ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

การบริหารพอร์ตทองคำในสภาวะตลาดขาลง ซึ่งเรายังไม่แน่ใจว่า " ขาลง " จริงมั้ย !! ??

 

ราคาทองคำปรับตัวลดลงในการซื้อขายวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยตั้งแต่กลางสัปดาห์ราคาทองคำค่อนข้างเคลื่อนตัวในทิศทาง Down และมาปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงค่ำคืนวันศุกร์ ท่ามกลางความสับสนมึนงงของนักลงทุนในทองคำที่มองว่า " ทองคำเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย " " กราฟฯ มองโลกใตแง่ดี แบบตั้งใจให้เกิดหรือเปล่า " ดังนั้นในวันนี้เด็กขายของจะบ่นถึง เงินลงทุนในสภาวะที่ทองคำเป็นขาลงแบบนี้ เผื่อไว้ก่อน แต่ก็ยังไม่แน่นอน

 

นักลงทุนที่ยังถือครองสถานะ Long Position มากกว่า 70% ของ Portfolio จะเริ่มมีความมึนงง แล้วก็สับสนในการที่จะบริหารพอร์ตต่อไปถ้ายังไม่ได้หลบออกจากตลาดในช่วงคืนวันศุกร์ โดยภาพรวม Portfolio เริ่มน่าจะถูก Call Margin

 

ประเด็นตามสถานการณ์ที่ผ่านมา ตั้งแต่วันพุธ ใช้กลยุทธ์การเข้าช้อนซื้ออยู่ตลอดเวลาในแนวรับ ก็ต้องยอมรับว่าคงจะเจ็บพอควร ดีว่า ซื้อตอนเงินบาทแข็ง จึงมีเงินบาทอ่อนมาพยุงไว้เพราะการเข้าซื้อเฉลี่ยขาดทุนเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งในสภาวะตลาดขาลง

 

การจะทำ Cut Loss ณ ขณะนี้ดูจะตัดสินใจได้ยาก จึงต้องนำกลยุทธ์อันเก่าออกมาใช้ คือ ทำการปรับลดพอร์ตที่มีและหวังที่จะซื้อกลับเมื่อราคาปรับตัวลดลงโดยใช้กลยุทธ์ Sell on Rally หมายความว่า เราจะขายลดพอร์ตลงสัก 30-50% ขึ้นกับการที่เราจะบริหาร Portfolio ในสภาวะขาลง โดยใช้กลยุทธ์ซื้อกลับเมื่อราคาปรับตัวลดลง

 

ดังนั้นการใช้ Technical หรือ ณ Indicator ในสภาวะตลาดขาลงจึงต้องคิดแบบสวนทางหมด แล้วการบริหารแบบนี้ก็ต้องยอมรับว่านักลงทุนต้องพร้อมติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะไม่มีใครรู้ว่าตลาดจะกลับทิศเมื่อไร เพราะงานนี้ ขาใหญ่เป็นผู้กระทำโดยการลดถือครองทองคำ / แทง Short กันมาก เราก็ต้องพร้อมทำใจเหมือนกันว่า ถ้าตลาดกลับทิศเป็นสภาวะขาขึ้น เราก็จะต้องเปลี่ยนกลยุทธ์กลับมาที่เก่า อย่างไรก็ดีในสภาวะตลาดแบบนี้การจะกลับทิศทันทีคงอีกไม่นาน เพราะว่าตลาดได้เริ่มลงมาลึกจนสภาพตลาดขายมากเกินไปแล้ว และมีปัจจัยค่าเงินบาทอ่อนแข็งมาเกี่ยวข้อง ก็แค่เป็นวิธีเท่านั้น ที่เตรียมเอาไว้ในช่วงเช้านี้

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
:) ถือว่า บอกกล่าวกันแล้ว ก็คงต้องรับผิดชอบ โตๆ กันแล้ว : เสมือนธุรกิจบุหรี่ซิกาแรตสมัยก่อน วางไว้ที่ไหนก็ขายได้ เพราะมีความต้องการสูง ราคาไม่แพง มาปัจจุบัน ตลาดกลับทิศฯ ราคาสูง / สังคมรังเกียจ นักลงทุนที่ยืนอยู่ทนได้ คือทตลาดขาลง ในตลาดขาขึ้น คุยโม้โอ้อวด ก็จะถูกถีบออกจากตลาดแบบเจ็บปวด ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กราฟฯ ในตอนนี้ ออกมาในรูปฯที่ ไม่ดีเลย จังหวะที่จะลงยังมีอยู่

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ย้อนอ่านข่าวสักนิด

 

 

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ (28/01/2556)

ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเมื่อวันศุกร์ (25 ม.ค.) เพราะได้แรงหนุนจากดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของเยอรมนีที่ปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน

 

ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวขึ้น 0.3% ปิดที่ 289.72 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2555

 

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดวันศุกร์ที่ 3778.16 บวก 25.99 จุด ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดวันศุกร์ที่ 7857.97 บวก 109.84 จุด ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดวันศุกร์ที่ 6284.45 บวก 19.54 จุด

 

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดเดินหน้าขึ้นเมื่อวันศุกร์ (25 ม.ค.) จากรายงานผลประกอบการภาคเอกชนที่ออกมาค่อนข้างน่าพอใจ นอกจากนี้ บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นสหรัฐยังได้รับแรงหนุนจากดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของเยอรมนีที่ปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 70.65 จุด หรือ 0.51% ปิดที่ 13,895.98 จุด ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้น 8.14 จุด หรือ 0.54% ปิดที่ 1,502.96 จุด และดัชนี Nasdaq ดีดขึ้น 19.33 จุด หรือ 0.62% ปิดที่ 3,149.71 จุด

 

-- สกุลเงินเยนยังคงอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ (25 ม.ค.) หลังจากรมช.เศรษฐกิจของญี่ปุ่นกล่าวว่า แม้เงินเยนร่วงลงแตะระดับต่ำถึง 100 เยนต่อดอลล์ก็ยังไม่น่าเป็นห่วง ด้านสกุลเงินยูโรแข็งค่าขึ้น ภายหลังธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) เผยความคืบหน้าล่าสุดว่า ธนาคารในภูมิภาคจะเริ่มจ่ายเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำระยะเวลา 3 ปีคืนได้อย่างเร็วที่สุดในสัปดาห์หน้าและเป็นจำนวนที่สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้

 

เงินยูโรแข็งค่าขึ้น 0.60% แตะที่ 1.3454 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3374 ดอลลาร์สหรัฐเมื่อวันพฤหัสบดี และพุ่งขึ้น 1.28% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 122.35 เยน จากระดับ 120.80 เยน เมื่อวันก่อน

