ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

เศรษฐกิจต่างประเทศ

วันที่ 3 เมษายน 2555 07:06

หุ้นสหรัฐปิดบวกหลังดัชนีการผลิตโตเกินคาด

news_img_445099_1.jpg

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

ดัชนีหุ้นสำคัญตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดในแดนบวก หลังดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐขยายตัวได้ดีเกินคาด โดยหุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ทะยานขึ้นแข็งแกร่ง

 

ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ปรับตัวขึ้น 52.45 จุดหรือ 0.40 % ปิดที่ 13,264.49 จุด ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ขยับขึ้น 10.43 จุดหรือ 0.74 % ปิดที่ 1,418.90 จุด และดัชนีแนสแดก ทะยานขึ้น 28.13 จุด หรือ 0.91% ปิดที่ 3,119.70 จุด

 

หุ้นสหรัฐ ปิดตลาดดีดตัวขึ้น หลังจากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ไอเอสเอ็ม) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐขยายตัวได้ดีเกินคาด โดยหุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ทะยานขึ้นแข็งแกร่ง และช่วยหนุนดัชนีเอสแอนด์พี 500 ดีดตัวขึ้นด้วย

 

ทั้งนี้ สถาบันไอเอสเอ็ม เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวขึ้นแตะ 53.4 ในเดือนมี.ค. จากระดับ 52.4 ในเดือนก.พ. ซึ่งสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 53 ซึ่งตัวเลขที่อยู่เหนือระดับ 50 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตมีการขยายตัว ขณะที่ตัวเลขต่ำกว่า 50 สะท้อนถึงภาวะหดตัวในภาคการผลิต

 

นอกจากนี้ ตลาด ยังได้แรงหนุนหลังจากสหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีน ที่เปิดเผยว่า ดัชนีพีเอ็มไอ ภาคการผลิตจีนอยู่ที่ระดับ 53.1 ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน และเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.ปีที่แล้ว

 

หุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์พุ่งขึ้นแข็งแกร่งสุดในบรรดาหุ้น 10 กลุ่มที่คำนวณในดัชนีเอสแอนด์พี 500 โดยหุ้นฟรีพอร์ท-แมคมอแรน พุ่งขึ้น 2.3% หุ้นอัลฟา เนเชอรัล ซึ่งเป็นผู้ผลิตถ่านหิน ทะยานขึ้น 4.7% ส่วนหุ้นเอวอน พุ่งขึ้น 18% ขณะที่หุ้นกรุ๊ปปอน ดีดขึ้น 12% ขณะที่หุ้นอเมซอน ดอท คอม ร่วงลง 1.8% หลังจากแบงก์ ออฟ อเมริกา ได้ปรับลดน้ำหนักความน่าลงทุนของหุ้นดังกล่าว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก : ยูโรร่วง หลังภาคการผลิตยูโรโซนหดตัวติดต่อกัน 8 เดือน (03/04/2555)

สกุลเงินยูโรอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (2 เม.ย.) หลังจากมาร์กิต อิโคโนมิกส์รายงานว่า ภาคการผลิตของยูโรโซนหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 ซึ่งข้อมูลดังกล่าวทำให้นักลงทุนวิตกกังวลว่าวิกฤตหนี้ยุโรปอาจจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและภาคการผลิตของยูโรโซน

 

ค่าเงินยูโรร่วงลง 0.15% แตะที่ 1.3323 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันศุกร์ที่ 1.3343 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่สกุลเงินปอนด์แข็งค่าขึ้น 0.14% แตะที่ 1.6032 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.6010 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้น 0.93% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 82.020 เยน จากระดับ 82.790 เยน และดีดตัวขึ้น 0.13% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9032 ฟรังค์ จากระดับ 0.9020 ฟรังค์

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียพุ่งขึ้น 0.77% แตะที่ 1.0421 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0341 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียพุ่งขึ้น 0.61% แตะที่ 0.8232 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8182 ดอลลาร์สหรัฐ

 

สกุลเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ หลังจากมาร์กิต อิโคโนมิกส์รายงานว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของยูโรโซน หดตัวลงแตะ 47.7 จุดในเดือนมีนาคม จาก 49 จุดในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นการหดตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 ส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจยูโรโซนอาจหดตัวต่อเนื่อง

 

