ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

รหัส 5,35,9 ชนกัน ทับกัน เส้นดำเส้นแดง บริเวณที่ตัดกันก็อยู่พื้นที่สูงจัง ด้านล่างพื้นที่เยอะมาก ถ้าไม่มีเหตุการณ์สำคัญ เช่น สงครามความขัดแย้ง แสวงอำนาจ ราคาทองน่าจะย่อลงไปอีก

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 7,5,2 แบบไวไว เส้นแดงโผล่ด้านล่าง ฟันธง ราคาทองต้องย่อลงอีก จากเช้านี้ ในวันพรุ่งนี้ การขึ้นด้านบน อาจจะเผชิญ 1337 ที่เป็นกำแพงชั้นที่ 1 และ 1341 คือชั้นที่ 2 ส่วนด้านล่าง เยอะแยะที่จะเป็นจุดหยุด

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อรุณสวัสดิ์ครับ

 

ขอบคุณกราฟรหัส และบ่น ๆ นะครับ ^^

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่าเงินเช้านี้ ตกใจดีดอ่อนค่า เพราะ คาดว่าต่างตกใจการตีความ 30 วันรักษาการนายกฯ จะเป็นอย่างไร นักลงทุนต่างชาติ ไม่ถือเงินบาทชั่วคราว จากความหวั่นวิตก รอสักเที่ยงๆ คงมีคำแถลงการณ์อะไรออกมาเพื่อทุเลาความตกใจของต่างชาติ แล้วก็จะกลับมาแข็งขึ้น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เวลาที่สำคัญ 10.00 น ตลาดอินเดีย เวลา 17.00 น. ตัวเลขยุโรป และ 20.15 น. ตัวเลขสหรัฐ สร้างงาน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเมื่อคืนนี้ (4 มีนาคม 2557) ดัชนี Stoxx Europe 600 พุ่งขึ้น 2.1% ปิดที่ 337.15 จุด ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,395.90 จุด พุ่งขึ้น 105.03 จุด หรือ +2.45% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,589.15 จุด ทะยานขึ้น 230.26 จุด หรือ +2.46% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,823.77 จุด พุ่งขึ้น 115.42 จุด หรือ +1.72%

ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกแข็งแกร่ง เนื่องจากสถานการณ์ตึงเครียดในยูเครนเริ่มส่งสัญญาณคลี่คลาย หลังจากประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย สั่งการให้ทหารที่เข้าร่วมปฏิบัติการซ้อมรบเคลื่อนกำลังกลับฐาน และระบุว่าขณะนี้ยังไม่จำเป็นที่รัสเซียจะต้องส่งทหารบุกเข้ายูเครน

นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจของประเทศยุโรปในวันนี้ รวมถึงดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนก.พ.ของอิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมนี และยูโรโซน นอกจากนี้ จะมีการเปิดเผยยอดค้าปลีกประจำเดือนม.ค.ของยูโรโซนในวันนี้เช่นกัน

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจออนไลน์ (05/03/2557)

 

สถานการณ์ ความตึงเครียดระหว่างยูเครนและรัสเซียที่เริ่มคลี่คลาย ส่งผลให้ราคาทองปรับตัวลงในการซื้อขายวานนี้ และคาดว่านักลงทุนจะกลับมาให้ความสนใจกับการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ซึ่งในสัปดาห์นี้จะมีการรายงานตัวเลขการจ้างงานซึ่งเป็นประเด็นหลักที่จะ กลับมามีผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาทองและตราสารทางการเงินอื่นๆ

 

โดย ราคาทองปิดตลาดเมื่อวานนี้ที่ 1,334.10 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ ลดลง 15.90 ดอลลาร์ ราคาทำจุดต่ำสุดและจุดสูงสุดที่ 1,331 และ 1,352 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ ตามลำดับ ส่วนราคาซื้อขายทองคำแท่งในประเทศ ชนิด 96.5% เมื่อวานนี้ ขายออกที่บาทละ 20,600 บาท และรับซื้อคืนที่บาทละ 20,500 บาท กองทุน SPDR ไม่มีรายงานการเปลี่ยนแปลงปริมาณการถือครองทองคำ โดยปัจจุบันกองทุนถือครองทองคำรวม 803.70 ตัน

