ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

สวัสดีครับ คุณ arthas

วันนี้ จะส่งของขลัง มาเชียร์ลง US$1,73x หรือเปล่าครับ เพราะว่า

เด็กขายของจะได้ส่ง มหาอุตม์ กันไว้ก่อน 55555555555

ผมยอม แพ้ละคุณเด็กขายของ ผมซื้อมันราคา 25500 นี้แหละ

คงจะต้องใช้เศษฐศาสตร์แห่งความจริง

นักลงทุนทั่วไปมักคิดว่า มันจะ ดันไม่ ผ่าน และพากันเทขาย แต่ที่ไหน ได้ กองทุน พากันเข้าื้ซื้อ เพื่อให้ราคาไปนิ่งไว้สูงๆ จนมดปวกอย่างพวกเรา ฉล่าใจแล้วพี่แกจะกระหน่ำเทขาย และเราก็เป็นชาวดอยกันทั่วหน้า อิอิ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อดีตนายกรัฐมนตรี อดีตหัวหน้าพรรคชาติ อดีตเจ้าของวลี " เป็นฝ่ายค้านอดอยากปากแห้ง" วันนี้ออกมาแถลงข่าวและเชียร์นายกฯ ชนิดไม่ลืมหูลืมตา

 

 “ผมเห็นหน้านายกก็รู้สึกสงสาร เป็นผู้หญิง หน้าตาไม่โรยเลย แถมยิ้มแย้มแจ่มใส ลงไปหาประชาชน อ้อนวอนอย่าทลายคันกั้นน้ำ  บางทีก็ยกมือไหว้  ท่านก็บริหารอย่างเต็มที่  แต่เผอิญท่านไม่มีเซ้นท์ทางนี้ แต่ท่านมีทางธุรกิจ เมื่อฟังจากที่ปรึกษาหลายฝ่ายก็ต้องตัดสินใจลงไป อย่างทำท่อรอดถนน  5 เส้น เมื่อทำไม่ได้ ท่านก็ไม่ทำ”นายบรรหาร กล่าว

          ผู้สื่อข่าวถามว่า ผลงานนายกฯในรอบ 2 เดือนที่ผ่านมา เห็นยังไง  นายบรรหาร กล่าวว่า ถือว่าผ่านเพราะเต็มที่ แต่น้ำไม่เข้าใครอออกใคร  มันต้องใช้เวลาคิดว่าน้ำจะลงได้ก็ประมาณ  1 เดือน  เดือนนี้ก็ไม่ลง

สงสัยกลัวจะตกรถเลยต้องรีบออกมาเชียร์ ยังไงพรรคนี้ก็ไม่เคยทำหน้าที่ฝ่ายค้านอีกเลย

 

ขอขอบคุณ คมชัดลึก ที่เอื้อเฟื้อข่าว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ว่าและเชียว1770 แว๊บๆ มะกี้ ไม่ทันขาดคำ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผมยอม แพ้ละคุณเด็กขายของ ผมซื้อมันราคา 25500 นี้แหละ

คงจะต้องใช้เศษฐศาสตร์แห่งความจริง

นักลงทุนทั่วไปมักคิดว่า มันจะ ดันไม่ ผ่าน และพากันเทขาย แต่ที่ไหน ได้ กองทุน พากันเข้าื้ซื้อ เพื่อให้ราคาไปนิ่งไว้สูงๆ จนมดปวกอย่างพวกเรา ฉล่าใจแล้วพี่แกจะกระหน่ำเทขาย และเราก็เป็นชาวดอยกันทั่วหน้า อิอิ

อะไรกันนี้ เขียนเองว่า กองทุนฯ จะดันราคาไปที่สูง แล้วเทขาย ......

 

แต่คุณ arthas กลับเข้าซื้อ 25,500 บาท " เล็กสั้น ขยันซอย นะจ๊ะ " ( ทยอยเข้าซื้อ มีกำไรก็ออก )

ไชโย ! ทะลุ US$15 จากวันเสาร์แล้ว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อาแป๊ะขึ้น 50 25650 25550 แว้ว

มัน ไม่เป็นงั้นอะดิ ขนาด อัตราว่างงาน 9.0 แทนที่ ราคาจะล่วง ไหง แทงต่อ ปวด จิต

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พระวัดคู้บอน เผยระหว่างบิณฑบาต ระดับน้ำสูงในวัดสูงกว่า 1 เมตรแล้ว พระ 60 รูป ลำบากมาก ส่วนชาวบ้านเริ่มมีปัญหาหาที่ขับถ่ายไม่ได้

 

 

 

พระใบฎีกาทศพล พระลูกวัดคู้บอน ที่โดยสารรถบรรทุกออกมาจากวัด เพื่อมาบิณฑบาตบริเวณตลาดสายเนตร รามอินทรา ช่วงกิโลเมตรที่ 8 กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ของวัดคู้บอน ว่า วัดคู้บอน อยู่ติดกับคลอง

สามว าทำให้ระดับน้ำที่ท่วมในวัดสูงประมาณ 1 เมตร ซึ่งวัดมีพระลูกวัดประมาณ 60 รูป จะมีญาติโยมนำอาหารมาถวายอยู่ตลอด ประกอบกับทางวัดเปิดเป็นศูนย์พักพิง มีผู้อพยพมาอยู่ประมาณ 60 คน ก็ได้รับอาหารจาก

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำมาแจกจ่าย

 

ขณะที่ชาวบ้านในซอยคู้บอน 25 ที่ออกมาขายของบริเวณใต้สะพานข้ามแยกกิโลเมตรที่ 8 วอนขอหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้นำสุขาเคลื่อนที่เข้าไปมอบให้ เพราะตอนนี้เดือดร้อนเรื่องการขับถ่ายมาก

Link : http://www.innnews.co.th/ท่วมคู้บอนวิกฤติ-พระเดินบิณฑบาตฝ่าน้ำ1ม--319535_03.html