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้น 0.68% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 90.940 เยน จากระดับ 90.330 เยน และปรับตัวขึ้น 0.38% แตะที่ 1.0062 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 1.0024 ดอลลาร์แคนาดา แต่ดอลลาร์สหรัฐขยับลง 0.24% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 0.9267 ฟรังค์ จากระดับ 0.9289 ฟรังค์

 

ขณะที่เงินปอนด์ขยับขึ้น 0.06% แตะที่ 1.5797 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5788 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียลดลง 0.25% แตะที่ 1.0424 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0450 ดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ขยับลง 0.01% แตะที่ 0.8376 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8377 ดอลลาร์สหรัฐ

 

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเมื่อวันศุกร์ (25 ม.ค.) หลังสหรัฐเผยยอดขายบ้านใหม่ที่ร่วงลงอย่างมากในเดือนธ.ค. นอกจากนี้ นักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐที่พุ่งขึ้นเกินคาดในรอบสัปดาห์ที่แล้ว

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมี.ค.ขยับลง 7 เซนต์ หรือ 0.07% ปิดที่ 95.88 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังเคลื่อนไหวที่ระดับ 95.43 - 96.56 ดอลลาร์ ขณะที่ตลอดสัปดาห์ สัญญา WTI เพิ่มขึ้น 32 เซนต์ หรือ 0.33%

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาดลอนดอน ปิดทรงตัวที่ 113.28 ดอลลาร์/บาร์เรล สำหรับตลอดทั้งสัปดาห์ สัญญาเบรนท์พุ่งขึ้น 1.39 ดอลลาร์ หรือ 0.33%

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงต่อเนื่องเมื่อวันศุกร์ (25 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงลดการถือครองทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย และหันไปซื้อสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้น หลังจากมีสัญญาณบ่งชี้ถึงแนวโน้มเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นในระยะนี้

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.ร่วงลง 13.30 ดอลลาร์ หรือ 0.8% ปิดที่ 1,656.60 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากที่ร่วงลง 1% เมื่อวันพฤหัสบดี ส่งผลให้ตลอดทั้งสัปดาห์ สัญญาทองคำปรับตัวลดลง 1.8% และลดลงแล้ว 1.2% ตั้งแต่ต้นปีนี้

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.ลดลง 51.6 เซนต์ หรือ 1.63% ปิดที่ 31.206 ดอลลาร์/ออนซ์ ส่วนสัญญาโลหะทองแดงส่งมอบเดือนมี.ค.ลดลง 2.45 เซนต์ หรือ 0.7% ปิดที่ 3.6520 ดอลลาร์/ปอนด์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.ปิดที่ 1,694.90 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 11.10 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.ปิดที่ 741.00 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 14.30 ดอลลาร์

 

-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดในแดนบวกเมื่อวันศุกร์ (25 ม.ค.) แม้สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษเปิดเผยตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4/2555 ที่หดตัวลงเกินคาด และแม้สหรัฐเปิดเผยข้อมูลยอดขายบ้านใหม่เดือนธ.ค.ที่ร่วงลงก็ตาม โดยหุ้นกลุ่มแบงก์ปรับตัวขึ้นจากข่าวที่ว่าธนาคารในยุโรปที่กู้เงินผ่านโครงการจัดสรรเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำระยะยาวของอีซีบีจะสามารถชำระเงินกู้งวดแรกคืนได้เร็วและเป็นจำนวนมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้

 

ดัชนี FTSE 100 เพิ่มขึ้น 19.54 จุด หรือ 0.31% ปิดที่ 6,284.45 จุด และตลอดสัปดาห์ ดัชนีพุ่งขึ้น 2.1%

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 28 มกราคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เงินนอกทะลักทำบาทแข็งค่า ฉุดส่งออกหวั่นเศรษฐกิจร่วง (28/01/2556)

ต้องยอมรับว่า ระยะนี้ “เงินบาทแข็งค่า” กลายเป็นกระแสข่าวที่สร้างความหงุดหงิดใจให้หลายฝ่ายในประเทศ ด้วยหวั่นเกรงว่า ประเทศมหาอำนาจตะวันตก กำลังเริ่มตั้งทัพใหญ่ เปิดศึกทำ “สงครามค่าเงิน” เพื่อกอบกู้เศรษฐกิจของตนเอง ซึ่งจะมีผลทำให้เหล่านักธุรกิจตาน้ำข้าว ระดมอาวุธครบมือ ขนเงินมหาศาลเข้ามาลงทุนในประเทศแถบเอเชียมากขึ้นทุกประเทศ แน่นอนว่าเงินบาทจึงแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง และหากไทยไม่ตั้งสติรับมือแล้วละก็ อาจเพลี่ยงพล้ำทางเศรษฐกิจได้ง่าย ๆ

 

“ธนาคารแห่งประเทศไทย” ในฐานะ “ทัพหน้า” เฝ้าประตูเมือง เมื่อเงินทุนไหลผ่านเข้ามาผิดปกติ มือหนึ่งต้องรีบหยิบอาวุธป้องกัน เพื่อประคองสถานการณ์ให้เงินบาทอยู่ในระดับที่เรียกว่า “สมดุล” อีกมือหนึ่งต้องรีบแจ้งข่าวเตือนคนในประเทศ

 

อาวุธหนึ่งที่ ธปท. มักนิยมนำมาใช้เป็นด่านแรก คือ การเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาท แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีมาตรการผ่อนคลายเกณฑ์ทางการเงิน ให้นักลงทุนออกไปลงทุนยังต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เกิดความสมดุลของค่าเงินทั้งขาเข้าและออก แต่อย่างไรก็ดี มองว่า บรรดาผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ไม่ได้ต้องการออกไปลงทุนต่างชาติเท่าใดนัก เพียงแต่ต้องการให้เงินบาทอยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อที่จะวางแผนขับเคลื่อนธุรกิจให้อยู่รอดปลอดภัยได้กับสภาพการเงินที่ผันผวนเช่นนี้

 

ย้อนไปดูสถานการณ์เงินบาทปี 55 ที่ผ่านมา เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 30.50-31.90 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยแข็งค่าขึ้นไปสูงสุดที่ 30.60 บาทต่อดอลลาร์ และอ่อนค่าสุดที่ 31.78 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งถือว่ามีความสมดุล และตลอดทั้งปี เงินบาทเคลื่อนไหว 2 ทิศทาง คือแข็งค่าสลับอ่อนค่าทั้งปี

 

