ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

น้ำมัน WTI ปิดบวก 37 เซนต์ ขานรับความเชื่อมั่นยุโรป

 

วันพฤหัสบดี, 31 มกราคม 2556 07:51 | อัพเดตล่าสุดเมือ วันพฤหัสบดี, 31 มกราคม 2556 07:51 | วันเผยแพร่ | printButton.png | emailButton.png

 

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 37 เซนต์ หรือ 0.4% ปิดที่ 97.94 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 97.32-98.24 ดอลลาร์

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาดลอนดอน เพิ่มขึ้น 54 เซนต์ หรือ 0.5% ปิดที่ 114.90 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 114.07-115.24 ดอลลาร์

 

 

สัญญาน้ำมันดิบ เวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (30 ม.ค.) หลังจากคณะกรรมาธิการยุโรปเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของยุโรปปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือน ที่ 3 และตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐที่ปรับตัวสูงขึ้น

 

สัญญาน้ำมันดิบดีดตัวขึ้นหลังจากคณะกรรมาธิการยุโรปเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของยุโรปปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือน ที่ 3 ในเดือนม.ค. โดยปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 89.2 จุด มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 88.2 จุด

 

นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนหลังจาก ADP ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยตลาดแรงงานในสหรัฐ เปิดเผยว่า ภาคเอกชนทั่วสหรัฐมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 192,000 ตำแหน่งในเดือนม.ค.เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค. ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ ส่งสัญญาณว่าตลาดแรงงานสหรัฐกระเตื้องขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม สัญญาน้ำมันดิบขยับขึ้นเพียง 37 เซนต์เท่านั้น เนื่องจากภาวะการซื้อขายได้รับแรงกดดันจากรายงานของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐที่ ระบุว่า ตัวเลขประมาณการครั้งแรกของจีดีพีที่แท้จริงประจำไตรมาส 4/2555 หดตัวลง 0.1% สวนทางกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าจะขยายตัว และเป็นครั้งแรกที่จีดีพีหดตัวลงนับตั้งแต่ผ่านพ้นภาวะเศรษฐกิจถดถอยช่วงปี 2550-2552

 

นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยลบหลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 25 ม.ค. พุ่งขึ้น 5.95 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 369.1 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 3.1 ล้านบาร์เรล

 

ขณะที่สต็อกน้ำมันกลั่นร่วงลง 2.32 ล้านบาร์เรล แตะที่ 130.6 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 1.9 ล้านบาร์เรล และสต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 956,000 บาร์เรล แตะที่ 232.3 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่คาดว่าจะลดลง 150,000 บาร์เรล ส่วนอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันพุ่งขึ้น 1.4% ตรงข้ามกับที่คาดว่าจะลดลง 0.5%

 

http://www.moneychannel.co.th

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธนาคารกลางฮ่องกงตรึงดอกเบี้ยที่ 0.50% ตามเฟด (31/01/2556)

ธนาคารกลางฮ่องกง (HKMA) ประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.50% ในวันนี้ หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (fed funds rate) ที่ระดับ 0 - 0.25% ในการประชุมระยะเวลา 2 วันซึ่งเสร็จสิ้นเมื่อคืนนี้

 

ทั้งนี้ ฮ่องกงมักจะปรับอัตราดอกเบี้ยตามสหรัฐ เนื่องจากฮ่องกงผูกติดค่าเงินดอลลาร์ฮ่องกงกับดอลลาร์สหรัฐ

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 31 มกราคม 2556)

 

คาดจีดีพีของจีนขยายตัว 8.4% ในปีนี้(31/01/2556)

สถาบันวิจัยแห่งชาติจีนคาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศจีน (จีดีพี) จะขยายตัวในอัตรา 8.4% ในปี 2556 เพิ่มขึ้น 0.6% เมื่อเทียบกับจีดีพีในปี 2555 พร้อมคาดว่าเศรษฐกิจจีนจะดีดขึ้นปานกลางในปี 2556 โดยอุตสาหกรรมขั้นทุติยภูมิและขั้นตติยภูมิจะขยายตัว 8.9% และ 8.8% ตามลำดับ

