ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

(+) ถ้าลดดอกเบี้ย ยูโรจะแข็งค่า

 

        ราคาทองสปอตปรับตัวลงในช่วงเช้านี้ตามยูโรที่อ่อนค่าลงเล็กน้อย ขณะที่นักลงทุนกำลังรอดูมติอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ใน วันนี้ก่อนการประชุมสุดยอดของผู้นำสหภาพยุโรปในวันพรุ่งนี้เพื่อหาทางยุติวิกฤติ หนี้ 

        ณ เวลา 10.09 น.ตามเวลาไทย ราคาทองสปอตลดลง 0.3%  มาที่ 1,736.34 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากปรับตัวขึ้น 2 วันติดต่อกัน 

        ส่วนราคาสัญญาทองล่วงหน้าส่งมอบเดือนธ.ค.ที่ตลาด COMEX  ลดลง 0.2% มาที่ 1,741.40 ดลลาร์/ออนซ์ 

        นักลงทุนกำลังจับตาดูการประชุมนโยบายของอีซีบีในวันนี้ และคาดว่า อีซีบีจะลดอัตราดอกเบี้ย และอาจเปิดเผยแผนใหม่เพื่อช่วยเหลือภาคธนาคาร

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

        นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ประเมินว่า ความเสียหายจาก อุทกภัยครั้งรุนแรงในปีนี้ ไว้ที่ประมาณ 1.3 ล้านล้านบาท พร้อมย้ำว่า รัฐบาลจะเร่ง ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และระบบการป้องกันอุทกภัยในระยะยาว เพื่อเรียก ความเชื่อมั่นของนักลงทุนให้กลับคืนมา 

        "ประเมินมูลค่าความเสียหายจากทรัพย์สิน จากอุทกภัยครั้งนี้ ตัวเลขอยู่ที่ 1.3 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างใหญ่หลวง ซึ่งเรา ต้องช่วยกันพลิกฟื้นภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตร เพื่อให้ประเทศกลับมาโดยเร็วที่สุด" นางสาวยิ่งลักษณ์ กล่าวในการบรรยายพิเศษ เรื่อง บทบาทของภาครัฐและเอกชน ในการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ

        เขา กล่าวว่า หลังจากนี้ รัฐบาลต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน โดยจะต้องมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และระบบป้องกันอุทกภัย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

- USD/THB ปิดตลาดที่ระดับ 30.76 แข็งค่าจากราคาปิดวานก่อน ตามแรงหนุนจากตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวขึ้นแรง โดยนักลงทุนต่างชาติเข้าซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยต่อเนื่อง วันนี้คาดปรับตัวลงไปที่ 30.70

- EUR/USD ปิดตลาดที่ระดับ 1.341 แข็งค่าจากราคาปิดวันก่อน โดยฟื้นตัวในช่วงเช้าจากความคาดหวังว่าผู้นำยุโรปจะมีมาตรการที่เด็ดขาดในการประชุมสุดยอด วันนี้คาดปรับตัวลงไปที่ 1.3370

- ราคาทองคำ ตลาด COMEX ส่งมอบเดือนก.พ. ปรับขึ้น 13 ดอลลาร์สหรัฐฯ สู่ระดับ 1,744.80 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์ ท่ามกลางปริมาณการซื้อขายที่เบาบาง และบรรยากาศการซื้อขายที่ผันผวน ในขณะที่นักลงทุนรอดูท่าทีอยู่นอกตลาดก่อนการประชุมสุดยอดของสหภาพยุโรปและการประชุมธนาคารกลางยุโรปในวันนี้

- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดปรับขึ้น 0.38% จากความหวังที่ว่ายูโรโซนจะสามารถหาทางออกให้กับวิกฤติหนี้ โดยนักลงทุนคาดว่าในวันศุกร์นี้ประเทศสมาชิกยูโรโซนจะลงคะแนนเสียงสนับสนุนข้อตกลงระหว่างเยอรมนีกับฝรั่งเศสในเรื่องการคุมเข้มงบประมาณของประเทศสมาชิกยูโรโซน

 

ตลาดหุ้นที่สำคัญ

- ตลาดหุ้นไทย ปิดบวก 1.55% ตามตลาดในภูมิภาคที่ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยดัชนีหุ้นไทย ทำสถิติสูงสุดในรอบเกือบ 3 เดือน โดยมีแรงซื้อหุ้นแบงก์เข้ามาอย่างโดดเด่น ตามด้วยกลุ่มพลังงาน เทคโนโลยี อสังหาริมทรัพย์ และปิโตรเคมี อย่างไรก็ดี แรงซื้อเก็งกำไรจากเม็ดเงินต่างประเทศก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำยุโรปเป็นการเก็งกำไรช่วงสั้น นักลงทุนจึงควรระมัดระวัง

- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดปรับขึ้น 0.38% จากความหวังที่ว่ายูโรโซนจะสามารถหาทางออกให้กับวิกฤติหนี้ โดยนักลงทุนคาดว่าในวันศุกร์นี้ประเทศสมาชิกยูโรโซนจะลงคะแนนเสียงสนับสนุนข้อตกลงระหว่างเยอรมนีกับฝรั่งเศสในเรื่องการคุมเข้มงบประมาณของประเทศสมาชิกยูโรโซน โดยผู้นำทั้งสอง ต้องการกำหนดบทลงโทษต่อประเทศที่มียอดขาดดุลงบประมาณสูงเกินเป้าหมาย ซึ่งแผนการนี้ได้รับเสียงสนับสนุนจากนายทิโมธี ไกธ์เนอร์ รมว.คลังสหรัฐด้วย