แต่ทันทีที่ก้าวเข้าสู่ปี 56 เงินบาท และเงินสกุลหลัก ต่างพุ่งแข็งค่าขึ้นรวดเร็ว เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ จนหลุดกรอบ 30 บาทไปที่ 29.75 บาท แข็งค่าที่สุดในรอบ 17 เดือน จากความเชื่อมั่นในตลาดการเงินโลกปรับดีขึ้น หลังสหรัฐหาข้อยุติเพื่อเลี่ยงปัญหาฐานะทางการคลังได้ในระดับหนึ่ง ขณะที่เงินทุนไหลเข้า เริ่มทะลักสู่ภูมิภาคเอเชียมากขึ้นเช่นกัน ทั้งในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร ประกอบกับนักลงทุนเริ่มหวังเข้าเก็งกำไร กินส่วนต่างดอกเบี้ยและค่าเงินไปพร้อม ๆ กันด้วย

 

ส่งผลให้ช่วงเพียง 22 วันที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าไปแล้ว 3.13% โดยแข็งค่ากว่าสกุลเงินอื่น ๆ ในเอเชีย มาเลเซียแข็งค่า 2.2% อินโดนีเซียแข็งค่า 0.05% นี่จึงกลายเป็นประเด็นหลัก ที่ทำให้ผู้ประกอบการต่างกังวล !!

 

ด้วยเกรงว่า หากทิศทางเงินบาทยังแข็งค่าต่อเนื่อง จะส่งผลกระทบต่อศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก โดยเฉพาะสินค้าส่งออกต่าง ๆ มียอดการส่งออกลดลงเรื่อย ๆ สวนทางกับต้นทุนการผลิตที่ทะยานเพิ่มขึ้น โดยคาดการณ์ว่า ถ้าเงินบาทแข็งค่ามาถึง 29-29.50 บาทในไตรมาสแรกนี้ ผลกระทบก็จะทวีความรุนแรงขึ้นเป็นเงาตามตัว ส่วนเงินบาทที่ผู้ประกอบการรับมือได้ คือที่ 31 บาท และขอให้ ธปท.ดูแลไม่ให้เงินบาทแข็งค่าเร็วเกินไป รวมถึงแข็งค่ามากกว่าประเทศคู่แข่งเท่านั้น จึงจะประคองการส่งออกไม่ให้สะดุดลงได้

 

หลายฝ่ายจึงเริ่มจับตาดูว่าทัพหน้าอย่าง ธปท. จะแทรกแซงค่าเงินบาทหรือไม่ อย่างไร หรือปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด โดยไม่ฟังเสียงเรียกร้องจากผู้ประกอบการ กรณีเลวร้ายที่สุด อาจเดินซ้ำรอย “โจมตีค่าเงินเมื่อปี 40”

 

จนแม่ทัพใหญ่ “ประสาร ไตรรัตน์วรกุล” ผู้ว่าการ ธปท. รับว่า เงินบาทแข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา แต่ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกับสกุลเงินอื่นในภูมิภาค ทั้งนี้ จะดูแลให้เคลื่อนไหวไปตามกลไกตลาดเหมือนเดิม แต่ไม่ได้หมายความว่า จะไม่ทำอะไร ในภาวะที่เกิดความผิดปกติ หรือจำเป็นต้องเข้าไปดูแล

 

“ยืนยันว่า ธปท.ติดตามสถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ พร้อมทั้งเตรียมเครื่องมือต่าง ๆ ไว้แล้ว หากจำเป็นต้องใช้ จะไม่ลังเล แม้ว่าผลการดำเนินงานของ ธปท.จะขาดทุน แต่ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรค หรือมีผลให้ ธปท.ไม่เข้าไปดูแลอัตราแลกเปลี่ยนตามความเหมาะสมแต่อย่างใด”

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (วันที่ 28 มกราคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

4ขุนคลังตีโจทย์ท้าทายอนาคต ศก.ไทยปี56(28/01/2556)

แม้เศรษฐกิจไทยรอบปีที่ผ่านมาจะขยายตัวได้ดีกว่าที่คาดแต่ระหว่างทางเดินไป ข้างหน้าหลายฝ่ายต่างจดๆจ้องๆถึงแนวโน้มทั้งอุปสงค์ภาคเอกชนและกำลังซื้อภาย ในจะมีแรงส่งต่อเนื่องทั้งปี 2556 ให้เศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนได้หรือไม่

 

เมื่อวันที่ 23 มกราคมที่ผ่านมา สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจเปิดเวทีสัมมนาประจำปีภายใต้หัวข้อเรื่อง "โจทย์ท้าทายอนาคตเศรษฐกิจไทยในปี 2556" โดย 3 อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกอบด้วย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ,นายกรณ์ จาติกวณิช และนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล โดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวปาฐกถา เรื่องทิศทางนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน

"กิตติรัตน์"ยืนยันโดยขอให้ทุกฝ่ายมั่นใจ เศรษฐกิจปีนี้จะขยายตัวที่ดีจากการดำเนินงานหลายอย่างที่จะเกิดขึ้นและปี 2556 จะเป็นปีการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน โดย 3 ปัจจัยหลักที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจปีนี้ คือ การผลักดันกำลังซื้อภายในประเทศจากรายได้ที่เพิ่มขึ้น เชื่อว่าผู้ประกอบการยังไม่ปรับขึ้นราคาสินค้า บวกกับการลงทุนภาคเอกชนและการใช้จ่ายภาครัฐ ที่จะดำเนินการอย่างซื่อตรง โปร่งใส ไม่รั่วไหลและมีประสิทธิภาพ

"การลงทุนนั้น รัฐบาลสร้างความมั่นใจในบรรยากาศทางการเมืองและกำลังซื้อในประเทศ เหล่านี้เป็นปัจจัยตัดสินใจการลงทุนของภาคเอกชน และรัฐบาลจะส่งเสริมให้เอกชนลงทุนขยายกิจการหรือนำเข้าเครื่องจักรและปัจจัย ช่วยเสริมในการดูแลอัตราดอกเบี้ยไม่ให้สูงเกินไป หรืออัตราแลกเปลี่ยนที่มีเสถียรภาพ"

