ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

ชาย 4 คน พร้อมอาวุธปืนบุกรื้อแนวกระสอบทรายใต้สะพานกลับรถคลองรังสิต ขณะระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

 

เมื่อเวลา 02.30 น. ศูนย์ป้องกันน้ำท่วม สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร รายงานว่า บริเวณหน้าสำนักงานชลประทาน ใต้สะพานกลับรถคลองรังสิต ถ.พหลโยธิน มีชาย 4 คน มีอาวุธปืน เข้ารื้อแนวกระสอบทราย จึงขอกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ-ทหาร มูลนิธิอาสา พลเมืองดี ให้เข้าช่วยเหลือด่วน ซึ่งในขณะเวลานี้ระดับน้ำได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ต่อมาเวลา 03.30 น. เจ้าหน้าที่สำนักการระบายน้ำได้ถอนกำลังแล้ว ส่งผลให้น้ำไหลเข้าท่วมบริเวณรังสิตคลอง 1 และคลอง 2 เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเหตุการณ์ขณะนั้น ได้มีการตะลุมบอนกัน ระหว่างประชาชนที่อยู่บริเวณดังกล่าว อีกทั้งมีการยิงปืนขึ้นฟ้า อีกจำนวน 1 นัด จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจปฏิการพิเศษ หรือ 191 ได้เข้ามายุติเหตุการณ์ดังกล่าว ก่อนที่จะบานปลาย

 

ส่วน ถนนลำลูกกา คลอง 2 คันกั้นน้ำ หน้าหมู่บ้านชาวฟ้าแตก น้ำไหลเข้าท่วมถนนเสมาฟ้าคราม (ลำลูกกา ซอย 11) ระดับน้ำสูงประมาณหัวเข่า เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างซ่อมแซม แต่มีกำลังคนน้อย นอกจากนี้ พนังกั้นน้ำวัดลาดสนุ่น ก็มีรอยแตกเช่นกัน ส่งผลให้น้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่ดังกล่าวเช่นกัน

Link : http://www.innnews.co.th/รังสิตยิงปืนรื้อพนังน้ำทะลักคลอง2คันแตก--316352_05.html

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

T

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นักวิชาการชี้น้ำเหนือมีแนวโน้มเข้ากทม.ฝั่ง ตต.มากกว่า ตอ.

วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม 2011 เวลา 10:57 น. ณัฐญา เนตรหิน ข่าวรายวัน - ข่าวในประเทศ

 

นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิศาสตร์สารสนเทศ เปิดเผยผลวิเคราะห์จากภาพถ่ายดาวเทียมล่าสุด พบว่า มวลน้ำเหนือจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่จะลงสู่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะมีโอกาสลงไปทางด้านตะวันตกมากกว่า ซึ่งจะส่งผลให้ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาอาจมีสถานการณ์ยืดเยื้อ ขณะที่น้ำที่จะลงสู่ทางตะวันออก ด้านคลองระพีพัฒน์ คลองรังสิต และคลองหกวา จะมีปริมาณน้อยกว่า ประกอบกับการจัดการระบายน้ำทางฝั่งตะวันออกเริ่มเป็นไปตามแผนที่สามารถควบคุมได้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โพลล์ชี้การเมืองขัดแย้งยิ่งซ้ำเติมให้คนทุกข์ใจ

 

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

เอแบคโพล ระบุ การเมืองขัดแย้ง ยิ่งซ้ำเติมให้คนทุกข์ใจมาก ระบุช่วงน้ำท่วมคนใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น เหตุมีการกักตุนอาหาร น้ำดื่ม

 

 

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ถอดบทเรียนวิกฤตการณ์น้ำท่วมประเทศไทย กรณีศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,305 ตัวอย่าง ค่าความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15 - 22 ตุลาคม ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.3 ได้เรียนรู้มากขึ้นในเรื่องการปรับตัวสู้กับวิกฤตการณ์ภัยพิบัติน้ำท่วมครั้งนี้ โดยให้เหตุผลว่า ต้องเตรียมตัวรับมือกับน้ำท่วม เห็นความรักความสามัคคีของคนในชาติ ทำให้รู้ถึงผลกระทบของการทำลายธรรมชาติ ประสิทธิภาพการสื่อสารความถูกต้องชัดเจนให้กับสาธารณชนและการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลและประชาชน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.2 ต้องใช้จ่ายมากขึ้นในช่วงเผชิญกับวิกฤตการณ์ภัยพิบัติน้ำท่วม ได้แก่ การใช้จ่ายเพราะต้องกักตุนอาหาร น้ำดื่ม ไฟฉาย ถ่านไฟฉาย และอุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม เป็นต้น นอกจากนี้ ร้อยละ 55.9 ยังระบุว่าจะใช้จ่ายมากขึ้นอีกภายหลังน้ำลด เพราะต้องซ่อมแซมบ้าน รถ เครื่องใช้ไฟฟ้า ราคาสินค้าสูงขึ้น และปัญหาสุขภาพ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 30.4 จะใช้จ่ายเหมือนเดิม และร้อยละ 13.7 จะใช้จ่ายลดลง

 

แต่เมื่อถามถึงการคาดการต่อรายได้ที่จะได้รับในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า เกินครึ่งเล็กน้อยหรือร้อยละ 53.8 ระบุรายได้จะเหมือนเดิม ในขณะที่ร้อยละ 31.4 คาดว่าจะลดลง และร้อยละ 14.8 เท่านั้นที่ระบุรายได้จะเพิ่มขึ้น ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.6 เป็นทุกข์ใจมาก ถึงมากที่สุด เมื่อได้ข่าวความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงที่ชาวบ้านประสบภัยน้ำท่วม และร้อยละ 81.1 อยากเห็นความร่วมมือกันแก้ปัญหาภัยพิบัติน้ำท่วมระหว่างแกนนำพรรคเพื่อไทยกับ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจากพรรคประชาธิปัตย์

 

เมื่อถามการคาดการณ์ระยะเวลาปัญหาภัยพิบัติน้ำท่วมจะเริ่มคลี่คลาย พบว่า ร้อยละ 48.9 คาดว่าไม่เกิน 1 เดือน ในขณะที่ร้อยละ 21.6 อยู่ระหว่าง 1 - 2 เดือน และร้อยละ 29.5 ระบุคาดว่าตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป

 

เมื่อถามถึงความสำคัญที่จำเป็นเร่งด่วนในแผนฟื้นฟูหลังภัยพิบัติน้ำท่วมจากรัฐบาล พบว่า ร้อยละ 95.5 ระบุซ่อมแซมที่พักอาศัย ทำความสะอาดเมืองและชุมชน รองลงมาคือร้อยละ 91.3 ระบุที่ทำกิน ส่งเสริมการประกอบอาชีพ ร้อยละ 90.8 ระบุสาธารณูปโภค ถนน ไฟฟ้า และน้ำปะปา ร้อยละ 90.2 ระบุ มาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาซ้ำซาก และร้อยละ 87.8 ระบุเร่งแก้ปัญหาสุขภาพจิต และรองๆ ลงไปคือ ช่วยลดรายจ่ายของประชาชน การแก้ปัญหาว่างงาน ทีมงานให้คำแนะนำปรึกษาประจำชุมชน พัฒนาฐานข้อมูลและการสื่อสารภัยพิบัติ และการจัดระเบียบ และวางผังเมืองใหม่ ตามลำดับ

 