 

ตลาดเงินเอเชีย

- สกุลเงินเอเชีย ส่วนใหญ่ปรับตัวแข็งค่า นำโดยเปโซ บาทและดอลลาร์ไต้หวัน ขณะที่นักเก็งกำไรอินเตอร์แบงก์ส่งแรงซื้อจากการคาดหวังที่ว่าจะมีความคืบหน้า ในการประชุมสุดยอดของสหภาพยุโรปเพื่อแก้ไขวิกฤติหนี้ยูโรโซนที่รู้ผลในวันศุกร์นี้

- USD/THB ปิดตลาดที่ระดับ 30.76 แข็งค่าจากราคาปิดวานก่อน ตามแรงหนุนจากตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวขึ้นแรง โดยนักลงทุนต่างชาติเข้าซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง นักลงทุนยังมีความคาดหวังว่ายุโรปกำลังเร่งแก้ไขวิกฤติหนี้ในการประชุมสุดยอดสัปดาห์นี้

 

โดย ธนาคารกสิกรไทย จำกัด ประจำวันที่ 8 ธ.ค. 2554

 

 

 

ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์

- ราคาน้ำมันดิบ ตลาดล่วงหน้า NYMEX ส่งมอบเดือนม.ค. ปรับลดลง 0.79 ดอลลาร์สหรัฐฯสู่ระดับ 100.49 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ท่ามกลางบรรยากาศการซื้อขายที่ผันผวน ในขณะ EIA รายงานว่าสต็อกน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันในคลังเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว อีกทั้งความกังวลเรื่องปัญหาหนี้ยูโรโซนมีส่วนกดดันราคาน้ำมันด้วยเช่นกัน

- ราคาทองคำ ตลาด COMEX ส่งมอบเดือนก.พ. ปรับขึ้น 13 ดอลลาร์สหรัฐฯ สู่ระดับ 1,744.80 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์ ท่ามกลางปริมาณการซื้อขายที่เบาบาง และบรรยากาศการซื้อขายที่ผันผวน ในขณะที่นักลงทุนรอดูท่าทีอยู่นอกตลาดก่อนการประชุมสุดยอดของสหภาพยุโรปและการประชุมธนาคารกลางยุโรปในวันนี้

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อียูลดเงินช่วยเหลือ19ชาติเศรษฐกิจเกิดใหม่รวมจีน อินเดีย และบราซิล เริ่มมีผลตั้งแต่ปี 2557 โดย นายแอนดริส พิบัลก์ คณะกรรมาธิการด้านการพัฒนาของคณะกรรมาธิการยุโรป(อีซี) ตัดสินใจลดเงินช่วยเหลือ 19 ชาติเศรษฐกิจเกิดใหม่ รวมทั้ง จีน อินเดีย และบราซิล ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นไป เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายปรับเปลี่ยนด้านความสัมพันธ์กับประเทศเกิดใหม่และหันไปเน้นให้ความช่วยเหลือประเทศยากจนที่สุดแทนระหว่างปี 2557 และ 2563         ทั้งนี้  การตัดสินใจดังกล่างมีขึ้นหลังจากการหารือเกี่ยวกับการใช้จ่ายนอกประเทศของกลุ่มอียู ตามแผนจัดสรรงบประมาณระยะยาวที่มีเป้าหมายคุมเข้มฐานะการเงินการคลังของประเทศ 27 ชาติสมาชิกอียูเป็นกลุ่มประเทศผู้บริจาครายใหญ่สุดของโลก โดยมีสัดส่วน 50% ของเงินช่วยเหลือทั่วโลกด้วยมูลค่า 53.8 พันล้านยูโร (72 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เมื่อปีที่แล้ว และอีซี ทำหน้าที่บริหาร จัดการ 20% ของเงินช่วยเหลือดังกล่าว หรือ 1.1 หมื่นล้านยูโร

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 8 ธันวาคม 2554)

 

 

เอเอฟพี - คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศตัดความช่วยเหลือแก่ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ 19 ประเทศ รวมถึง จีน, อินเดีย, บราซิล และไทย ตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นไป วานนี้(7) แอนดริส พีบาล์กส์ กรรมาธิการยุโรปฝ่ายการพัฒนา ระบุ

       

       องค์กรบรรเทาทุกข์ต่างออกมาโต้แย้งการตัดสินใจดังกล่าว โดยระบุว่า ข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของประเทศเหล่านี้อาจซ่อนเร้นความยากจนในหมู่ประชากรเอาไว้

       

       19 ประเทศที่จะถูกตัดความช่วยเหลือ ได้แก่ อาร์เจนตินา, บราซิล, ชิลี, จีน, โคลอมเบีย, คอสตาริกา, เอกวาดอร์, คาซัคสถาน, อินเดีย, อินโดนีเซีย, อิหร่าน, มาเลเซีย, มัลดีฟส์, เม็กซิโก, ปานามา, เปรู, ไทย, เวเนซุเอลา และอุรุกวัย

       

       พีบาล์กส์ กล่าวว่า การงดความช่วยเหลือจะนำไปสู่ “รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างอียูและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่เปลี่ยนไป และทำให้อียูสามารถมอบความช่วยเหลือไปยังกลุ่มประเทศที่ยากจนที่สุด” ระหว่างปี 2014 ถึง 2020

       