"ม.ร.ว.ปรีดิยาธร" มอง 2 โจทย์ท้าทายอนาคตเศรษฐกิจไทย คือ 1.หนทางที่เศรษฐกิจไทยจะเจริญเติบโตไปได้ และด้านรักษาเสถียรภาพให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมตีโจทย์ท้าทายว่า อย่าหยุดอยู่แค่เดิมต้องทำให้ประเทศไทยเป็น Trading Nation เพื่อจะตอบโจทย์หนทางของการเจริญเติบโตต่อไปคือ การเตรียมเป็นTrading Nation คือ นอกจากผลิตสินค้าในประเทศแล้วไทยต้องเริ่มไปสร้างฐานการผลิตในประเทศอื่น ซึ่งสิ่งที่ต้องเตรียมเป็นTrading Nation ประกอบด้วย การขยายฐานการผลิตสินค้าที่ไทยเป็นผู้ค้าสำคัญเพื่อผลิตสินค้าป้อนTrade networkที่มีอยู่เช่น สินค้าน้ำตาล อาหารทะเล ยางพารา เมลามีน หรืออัญมณี

เหล่านี้เป็นฐานที่สินค้าไทยจะขยายการค้าไปผลิตที่อื่นและป้อนฐานการค้า รวมถึงขยายการค้าในเออีซี ด้วยสินค้าที่ไทยมีความได้เปรียบในการแข่งขัน เช่น สินค้าแชมเปี้ยนหรือ สินค้าอุปโภคบริโภค และขยายการค้ากับประเทศรอบด้านโดยอาศัยความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ และยังหมายรวมถึงการมีเส้นทางรถไฟ หรือเส้นทางขนส่งอื่นเพื่อเชื่อมโยงระหว่างประเทศและภายในประเทศที่สะดวกรวด เร็ว พร้อมปรับกฎระเบียบการค้าให้คล่องตัวหรือมีเงื่อนไขน้อยที่สุด เพื่อส่งเสริมการขยายฐานการผลิตออกไปยังประเทศอื่นโดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน ให้ได้ผลจริงๆ

"หากย้อนดูช่วง 20-25 ปี นั้นอดีตเศรษฐกิจไทยเติบโตเฉลี่ย 6-8% ขณะที่ช่วงปี2525 – 2550 นั้นไทยโชติช่วงชัชวาลเศรษฐกิจก้าวกระโดดโตเฉลี่ย 8-10% เพราะช่วงนั้นเรามีความก้าวหน้าจากการเพิ่มอุตสาหกรรมเต็มรูปแบบต้นน้ำกลาง น้ำและปลายน้ำเป็นSupply Chainของภูมิภาคและโลกกระทั่งปี 2550-2555 ภาคส่งออกลดลงตามสภาพตลาดและต้องพึ่งแรงงานต่างชาติและค่าแรงเพิ่มขึ้น"

ส่วนโจทย์ด้านรักษาเสถียรภาพให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืนนั้น "หม่อมอุ๋ย"ย้ำว่ามีความเป็นห่วง โดยเฉพาะความเสียหายที่จะขยายวงจากโครงการประชานิยมอื่นๆที่จะตามมาอีก(อ่าน หน้า4) เพราะรัฐบาลนี้ไม่มีใครเป็นหลักที่จะคอยดูแลเรื่องวินัยการคลัง แถมยังใช้วิธีใช้เงินงบประมาณแจกโดยไม่เกรงใจประชาชนผู้เสียภาษี จึงมีโอกาสที่หนี้สาธารณะจะเพิ่ม 70% ของจีดีพี นอกจากที่ได้ประเมินความเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าว ณ สิ้นเดือนกันยายน 2562 ยอดหนี้สาธารณะจะเพิ่มเป็น 10.30 ล้านล้านบาทเท่ากับ 63.7%ของจีดีพี 16.16 ล้านล้านบาท ขณะที่อนาคตข้างหน้าการเลือกตั้งครั้งต่อไป พรรคการเมืองอื่นไม่ว่ารัฐบาลไหนจะรอดกับดักประชาธิปไตยได้อย่างไร

สอดคล้อง"กรณ์"ที่ระบุว่า รัฐบาลนี้สอบตกเรื่องวินัยการคลัง แม้จะเกิดความเสียหายจากรับจำนำข้าวแต่รัฐบาลยังปฏิเสธ อีกทั้งพ.ร.ก.บริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท แม้จะครบ 1ปีเมื่อวันที่ 25 มกราคม แต่มีการใช้เงินเพียง 4 พันล้านบาท คิดเป็น 1% ของวงเงินกู้ทั้งหมด ผลที่ออกมาไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะลงทุน สะท้อนทัศนคติของรัฐบาลต่อการรักษาวินัยทางการคลัง แต่ประเด็นที่เป็นปัญหาคือ รัฐบาลกำลังเมินวินัยทางการคลังและเดินหน้าทำลายระบบที่สร้างสถานภาพให้กับ เศรษฐกิจไทยมาเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี และการลงทุนยังเป็นปัญหา การใช้เงินล่าช้ากว่ากำหนดจึงต้องยกระดับประสิทธิภาพการใช้เงินด้วยการ ปฏิรูประบบหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ ส่วนเงินกู้โครงการลงทุนขนาดใหญ่ 2 ล้านล้านบาท นั้นยังมองเป็นโครงการที่ดี ถ้าใช้เงินกู้ได้และอย่าให้มีค่าน้ำร้อนน้ำชาหรือแชมเปญ มูลค่าสูง

ด้านตลาดทุน ยังติดหล่มปัญหาเดิมที่กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จมากเกินไป แทนที่จะวัดความสามารถให้ผู้ลงทุนระดมทุนได้ด้วยต้นทุนต่ำมากที่สุด หรือมีการซื้อขายหรือมีบริษัทเข้ามาใช้บริการตลาดทุนไม่ว่าในฐานะผู้ออกหุ้น หรือพันธบัตร มากขึ้นหรือไม่ ขณะที่ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ยังเป็นประเด็นปัญหามากที่สุด และยังรอคอยการแก้ไข

ส่วน " ธีระชัย"มองความเสี่ยงระยะสั้นที่หน่วยงานเกี่ยวข้องต้องจัดการคือ ความท้าทายด้านการเงินที่หนักขึ้นตลาดปี 2556 ระหว่างนี้จะมีความเข้มข้นมากขึ้น เพราะอนาคตยังมีเงินเยนที่จะไหลเข้ามาจากการดำเนินนโยบายผ่อนคลายแบบปลาย เปิดของญี่ปุ่นนอกจากทุนดอลลาร์สหรัฐฯที่ขณะนี้ผลกระทบจากเงินไหลเข้าประเทศ เอเชียซึ่งมีศักยภาพรวมทั้งไทย หากปล่อยให้เงินบาทแข็งค่าต่อไปเรื่อยๆความเสี่ยงที่อัตราขยายตัวภาคส่งออก จะแผ่วลงอีก เพราะโจทย์เดิมภาคส่งออกถูกกระทบจากค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้ว