หลายประเทศในยุโรปเผชิญวิกฤตการคลังมานานกว่า 3 ปี ส่งผลให้รัฐบาลประเทศต่างๆต้องใช้มาตรการรัดเข็มขัดและพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วนกรีซซึ่งแม้ว่าจะได้รับเงินช่วยเหลือรอบสองจากนานาประเทศ แต่ความเชื่อมั่นในธุรกิจกลับลดลงเหนือความคาดหมายในเดือนมีนาคม ส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจยูโรโซนอาจฟื้นตัวอย่างยากลำบาก

 

การหดตัวของภาคการผลิตยูโรโซนถือเป็นความเคลื่อนไหวที่ตรงข้ามกับภาคการผลิตของสหรัฐและจีนที่ขยายตัวแข็งแกร่ง โดยสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวขึ้นแตะ 53.4 จุดในเดือนมี.ค. จากระดับ 52.4 ในเดือนก.พ. ซึ่งสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 53 จุด

 

ตัวเลขที่อยู่เหนือระดับ 50 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตมีการขยายตัว ขณะที่ตัวเลขต่ำกว่า 50 สะท้อนถึงภาวะหดตัวในภาคการผลิต

 

นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนหลังจากสหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีน (CFLP) เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ( PMI) ภาคการผลิตจีนอยู่ที่ระดับ 53.1 ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน และเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.ปีที่แล้ว

 

ทางการสหรัฐจะเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้ รวมถึงยอดสั่งซื้อของโรงงานเดือนก.พ., ดัชนีภาคบริการเดือนมี.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมี.ค.

 

นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมี.ค.จะเพิ่มขึ้น 201,000 ตำแหน่ง หลังจากเพิ่มขึ้น 227,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. และคาดว่าอัตราว่างงานเดือนมี.ค.จะทรงตัวที่ 8.3%

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 3 เมษายน 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สัญญาน้ำมันดิบที่ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (2 เม.ย.) ขานรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐและจีนที่ขยายตัวแข็งแกร่งเกินคาด ขณะที่นักลงทุนจับตาดูรายงานสต็อกน้ำมันดิบประจำสัปดาห์ ซึ่งสำนักงานสารนิเทศด้านพลังงานของรัฐบาลกลางสหรัฐจะเปิดเผยในวันพุธนี้

 

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ที่ตลาด NYMEX ส่งมอบเดือนพ.ค.พุ่งขึ้น 2.21 ดอลลาร์ หรือ 2.15% ปิดที่ 105.23 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 102.06 - 105.49 ดอลลาร์

 

 

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ที่ตลาด ICE กรุงลอนดอนส่งมอบเดือนพ.ค.พุ่งขึ้น 2.55 ดอลลาร์ หรือ 2.08% ปิดที่ระดับ 125.43 ดอลลาร์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 121.70 - 125.63 ดอลลาร์

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า สัญญาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นหลังจากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวขึ้นแตะ 53.4 ในเดือนมี.ค. จากระดับ 52.4 ในเดือนก.พ. ซึ่งสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 53 โดยตัวเลขที่อยู่เหนือระดับ 50 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตมีการขยายตัว ขณะที่ตัวเลขต่ำกว่า 50 สะท้อนถึงภาวะหดตัวในภาคการผลิต

 

นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนหลังจากสหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีน (CFLP) เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ( PMI) ภาคการผลิตจีนอยู่ที่ระดับ 53.1 ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน และเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.ปีที่แล้ว

 

ความแข็งแกร่งของภาคการผลิตจีนและสหรัฐสามารถชดเชยปัจจัยลบจากรายงานของมาร์กิต อีโคโนมิกส์ ที่ระบุว่า ดัชนีPMI ภาคการผลิตของยูโรโซน หดตัวลงแตะ 47.7 จุดในเดือนมีนาคม จาก 49 จุดในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งภาคการผลิตยูโรโซนหดตัวเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกันในเดือนมีนาคม ส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจยูโรโซนอาจหดตัวต่อเนื่องในไตรมาสแรกของปีนี้

 

นักลงทุนจับตาดูรายงานสต็อกน้ำมันดิบประจำสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 30 มี.ค. ซึ่งสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) จะเปิดเผยในคืนวันพุธนี้ตามเวลาไทย โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า สต็อกน้ำมันดิบจะเพิ่มขึ้น 2.1 ล้านบาร์เรล สต็อกน้ำมันกลั่นจะลดลง 300,000 บาร์เรล สต็อกน้ำมันเบนซินจะลดลง 1.2 ล้านบาร์เรล และคาดว่าอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันจะเพิ่มขึ้น 0.3%