       การตัดสินใจดังกล่าวอยู่ภายใต้บริบทของกระบวนการปรับงบรายจ่ายภายนอกของอียู เพื่อให้เข้ากับแผนงบประมาณระยะยาวที่ต้องปรับให้เข้ากับสภาพเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง และคู่แข่งทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น

       

       สหภาพยุโรป 27 ประเทศนับเป็นผู้บริจาครายใหญ่ที่สุด และเป็นแหล่งเงินบริจาคถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของโลก ด้วยมูลค่าความช่วยเหลือราว 53,800 ล้านยูโร(ประมาณ 2.2 ล้านล้านบาท) เมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งในจำนวนนี้คณะกรรมาธิการยุโรปเป็นผู้รับผิดชอบ 20 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 4.5 แสนล้านบาท

       

       ภายใต้แผนงบประมาณปี 2014-2020 ทั้ง 19 ประเทศจะไม่ได้รับประโยชน์จากเงินช่วยเหลือด้านการพัฒนาจำนวน 57,500 ล้านยูโร (2.37 ล้านล้านบาท)

       

       ระหว่างปี 2007-2013 สหภาพยุโรปจัดสรรเงินช่วยเหลือสำหรับอินเดีย 470 ล้านยูโร, จีน 170 ล้านยูโร และบราซิล 61 ล้านยูโร

       

       สหพันธ์องค์กรบรรเทาทุกข์แห่งยุโรปออกมาคัดค้านนโนบายตัดความช่วยเหลือ โดยระบุว่า อียูมองข้ามประชากรส่วนใหญ่ในประเทศกำลังพัฒนาเหล่านี้ซึ่งยังยากจนอยู่ แม้รายได้เฉลี่ยต่อหัวจะสูงขึ้นก็ตาม ทั้งยังกล่าวหาคณะกรรมาธิการยุโรปว่ากำลังเล่นการเมืองกับคู่แข่ง เช่น อินเดีย ซึ่งอยู่ระหว่างเจรจาข้อตกลงการค้าทวิภาคีกับสหภาพยุโรป

       

       “คณะกรรมาธิการยุโรปต้องรับรองว่า ความช่วยเหลือจะถูกส่งไปถึงประชากรที่ยากจนที่สุด และภาคส่วนซึ่งกำลังขาดแคลนมากที่สุดในโลก” ซาราห์ คริสติน โจฮันเซน จากสมาพันธ์คองคอร์ด (CONCORD) ซึ่งเป็นผู้แทนหน่วยงานบรรเทาทุกข์และเอ็นจีโอกว่า 1,600 แห่ง ระบุ

 

ที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์ (วันที่ 8 ธันวาคม 2554)

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

(+) นายหยาง จีฉี รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของจีนกล่าวว่า จีนมีความเชื่อมั่นในยุโรปและสกุลเงินยูโร และจะสนับสนุนความพยายามในการแก้วิกฤตหนี้สินของสหภาพยุโรป (อียู) อย่างต่อเนื่อง

 

การแสดงความคิดเห็นของนายหยางมีขึ้นในระหว่างการเดินทางไปเยือนเบอร์ลิน เพื่อเข้าร่วมการประชุมความร่วมมือด้านกลยุทธ์ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศจีน-เยอรมนี ครั้งที่ 2 โดยนายหยางกล่าวในที่ประชุมร่วมกับนายกุยโด เวสเตอร์เวลล์ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของเยอรมนีว่า ถึงแม้ว่ายุโรปกำลังเผชิญกับความยุ่งยากอยู่ในขณะนี้ แต่ก็เป็นกำลังที่สำคัญของประชาคมนานาชาติ

 

เสถียรภาพและการขยายตัวของเศรษฐกิจยุโรปเป็นผลดีต่อทุกประเทศทั่วโลก และจีนมีความเต็มใจทำงานร่วมกับนานาประเทศเพื่อให้การสนับสนุนความพยายามแก้ปัญหาวิกฤติหนี้สินของอียูด้วยวิธีการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เขากล่าว

 

นอกจากนี้ นายหยางยังกล่าวในระหว่างการประชุมว่า จีนส่งเสริมให้ยุโรปมีบทบาทมากขึ้นในกิจการระหว่างประเทศและให้การสนับสนุนกระบวนการรวมยุโรปอย่างเต็มที่

 

ส่วนในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ นายหยางกล่าวว่า จีนและเยอรมนีมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นในระดับผู้นำและประเทศ นับตั้งแต่สถาปนาความสัมพันธ์เมื่อ 40 ปีก่อน ซึ่งมีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างจีนและเยอรมนี

 

นายหยังเชื่อว่า ทั้งสองประเทศควรส่งเสริมการเดินทางเยี่ยมเยือนของเจ้าหน้าที่ระดับสูง ขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้า การแลกเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ และส่งเสริมการสื่อสารระหว่างสองประเทศ เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างจีนและเยอรมนีให้ครอบคลุมในทุกด้าน

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า จีนและเยอรมนีจัดประชุมด้านกลยุทธ์ความร่วมมือในระดับผู้ช่วยรัฐมนตรีมาทั้งหมด 4 ครั้ง นับตั้งแต่ปี 2549 และยกระดับเป็นการประชุมในระดับรัฐมนตรีในปี 2553

 

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 8 ธันวาคม 2554)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยว่า ยอดการกู้ยืมเงินของผู้บริโภคในสหรัฐประจำเดือนต.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.7% ต่อปี สู่ระดับ 2.4575 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี จากตัวเลขเดือนก.ย.ที่ปรับทบทวนแล้วที่ระดับ 2.4498 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งบ่งชี้ว่าตลาดสินเชื่อและยอดการใช้จ่ายของผู้บริโภคในสหรัฐเริ่มฟื้นตัวขึ้น

