่นตระหนก) มากนัก เพราะเมื่อมีคนเสนอขายก็จะมีแรงซื้อเข้ามาเช่นกัน แต่พอตกช่วงบ่าย เพียงแค่ 5 นาทีเท่านั้น ซึ่งช่วงนั้นมีคนเสนอขาย แต่ไม่มีผู้เสนอซื้อเข้ามาเลย ทำให้ค่าเงินเปโซร่วงลงอย่างหนักราว 15% ตลาดจึงเกิดการแพนิกขึ้น"นายกอบศักดิ์ กล่าว

 

ส่วนไทยด้วยพื้นฐานแล้ว ถือว่ายังไม่น่าเป็นห่วง โดยเฉพาะเงินสำรองที่สูงกว่า 1.6 แสนล้านดอลลาร์ ขณะที่เงินต่างชาติที่อยู่ในตลาดพันธบัตรปัจจุบันมีอยู่ที่ 7 แสนล้านบาท หรือ ราวกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์ ต้องถือว่าทุนสำรองฯ ของไทยมีเพียงพอรองรับแน่นอน

 

อย่างไรก็ตาม ไทยมีความเสี่ยงอยู่ที่เรื่องการเมือง ซึ่งทำให้นักลงทุนต่างชาติจับตาดูอยู่ในขณะนี้ หากนักลงทุนต่างชาติมองว่า ปัจจัยเหล่านี้จะสร้างความเปราะบางให้กับเศรษฐกิจไทย ก็มีความเสี่ยงที่ประเทศไทยจะเผชิญกับสถานการณ์เหล่านี้ได้เช่นกัน

 

"ด้วยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยเองเวลานี้ไม่ได้น่าเป็นห่วงมากนัก แต่สิ่งสำคัญ คือ เราต้องไม่ไปอยู่บนหน้าจอเรดาร์ของเขา (นักลงทุนต่างชาติ) ซึ่งก็ยอมรับว่าเป็นเรื่องค่อนข้างยาก เพราะด้วยสถานการณ์การเมืองที่เกิดขึ้นในเวลานี้ ทำให้เราขึ้นไปอยู่บนหน้าจอโดยปริยาย"นายกอบศักดิ์ กล่าว

 

มั่นใจไทยไม่เผชิญทุนไหลออกซ้ำอาร์เจนตินา

 

นายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า หากปัญหาการเมืองไทยไม่ยืดเยื้อจนกระทบต่อพื้นฐานเศรษฐกิจในระยะกลางและระยะยาวที่เปลี่ยนแปลงไป เชื่อว่าประเทศไทยคงไม่เผชิญกับภาวะเงินทุนไหลออกอย่างที่หลายประเทศในแถบละตินอเมริกา โดยเฉพาะอาร์เจนตินาที่กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้อย่างแน่นอน

 

สำหรับประเทศที่มีโอกาสเผชิญความเสี่ยงเรื่องเงินทุนไหลออกนั้น ส่วนใหญ่จะมีปัญหา 4 ด้านหลัก คือ หนี้ต่างประเทศ และ อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง ภาครัฐเผชิญปัญหาขาดดุลงบประมาณเรื้อรัง และดุลบัญชีเดินสะพัดติดลบจำนวนมากและยาวนาน

 

"ในส่วนของไทย หนี้ต่างประเทศค่อนข้างต่ำแค่ 6 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะที่เงินสำรองระหว่างสูงเกือบ 2 แสนล้านดอลลาร์ อีกทั้งเราไม่มีปัญหาเรื่องเงินเฟ้อ ขณะที่การขาดดุลบัญชีงบประมาณของภาครัฐยังเกิดขึ้นเพียงแค่ 1-2 ปีเท่านั้น ดูภาพรวมแล้ว ยังไม่เผชิญแรงกดดันอะไรมากนัก"นายเชาว์ กล่าว

 

ที่มา หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 28 มกราคม 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดโลหะมีค่านิวยอร์ค:กังวลเฟดหั่น QE กดราคาทองดิ่งลง

 

 

ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐดิ่งลง 12.04 ดอลลาร์ หรือ 0.95 % สู่ 1,256.60 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้่ายตลาดวันจันทร์ หลังจากขึ้นไปแตะจุดสูงสุดรอบ 2 เดือนที่ 1,278.01 ดอลลาร์ในระหว่างวัน โดยนักลงทุนเทขายทำกำไรทองออกมา ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐเข้าสู่เสถียรภาพ และนักลงทุนกังวลกับการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ในวันอังคารและวันพุธนี้

ราคาสัญญาทองเดือนก.พ.ปิดตลาดขยับลง 0.1 % สู่ 1,263.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1,251.90-1,279.80 ดอลลาร์ โดยมีวอลุ่มการซื้อขายอยู่สูงกวาค่าเฉลี่ย 250 วันราว 10 %

