ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

น้องทองคงหลงทาง ยังวนเวียนกลับมาที่เดิม ไม่ไปไหน ขาใหญ่ซื้อเข้าทุกวัน แล้วแมงเม่าอย่างเราควรทำอย่างไรดี แนะนำด้วยนะครับ

สำหรับตัวเด็กขายของ " มีของติดตัว มีเงินทุนรอถัว ใจเย็นรอราคา " จุดต่ำที่จะลงคือ ต่ำกว่า 1754 ถ้าต่ำกว่า 1754 แล้ว ตัวใครตัวมัน ถ้ายังไม่ต่ำกว่า 1754 ลุ้นเสียวขึ้นต่อได้ ส่วนด้านบน 1790 ผ่าน 1792 ไปได้ ก็ไปพาคนลงดอย ถ้าไม่ผ่าน ปิดเทอมพอดี ทัศนศึกษาดอย ปี 2 ครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธปท. เปิดรายงานการประชุมบอร์ดกนง.ครั้งที่ 6/2555 (19/09/2555)

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน  (กนง.) ครั้งที่ 6/2555 เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2555 ระบุว่า คณะกรรมการฯ มีมติ 3  ต่อ 2 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยจะติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลก อุปสงค์ในประเทศ และการขยายตัวของสินเชื่ออย่างใกล้ชิด และพร้อมดำเนินนโยบายที่เหมาะสมต่อไป มติเสียงส่วนใหญ่ใน กนง.ประเมินว่า แม้เศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบจาก เศรษฐกิจโลกมากขึ้น แต่การลดดอกเบี้ยคงไม่สามารถชดเชยผลกระทบดังกล่าว ในขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศยังดีอยู่ ซึ่งจะสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อไปได้ ภาวะการเงินยังคงอยู่ในระดับผ่อนปรนและเอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไปอยู่แล้ว

 

โดยสินเชื่อภาคเอกชนโดยรวมขยายตัวเร็วต่อเนื่อง ในขณะที่สินเชื่อบางประเภทขยายตัวในอัตราสูงมาก ซึ่งควรต้องเฝ้าระวังความไม่สมดุลที่อาจก่อตัวขึ้นในระยะต่อไป การลดอัตราดอกเบี้ยอาจเพิ่มความเสี่ยงดังกล่าว และ ความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกในลักษณะ tail risk ยังมีอยู่ จึงควรสงวนการใช้นโยบายการเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจไว้ก่อนเพื่อใช้ในยามที่จำเป็น  ขณะที่กรรมการฯ เสียงข้างน้อยเห็นควรให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้ลงร้อยละ 0.25 ต่อปีโดยประเมินว่า เศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอจะมีผลกระทบสำคัญต่อภาคการส่งออก

 

 แม้อุปสงค์ภาคเอกชนในประเทศขยายตัวดีในช่วงที่ผ่านมา แต่แรงกระตุ้นด้านการคลังต่ กว่าคาด และการเร่งตัวของการลงทุนภาคเอกชนในส่วนของการซ่อมสร้างจากเหตุการณ์อุทกภัยจะชะลอลง รวมทั้งมาตรการคืนภาษีรถยนต์คันแรกจะหมดอายุในระยะต่อไป และ นโยบายการเงินต้องใช้เวลาในการส่งผ่าน ดังนั้น ควรผ่อนคลายนโยบายการเงินตั้งแต่วันนี้เพื่อช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีหน้า อีกทั้งจะเป็นการส่งสัญญาณให้ภาคธุรกิจเตรียมพร้อมรับมือกับความเสี่ยงที่อาจสูงขึ้นในระยะต่อไป

 

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการฯ เห็นร่วมกันว่าเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันมีความเสี่ยงด้านการเติบโตมากกว่าความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ โดยอุปสงค์ในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดีแต่ผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกต่อภาคการส่งออกคาดว่าจะมากขึ้นในระยะต่อไป ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ไม่น่ากังวลใจ ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้นโยบายการเงินสามารถผ่อนคลายเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่ควรพิจารณาใช้ในจังหวะที่เหมาะสม

 

นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ สรุปว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 55 ยังใกล้เคียงกับประมาณการครั้งก่อน เพราะการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวสูงช่วยชดเชยผลกระทบของเศรษฐกิจโลกต่อภาคการส่งออก แต่ในปี 56 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวต่ำกว่าประมาณการเดิม จากผลกระทบของเศรษฐกิจโลกที่มากขึ้นและแรงกระตุ้นภาครัฐที่มีแนวโน้มจะล่าช้าออกไปบางส่วน แรงกดดันเงินเฟ้อลดลงตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอ โดยประมาณการอัตราเงินเฟ้อในระยะต่อไปอยู่ใกล้เคียงกับค่ากึ่งกลางของเป้าหมาย

 

ด้านสินเชื่อภาคเอกชนที่ขยายตัวได้ในระดับสูงต่อเนื่องเป็นสัญญาณว่าอุปสงค์ในประเทศยังมีแนวโน้มที่ดี และสถาบันการเงินยังมีความมั่นใจในการปล่อยสินเชื่อ  อย่างไรก็ดี กรรมการส่วนหนึ่งมีข้อสังเกตเกี่ยวกับสินเชื่อบางประเภทที่ขยายตัวสูงเป็นพิเศษ เช่น สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ สินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์บางส่วน  และเห็นควรให้เฝ้าติดตามเพื่อป้องกันความไม่สมดุลที่อาจก่อตัวขึ้นในระบบเศรษฐกิจการเงิน

 

ทั้งนี้ กนง.เห็นว่าตลาดการเงินโลกมีเสถียรภาพมากขึ้นเมื่อเทียบกับการประชุมครั้งก่อน เพราะตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ เช่น ยอดการค้าปลีกของสหรัฐฯ และภาวะเศรษฐกิจเยอรมนีและฝรั่งเศส ออกมาดีกว่าที่ตลาดประเมินไว้ ส่งผลให้นักลงทุนในตลาดการเงินโลกมีความเชื่อมั่นมากขึ้นและเพิ่มการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เงินทุนจึงไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชียทั้งตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร  ทำให้สกุลเงินภูมิภาครวมถึงค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินและตลาดพันธบัตรส่วนใหญ่ทรงตัว สะท้อนการคาดการณ์ของนักลงทุนส่วนใหญ่ว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.0 ต่อปีในการประชุมครั้งนี้ แม้นักลงทุนบางส่วนคาดว่า กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายภายในปีนี้

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 19 กันยายน 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดบวก 50 เซนต์หลังบีโอเจเพิ่มวงเงินซื้อสินทรัพย์ (20/09/2555)

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดขยับขึ้นเมื่อคืนนี้ (19 ก.ย.) หลังจากธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) สร้างความประหลาดใจให้กับตลาดด้วยการประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติม ด้วยการเพิ่มวงเงินซื้อสินทรัพย์อีก 10 ล้านล้านเยน ซึ่งข่าวดังกล่าวกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 50 เซนต์ หรือ 0.03% ปิดที่ 1,771.7 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1773.5 - 1770.0 ดอลลาร์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค.ปิดที่ 34.588 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 13 เซนต์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค.ปิดที่ 1,640.40 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 4.10 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนธ.ค.ปิดที่ 673.05 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 5.70 ดอลลาร์

 

นักลงทุนเข้าซื้อทองคำหลังจากคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของบีโอเจมีมติเป็นเอกฉันท์ในการขยายวงเงินซื้อสินทรัพย์เป็น 80 ล้านล้านเยน จากเดิม 70 ล้านล้านเยน พร้อมคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ 0-0.1% ในการประชุมเมื่อวานนี้ ซึ่งการดำเนินการของบีโอเจมีขึ้นหลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณผ่านทางการซื้อสินทรัพย์เพิ่มขึ้น ซึ่งมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบ 3 (QE3)