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

"ซาฟารีเวิลด์ " แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ น้ำท่วม กระทบบริษัทร้ายแรง ส่งผลให้ ปิดธุรกิจชั่วคราว เริ่ม 4 พ.ย. เป็นต้นไป

 

นายผิน คิ้วคชา ประธานกรรมการบริหาร บริษัทซาฟารีเวิลด์ จำกัด (มหาชน) หรือ SAFARI ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. ว่า จากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดรวมถึงเขตมีนบุรี บริเวณคลองสามวา ซึ่งกระทบสถานที่ประกอบธุรกิจของบริษัทฯ อย่างร้ายแรง จนไม่สามารถเปิดการให้บริการตามปกติได้ บริษัทฯ จึงจำเป็นต้องปิดการดำเนินธุรกิจเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2554 เป็นต้นไป จนกว่า สถานการณ์จะเข้าสู่สภาวะปกติ ซึ่งบริษัทฯ จะรายงานให้ทราบต่อไป

 

Link : http://www.innnews.co.th/ซาฟารี-แจ้งปิดกิจการชั่วคราวหลังน้ำท่วม--319536_02.html

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อาแป๊ะขึ้น 50 25650 25550 แว้ว

มัน ไม่เป็นงั้นอะดิ ขนาด อัตราว่างงาน 9.0 แทนที่ ราคาจะล่วง ไหง แทงต่อ ปวด จิต

อัตราการว่างงานที่ลดไป 0.1% อาจจะมาจาก

แรงงานภาคบริการ เช่น พนักงานขายสินค้า ทั้ง ของกิน และ ของใช้ เพราะมีประโยชน์

น้อยต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจสหรัฐ

 

ส่วนแรงงานหลักโดยตรง สร้างผลดีอย่างไว คือภาคอุตสาหกรรม อาจจะลดลง หรือ มีน้อยเกินไป

ไม่เข้าตามุมมองนักลงทุน ก็ย่อมได้. ใน รายละเอียดปลีกย่อย

 

กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือนต.ค.ปรับตัวเพิ่มขึ้น 80,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่น้อยที่สุดในรอบ 4 เดือน และน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าเพิ่มขึ้นราว 95,000 ตำแหน่ง นอกจากนี้ ตัวเลขจ้างงานเดือนต.ค.ยังเพิ่มขึ้นน้อยกว่าเดือนก.ย.ที่พุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งถึง 158,000 ตำแหน่ง

 

ส่วนอัตราว่างงานดือนต.ค.ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 9% จากระดับ 9.1% ของเดือนก.ย. ซึ่งเป็นการปรับตัวลงครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนก.ค.ที่ผ่านมา

 

สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเลขจ้างงานในเดือนต.ค.นั้น ภาคเอกชนของสหรัฐเพิ่มการจ้างงาน 104,00 ตำแหน่ง ขณะที่การจ้างงานในหน่วยงานของรัฐบาลปรับตัวลดลง 24,000 ตำแหน่ง เนื่องจากรัฐบาลปรับลดการใช้จ่าย ส่วนในระยะเวลา 12 เดือนซึ่งสิ้นสุด ณ เดือนต.ค.นั้น ตัวเลขจ้างงานของสหรัฐเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 125,000 ตำแหน่งต่อเดือน

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ในการประชุมครั้งล่าสุดของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เมื่อวันที่ 2 พ.ย.ที่ผ่านมานั้น เฟดคาดการณ์ว่า อัตราว่างงานจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 8.5-8.7% ในปีหน้า ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าระดับ 7.8-8.2% ที่คาดการณ์ในเดือนมิ.ย. ส่วนอัตราว่างงานในปีนี้คาดว่าจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 9.0-9.1%

 

ทั้งนี้ เฟดคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะมีการจ้างงานอย่างเต็มที่เมื่ออัตราว่างงานลดลงมาอยู่ที่ระดับ 5.2-6.0%

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 5 พฤศจิกายน 2554)

 

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้น 5-6% หลังจากผู้นำยุโรปประชุมกันและประกาศว่าได้ตกลงกันในประเด็นหลัก 3 เรื่อง

 

คือ 1. ให้เอกชนลดหนี้ให้กับประเทศกรีกโดย “สมัครใจ” 50% ของมูลหนี้ที่ถืออยู่ 2. ตกลงให้ธนาคารในยุโรปเพิ่มทุนสำรองขั้นที่หนึ่งให้ไม่ต่ำกว่า 9% โดยจะให้พยายามแสวงหาทุนด้วยตัวเองก่อนและหากทำไม่ได้ก็ให้รัฐบาลของประเทศตนเพิ่มทุนให้หากรัฐบาลไม่มีเงินก็จะมีกระบวนการขอเงินจากกองทุน EFSF และ 3. สำหรับกองทุน EFSF มูลค่า 4.4 แสนล้านยูโรนั้น ซึ่งปัจจุบันมีวงเงินที่ยังไม่มีภาระผูกพัน 2.4 แสนล้านยูโรนั้น ให้สามารถกู้ (leverage) ให้ได้เม็ดเงินทั้งสิ้นอีก 1 ล้านล้านยูโร โดยเงินดังกล่าวจะใช้แทรกแซง ซื้อหรือค้ำประกันพันธบัตรของรัฐบาลยูโรที่มีสถานะอ่อนแอให้มีสภาพคล่องเพียงพอและไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยที่สูงเกินไป

 

 