 

ราคาทองคำปรับตัวลดลง ภายหลังสถานการณ์ความตึงเครียดในยูเครนเริ่มคลี่คลายลง ประกอบกับมีแรงขายทำกำไรกลับออกมาหลังจากราคาปรับตัวขึ้นในปริมาณมากในการ ซื้อขายวันจันทร์ ซึ่งราคาทองดีดตัวขึ้นตอบรับความวิตกกังวลต่อปัญหาความขัดแย้งระหว่างยูเครน และรัสเซีย

 

อย่างไรก็ตาม วานนี้สถานการณ์ดังกล่าวเริ่มคลี่คลายลง หลังมีรายงานว่าโฆษกของประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ว่ากองทหารรัสเซียได้ยุติปฏิบัติการทางทหารในพื้นที่ทางตะวันตกของประเทศ และได้รับคำสั่งให้ถอยกลับฐาน เช่นเดียวกับกำลังทหารของยูเครนที่เคลื่อนกลับสู่พื้นที่ ส่งผลให้นักลงทุนคลายกังวลจากปัญหาดังกล่าวลง และกลับเข้าซื้อสินทรัพย์เสี่ยงที่ราคาปรับตัวลงมามาก และขายทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยกลับออกมา และคาดว่านักลงทุนจะกลับมาให้ความสนใจกับการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ซึ่งสัปดาห์นี้จะมีการรายงานการจ้างงานเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นประเด็นหลักที่นักลงทุนให้ความสนใจ

 

โดยค่ำวันนี้จะมีการ รายงานการจ้างงานทั่วประเทศเดือนกุมภาพันธ์ของสหรัฐฯ ซึ่งผลสำรวจประเมินว่าจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นราว 1.59 แสนตำแหน่ง หลังจากในเดือนมกราคมมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 1.75 แสนตำแหน่ง หากรายงานออกมาแย่กว่าคาด ก็จะเป็นปัจจัยบวกที่ทำให้ราคาทองปรับขึ้นได้ต่อ

 

ส่วนภาพการเคลื่อนไหวของราคาทองคำในทางเทคนิค ซึ่งวานนี้ราคาทองปรับตัวลงมาเคลื่อนไหวที่แนวรับบริเวณ 1,335 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ ซึ่งในระยะสั้นการเคลื่อนไหวของราคาทองยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลงต่อ แต่คาดว่าปริมาณการปรับตัวลงจะเริ่มมีกรอบจำกัด โดยมีแนวรับของวันอยู่ที่บริเวณ 1,330-1,335 และ 1,320 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ หากราคาทองไม่สามารถประคองตัวเหนือแนวรับบริเวณ 1,320 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ได้ จึงจะเป็นสัญญาณขายกดดันให้อ่อนตัวลงมาแนวรับบริเวณ 1,310 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ ต่อไป โดยมีแนวต้านของวันอยู่ที่บริเวณ 1,345 ดอลลาร์ ต่อออนซ์

 

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ (05/03/2557)

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (4 มีนาคม 2557) สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.ร่วงลง 12.4 ดอลลาร์ หรือ 0.92% ปิดที่ 1,337.9 ดอลลาร์/ออนซ์

 

นักลงทุนเทขายสัญญาทองคำหลังจากสถานการณ์ตึงเครียดในยูเครนเริ่มส่งสัญญาณ คลี่คลาย ภายหลังจากประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย สั่งการให้ทหารที่เข้าร่วมปฏิบัติการซ้อมรบเคลื่อนกำลังกลับฐาน และระบุว่าขณะนี้ยังไม่จำเป็นที่รัสเซียจะต้องส่งทหารบุกเข้ายูเครน

นักวิเคราะห์คาดว่า ความต้องการทองคำในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่จะเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความ เคลื่อนไหวของตลาดทองคำในปีนี้ โดยเฉพาะความต้องการทองคำในประเทศจีน