ดร.นพดล กล่าวว่า เป็นที่ชัดเจนว่า ชาวบ้านปฏิเสธภาพของความขัดแย้งทางการเมืองในขณะที่ชาวบ้านกำลังประสบปัญหาภัยพิบัติน้ำท่วมอยู่ในขณะนี้ แต่ชาวบ้านอยากเห็นความเป็นเอกภาพในการแก้ปัญหาภัยพิบัติครั้งนี้จากพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ มิฉะนั้นมันอาจเป็นความตั้งใจโดยเจตนาของกลุ่มนักการเมืองและแนวร่วมที่จะซ้ำเติมความทุกข์และความน่าเวทนาของประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วม คนเฒ่าคนแก่ คนเจ็บป่วยและพิการต่างๆ จึงขอให้ทุกภาคส่วนยอมรับความเป็นจริงและมองไปข้างหน้าช่วยกันสร้างโรดแมปฟื้นฟูเยียวยาผู้ประสบภัยพิบัติครั้งนี้ ได้แก่

 

ประการแรก ปฏิรูปและจัดระเบียบฐานข้อมูลสาธารณะแบบ “สองทาง” คือให้พื้นที่เสี่ยงและกลุ่มผู้ประสบภัยพิบัติเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน ไม่ซับซ้อน และฝ่ายรัฐเข้าถึงกลุ่มผู้ประสบภัยแบบถึงตัวเพื่อแจ้งเตือนภัยก่อนล่วงหน้า โดยเข้าช่วยเหลือให้พ้นภัยอย่างทั่วถึง และสนับสนุนการซ่อมแซมที่พักอาศัย ที่ทำกินและการประกอบอาชีพหลังน้ำลด

 

ประการที่สอง ได้แก่ เปิดศูนย์บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จในภูมิภาคและจังหวัดต่างๆ โดยผสานความร่วมมือระหว่างฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน ฝ่ายราชการและภาคประชาชนผู้มีจิตอาสาช่วยกัน เพื่อบำบัดฟื้นฟูลดความทุกข์ทางกาย ปัญหาที่จับต้องได้และความทุกข์ทางใจ สุขภาพจิต ความเครียดและความวิตกกังวลต่างๆ

 

ประการที่สาม ได้แก่ จัดหาแหล่งทุนฟื้นฟูเป็นกองทุนหมู่บ้าน ชุมชนที่ประสบภัยพิบัติต่างๆ เสริมความเข้มแข็งของชุมชนในมิติของการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

 

ประการที่สี่ ได้แก่ การมีคณะกรรมการอิสระหรือใช้กลไกของรัฐเพิ่มความเข้มในการติดตามประเมินผลการทำงานและความโปร่งใสในการใช้จ่ายงบประมาณ เงินบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติต่างๆ อย่างเป็นธรรมและทั่วถึงตามเจตนารมย์ของหลักธรรมาภิบาลและเจตนาของกลุ่มผู้บริจาค โดยแจกแจงรายละเอียดของการใช้จ่ายต่อสาธารณชนให้สามารถแกะรอยการใช้จ่ายไปถึงมือของกลุ่มผู้ประสบภัยและพื้นที่หมู่บ้านชุมชนของผู้เสียหายเหล่านั้น

 

ประการที่ห้า ได้แก่ รัฐบาลและกลไกของรัฐ น่าจะพิจารณาสร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนด้วยมาตการรองรับปัญหาภัยพิบัติว่า ประชาชนทุกคน ทุกเชื้อชาติจะได้รับการปฏิบัติช่วยเหลือเยียวยาอย่างทั่วถึง เพื่อเสริมสร้างวินัยและลดทอนความตื่นตระหนกจนกลายเป็นความขัดแย้ง ความเห็นแก่ตัวและการทำร้ายทำลายกันในหมู่ประชาชนเพื่อแย่งชิงสิ่งของบริจาคหรือถุงยังชีพต่างๆ โดยอาจพิจารณาเปิดโอกาสให้กลุ่มบริษัทเอกชนมาร่วมรับประกันความเสี่ยงภัยพิบัติอื่นๆ ในอนาคตได้อีกด้วย

 

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 53.9 เป็นหญิง ร้อยละ 46.1 เป็นชาย ร้อยละ 3.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 18.4 อายุระหว่าง 20 - 29 ปี ร้อยละ 22.0 อายุระหว่าง 30 - 39 ปี ร้อยละ 22.2 อายุระหว่าง 40 - 49 ปี และร้อยละ 33.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.4 การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ในขณะที่ร้อยละ 28.6 ปริญญาตรีขึ้นไป ร้อยละ 29.1 ค้าขายส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 28.8 อาชีพรับจ้างใช้แรงงานทั่วไป/ เกษตรกร ร้อยละ 15.9 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 10.2 ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 6.4 นักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 5.9 แม่บ้าน เกษียณอายุ และร้อยละ 3.7 ไม่ได้ประกอบอาชีพ

 

Tags : ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

European Union finance ministers reportedly sketched a deal on Saturday for recapitalizing European banks, as Germany and France tried to resolve their differences over containing euro-area debt.

เหล่ารัฐมนตรีการคลังของสหภาพยุโรป กล่าวรายงานถึงแผนภาพคร่าวๆ ที่เกี่ยวกับ การเพิ่มทุนของธนาคารฯ และ 2 ผู้ยิ่งใหญ่ ก็พยายามที่จะหาวิธีแก้ไข

ความยากลำบากในสภาพหนี้เขตยูโร

 

 

รมว.คลัง อียู เห็นพ้องต้องใช้เงิน 1 แสนล้านยูโร เพิ่มทุนแบงก์ยุโรป เม็ดเงินน้อยกว่าข้อเรียกของไอเอ็มเอฟ

 

 

 

ในวันเสาร์ที่ผ่านมา บรรดารัฐมนตรีคลังสหภาพยุโรป (อียู) เห็นพ้องต้องกันว่า ต้องใช้เงินสูงสุด 1 แสนล้านยูโร ในการเพิ่มทุนให้กับธนาคารยุโรป ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติหนี้กรีซ และคาดว่าจะบรรลุข้อตกลงอย่างเป็นทางการในเรื่องดังกล่าว ในการประชุมสุดยอดผู้นำอียูวันอาทิตย์นี้

 

ทั้งนี้ จำนวนเงินดังกล่าว น้อยกว่าจำนวนเงินที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เรียกร้องแบบครึ่งต่อครึ่ง โดยขณะนี้อียูกำลังพยายามช่วยธนาคารรายใหญ่ในยูโรโซน ในการเพิ่มอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงเป็น 9 % หรือสูงกว่านั้นภายใน 6-9 เดือน

 

Link : http://www.innnews.co.th/อียูชี้ใช้1แสนล-ยูโรเพิ่มทุนแบงก์ยุโรป--316395_02.html

 

 

 

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ABACโพลคน 66.3 % ปรับตัวรับมือวิกฤติน้ำท่วม และประชาชนส่วนใหญ่ ใช้เงินพุ่งตุนของ ส่วน 83.6 % ทุกข์ใจ การเมืองขัดแย้ง ช่วยน้ำท่วม

 

 

 

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยวิจัยเรื่อง ถอดบทเรียนวิกฤตการณ์น้ำท่วมประเทศไทย กรณีศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครว่า ประชาชนร้อยละ 66.3 % ได้เรียนรู้มากขึ้น ในเรื่องการปรับตัวสู้กับวิกฤตการณ์ภัยน้ำท่วมครั้งนี้ ทั้งนี้ ร้อยละ 67.2 % ต้องใช้จ่ายมากขึ้นในช่วงเผชิญกับวิกฤตการณ์ภับพิบัติน้ำท่วม ได้แก่ การกักตุนอาหาร ใช้จ่ายด้านน้ำดื่ม และอุปกรณ์ป้องกันภัย