ผู้ที่มองโลกในแง่ดีตีความว่ามาตรการข้างต้นเป็น “ข่าวดี” สำหรับตลาดหุ้นเพราะเป็นมาตรการที่ไปในทิศทางที่ถูกต้องคือ ลดหนี้ให้กรีก เพิ่มทุนให้ธนาคารและปกป้องรัฐบาลประเทศที่อาจมีปัญหา เช่น สเปนและอิตาลี ที่สำคัญคือเป็นการหลีกเลี่ยงสภาวะวิกฤติ เช่น กรณีที่สหรัฐปล่อยให้เลแมน บราเดอร์สล่มสลาย จนนำโลกเข้าสู่สภาวะถดถอยในปี 2009 นอกจากนั้นตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐ ได้แก่จีดีพีไตรมาส 3 ก็คาดว่าจะขยายตัวสูงถึง 2.5% เมื่อเปรียบเทียบกับประมาณ 1% ในครึ่ง แรกของปีนี้ ทำให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐเองก็มีแนวโน้มว่าจะไม่เกิดภาวะถดถอยดังที่เคยกังวล คำถามคือเมื่อหุ้นทั่วโลกปรับเพิ่มขึ้น 15-16% ในเดือนตุลาคมและหุ้นไทยเองก็ปรับกลับมาใกล้ 1000 หมายความว่าปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาของยุโรปนั้นได้รับการแก้ไขอย่างเบ็ดเสร็จแล้วหรือไม่ และหากยังไม่เป็นเบ็ดเสร็จ อย่างน้อยก็จะไม่ต้องห่วงว่าจะเกิดสภาวะวิกฤติขึ้นในอนาคต ตลอดจนวางใจได้ว่าตลาดหุ้น ค่าเงิน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ฯลฯ จะลดความผันผวนและกลับสู่สภาวะปกติหรือไม่

 

 

คำตอบในใจของผมคือ “ไม่” เพราะหากวิเคราะห์อย่างละเอียดแล้วจะเห็นว่ามาตรการแก้ปัญหาอย่าง “เบ็ดเสร็จ” (comprehensive) ของผู้นำยุโรปเมื่อ 29 ต.ค.นั้นยังมีจุดอ่อนอยู่มาก ดังนั้นผมจึงเชื่อว่าปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรปจะปะทุขึ้นมาได้อีกใน 2-3 เดือนข้างหน้าเป็นอย่างช้า และในครั้งต่อไปน่าจะรุนแรงมากกว่าครั้งนี้ด้วย 2 เหตุผลหลักๆ คือประการที่ 1. ครั้งหน้าปัญหาอาจจะเกิดขึ้นกับประเทศอิตาลี ซึ่งมีหนี้สาธารณะมูลค่า 1.9 ล้านล้านยูโร ซึ่งมากกว่าหนี้ของกรีกประมาณ 4-5 เท่า และ 2. มีความเป็นไปได้สูงว่าคณะกรรมการร่วมเพื่อแก้ปัญหาหนี้สาธารณะของสหรัฐก็จะไม่สามารถหาข้อสรุปได้ภายใน 23 พฤศจิกายน ตามที่ได้ขีดเส้นตายเอาไว้ ทำให้เกิดความไม่แน่นอนและอาจนำไปสู่การลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอีกรอบ การคาดการณ์นี้เป็นความคิดส่วนตัวของผมเองที่เชื่อว่าปัญหาหนี้สาธารณะทั้งของยุโรปและสหรัฐยังไม่ได้รับการแก้ไขที่ปัจจัยพื้นฐาน จึงมองว่าเป็นเพียงการซื้อเวลาเท่านั้น

 

 

ศ. Ken Rogolf แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและอดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของไอเอ็มเอฟ ผู้ซึ่งเขียนหนังสือเรียบเรียงปัญหาหนี้สาธารณะของโลกใน 800 ปีที่ผ่านมา (หนังสือชื่อว่า “This Time is Different”) มองว่าการตอบรับของตลาดหุ้นต่อข้อตกลงของผู้นำยุโรปเมื่อวันที่ 29 ต.ค.จะเป็นเพียงความพึงพอใจชั่วคราว เพราะยังไม่ได้ตอบโจทย์สำคัญ 3 ข้อคือ 1. หากใช้เงินสกุลเดียวกันทั้ง 17 ประเทศแล้วก็จะต้องใช้นโยบายการคลัง (และวินัยทางการคลัง) ที่รวมศูนย์ด้วยจะปล่อยให้มีนโยบายการคลังที่เป็นอิสระจากกันไม่ได้ แต่ผู้นำของกลุ่มเงินยูโรก็ยังไม่ได้มีมาตรการชัดเจนในการรวมอำนาจทางการคลัง  2. การเพิ่มทุนธนาคาร ซึ่งสรุปตัวเลขที่ 106,000 ล้านยูโร แต่ก่อนหน้าไอเอ็มเอฟประเมินว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจสูงถึง 2 แสนล้านยูโร แปลว่าธนาคารน่าจะเพิ่มทุนไม่เพียงพอและเนื่องจากกลไกในการเพิ่มทุนมีความไม่แน่นอนสูงและยืดเยื้อ ธนาคารก็น่าจะหลีกเลี่ยงการเพิ่มทุนทำให้จะมีปัญหาทุนไม่เพียงพอในระยะยาว ทำให้ธนาคารไม่สามารถทำหน้าที่ในการระดมเงินฝากและสินเชื่ออย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ขาดแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ และ 3. ซึ่งเป็นข้อที่สำคัญที่สุดคือผู้นำยุโรปไม่ได้มีมาตรการใดๆ ที่จะปรับโครงสร้างเศรษฐกิจหรือกระตุ้นให้เศรษฐกิจยุโรปขยายตัวได้ดีขึ้นกว่าปัจจุบัน ทั้งนี้การแก้ปัญหาหนี้สินนั้น ตัวแปรที่สำคัญที่สุดคือการขยายตัวของเศรษฐกิจเพราะหากเศรษฐกิจขยายตัวได้ดี หนี้ต่อจีดีพีก็จะลดลง นอกจากนั้นเมื่อจีดีพีขยายตัวดี รัฐบาลก็เก็บภาษีได้มากขึ้น ทำให้สามารถจ่ายคืนหนี้ได้อีกด้วย ท่านผู้อ่านที่ทำธุรกิจจะทราบดีว่าหากบริษัทมีหนี้สินมากและต้องพยายามปรับโครงสร้างหนี้ให้ประสบความสำเร็จ คือการเชื่อมั่นได้ว่ายอดขายของบริษัทจะขยายตัวได้ดีหากยอดขาย (หรือจีดีพี) ไม่ขยายตัว การปรับโครงสร้างหนี้จะมีโอกาสประสบความสำเร็จได้ยาก