 

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจออนไลน์ (05/03/2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบเงินเยนและปรับตัวขึ้นลงแตกต่างกันเมื่อเทียบสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ๆเมื่อคืนนี้ (4 มี.ค.) ขณะที่ตลาดคลายความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในยูเครน

 

ค่าเงินยูโรทรงตัวเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.3734 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์ปรับขึ้นสู่ระดับ 1.6672 ดอลลาร์สหรัฐ จาก 1.6659 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 102.26 เยน จากระดับ 101.43 เยน และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.8875 ฟรังค์ จากระดับ 0.8834 ฟรังค์

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8941 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8929 ดอลลาร์สหรัฐ

 

กระแสความต้องการสินทรัพย์ที่ปลอดภัยของนักลงทุนได้ลดน้อยลง หลังจากประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซีย ได้สั่งให้กองกำลังทหารที่เข้าร่วมการซ้อมรบทางทหารในพื้นที่ตอนกลางและตะวันตกของรัสเซีย กลับฐานทัพภายหลังเสร็จสิ้นการฝึกซ้อม

 

นอกจากนี้ ปธน.ปูตินยังกล่าวในการแถลงข่าวว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะใช้กำลังทางทหารในภูมิภาคไครเมียของยูเครนในขณะนี้ ซึ่งทำให้ตลาดคลายความวิตกเกี่ยวกับปฏิบัติการทางทหารลงอย่างมาก

 

ในสัปดาห์นี้ นักลงทุนต่างรอดูข้อมูลจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนก.พ.ของสหรัฐที่จะรายงานในวันศุกร์นี้ เพื่อประเมินภาวะตลาดแรงงานและทิศทางนโยบายการเงินของสหรัฐ

 

ขณะเดียวกัน ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) มีกำหนดประชุมนโยบายการเงินในวันพฤหัสบดีนี้

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 5 มีนาคม 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โดย ดร.บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ

 

ทุกๆ ปี ธนาคารกลางสหรัฐสาขาชิคาโก จะจัดงานสัมมนาทางเศรษฐกิจที่หลายท่านมักจะมองไปที่งานวิจัยชิ้นหลัก ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา

 

ธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟดมักจะใช้เป็นแนวทางของหลักการพิจารณานโยบายการเงินในอนาคต ซึ่งในปีนี้ บทความดังกล่าวที่ได้นำเสนอ ได้แก่ เรื่อง "นโยบายการเงินและการแกว่งตัวของตลาดการเงิน"

 

เนื้อหาหลักของบทความ ได้แก่ ตลาดการเงินจะมีแรงกระเพื่อมอย่างหนักจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินมิใช่เนื่องจากได้รับผลกระทบจากรายอุตสาหกรรมต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจหรือจากการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรทางเศรษฐกิจ อาทิ อัตราเงินเฟ้อ อย่างไรก็ดี ในความเป็นจริงแล้ว แรงกระเพื่อมดังกล่าวมาจากการที่บริษัทจัดการกองทุนรวมหรือเฮดจ์ฟันด์แข่งขันกันถอนเงินจากตลาดพันธบัตรเมื่อเห็นว่าแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น เพราะกังวลว่าจะได้รับผลตอบแทนน้อยกว่าเจ้าอื่น เมื่อเกิดสัญญาณว่านโยบายการเงินจะเปลี่ยนโทน จึงทำให้ตลาดการเงินผันผวนเป็นอย่างมาก

 

ข้อสรุปจากการวิเคราะห์ของบทความดังกล่าว มีดังนี้

 