รายงานของเฟดระบุว่า ความต้องการสินเชื่อหมุนเวียน (revolving credit) ซึ่งรวมถึงวงเงินสินเชื่อผ่านบัตรเครดิต ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนต.ค. ขณะที่ความต้องการสินเชื่อประเภทอื่นๆ ซึ่งรวมถึงสินเชื่อซื้อรถยนต์ เพิ่มขึ้น 5.3% ต่อปี

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ยอดการกู้ยืมเงินของผู้บริโภคเป็นข้อมูลที่นักวิเคราะห์และนักลงทุนในตลาดให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะสะท้อนถึงตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภคซึ่งคิดเป็นร้อยละ 70 ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมของสหรัฐและเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจสหรัฐด้วย

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 8 ธันวาคม 2554)

 

 

ทำเนียบขาวเปิดเผยว่า บารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐได้หารือทางโทรศัพท์กับนางแองเกลา แมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนีเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาวิกฤติหนี้ในประเทศกลุ่มยูโรโซน

 

"ประธานาธิบดีโอบามา และนายกรัฐมนตรีแมร์เคลได้โทรศัพท์หารือกันเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านการเงินในยูโรโซน ท่านประธานาธิบดีโอบามาได้ชื่นชมความพยายามในการแก้ปัญหาหนี้ยูโรโซนของนายกรัฐมนตรีเยอรมนีและผู้นำคนอื่นๆของยุโรป ผู้นำทั้งสองเห็นพ้องต้องกันว่า การแก้ปัญหาหนี้ยุโรปอย่างยั่งยืนและน่าเชื่อถือ เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง และยังเห็นด้วยว่าควรจะมีการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในเรื่องดังกล่าวต่อไป" ทำเนียบขาวกล่าว

 

นายทิโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐกำลังอยู่ระหว่างการไปยืนสหภาพยุโรปเป็นเวลา 3 วัน เพื่อร่วมมือกับประเทศอียูในการจัดการกับปัญหาหนี้สาธารณะของยูโรโซน สำนักข่าวซินหัวรายงาน

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 8 ธันวาคม 2554)

 

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

By Virginia Harrison

SYDNEY (MarketWatch) — The dollar inched up against the euro in Asian trading Thursday, as investors eyed a rate decision from the European Central Bank later in the day, as well as the outcome of a summit of European leaders on the sovereign-debt crisis.

 

The euro EURUSD -0.09%   traded at $1.3399, down from $1.3405, in North American trade late Wednesday.

 

The dollar index DXY +0.06% , which measures the U.S. unit against a basket of six major rivals, traded at 78.470, little moved from the 78.476 level in North American trade late Wednesday.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

(+) European banks' asset sales may hurt economy

ธนาคารยุโรป อาจจะมีการขายทรัพย์สินต่างๆ ในต่างประเทศ เพื่อนำเงินทุนกลับประเทศ ซึ่งก็มีนักลงทุนหลายๆ ประเทศที่สนใจซื้อทรัพย์ เหล่านี้อยู่ แล้วเมื่อเงินที่ขายได้ นำกลับประเทศ ก็สามารถเพิ่มเงินทุนหมุนเวียนได้มากขึ้น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รัฐมนตรีคลังสหรัฐกล่าวแสดงความมั่นใจว่า ยุโรปจะประสบความสำเร็จในการเอาชนะวิกฤตหนี้สิน

 

นายทิโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐกล่าววันนี้แสดงความมั่นใจว่า บรรดาผู้นำสหภาพยุโรปหรืออียู. จะสามารถหาทางออกให้กับวิกฤตหนี้สินที่กำลังรุมเร้ายุโรป ซึ่งความสำเร็จดังกล่าวจะมีความสำคัญต่อสหรัฐและต่อประชาคมโลกด้วย นายไกธ์เนอร์กล่าวต่อบรรดาผู้นำยูโรโซนก่อนที่จะมีการประชุมสุดยอดอียู.ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียมวันนี้ว่า เขาต้องการที่จะพยายามทำให้มั่นใจว่า มีกำแพงที่แข็งแรงเพียงพอในการป้องกันไม่ให้วิกฤตหนี้สินแพร่กระจายออกไป ด้านรัฐมนตรีคลังฝรั่งเศสกล่าวว่า บรรดาผู้นำยูโรโซนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเกี่ยวกับความเป็นไปได้สูงสุด เพื่อหลีกเลี่ยงการติดต่อกันของวิกฤตดังกล่าวที่กำลังแพร่ระบาด

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สถานการณ์น้ำในกรุงเทพมหานครฝั่งพระนครยังมีน้ำท่วมขังขณะที่คลองสายหลักมีระดับน้ำลดลง

 

• ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ศูนย์ปฎิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) : แจ้งว่า ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.) แจ้งสถานการณ์น้ำในกรุงเทพมหานคร วันที่ 8 ธันวาคม 2554 เวลา 08.00 น. พื้นที่ฝั่งพระนครยังคงมีปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่เขตดอนเมือง หลักสี่ สายไหม บางเขน คันนายาว คลองสามวา ขณะที่คลองสายหลักมีระดับน้ำลดลง ได้แก่ คลองเปรมประชากรลดลง 5 เซนติเมตร คลองบางเขนลดลง 5 เซนติเมตร คลองลาดพร้าวลดลง 4-6 เซนติเมตร และคลองแสนแสบ ลดลง 2-5 เซนติเมตร