 

อย่างไรก็ตาม ประชาชน ร้อยละ 83.6 % มีความรู้สึกทุกข์ใจมากถึงมากที่สุด เมื่อเห็นข่าวความขัดแย้งทางการเมือง ในช่วงที่ชาวบ้านประสบภัยน้ำท่วม และประชาชนร้อยละ 81.1 % อยากเห็นความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ระหว่างแกนนำพรรคเพื่อไทย ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจากพรรคประชาธิปัตย์

 

นอกจากนี้ ประชาชนร้อยละ 95.5 % อยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญเร่งด่วน ในการฟื้นฟูหลังน้ำลด ในเรื่องของการซ่อมแซมที่พักอาศัย ทำความสะอาดเมืองและชุมชุน และร้อยละ 91.3 % ให้รัฐบาลช่วยเหลือด้านที่ทำกินและส่งเสริมการประกอบอาชีพ

Link : http://www.innnews.co.th/เอแบคโพลคนทุกข์ใจกม-ขัดแย้งช่วยน้ำท่วม--316378_01.html

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ศปภ.เตือนพื้นที่พุทธมณฑล-เหนือจ.นนทบุรี-นครปฐมรับมือน้ำ2-3วันข้างหน้า

วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม 2011 เวลา 13:48 น. ณัฐญา เนตรหิน ข่าวรายวัน - ข่าวในประเทศ

 

วันนี้ (23 ต.ค 54) เวลา 11.30 น. ณ อาคารผู้โดยสารภายในประเทศ ท่าอากาศยานดอนเมือง พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย พร้อมนาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พลตำรวจเอกพงศพัศ พงศ์เจริญ นายปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบกรมชลประทาน และ ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยาร่วมกันแถลงความคืบหน้าสถานการณ์น้ำ และมาตรการการแก้ไขปัญหาในการระบายน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

 

ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ชี้แจงสถานการณ์น้ำในช่วงระยะเวลา 2 - 3 วันข้างหน้า และการระบายน้ำว่า ระดับน้ำทางฝั่งตะวันออกสามารถระบายน้ำและลดระดับน้ำได้เป็นที่น่าพอใจ ถือเป็นสัญญาณที่ดีต่อการทำงาน ทั้งนี้จะใช้เวลาในการดำเนินการ สำหรับมาตรการหลังน้ำลดจะเร่งระบายน้ำออกฝั่งตะวันออก และติดตั้งเคลื่อนสูบน้ำที่คลองรังสิต เพื่อให้น้ำไหลออกคลองนครนายก และผันน้ำลงในแม่น้ำให้มากขึ้น ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบบ้าง แต่ยืนยันว่าสามารถควบคุมสถานการณ์ได้

 

สำหรับการการทำงานนั้น ได้มีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง แต่อาจมีปัญหาการปฏิบัติงานในพื้นที่ ซึ่งถ้าจำเป็นต้องประกาศเป็นพื้นที่หวงห้ามพิเศษเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพรวดเร็ว ทำงานได้อย่างเต็มที่ นายกรัฐมนตรีก็พร้อมที่จะได้ประกาศเป็นพื้นที่หวงห้ามพิเศษต่อไป

 

สำหรับสถานการณ์น้ำในอีก 2 - 3 วันข้างหน้านี้ พื้นที่พุทธมณฑล บริเวณเหนือจังหวัดนนทบุรี และนครปฐม อาจได้รับผลกระทบบ้าง ขอให้ประชาชนติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และให้ปรับวิถีชีวิตให้สอดคล้องกับระดับน้ำ เพื่อลดปัญหาบรรเทาความเดือดร้อน เตรียมอพยพสิ่งของที่มีค่าไว้ในที่ปลอดภัย ซึ่งคาดว่าระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นไม่เกิน 50 เซนติเมตร หลังจากระดับน้ำทะเลหนุนขึ้นสูงแล้ว ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติใช้รองรับการระบายน้ำขังจากทุ่งลงสู่แม่น้ำได้มากขึ้น ทำให้สถานการณ์คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

นายแบงก์แนะเก็บเงินสดช่วงน้ำท่วม

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 23 ตุลาคม 2554 12:55 น.

 

สถานการณ์น้ำท่วมขยายวงกว้าง ทำให้ประชาชนต้องเตรียมการเฝ้าระวังทั้งทรัพย์สินและเงินสด ผู้บริหารธนาคารพาณิชย์แนะนำ ภาวะเช่นนี้ประชาชนที่คาดว่าตนเองจะได้รับผลกระทบ ควรเก็บเงินสดไว้กับตัว โดยประเมินให้เพียงพอกับการใช้งาน ไม่ต้องมากจนเกินไป เนื่องจากหากน้ำท่วมในพื้นที่ธนาคาร หรือตู้เอทีเอ็ม ทางธนาคารต้องตัดกระแสไฟฟ้า ซึ่งการให้บริการจะหยุดด้วยเช่นกัน

สำหรับผู้ประสบอุทกภัยจนเอกสารสำคัญหาย แนะนำให้นำบัตรประชาชนยืนยันตัวตน หรือเข้าแจ้งความว่า สมุดบัญชีหาย จะสามารถรับบริการธนาคารต่างสาขาได้

นายชาติศิริ โสภณพนิช นายกสมาคมธนาคารไทย ระบุว่า ธนาคารพาณิชย์พยายามให้ความช่วยเหลือลูกค้าในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมให้ทั่วถึง โดยพื้นที่น้ำลด จะเร่งเปิดให้บริการทันที ส่วนพื้นที่ที่ธนาคารไม่สามารถเข้าไปให้การช่วยเหลือได้ จะประสานธนาคารอื่นเข้าไปช่วยเหลือแทน

ทั้งนี้ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ยอมรับว่า ทำให้เกิดความเสียหายจำนวนมาก แต่ยังไม่สามารถประเมินสถานการณ์ได้ โดยธนาคารมุ่งเน้นการดูแล และให้การช่วยเหลือลูกค้า ทั้งการยืดการผ่อนชำระ การอนุมัติวงเงินระยะสั้น เพื่อให้เกิดวงเงินหมุนเวียนก่อนช่วยเหลือวงเงินระยะยาวต่อไป

จนถึงขณะนี้มีธนาคารพาณิชย์ปิดให้บริการชั่วคราวแล้ว 227 สาขา ในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม ขณะที่ตู้เอทีเอ็ม ปิดแล้วกว่า 2,500 เครื่อง

ถูกแก้ไข โดย เศรษฐีน้อย จากร้อยสู่ล้าน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ระวัง! โรคที่มากับน้ำท่วม 0

 

โรคที่มากับน้ำท่วม

สถานการณ์น้ำท่วมแบบนี้ก็จะมากับโรคระบาดที่มาพร้อมกับน้ำท่วม เพราะว่าน้ำท่วมที่ขังอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่งนานๆก็จะเกิดการเน่าเสีย ส่งกลิ่นและเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคเป็นอย่างดี ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อประชาชนที่ได้สัมผัสกับน้ำเสียเหล่านั้น และในขณะนี้ก็มีผู้ที่เจ็บป่วยจากโรคต่างๆเหล่านี้เป็นจำนวนมาก ดังนั้นเราจะต้องเตรียมตัวที่จะป้องกันโรคต่างๆที่มันจะมากับน้ำให้ดี ไม่เช่นนั้นถ้าเป็นโรคนั้นๆขึ้นมาจะรักษายากนะครับสำหรับสถานการณ์น้ำท่วมหนักเช่นนี้ ในครั้งนี้จึงได้นำโรคทั้ง 6 โรคที่มีผลมาจากเหตุการณ์น้ำท่วมมาฝากกันครับ