ประการแรก การที่ทุกคนในตอนนี้พาแห่กันหลีกเลี่ยงอนุพันธ์ทางการเงินในระบบเศรษฐกิจของสหรัฐเพื่อเป็นการลดระดับความเสี่ยงเชิงระบบของประเทศ ด้วยหวังให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพนั้น ซึ่งในความเป็นจริง อาจจะไม่เป็นเช่นนั้น จริงๆ แล้ว นโยบายการเงินของสหรัฐที่พยายามลดระดับความเสี่ยงเชิงระบบที่ทำอยู่ในปัจจุบันมิได้ทำให้เกิดเสถียรภาพทางการเงินโดยอัตโนมัติ เนื่องจากประเภทการลงทุนที่มีการไหลเข้าออกสุทธิซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก คือ การลงทุนในพันธบัตร ดังรูปที่ 1

 

ประการที่สอง เครื่องมือที่เป็นนโยบายเศรษฐกิจผ่านการกำกับระบบสถาบันการเงิน หรือ macroprudential มิได้ช่วยบรรเทาปัญหาความไม่มีเสถียรภาพที่เกิดจากนักลงทุนซึ่งมิได้มีหนี้มากนัก ยกตัวอย่างเช่น การลงทุนในพันธบัตร เป็นต้น

 

ประการที่สาม การใช้ตัวแปรทางเศรษฐกิจเป็นดัชนีในการดำเนินการนโยบายการเงิน หรือ forward guidance นั้น อาจจะเป็นการนำไปสู่ระดับความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้นหากมีการเปลี่ยนโทนนโยบายการเงิน ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเดือนมิถุนายน ปีที่แล้ว ที่เฟดส่งสัญญาณว่าจะเริ่มลด QE นั้น ตลาดการเงินก็เริ่มมีปฏิกิริยาที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ดังรูปที่ 2 โดยตลาดหุ้นสหรัฐมีระดับราคาที่ร่วงลงและอัตราดอกเบี้ยขยับสูงขึ้น ทั้งนี้ยังส่งผลถึงตลาดเกิดใหม่รวมถึงบ้านเราอีกด้วย

 

ประการที่สี่ ความไม่มีเสถียรภาพทางการเงินไม่จำเป็นต้องทำให้สถาบันการเงินต้องล้มละลายหรือขาดสภาพคล่อง

 

ท้ายสุด สำหรับเฟดเองแล้ว การจะเลือกว่านโยบายการเงินจะมีความเข้มงวดแค่ไหนในปัจจุบันมิใช่สิ่งสำคัญมากเท่าไร ทว่าสิ่งที่สำคัญมากยิ่งกว่าคือการตัดสินใจระหว่างการเริ่มที่จะใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดในวันนี้หรือในอนาคต

 

อย่างไรก็ดี ดร. เจโรม สตีน สมาชิกของคณะกรรมการเฟด ได้ให้ข้อคิดเห็นต่องานวิจัยดังกล่าวไว้อย่างน่าสนใจ ก็คือ ตลาดพันธบัตรที่บทความดังกล่าวมองว่าจะเป็นความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจนั้น แท้จริงแล้วยังมีขนาดเล็กกว่ามูลค่าตลาดหุ้นในสหรัฐที่ถือครองโดยบรรดากองทุนรวมอยู่พอสมควร จึงอาจจะเป็นกล่าวเกินจริงไปบ้างที่มองว่าตลาดพันธบัตรจะเป็นจิ๊กซอว์ของความเสี่ยงรายต่อไปต่อเศรษฐกิจ

 

สำหรับคำแนะนำสำหรับนักลงทุนในการประเมินนโยบายของเฟดในปี 2014 น่าจะมีสิ่งเหล่านี้อยู่ในใจ ดังต่อไปนี้

 

หนึ่ง อย่าได้วางใจว่าการลงทุนของตราสารพันธบัตรหรือตราสารหนี้ จะไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจ การที่มูลค่าการลงทุนตราสารหนี้มีอยู่อย่างมากมายจะก่อให้เกิดความเสี่ยงอยู่ไม่น้อย หากสัญญาณจากเฟดทำให้ความคาดหวังของนักลงทุนเปลี่ยนไป ก็อาจทำให้เกิดความไม่แน่นอนต่อระบบเศรษฐกิจผ่านช่องทางดังกล่าว

 