 

 

ผลสำรวจกรุงเทพโพลล์ ระบุ ปัญหาการทุจริตในสังคมไทยอยู่ในระดับค่อนข้างรุนแรงถึงรุนแรงมาก

 

ผลสำรวจความเห็นของกรุงเทพโพลล์ ระบุ ประชาชนร้อยละ 90.4 จาก 1,161 คน เห็นว่า ปัญหาการทุจริตในสังคมไทยอยู่ในระดับค่อนข้างรุนแรงถึงรุนแรงมาก

เนื่องในวันที่ 9 ธันวาคม 2554 เป็นวันต่อต้านการทุจริตและคอร์รับชั่นสากล ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ หรือกรุงเทพโพลล์ ได้สำรวจความเห็นประชาชน เรื่อง "สังคมไทยกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รับชั่น" จำนวน 1,161 คน พบว่า ร้อยละ 90.4 เห็นว่า ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นของสังคมไทย อยู่ในระดับค่อนข้างรุนแรงถึงรุนแรงมาก ส่วนความเห็นเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่น ร้อยละ 69.0 เห็นว่า ควรต่อต้าน ร้อยละ 24.4 รู้สึกเฉยๆ ขณะที่ประเด็นความรับผิดชอบที่ทำให้สังคมไทยยังมีการทุจริตคอร์รัปชั่น อันดับ 1 นักการเมืองระดับชาติ ร้อยละ 52.7 รองลงมารัฐบาล 47.7 ส่วนความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่น ร้อยละ 69.2 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงไม่เชื่อมั่นเลย สำหรับนัการเมืองที่มีภาพลักษณ์ของความซื่อสัตย์มากที่สุด 3 อันดับ ได้แก่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 31.8 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 27.4 และนายชวน หลีกภัย 22.3 สำหรับนักการเมืองในปัจจุบันที่มีภาพลักษณ์ของความซื่อสัตย์สุจริตน้อยที่สุด 3 อันดับ ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง ร้อยละ 39.4 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ 31.3 และนายโสภณ ซารัม 9.9

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

คลินิกชายวัยทอง รพ.พระมงกุฎเกล้า เผยเหตุความไม่สงบทำนกเขาไม่ขัน

 

หัวหน้าคลินิกชายวัยทอง โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เผยเหตุความไม่สงบ ทำชายไทยใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ป่วยด้วยโรคนกเขาไม่ขันกันเพิ่มมากขึ้น ขณะที่เพศหญิงเป็นโรคกระดูกพรุน ด้านพระสงฆ์และโต๊ะอิหม่ามต่างเป็นโรคอ้วนถึง 80 % คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ ต้องตั้งงบฯขึ้นมาหา ทางแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน

วันนี้ ( 8 ธันวาคม 2554) ที่ห้องประชุมโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ เขตเทศบาลเมืองนราธิวาส นายเดชรัฐ สิมศิริ รอง ผวจ.นราธิวาส รักษาราชการแทน ผวจ.นราธิวาส และนายแพทย์ สายัณห์สวัสดิ์ศรี หัวหน้าคลินิกชายวัยทองโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าในฐานะหัวหน้าผู้ดำเนินการโครงการพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพและสร้างเครือข่ายการให้บริการสุขภาพชาย-หญิงวัยทอง และผู้สูงอายุใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ร่วมกันเป็นประธานเปิดโครงการให้การรักษาชายและหญิงที่ป่วยด้วยโรควัยทอง ซึ่งโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7 -9 ธันวาคม 2554 โดยมีผู้ป่วยด้วยโรควัยทองทั้งเพศชายและเพศหญิงจาก 13 อำเภอใน จ.นราธิวาสเดินทางมารับการรักษาในช่วงเช้าของวันนี้ประมาณ 300 คน

นายแพทย์ สายัณห์ หัวหน้าคลินิกชายวัยทองโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กล่าวว่า จากเหตุความไม่สงบที่เกิดขึ้นยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบันทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่างเกิดความเครียด ซึ่งเมื่อมีความเครียดเรื้อรังเกิดขึ้นได้ส่งผลให้ฮอโมนเพศในเพศชายและเพศหญิงลดลง และจากสภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆ ยังยิ่งกดดันให้ชายไทยเกิดโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าโรคนกเขาไม่ขัน และโรคอาการหลั่งไวตามมาอีกด้วย

"ผลการตรวจสุขภาพของชาวไทยพุทธและไทยมุสลิมในภาพรวม พบว่าจากเหตุของความเครียดนี้ นอกจากส่งผลให้เกิดโรคนกเขาไม่ขันในเพศชายแล้วยังเกิดโรคกระดูกพรุนในเพศหญิงด้วย โดยหญิงอายุ 40 ปี มีอาการกระดูกพรุน 20 %, แต่พอหมดประจำเดือนหรืออายุย่างเข้า 50 ปีมีอาการกระดูกพรุนเพิ่มขึ้นเป็น 42 % และพออายุเลย 60 ปีขึ้นไปอาการของโรคกระดูกพรุนเพิ่มขึ้นเป็น 80 % เลยทีเดียว ส่วนผลการตรวจร่างกายพระสงฆ์และโต๊ะอิหม่าม ซึ่งเป็นผู้นำศาสนาอิสลามยังพบว่าร้อยละ 80 สภาพร่างกายไม่ดีเท่าที่ควร เพราะมีไขมันสูง ซึ่งคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ ได้ตั้งเงินงบประมาณขึ้นมา เพื่อทำการวิจัยหาทางแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างเร่งด่วนแล้ว"