 

ทั้งนี้ นักลงทุนมักจะเข้าซื้อโลหะมีค่าเมื่อมีการใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงิน เพราะมาตรการดังกล่าวทำให้เกิดความวิตกกังวลว่าจะก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อและทำให้มูลค่าของเงินลดลง

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 19 กันยายน 2555)

 

ภาวะตลาดน้ำมัน: น้ำมัน WTI ปิดร่วง $3.31 หลังสต็อกน้ำมันดิบพุ่งเกินคาด (20/09/2555)

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงกว่า 3% เมื่อคืนนี้ (19 ก.ย.) ซึ่งเป็นการปรับตัวลงติดต่อกัน 3 วันทำการ หลังจากสหรัฐเปิดเผยสต็อกน้ำมันดิบที่พุ่งขึ้นเกินคาด นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากข่าวที่ว่าซาอุดิอาระเบียอาจจะเพิ่มปริมาณการผลิตเพื่อสกัดการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันดิบ

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนต.ค.ร่วงลง 3.31 ดอลลาร์ หรือ 3.5% ปิดที่ 91.98 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 91.25-96.17  ดอลลาร์

 

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ย.ที่ตลาดลอนดอน ร่วงลง 3.84  ดอลลาร์ หรือ 3.4% ปิดที่ 108.19 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 107.40-112.98 ดอลลาร์

 

สัญญาน้ำมันดิบร่วงลงหลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) รายงานว่า สต็อกน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 14 ก.ย. พุ่งขึ้น 8.53 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 367.63 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 210,000 บาร์เรล

 

ขณะที่สต็อกน้ำมันกลั่นลดลง 322,000 บาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 128.23 ล้านบาร์เรล ตรงข้ามกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 820,000 บาร์เรล และสต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 1.41 ล้านบาร์เรล แตะรดับ 196.31 ล้านบาร์เรล ตรงข้ามกับที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.7 ล้านบาร์เรล และอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันพุ่งขึ้น 4.2% สู่ระดับ 88.9% มากกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.4%

 

นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจากรายงานที่ว่า ซาอุดิอาระเบียวางแผนที่จะปรับเพิ่มการผลิตน้ำมันให้อยู่ในระดับสูงสุด เพื่อหนุนอุปทานพลังงานโลกให้ปรับตัวสูงขึ้น และเพื่อสกัดกั้นการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมัน

 

ขณะเดียวกัน ตลาดได้รับปัจจัยลบจากการที่ทำเนียบขาวยืนยันว่า เจ้าหน้าที่สหรัฐยังคงหารือกันเกี่ยวกับการระบายน้ำมันดิบออกจากคลังยุทธภัณฑ์สำรอง (Strategic Petroleum Reserve - SPR) โดยปัจจุบันสหรัฐมีน้ำมันดิบสำรองอยู่ในคลัง SPR ในปริมาณ 697 ล้านบาร์เรล ซึ่งรัฐบาลจะระบายน้ำมันออกจากคลังดังกล่าวก็ต่อเมื่อเกิดภาวะอุปทานตึงตัวที่เป็นผลมาจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ การโจมตีของผู้ก่อการร้าย และสถานการณ์ตึงเครียดทางการเมือง

 

ความวิตกกังวลเกี่ยวกับอุปทานน้ำมันที่เพิ่มขึ้นนั้น ส่งผลให้นักลงทุนเทขายสัญญาน้ำมันดิบ โดยแทบจะไม่ให้การตอบรับข่าวที่ว่าคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่นมีมติเป็นเอกฉันท์ในการขยายวงเงินซื้อสินทรัพย์เป็น 80 ล้านล้านเยน จากเดิม 70 ล้านล้านเยน พร้อมคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ 0-0.1% ในการประชุมเมื่อวานนี้

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 20 กันยายน 2555)

 

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์ร่วง หลังข้อมูลศก.สหรัฐสดใสหนุนนักลงทุนเทขาย (20/09/2555)

สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนแรงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (19 ก.ย.) เนื่องจากความแข็งแกร่งของข้อมูลด้านตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐ ทำให้นักลงทุนเทขายสกุลเงินดอลลาร์ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

 

ค่าเงินยูโรขยับขึ้น 0.09% แตะที่ 1.3058 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันอังคารที่ 1.3046 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนแรงลง 0.12% แตะที่ 1.6222 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.6242 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลง 0.57% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 78.350 เยน จากระดับ 78.800 เยน และขยับลง 0.08% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 0.9274 ฟรังค์ จากระดับ 0.9281 ฟรังค์

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียพุ่งขึ้นแตะระดับ 1.0486 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0451 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ขยับขึ้น 0.11% แตะที่  0.8279 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8270 ดอลลาร์สหรัฐ

 

นักลงทุนเทขายสกุลเงินดอลลาร์ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านเดือนส.ค.ขยับขึ้น 2.3% สู่ระดับ 750,000 ยูนิต ขณะที่สมาคมนายหน้าค้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านมือสองเดือนส.ค.พุ่งขึ้น 7.8% สู่ระดับ 4.82 ล้านยูนิตต่อปี ซึ่งเป็นการขยายตัวในอัตราที่รวดเร็วที่สุดในรอบกว่า 2 ปี หรือนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2553

 

ส่วนเงินเยนดีดตัวขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ หลังจากที่ร่วงลงอย่างหนักในช่วงแรก ภายหลังจากคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่นมีมติเป็นเอกฉันท์ในการขยายวงเงินซื้อสินทรัพย์เป็น 80 ล้านล้านเยน จากเดิม 70 ล้านล้านเยน พร้อมคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ 0-0.1% ในการประชุมเมื่อวานนี้

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 20 กันยายน 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แบงก์ชาติญี่ปุ่นตามรอยเฟด อัดฉีดเงินหนุนเศรษฐกิจ (20/09/2555)

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ตัดสินใจใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติมอย่างเหนือความคาดหมาย หลังธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟดออกมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ รอบ 3 (QE3) ไม่ถึงสัปดาห์ หวังต้านภาวะเงินฝืด ค่าเงินเยนแข็งและเศรษฐกิจโลกชะลอตัว

 

 วอลล์สตรีต เจอร์นัลรายงานว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายของแบงก์ชาติแดนปลาดิบมีมติเพิ่มขนาดโปรแกรมซื้อตราสาร ซึ่งเป็นเครื่องมือหลักในการผ่อนคลายทางการเงินเป็น 80 ล้านล้านเยน (1.01 ล้านล้านดอลลาร์) จากเดิม 70 ล้านล้านเยน พร้อมทั้งขยายเวลาสิ้นสุดโปรแกรมออกไปอีก 6 เดือน ถึงสิ้นปี 2556

 

 แม้นักวิเคราะห์ประเมินไว้ว่า BOJ จะเข็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาในเร็วๆ นี้ แต่ความเคลื่อนไหวทั้งเพิ่มมูลค่าการซื้อตราสารและยืดระยะเวลาออกไปเป็นสิ่งที่เกินความคาดหมายของตลาด แม้แต่จุน อาซุมิ รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่นยังยอมรับว่า " BOJ เคลื่อนไหวมากกว่าที่เราคาดไว้"

 

 BOJ จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นเพิ่ม 5 ล้านล้านเยนภายในสิ้นปี 2556 และซื้อตั๋วเงินคลังอีก 5 ล้านล้านเยนภายในสิ้นเดือนมิถุนายน 2556 ส่วนอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังคงตรึงไว้ที่ 0.0%-0.1%

 