 

 

ในกรณีของยุโรปนั้นจีดีพีโดยรวมคาดว่าจะขยายตัวได้เพียง 1% ในปีหน้า แต่ประเทศที่น่าเป็นห่วงที่สุดคืออิตาลี เพราะมีหนี้สาธารณะสูงถึง 1.9 ล้านล้านยูโรหรือ 120% ของจีดีพี ในขณะที่การคาดการณ์ล่าสุดเศรษฐกิจจะขยายตัวเพียง 0.7% ในปี 2011 และ 0.6% ในปี 2012 (เดิมทีคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 1.3% ในปี 2012) พร้อมกันนี้รัฐบาลผสมของนายกรัฐมนตรีแบร์ลุสโคนีก็มีปัญหาระหองระแหงจนนายกรัฐมนตรีต้องออกมาปฏิเสธข่าวลือว่าเขาผลักดันข้อเสนอต่อยุโรปว่าอิตาลีจะยอมรัดเข็มขัดทางการคลังเพิ่มขึ้น โดยการให้สัญญากับพรรคร่วมรัฐบาลว่าจะยอมลาออกจากตำแหน่งในต้นปีหน้าเพื่อเปิดทางให้มีการเลือกตั้งเร็วขึ้นอีก 1 ปี ในขณะเดียวกันข้อเสนอของนายกอิตาลีก็ถูกต่อต้านจากสหภาพแรงงานใหญ่ 2 แห่ง ซึ่งประกาศว่าจะเดินขบวนต่อต้านมาตรการดังกล่าว

 

 

ประเด็นคือหากมีความปั่นป่วนดังกล่าว การขยายตัวของจีดีพีที่คาดการณ์เอาไว้ที่ 0.6% นั้นก็อาจจะทำไม่ได้ เช่นกรณีของประเทศกรีกที่จีดีพีหดตัวลงติดต่อกันมา 3 ปีแล้ว ในกรณีของอิตาลีนั้น หากจีดีพีขยายตัว 0.6% และหากเงินเฟ้อเท่ากับ 2.4% ก็แปลว่าจีดีพีรวมเงินเฟ้อจะขยายตัว 3% ในขณะที่หนี้สาธารณะนั้นต้องจ่ายดอกเบี้ยอยู่ในสภาวะที่จะขยายตัวกว่า 2 เท่าของจีดีพี กล่าวคือมีหนี้ 120% ของจีดีพีที่ดอกเบี้ย 6% แปลว่ามูลหนี้เพิ่มขึ้น 7.2% ของจีดีพีทุกปีและจีดีพีขยายตัวเพียง 3% ต่อปี หากเป็นเช่นนี้ปัญหาก็จะมีแต่รุนแรงขึ้น

 

 

ในกรณีของกรีกนั้นแม้จะได้รับการลดหนี้ แต่ปัญหาก็ยังหนักหน่วงอย่างมาก กล่าวคือเดิมหนี้สาธารณะจะพุ่งขึ้นสูงถึง 180% ของจีดีพีในปีหน้า แต่เมื่อมีการลดหนี้ ในกรณีที่ดีที่สุดหนี้สาธารณะจะค่อยๆ ลดลงเหลือ 120% ของจีดีพีในปี 2020 กล่าวคือกรณีของกรีกนั้นการจะกลับมา “ดี” เหมือนอิตาลีในปัจจุบันจะต้องรอไปอีก 9 ปี ซึ่งผมไม่ค่อยจะแน่ใจว่าประชาชนกรีกจะรับสภาพความยากลำบากดังกล่าวได้อีกนานเท่าใด เพราะเศรษฐกิจตอนนี้ก็ย่ำแย่ อัตราการว่างงานเท่ากับ 16.7% โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 15-24 ปีนั้นมีอัตราการว่างงานสูงถึง 42.9% และหนี้สาธารณะนั้นคำนวณออกมาเท่ากับ 48,000 ยูโรต่อหัว แปลว่าประชาชนกรีกแต่ละคนนั้นต้องแบกหนี้สาธารณะกว่า 2 ล้านบาทครับ

 

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (วันที่ 7 พฤศจิกายน 2554)

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นายฟรังซัวส์ ฟิยอง นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสเปิดเผยว่า รัฐบาลฝรั่งเศสจะลดยอดขาดดุลงบประมาณปี 2555 ลง 20% จากระดับ 1.13 แสนล้านยูโร (1.56 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) ของงบประมาณปีนี้ ซึ่งเป็นการลดงบประมาณในสัดส่วนที่มากที่สุดนับตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีเป้าหมายที่จะทำให้ยอดขาดดุลงบประมาณปรับตัวลงประมาณ 1 ใน 5

 

ทั้งนี้ รัฐบาลฝรั่งเศสกำลังเตรียมประกาศมาตรการรัดเข็มขัดฉบับใหม่ในนี้ ซึ่งจะรวมถึงการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มครั้งใหม่ต่อธุรกิจต่างๆ เช่นธุรกิจร้านอาหาร รวมทั้งลดวันหยุดประจำชาติสำหรับพนักงาน

 

นายฟิยอง และผู้นำรัฐบาลคนอื่นๆของฝรั่งเศส ซึ่งรวมถึงนายฟรังซัวส์ บารวง รมว.คลัง และนายวาเลรี พรีเครสเซ รมว.ฝ่ายกิจการงบประมาณ กำลังประชุมร่วมกันกับประธานาธิบดีนิโคลาส์ ซาร์โกซี ในวันนี้ เพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องรายละเอียดของมาตรการรัดเข็มขัด

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) – (วันที่ 7 พฤศจิกายน 2554)

 

 