"ปัจจัยระยะสั้น ถ้าลำพังที่เกิดจากปัจจัยทั่วไปแล้วคงจะยากลำบากระดับหนึ่ง แต่ถ้าผสมด้วยนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจะทำให้ยากขึ้น ผมแนะนำให้ระมัดระวังในปีนี้หรือปีหน้าต้องดูแลหนี้ภาคครัวเรือน หรือดูแลกฎกติกาสินเชื่อทั้งสถาบันการเงินเอกชนและภาครัฐ รวมถึงระบบกำกับดูแลตลาดเงินตลาดทุนเพื่อให้การทำธุรกิจรัดกุมไว้ก่อน"

"ธีระชัย"ระบุถึงความเสี่ยงระยะยาวไว้ 3เรื่องโดยให้น้ำหนักปัญหาหนี้สาธารณะเป็นปัจจัยแรกที่จะกระทบความยั่งยืน ของเศรษฐกิจไทย(อ่านวิเคราะห์หน้า 4) ตามด้วยปัญหาทุจริตคอร์รัปชันและระบบการคุ้มครองข้าราชการ โดยมีข้อเสนอเพื่อเป็นกรอบแนวทางป้องกันทุจริตคอร์รัปชันใน 2ประเด็นคือ 1.ควรเปิดเผยทุกอย่างที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง อาทิ รายชื่อผู้ประมูล,ราคาประมูลที่แต่ละรายเสนอ,รายชื่อผู้ชนะประมูล,การนำส่ง ผลการปฏิบัติงานของผู้ประมูล เหล่านี้ต้องประกาศเปิดเผยผ่านทั้งเว็บไซต์ของกรมบัญชีกลางและหน่วยงานต้น สังกัดที่จัดซื้อจัดจ้างด้วย

นอกจากนี้ต้องมีการตรวจสอบบริษัทที่ทำธุรกิจด้วย เพราะการจ่ายเงินใต้โต๊ะในรูปเงินสดโดยให้ผู้สอบบัญชีเปิดเผยค่าใช้จ่าย ทุกอย่างและกรมสรรพากรควรจะมีการตรวจสอบอย่างเข้มข้นเช่นกัน 2.กรณีการช่วยเหลือเกษตรกรนั้น ควรเปลี่ยนจากการใช้สัญญาจำนำเป็นสัญญาซื้อ เพราะผลประโยชน์จะตกกับเกษตรกรอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

สำหรับประเด็นระบบคุ้มครองข้าราชการนั้น "ธีระชัย"เสนอให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการของหน่วยงานขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ พิจารณาแต่งตั้งหรือโยกย้ายข้าราชการเป็นแนวทางป้องกันข้าราชการไม่ต้องวิ่ง นักการเมืองเพื่อให้ได้รับเลื่อนตำแหน่ง อีกทั้งถ้าข้าราชการส่งข้อมูลที่เห็นทุจริตให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ(ปปช.)ตรวจสอบ ต้องมีกฎหมายห้ามมิให้หน่วยงานกลั่นแกล้งข้าราชการ

โดยสรุปวิธีป้องกันที่ดีที่สุด ควรจะมีการแก้ไขกติกาบริหาร ควรตีกรอบการบริหารเศรษฐกิจเพื่อป้องกันความเสี่ยงทั้ง 3 อย่าง ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายลูกหรือกฎระเบียบต่างๆก็ตาม

 

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 28 มกราคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มูดี้ เตือน ประเทศในยุโรปตั้งทุนสำรองเพิ่ม(280/01/2556)

มูดี้ เตือน ประเทศในยุโรปตั้งทุนสำรองเพิ่ม รับมือวิกฤตหนี้ภาคอสังหาฯ

 

มูดี้ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ บอกว่า ธนาคารในสเปน // อิตาลี // ไอร์แลนด์ และอังกฤษ จำเป็นต้องตั้งสำรองเงินสดให้มากขึ้นเพื่อรองรับหนี้เสียจากตลาดอสังหาริม ทรัพย์และตลาดการเงิน ที่อาจจะเกิดภาวะวิกฤตขึ้น ซึ่งหมายความว่า ผู้เสียภาษีในยุโรปอาจจะถูกเก็บภาษีเพิ่มขึ้นอีกครั้ง

 

ที่มา : money channel (วันที่ 28 มกราคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ชี้หมดยุคแทรกแซงค่าเงินบาท (28/01/2556)

ด้าน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ระบุว่า ปัจจุบันหมดยุคที่จะมาแทรกแซงค่าเงินบาทกันแล้ว ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดดีที่สุด โดยแทรกแซงแต่น้อย เพื่อประคองไม่ให้ผันผวนมากก็พอ ขณะเดียวกัน ควรมุ่งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภายในให้ดีขึ้น ไม่ให้ภาวะค่าเงินบาทแข็งค่า มาทำให้เดือดร้อนทั่วหน้า เช่น ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โครงการลงทุน ที่สำคัญ ผู้ประกอบการอย่าเอาค่าเงินบาทไปเป็นตัวกำหนดแผนการทำธุรกิจ

 

เช่นเดียวกับ “กิตติรัตน์ ณ ระนอง” รองนายกฯ และ รมว.คลัง ที่ยืนยันหนักแน่นว่า การบริหารงานด้านนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลนั้น ต้องเดินหน้าตามแนวทางที่ตั้งไว้แต่ต้น คือ ปรับสมดุลและกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศ เพื่อลดพึ่งพาการส่งออก โดยหวังให้กำลังซื้อของประชาชนเป็นอาวุธใหม่ ในการดันเศรษฐกิจให้เติบโต โดยเฉพาะนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ พร้อมสนับสนุนภาคธุรกิจให้มาลงทุนในประเทศมากขึ้น

 

นอกจากนี้ยังเร่งดำเนินโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ที่ประเทศว่างเว้นมานานหลายปี ด้วยเชื่อว่า เมื่อโครงการเหล่านี้ชัดเจน จะมีเงินอัดฉีดเข้าระบบได้ 500,000 ล้านบาท ดันจีดีพีโตถึง 5% โดยไม่จำเป็นต้องอัดนโยบายประชานิยมใด ๆ อีก

 

ขณะที่ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก ประจำประเทศไทย ยืนยันว่า เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเร็วช่วงนี้ ไม่น่าจะเกิดจากการโจมตีค่าเงิน แต่มาจากเงินทุนต่างชาติ ที่ไหลเข้ามามาก โดยเฉพาะ ซึ่งเงินบาทมีทิศทางแข็งค่าต่อเนื่องมาหลายปีแล้วเพราะสภาพคล่องในระบบการเงินโลกมีสูงมาก จากมาตรการอัดฉีดเงินแก้วิกฤติการเงินของประเทศขนาดใหญ่