 การตัดสินใจของแบงก์ชาติญี่ปุ่นเกิดขึ้นไล่หลังความเคลื่อนไหวของธนาคารกลางสำคัญๆ แห่งอื่น อาทิ เฟดปล่อย QE3 เมื่อสัปดาห์ที่แล้วซึ่งสร้างแรงกดดันให้กับค่าเงินเยน ส่วนช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาธนาคารกลางยุโรปหรืออีซีบี ก็ประกาศเข้าแทรกแซงตลาดพันธบัตรประเทศสมาชิกยูโรโซนที่มีปัญหาต้นทุนกู้ยืมสูงแบบไม่จำกัดจำนวน

 

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ (วันที่ 19 กันยายน 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รัฐมั่นใจผลกระทบ QE3 เอาอยู่ (20/09/2555)

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวถึงผลจากมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบ 3 (QE3) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ว่าอาจส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นบ้างเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ แต่เมื่อเทียบกับค่าเงินของหลายประเทศแล้วยังเห็นว่าค่าเงินบาทยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยเชื่อว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะดูแลค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้

 

“ข้อมูลที่นำเสนอโดยแบงก์ชาติ เรามีค่าเงินที่แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ แต่มีหลายประเทศแข็งค่าขึ้นมากกว่า เมื่อเทียบในฐานะที่เป็นคู่ค้ากับประเทศเหล่านั้น ค่าเงินเรายังอยู่ในเกณฑ์ปกติ จริงๆ อาจจะอ่อนลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับหลายๆ ประเทศ ซึ่งเชื่อว่า แบงก์ชาติ จะดูแลให้ค่าเงินเราอยู่ในระดับที่เหมาะสม” รองนายกฯ และ รมว.คลัง กล่าวภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ

 

นอกจากนี้ ธปท.ยังได้รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยต่อที่ประชุมว่า สภาพคล่องทางการเงินในขณะนี้ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ในระดับที่ดีไม่มีข้อกังวล การจ้างงานอยู่ในภาวะปกติ อัตราการว่างงานเพียง 0.7% เท่านั้น

 

นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า การประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ซึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ติดตามงานโดยเฉพาะของกระทรวงพาณิชย์ในเรื่องการดูแลการส่งออกสินค้ารายอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งคาดว่าอีกไม่กี่สัปดาห์นี้ กระทรวงพาณิชย์ จะสรุปรายละเอียดของสถานการณ์การส่งออกในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมได้ ขณะที่กระทรวงการคลังจะหารือกับภาคเอกชนเพื่อพิจารณากฎระเบียบตลอดจนมาตรการด้านภาษีเพื่อให้เอื้ออำนวยต่อการส่งออกได้ยิ่งขึ้น

 

ด้าน น.ส.อุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารแสตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด (ไทย) กล่าวว่า ค่าเงินบาทไทยในระยะสั้นยังมีแนวโน้มแข็งค่าอยู่ เป็นผลจากปัจจัยเรื่อง คิวอี3 รวมถึงราคาทองคำที่ปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งช่วงนี้ค่าเงินบาทจะมีสุดทดสอบสำคัญอยู่ที่ 30.50 บาทต่อดอลลาร์

 

“ช่วงนี้ตลาดยังตอบรับข่าวเชิงบวกจากมาตรการคิวอี สร้างแรงกดดันต่อเงินบาทระยะสั้น ประกอบกับราคาทองคำที่เพิ่มขึ้น ทำให้นักลงทุนไทยเทขายทองคำออกมาและนำเงินที่ได้แปลงกลับมาเป็นเงินบาท จึงยิ่งเป็นปัจจัยซ้ำเติมให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ดังนั้นแล้วระยะสั้นเงินบาทยังมีแรงกดดันจากการแข็งค่าอยู่”

 

ส่วนแนวโน้มในช่วง 6 เดือนข้างหน้า น.ส.อุสรา กล่าวว่า ค่าเงินบาทมีแนวโน้มว่าจะผันผวนมากขึ้น และมีโอกาสที่จะกลับมาอ่อนค่าลงอีกครั้ง เนื่องจากข่าวร้ายจากกลุ่มประเทศยุโรปยังไม่จบ โดยปัจจัยที่ต้องติดตามเป็นเรื่อง อันดับเครดิตของกลุ่มประเทศยุโรป เพราะตลาดเริ่มมีความกังวลว่าบางประเทศอาจถูกปรับลดลง

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์บ้านเมือง (วันที่ 20 กันยายน 2555)

 

ปล. แต่ถ้าเอาไม่อยู่ แบบน้ำท่วม ก็เพราะเป็นเหตุสุดวิสัย เป็นเรื่องของธรรมชาติ ที่ปลาใหญ่ย่อมกินปลาเล็ก ซึ่งจะทุ่มงินไม่อั้น ไม่ชลอ

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อรุณสวัสดิ์เช้าวันพฤหัส ครับทุกๆท่าน

ราคาทองดีดขึ้นแล้วก็ไหลลง แต่ยังคงอยู่ในระดับสูง

ราคาทองคงยังสูงไม่พอใจกองทุนที่จะขายทำกำไร

ออกมาในปริมาณมากๆได้ เลยต้องเลี้ยงระดับไว้ก่อน

งานนี้คงต้องเดาใจกองทุนกันให้ดีแหละครับ

ขอให้ทุกท่านโชคดีครับ

 

 

น้ำมันดิ่งอีก$3หลังซาอุฯแย้มผลิตเพิ่ม หุ้นสหรัฐฯ-ทองคำปิดแคบ blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 กันยายน 2555 04:28 น.

 

blank.gif blank.gif 555000012192801.JPEG blank.gif เอเอฟพี - น้ำมันดิ่งแรงกว่า 3 ดอลลาร์เมื่อวันพุธ(19) หลังซาอุฯแย้มอาจช่วยเพิ่มกำลังผลิตเพื่อฉุดราคาให้ลดต่ำลง ส่วนวอลล์สตรีท ปิดบวกเล็กน้อย จากแรงหนุนของข้อมูลภาคอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่ทองคำทรงตัว นักลงทุนรอฟังข่าวคราวความเคลื่อนไหวในยุโรโซน

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนตุลาคม ลดลง 3.31 ดอลลาร์ ปิดที่ 91.98 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนพฤศจิกายน ลดลง 3.84 ดอลลาร์ ปิดที่ 108.19 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ความเคลื่อนไหวในแดนลบของตลาดน้ำมัน มีขึ้นหลังจากหนังสือพิมพ์ไฟแนลเชียลไทม์สรายงานว่าซาอุดีอาระเบีย ชาติผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดของโลก เปิดเผยว่าอาจช่วยเพิ่มกำลังผลิตเพิ่มเติม เนื่องจากหวั่นกลัวว่าราคาน้ำมันที่สูงเกินไปจะส่งกระทบต่อเศรษฐกิจโลกที่ กำลังง่อนแง่น

 

ขณะเดียวกันราคาน้ำมันยังถูกกดดันเพิ่มเติมจากรายงานคลังน้ำมันดิบ สำรองประจำสัปดาห์ของสหรัฐฯ ที่พบว่าสต็อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นอย่างมาก บ่งชี้ถึงอุปสงค์อันอ่อนแอในชาติผู้บริโภคยักษ์ใหญ่

 

ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(19) ขยับขึ้นเล็กน้อย หลังข้อมูลยอดขายบ้านและราคาน้ำมันลดต่ำลง ก่อความหวังว่าเศรษฐกิจอันเปราะบางจะฟื้นตัวขึ้นมาบ้าง

 

ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 13.47 จุด (0.10 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 13,578.11 จุด แนสแดค เพิ่มขึ้น 4.82 จุด (0.15 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 3,182.62 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 1.77 จุด (0.12 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,461.09 จุด

