ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

นายเวย์น สวอน รมว.คลังออสเตรเลียยืนยันในวันนี้ว่า รัฐบาลออสเตรเลียจะไม่เข้าแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตรา แม้การแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลียได้ส่งผลกระทบอย่างหนักต่ออุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาการค้าเป็นหลักก็ตาม

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า การแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลียเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บริษัท บลูสโคป สตีล ประกาศว่าบริษัทจะยุติธุรกิจการส่งออกและลดจำนวนพนักงานลง 1,000 ตำแหน่ง

 

อย่างไรก็ตาม นายสวอนกล่าวว่า รัฐบาลยังคงดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนโดยอิงพื้นฐานตลาด เพราะนโยบายดังกล่าวสามารถสะท้อนปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจภายในประเทศได้เป็นอย่างดี

 

"เรายังคงมุ่งมั่นที่จะปล่อยให้สกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลียลอยตัว" นายสวอนกล่าวทางสถานีวิทยุเอบีซี เรดิโอในวันนี้ และกล่าวว่า กลุ่ม G20 ซึ่งรวมถึงออสเตรเลียด้วยนั้น กำลังผลักดันการดำเนินนโยบายค่าเงินโดยอิงพื้นฐานตลาด

 

การแสดงความคิดเห็นดังกล่าวมีขึ้นในขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นส่งสัญญาณว่าจะเข้าแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราอีก เนื่องจากญี่ปุ่นยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับการแข็งค่าของเงินเยน

 

การประกาศลดจำนวนพนักงานของบลูสโคปมีขึ้นหลังจากสายการบินแควนตัส แอร์ไลน์ ประกาศว่าจะลดจำนวนพนักงานลง 1,000 ตำแหน่ง ขณะที่บริษัท วันสตีล ยืนยันเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าบริษัทได้ลดจำนวนพนักงานลง 400 ตำแหน่ง เนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย และอุปสงค์การส่งออกที่อ่อนแอลง

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 23 สิงหาคม 2554)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นักบริหารเงินจากธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 29.82/84 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวจากเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 29.82/84 บาท/ดอลลาร์

 

วันนี้ดูแนวโน้มการเคลื่อนไหวของค่าเงินน่าจะทรงตัวอยู่ในระดับนี้ เนื่องจากนักลงทุนต่างรอปัจจัยสำคัญจากทั้งในและต่างประเทศ คือ การประชุมเรื่องอัตราดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ในวันพรุ่งนี้ ส่วนต่างประเทศนั้นตลาดจับตาฟังการให้ทัศนะของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)ต่อมุมมองเศรษฐกิจสหรัฐ ว่าจะมีการออกมาตรการใดเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหรือไม่

 

"วันนี้บาทคงวิ่งทรงๆ เพราะตลาดจับตาดูการประชุม กนง.พรุ่งนี้ ส่วนต่างประเทศก็รอดูว่าประธานเฟดจะมี comment อะไรออกมา" นักบริหารเงิน กล่าว

 

ส่วนความเคลื่อนไหวของค่าเงินสกุลหลักต่างประเทศช่วงเปิดตลาดเช้านี้ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 76.75/79 เยน/ดอลลาร์ ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.4374/4377 ดอลลาร์/ยูโร

 

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 29.80-29.90 บาท/ดอลลาร์

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 23 สิงหาคม 2554)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สัญญาทองคำพุ่งขึ้นทะลุระดับ 1,900 ดอลลาร์/ออนซ์ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (22 ส.ค.) เนื่องจากกระแสความวิตกกังวลเกี่ยวเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรปยังคงเป็นแรงกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง

 

สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า สัญญาทองคำเดือนธ.ค.ที่ตลาด COMEX พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในระหว่างวันที่ 1,904.00 ดอลลาร์/ออนซ์ ก่อนที่จะปิดที่ระดับ 1,891.90 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 39.70 ดอลลาร์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