 

ที่่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 3 เมษายน 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: เงินดอลล์อ่อนหนุนทองคำปิดบวก $7.8 (03/04/2555)

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (2 เม.ย.) เพราะได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ หลังจากมีรายงานว่าภาคการผลิตของสหรัฐขยายตัวแข็งแกร่งเกินคาด

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย.พุ่งขึ้น 7.8 ดอลลาร์ หรือ 0.5% ปิดที่ 1,679.7 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1,664.40 - 1,685.40 ดอลลาร์

 

 

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค.เพิ่มขึ้น 61.4 เซนต์ ปิดที่ 33.098 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค.พุ่งขึ้น 10.80 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,654.90 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย.พุ่งขึ้น 4.70 ดอลลาร์ ปิดที่ 658.80 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานโดยอ้างการเปิดเผยของนักวิเคราะห์ว่า สัญญาทองคำได้รับแรงหนุนจากสกุลเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ซึ่งช่วยให้สัญญาสินค้าโภคภัณฑ์รวมถึงทองคำ มีความน่าดึงดูดใจ

 

สกุลเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงหลังจากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวขึ้นแตะ 53.4 ในเดือนมี.ค. จากระดับ 52.4 ในเดือนก.พ. ซึ่งสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 53

 

ตัวเลขที่อยู่เหนือระดับ 50 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตมีการขยายตัว ขณะที่ตัวเลขต่ำกว่า 50 สะท้อนถึงภาวะหดตัวในภาคการผลิต

 

ที่ีมา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 3 เมษายน 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สถานการณ์โลก

วันที่ 3 เมษายน 2555 07:31

อิหร่านไม่อ่อนข้อต่อแรงกดดันจากสหรัฐ

news_img_445107_1.jpg

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

อิหร่านกร้าวไม่ยอมอ่อนข้อต่อแรงกดดันจากสหรัฐ ก่อนหน้าการประชุมนิวเคลียร์ จี5+1 วันที่ 13 เม.ย.นี้ ที่ตุรกี

 

นายอาลี-อัคบาร์ ซาเลฮี รัฐมนตรีคลังอิหร่าน เปิดเผยว่า อิหร่านจะไม่ยอมอ่อนข้อให้กับสหรัฐเพื่อแลกกับการผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตร ซึ่งเป็นมาตรการตอบโต้อิหร่านที่ดำเนินโครงการนิวเคลียร์

 

"สหรัฐก็คิดเหมือนประเทศอื่นๆ ว่า อิหร่านจะยอมก้มหัวให้กับแรงกดดันของสหรัฐ แต่นั่นเป็นการตั้งสมมติฐานที่ผิดอย่างมาก" นายซาเลฮี กล่าว

 

การแสดงความคิดเห็นของนายซาเลฮี มีขึ้นก่อนที่การประชุมนิวเคลียร์ระหว่างอิหร่าน และ 5 ชาติสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ คือสหรัฐ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และจีน บวกเยอรมนี หรือกลุ่ม จี5+1 จะมีขึ้นในวันที่ 13 เม.ย.นี้ที่เมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี ซึ่งความวิตกกังวลเกี่ยวกับมาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกพุ่งขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2555

 

นอกจากนี้ ยังทำให้ผลผลิตน้ำมันของอิหร่านหดตัวลงด้วย โดยสำนักงานสถิติด้านพลังงานของอิหร่านเปิดเผยว่า อิหร่าน ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) ส่งออกน้ำมันได้ไม่ถึง 300,000 บาร์เรลต่อวันในเดือนมี.ค. หรือลดลง 14% และนับเป็นครั้งแรกในปีนี้ที่ยอดส่งออกน้ำมันของอิหร่านลดลง

 

ด้านแบงก์ ออฟ อเมริกา คาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันดิบอาจพุ่งขึ้น 40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หากมาตรการคว่ำบาตรของนานาชาติทำให้การผลิตน้ำมันของอิหร่านต้องหยุดชะงักลง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างภายในประเทศลดลง 1.1%  ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นการร่วงลงมากที่สุดในรอบ 7 เดือน มาอยู่ที่ระดับ 8.0886 แสนล้านดอลลาร์ต่อปี ตรงข้ามกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.6% สะท้อนให้เห็นว่า ยังต้องใช้เวลากว่าที่ภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างจะกลับมามีเสถียรภาพ