 

หุ้นของกลุ่มบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างช่วยดันให้วอลล์สตรีท ขยับขึ้นมาปิดในแดนบวก หลังพบข้อมูลยอดขายบ้านมือสองแข็งแกร่งเดินคาดหมาย นอกจากนี้วอลล์สตรีท ยังได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มบริษัทผู้ผลิตรถยนต์อีกด้วย

 

ส่วนราคาทองคำวานนี้(19) ปิดบวกในในกรอบแคบๆ 2 วันตืด หลังนักลงทุนชะลอการเข้าซื้อหรือเทขาย เพื่อรอฟังข่าวใหม่เกี่ยวกับปัญหาหนี้สินในยูโรโซน โดยทองคำตลาดโคเมกซ์ของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนธันวาคม เพิ่มขึ้น 50 เซนต์ ปิดที่ 1,771.70 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แบงก์ชี้ผลคิวอี3ทำเงินบาท-ทองผันผวน คาด6เดือนข้างหน้ารุนแรงกว่านี้ วิกฤติอียูยังไม่จบ-หนี้เน่ารุมซ้ำ (20/09/2555)

น.ส.อุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด (ไทย) กล่าวว่า ค่าเงินบาทไทยในระยะสั้นยังมีแนวโน้มแข็งค่าอยู่ เป็นผลจากปัจจัยเรื่อง คิวอี3 รวมถึงราคาทองคำที่ปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งช่วงนี้ค่าเงินบาทจะมีจุดทดสอบสำคัญอยู่ที่ 30.50 บาทต่อดอลลาร์

 

 “ช่วงนี้ตลาดยังตอบรับข่าวเชิงบวกจากมาตรการคิวอี สร้างแรงกดดันต่อเงินบาทระยะสั้นประกอบกับราคาทองคำที่เพิ่มขึ้น ทำให้นักลงทุนไทยเทขายทองคำออกมา และนำเงินที่ได้แปลงกลับมาเป็นเงินบาท จึงยิ่งเป็นปัจจัยซ้ำเติมให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ดังนั้นแล้วระยะสั้นเงินบาทยังมีแรงกดดันจากการแข็งค่าอยู่”

 

ส่วนแนวโน้มในช่วง 6 เดือนข้างหน้า น.ส.อุสรา กล่าวว่า ค่าเงินบาทมีแนวโน้มว่าจะผันผวนมากขึ้น และมีโอกาสที่จะกลับมาอ่อนค่าลงอีกครั้ง เนื่องจากข่าวร้ายจากกลุ่มประเทศยุโรปยังไม่จบ โดยปัจจัยที่ต้องติดตามเป็นเรื่องอันดับเครดิตของกลุ่มประเทศยุโรป เพราะตลาดเริ่มมีความกังวลว่าบางประเทศอาจถูกปรับลดลง

 

นอกจากนี้ ยังต้องติดตามการทดสอบภาวะวิกฤติ (Stress Test) ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ของยุโรปด้วยว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง เนื่องจากตลาดการเงินเองเริ่มคาดการณ์กันบ้างแล้วว่า อาจมีธนาคารพาณิชย์จากยุโรปหลายแห่งที่ไม่สามารถผ่านการทดสอบได้ อีกทั้งยังต้องติดตามปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของธนาคารพาณิชย์เหล่านี้ด้วย เพราะตัวเลขเอ็นพีแอลล่าสุดที่ออกอยู่ที่ประมาณ 9.8% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงขึ้นต่อเนื่อง

 

น.ส.อุสรา กล่าวด้วยว่า อีกประเด็นที่ต้องติดตาม คือ สเปนจะขอรับการช่วยเหลืออย่างเป็นทางการจากสหภาพยุโรปเช่นเดียวกับที่กรีซได้ดำเนินการไปหรือไม่ ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่รออยู่ข้างหน้า และคงมีผลต่อความผันผวนของค่าเงินบาทด้วย

 

ด้านนายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย (ทีเอ็มบี) เปิดเผยว่า การส่งออกไทยได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลกหนักกว่าที่คาดไว้ โดยเฉพาะสินค้าเกษตร และสินค้าอื่นๆ ทำให้สินเชื่อก็ลดลงตามไปด้วย แต่ก็เชื่อว่านักธุรกิจจะมีแผนรับมือมากขึ้นและเตรียมพร้อมกับเรื่องนี้

 

“การส่งออกโดยรวมทั้งประเทศอาจมีผลกระทบในระยะยาว ปัญหาตอนนี้เกิดกับตลาดยุโรปและอาเซียน เริ่มเห็นสัญญาณจากที่ลูกค้าส่งออกของธนาคาร มีวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนลดลง และลูกค้าในกลุ่มส่งออกคิดเป็น 30-40% ของลูกค้าทั้งหมดของธนาคาร”

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า (วันที่ 19 กันยายน 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ ​และตลาด​เงินต่างประ​เทศ

ข่าวต่างประ​เทศ สำนักข่าวอิน​โฟ​เควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 20 กันยายน 2555 07:49:45 น.

 

ตลาดหุ้นยุ​โรปปิดบวก​เมื่อคืนนี้ (19 ก.ย.) หลังจากธนาคารกลางญี่ปุ่น (บี​โอ​เจ) ประกาศ​ใช้มาตร​การกระตุ้น​เศรษฐกิจ​เพิ่ม​เติม นอกจากนี้ ตลาดยังขานรับข้อมูลด้านตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐ

ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวขึ้น 0.4% ปิดที่ 274.9 จุด

 

ดัชนี DAX ตลาดหุ้น​เยอรมนีปิดที่ 7390.76 จุด บวก 43.07 จุด ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่ง​เศสปิดที่ 3531.82 จุด บวก 19.13 จุด ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 5888.48 จุด บวก 20.32 จุด

Click here to find out more!

 

-- ดัชนีดาว​โจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวก​เมื่อคืนนี้ (19 ก.ย.) หลังจากสหรัฐ​เปิด​เผยข้อมูลที่สะท้อน​ถึง​ความ​แข็ง​แกร่งของตลาดที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ ตลาดยัง​ได้​แรงหนุนจากข่าวธนาคารกลางญี่ปุ่น (บี​โอ​เจ) ประกาศ​ใช้มาตร​การผ่อนคลายทาง​การ​เงิน​เพิ่ม​เติม ด้วย​การ​เพิ่มวง​เงินซื้อสินทรัพย์อีก 10 ล้านล้าน​เยน​ใน​การประชุมวานนี้

 

ดัชนี​เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาว​โจนส์​เพิ่มขึ้น 13.32 จุด ​หรือ 0.10% ปิดที่ 13,577.96 จุด ดัชนี S&P 500 ขยับขึ้น 1.73 จุด ​หรือ 0.12% ปิดที่ 1,461.05 จุด ​และดัชนี Nasdaq ​เพิ่มขึ้น 4.82 จุด ​หรือ 0.15% ปิดที่ 3,182.62 จุด

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดขยับขึ้น​เมื่อคืนนี้ (19 ก.ย.) หลังจากธนาคารกลางญี่ปุ่น (บี​โอ​เจ) สร้าง​ความประหลาด​ใจ​ให้กับตลาดด้วย​การประกาศ​ใช้มาตร​การผ่อนคลายทาง​การ​เงิน​เพิ่ม​เติม ด้วย​การ​เพิ่มวง​เงินซื้อสินทรัพย์อีก 10 ล้านล้าน​เยน ​ซึ่งข่าวดังกล่าวกระตุ้น​ให้นักลงทุน​เข้าซื้อทองคำ​ซึ่ง​เป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบ​เดือนธ.ค.​เพิ่มขึ้น 50 ​เซนต์ ​หรือ 0.03% ปิดที่ 1,771.7 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจาก​เคลื่อนตัว​ในช่วง 1773.5 - 1770.0 ดอลลาร์