บรรดานักเศรษฐศาสตร์ที่เข้าร่วมการประชุม China Bankers Forum แสดงความเห็นว่า จีนควรใช้เครื่องมือเชิงปริมาณหรือปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกหลายครั้งในการต่อสู้กับปัญหาเงินเฟ้อ

 

นายซู เซียวเหนียน ศาสตราจารย์จากโรงเรียนธุรกิจนานาชาติจีนยุโรป คาดว่าอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกหลายครั้งเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อที่ยืดเยื้อ

 

"จีนยังเผชิญกับเงินเฟ้อในระดับสูงในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ เนื่องจากมีปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบสูงเกินไปในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และยังคงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในขณะนี้" นายซูกล่าว

 

ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อของจีนพุ่งทำสถิติสูงสุดในรอบ 3 ปีเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยดัชนีราคาผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้น 6.5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้

 

นายซูระบุว่า การแก้ปัญหาอัตราดอกเบี้ยแท้จริงที่ยังติดลบอยู่ในปัจจุบันเพียงอย่างเดียวก็สามารถแก้ปัญหาเงินเฟ้อได้

 

อย่างไรก็ตาม นายฟาน กัง อดีตที่ปรึกษาอาวุโสของธนาคารกลางจีน แสดงความวิตกว่า อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอาจดึงดูดการไหลเข้าของเงินร้อนมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่

 

นายฟานแนะนำว่า จีนควรใช้ประโยชน์จากตั๋วเงินคลังของธนาคารกลางอย่างเต็มที่ เพราะเป็นวิธีที่ยืดหยุ่นมากกว่าสำหรับธนาคารพาณิชย์ในการควบคุมสภาพคล่องของตลาด

 

นายฟานระบุว่า เนื่องด้วยปริมาณเงินหมุนเวียนที่สูงเกินไปและการไหลเข้าของเงินร้อนอย่างต่อเนื่องได้ผลักดันใหทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของจีนเพิ่มขึ้น นี่จึงเป็นเพียงวิธีเดียวในการควบคุมสภาพคล่องของตลาด

 

ยอดปล่อยกู้ใหม่สกุลหยวนเพิ่มขึ้นเกือบ 20 ล้านล้านหยวนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยส่วนหนึ่งเกิดจากมาตรการกระตุ้นของรัฐบาลเพื่อต่อสู้กับภาวะวิกฤติ ในขณะยอดปล่อยกู้ใหม่ในเดือนกรกฎาคมของจีนอยู่ที่ 4.926 แสนล้านหยวน

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 22 สิงหาคม 2554)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

22 ส.ค. - ความกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจโลกส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นเอเชียกลับมาดิ่งลงอีกครั้ง ขณะที่ราคาทองคำพุ่งทำสถิติสูงสุดรอบใหม่

 

ความกังวลจากปัญหาเศรษฐกิจในสหรัฐและยุโรป ประกอบกับปัญหาเงินเยนที่ยังแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ดัชนีนิกเกอิติดลบ 91.11 จุด หรือ 1.04% ปิดตลาดที่ 8,628.13 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับแต่วันที่ 15 มีนาคม เช่นเดียวกับตลาดหุ้นเกาหลี วันนี้ติดลบไป 1.96% ส่วนหุ้นออสเตรเลียก็ปรับลดลง 0.48% ขณะที่ราคาทองคำทะยานขึ้นทำสถิติสูงสุดเป็นรอบใหม่ที่ 1,882.20 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ เป็นผลจากนักลงทุนพากันเทขายหุ้นแล้วหันมาถือครองทองคำ ซึ่งเป็นการลงทุนที่มีความปลอดภัยมากกว่า. –

 

ที่มา : สำนักข่าวไทย (วันที่ 23 สิงหาคม 2554)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (22 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่า เบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะใช้เวทีการประชุมธนาคารกลางโลกในวันศุกร์นี้ ในการประกาศใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหม่ หลังจากเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลงอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้