 

 

ค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเดือนก.พ.ลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากที่ปรับตัวลง 0.8% ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นตัวเลขที่ถูกปรับทบทวนขึ้นอย่างมากจากระดับ 0.1% ในการรายงานเดือนที่แล้ว

 

สำหรับสาเหตุที่ทำให้ตัวเลขใช้จ่ายลดลงนั้นเป็นเพราะโครงการก่อสร้างทั้งภาครัฐและเอกชนปรับตัวลดลง

 

การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างในภาคเอกชนร่วง 0.8% ซึ่งเป็นการลดลงเดือนที่ 2 ติดต่อกัน โดยการใช้จ่ายในโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยทรงตัว ส่วนโครงการก่อสร้างที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัยร่วงลง 1.6% อันเนื่องมาจากการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ลดลง

 

ขณะที่การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างในภาคสาธารณะลดลง 1.7% ในเดือนก.พ. จากเดือนก่อน โดยการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างของรัฐบาลกลางที่เพิ่มขึ้น 1.9% ถูกหักลบด้วยการใช้จ่ายที่ลดลงของรัฐบาลระดับรัฐและท้องถิ่น

สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของ ISM ปรับตัวขึ้นแตะ 53.4 ในเดือนมี.ค. จากระดับ 52.4 ในเดือนก.พ. ซึ่งสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 53

 

ตัวเลขที่อยู่เหนือระดับ 50 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตมีการขยายตัว ขณะที่ตัวเลขต่ำกว่า 50 สะท้อนถึงภาวะหดตัวในภาคการผลิต

 

ดัชนีภาคการผลิตของ ISM นับว่าเป็นข้อมูลล่าสุดที่น่าจะช่วยคลายความวิตกเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกได้มากยิ่งขึ้น หลังจากที่วานนี้ สหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีน (CFLP) เปิดเผยว่า ดัชนี PMI ภาคการผลิตจีนอยู่ที่ระดับ 53.1 ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน และเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.ปีที่แล้ว บ่งชี้เศรษฐกิจของประเทศกำลังเดินหน้าสู่การขยายตัวอย่างมั่นคง

 

ขณะที่ในวันนี้ มาร์กิต อีโคโนมิกส์ และสถาบันการจัดซื้อและอุปทานที่ได้รับอนุญาต (CIPS) เปิดเผยผลสำรวจที่แสดงให้เห็นว่า ภาคการผลิตของอังกฤษขยายตัวขึ้นอย่างเหนือความคาดหมาย โดยดัชนีภาคการผลิตปรับตัวขึ้นแตะ 52.1 ในเดือนมี.ค. จาก 51.5 ในเดือนก.พ.

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 2 เมษายน 2555)

 

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข่าวล่าสุด

 

 

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) เปิดเผยในวันนี้ว่า ฐานเงิน (monetary base) หรือปริมาณธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ที่หมุนเวียนอยู่ในมือประชาชนและธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งเงินฝากที่สถาบันการเงินสำรองไว้กับธนาคารกลางประจำเดือนมี.ค. ปรับตัวลง 0.2% จากปีที่แล้ว แตะระดับ 112.46 ล้านล้านเยน ซึ่งเป็นสถิติที่ปรับตัวลงครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนส.ค. 2551

 

ส่วนปริมาณเงินฝากหรือยอดรวมของเงินทุนที่สถาบันการเงินสามารถนำไปหมุนเวียนได้นั้น ปรับตัวลดลง 3.6% สู่ระดับ 27.51 ล้านล้านเยน ขณะที่ปริมาณธนบัตรที่หมุนเวียนในระบบธนาคารปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.9% แตะระดับ 80.45 ล้านล้านเยน และปริมาณเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนในระบบ ขยับขึ้น 0.1% แตะที่ 4.51 ล้านล้านเยน สำนักข่าวเกียวโดรายงาน

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 3 เมษายน 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