โรคที่มากับน้ำท่วมที่ควรระวัง

โรคฉี่หนู ฉี่หนูเป็นโรคระบาดในคนที่ติดต่อมาจากสัตว์ มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า เลปโตสไปรา (Leptospira sp.) ที่อยู่ในปัสสาวะของสัตว์ ตั้งแต่หนู วัว ควาย ไปจนถึงสัตว์เลี้ยงอย่างสุนัขและแมวเลย โดยจะสามารถรับเชื้อฉี่หนูนี้ได้ทางบาดแผล หรือผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานาน ๆ อาการของโรคฉี่หนู มี 2 แบบ คือ

แบบไม่รุนแรงจะมีอาการเหมือนเป็นไข้หวัด ธรรมดา ปวดหัว ตัวร้อน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้หากผู้ป่วยรู้ตัวและรีบไปพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ

แบบอาการรุนแรงที่จะทำให้ตาอักเสบแดง น้ำตาไหล สู้แสงไม่ได้ และเมื่อเชื้อเข้าไปอยู่ในสมองจะทำให้เกิดอาการเพ้อ ไม่รู้สึกตัว และยิ่งไปกว่านั้นหากติดเชื้อทั่วร่างกายจะทำให้เลือดออกในร่างกายจนเสีย ชีวิต

โรคอหิวาตกโรค เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Vibrio Cholerae ที่แพร่กระจายอยู่ในน้ำดื่มและอาหาร โดยมีแมลงวันเป็นพาหะนำโรค และแน่นอนว่าโรคนี้แพร่ระบาดได้โดยการกินและดื่มอาหารที่มีแมลงวันตอมและมี เชื้ออหิวาตกโรคปะปนอยู่ รวมทั้งอาหารสุข ๆ ดิบ ๆ อาการของโรค ผู้ป่วยจะอุจจาระเหลวเป็นน้ำวันละหลายครั้ง และอาจมีอาการปวดท้องหรืออาเจียนได้ ซึ่งถือว่าเป็นอาการในระยะแรกสามารถรักษาให้หายได้ภายใน 1-5 วัน แต่หากติดเชื้อขั้นรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการท้องเดิน อุจจาระมากและมีลักษณะอุจจาระเป็นน้ำซาวข้าว มีกลิ่นเหม็นคาว และอุจจาระได้โดยไม่ปวดท้องและไม่รู้สึกตัว สามารถหายได้ภายใน 2-6 วันหากได้รับเกลือแร่และน้ำชดเชยน้ำที่เสียไป แต่หากได้รับไม่พอดีกับที่เสียไปแล้ว ผู้ป่วยก็จะมีอาการหมดแรง หน้ามืด อาจช็อคถึงเสียชีวิตได้

ไข้ไทฟอยด์ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Salmonella Typhi ที่อยู่ในน้ำและอาหารเช่นเดียวกับอหิวาตกโรค แพร่ระบาดโดยการดื่มน้ำและอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรค อาการของโรค เมื่อได้รับเชื้อนี้เข้าไปจะไม่แสดงอาการทันที แต่จะแสดงอาการหลังจากรับเชื้อประมาณ 1 สัปดาห์ โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัว เบื่ออาหาร มีไข้สูงมาก ท้องร่วง บาง รายมีผื่นขึ้นตามตัว แน่นท้อง สามารถหายได้เองภายใน 1 เดือน แต่ผู้ป่วยควรจะพบแพทย์หลังจากมีอาการแล้ว เพราะอาจจะเสียชีวิตจากภาวะปอดบวมได้

โรคตับอักเสบ เป็นภาวะที่มีการอักเสบของเซลล์ตับ ทำให้ตับทำงานผิดปกติ จนทำให้มีอาการเจ็บป่วยได้ และไวรัสตับอักเสบที่มาจากภาวะน้ำท่วม ก็คือไวรัสตับอักเสบชนิดเอ ที่มีสาเหตุมาจากการทานอาหารที่ไม่สะอาด ไม่ทำให้สุก อาการของโรค เมื่อแสดงอาการแล้วผู้ป่วยจะมีไข้ต่ำ เบื่ออาหาร ปวดท้อง ปวดตัวแถวชายโครงขวา และมีปัสสาวะเป็นสีชาแก่ เริ่มมีอาการตัวเหลืองตาเหลืองในสัปดาห์แรก และจะหายเป็นปกติภายใน 2-4 สัปดาห์

โรคตาแดง เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส Chlamydia trachomatis และ Bacterial Conjunctivitis อาจมาจากภูมิแพ้ หรือสัมผัสสารที่เป็นพิษเข้าตา มักเกิดจากการเอามือที่สกปรกไปขยี้ตา รวมถึงใช้ผ้าเช็ดตัว หรือผ้าเช็ดหน้าไปสัมผัสกับดวงตา อาการของโรค ผู้ป่วยจะมีอาการคันตาจนต้องขยี้ตาบ่อยๆ หรือบางคนแค่เคืองตาเท่านั้น และมีขี้ตามากกว่าปกติ มีลักษณะเป็นหนองและมีสะเก็ดปิดตาตอนเช้า และมองเห็นได้ไม่ชัดเจน ตามัว หรืออาจปวดตา

ไข้เลือดออก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค มักพบในเด็ก มักระบาดในฤดูฝน ที่มีการแพร่พันธุ์ของยุงลาย อาการของโรค ผู้ป่วยจะมีไข้สูงประมาณ 2-7 วัน เบื่ออาหาร อาเจียนออกมามีสีน้ำตาลปนอยู่ ปวดกล้ามเนื้อ ตัวแดง หรืออาจมีผื่นหรือจุดเลือดตามผิวหนัง หากเข้าสู่ภาวะวิกฤตผู้ป่วยจะไข้ลด มือเท้าเย็น ตัวเย็น ชีพจรเต้นเร็ว อาเจียนมาก ปัสสาวะน้อย ทำให้เข้าสู่ภาวะช็อคได้ หากมีอาการควรรีบพบแพทย์อย่างเร่งด่วน

 

 

โรคที่มากับน้ำท่วม

อย่างไรก็ตามการป้องกันเป็นสิ่งที่ดีที่สุดนะครับ เพราะเมื่อเป็นโรคขึ้นมาแล้วจะทำการรักษาลำบากกว่าการป้องกัน และหมั่นดูแลรักษาความสะอาดตัวเอง และที่อยู่อาศัยให้มีความสะอาดอยู่เสมอนะครับ จะได้ไม่เกิดโรคและสุขภาพแข็งแรงเสมอตลอดระยะเวลาที่น้ำท่วมนี้นะครับ

 

 

Read more: http://www.imarm.com/%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%97%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%a1/#ixzz1baSraTSs

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิธีสร้างคันกั้นน้ำกระสอบทรายที่ถูกต้อง

 

http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=89674:2011-10-23-08-36-32&catid=143:2011-01-26-05-35-57&Itemid=597

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดหลักทรัพย์เตือนระวังต่างชาติทิ้งหุ้นหนีน้ำท่วมเรื้อรัง