นักลงทุนยังจับตาดูรายงานสต็อกน้ำมันประจำสัปดาห์ ซึ่งสำนักงานสารนิเทศด้านพลังงานของสหรัฐจะเปิดเผยในวันพุธนี้

 

สัญญาน้ำมันดิบ NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบเดือนก.ย.ปิดบวก 1.86 ดอลลาร์ หรือ 2.26% แตะที่ 84.12 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 81.13-84.67 ดอลลาร์

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบที่ตลาด ICE กรุงลอนดอน ส่งมอบเดือน ต.ค.ปรับตัวลง 26 เซนต์ ปิดที่ 108.36 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากร่วงลงแตะจุดต่ำสุดของวันที่ 105.15 ดอลลาร์

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า สัญญาน้ำมันดิบ NYMEX ดีดตัวขึ้นกว่า 2% เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่ คาดว่า เบอร์นันเก้ จะประกาศใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหม่ในระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมธนาคารกลางโลก ซึ่งข่าวดังกล่าวทำให้นักลงทุนมีมุมมองที่เป็นบวกว่าจะช่วยกระตุ้นความต้องการพลังงานให้ฟื้นตัวขึ้นด้วย

 

นอกจากนี้ สัญญาน้ำมัน NYMEX ยังได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนเข้ามาช้อนซื้อเก็งกำไร หลังจากสัญญาดิ่งลงอย่างหนักเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว อันเนื่องมาจากความวิตกกังวลเรื่องเศรษฐกิจโลกชะลอตัว

 

อย่างไรก็ตาม ตลาดน้ำมัน NYMEX ได้รับปัจจัยลบจากกระแสความตึงเครียดทางการเมืองในลิเบียที่เริ่มบรรเทาลง หลังจากมีรายงานว่า กลุ่มกบฎลิเบียสามารถยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ในเมืองทริโปลี เมืองหลวงของลิเบียได้แล้ว ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณว่าระบบการปกครองแบบเผด็จการของมูอัมมาร์ กัดดาฟี ใกล้จะล่มสลายแล้ว

 

ข่าวความคืบหน้าในลิเบียทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่า ลิเบียซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน(โอเปค) จะเริ่มกลับมาส่งออกน้ำมันดิบได้อีกครั้ง ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวจะทำให้อุปทานน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ร่วงลง หลังจากเจพีมอร์แกนปรับลดตัวเลขคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ลง 9 ดอลลาร์ สู่ระดับ 115 ดอลลาร์/บาร์เรล สำหรับปี 2555 อันเนื่องมาจากการคาดการณ์ที่ว่าลิเบียจะสามารถส่งออกน้ำมันดิบได้อีกครั้ง หลังจากสงครามกลางเมืองภายในประเทศทำให้ลิเบียระงับการส่งออกน้ำมันเป็น็นเวลานาน

 

นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตหนี้ยุโรป ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่ากระแสความวิตกกังวลในเรื่องดังกล่าวอาจทำให้เกิดแรงเทขายครั้งใหญ่ในตลาดน้ำมันนิวยอร์กในไม่ช้านี้

 

นักลงทุนจับตาดูรายงานสต็อกน้ำมันประจำสัปดาห์ซึ่งสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) จะเปิดเผยในวันพุธนี้ โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าสต็อกน้ำมันดิบจะลดลง 200,000 บาร์เรล สต็อกน้ำมันกลั่นจะเพิ่มขึ้น 300,000 บาร์เรล สต็อกน้ำมันเบนซินจะลดลง 1.3 ล้านบาร์เรล และคาดว่าอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันจะลดลง 0.1%

 

ที่มา : money channel (วันที่ 23 สิงหาคม 2554)

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นักวิเคราะห์หลายคาดการณ์ว่า เงินเยนอาจจะพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดระดับใหม่ แม้ว่าทางการญี่ปุ่นจะเข้าแทรกแซงตลาดเพื่อควบคุมการแข็งค่าของเงินเยน เนื่องมาจากปัญหาต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อปัจจัยพื้นฐานของตลาด เช่นวิกฤตหนี้ยุโรปและการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจสหรัฐ ยังไม่ได้รับการแก้ไข