 

ข้อมูลข่าวและที่มา

 

ผู้สื่อข่าว : นราธิวาส (สปชส) นายกรียา เต๊ะตานี   Rewriter : สุริยน ตันตราจิณ

สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th

 

 

 วันที่ข่าว : 08 ธันวาคม 2554

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กฟภ.ขยายเวลาการชำระเงินค่าไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่ประสบอุทกภัยออกไปอีก 3 เดือน

 

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ขยายเวลาการชำระเงินค่าไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่ประสบอุทกภัยออกไปอีก 3 เดือน โดยไม่เรียกเก็บเงินค่าดอกเบี้ยและไม่งดจ่ายกระแสไฟฟ้า

นายสุชาติ โชติกธีรกุล ผู้อำนวยการกองการเงิน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กล่าวว่า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ขยายเวลาการชำระเงินค่าไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่ประสบอุทกภัยออกไปอีก 3 เดือน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ประสบภัย โดยไม่เรียกเก็บเงินค่าดอกเบี้ยและไม่งดจ่ายกระแสไฟฟ้าให้พื้นที่ประสบอุทกภัยในช่วงที่มีการขยายระยะเวลาการชำระด้วย แบ่งเป็น 2 กรณี คือ ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท ที่อยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก และผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการขนาดกลาง กิจการขนาดใหญ่ กิจการเฉพาะอย่าง ซึ่งกรณีผู้ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ประสบอุทกภัยของ กฟภ. ที่ได้รับใบแจ้งค่าไฟฟ้าที่ครบกำหนดระยะเวลาการชำระเงินระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2554 จะไม่มีการเรียกเก็บเงินหรือหักจากบัญชีธนาคารหรือบัญชีบัตรเครดิตตามที่ครบกำหนดชำระเดิม แต่สามารถชำระเงินค่าไฟฟ้าได้ภายในระยะเวลาที่ขยายออกไป 3 เดือน ทั้งนี้ กฟภ.จะจัดส่งเจ้าหน้าที่ออกไปสำรวจพื้นที่ที่ประชาชนประสบภัยน้ำท่วม แล้วจะมีการขยายระยะเวลาทั้งพื้นที่จะไม่มีการแยกการช่วยเหลือเป็นรายบุคคล เพื่อให้การช่วยเหลือครอบคลุมผู้ประสบภัยโดยตรงและได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อย

สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใดมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการขยายเวลาการชำระเงินค่าไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่ประสบอุทกภัยออกไปอีก 3 เดือน สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่ประสบอุทกภัย หรือ PEA Call Center 1129

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

กองบังคับการตำรวจจราจร แจ้งข้อมูลถนน 2 สาย ที่ยังคงปิดการจราจร คือ ถนนบรมราชชนนี ช่วงตัดถนนพุทธมณฑลสาย 3 ถึงสาย 4 และพุทธมณฑลสาย 3 ตลอดทั้งเส้น

 

กองบังคับการตำรวจจราจร แจ้งข้อมูลถนน 2 สาย ที่ยังปิดการจราจร คือ ถนนบรมราชชนนี ช่วงตัดถนนพุทธมณฑลสาย 3 ถึงสาย 4 และพุทธมณฑลสาย 3 ตลอดทั้งเส้น

ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร กองบัญชาการตำรวจนครบาล แจ้งข้อมูลเส้นทางที่ยังปิดการจราจร จากระดับน้ำท่วมสูง เหลือ 2 เส้นทาง คือ ถนนบรมราชชนนี ขาเข้าและขาออก ตั้งแต่ตัดถนนพุทธมณฑลสาย 3 ถึงตัดถนนพุทธมณฑลสาย 4 มีน้ำท่วมขังเป็นระยะ ความสูง 30 - 50 เซนติเมตร และถนนพุทธมณฑลสาย 3 ตลอดสาย มีน้ำท่วมสูง 30 - 40 เซนติเมตร ส่วนเส้นทางที่ระดับน้ำลดลง สามารถเปิดการจราจรอย่างไม่เป็นทางการได้ล่าสุด ข้อมูลยังไม่เปลี่ยนแปลง คือ ถนนพหลโยธิน ถนนวิภาวดีรังสิต ทั้งขาเข้าและขาออก เปิดการจราจรตลอดสายถึงสุดเขตนครบาล

 

ข้อมูลข่าวและที่มา

 

ผู้สื่อข่าว : จุฑามาส รักษาพันธุ์   Rewriter : ฑีฆะสุดา ภักดี

สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th

 

 

 วันที่ข่าว : 08 ธันวาคม 2554

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีครับ คุณ Aekasin

ใช่ครับ ควรครับ พอกันทีความแตกแยก เบื่อแล้วครับ แต่ เด็กขายของ ชี้นำไปที่ ICT หลายครั้งว่า ให้พิมพ์คำว่า " ภูมิพล " Search ใน Google แบบ VDO แล้วจะเห็นในสิ่งที่ไม่ควรจะเกิดในประเทศไทย

โลกธรรม8 ผมท่องไว้ในใจตลอด

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

'โรเบิร์ต มันเดล'ฟันธงยุโรปมีโอกาสแพแตกเพียง10-15% (08/12/2554)