ราคาทองได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่า เฟดอาจจะปรับลดขนาดมาตรการเข้าซื้อตราสารหนี้ หรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ลง 1 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน สู่ 6.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือนในวันพุธนี้

ราคาทองปรับขึ้นในช่วงแรก หลังจากมีรายงานระบุว่า จีนนำเข้าทองจากฮ่องกงในระดับที่สูงเป็นประวัติการณ์ในปี 2013

จีนนำเข้าทองสุทธิจากฮ่องกงในเดือนธ.ค.ในระดับที่สูงกว่าเดือนพ.ย.ถึง 24 % และ งผลให้ปริมาณการนำเข้าทองของจีนในปี 2013 พุ่งขึ้นสู่สถิติสูงสุดที่ 1,158 ตัน

อย่างไรก็ดี ราคาทองดิ่งลงในช่วงต่อมา หลังจากตลาดหุ้นสหรัฐลดช่วงติดลบกลับขึ้นมา ได้บ้าง

ราคาทองพุ่งขึ้นมาแล้วกว่า 4 % จากช่วงต้นปีนี้ ในขณะที่การดิ่งลงของตลาดหุ้นสหรัฐกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อทอง

กระทรวงการคลังอินเดียระบุว่า ทางกระทรวงจะทบทวนมาตรการจำกัดการนำเข้าทองก่อนสิ้นเดือนมี.ค. โดยข่าวนี้ส่งผลบวกต่อราคาทอง

 

สำหรับราคาโลหะมีค่าที่ตลาด COMEX ในวันจันทร์มีดังต่อไปนี้

ปิดที่ระดับ (ดอลลาร์/ออนซ์) เปลี่ยนแปลง (ดอลลาร์)

ทองเดือนก.พ. 1,263.40 - 0.90

เงินเดือนมี.ค. 19.793 + 2.80(เซนต์)

ส่วนราคาโลหะมีค่าที่ตลาด NYMEX ในวันจันทร์มีดังต่อไปนี้

ปิดที่ระดับ (ดอลลาร์/ออนซ์) เปลี่ยนแปลง (ดอลลาร์)

พลาตินั่มเดือนเม.ย. 1,421.10 - 7.50

พัลลาเดียมเดือนมี.ค. 722.55 - 12.25

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

**คาดเฟดเมินตลาดเกิดใหม่ทรุดตัว เดินหน้าหั่น QE รอบใหม่พรุ่งนี้

 

 

ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะจัดการประชุมกำหนดนโยบายการเงินในวันนี้และพรุ่งนี้ และมีแนวโน้มว่าเฟดจะตัดสินใจปรับลดขนาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ(QE) อีกครั้งในวันพรุ่งนี้ ถึงแม้ว่าสินทรัพย์ในตลาดเกิดใหม่เผชิญ

แรงเทขายอย่างหนักหน่วงในช่วงนี้ และอาจจะเผชิญกับแรงเทขายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในตุรกีและอาร์เจนตินา

เฟดดำเนินมาตรการเข้าซื้อตราสารหนี้รอบ 3 (QE3) มานาน 16 เดือนแล้ว โดยมีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ อย่างไรก็ดีมาตรการดังกล่าวได้ช่วยหนุนสกุลเงินและหุ้นของประเทศตลาดเกิดใหม่ด้วย ขณะที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวลง และนักลงทุนนำเงินออกไปลงทุนในต่างประเทศ

เฟดตั้งใจที่จะยุติมาตรการ QE ภายในช่วงต่อไปในปีนี้ และปัจจัยนี้ ส่งผลให้ตลาดเกิดใหม่ดิ่งลงอย่างรุนแรง โดยเฉพาะตลาดของประเทศที่มียอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูง และเหตุการณ์นี้ก็ส่งผลให้ธนาคารกลางของหลายประเทศดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหาในช่วงปลายสัปดาห์ที่แล้ว

อย่างไรก็ดี เฟดจะระงับการปรับลดขนาด QE ก็ต่อเมื่อภาวะปั่นป่วนวุ่นวายทวีความรุนแรงมากกว่านี้จนถึงขั้นที่สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจสหรัฐ เพราะเฟดมุ่งความสนใจไปที่การฟื้นฟูเศรษฐกิจของสหรัฐ

นายชาร์ลส์ พลอสเซอร์ ประธานเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย กล่าวว่า

"เมื่อเราเริ่มต้้นใช้มาตรการ QE ประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศอื่นๆก็ตำหนินโยบายของเราเป็นอย่างมาก และในขณะนี้ เมื่อเราพยายามจะยุติ QE ประเทศเหล่านี้ก็ตำหนินโยบายของเราเป็นอย่างมากเช่นกัน"