 

"เงินเยนยังคงแข็งค่าขึ้น ในขณะที่นักลงทุนญี่ปุ่นกำลังชะลอการลงทุนในตลาดต่างประเทศ" ทาโกโตะ โนจิ นักยุทธศาสตร์ด้านพันธบัตรและสกุลเงินของบริษัท เอสเอ็มบีซี นิกโก ซิเคียวริตีส์ อิงค์กล่าวว่า และไม่เห็นด้วยกับความคิดที่ว่าการแข็งค่าของเงินเยนเป็นผลมาจากการซื้อขายระยะสั้นของนักลงทุนต่างชาติ

 

ขณะที่ยูโซ ซากาอิ นักวิเคราะห์จากโตเกียว ฟอเร็กซ์ แอนด์ ยูเอดะ ฮาร์โลว์ กล่าวว่า การแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราจะช่วยยับยั้งการแข็งค่าของเงินเยนได้ในระดับหนึ่ง แต่ผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เนื่องจากแรงกดดันที่จะทำให้เงินเยนแข็งค่าขึ้นอีกนั้น มีอยู่อย่างต่อเนื่อง

 

ทั้งนี้ ซากาอิคาดว่า เงินเยนจะแข็งค่าขึ้นอีกเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ แม้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ใช้มาตรการผ่อนคลายด้านสินเชื่อเพิ่มเติมก็ตาม สำนักข่าวเกียวโดรายงาน

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 23 สิงหาคม 2554)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

          (ผลกระทบจากราคาน้ำมันที่มีผลในเชิงบวก) + Fitch Ratings ยืนยันความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ อยู่ที่ระดับสูงสุด (AAA) และประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจระยะยาว (Outlook) มีเสถียรภาพ (Stable)

          (ผลกระทบจากราคาน้ำมันที่มีผลในเชิงบวก) + ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve: Fed) รายงานผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Output) ในเดือน ก.ค. 54 เพิ่มขึ้น จากเดือนก่อนหน้า 0.9% สูงสุดในรอบ 7 เดือน และสูงกว่านักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ 0.5% (เดือน มิ.ย. 54 อยู่ที่ 0.4%)

          (ผลกระทบจากราคาน้ำมันที่มีผลในเชิงบวก) + 16 ส.ค. 54 Shell เผยท่อขนส่งน้ำมันดิบแหล่ง Gannet ในทะเลเหนือห่างจากฝั่งสกอตแลนด์ 180 กม. รั่วไหลตั้งแต่วันที่ 10 ส.ค. 54 ปริมาณรวมประมาณ 1,300 บาร์เรล ทำให้แท่นผลิตต้องหยุดดำเนินการ อย่างไรก็ตาม อัตราการรั่วไหลลดลงอยู่ที่ 1-2 บาร์เรลต่อวัน

          (ผลกระทบจากราคาน้ำมันที่มีผลในเชิงบวก) + Oil Movement รายงานปริมาณส่งออกน้ำมันดิบทางเรือของ OPEC (ไม่รวมแองโกลา และเอกวาดอร์) เฉลี่ย 4 สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 3 ก.ย. 54 ลดลง 120,000 บาร์เรลต่อวัน (จาก 4 สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 6 ส.ค. 54) อยู่ที่ 22.63 ล้านบาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ตาม Joint Oil Data Initiative (JODI) ของซาอุดีอาระเบียรายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในเดือน มิ.ย. 54 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 0.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 9.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน และส่งออก 7.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน สูงสุดตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจในปี 2551

          (ผลกระทบจากราคาน้ำมันที่มีผลในเชิงบวก) + 17 ส.ค. 54 ประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายบารัค โอบามา ออกคำสั่ง (Executive Order) ห้ามการทำธุรกรรมกับรัฐบาลซีเรีย ทั้งนี้ สหรัฐฯ นำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากซีเรียในช่วง ม.ค.- พ.ค. 54 ปริมาณ 10,000 บาร์เรลต่อวัน