สัญญา​โลหะ​เงินส่งมอบ​เดือนธ.ค.ปิดที่ 34.588 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 13 ​เซนต์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบ​เดือนต.ค.ปิดที่ 1,640.40 ดอลลาร์/ออนซ์ ​เพิ่มขึ้น 4.10 ดอลลาร์ ​และสัญญาพัลลา​เดียมส่งมอบ​เดือนธ.ค.ปิดที่ 673.05 ดอลลาร์/ออนซ์ ​เพิ่มขึ้น 5.70 ดอลลาร์

 

-- สัญญาน้ำมันดิบ​เวสต์​เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงกว่า 3% ​เมื่อคืนนี้ (19 ก.ย.) ​ซึ่ง​เป็น​การปรับตัวลงติดต่อกัน 3 วัน​ทำ​การ หลังจากสหรัฐ​เปิด​เผยสต็อกน้ำมันดิบที่พุ่งขึ้น​เกินคาด นอกจากนี้ ตลาดยัง​ได้รับ​แรงกดดันจากข่าวที่ว่าซาอุดิอาระ​เบียอาจจะ​เพิ่มปริมาณ​การผลิต​เพื่อสกัด​การพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันดิบ

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบ​เดือนต.ค.ร่วงลง 3.31 ดอลลาร์ ​หรือ 3.5% ปิดที่ 91.98 ดอลลาร์/บาร์​เรล หลังจาก​เคลื่อนตัว​ในช่วง 91.25-96.17 ดอลลาร์

 

สัญญาน้ำมันดิบ​เบรนท์ (BRENT) ส่งมอบ​เดือนพ.ย.ที่ตลาดลอนดอน ร่วงลง 3.84 ดอลลาร์ ​หรือ 3.4% ปิดที่ 108.19 ดอลลาร์/บาร์​เรล หลังจาก​เคลื่อนตัว​ในช่วง 107.40-112.98 ดอลลาร์

 

-- สกุล​เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อน​แรงลง​เมื่อ​เทียบกับสกุล​เงินอื่นๆ ​ใน​การซื้อขายที่ตลาดปริวรรต​เงินตรานิวยอร์ก​เมื่อคืนนี้ (19 ก.ย.) ​เนื่องจาก​ความ​แข็ง​แกร่งของข้อมูลด้านตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐ ​ทำ​ให้นักลงทุน​เทขายสกุล​เงินดอลลาร์​ซึ่ง​เป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

 

ค่า​เงินยู​โรขยับขึ้น 0.09% ​แตะที่ 1.3058 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันอังคารที่ 1.3046 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่​เงินปอนด์อ่อน​แรงลง 0.12% ​แตะที่ 1.6222 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.6242 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่า​เงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลง 0.57% ​เมื่อ​เทียบกับ​เงิน​เยนที่ระดับ 78.350 ​เยน จากระดับ 78.800 ​เยน ​และขยับลง 0.08% ​เมื่อ​เทียบกับฟรังค์สวิสที่ 0.9274 ฟรังค์ จากระดับ 0.9281 ฟรังค์

 

ค่า​เงินดอลลาร์ออส​เตร​เลียพุ่งขึ้น​แตะระดับ 1.0486 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0451 ดอลลาร์สหรัฐ ​และค่า​เงินดอลลาร์นิวซี​แลนด์ขยับขึ้น 0.11% ​แตะที่ 0.8279 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8270 ดอลลาร์สหรัฐ

 

-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดบวก​เมื่อคืนนี้ (19 ก.ย.) หลังจากธนาคารกลางญี่ปุ่น (บี​โอ​เจ) ประกาศ​ใช้มาตร​การกระตุ้น​เศรษฐกิจ​เพิ่ม​เติม นอกจากนี้ ตลาดยังขานรับข้อมูลด้านตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐ

 

​ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ปิดบวก 20.32 จุด ​หรือ 0.35% ​แตะที่ 5,888.48 จุด หลังจาก​เคลื่อนตัว​ในช่วง 5,861.01-5,894.39 จุด

--อิน​โฟ​เควสท์ ​แปล​และ​เรียบ​เรียง​โดย รัตนา พงศ์ทวิช ​โทร.02-2535000 ต่อ 327 อี​เมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

http://www.ryt9.com/s/iq03/1492760

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดซื้อขายดอลลาร์/เยน:เยนดีดตัวขึ้นเช้านี้ (20/09/2555)

เยนรักษาแรงบวกในช่วงเช้านี้ที่ตลาดเอเชีย หลังจากที่ดีดตัวขึ้นอย่างไม่คาด คิดเมื่อแรงขายในช่วงแรกต่อการผ่อนคลายนโยบายของธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) เริ่มชะลอตัวลง ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสช่วยหนุนดอลลาร์นิวซีแลนด์

 

 

ในช่วงเช้านี้ ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 78.39 โดยปรับตัวลงจากระดับสูงสุดในรอบ 1 สัปดาห์ที่ 79.23 ที่ทำไว้เมื่อวานนี้ หลังจากที่บีโอเจได้เพิ่มวงเงินในโครงการซื้อสิน ทรัพย์เพื่อช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น

 

 

เยนยังฟื้นตัวขึ้นเมื่อเทียบกับยูโรและสกุลเงินของประเทศผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ ส่งผลให้ยูโรร่วงสู่ 102.30 เยน จากระดับสูงสุดที่ 103.63 เยน และดอลลาร์ออสเตร เลียร่วงลงมาที่ 82.07 เยน

 

 

การดีดตัวขึ้นของเยนสร้างความผิดหวังให้แก่เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่น ซึ่งรีบออกมาชี้ แจงถึงการแข็งค่าของเยนหลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ออกมาตรการผ่อนคลาย เชิงปริมาณรอบ 3 (QE3) ในสัปดาห์ที่แล้ว

นักวิเคราะห์บางคนระบุถึงการกำหนดเพดานในโครงการของบีโอเจ ซึ่งตรงข้าม กับโครงการแบบเปิดของเฟด

"โครงการของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และเฟดเป็นแบบไม่จำกัด ส่วนของ บีโอเจถูกกำหนดไว้ที่ 10 ล้านล้านเยน" นายคริสโตเฟอร์ เวจจิโอ นักวิเคราะห์สกุลเงิน จาก DailyFX ตั้งข้อสังเกต

 

 

เทรดเดอร์กล่าวว่า โครงการของเฟดประสบความสำเร็จมากกว่าในการทำให้ ดอลลาร์อ่อนค่าลง และดัชนีดอลลาร์อยู่ที่ 79.102 โดยยังคงพยายามฟื้นตัวขึ้นจากระดับต่ำ สุดในรอบ 6 เดือนที่ 78.601 ที่ทำไว้เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว

 

 

ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.3047 โดยทรงตัวต่ำกว่าระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือนที่ 1.3173 ที่ทำไว้เมื่อวันจันทร์ ขณะที่ตลาดรอดูว่า สเปนจะขอความช่วยเหลือและใช้โครง การซื้อพันธบัตรของอีซีบีหรือไม่

 

 

ดอลลาร์นิวซีแลนด์ได้ปัจจัยหนุนจากข้อมูลที่ว่า เศรษฐกิจของนิวซีแลนด์ขยายตัว 0.6% ในไตรมาส 2 ซึ่งมากกว่าที่คาดไว้ 2 เท่า

 

 