นายพลอสเซอร์กล่าวเสริมว่า "เราตระหนักดีถึงเรื่องนี้ อย่างไรก็ดี เฟดมองว่า ถ้าหากนโยบายการเงินที่เราใช้ถือเป็นสิ่งที่ดีที่สุดต่อเศรษฐกิจสหรัฐ นั่นก็เป็นนโยบายที่เราสมควรจะใช้ เพราะว่าเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแกร่งจะส่งผลดีต่อประเทศส่วนใหญ่"

 

ผู้่กำหนดนโยบายเฟดหลายคนมีความเห็นแบบเดียวกัน โดยกฎหมายสหรัฐระบุว่าเฟดมีหน้าที่ต้องทำให้การจ้างงานอยู่ในระดับสูงสุดอย่างยั่งยืนและอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำและมีเสถียรภาพ

เจ้าหน้าที่เฟดบางคนกล่าวว่า พวกเขาพยายามทำให้นโยบายเฟดมีความโปร่งใสและเป็นสิ่งที่คาดการณ์ล่วงหน้าได้ เพื่อที่การปรับเปลี่ยนนโยบายของเฟดจะได้ไม่สร้างความประหลาดใจแก่ธนาคารกลางของประเทศอื่นๆ

ในการประชุมวันนี้และพรุ่งนี้ ตลาดคาดว่าเฟดจะปรับลดวงเงินในมาตรการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) ลงสู่ 6.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน จาก 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน หลังจากที่เคยปรับลดลงไปแล้ว 1 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือนเช่นกันในการประชุมในเดือนธ.ค.

นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟด เคยกล่าวว่า มาตรการ QE มีแนวโน้มที่จะยุติลงทั้งหมดในช่วงต่อไปในปีนี้ ตราบใดที่เศรษฐกิจสหรัฐและตลาดแรงงานยังคงปรับตัวดีขึ้น

แผนการปรับลดขนาด QE ของเฟด, การชะลอตัวทางเศรษฐกิจในสหรัฐ และปัญหาที่เฉพาะเจาะจงในบางประเทศ ส่งผลให้เงินลงทุนจำนวนมากหลั่งไหลออกจากสินทรัพย์ในตลาดเกิดใหม่ในสัปดาห์ที่แล้ว และอาจไหลออกต่อไปในสัปดาห์นี้

แรงเทขายทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในวันศุกร์ที่แล้ว และส่งผลให้รัฐบาลอาร์เจนตินาต้องยกเลิกมาตรการพยุงค่าเงินเปโซ ขณะที่ธนาคารกลางตุรกีได้เข้าแทรกแซงตลาดสกุลเงินลีร์โดยตรงในวันพฤหัสบดี ซึ่งถือเป็นการแทรกแซงโดยตรงครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2012 โดยลีร์ได้ดิ่งลงแตะสถิิติต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในวันศุกร์

นักลงทุนเชื่อว่า ธนาคารกลางอินเดีย, ไต้หวัน และมาเลเซียได้เข้าแทรกแซงตลาดเพื่อปกป้องสกุลเงินของตนเองในระยะนี้ด้วย

แรงเทขายนี้ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นสหรัฐด้วยเช่นกัน โดยดัชนี S&P 500 ปิดตลาดดิ่งลงราว 2 % ในวันศุกร์ อย่างไรก็ดี นายริชาร์ด ฟิชเชอร์ ประธานเฟดสาขาดัลลัส กล่าวในเดือนนี้ว่า เขาจะไม่ระงับการปรับลดขนาด QE ถึงแม้ตลาดหุ้นปรับฐานลง

เฟดตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ท่ี่ระดับใกล้ 0 % นับตั้งแต่เดือนธ.ค.2008 ขณะที่มีความเป็นไปได้ที่เฟดอาจยอมรับว่าตลาดเกิดใหม่ประสบภาวะปั่นป่วน วุ่นวายในแถลงการณ์นโยบายวันพุธนี้ อย่างไรก็ดี เฟดมีแนวโน้มที่จะปรับลดขนาด QE ลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปต่อไป

นายไมเคิล เฟโรลี หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์สหรัฐของบริษัทเจพีมอร์แกน กล่าวว่า "เศรษฐกิจต่างชาติจำเป็นต้องชะลอการเติบโตลงอย่างรุนแรงมาก ถึงจะสามารถส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐ"

"จนถึงขณะนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า แรงกดดันในตลาดการเงินระหว่างประเทศในช่วงหลายวันที่ผ่านมาจะมากพอที่จะทำให้แนวโน้มเศรษฐกิจโลกเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ ดังนั้นแรงกดดันดังกล่าวจึงไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐ"

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีตอนสาย ๆ ครับ

 

ขอบคุณสำหรับข่าวสาร และ บ่น ๆ

 

บ่นราคาสมาคมได้ใจมาก ๆ ครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...