สอง การใช้ตัวแปรทางเศรษฐกิจเป็นดัชนีในการดำเนินการนโยบายการเงิน หรือ forward guidance ที่เคยโด่งดังและได้รับความนิยมในปีที่แล้ว ต้องบอกว่าตอนนี้เหมือนเป็นเผือกร้อนที่ธนาคารกลางต่างๆ พากันหลีกห่าง ดังนั้นหากนักลงทุนอยากจะมองทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางต่างๆ อย่าให้น้ำหนักของ forward guidance มากมายนัก

 

สาม เครื่องมือที่เป็นนโยบายเศรษฐกิจผ่านการกำกับระบบสถาบันการเงิน หรือ macroprudential อาจไม่ได้เป็นหัวหอกหลักของธนาคารกลางอย่างที่หลายคนคิดกันในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา แม้เครื่องมือดังกล่าวมีข้อดีในแง่ที่สามารถจัดการกับการลงทุนของสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลและบริหารจัดการเป็นอย่างดี ในทางกลับกัน สำหรับสินทรัพย์ที่ไม่เสี่ยงนัก อย่างตราสารหนี้นั้น macroprudential มิได้สามารถช่วยบรรเทาความเสี่ยงดังกล่าวได้มากเท่าไรนัก

 

ประการสุดท้าย น่าจะมั่นใจได้ในระดับหนึ่งว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ จะเกิดขึ้นไม่เร็วมาก โดยคาดกันว่าเฟดน่าจะประวิงเวลาไว้จนตลาดเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจสหรัฐเดินต่อไปได้แบบชัวร์ๆ ซึ่งหลายฝ่ายคาดกันว่าน่าจะเป็นปี 2015 เป็นต้นไป

 

โดยสรุป การประเมินว่าเฟดจะดำเนินนโยบายต่อไปอย่างไรในยุคของนางเจเน็ต เยลเลน เราอาจต้องเปลี่ยน mindset ตัวเองจากเดิมไปพอควรครับ

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (วันที่ 5 มีนาคม 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากที่ตลาดหุ้นทั่วโลกดีดตัวขึ้น ขณะที่จีนคงเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้

 

ดัชนี MSCI Asia Pacific ทะยาน 0.9% เมื่อเวลา 9.51 น.ตามเวลาโตเกียว

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 14,905.95 จุด เพิ่มขึ้น 184.47 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 22,839.43 จุด เพิ่มขึ้น 181.80 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 8,622.19 จุด เพิ่มขึ้น 67.65 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 1,973.28 จุด เพิ่มขึ้น 19.17 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,113.15 จุด เพิ่มขึ้น 8.44 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,830.45 จุด เพิ่มขึ้น 3.99 จุด และดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียเปิดวันนี้ที่ 5,406.20 จุด เพิ่มขึ้น 6.00 จุด

 

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง ของจีน นำเสนอรายงานการดำเนินงานของรัฐบาลต่อที่ประชุมประจำปีของรัฐสภาจีนในวันนี้ โดยระบุว่าจีนยังคงกำหนดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจเอาไว้ที่ราว 7.5% ในปี 2557 ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากปีที่แล้ว

 

 

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (05/03/2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง ของจีน กล่าวว่า จีนต้องดำเนินการปฏิรูปในด้านต่างๆให้ลึกยิ่งขึ้น และรักษาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้เข้มแข็งและมีเสถียรภาพ เนื่องจากเศรษฐกิจของจีนยังคงเผชิญกับสถานการณ์ที่ซับซ้อน

 

ถ้อยแถลงของนายหลี่มีขึ้นในระหว่างเข้าร่วมการอภิปรายแบบเป็นคณะกับที่ ปรึกษาทางการเมืองจากภาคเศรษฐกิจและการเกษตร ในการประชุมประจำปีของสภาที่ปรึกษาทางการเมืองของจีน (CPPCC) วันนี้

 

นายหลี่กล่าวว่า แม้เศรษฐกิจได้รับแรงกดดันเพิ่มมากขึ้น แต่จีนก็สามารถบรรลุเป้าหมายด้านการปฏิรูปในปีที่แล้ว โดยเศรษฐกิจจีนขยายตัว 7.7% ในปี 2556 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายของรัฐบาลที่ 7.5%