 

อย่างไรก็ตาม ต้องการให้รัฐบาลจัดทำ “กันชนทางการคลัง” ไว้รองรับ หากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้นอีกครั้ง ด้วยการลดนโยบายประชานิยม หรือการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น เพื่อเก็บเงินสำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉิน เพราะกังวลว่าหนี้สาธารณะของไทยในปีก่อนที่ 45% อาจเพิ่มเป็น 50% ของจีดีพีในปีนี้ และมีบางส่วนที่ถูกย้ายเข้าไปให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐรับภาระแทน ซึ่งมีผลทำให้แบงก์รัฐมีสถานะทางการเงินอ่อนแอลง และเป็นภาระหนี้ผูกพันของรัฐบาล

 

จะใช่สงครามค่าเงินหรือไม่ก็ตาม แต่มองโดยภาพรวมในขณะนี้แล้ว เห็นได้ชัดเจนว่า ทุกครั้งที่เงินบาทแข็งค่าขึ้น ผู้ส่งออกก็เดี้ยงทุกครั้งไป เรียกร้องขอยาแก้ไข้ตลอดเวลา ขณะที่รัฐบาล ไม่ได้จริงจังที่จะแก้ปัญหาระยะยาวอย่างครบวงจร ถ้าวันนี้ยังขนาดนี้ หากเกิดสงครามค่าเงินขึ้นจริง ๆ ทั้งรัฐทั้งเอกชน เคยลองถามตัวเองดูหรือยังว่า พร้อมรับมือแค่ไหน.

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (วันที่ 28 มกราคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อียิปต์ประกาศภาวะฉุกเฉิน 3 เมืองใหญ่

ข่าวต่างประเทศ วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ.2556 8:19น.

 

ปธน.อียิปต์ ประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ใน 3 เมืองใหญ่ ซูเอซ, พอร์ท ซาอิด และ อิสเมเลีย เป็นเวลา 30 วัน หลังเกิดเหตุจราจล มีผู้เสียชีวิต 33 ราย บาดเจ็บกว่า 300 คน

สำนักข่าวบีบีซี ของอังกฤษ รายงานว่า ประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มูร์ซี แห่งอียิปต์ ได้ประกาศเคอร์ฟิว และสถานการณ์ฉุกเฉิน ใน 3 เมืองใหม่ ประกอบด้วย อิสเมเลีย, ซูเอซ และ พอร์ท ซาอิด หลังเกิดเหตุจลาจลรุนแรงจนถึงขั้นนองเลือด ในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ ที่ผ่านมา โดยอ้างว่า เพื่อหยุดเหตุนองเลือด

 

โดยการประกาศเคอร์ฟิว ห้ามประชาชนออกจากบ้านเรือนของตนเอง ตั้งแต่เวลา 06.00-21.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น จะมีผลใน 3 เมือง เป็นเวลา 30 วัน พร้อมกันนี้ ได้มีการนัดหมายผู้นำทางการเมือง เพื่อหารือในการแก้ปัญหาดังกล่าว วันนี้

 

รายงานระบุว่า ความรุนแรงในอียิปต์ระลอกใหม่ เกิดจากการปะทะกันของกลุ่มผู้ประท้วง และกองกำลังทหารอียิปต์ จนเป็นเหตุให้ประชาชนเสียชีวิตอย่างน้อย 31 คน และบาดเจ็บกว่า 300 คน หลังจากศาลพิจารณาพิพากษาประหารชีวิตแฟนบอล 21 คน จากเหตุก่อจราจลในสนามฟุตบอล ในเมืองพอร์ท ซาอิด จนมีผู้เสียชีวิต เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปีก่อน ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้น มีผู้เสียชีวิตไปถึง 74 ราย

 

นอกจากนี้ ยังมีการปะทกันของกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้าน ประธานาธิบดีมูร์ซี กับเจ้าหน้าที่ในกรุงไคโ รเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ในโอกาสครบรอบ 2 ปี การปฏิวัติประชาชนโค่นล้มอำนาจเผด็จการของ อดีตประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค จนมีผู้เสียชีวิตหลายรายด้วย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ชง 7 มาตรการสกัดเงินไหลเข้า (28/01/2556)

ส.อ.ท.ตบเท้าพบผู้ว่าการแบงก์ชาติหาทางออกค่าเงินบาทแข็งสัปดาห์นี้ ชง 7 มาตรการรับมือ สกัดเงินไหลเข้า ให้ผู้ส่งออกถือดอลลาร์ได้นานขึ้น หลังสำรวจพบ 10 กลุ่มอุตสาหกรรมอ่วมหนัก เงินบาทแข็งเป็นอันดับ 1 ของภูมิภาคเอเชีย แข่งขันได้ลำบาก ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์แนะคลายกฎลงทุนนอกบ้าน ส่วน บมจ.ซีไอเอ็มบีให้ซื้อประกันความเสี่ยง ขณะที่ทีดีอาร์ไอบอกอย่าเพิ่งใช้ยาแรงหากผันผวนไม่เกิน 5%

 

จากสถานการณ์ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นอยู่ในระดับ 29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯขณะนี้ กำลังส่งผลกระทบอย่างหนักต่อผู้ประกอบการส่งออกทั้งประเทศ แม้ในช่วงที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)จะออกมาตรการเข้ามาดูแล แต่ไม่สามารถทัดทานแนวโน้มของค่าเงินบาทที่จะปรับตัวแข็งค่าขึ้นอีกได้ ทำให้ภาคเอกชนทนไม่ไหว ต้องออกมาเรียกร้องให้ธปท.ดำเนินมาตรการเข้าแทรกแซงค่าเงินบาท เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมการส่งออกในขณะนี้

 

นายเจน นำชัยศิริ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมเพื่อหารือมาตรการรับมือว่า ในต้นสัปดาห์นี้ส.อ.ท.จะเข้าหารือกับนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธปท. เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาเงินบาทที่แข็งค่าอยู่เวลานี้ เนื่องจากผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมส่งออกได้รับผลกระทบอย่างหนัก จากอัตราแลกเปลี่ยนที่ลดลงเป็นอย่างมาก โดยจะเสนอมาตรการรับมือรวม 7 ข้อ ประกอบด้วย 1.พยายามดูแลไม่ให้ค่าเงินบาทมีการผันผวน ถึงแม้ว่า ธปท.จะดูแลในเรื่องนี้มาตลอด แต่ก็อยากให้มีการทยอยปรับค่าเงินบาท