ดอลลาร์นิวซีแลนด์/ดอลลาร์พุ่งแตะระดับสูงสุดของวันที่ 0.8300 และคาดว่าแนว ต้านเส้นแรกอยู่ที่ 0.8354 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือนที่ทำไว้เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว

 

 

ดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลงแตะระดับ 1.2620 ดอลลาร์นิวซีแลนด์ จากระดับสูง สุดในช่วงแรกที่ 1.2710 ดอลลาร์นิวซีแลนด์ และดอลลาร์ออสเตรเลียอยู่ที่ 1.0475 ดอล ลาร์ ยังคงอยู่ใกล้ระดับสูงสุดของวันศุกร์ที่ 1.0625 ดอลลาร์

 

 

ตลาดกำลังรอดูข้อมูลดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตจีนของเอชเอส บีซีในเวลา 9.30 น.ตามเวลาไทยวันนี้ ซึ่งสัญญาณเพิ่มเติมที่แสดงถึงภาวะชะลอตัวจะทำให้ ดอลลาร์ออสเตรเลียเผชิญกับแรงกดดัน ขณะที่จีนเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดแห่งเดียวของออส เตรเลีย

 

ที่มา : ทันหุ้น (วันที่ 20 กันยายน 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เมอร์ริล ลินช์คาดราคาทอง​แตะ 2,400 ดอลล์/ออนซ์ภาย​ในปี 2557

ข่าวต่างประ​เทศ สำนักข่าวอิน​โฟ​เควสท์ (IQ) -- พุธที่ 19 กันยายน 2555 14:45:00 น.

 

นักวิ​เคราะห์ของ​แบงก์ ออฟ อ​เมริกา ​เมอร์ริล ลินช์ (BofA Merrill Lynch) คาดว่าราคาทองจะ​แตะระดับ 2,400 ดอลลาร์/ออนซ์ภาย​ในสิ้นปี 2557 อัน​เป็นผลจากมาตร​การผ่อนคลาย​เชิงปริมาณรอบ​ใหม่ ​หรือ QE3 ของธนาคารกลางสหรัฐ (​เฟด)

 

​การคาด​การณ์ราคาทองที่ระดับดังกล่าวสะท้อนมุมมองของ BofA ที่ว่า​เฟดจะยังคง​ใช้มาตร​การ QE3 ​ไปจน​ถึงสิ้นปี 2557

 

​ใน​การประชุม​เมื่อสัปดาห์ที่​แล้ว ​เฟดมีมติคงอัตราดอก​เบี้ยระยะสั้น (fed funds rate) ที่ระดับ 0 - 0.25 % พร้อมขยายระยะ​เวลา​การคงอัตราดอก​เบี้ยที่ระดับต่ำ​เป็นพิ​เศษออก​ไปจน​ถึงกลางปี 2558 จาก​เดิมที่กำหนด​ไว้​ถึงช่วงกลางปี 2557 นอกจากนี้ ​เฟดยัง​ได้ประกาศ​ใช้มาตร​การผ่อนคลาย​เชิงปริมาณรอบที่ 3 (QE3) ด้วย​การ​เข้าซื้อพันธบัตรวง​เงิน 4 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อ​เดือน

 

นักวิ​เคราห์กล่าวว่า ​เมื่อพิจารณา​ถึงมาตร​การ QE3 ครั้งล่าสุดที่​เป็น​แบบ​เปิดกว้าง ราคาทองน่าจะยังคง​ได้รับ​แรงหนุน​ให้ปรับตัว​ในช่วงขาขึ้น จนกว่าตลาด​แรงงานของสหรัฐจะมี​ความ​แข็ง​แกร่ง​เพียงพอที่จะสามารถปรับ​เปลี่ยนน​โยบาย​ได้ ​ซึ่งภาว​การณ์ดังกล่าว​ไม่มี​แนว​โน้มจะ​เกิดขึ้นจนกว่าจะ​ถึงสิ้นปี 2557

 

นอกจากนี้ BofA ยังคง​เป้าหมายราคาทองระยะ 6 ​เดือน​ไว้ที่ 2,000 ดอลลาร์/ออนซ์ พร้อมระบุว่าราคาทอง​ไม่ม่​แนว​โน้มจะร่วงลงต่ำกว่าฟลอร์ที่ 1,500 ดอลลาร์/ออนซ์​ในช่วงทศวรรษหน้า ​โดยมี​แรงหนุนจากกลุ่ม​ผู้ซื้อ​ในตลาด​เกิด​ใหม่

--อิน​โฟ​เควสท์ ​แปล​และ​เรียบ​เรียง​โดย พันธุ์ทิพย์ คำ​เพิ่มพูล/รัตนา ​โทร.02-2535000 ต่อ 327 อี​เมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

http://www.ryt9.com/s/iq03/1492553

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แบงก์ชี้ผลคิวอี3​ทำ​เงินบาท-ทองผันผวน คาด6​เดือนข้างหน้ารุน​แรงกว่านี้ วิกฤติอียูยัง​ไม่จบ-หนี้​เน่ารุมซ้ำ

ข่าว​เศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์​แนวหน้า -- พฤหัสบดีที่ 20 กันยายน 2555 06:00:00 น.

 

น.ส.อุสรา วิ​ไลพิชญ์ นัก​เศรษฐศาสตร์อาวุ​โส ธนาคารส​แตนดาร์ด ชาร์​เตอร์ด (​ไทย) กล่าวว่า ค่า​เงินบาท​ไทย​ในระยะสั้นยังมี​แนว​โน้ม​แข็งค่าอยู่ ​เป็นผลจากปัจจัย​เรื่อง คิวอี3 รวม​ถึงราคาทองคำที่ปรับ​เพิ่มขึ้น ​ซึ่งช่วงนี้ค่า​เงินบาทจะมีจุดทดสอบสำคัญอยู่ที่ 30.50 บาทต่อดอลลาร์

 

“ช่วงนี้ตลาดยังตอบรับข่าว​เชิงบวกจากมาตร​การคิวอี สร้าง​แรงกดดันต่อ​เงินบาทระยะสั้นประกอบกับราคาทองคำที่​เพิ่มขึ้น ​ทำ​ให้นักลงทุน​ไทย​เทขายทองคำออกมา ​และนำ​เงินที่​ได้​แปลงกลับมา​เป็น​เงินบาท ​จึงยิ่ง​เป็นปัจจัยซ้ำ​เติม​ให้ค่า​เงินบาท​แข็งค่าขึ้น ดังนั้น​แล้วระยะสั้น​เงินบาทยังมี​แรงกดดันจาก​การ​แข็งค่าอยู่”

 

ส่วน​แนว​โน้ม​ในช่วง 6 ​เดือนข้างหน้า น.ส.อุสรา กล่าวว่า ค่า​เงินบาทมี​แนว​โน้มว่าจะผันผวนมากขึ้น ​และมี​โอกาสที่จะกลับมาอ่อนค่าลงอีกครั้ง ​เนื่องจากข่าวร้ายจากกลุ่มประ​เทศยุ​โรปยัง​ไม่จบ ​โดยปัจจัยที่ต้องติดตาม​เป็น​เรื่องอันดับ​เครดิตของกลุ่มประ​เทศยุ​โรป ​เพราะตลาด​เริ่มมี​ความกังวลว่าบางประ​เทศอาจถูกปรับลดลง

 