 

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจปีนี้เริ่มต้นอย่างไม่มั่นคงนัก ดังเห็นได้จากกิจกรรมในภาคการผลิตที่อ่อนแอ ทั้งนี้ นายกฯจีนได้ผลักดันให้มีการปรับโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเติบโต เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 5 มีนาคม 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง ของจีน กล่าวว่า จีนต้องดำเนินการปฏิรูปในด้านต่างๆให้ลึกยิ่งขึ้น และรักษาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้เข้มแข็งและมีเสถียรภาพ เนื่องจากเศรษฐกิจของจีนยังคงเผชิญกับสถานการณ์ที่ซับซ้อน

 

ถ้อยแถลงของนายหลี่มีขึ้นในระหว่างเข้าร่วมการอภิปรายแบบเป็นคณะกับที่ ปรึกษาทางการเมืองจากภาคเศรษฐกิจและการเกษตร ในการประชุมประจำปีของสภาที่ปรึกษาทางการเมืองของจีน (CPPCC) วันนี้

 

นายหลี่กล่าวว่า แม้เศรษฐกิจได้รับแรงกดดันเพิ่มมากขึ้น แต่จีนก็สามารถบรรลุเป้าหมายด้านการปฏิรูปในปีที่แล้ว โดยเศรษฐกิจจีนขยายตัว 7.7% ในปี 2556 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายของรัฐบาลที่ 7.5%

 

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจปีนี้เริ่มต้นอย่างไม่มั่นคงนัก ดังเห็นได้จากกิจกรรมในภาคการผลิตที่อ่อนแอ ทั้งนี้ นายกฯจีนได้ผลักดันให้มีการปรับโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเติบโต เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 5 มีนาคม 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิกฤตยูเครนคลี่คลาย ฉุดทองคำปิดร่วง 12.4 ดอลล์

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 5 มีนาคม 2557 06:39:27 น.

 

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (4 มี.ค.) เนื่องจากมีสัญญาณบ่งชี้ว่าสถานการณ์รุนแรงในยูเครนเริ่มคลี่คลายลง ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนเทขายสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.ร่วงลง 12.4 ดอลลาร์ หรือ 0.92% ปิดที่ 1,337.9 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.ลดลง 26 เซนต์ ปิดที่ 21.188 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.เพิ่มขึ้น 3.40 ดอลลาร์ ปิดที่ 1464.10 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.พุ่งขึ้น 13.90 ดอลลาร์ ปิดที่ 763.70 ดอลลาร์/ออนซ์

 

นักลงทุนเทขายสัญญาทองคำหลังจากสถานการณ์ตึงเครียดในยูเครนเริ่มส่งสัญญาณคลี่คลาย ภายหลังจากประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย สั่งการให้ทหารที่เข้าร่วมปฏิบัติการซ้อมรบเคลื่อนกำลังกลับฐาน นอกจากนี้ ปธน.ปูตินยังกล่าวกับผู้สื่อข่าวด้วยว่า ในขณะนี้ยังไม่จำเป็นที่รัสเซียจะต้องส่งทหารบุกเข้ายูเครน

 

ก่อนหน้านี้ สัญญาทองคำพุ่งขึ้นเป็นเวลาหลายวัน เนื่องจากสถานการณ์ที่รุนแรงในยูเครนได้กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากข่าวที่ว่าประธานาธิบดีปูตินได้รับไฟเขียวจากรัฐสภาให้ส่งทหารเข้าไปในไครเมีย ซึ่งเป็นเขตปกครองตนเองทางตอนใต้ของยูเครน

 

นักวิเคราะห์คาดว่า ความต้องการทองคำในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่จะเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเคลื่อนไหวของตลาดทองคำในปีนี้ โดยเฉพาะความต้องการทองคำในประเทศจีน

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

http://www.ryt9.com/s/iq31/1849735

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...