Share

 

สถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุนชี้ระวังต่างชาติขนเงินหนีน้ำท่วม ระบุแค่ 1 สัปดาห์ก็ตัดสินใจหมุนออก หาแหล่งลงทุนเสี่ยงต่ำกว่าได้ แนะรัฐบาลงัดนโยบายแก้ปัญหาชัด-เป็นระบบ เร่งสร้างบรรยากาศลงทุน

 

 

นางเทียนทิพ สุพานิช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า จากภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันนั้นถือว่ามีผลกระทบต่อบริษัทและบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในประเทศหลายกลุ่ม ซึ่งอาจมีความเป็นไปได้ว่านักลงทุน ต่างชาติอาจจะตัดสินใจถอนการลงทุนออกไปได้ เพื่อลดความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนลง พร้อมทั้งหมุนเงินดังกล่าวไปลงทุนในประเทศอื่นในภูมิภาคที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าแทน หากสถานการณ์น้ำท่วมยังคงมีทีท่ายืดเยื้อ

 

"แม้ตลาดหุ้นไทยจะขึ้นมาเป็นตลาดหุ้นเกิดใหม่ชั้นนำของโลก (Advanced Emerging Market) แล้ว แต่ก็ไม่ได้ หมายความว่าเราจะไม่ถูกนักลงทุนต่างชาติปรับลดออกจากพอร์ตการลงทุน เขามีโอกาสหมุนเงินไปลงทุนตลาดที่พัฒนาแล้วแห่งอื่น ๆ ได้ เพราะเดี๋ยวนี้นักลงทุนต่างชาติหมุนเงินลงทุนได้เร็ว"

 

ทั้งนี้ จากผลวิจัยที่ผ่านมาพบว่าโดยเฉลี่ยของนักลงทุนต่างชาติทั้งหมดจะสามารถปรับพอร์ตได้ทันทีภายใน 1 สัปดาห์ ดังนั้นถ้าจะสร้างความมั่นใจระยะยาวรัฐบาลต้องมีนโยบายแก้ไขปัญหาเป็นระบบและชัดเจน เรียกความมั่นใจ สร้างบรรยากาศลงทุนที่ดี

 

สำหรับภาพรวมของสถานการณ์ลงทุนในตลาดหุ้นไทยขณะนี้ เบื้องต้นพบว่ามีความเสี่ยงทั้งจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะปัญหาหนี้สินในประเทศกลุ่มยุโรปและปัญหาทางเศรษฐกิจในสหรัฐ ทำให้การลงทุนโดยรวมค่อนข้างผันผวน ประกอบกับขณะนี้ยังมีปัญหาน้ำท่วมภายใน ประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบเชื่อมโยงในหลายอุตสาหกรรม เช่น นิคมอุตสาหกรรม ชิ้นส่วนยานยนต์ ฯลฯ จึงอาจทำให้มีผลต่อมุมมองการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติบ้าง

 

อย่างไรก็ตาม ประเมินว่าการที่ในช่วงเดือนตุลาคม นับตั้งแต่วันที่ 1-19 ตุลาคมยังคงมีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาซื้อสุทธิราว 1.6 หมื่นล้านบาท ต่างจาก 2 เดือนก่อนหน้าที่เกิดสถานการณ์น้ำท่วมเหมือนกัน คือเดือนสิงหาคม นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 4.2 หมื่นล้านบาท และเดือนกันยายนนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1.65 หมื่นล้านบาทนั้น น่าจะเกิดขึ้นเนื่องจากการที่นักลงทุนต่างชาติต้องบริหารพอร์ตลงทุนของตนเองให้เป็นไปตามค่ามาตรฐาน (เบนช์มาร์ก) ที่วางไว้ จึงส่งผลให้แรงซื้อกลับเข้ามาอีกครั้ง

 

"การที่นักลงทุนต่างชาติยังเข้ามาลงทุนทั้งที่ตลาดเรามีปัจจัยลบ ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการบริหารพอร์ต ที่จะต้องทำให้เท่ากับเบนช์มาร์ก ดังนั้นในช่วงที่ผ่านมาเมื่อดัชนีปรับตัวลดลงก็มีผลทำให้สัดส่วนการลงทุนหุ้นไทยต่อพอร์ตลดลงตามด้วย นักลงทุนต่างชาติก็ต้องเข้ามาซื้อเพิ่มเพื่อให้สัดส่วนการลงทุนเป็นไปตามเบนช์มาร์กที่วางไว้"

 

นางเทียนทิพกล่าวอีกว่า หลังจากนี้การทำบทวิจัยต่าง ๆ ควรจะนำประเด็นภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นตามแต่ละช่วงเวลาเข้ามาประกอบด้วย โดยถือเป็นเรื่องใหม่ซึ่งที่ผ่านมายังไม่เคยนำมารวมเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการลงทุนมาก่อน

 

อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่า จากกรณีของน้ำท่วมที่เกิดขึ้นเป็นบทเรียนสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่า แม้ บจ.ต่าง ๆ จะมีกำไรในไตรมาสที่ผ่าน ๆ มา แต่ก็อาจจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นเพียงช่วงเดียว จนมีผลต่อความสามารถในการทำกำไร หรือผลประกอบการในระยะถัดไปได้ จึงถือเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการลงทุนด้วย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดาวเทียมหมดอายุตกแล้ว

วันอาทิตย์ ที่ 23 ตุลาคม 2554 เวลา 14:42 น

เนื้อหาข่าว

 

ศูนย์อวกาศเยอรมนียังไม่ชี้ชัดว่าตกลงในทวีปใด แต่ที่หล่นลงมาเหลือน้ำหนักประมาณ 1.87 ตัน

 

เมื่อวันที่ 23 ต.ค. สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนีว่า ดาวเทียมหมดอายุการใช้งานแล้วของเยอรมัน ได้ตกลงมาเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลกแล้วเมื่อเช้าวันนี้ ตามการคาดหมายของศูนย์อวกาศเยอรมนี แม้จะไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่าทวีปหรือประเทศใดกันแน่ที่ดาวเทียมวิจัยด้านวิทยาศาสตร์โรแซทตกลงมา แต่เศษชิ้นส่วนของดาวเทียมโรแซท ซึ่งมีขนาดเท่ารถมินิแวนจะถูกเผาไหม้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยขณะเข้าสู่วงโคจรของโลกด้วยความเร็ว 450 กม.ต่อชั่วโมง เหลือเพียงประมาณ 30 ชิ้น น้ำหนัก 1.87 ตัน นักวิทยาศาสตร์เองก็ไม่สามารถที่จะติดตามดาวเทียมดวงนี้ได้ตลอดและมันอาจจะเดินทางไปได้ไกลในรัศมี 20,000 กม. ในช่วง 30 นาทีสุดท้ายก่อนเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก แต่นักวิทยาศาสตร์ก็มองว่า มันอาจจะไม่ตกลงในทวีปยุโรป แอฟริกาหรือออสเตรเลีย

 

ดาวเทียมวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ โรแซท น้ำหนักรวม 2.69 ตัน ปล่อยขึ้นไปในอวกาศเมื่อปี 2533 และปลดประจำการในปี 2542 หลังจากใช้ในภารกิจการสำรวจเรื่องหลุมดำและดาวนิวตรอน รวมทั้งยังเคยสำรวจฟากฟ้าทั้งหมดของโลกเป็นครั้งแรกด้วยรังสีเอ็กซ์ โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ ส่วนชิ้นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของดาวเทียมที่ตกลงสู่โลกนั้นเป็นกระจกป้องกันความร้อนของกล้องโทรทัศน์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กลุ่มชีวิตที่ไม่เกี่ยวกับเสียงบ่น'อาสาสมัคร-จิตอาสา'ไทยช่วยไทย..ไม่อายที่จะทำดี