"โรเบิร์ต มันเดล" เจ้าของโนเบลเศรษฐศาสตร์ปี 2542 กล่าวถึงข้อสงสัยที่ว่ายุโรปจะล่มสลายหรือแตกแยกเพราะวิกฤติหนี้สาธารณะอย่างที่เผชิญอยู่หรือไม่ว่า โดยส่วนตัวแล้วเขาไม่คิดว่าสหภาพยุโรป (อียู) จะแพแตก และมีโอกาสความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นเพียง 10% หรือมากสุดแค่ 15% โดยต้องอยู่บนพื้นฐานหรือเงื่อนไขที่ว่ากลุ่มสมาชิกอียูต้องมีข้อตกลงร่วมกันในการปิดช่องโหว่เกี่ยวกับการขาดดุลการคลังให้ได้ พร้อมกับมีความเชื่อที่ว่า เงินหยวนของจีนสามารถเพิ่มบทบาทเป็นสกุลเงินสำคัญแลกเปลี่ยนได้ของภูมิภาคอาเซียนและโลกในอีก 4-5 ปีข้างหน้า

 

นอกจากนี้ เขายังเสนอแนะเรื่องบทบาทของไอเอ็มเอฟ ที่ต้องมีความสามารถปรับองค์กรให้กลายเป็นธนาคารกลางของโลก (World Central Bank) ในอนาคต ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นไปได้หรือไม่นั้น ต้องได้รับการสนับสนุนจากชาติสำคัญ อย่างอเมริกา จีน ยุโรป และอังกฤษ

 

นายโรเบิร์ต มันเดล นักวิชาการชื่อดังจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ปี 2542 กล่าวในหัวข้อเรื่อง "สู่ความเป็นสกุลเงินเดียวของโลก จากทองคำ ไปสู่ดอลลาร์ ยูโร หยวน" ที่สหประชาชาติ วานนี้ (7 ธ.ค.) ว่า การรวมกลุ่มของประชาคมเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Asean Economic Community : AEC) หรือ เออีซีในปี 2558 นั้น การรวมเงินสกุลเดียวของอาเซียนนั่นคิดว่าไม่น่าจะเกิดขึ้น เพราะมองไม่เห็นภาพความเป็นไปได้เกิดสกุลเงินหากมองในแง่การเมือง

 

เขากล่าวว่าในแง่ทางการเมือง อาเซียนมีข้อตกลงแนบแน่นในการร่วมมือกับจีนและญี่ปุ่นในเรื่องสกุลเงินอยู่แล้ว ทั้งค่าเงินจีนหรือญี่ปุ่นอาจเป็นสกุลเงินสำคัญของภูมิภาค แต่อาจนำรวมเป็นตะกร้าเงินของภูมิภาค และย้ำด้วยว่าไม่คิดว่าเรื่องเงินสกุลเดียวเป็นเรื่องที่คิดถึงหรือพูดถึงได้

 

"เอเชียยังไม่สามารถมีเงินสกุลเดียวได้ เพราะยังไม่สามารถรวมตัวกันได้อย่างสมบูรณ์แบบในหลายเรื่องอย่างที่อียูมีหรือสามารถทำได้ โดยเฉพาะการเมืองยังมีความแตกต่าง ผมคิดว่าก้าวแรกหรือสิ่งที่เอเชียสามารถทำได้เกี่ยวกับสกุลเงินในภูมิภาค คือ ทำให้เอเชียมีสกุลเงินสำคัญสามารถแลกเปลี่ยนได้ และหยวนเป็นสกุลเงินสำคัญของภูมิภาคช่วยผลักดันเรื่องนี้ได้ ขอให้ดูไอเอ็มเอฟมีประเทศสมาชิกตั้งมากมายกว่า 40 ประเทศ เขายังสามารถสร้างระบบสกุลเงินหลักอย่างเอสดีอาร์ได้" นายมันเดลกล่าว

 

ทั้งนี้ นายมันเดลตอกย้ำความคิดของเขาที่ว่า ในอีก 4-5 ปีข้างหน้าจีนสามารถเดินหน้าเคลื่อนไหวมากขึ้นกับแนวคิดในการทำให้ค่าเงินหยวนเป็นสกุลเงินสำคัญที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก และสามารถเป็นสกุลเงินสำคัญช่วยสร้างตะกร้าอาเซียนได้

 

"ในอนาคตจีนสามารถทำให้หยวนเป็นสกุลเงินสำคัญสามารถแลกเปลี่ยนกันได้ในตลาดโลก และถ้าจีนหากต้องการยกระดับเซี่ยงไฮ้ให้เป็นศูนย์กลางการเงินสำคัญอีกแห่งหนึ่ง ที่สามารถเชื่อมโยงหรือเทียบชั้นกับตลาดลอนดอนและนิวยอร์กได้ จีนต้องปรับเปลี่ยนนโยบายการผูกติดค่าเงินให้ดีขึ้น การผูกติดค่าเงินผมมองว่าเป็นแนวคิดไม่ดี" นายมันเดลกล่าว

 

นายมันเดลอธิบายด้วยว่า คำแนะนำของเขาให้ประเทศจีนเคลื่อนไหวมากขึ้น เพื่อทำสกุลเงินของตัวเองให้เป็นสกุลเงินสามารถแลกเปลี่ยนกันได้นั้น ต้องปรับมาใช้นโยบายลอยตัวค่าเงินเพื่อสร้างความต้องการเงินหยวนให้มากขึ้น และในระบบการเงินของจีนเองก็ต้องมีการพัฒนาครั้งใหญ่