เวย์น สวอน รัฐมนตรีคลังออสเตรเลีย กล่าวว่า ออสเตรเลียจะให้การสนับสนุนทางการเงินแก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ เพื่อยุติการลุกลามของวิกฤติหนี้ โดยจะอยู่ในรูปเงินกู้ ซึ่งจะได้รับการชำระคืนพร้อมดอกเบี้ยเต็มจำนวน ซึ่งหมายความว่า งบประมาณของประเทศจะไม่ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ คำกล่าวของนายสวอน เป็นการเน้นย้ำถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรีจูเลีย กิลลาร์ด ที่ระบุก่อนหน้านี้ว่า กลุ่ม จี 20 ได้ให้คำมั่นว่า ไอเอ็มเอฟจะได้รับเงินทุนอย่างเหมาะสม ในระหว่างที่วิกฤติหนี้กรีซ ดำเนินอยู่ และกล่าวเสริมว่า ออสเตรเลียจะให้เงินช่วยเหลือแก่ไอเอ็มเอฟเพิ่มมากขึ้น ถ้าได้รับการร้องขอ

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 7 พฤศจิกายน 2554)

 

 

 

 

ตลาดหุ้นในเอเชียเปิดตลาดเช้านี้แกว่งตัวกรอบแคบ เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลวิกฤตหนี้ยุโรปอาจลุกลามไปยังประเทศอื่นๆ รวมถึงอิตาลี แม้มีรายงานว่า พรรครัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านของกรีซได้บรรลุข้อตกลงในการจัดตั้งรัฐบาลผสมที่มีเอกภาพ เพื่อรับมือกับวิกฤตหนี้ยุโรป ภายหลังจากนายกรัฐมนตรีจอร์จ ปาปันเดรอู ประกาศลาออก

 

โดยดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวอ่อนตัวลง 39.75 จุด หรือ 0.45% แตะที่ 8,761.65 จุด//ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียเปิดวันนี้ที่ 4,281.90 จุด เพิ่มขึ้น 0.80 จุดและดัชนีฮั่งเส็งตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 19,894.22 จุด เพิ่มขึ้น 51.43 จุด

 

ที่มา : money channel (วันที่ 7 พฤศจิกายน 2554)

 

 

 

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 30.63/65 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงกับช่วงเย็นวันศุกร์ที่ปิดตลาดที่ระดับ 30.63/72 บาท/ดอลลาร์

 

เงินบาทวันนี้คาดว่าจะแกว่งในกรอบแคบๆ เนื่องจากช่วงนี้ยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามา ซึ่งกรณีการแก้ปัญหาหนี้สาธารณะของกรีซยังคงเป็นสิ่งที่ต้องติดตามต่อไป และปัญหานี้คงไม่สามารถแก้ไขด้วยระยะเวลาอันสั้น เนื่องจากยอดหนี้มีสูงมาก โดยต้องติดตามสถานการณ์รายวันว่าจะมีประเทศไหนในยูโรโซนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ด้วย

 

"ตอนนี้ยังต้องรอดูเรื่องหนี้สินของกรีซต่อ คงไม่จบง่ายๆ ส่วนใหญ่เป็นข่าวรายวันมากกว่า และน่าจะยังมีหลายประเทศไม่เฉพาะกรีซ" นักบริหารเงินระบุ

 

ส่วนความเคลื่อนไหวของค่าเงินสกุลหลักต่างประเทศช่วงเปิดตลาดเช้านี้ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 78.13/18 เยน/ดอลลาร์ ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.3759/3763 ดอลลาร์/ยูโร

 

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 30.60-30.75 บาท/ดอลลาร์

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) – (วันที่ 7 พฤศจิกายน 2554)

 

นายโรเบิร์ต เบิร์กควิสต์ หัวหน้านักเศรษศาสตร์ของธนาคารเอสอีบีของสวีเดน ได้แสดงความข้องใจต่อกลยุทธ์ใหม่ของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ที่ตัดสินใจประกาศลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมเมื่อวานนี้ โดยระบุว่า การลดอัตราดอกเบี้ยของอีซีบีถือเป็นเหตุการณ์ที่เหนือความคาดหมาย และทำให้เกิดความเสี่ยง

 

นายเบิร์กควิชต์กล่าวว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของอีซีบีเมื่อวานนี้ ซึ่งเร็วกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าอีซีบีจะปรับขึ้นในปีหน้านั้น ถือเป็นนโยบายเร่งด่วนเมื่อพิจารณาจากวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในยุโรปในปัจจุบัน แต่ถึงกระนั้น ภารกิจเบื้องต้นของอีซีบีควรจะมุ่งเน้นไปที่การควบคุมเงินเฟ้อมากกว่า

 

นอกจากนี้ นายเบิร์กกวิชต์กล่าวว่า การลดอัตราดอกเบี้ยซึ่งดำเนินการโดยนายมาริโอ ดรากิ ประธานอีซีบีคนใหม่นั้น อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชน และอาจทำให้สถานการณ์มีความคืบหน้ายากขึ้นด้วย

 

ทั้งนี้ อีซีบีมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ระดับ 1.25% ในการประชุมซึ่งเสร็จสิ้นในช่วงค่ำวานนี้ (3 พ.ย.) ตามเวลาประเทศไทย เนื่องจากอีซีบีให้น้ำหนักกับปัจจัยด้านวิกฤตหนี้ในยูโรโซน มากกว่าปัจจัยด้านเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น

 

นอกจากนี้ อีซีบียังได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงเหลือ 0.5% และปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงมาอยู่ที่ระดับ 2.0%

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 4 พฤศจิกายน 2554)

 

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีครับ คุณเด็กขายของ เช้านี้อากาศสดใสจังครับ

แถวบ้านน้ำเริ่มลดแล้ว แถมทองขึ้นอีกต่างหาก :lol: :lol:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดูประวัติศาสตร์ เมื่อวันศุกร์ แล้วมาเดา เหตุการณ์ บ่ายนี้ เหตุตกจาก G20

ยังครึ่งๆ กลางๆ คงมาต่อบ่ายนี้หรือเปล่า

 

หุ้นยุโรปผิดหวังผลประชุม G-20 ปิดร่วง (07/11/2554)

ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (4 พ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนรู้สึกผิดหวังหลังจากที่ประชุม G-20 ไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับการนำเงินทุนจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) มาใช้ในการกอบกู้วิกฤตหนี้ยุโรป นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังได้รับปัจจัยลบจากรายงานที่ระบุว่า ยอดสั่งซื้อใหม่ในภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีหดตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ในเดือนก.ย.

          ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 1% ปิดที่ 239.76 จุด

          ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 3123.55 จุด ลดลง 71.92 จุด ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 5966.16 จุด ร่วงลง 167.02 จุด และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 5527.16 จุด ลดลง 18.48 จุด

          ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นยุโรปเป็นไปอย่างซบเซาหลังจากที่ประชุมผู้นำประเทศอุตสาหกรรมและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในกลุ่ม G-20 ซึ่งจัดขึ้นเป็นเวลา 2 วันที่เมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศส ไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับการสมทบเงินทุนใหม่ๆให้กับไอเอ็มเอฟเพื่อใช้ในการกู้วิกฤตหนี้ยูโรโซนโดยตรง

          นางอังเกลา แมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนีกล่าวภายหลังการประชุม G-20 ว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายกำกับดูแลด้านนโยบายของประเทศทั่วโลกต่างก็อยากเห็นรายละเอียดมากขึ้นเกี่ยวกับแผนการกู้วิกฤตหนี้ยูโรโซน ก่อนที่จะตัดสินใจสมทบเงินเพิ่มเติมให้กับไอเอ็มเอฟเพื่อนำไปปล่อยกู้ให้กับกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF) อีกทอดหนึ่ง ขณะที่นายนิโคลาส์ ซาร์โกซี ประธานาธิบดีฝรั่งเศสคาดว่า อาจจะมีการทำข้อตกลงดังกล่าวในเดือนก.พ.ปีหน้า

          นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังได้รับแรงกดดันหลังจากกระทรวงเศรษฐกิจเยอรมนีเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อใหม่ในภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีหดตัวลง 4.3% ในเดือนก.ย. มากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะขยับลงเพียง 0.1% และเป็นสถิติที่หดตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าวิกฤตหนี้ยูโซโซนที่ทวีความรุนแรงขึ้นนั้น กำลังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเยอรมนี

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีครับ คุณเด็กขายของ เช้านี้อากาศสดใสจังครับ

แถวบ้านน้ำเริ่มลดแล้ว แถมทองขึ้นอีกต่างหาก :lol: :lol:

ครับ สวัสดีครับ คุณหัตรเทรด ดีใจด้วยที่น้ำเริ่มลด แล้ว เย้ ! ทองขึ้น 5555555

 

ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐ ได้ผลักดันให้สภาคองเกรสผ่านแผนสร้างงาน เพื่อเร่งการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศ และลดช่องว่างรายได้ที่ขยายวงมากขึ้น

 

โอบามา ได้หยิบยกรายงานของสำนักงานงบประมาณคองเกรสขึ้นมา ซึ่งรายงานดังกล่าวชี้ว่า ชนชั้นกลางของสหรัฐนั้นจนลง ในขณะที่คนรวยรวยขึ้นกว่าเดิมในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา โดย รายได้หลังหักภาษีของมหาเศรษฐีของประเทศระดับท็อปเทนพุ่งขึ้นถึง 275% ตั้งแต่ปี 2522-2550 ขณะที่กลุ่มผู้ที่มีรายได้ต่ำสุดของประเทศนั้น รายได้ขยายตัวขึ้นเพียง 18%

 

ทั้งนี้ ผู้นำสหรัฐได้เสนอแผนการสร้างงานดังกล่าวเมื่อวันที่ 8 ก.ย. ซึ่งครอบคลุมถึงมาตรการต่างๆ เช่น การลดหย่อนภาษีให้นายจ้างและพนักงาน รวมทั้งการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคต่างๆ

 

ที่มา : money channel (วันที่ 7 พฤศจิกายน 2554)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

บรัสเซลส์ 6 พ.ย.-รัฐมนตรีคลังกลุ่มประเทศยูโรโซนจะประชุมกันในวันจันทร์ที่จะถึงนี้เพื่อกดดันกรีซให้สนับสนุนมาตรการปฏิรูปแลกกับความช่วยเหลือในการอยู่รอด และเพื่อเพิ่มศักยภาพของกองทุนช่วยเหลืออิตาลี

 

รัฐมนตรีคลังยูโรโซนจะประชุมกันหลังเกิดเหตุวุ่นวายในช่วงหลายวันที่ผ่านมา เมื่อนายกรัฐมนตรีจอร์จ ปาปันเดรอู ของกรีซ ทำให้ยุโรปไม่พอใจจากการประกาศจะจัดลงประชามติเรื่องรับมาตรการความช่วยเหลือจากยูโรโซน ก่อนประกาศยกเลิกแผนไปแล้ว และเขาเพิ่งรอดจากการลงมติไม่ไว้วางใจเมื่อเช้าวันเสาร์ตามเวลาท้องถิ่น ยูโรโซนยังไม่ปล่อยเงินช่วยเหลือ 8,000 ล้านยูโร (ราว 336,000 ล้านบาท) จากทั้งหมด 110,000 ล้านยูโร (ราว 4.62 ล้านล้านบาท) ให้กรีซจนกว่าพรรคการเมืองในกรีซจะสนับสนุนมาตรการความช่วยเหลือรอบสองของยูโรโซน นายอีแวนเจลอส เวนิเซลอส รัฐมนตรีคลังกรีซ กล่าวว่า กรีซต้องการเงินก้อนนี้ก่อนกลางเดือนธันวาคม

 