วันอาทิตย์ ที่ 23 ตุลาคม 2554 เวลา 0:00 น

เนื้อหาข่าว

 

“ป้ามาช่วยที่นี่ได้ 10 วันแล้ว มีอะไรทำได้ป้าก็ไปช่วยเขา เห็นข่าวแล้วก็สงสาร ก็อดไม่ได้ที่จะต้องออกมาช่วย ทำได้มากได้น้อยก็ยังดีกว่าอยู่เฉย ๆ” ...เป็นเสียงล้า ๆ แต่ใบหน้าก็เปื้อนยิ้ม ของ รัตนาภรณ์ แดนทอง ประชาชนจากย่านมีนบุรี ที่เดินทางมาเป็น “อาสาสมัคร” เพื่อช่วยงาน ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ซึ่ง ณ ศูนย์แห่งนี้ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ “พลังจิตอาสา” ฉายชัด…

 

ภายในอาคารผู้โดยสารในประเทศ ท่าอากาศยานดอนเมือง ถูกปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยของรัฐบาล โดยชั้นแรกเป็นสถานที่รับบริจาคสิ่งของช่วยเหลือที่มีผู้นำมามอบให้ ขณะที่บริเวณชั้นสองจะเป็นจุดประสานงานติดต่อขอความช่วยเหลือ ถัดออกไปบริเวณเคาน์เตอร์เช็กอินก็ถูกปรับพื้นที่ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับใช้ในการแถลงข่าว ภายในอาคารที่เคยกว้างขวางดูแคบไปถนัดตา บริเวณด้านนอกอาคารและลานจอดรถก็เต็มไปด้วยรถหลากชนิด ทั้งของเจ้าหน้าที่ อาสาสมัคร และผู้ที่เดินทางมาบริจาคสิ่งของ บริเวณในอาคารข้าวของอุปโภคบริโภคถูกนำมาวางเรียงตามมุมต่าง ๆ รออาสาสมัครมาคัดแยกแบ่งชนิดและประเภทของสิ่งของเพื่อนำไปบรรจุใส่ถุง เพื่อนำไปมอบให้กับผู้ประสบอุทกภัยต่อไป

 

ในเย็นวันที่ทีม “วิถีชีวิต” เข้าไปสำรวจที่ศูนย์แห่งนี้ ภาพที่เห็นคืออาสาสมัครชาย-หญิงเดินกันขวักไขว่ สองมือสองไม้ต่างหยิบจับสิ่งของกันขะมักเขม้น เสื้อผ้าสีสวย ๆ ดูไม่เป็นอุปสรรค อาสาสมัครหญิงสาวหลายคนนั่งลงกับพื้นอาคารแบบไม่รังเกียจ มือทั้งสองก็คอยหยิบจับบรรจุข้าวของแบบไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย บรรยากาศโดยรวมดูจะคึกคักอยู่ตลอดเวลา เพราะมีอาสาสมัครทยอยเข้าทยอยออกหมุนเวียนสับเปลี่ยนกันเรื่อย ๆ

 

สำรวจขึ้นไปที่บริเวณชั้นสอง บรรยากาศแตกต่างเล็กน้อย แต่ความขวักไขว่ก็เรียกได้ว่าไม่แพ้กัน ผิดตรงที่บริเวณนี้จะคลาคล่ำไปด้วยเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบ ทั้งตำรวจ ทหาร ข้าราชการ และอาสาสมัครภาคประชาชน ที่เดินสวนกันไปมาอยู่ตลอด บริเวณชั้นสองนี้ถูกจัดให้เป็นศูนย์ประสานงาน แจ้งข่าว รับข้อมูลการขอความช่วยเหลือ อาสาสมัครหลายคนหน้าตาเคร่งเครียดอยู่หน้าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เพื่อตรวจสอบข้อมูลและอัพเดทข่าวสารตลอดเวลา ขณะที่บางมุมก็มีการนำคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กมาตั้ง ซึ่งให้ข้อมูลด้านแผนที่ ภาพถ่ายทางอากาศ รวมถึงคลิปวิดีโอที่อาสาสมัครในพื้นที่นำมาโหลดไว้เพื่อให้ผู้คนได้ติดตามสถานการณ์ความคืบหน้าในแต่ละจุด ซึ่งก็ได้รับความสนใจอย่างมาก ดูได้จากการจับกลุ่มยืนดูและพูดคุยกันของหลาย ๆ คน

 

กระดานดำขนาดใหญ่ ถูกนำมาตั้งไว้เพื่อใช้เป็นกระดานสำหรับแจ้งข่าวชั่วคราว บนกระดานเต็มไปด้วยแผ่นกระดาษ ซึ่งมีทั้งข้อมูลด้านต่าง ๆ รวมถึงการแจ้งรับสมัครอาสาสมัครเพื่อเข้าไปช่วยเหลืองานในด้านต่าง ๆ ซึ่งก็มีความต้องการแทบจะทุกแผนก ไม่เว้นแม้แต่อาสาสมัครสำหรับถ่ายภาพในพื้นที่

 

สำหรับรัตนาภรณ์ ก็เล่าอีกว่า บ้านตัวเองก็ถือว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม แต่ก็คิดว่าถ้าหากน้ำจะต้องท่วมจริง ๆ ก็คงทำอะไรไม่ได้ อีกอย่างที่พักอาศัยของตนก็อยู่บนชั้น 2 ซึ่งก่อนจะออกเดินทางมาช่วยงานที่ศูนย์ ก็ได้ตระเตรียมอะไรต่อมิอะไรไว้เรียบร้อยแล้ว จึงไม่ค่อยมีอะไรให้เป็นห่วงมากนัก ที่กังวลก็คือหากน้ำท่วม การจะเดินทางมาช่วยงานที่ศูนย์ก็อาจจะต้องพิจารณาอีกที เพราะอาจจะเดินทางมาได้ลำบากมากยิ่งขึ้น

 

“หน้าที่แต่ละวันก็ไม่ซ้ำกัน แล้วแต่ว่าแต่ละวันจะมีงานอะไรให้ทำ อย่างวันนี้ช่วงเย็นป้าก็ช่วยแยกถุงพลาสติกจากสิ่งของที่คนนำมาบริจาคให้ โดยป้าจะแยกถุงพลาสติกขนาดต่าง ๆ นำมาเก็บไว้ เพื่อจะนำมาใช้งานต่อ” รัตนาภรณ์บอกเล่าภารกิจ ก่อนก้มหน้าสาละวนกับกองถุงพลาสติกท่วมหัวต่อไป

 

เรายังชวนคุยต่อไป ซึ่งอาสาสมัครรายนี้ก็บอกว่า ปกติจะเดินทางโดยรถเมล์มาที่ศูนย์นี้ช่วงประมาณ 11.00 น. แล้วจะอยู่ช่วยงานไปเรื่อย ๆ จนถึงเวลาประมาณ 19.00 น. จึงจะเดินทางกลับ แต่ถ้ามีงานมาก คนขาด ก็จะอยู่ช่วยต่อไปจนกว่าจะมีคนมาเพิ่ม หรืองานลดลง ซึ่งช่วงหลัง ๆ การเดินทางก็ลำบาก เพราะรถเมล์มักขาดระยะ ต้องรอนาน “แต่ก็ไม่เป็นไร ยังสู้ ยังอยากที่จะช่วยเหลือคนที่เดือดร้อนมากกว่าเรา”