 

2. อย่าให้ค่าเงินบาทแข็งกว่าคู่แข่ง โดยเฉพาะอินโดนีเซีย และมาเลเซีย เนื่องจากอุตสาหกรรมหลายๆ สาขาทั้ง 2 ประเทศถือเป็นคู่แข่งทางการตลาดโลก

 

3. ปลดล็อกการถือครองเงินตราต่างประเทศ ให้ผู้ส่งออกไทย ถือครองดอลลาร์สหรัฐฯได้นานขึ้น

 

4. ลดวงเงินค่าธรรมเนียมการทำประกันความเสี่ยงการส่งออกให้กับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) และอย่านำไปรวมกับวงเงินสินเชื่อที่จะปล่อยให้กับเอสเอ็มอี

 

5. ขอให้ธปท.แยกบัญชีเงินตราต่างประเทศ ที่เข้ามาเก็งกำไร โดยให้กำหนดแยกรายการบัญชีที่เข้ามาลงทุน มีวัตถุประสงค์ว่าจะลงทุนในรายการใดบ้างให้ชัดเจน ส่วนเงินทุนที่เข้ามาเพื่อทำกำไรจากค่าบาท ก็ให้กำหนดมาตรการออกมาควบคุม เช่น มาตรการสำรอง 30% ในช่วง 6 เดือน ถึง 1 ปี อย่างที่เคยทำมาก่อนในอดีต หรือการเก็บภาษีจากกำไรจากการขายหุ้น เป็นต้น

 

6. เร่งออกมาตรการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ให้นักลงทุนไทยไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งเข้าใจว่าสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) กำลังดำเนินการเรื่องนี้อยู่ แต่อยากจะให้เร่งดำเนินการมากกว่านี้ และ

 

7. ให้ภาครัฐเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ในช่วงที่เงินบาทแข็งค่า ทั้งการลงทุนภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะภาครัฐมีโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมาก ควรจะต้องรีบลงทุนในขณะนี้

นายเจน กล่าวอีกว่า การที่ต้องเร่งให้ธปท.มีมาตรการรับมือกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นนี้ เนื่องจากพบว่าในจำนวน 25 กลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดมีถึง 40% ใน 10 กลุ่มได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง กลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิก กลุ่มอุตสาหกรรมรองเท้า กลุ่มอุตสาหกรรมโรงเลื่อยและโรงอบไม้ กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องหนังและผลิตภัณฑ์หนัง กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร กลุ่มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม กลุ่มอุตสาหกรรมน้ำตาล

 

นอกจากนี้ ยังมีอีก 28% ที่มีผลกระทบปานกลางใน 7 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ กลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง กลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ กลุ่มอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ เครื่องจักรกลการเกษตร ชิ้นส่วนรถยนต์ สมาคมเอสเอ็มอี และ 32% ไม่มีผลกระทบ รวม 8 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มอุตสาหกรรมก๊าซ กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการ กลุ่มอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ กลุ่มอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มอุตสาหกรรมยา กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน และกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก

 

ขณะที่ข้อมูลของสำนักวิชาการ ส.อ.ท.ที่รวบรวมการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนของไทย และของประเทศภูมิภาคเอเชีย เทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯพบว่า ค่าเงินบาทของไทย ตั้งแต่ช่วงวันที่ 21 ธันวาคม 2555 ถึงวันที่ 17 มกราคม 2556 มีการปรับตัวแข็งค่าขึ้นเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย โดยแข็งค่าเพิ่มขึ้น 3.13% อินเดีย 2.4% เกาหลีใต้ 2.3% มาเลเซีย 2.2% ฟิลิปปินส์ 1.62% เวียดนาม 0.6% ไต้หวัน 0.45% จีน 0.4% และที่น่าเป็นห่วงที่สุด คืออินโดนีเซีย แข็งค่าขึ้นเพียง 0.05% แข็งค่าน้อยกว่าไทยถึง 3% ทำให้ไทยเสียเปรียบในการแข่งขันการส่งออกเป็นอย่างมาก

"กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบมากที่สุดจะเป็นกลุ่มที่มีการผลิตในประเทศไทยแล้วส่งออกต่างประเทศ เพราะมีต้นทุนการส่งออกที่สูง ในขณะที่ผู้ประกอบการที่นำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศจะได้เปรียบกว่ากลุ่มอุตสาหกรรมอื่น ซึ่งจากที่ดูข้อมูลค่าเงินบาทในอัตราแลกเปลี่ยนที่ธปท.กำหนดไม่ได้เปรียบเทียบค่าเงินบาทที่ไทยเสียเปรียบโดยเฉพาะกลุ่มอาเซียนด้วยกัน แต่ไปดูในภาพกว้างแทน"

 

ด้านนายวัลลภ วิตนากร รองประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า ในการพบกับผู้ว่าการธปท.สัปดาห์นี้ นอกจากเสนอ 7 มาตรการดังกล่าวแล้ว จะมีการหารือถึงนโยบายอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยของไทยที่ระดับ 2.75% นั้นสูงมากเมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยภูมิภาคอื่น เช่น ญี่ปุ่น ที่มีดอกเบี้ยอยู่ที่ 0.1% โดยเอกชนมองว่าเงินทุนไหลเข้าไทยในขณะนี้ เป็นการไหลเข้าของเงินทั้ง 3 สกุล คือเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เงินยูโร และเงินเยน และมีแนวโน้มจะไหลเข้าต่อเนื่อง ดังนั้น ค่าเงินบาทหากไม่มีการบริหารจัดการที่ดี ก็มีแนวโน้มจะแข็งค่าขึ้นไปอีก ทำให้ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก

"ค่าเงินอาจจะอ่อนหรือแข็ง ในช่วง 2 เดือนนี้ แต่เชื่อว่าทิศทางแนวโน้มเงินบาทจะแข็งกว่านี้แน่นอน ธปท.ควรจะลบแนวคิดเก่าๆ คือ การเปรียบเทียบอัตราค่าเงินบาทที่แข็งเป็นไปตามภูมิภาค ซึ่งไม่ควรพูดตรงนี้แล้ว แต่ควรจะพูดและเปรียบเทียบกับประเทศที่เป็นคู่แข่งกับเรา อีกอย่างไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของภูมิภาคนี้ ดังนั้น ผู้ว่าการ ธปท.ไม่ควรยึดแนวทางเดิม ควรแก้ปัญหาให้ตรงจุด"

 