          (ผลกระทบจากราคาน้ำมันที่มีผลในเชิงลบ) - 19 ส.ค. 54 บริษัท Arabian Gulf Oil Co. (AGOCO) ของลิเบียเผยจะสามารถกลับมาผลิตน้ำมันดิบจากแหล่ง Sarir (200,000 บาร์เรลต่อวัน) และ Mesla (60,000 บาร์เรลต่อวัน) ภายใน 3 สัปดาห์ หากสถานการณ์สงครามกลางเมืองคลี่คลาย

          (ผลกระทบจากราคาน้ำมันที่มีผลในเชิงลบ) - Fed รายงานดัชนีกิจกรรมภาคการผลิต (Factory Activity) ในเขตมิดแอตแลนติกของสหรัฐฯ ในเดือน ส.ค. 54 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ -30.7 จุด ต่ำสุดตั้งแต่ มี.ค. 52 (ก.ค. 54 อยู่ที่ +3.2 จุด) และ ดัชนีชี้วัดภาคอุตสาหกรรมของรัฐนิวยอร์ก (Empire State index) ลดลง อยู่ที่ -7.72 จุด จากระดับ -3.76 จุด

          (ผลกระทบจากราคาน้ำมันที่มีผลในเชิงลบ) - กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานจำนวนบ้านใหม่ที่กำลังก่อสร้าง (House Starts) ในเดือน ก.ค. 54 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 0.5% อยู่ที่ 604,000 หน่วย และ National Association of Realtor รายงานยอดขายบ้านมือสอง (Previously Owned Home Sales) ลดลง 3.5% อยู่ที่ 4.67 ล้านหน่วยต่อปี ต่ำสุดในรอบ 8 เดือน

          (ผลกระทบจากราคาน้ำมันที่มีผลในเชิงลบ) - กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก (Initial Jobless Claims) สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 ส.ค. 54 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 9,000 ราย อยู่ที่ 408,000 ราย

          (ผลกระทบจากราคาน้ำมันที่มีผลในเชิงลบ) - สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (Energy Information Administration: EIA) รายงานปริมาณสำรองน้ำมันเชิงพาณิชย์ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 12 ส.ค. 54: น้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า 4.2 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 354.0 ล้านบาร์เรล และ Distillate เพิ่มขึ้น 2.4 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 154.0 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตาม Gasoline อยู่ที่ 210.1 ล้านบาร์เรล ลดลง 3.5 ล้านบาร์เรล

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ในงานประชุมสัมมนาเศรษฐกิจประจำปีครั้งที่ 35 จัดโดยเฟด สาขาแคนซัส ซิตี้นั้น ความท้าทายสำหรับประธานเฟดในงานนี้คือ การอธิบายแนวทางของเฟดในการรับมือกับภาวะเศรษฐกิจซบเซา ตลอดจนพูดถึงแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ระยะสั้นและระยะยาว หลังจากในการประชุมนโยบายการเงินเมื่อต้นเดือนนี้ เฟดได้ส่งสัญญาณว่าแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะต่ำกว่าที่คาดไว้

 

นักวิเคราะห์ให้ความสำคัญกับการประชุมในวันศุกร์นี้เป็นพิเศษ เพราะเมื่อปีที่แล้ว เบอร์นันเก้เคยใช้เวทีนี้แย้มแนวคิดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือ QE2 และบางฝ่ายก็หวังว่า เขาจะใช้โอกาสนี้พูดถึงการออก QE 3 อีกก็เป็นได้