แหล่งข่าวในรัฐบาลยุโรปเผยว่า ที่ประชุมรัฐมนตรีคลังยูโรโซนจะย้ำเรื่องต้องการให้ทุกพรรคการเมืองในกรีซสนับสนุนมาตรการความช่วยเหลือรอบสอง ขณะที่พรรคฝ่ายค้านกรีซต่อต้านความพยายามของนายปาปันเดรอูที่จะตั้งรัฐบาลแห่งชาติเพื่อให้กรีซอยู่ในยูโรโซนต่อไป นอกจากนี้ที่ประชุมยังจะหารือเรื่องอิตาลี ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสามในยูโรโซน หลังจากนายกรัฐมนตรีซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี ของอิตาลียอมให้เจ้าหน้าที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ร่วมกับคณะกรรมาธิการยุโรปกำกับดูแลว่าอิตาลีปฏิบัติตามมาตรการที่จำเป็นเพื่อฟื้นความเชื่อมั่นของตลาดหรือไม่ แกนนำยุโรปกังวลเรื่องต้นทุนการกู้ยืมของอิตาลีสูงกว่าร้อยละ 6 แล้ว ซึ่งใกล้เคียงกับระดับที่ทำให้กรีซ ไอร์แลนด์ และโปรตุเกส ต้องรับความช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟและสหภาพยุโรป.-

 

ที่มา : สำนักข่าวไทย (วันที่ 7 พฤศจิกายน 2554)

 

เอเอฟพี/ASTVผู้จัดการรายวัน - บรรดารัฐมนตรีคลังของกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่ใช้สกุลเงินตรายูโร (ยูโรโซน) มีกำหนดกลับมาประชุมหารือกันอีกครั้งในวันจันทร์(7) เพื่อพยายามกดดันพวกนักการเมืองฝ่ายต่างๆ ของกรีซให้กลับมายืนเข้าแถวสามัคคีกันอยู่เบื้องหลังแผนการปฏิรูปอันเข้มงวด เป็นการแลกเปลี่ยนกับการได้รับความช่วยเหลือที่สำคัญยิ่งยวดสำหรับความอยู่รอดของเอเธนส์ นอกจากนั้นขุนคลังเหล่านี้ยังจะต้องมองหาหนทางในการเพิ่มแสนยานุภาพของกองทุนช่วยเหลือชาติยุโรปไม่ให้ล้มละลาย ในขณะที่สมาชิกยูโรโซนรายยักษ์อย่างอิตาลี กลายเป็นอีกรายหนึ่งซึ่งกำลังทำท่าซวนเซมากขึ้นเรื่อยๆ

       

       นายกรัฐมนตรี จอร์จ ปาปันเดรอู ของกรีซนั้น กำลังดิ้นรนหนักเพื่อให้ฝ่ายค้านยินยอมเข้ามาร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลผสมที่จะมีลักษณะเป็นรัฐบาลสามัคคีแห่งชาติ โดยที่บรรดาผู้ให้ความช่วยเหลือซึ่งมีกลุ่มยูโรโซนเป็นตัวตั้งตัวตีก็ได้จัดการชะลอเงินช่วยเหลือซึ่งให้แก่เอเธนส์งวดต่อไปที่มีมูลค่า 8,000 ล้านยูโรเอาไว้ก่อน จนกว่าฝ่ายต่างๆ ที่เป็นปรปักษ์กันอยู่ในกรีซ จะหวนกลับมาพร้อมใจกันสนับสนุนแพกเกจเงินกู้ช่วยเหลือเอเธนส์ก้อนใหม่

       

       ความเปลี่ยนแปลงอย่างผันผวนที่กำลังเกิดขึ้นในกรีซ ทำให้พวกผู้นำยุโรปหลายคนถึงกับหมดความอดทน และกระทำสิ่งที่เมื่อก่อนถือกันว่าเป็นเรื่องต้องห้ามไม่ให้กระทำ นั่นคือพวกเขาบอกกับปาปันเดรอูอย่างตรงไปตรงมาว่า กรีซต้องเลือกเอาว่าจะยังคงอยู่หรือจะถอนตัวออกไปจากยูโรโซน

       

       สิ่งที่บังเกิดขึ้นในเอเธนส์ยังกลายเป็นเมฆหมอกบดบังการประชุมซัมมิต ณ เมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศส ของกลุ่ม 20 ประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของโลก (จี-20) โดยที่ในการหารือเป็นเวลา 2 วัน (3-4 พ.ย.2011) คราวนี้ ไม่ได้มีการตกลงกันให้ความช่วยเหลือระดับนานาชาติแก่ยุโรปอย่างเป็นชิ้นเป็นอัน แถมอิตาลียังต้องยินยอมเสียหน้าโดยให้ไอเอ็มเอฟเข้าไปตรวจสอบเศรษฐกิจของตน เพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นของตลาดการเงิน

       

       ความผันผวนทางการเมืองระลอกล่าสุดของกรีซ ซึ่งจุดชนวนด้วยการที่ปาปันเดรอูประกาศเปรี้ยงในวันจันทร์(31ต.ค.)ที่แล้วว่า จะจัดการลงประชามติประชาชนชาวกรีก ว่าเห็นพ้องกับแพกเกจเงินกู้ช่วยเหลือที่ไปตกลงไว้กับพวกผู้นำยุโรปหรือไม่ ก่อนที่เขาจะยอมยกเลิกแนวความคิดเรื่องนี้ในวันพฤหัสบดี(3) กระนั้นบรรดาผู้นำยุโรปก็เรียกร้องให้ฝ่ายต่างๆ ในวงการเมืองของกรีซแสดงออกซึ่งความเป็นเอกภาพยอมรับแผนการเงินกู้ช่วยเหลือ

       

       เฮอร์มาน ฟาน รอมปุย ประธานสหภาพยุโรป (อียู) บอกภายหลังการประชุมซัมมิตจี-20เสร็จสิ้นในวันศุกร์(4)ว่า กรีซจะต้อง “เร่งสร้างบรรยากาศแห่งการมีเสถียรภาพทางการเมืองขึ้นมาอีกครั้ง”