9:00pm CNY

Non-Manufacturing PMI. ตัวเลข ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ที่ไม่ใช่โรงงานอุตสาหกรรมฯ ของจีน ออกมาที่ 58.0 ดีขึ้นกว่าเดิมอย่างมาก ที่อยู่ระดับ 48.4 ถือเป็นตัวเลขที่เกินกว่า 50 ประกอบกับประชาชนจีนมีจำนวนมาก ทำให้ภาพรวมการเติบโต ดีตามไปด้วย แบบนี้ ราคาทองก็มีเสถียรภาพ ในแนวโน้ม ปรับเพิ่มขึ้น ยืนเหนือ 168x ย่อมได้

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีครับ เฮียนายห้างฯ คุณ เด็กขายของ คุณ nuchaba คุณ ปุยเมฆ คุณ NongRee คุณ GB2514 คุณ Raty คุณ Mr.Li คุณ Aiya คุณ foo คุณ พลอยสีสวย คุณ เกี้ยมอี๋ คุณ พวงชมพู คุณ Racha คุณ arthas คุณ กระต่ายทอง คุณ ขาใหม่ คุณ Jumbo A คุณ nene81 คุณ modtanoiy คุณ noijaa คุณ kaykee คุณ ท่านตี๋ คุณ แมวหลวง คุณ Pasaya คุณ nufirst คุณ Madee คุณ forgame คุณ noonoon_ja คุณ luk คุณ ดอกเหมยสีทอง และทุกๆท่านครับ(ขออภัยที่เอ่ยนามไม่ครบครับ)

 

วันนี้ต้องรวมพลตีด่าน 169X ให้ได้ แล้วจะให้ดีควรยืนให้อยู่ แต่สงสัยยาก คงกลับมา 168X ปลายๆ ถ้าไม่มีขาใหญ่กระชาก คงเห็น 1700 ยากหน่อย แต่เชื่อว่าสัปดาห์นี้ 171X น่าจะมาแน่ครับ ช่วงเช้าสายบ่ายๆ เดาว่าราคาน่าจะขึ้นก่อน ถ้าเปิดราคาไม่สูงอาจจะเข้าแถวๆ 167X ปลายๆ แล้วไปขายแถว 169X น่าจะพอได้บ้างนะครับ ระวังกลางคืนอาจจะมีย่อบ้าง หลุด 1660 แนวโน้มคงไม่สวยและคิดว่าไม่น่าลงไปขนาดนั้นครับ

 

สรุป วันนี้อาจได้เห็น 169X แล้วลุ้นให้ยืนให้อยู่ ราคาเช้าไม่แพงมาก ซื้อเอาไว้แล้วขายบ่ายหรือพรุ่งนี้นะครับ ทั้งหมดเดาครับผม :047

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

FX AUD/USD: Moving higher after strong China non-mfg PMI data

Tue, Apr 03 2012, 01:27 GMT | IFR Markets

 

Australian February retail sales +0.2% MoM, +0.3% expected

 

The market has used the excuse of stronger than expected China non-manufacturing PMI data to take the AUD/USD towards 1.0450. The China non-mfg PMI for March came in at 58 after 48.4 last month.

 

The AUD/USD will have a hard time moving significantly higher ahead of the Aus Retail Trade data in 20 minutes (01:30 GMT) and the RBA decision at 03:30 GMT. The market is looking for Aus Retail Sales to rise 0.3%. The AUD/USD trades 1.0440/45.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

LABOR CASH EARNINGS (YOY)

Actual: 0.7%Cons.: Previous:  0.0%

 

Indicator released by the Ministry of Health, Labour and Welfare shows the average income, before taxes, per regular employee. It includes overtime pay and bonuses but it doesn't take into account earnings from holding financial assets nor capital gains. Higher income puts upward pressures over consumption, therefore an increasing trend in earnings is inflationary for the Japanese economy. A higher than expected reading is bullish for the yen, while below the market consensus the result is bearish.