ส่วนฝั่งยุโรป เกรแฮม นีลสัน ประธานฝ่ายยุทธศาสตร์การลงทุนของแคน แคพิทัล เฮดจ์ฟันด์ในอังกฤษ บอกว่า หากมีการขยายวงเงินกองทุนเพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเงินยุโรป ซึ่งจะทำให้ฝรั่งเศสและเยอรมนีมีสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีสูงถึง 120-125% ก็อาจมีความเป็นไปได้ที่ทั้งสองประเทศจะถูดปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ และในส่วนของฝรั่งเศสเองก็อาจถูกลดเครดิตได้ เพราะปัญหาทางเศรษฐกิจ เช่น ระดับหนี้สาธารณะสูง และการเติบโตที่อ่อนแอของเศรษฐกิจ

 

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความพยายามแก้ปัญหาวิกฤตของผู้นำประเทศในยุโรป ประธานาธิบดีฝรั่งเศส นิโกลาส์ ซาร์โกซี่ และนายกรัฐมนตรีเยอรมัน แองเกลา แมร์เคล ได้ออกมาคัดค้านการขยายกองทุนขนาด 4 แสน 4 หมื่นล้านยูโร และข้อเรียกร้องให้สร้างยูโรบอนด์ โดยบอกว่ายูโรโซนจะต้องรวมตัวทางเศรษฐกิจให้แน่นแฟ้นมากกว่านี้ก่อน จึงจะดำเนินมาตรการอื่นๆ ต่อไป

 

โดยนายกรัฐมนตรีเยอรมันออกมาให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์เยอรมันว่า ยูโรบอนด์เป็นคำตอบที่ผิดสำหรับการแก้ปัญหาวิกฤตหนี้ในตอนนี้ เพราะจะทำให้ยุโรปกลายเป็น “สหภาพหนี้” ไม่ใช่ “สหภาพแห่งเสถียรภาพ”

 

ขณะที่พอล ครุกแมน นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง วิเคราะห์เศรษฐกิจยูโรปว่า ธนาคารกลางยุโรป หรือ อีซีบี จะต้องมีนโยบายการเงินที่กว้างขวางกว่านี้ และควรใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณเพิ่มขึ้น พร้อมบอกว่าตอนนี้ ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกจะถดถอยมีมากกว่า 1 ใน 3 เล็กน้อย

 

นอกจากนี้ ครุกแมนประเมินว่า ตอนนี้แม้จะมีความเป็นไปได้น้อยที่อิตาลีอาจถูกกดดันให้ออกจากยูโรโซน แต่ก็มีโอกาสเป็นไปได้ราว 10% ส่วนกรีซนั้นมีความเป็นไปได้สูงกว่า 50% เพราะการผิดนัดชำระหนี้บางส่วนของกรีซอาจไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาของยูโรโซนได้มากเพียงพอ

 

ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนพฤษภาคม ครุกแมนบอกว่ามีความเสี่ยงเพียง 1% ที่อิตาลีและสเปนจะต้องออกจากยูโรโซน

 

ที่มา : money channel (วันที่ 23 สิงหาคม 2554)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เอชเอสบีซีเปิดเผยข้อมูลดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อเบื้องต้น (flash PMI) ของจีน พบว่า ภาคการผลิตของจีนชะลอตัวลงเล็กน้อยในเดือน ส.ค. จากเดือน ก.ค. ขณะที่ยอดสั่งซื้อใหม่ และยอดสั่งซื้อสินค้าส่งออกใหม่ลดลง เนื่องจากอุปสงค์ชะลอตัว ในต่างประเทศ

        ทั้งนี้ ดัชนี flash PMI ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อสำรวจภาคการผลิตของจีน ก่อนการเปิดเผยข้อมูลของทางการ เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 49.8 ในเดือนส.ค. จาก ระดับ 49.3 ในเดือนก.ค.