นอกจากนี้ ยังต้องติดตาม​การทดสอบภาวะวิกฤติ (Stress Test) ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ของยุ​โรปด้วยว่าจะ​เป็นอย่าง​ไรบ้าง ​เนื่องจากตลาด​การ​เงิน​เอง​เริ่มคาด​การณ์กันบ้าง​แล้วว่า อาจมีธนาคารพาณิชย์จากยุ​โรปหลาย​แห่งที่​ไม่สามารถผ่าน​การทดสอบ​ได้ อีก​ทั้งยังต้องติดตามปัญหาหนี้​ไม่ก่อ​ให้​เกิดราย​ได้ (​เอ็นพี​แอล) ของธนาคารพาณิชย์​เหล่านี้ด้วย ​เพราะตัว​เลข​เอ็นพี​แอลล่าสุดที่ออกอยู่ที่ประมาณ 9.8% ​ซึ่ง​เป็นตัว​เลขที่สูงขึ้นต่อ​เนื่อง

 

น.ส.อุสรา กล่าวด้วยว่า อีกประ​เด็นที่ต้องติดตาม คือ ส​เปนจะขอรับ​การช่วย​เหลืออย่าง​เป็นทาง​การจากสหภาพยุ​โรป​เช่น​เดียวกับที่กรีซ​ได้ดำ​เนิน​การ​ไป​หรือ​ไม่ ​ซึ่ง​ทั้งหมดนี้ถือ​เป็นปัจจัย​เสี่ยงที่รออยู่ข้างหน้า ​และคงมีผลต่อ​ความผันผวนของค่า​เงินบาทด้วย

 

ด้านนายบุญทักษ์ หวัง​เจริญ ประธาน​เจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหาร​ไทย (ที​เอ็มบี) ​เปิด​เผยว่า ​การส่งออก​ไทย​ได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤติ​เศรษฐกิจ​โลกหนักกว่าที่คาด​ไว้ ​โดย​เฉพาะสินค้า​เกษตร ​และสินค้าอื่นๆ ​ทำ​ให้สิน​เชื่อ​ก็ลดลงตาม​ไปด้วย ​แต่​ก็​เชื่อว่านักธุรกิจจะมี​แผนรับมือมากขึ้น​และ​เตรียมพร้อมกับ​เรื่องนี้

 

“​การส่งออก​โดยรวม​ทั้งประ​เทศอาจมีผลกระทบ​ในระยะยาว ปัญหาตอนนี้​เกิดกับตลาดยุ​โรป​และอา​เซียน ​เริ่ม​เห็นสัญญาณจากที่ลูกค้าส่งออกของธนาคาร มีวง​เงินสิน​เชื่อหมุน​เวียนลดลง ​และลูกค้า​ในกลุ่มส่งออกคิด​เป็น 30-40% ของลูกค้า​ทั้งหมดของธนาคาร”

 

http://www.ryt9.com/s/nnd/1492850

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เบอร์นันเก้เรียกร้องคองเกรสหาแนวทางจัดการปัญหาการคลังอย่างยั่งยืน

 

นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวต่อสมาชิกคณะกรรมาธิการการเงินของวุฒิสภาสหรัฐเมื่อวานนี้ โดยเรียกร้องให้สมาชิกสภานิติบัญญัติหาแนวทางที่ยั่งยืนในระยะยาวในการแก้ไขปัญหาทางการคลังของสหรัฐ

 

นายเบอร์นันเก้ระบุว่าสภาคองเกรสสามารถหนุนเศรษฐกิจด้วยการกำหนดนโยบายด้านภาษีและงบประมาณที่ไม่บั่นทอนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เปราะบางของประเทศ พร้อมกับพยายามลดยอดขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลกลางอย่างค่อยเป็นค่อยไป

 

บรรดาวุฒิสมาชิกกล่าวว่านายเบอร์นันเก้ได้เน้นย้ำถึงข้อจำกัดของเฟดในการหนุนเศรษฐกิจ หากสมาชิกสภานิติบัญญัติไม่สามารถสกัดกั้นสถานการณ์ที่มาตรการปรับขึ้นภาษีและลดรายจ่ายจะมีผลบังคับใช้พร้อมกันในช่วงต้นปี 2556 หรือที่เรียกว่าหน้าผาทางการคลัง (fiscal cliff)

 

อย่างไรก็ตาม ประธานเฟดได้แสดงมุมมองบวกเกี่ยวกับตลาดที่อยู่อาศัย ขณะที่ข้อมูลล่าสุดเมื่อคืนนี้จากสมาคมนายหน้าค้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) ระบุว่า ยอดขายบ้านมือสองเดือนส.ค.พุ่งขึ้น 7.8% สู่ระดับ 4.82 ล้านยูนิตต่อปี ซึ่งเป็นการขยายตัวในอัตราที่รวดเร็วที่สุดในรอบกว่า 2 ปี หรือนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2553 และเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าที่นักวิเคราะห์กว่าจะอยู่ที่ระดับ 4.50-4.55 ล้านยูนิต

ทางด้านมูดี้ส์ อะนาลิติกส์ ระบุว่ามีความเป็นไปได้ 15% ที่สหรัฐจะเผชิญภาวะหน้าผาทางการคลัง หรือ fiscal cliff โดยคาดว่าในกรณีที่เกิด fiscal cliff ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) จะร่วงลงต่ำกว่าสถานการณ์ที่มีการขยายระยะเวลานโยบายในปัจจุบันออกไปในปี 2556 อยู่ 2.8% ขณะที่จะเกิดภาวะถดถอยครั้งใหม่ และอัตราว่างงานจะพุ่งแตะ 9.2% ภายในสิ้นปี

 

ตลาดโลหะมีค่ายุโรป:ทองปิดลบตามน้ำมันดิบหลังดอลล์แข็งค่า

 

ราคาทองปิดตลาดยุโรปปรับตัวลงในวันพุธ ขณะที่ราคาน้ำมันดิบลดลง และดอลลาร์แข็งค่าขึ้น แต่ราคาทองก็ยังคงได้แรงหนุนใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือนครึ่งที่เข้าทดสอบในช่วงเช้าหลังธนาคารกลางญี่ปุ่นเป็นธนาคารกลาง รายล่าสุดที่ประกาศมาตรการผ่อนคลายทางการเงินรอบใหม่

 

ราคาโลหะเงินปิดลดลง ส่วนราคาพลาตินั่มและพัลลาเดียมปิดปรับตัวขึ้น

 

ระดับปิดของราคาโลหะมีค่าในตลาดลอนดอนเป็นดังนี้

ทอง - ปิดที่ 1,769.19 ดอลลาร์/ออนซ์ ลบ 2.50 ดอลลาร์

เงิน - ปิดที่ 34.57 ดอลลาร์/ออนซ์ ลบ 0.21 ดอลลาร์

พลาตินั่ม - ปิดที่ 1,632.50 ดอลลาร์/ออนซ์ บวก 15.10 ดอลลาร์

พัลลาเดียม - ปิดที่ 666.80 ดอลลาร์/ออนซ์ บวก 4 ดอลลาร์

 

ตลาดหุ้นยุโรป:หุ้นยุโรปปิดบวก 0.42% หลังบีโอเจกระตุ้น ศก.