 

“ก็ไม่คิดอะไร ข่าวเราก็ไม่ค่อยฟังหรอก เพราะพอเข้ามาแล้วก็มีงานให้ทำจนแทบไม่ได้ติดตามข่าวข้างนอกเท่าไหร่ ก็พอรู้ ๆ มาบ้างว่ามีคนไม่ค่อยพอใจการทำงานของศูนย์นี่เท่าไหร่ แต่ก็คิดว่าจะช่วยทำงานที่นี่ต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าเขาจะปิดศูนย์นั่นแหละ ป้าไม่คิดอะไร คิดอย่างเดียวอยากมีแรงให้มากกว่านี้ จะได้ช่วยเหลือคนที่เดือดร้อนได้มากขึ้น” เป็นความรู้สึกของอาสาสมัครรายนี้

 

ขณะที่เมื่อผละไปมองมุมอื่น ๆ ดูบรรยากาศการลำเลียงถุงยังชีพ หากไม่คิดถึงคนทุกข์จากน้ำท่วมภายนอก ก็ถือว่าดูแล้วเพลินตา อาสาสมัครจะต่อแถวเรียงกันยาวแล้วก็ช่วยกันส่งของผ่านมือต่อมือไปเรื่อย ๆ เหมือนกับสายพานลำเลียงสินค้า แต่นี่เป็นสายพานมนุษย์ เป็นแรงคน ใช้ “พลังงานน้ำใจ” เป็นตัวขับเคลื่อน

 

อาสาสมัครช่วยกันจัดแพ็กสิ่งของอย่างไม่มีท้อ แพ็กกันตลอด เหนื่อยหน่อยก็ไปพักเติมพลัง หิวก็ไปหาอาหารรับประทาน หายเหนื่อย-หายหิวก็กลับมาทำต่อ อาสาสมัครต่างทำภารกิจด้วยใบหน้าเปื้อนรอยยิ้ม

 

เล็ก บู๋ พิม เป็น 3 คนในบรรดาอาสาสมัครที่พูดคุยกันยิ้มแย้มในขณะที่กำลังขะมักเขม้นช่วยกันแพ็กสบู่และยาสระผมใส่ถุง เมื่อเข้าไปพูดคุยด้วยก็ทำให้รู้ว่าทั้ง 3 คน เข้ามาช่วยที่ศูนย์ตั้งแต่เช้า โดยเล็กกับบู๋บอกว่าเข้ามาเป็นอาสาสมัครช่วยแพ็กของใส่ถุงยังชีพ 2 วันแล้ว ส่วนพิมเพิ่งมาวันแรก ทั้ง 3 คนร่วมกันเล่าว่า การเข้ามาเป็นอาสาสมัครก็ไม่ยาก อยากเข้ามาช่วยก็เดินทางเข้ามาที่ศูนย์ได้เลย พอเข้ามาก็ไม่ต้องไปลงทะเบียนก็ได้ เข้ามาถึงเห็นคนเขาทำอะไรอยู่อยากจะช่วยทำก็ตรงเข้าไปช่วยได้เลย “ไม่ต้องอายอะไร การทำความดีไม่ต้องอาย” ซึ่งสำหรับ 3 คนนี้ ก็ช่วยทำหมด จุดไหนมีอะไรให้ช่วยทำก็ทำหมดทุกอย่าง โดย 1 ใน 3 บอกว่า...

 

“เข้ามาเป็นอาสาสมัครที่นี่สนุกสนานดี ถึงจะมีงานต้องทำตลอดแต่ก็ไม่กลัว เพราะเหนื่อยเราก็พัก เมื่อยจากการทำงานที่นี่ก็มีบริการนวดให้ด้วย ไปใช้บริการนวดแก้เมื่อยได้เลย หิวก็มีอาหารให้กิน ถ้ารู้สึกว่าจะไม่สบาย ก็ไปตรวจสุขภาพขอยากินได้”

 

เมื่อลองถามถึงเรื่องที่ ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในการให้ข่าวสาร คิดอย่างไรกับเรื่อง

นี้? อาสาสมัครทั้ง 3 คนบอกว่า ก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะไม่ได้สนใจเรื่องข่าวสารพวกนี้ “ที่เข้ามาช่วยที่นี่ มาด้วยใจที่อยากจะเข้ามาช่วย เพียว ๆล้วน ๆ ไม่เกี่ยวกับเรื่องอื่น”

 

เย็นย่ำมืดค่ำแล้วในช่วงที่ทีม “วิถีชีวิต” กำลังเตรียมจะกลับออกจาก ศปภ.-ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เราถามทิ้งท้ายกับ 3 อาสาสมัครว่าจะกลับบ้านกันเมื่อไหร่ ก็ได้รับคำตอบว่า “คงจะอยู่ทำไปเรื่อย ๆ ยังไม่รู้ว่าจะกลับเมื่อไหร่” ซึ่งนี่ก็เป็นอีกภาพสะท้อน “พลังจิตอาสา” ที่มิได้สนใจเรื่องปลีกย่อยอื่น ๆ

 

ใครจะพอใจหรือไม่พอใจ ใครจะต่อว่าต่อขานใคร หรือจะมีใครจะเล่นเกมการเมืองอะไรกันหรือไม่-อย่างไร พลังจิตอาสา “อาสาสมัคร” มิได้แยแสสนใจ ทุกคนต่างสนแต่เพียงการ... “ช่วย-ช่วย-ช่วย...”

 

ช่วยคนไทยด้วยกัน...ที่กำลังเผชิญทุกข์.

 

ศิริโรจน์ ศิริแพทย์/บดินทร์ ศักดาเยี่ยงยงค์ : รายงาน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปากน้ำพร้อมอพยพประชาชน

วันอาทิตย์ ที่ 23 ตุลาคม 2554 เวลา 16:11 น

เนื้อหาข่าว

พ่อเมืองปากน้ำเรียกประชุมคณะกรรมการฯ ขอขยายวงเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย จาก 100 ล้าน เป็น 200 ล้านบาท พร้อมเร่งขุดลอกคลองในพื้นที่เพิ่มเติม และจัดเตรียมกระสอบทราย 3 แสนใบ

 

เมื่อวันที่ 23 ต.ค. นายเชิดศักดิ์ ชูศรี ผวจ.สมุทรปราการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อพิจารณาสนับสนุนงบประมาณเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติเพิ่มเติม ซึ่งได้ขอขยายวงเงินจาก 100 ล้านบาท เป็น 200 ล้านบาท

 