        ระดับดังกล่าวยังคงต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งแบ่งแยกระหว่างการขยายตัว และการหดตัวลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ 

        เอชเอสบีซีจะเปิดเผยข้อมูลดัชนี PMI ขั้นสุดท้ายในวันที่ 1 ก.ย.นี้

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ทันหุ้น (วันที่ 23 สิงหาคม 2554)

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นายบิล กรอส ผู้จัดการกองทุนแปซิฟิก อินเวสเมนท์ แมเนจเมนท์ หรือ PIMCO ซึ่งเป็นกองทุนพันธบัตรที่ใหญ่ที่สุดในโลก บอกว่า ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 60 ปี สะท้อนถึงความเป็นไปได้มากขึ้นที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอย

 

นอกจากนี้ การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในแง่ของการ จ้างงาน หรืออัตราการว่างงาน รวมทั้งผลกำไรของภาคเอกชน ก็ยังบ่งชี้ถึงความเสี่ยงด้วย

 

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ลดลงเหลือ 1.98% ก่อนที่ในวันศุกร์จะปรับขึ้นไปอยู่ที่ 2.08%

 

นายกรอส บอกด้วยว่า สหรัฐกำลังจะหมดทางเลือกด้านนโยบายการเงินและการคลัง ขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจกำลังชะลอตัวลง

 

ก่อนหน้านี้ มอร์แกน สแตนเลย์เตือนว่า สหรัฐฯ และยูโรโซน ใกล้เข้าสู่ภาวะถดถอย ซึ่งสอดคล้องกับหลายบริษัทที่ได้ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งปีหลัง

 

ที่มา : money channel (วันที่ 23 สิงหาคม 2554)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สถาบันวิจัยอีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต หรือ EIU ในลอนดอน ระบุว่า มีโอกาสอย่างน้อย 40% ที่กลุ่มยูโรโซนจะล่มสลาย และมีโอกาสพอๆ กันที่เศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอย

 

นายโรเบิร์ต บิว หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ EIU ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยในเครือของอีโคโนมิสต์ กรุ๊ป ระบุว่า การล่มสลายของกลุ่มยูโรโซนจะก่อให้เกิดหายนะ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยตามมา หรือที่แย่กว่านั้นคือคือเกิดทั้งสองอย่างพร้อมๆกัน

 

EIU เพิ่งปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐปีนี้เหลือ 1.7% และจีดีพีเศรษฐกิจโลกเหลือ 2.5% และระบุว่าปัญหาใหญ่ไม่ได้อยู่ที่ตัวเลขคาดการณ์ แต่อยู่ที่ความน่าจะเป็นของความเสี่ยงต่างๆ และยังกังวลงว่าหากกลุ่มยูโรโซนล่มสลายจะส่งผลกระทบอย่างหนักต่อสิงคโปร์และตลาดอื่นๆ ในภูมิภาค รวมถึงจีน

 

ที่มา : money channel (วันที่ 23 สิงหาคม 2554)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เมื่อไรจะทะลุ 1900 แล้วไม่หล่นซ้าทีน้าาา ลุ้นมั่กๆ ชอบเลขนี้ อิอิ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โรเบิร์ต ไพรเออร์-แวนเดอร์ฟอร์ด นักเศรษฐศาสตร์ของเครดิต สวิส กล่าวว่า ปัจจัยชี้นำทางเศรษฐกิจที่สำคัญๆบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจเอเชียมีโอกาสที่จะถดถอย 30-40%  ทั้งนี้ ดัชนี U.S. ISM New Orders ซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการส่งออกของเอเชีย แสดงให้เห็นว่า มีความเป็นไปได้ที่การส่งออกอาจไม่ขยายตัวเลย ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็จะส่งกระทบอย่างมากต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาค

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 23 สิงหาคม 2554)

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สหรัฐได้เปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจเมื่อวานนี้ โดยธนาคารกลางสหรัฐระบุว่า ดัชนีกิจกรรมทางเศรษฐกิจอยู่ที่ระดับ -0.06 จุด ในเดือนก.ค. เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ -0.38 ของเดือนมิ.ย.

 

ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐที่จะมีการเปิดเผยในสัปดาห์นี้นั้น รวมถึงยอดขายบ้านใหม่เดือนก.ค., ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนก.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 2 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนส.ค.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...