 

เขาย้ำว่าจีนสามารถผงาดขึ้นมาเป็นสกุลแข็งแกร่งมากได้และเป็นสกุลเงินสำคัญช่วยสร้างเขตเศรษฐกิจสกุลเงินสำคัญขึ้นมาได้ในอนาคต ช่วยผลักดันให้ค่าเงินเอเชียยังเป็นที่ต้องการสร้างดีมานด์ระดับโลกได้

 

ทั้งนี้ ในกลางปีนี้ นายมันเดลเคยกล่าวถึงสกุลเงินหยวนว่า ได้กลายเป็นสกุลเงินใหญ่สุดอันดับ 3 ของโลกแทนที่สกุลเงินเยนของญี่ปุ่นแล้ว และบทบาทของเงินหยวนนับแต่เกิดวิกฤติการเงินโลกเป็นสิ่งที่มิอาจมองข้ามได้ พร้อมแนะนำว่าเงินยูโร ดอลลาร์ และเงินหยวนควรเป็นรากฐานใหม่ให้กับระบบสกุลเงินระหว่างประเทศ

 

เจ้าของโนเบลเศรษฐศาสตร์ปี 2542 ยังกล่าวถึงข้อสงสัยที่ว่ายุโรปจะล่มสลายหรือแตกแยกเพราะวิกฤติหนี้สาธารณะอย่างที่เผชิญอยู่หรือไม่ว่า โดยส่วนตัวแล้วเขาไม่คิดว่าสหภาพยุโรป (อียู) จะแพแตก และมีโอกาสความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นเพียง 10% หรือมากสุดแค่ 15% แต่จากมุมมองของเขาที่ว่ากลุ่มอียูจะไม่แตกจากกันนั้น อยู่บนพื้นฐานหรือเงื่อนไขที่ว่ากลุ่มสมาชิกอียูต้องมีข้อตกลงร่วมกันในการปิดช่องโหว่เกี่ยวกับการขาดดุลการคลังให้ได้

 

"ประเทศสมาชิกรายใดไม่ปฏิบัติหรือทำตามข้อตกลงไม่ได้ ก็ต้องจัดการลงโทษ ส่วนธนาคารกลางยุโรปเองต้องดูแลเรื่องงบประมาณของสมาชิกแต่ละประเทศให้ดี อีกทั้งประเทศสมาชิกทุกประเทศต้องทำตามแผนกองทุนสร้างเสถียรภาพการเงินยุโรป (อีเอสเอฟเอส) อย่างเคร่งครัด พร้อมกับให้อำนาจกับธนาคารกลางยุโรปออกมาตรการแก้ไขปัญหาทุกอย่างได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงการออกยูโรบอนด์" นายมันเดลแนะนำ

 

นายมันเดลยังเสนอแนะเรื่องบทบาทของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ว่า อยากให้ไอเอ็มเอฟสามารถปรับองค์กรให้กลายเป็นธนาคารกลางของโลก (World Central Bank) ซึ่งสิ่งที่จะเป็นไปได้นั้น ต้องได้รับการสนับสนุนจากชาติสำคัญ อย่างอเมริกา จีน ยุโรป และอังกฤษ โดยการเป็นธนาคารกลางโลกให้ได้ในอนาคต ก็เพื่อสามารถเป็นแหล่งทุนสุดท้ายสำคัญของโลก

 

"กับข้อสงสัยที่ว่าธนาคารกลางโลกจะเกิดขึ้นได้หรือไม่นั้น ขอให้นึกย้อนไปถึงการเกิดของธนาคารกลางยุโรป หรือการมีรวมตัวทางการเงิน และการรวมตัวด้านการคลัง ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว แน่นอนว่า ต้องรวมอำนาจทางการเมืองจากหลายชาติไว้ด้วยกัน ขอให้ทำไอเดียให้เกิดขึ้นในทางปฏิบัติ การเคลื่อนไหวดำเนินการให้ได้อย่างรวดเร็ว จะเป็นโอกาสให้โลกก้าวไปข้างหน้า และผมเชื่อว่าวิกฤติที่เกิดขึ้นล้วนเป็นโอกาสไม่ใช่แค่เพียงอียูเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสของสถาบันกับองค์กรระดับโลก เช่น ไอเอ็มเอฟ รวมทั้งภูมิภาคสำคัญอย่างเอเชีย ให้พัฒนาปรับตัวก้าวไปข้างหน้าได้ด้วย" นายมันเดลกล่าว

 

นอกจากนี้ นายมันเดลยังกล่าวว่า เขาไม่เห็นด้วยกับการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินของสหรัฐ (คิวอี) ตั้งแต่คิวอี 1 ซึ่งนำมาใช้ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2552 ซึ่งเป็นการดำเนินการที่ล่าช้านานถึง 6 เดือนกว่านำมาใช้ผ่อนคลายวิกฤติ จากนั้นในเดือนพฤศจิกายน 2553 ก็ใช้คิวอี 3 ซึ่งคิวอีทั้งสองครั้งล้วนเป็นการอัดฉีดเม็ดเงินมหาศาลเข้าระบบการเงินโลก โดยเขาคิดว่าแทนที่จะพิมพ์มากมายเข้าระบบ สหรัฐควรปล่อยค่าเงินดอลลาร์อ่อนจะดีกว่า และไม่ควรจะทำอะไรให้อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกสูงขึ้น

 

ที่มา : สิทธิชัยหยุ่น (วันที่ 8 ธันวาคม 2554)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...