ขณะที่ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจบมจ.ไทยพาณิชย์รายงานว่า แนวโน้มเงินบาทยังแข็งค่าเพราะระหว่างนี้ยังมีปริมาณเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาต่อเนื่อง โดยมีโอกาสที่ปลายไตรมาสแรกของปีนี้จะเกิดความผันผวนในตลาดเงิน ซึ่งมีโอกาสที่ธปท.จะใช้มาตรการลดดอกเบี้ยนโยบายได้อีก 0.50% ในครึ่งแรกของปีนี้ ขณะที่สิ้นปีศูนย์ยังคาดการณ์เงินบาทจะแข็งค่าที่ระดับ 29.50บาทต่อดอลลาร์

"ส่วนมาตรการดูแลค่าเงินนั้นน่าจะเป็นแนวทางการผ่อนคลายกติกาเปิดโอกาสให้นำเงินออกไปลงทุนต่างประเทศมากกว่าที่จะเลือกใช้มาตรการควบคุมเงินทุนเคลื่อนย้ายหรือ Capital Control รวมถึงมาตรการเก็บภาษีเงินทุนไหลเข้าที่เข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้หรือTobin Tax "

 

สอดคล้องกับนายเผด็จ วิรุฬห์สิทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ซีไอเอ็มบีไทย กล่าวว่า ภาษี Tobin Tax นั้นขึ้นอยู่กับทางการจะเลือกใช้มาตรการดังกล่าวหรือไม่ เพราะภาษีที่จัดเก็บจากธุรกรรมที่เงินเข้ามาลงทุนไม่ครบ 1 ปี อาจมีผลแค่ระยะสั้น ส่วนตัวมองว่าทางการยังไม่เลือกใช้มาตรการหรือประกาศมาตรการที่ฝืนตลาดทำให้ทางการต้องใช้เวลาพิจารณาถึงผลกระทบที่จะตามมาในภายหลังด้วย ดังนั้นเงินบาทระหว่างนี้ยังคงแข็งค่าอีกระยะ เพราะเหตุยังไม่มีทางเลือกหรือเครื่องมือที่จะสกัดเงินทุนต่างประเทศที่ยังไหลเข้ามาทั้งตลาดตราสารหนี้และตลาดหุ้น อีกทั้งนอกจากภาพรวมพื้นฐานเศรษฐกิจที่ดีแล้ว เงินที่ไหลเข้ามายังทำกำไรจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน โดยส่วนของผู้ส่งออกจึงอยากแนะนำให้ป้องกันตัวเองด้วยการซื้อประกันความเสี่ยงหรือHedgeไว้ก่อน ที่สำคัญต้องกำหนดราคาขายที่จะได้รับในอีก 3-6 เดือนข้างหน้า เพื่อให้สอดคล้องกับช่วงที่จะได้รับเงินจริงๆ

 

นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยหรือทีดีอาร์ไอ มองว่า ภาวะเงินบาทแข็งจะมีโอกาสขยายวงกว้างนานตลอดทั้งปีและมีความผันผวนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละจังหวะที่มีปริมาณเงินไหลเข้ามา ทั้งจากมาตรการอัดฉีดเงินเข้าระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯและการเปิดตลาดการค้าเสรีอาเซียน โดยมองว่าธปท. จำเป็นต้องมีมาตรการดูแลเพื่อลดความผันผวนหรือกำหนดทิศทางค่าเงินระยะปานกลางเท่านั้น และกรณีค่าเงินผันผวนรุนแรงเกิน 5% จึงใช้มาตรการดังกล่าวแต่ไม่ควรใช้มาตรการแทรกแซงค่าเงินให้อ่อนค่ารุนแรงหรือมาตรการเพื่อกำหนดทิศทางค่าเงินชัดเจนเช่นในอดีตอีก ไม่เช่นนั้นตลาดจะช็อก หรือหุ้นตกรุนแรง

 

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาความผันผวนค่าเงินบาทยังไม่รุนแรงมาก และเห็นทิศทางนโยบายของผู้ว่าการธปท.ได้ปรับให้เป็นไปในทิศทางเช่นเดียวกันนี้ ว่าเป็นสิ่งที่ดี" ภาวะเงินบาทขณะนี้ อยากให้ปล่อยไปตามกลไกตลาดมากกว่า บาทอ่อนหรือแข็งตามธรรมชาติ ไม่แทรกแซงจนกำหนดทิศทางไปทางใดทางหนึ่ง"

 

ดังนั้น ภาวะเงินบาทแข็ง เป็นโอกาสที่ดีในระยะยาว ส่วนตัว ไม่อยากให้มองเป็นภาวะที่น่ากังวลจะกระทบภาคส่งออกและเศรษฐกิจแย่ลงอีกแล้ว เพราะภาวะเศรษฐกิจไทยขณะนี้อยู่ในช่วงปรับสมดุลโครงสร้างเศรษฐกิจ ลดการพึ่งพาการส่งออกหันพึ่งการบริโภคในประเทศ

 

จึงควรใช้จังหวะที่ค่าเงินบาทแข็ง ให้โอกาสที่ช่วยส่งเสริมการลงทุน นำเข้าเครื่องจักรด้วยต้นทุนที่ถูกลงได้ และหากรัฐบาลเร่งผลักดันการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้าน ในช่วงค่าเงินบาทแข็งจะถือว่าจะได้ประโยชน์2เด้ง ณ วันศุกร์(25ม.ค.) เงินบาดอยู่ที่ระดับ 29.89 บาทต่อดอลล์จากก่อนหน้า(18ม.ค.)อยู่ที่ 29.75 บาทต่อดอลล์เงินบาทที่กลับมาอ่อนค่าลงสอดคล้องกับสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค หลังจาก ที่กระแสเงินทุนไหลเข้าเริ่มชะลอตัว โดยนักลงทุนซื้อคืนดอลล์และจับสัญญาณการเข้าดูแลค่าเงินของทางการศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองแนวโน้มสัปดาห์นี้ (28ม.ค.-1ก.พ.)เงินบาทอาจเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 29.70-30.00 บาทต่อดอลล์

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 27-30 มกราคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ช่วงนี้ ใครจะต้องทำเคลมภาษีเงินได้ ภงด. คืน กรณีดอกเบี้ยเงินฝากที่ถูกหักภาษี 15% รีบทำก่อนนะครับ โดยยื่นผ่าน อินเตอร์เนต จะได้รับเช็คคืนภายใน 15 วัน หุหุ ช่วงนี้ งานสรรพากร ยังไม่เยอะ ยื่นเร็วได้เงินคืนเร็ว นะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...