 

ตัวเลขรายได้ของคนญี่ปุ่น ปรับเพิ่มขึ้น 0.7%. เมื่อปีที่ผ่านมา ก่อนหักภาษี

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดียามเช้า ได้กันเป็นกอบเป็นกำ เจ้รอลงดอย ออนตอนนี้ 1677 $ 24464/24409

 

เจ้รู้สึก ตัวเองทำไมมันเหนื่อยๆ ๆๆ ช้าๆ เซ็งๆ หรือเป็นอาการเข้าวัยทอง เนื่องจากมีทองสะสมจนเกิดอาการแพ้

 

เมื่อยเนื้ิอเมื่อยต้ว เย็นนี้รอที่รักหลังจากกินปลาแซลม่อนแล้ว มาเปิดประตูลม และนวดชมับ ให้เจ้หน่อย จะได้โล่ง

 

ข้อความนี้ ส่งถึง คนดีขยี้(ใจ) อาการแบบนั้นเค้าเรียกว่า ค้างจากการไม่ได้กด ซื้อ-ขายมาเป้็นระยะเวลานาน สารแห่งความตื่นเต้น ไม่ได้หลั่งออกมาทำงานบ้าง ดูชาวบ้านเค้า กด เค้า เสียว กันได้ค่าขนมค่าแซลม่อนกันไป เอาอย่างนี้ครับ เจ้ หาข้อมูลพอสมควร เอาแบบเหมาะสม ไม่ต้องอ่านมากเกินไป เดี๋ยวมันจะล้น หาจังหวะเข้ากด แล้วเจ้จะสบายเนื้อสบายตัว

 

ประตู(ลม)ก็อยากเปิด ใจอยากแง้ม(แหวก)ม่าน เข้าไปดูห้องเจ้มากกว่า น่าจะผ่านการทำความสะอาดแล้วเปิดพัดลมสะจนเย็นฉ่ำ อิอิ :uu

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

EUR/USD Apr 03 at 01:37 GMT

1.3343/46 (0.18%)

H1.3358 L 1.3312

ค่าเงินยูโร ตอนนี้ เริ่มดีดขึ้นมาแล้ว ในช่วงเปิดตลาดเอเชีย ทั้งจากข้อมูลของ จีน ญี่ปุ่น แบะ ออสเตรเลีย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดหุ้นยุโรปปิดพุ่งขึ้นแข็งแกร่งเมื่อคืนนี้ (2 เม.ย.) เนื่องจากนักลงทุนขานรับรายงานที่ว่า ภาคการผลิตของจีนและสหรัฐที่ขยายตัวแข็งแกร่งเกินคาด ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถชดเชยปัจจัยลบจากรายงานที่ว่า ภาคการผลิตของยูโรโซนหดตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 ในเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา

 

ดัชนี Stoxx Europe 600 พุ่งขึ้น 1.5% ปิดที่ 267.16 จุด ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นแข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 13 มี.ค.

 

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีพุ่งขึ้น 109.82 จุด หรือ 1.58% ปิดที่ 7,056.65 จุด ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสดีดตัวขึ้น 39.10 จุด หรือ 1.14% ปิดที่  3,462.91 จุด และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 5874.89 บวก 106.44 จุด

 

ตลาดหุ้นยุโรปทะยานขึ้นถ้วนหน้า หลังจากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวขึ้นแตะ 53.4 จุดในเดือนมี.ค. จากระดับ 52.4 ในเดือนก.พ. ซึ่งสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 53 จุด

 

นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากรายงานของสหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีน (CFLP) ที่ระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ( PMI) ภาคการผลิตจีนอยู่ที่ระดับ 53.1 ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน และเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.ปีที่แล้ว

 

ข้อมูลดังกล่าวสามารถชดเชยปัจจัยลบจากรายงานของมาร์กิต อิโคโนมิกส์ที่ระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของยูโรโซน หดตัวลงแตะ 47.7 จุดในเดือนมีนาคม จาก 49 จุดในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นการหดตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8

 

หุ้นออริเฟลม คอสเมติกส์ พุ่งขึ้น 2.6% หลังจากมีรายงานว่าบริษัท โคตี้ อิงค์ เสนอซื้อกิจการบริษัท เอวอน โพรดักส์ มูลค่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์

 

อย่างไรก็ตาม หุ้นบริษัทผลิตรถยนต์รายใหญ่ เช่น เปอร์โยต์ ร่วงลง 3.3% และหุ้นเรโนลท์ ดิ่งลง 1.3%

 

นักลงทุนจับตาดูการเปิดเผยตัวเลขประมาณการ GDP ไตรมาส 4/54 ครั้งที่ 3 ของกลุ่มสหภาพยุโรป (อียู) ซึ่งจะมีขึ้นในวันนี้เวลา 16.00 น.ตามเวลาไทย

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 3 เมษายน 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...