ผวจ.สมุทรปราการ กล่าวว่า ขณะนี้จังหวัดสมุทรปราการได้เตรียมพร้อมรับมือน้ำเหนือไหลหลาก ซึ่งขณะนี้เข้าเขตกรุงเทพ ฯ แล้ว และอีกไม่นานมวลน้ำจะเข้าสู่จ.สมุทรปราการ ดังนั้นจึงได้เรียกประชุมคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพื่อขอสนับสนุนงบเพิ่มเติมจาก100 ล้านบาทเป็น 200 ล้านบาทจากกรมบัญชีกลางในการขยายวงเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นการเฉพาะกิจชั่วคราว และให้จังหวัดสามารถปฏิบัตินอกเหนือหลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างได้ เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนเป็นการเร่งด่วน โดยมี อ.บางพลี บางบ่อ บางเสาธง และอ.เมืองสมุทรปราการ ขอรับการสนับสนุนงบในการขุดลอกคลองในพื้นที่ เพื่อเตรียมรับน้ำจากกรุงเทพฯ ที่จะผ่านมาทางคลองพระองค์เจ้าไชยยานุชิต เพื่อระบายออกสู่ทะเล พร้อมทั้งให้เตรียมจัดหากระสอบทราย 3 แสนใบ เพื่อใช้เป็นแนวป้องกันน้ำท่วม โดยเฉพาะในพื้นที่อ.บางบ่อ อำเภอบางพลี และอ.บางเสาธง ซึ่งจะได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำมาจากกรุงเทพฯ รวมทั้งจัดเตรียมถุงยังชีพ 10,000 ชุด เพื่อนำไปช่วยเหลือประชาชนที่ถูกน้ำท่วม

 

นายเชิดศักดิ์ กล่าวอีกว่า จังหวัดได้มอบให้แต่ละอำเภอได้จัดเตรียมจุดอพยพประชาชนหากเกิดน้ำท่วมสูงไว้แล้ว โดยเฉพาะอ.บางบ่อ มีพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมสูง 10 หมู่บ้าน ในต.เปร็งและต.บางบ่อ ซึ่งเป็นจุดอยู่ใกล้กับคลองพระองค์เจ้าไชยยานุชิต ซึ่งเป็นคลองสายหลักที่จะระบายน้ำลงสู่ทะเล โดยจังหวัดได้ให้อำเภอและท้องถิ่นแต่แห่งแจ้งเตือนประชาชนให้ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้อาศัยอยู่ใกล้กับคลองสายหลักซึ่งจะใช้เป็นเส้นทางระบายน้ำอาจจะได้รับผลกระทบน้ำท่วมจากน้ำเอ่อล้น

 

ด้านนางสลิลทิพย์ สุขวัฒน์ ส.ส.เขต5 สมุทรปราการ กล่าวว่า ขณะนี้ประชาชนในเขตอ.บางบ่อ โดยเฉพาะต.เปร็ง ได้รับความเดือดร้อนจากภาวะน้ำท่วมอย่างหนัก ซึ่งขณะนี้ระดับน้ำสูงประมาณ 1 เมตรแล้ว จึงได้ประสานไปตามอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ประชาสัมพันธ์ประชาชนที่สมัครใจพร้อมจะอพยพไปตามจุดต่างๆที่ทางราชการได้กำหนดไว้ ส่วนการระบายน้ำนั้นได้ระดมสูบน้ำในพื้นที่ทั้งคลองสายหลักและคลองย่อยอย่างเต็มที่แล้ว และได้นำรถแม็กโคตักผักตบชวาออกจากคลองต่าง ๆ ซึ่งขวางเส้นทางการเดินน้ำซึ่งมีจำนวนมหาศาล ยิ่งเปิดระบายน้ำมากผักตบชวาก็ยิ่งไหลมาจากทุกทิศทุกทางโดยมีประชาชน และนักโทษชั้นดีจากเรือนจำฯไปช่วยสกัดผักตบชวาตามจุดต่างๆ หากปล่อยไปจะเข้าในเครื่องสูบน้ำยิ่งทำให้เกิดความเสียหาย.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดูเงื่อนไขประกันภัย บ้าน-รถ จมบาดาล จ่าย-ไม่จ่าย!!

 

 

 

เดือดร้อนกันถ้วนหน้า สำหรับสถานการณ์ "อุทกภัย" ที่นับถึงเวลานี้มีพื้นที่ค่อนประเทศต้องจมบาดาล ผู้คนมากมายไร้ที่อยู่อาศัย ทรัพย์สินทั้งรถ-บ้าน และหลายๆ อย่างมีอันต้องหายวับไปกับสายน้ำ

 

ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้ใครหลายๆ คน นึกถึง "ประกัน" เป็นอันดับแรก และมีคำถามตามมาว่า "รถ-บ้าน" ที่โดนน้ำท่วม จะเคลมได้หรือไม่ ?

 

ข้อมูลจาก "Thaicarlover.com" อธิบายว่า การประกันภัยยานพาหนะที่คลอบคลุมในกรณีน้ำท่วมนั้น จะเข้าข่ายการคุ้มครองก็ต่อเมื่อได้มีการทำประกันภัยชั้น 1 สำหรับหลักเกณฑ์การพิจารณาค่าสินไหมทดแทนจากน้ำท่วมนั้น ก็จะมีการแบ่งออกเป็น 2 กรณี สำคัญ โดยพิจารณาจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง คือ...

 

1.การสูญเสียโดยสิ้นเชิง หรือ "Total Loss" การสูญเสียเชิงนั้นเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยที่ได้รับการพิจารณาจากบริษัทว่า รถยนต์คันดังกล่าวไม่คุ้มที่จะซ่อมแซมให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิมได้ โดยมากบริษัทประกัน จะประเมินมูลค่าความเสียหายที่ 70 % ของมูลค่ารถคันนั้น ซึ่งหากพิจารณาจากความเสียหายแล้วว่า "ไม่คุ้มที่จะซ่อม" บริษัทประกันจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้

 

2. ความเสียหายบางส่วน หรือ "Partial Loss" บางครั้งน้ำท่วมนั้น สามารถสร้างความเสียหายได้มาก แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับการประเมินของบริษัทประกันด้วยว่า มันเสียหายมากน้อยเพียงใด และถ้ารถคันนั้นไม่เสียหายมากนัก สามารถซ่อมกลับมาใช้ได้ ประกันภัยก็จะตีเป็นลักษณะความเสียหายบางส่วน โดยที่ประกันภัยนั้น จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการคืนสภาพรถคันดังกล่าว

 

นอกจากประกันชั้น 1 ที่ให้ความคุ้มครองความเสียหายจากน้ำท่วมแล้ว ยังมีบริษัทประกันภัยบางแห่ง ที่ประกันชั้น 2 และชั้น 3 ให้ความคุ้มครองความเสียหายจากน้ำท่วม อาทิ หากเป็นประกันที่มีทุนประกัน 1 แสนบาทจะให้ความคุ้มครองความเสียหายจากน้ำท่วม 1 แสนบาทเท่ากัน โดยเบี้ยประกันจะเท่ากับ 6,000 บาท เป็นต้น

 

สำหรับที่พักอาศัยที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมนั้น ผู้ที่ได้รับความคุ้มครองต้องทำประกันที่ซื้อ

ความคุ้มครองจากกรณีน้ำท่วมไปด้วย โดยประกันจะชดเชยความเสียหายให้ และในระหว่างที่ต้องซ่อมแซมหรือสร้างใหม่ บริษัทประกัน ก็จะจ่ายค่าเช่าที่พักอาศัยชั่วคราวให้ด้วย และถ้าเป็นบ้านเช่าหรือมีรายได้จากการให้เช่า ก็จะได้รับชดเชยรายได้ที่ขาดหายไป แต่ทั้งหมดต้องไม่เกินวงเงินเอาประกันที่กำหนดไว้

"น้ำท่วม" ไม่ใช่เรื่องไกลตัวของคนไทยอีกต่อไป ภายหลังบ้านเมืองกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

 

อย่าลืมมองหาประกันภัยน้ำท่วม ที่สอดคล้องกับชีวิตตนเอง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...