 

 

ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับขึ้นในวันพุธตามหุ้นกลุ่มรถยนต์ ในขณะที่ธนาคารกลาง ญี่ปุ่น (บีโอเจ) กลายเป็นธนาคารกลางแห่งล่าสุดที่ประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

 

 

ดัชนี DAX ของตลาดหุ้นเยอรมนีปิดบวกขึ้น 43.07 จุด หรือ 0.59 % สู่ 7,390.76 หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 7,326.24-7,396.12

ดัชนี CAC-40 ของตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดปรับขึ้น 19.13 จุด หรือ 0.54 % สู่ 3,531.82 หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 3,503.73-3,540.32

 

 

ดัชนี FTSEurofirst 300 ของหุ้นกลุ่มบลูชิพทั่วยุโรปปิดบวกขึ้น 4.64 จุด หรือ 0.42 % สู่ 1,116.38 หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1,111.60-1,118.06

 

บีโอเจผ่อนคลายนโยบายการเงินลงในวันพุธด้วยการประกาศขยายขนาดโครงการ เข้าซื้อสินทรัพย์ ในขณะที่แนวโน้มที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะฟื้นตัวขึ้นได้ในระยะอันใกล้ นี้จางหายไป โดยเป็นผลจากการร่วงลงของยอดส่งออก และจากการที่เศรษฐกิจจีน ชะลอการเติบโตลงอย่างต่อเนื่อง

 

ดัชนีตลาดหุ้นยุโรปเพิ่งขึ้นไปแตะจุดสูงสุดรอบ 14 เดือนที่ 1,122.76 ใน วันศุกร์ที่ผ่านมา โดยได้รับแรงหนุนจากมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบสาม (QE3) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) โดยขณะนี้ดัชนีตลาดหุ้นยุโรปทะยานขึ้นแล้วกว่า 11 % จากช่วงต้นปีนี้

นายเฮงค์ พอทส์ นักยุทธศาสตร์การลงทุนตลาดของบาร์เคลย์สกล่าวว่า "ผม คิดว่าคงไม่ใช่เรื่องที่น่าประหลาดใจ ถ้าหากตลาดหุ้นยุโรปจะชะลอตัวหรือร่วงลง เล็กน้อยในช่วงไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า จนกว่าจะมีหลักฐานอย่างเป็นรูปธรรมที่แสดง ให้เห็นถึงผลบวกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลาง"

 

หุ้นกลุ่มรถยนต์พุ่งขึ้น 1.9 % โดยเฉพาะหุ้นบริษัทปอร์เช่ของเยอรมนีที่ ทะยานขึ้น 7.2 % หลังจากศาลระดับแคว้นของเยอรมนียกฟ้องปอร์เช่ในคดีที่ยื่นฟ้อง โดยนักลงทุน

 

ตลาดหุ้นลอนดอน:FTSE ปิดบวก 0.35%ตามหุ้นกลุ่มธนาคาร,พลังงาน

 

 

ดัชนี FTSE 100 ที่ตลาดหุ้นอังกฤษปิดปรับขึ้นในวันพุธ โดยได้รับแรงหนุน จากความแข็งแกร่งของหุ้นกลุ่มธนาคารและพลังงาน ในขณะที่มาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจของธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ส่งผลให้นักลงทุนต้องการเข้าซื้อสินทรัพย์ เสี่ยงมากยิ่งขึ้น

 

 

ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ปิดบวกขึ้น 20.32 จุด หรือ 0.35 % สู่ 5,888.48 หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 5,861.01-5,894.39 โดยมีวอลุ่มการซื้อขายอยู่ที่ 85 % ของค่าเฉลี่ย 90 วัน

 

 

บีโอเจประกาศมาตรการเข้าซื้อตราสารหนี้ในวันพธ ซึ่งสอดคล้องกับสิ่งที่ ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ประกาศไว้ในช่วงไม่กี่ สัปดาห์ที่ผ่านมา ในขณะที่ธนาคารกลางเหล่านี้ตั้งเป้าที่จะยุติการชะลอตัวของ เศรษฐกิจโลกและควบคุมวิกฤติหนี้ยูโรโซน

 

 

ดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารของอังกฤษพุ่งขึ้น 1.14 % และถือเป็นหุ้นกลุ่มที่ส่ง แรงบวกต่อดัชนี FTSE 100 มากที่สุดในวันพุธ โดยหุ้นธนาคารเอชเอสบีซี (HSBC) พุ่งขึ้น 1.7 % โดยมีวอลุ่มการซื้อขายอยู่ที่ 120 % ของค่าเฉลี่ย 90 วัน และการ พุ่งขึ้นของหุ้นเอชเอสบีซีส่งแรงบวกกว่า 7 จุดต่อดัชนี FTSE 100

 

หุ้นเอชเอสบีซีและธนาคารแห่งอื่นๆได้รับแรงหนุนจากการที่ธนาคารแบงก์ ออฟ อเมริกา เมอร์ริล ลินช์ปรับขึ้นราคาเป้าหมายของหุ้นกลุ่มนี้ โดยแบงก์ ออฟ อเมริกา เมอร์ริล ลินช์ได้ทบทวนภาคธนาคารของยุโรป และได้ข้อสรุปว่า ความเคลื่อนไหว ของธนาคารกลางได้ช่วยลดความเป็นไปได้ในการเกิดเหตุการณ์ที่จะส่งผลลบต่อภาค ธนาคารของยุโรป

เมอร์ริลได้ปรับราคาเป้าหมายของหุ้นกลุ่มธนาคารยุโรปให้สูงขึ้นเกือบ 9 % โดยเฉลี่ย

 

ดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานของอังกฤษปรับขึ้น 0.46% ในวันพุธ

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

**ตลาดหุ้นเอเชียลดลงเช้านี้ หลังยอดส่งออกญี่ปุ่นติดลบ 3 เดือนติดต่อกัน

 

 

ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงเช้านี้ หลังจากที่ยอดส่งออกของญี่ปุ่นร่วงลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันในเดือนส.ค.

ดัชนี MSCI Asia Pacific Index (MXAP) ลดลง 0.2% ณ เวลา 9.47 น.ตามเวลาโตเกียว

 

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 9,174.19 จุด ลดลง 58.02 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 2,060.31 จุด ลดลง 7.52 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 20,816.77 จุด ลดลง 25.14 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 7,781.81 จุด ลดลง 0.10 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 1,997.65 จุด ลดลง 10.23 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,072.03 จุด ลดลง 3.60 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,639.68 จุด ลดลง 6.43 จุด และดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียเปิดวันนี้ที่ 4,413.30 จุด ลดลง 5.10 จุด

กระทรวงการคลังญี่ปุ่นรายงานในวันนี้ว่า ญี่ปุ่นขาดดุลการค้า 7.541 แสนล้านเยนในเดือนส.ค. หลังจากที่ยอดส่งออกเดือนส.ค.หดตัวลง 5.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี มาอยู่ที่ระดับ 5.0459 ล้านล้านเยน ขณะที่ยอดนำเข้าลดลง 5.4% แตะระดับ 5.8000 ล้านล้านเยน

 

ขณะเดียวกันนักลงทุนกำลังจับตาดู HSBC เปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นของจีนประจำเดือนก.ย. ในเวลาประมาณ 9.30 น.ของวันนี้ตามเวลาประเทศไทย

 

ญี่ปุ่นขาดดุลการค้าเดือนส.ค. 7.541 แสนล้านเยน หลังยอดส่งออกหดตัว

 

กระทรวงการคลังญี่ปุ่นรายงานในวันนี้ว่า ญี่ปุ่นขาดดุลการค้า 7.541 แสนล้านเยนในเดือนส.ค. หลังจากที่ยอดส่งออกเดือนส.ค.หดตัวลง 5.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี มาอยู่ที่ระดับ 5.0459 ล้านล้านเยน ขณะที่ยอดนำเข้าลดลง 5.4% แตะระดับ 5.8000 ล้านล้านเยน

 

ภาวะตลาดหุ้นโตเกียว: นิกเกอิเปิดลบ 58.02 จุดหลังเยนแข็งฉุดหุ้นส่งออก

 

ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวเปิดที่ 9,174.19 จุด ลดลง 58.02 จุด หรือ 0.63% ในวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนเทขายหุ้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมส่งออก หลังจากเงินเยนดีดตัวขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลร์สหรัฐ

 

นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันหลังจากกระทรวงการคลังญี่ปุ่นรายงานในช่วงเช้าวันนี้ว่า ญี่ปุ่นขาดดุลการค้า 7.541 แสนล้านเยนในเดือนส.ค.

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...