       

       อย่างไรก็ดี จวบจนถึงวันเสาร์(5) ฝ่ายอนุรักษนิยมที่เป็นฝ่ายค้านของกรีซ ยังคงต่อต้านความพยายามของปาปันเดรอู ซึ่งเป็นฝ่ายสังคมนิยม ในการจัดตั้งรัฐบาลสามัคคีแห่งชาติ ทั้งนี้ฝ่ายค้านยื่นเงื่อนไขว่า ปาปันเดรอูต้องลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบเสียก่อน จึงจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติอย่างแท้จริงขึ้นมาได้

       

       เป็นที่คาดหมายกันว่า ที่ประชุมรัฐมนตรีคลังยูโรโซนในวันจันทร์ “จะต้องเน้นย้ำความปรารถนาของพวกเขาที่จะเห็นฝ่ายหลักๆ ทั้งหมดของกรีซ ยินยอมเห็นด้วยกับโปรแกรมการปรับตัวซึ่งยูโรโซนได้ตกลงเอาไว้แล้ว” แหล่งข่าวรัฐบาลในยุโรปรายหนึ่งชี้

       

       ทั้งนี้ขุนคลังยูโรโซนได้เห็นพ้องโอเคกันเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน ที่จะให้ปล่อยเงินกู้งวด 8,000 ล้านยูโร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในข้อตกลงช่วยเหลือกรีซไม่ให้ล้มละลายมูลค่ารวม 111,000 ล้านยูโรที่ได้อนุมัติกันไปตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2010 โดยที่รัฐมนตรีคลัง อีแวนเจลอส เวนิเซลอส ของกรีซบอกว่า จำเป็นต้องได้รับกู้งวดนี้ก่อนวันที่ 15 ธันวาคม ไม่เช่นนั้นกรีซก็อาจจะมีการผิดนัดชำระหนี้ได้

       

       ทว่าตอนนี้เงินงวดดังกล่าวถูกแช่แข็งเอาไว้ก่อน จนกว่ารัฐสภากรีซจะให้การรับรองแพกเกจความช่วยเหลือใหม่ ซึ่งได้รับอนุมัติในระหว่างการประชุมซัมมิตยุโรปวันที่ 26-27 ตุลาคม แพกเกจดังกล่าวนี้ประกอบด้วยเงินกู้ก้อนใหม่มูลค่ารวม 230,000 ล้านยูโร บวกกับการที่พวกธนาคารและบริษัทประกันภัยที่ถือครองพันธบัตรรัฐบาลกรีซอยู่ จะยินยอมลดหนี้ให้ “โดยสมัครใจ”

       

       ไม่เพียงแต่กรีซเท่านั้น เวลานี้แสงสปอตไลต์ยังทาบทาทอดจับไปที่อิตาลีอีกด้วย ภายหลังนายกรัฐมนตรีซิลวิโอ แบร์ลุสโกนี ยินยอมให้คณะเจ้าหน้าที่ไอเอ็มเอฟเข้าร่วมกับคณะกรรมาธิการยุโรป ในการตรวจสอบดูแลการปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ ของอิตาลี ซึ่งจำเป็นสำหรับการทำให้ตลาดการเงินหวนกลับมามั่นอกมั่นใจอีกครั้ง

       

       อิตาลี ซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของยูโรโซน กำลังสร้างความหนักอกหนักใจให้แก่พวกผู้นำยุโรปเป็นอย่างยิ่ง เพราะเวลานี้ต้นทุนดอกเบี้ยในการกู้เงินจากตลาดการเงินของรัฐบาลอิตาลี ได้พุ่งสูงขึ้นเป็นกว่า 6% ใกล้ๆ ระดับที่ได้เคยบังคับให้ทั้งกรีซ, ไอร์แลนด์, และโปรตุเกส ต้องยินยอมเข้าโครงการรับเงินกู้ช่วยเหลือจากอียู-ไอเอ็มเอฟในที่สุด

       

       “เราคาดหมายว่าทางอิตาลีจะทำตามคำพูดของพวกเขาด้วยการกระทำอย่างเป็นรูปธรรม” แหล่งข่าวในรัฐบาลยุโรปรายดังกล่าวบอก ท่ามกลางแรงกดดันต่อแบร์ลุสโกนีให้ต้องดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อลดปริมาณหนี้สินของอิตาลีที่เวลานี้สูงถึง 1.9 ล้านล้านยูโร

       

       ในการประชุมซัมมิตเมื่ปลายเดือนที่แล้ว บรรดาผู้นำยูโรโซนยังได้เห็นพ้องกันที่จะหาทาง “ยกระดับ” สมรรถนะของกองทุนรักษาเสถียรภาพทางการเงินของยุโรป (อีเอฟเอสเอฟ) ที่เป็นเครื่องมือของยุโรปในการปล่อยกู้ช่วยเหลือชาติสมาชิกที่ประสบปัญหา โดยจะทำให้อยู่ในระดับ 1 ล้านล้านยูโร ด้วยการใช้แผนการค้ำประกันพันธบัตรของชาติยูโรโซน และการใช้เครื่องมือการลงทุนเพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศ

       

       ยูโรโซนวาดหวังว่าพวกชาติเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่รายยักษ์ๆ เป็นต้นว่า จีน และบราซิล จะเข้ามาช่วยเหลือพวกเขา ทั้งนี้โดยอาจจะผ่านทางไอเอ็มเอฟ

       

       แต่ขณะที่การประชุมซัมมิต จี-20 ที่เมืองคานส์คราวนี้ แม้จะได้ตกลงเห็นพ้องในทางหลักการให้เพิ่มเงินทุนของไอเอ็มเอฟ ทว่ากลับไม่มีตัวเลขหรือตารางเวลาอันเป็นรูปธรรมในการดำเนินการเรื่องนี้

 

ที่มา : ASTVผู้จัดการรายวัน (วันที่ 7 พฤศจิกายน 2554)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...