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ(วันที่ 31 มกราคม 2556)

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ (31/01/2556)

ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนนี้ (30 ม.ค.) เพราะตลาดได้รับแรงกดดันจากรายงานของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐที่ระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศประเทศ (จีดีพี) หดตัวลงในไตรมาส 4/2555

 

ดัชนี Stoxx Europe 600 ลดลง 0.6% ปิดที่ 288.63 จุด

 

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 3765.52 จุด ลบ 20.30 จุด ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 7811.31 จุด ลบ 37.26 จุด ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6323.11 จุด ลบ 16.08 จุด

 

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (30 ม.ค.) หลังจากแถลงการณ์ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐเผชิญกับภาวะชงักงันในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากรายงานของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐที่ระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศประเทศ (จีดีพี) หดตัวลงในไตรมาส 4/2555

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปรับตัวลง 44.00 จุด หรือ 0.32% ปิดที่ 13,910.42 จุด ดัชนี S&P 500 ลดลง 5.88 จุด หรือ 0.39% ปิดที่ 1,501.96 จุด และดัชนี Nasdaq ลดลง 11.35 จุด หรือ 0.36% ปิดที่ 3,142.31 จุด

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (30 ม.ค.) เนื่องจากการหดตัวลงของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 4/2555 ของสหรัฐ ได้กระตุ้นให้นักลงทุนแห่ซื้อทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัยในยามที่เศรษฐกิจชะลอตัว

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.พุ่งขึ้น 18.9 ดอลลาร์ หรือ 1.14% ปิดที่ 1,681.6 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1685.0-1663.5 ดอลลาร์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 99.3 เซนต์ ปิดที่ 32.177 ดอลลาร์ ส่วนสัญญาโลหะทองแดงส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 5.85 เซนต์ ปิดที่ 3.7500 ดอลลาร์/ปอนด์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.ปิดที่ 1,689.30 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 10.40 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.ปิดที่ 751.40 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 1.65 ดอลลาร์

 

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (30 ม.ค.) หลังจากคณะกรรมาธิการยุโรปเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของยุโรปปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 และตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐที่ปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม สัญญาน้ำมันดิบกระเตื้องขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากตลาดได้รับแรงกดดันจากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐที่หดตัวลงในไตรมาส 4/2555 และสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐที่พุ่งขึ้นเกินคาดในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 37 เซนต์ หรือ 0.4% ปิดที่ 97.94 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 97.32-98.24 ดอลลาร์

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาดลอนดอน เพิ่มขึ้น 54 เซนต์ หรือ 0.5% ปิดที่ 114.90 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 114.07-115.24 ดอลลาร์

 

-- สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับยูโร ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (30 ม.ค.) หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศประเทศ (จีดีพี) หดตัวลงในไตรมาส 4/2555 ขณะที่สกุลเงินยูโรแข็งค่าขึ้นขานรับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของยุโรป

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ค่าเงินยูโรพุ่งขึ้นแตะระดับ 1.3567 ดอลลาร์ จากระดับวันอังคารที่ระดับ 1.3487 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์พุ่งขึ้นแตะระดับ 1.5793 ดอลลาร์ จากระดับ 1.5760 ดอลลาร์

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 91.2 เยน จากวันอังคารที่ระดับ 90.71 เยน แต่ร่วงลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9109 ฟรังค์ จากระดับ 0.9221 ฟรังค์

 

-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลบเมื่อคืนนี้ (30 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) หดตัวลงในไตรมาส 4 ปี 2555 อย่างไรก็ตาม ตลาดได้รับแรงหนุนในระหว่างวันจากดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของยุโรป

 

ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ลดลง 16.08 จุด หรือ 0.25% ปิดที่ 6,323.11 จุด หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 6,316.29-6,354.46 จุด

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 31 มกราคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดทองคำ Gold Futures by Classic Gold Futures (31/01/2556)

คลาสสิก โกลด์ ฟิวเจอร์ส

 

Price Movement

 

ราคาทองคำในตลาด COMEX ปิดที่ 1,679.90 USDต่อออนซ์เพิ่มขึ้น 19.10 USDต่อออนซ์ ราคาทองคำแกว่งตัวในกรอบระหว่าง 1,661.80 — 1,683.20 USDต่อออนซ์ ราคาทองคำปรับตัวขึ้นแรงหลังจากการประกาศตัวเลข GDP ไตรมาส 4/2012 ของสหรัฐหดตัวลง 0.1% ซึ่งเป็นการหดตัวลงครั้งแรกนับจากปี 2009 เป็นต้นมา นักลงทุนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆ ส่วนผลการประชุม FOMC นั้นเฟดยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำเช่นเดิม และคงอัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจจำนวน 85 พันล้านUSDต่อเดือนต่อไป ค่าเงิน USD อ่อนค่าลงต่อเนื่องเมื่อเทียบกับเงินยูโร โดยมาอยู่ที่ระดับ 1.3566 USDต่อยูโร ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องจากค่าเงิน USD ที่อ่อนค่าลง และการประกาศตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นของยูโรโซนปรับตัวดีขึ้น ในช่วงเช้าวันนี้ราคาทองคำเคลื่อนไหวบริเวณ 1,676 USDต่อออนซ์ ราคาปรับตัวขึ้นยืนเหนือเส้น MA 200 วันได้ มีแนวโน้มดีขึ้น โดยมีแนวต้านถัดไปบริเวณ 1,685/1,697 แนวรับบริเวณ 1,670/1,663 แนะนำ ถ้าเปิด Short ไว้ที่บริเวณ 1,680 ให้ปิดทำกำไรเมื่อราคาอ่อนตัวลงมาบริเวณ 1,670/1,663 จากนั้นค่อยเปิด Long เล่นรอบใหม่บริเวณแนวรับ หรือ Trading ในกรอบแนวรับ แนวต้าน

 

Spot Gold

 

Technical Analysis

 

ภาพกราฟราย 4 ช.ม. ราคาดีดตัวขึ้นแรง แต่มีแรงขายทำกำไรบริเวณ 1,680 — 1,682 ทำให้ในช่วงเช้านี้ย่อตัวลงมาเล็กน้อย ถ้าหากหลุดบริเวณ 1,675 จะอ่อนตัวลงมาที่บริเวณแนวรับถัดไป 1,670/ 1,663 ส่วนแนวต้านวันนี้มีที่บริเวณ 1,685/1,697 ถ้าเปิด Short ไว้ที่บริเวณ 1,680 ให้ปิดทำกำไรในช่วงราคาอ่อนตัวบริเวณ 1,670/1,663 แล้วค่อยกลับมาเปิด Long รอบใหม่หรือ Trading ในกรอบแนวรับ แนวต้าน

 

Key Point in Precious Market

 

- ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาทองคำ ค่าเงิน USD อ่อนค่าลง (+) ค่าเงินยูโรมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ( + ) ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้น ( + ) เงินบาทแข๊งค่าขึ้น ( - ) GDP ไตรมาสที 4 ของสหรัฐหดตัวลง 0.1% ( + ) เฟดคงอัตราดอกเบี้ยต่ำ และอัดฉีดเงินเข้าระบบ ( + )

 

- ประเด็นที่ต้องติดตาม ประชุมเฟด 29 — 30 ม.ค. การใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน และ ญี่ปุ่น

 

- การรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐ วันพฤหัสบดี จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน รายสัปดาห์, ต้นทุนการจ้างงาน ไตรมาส 4/2012, รายได้และรายจ่ายส่วนบุคคล เดือน ธ.ค., ดัชนีมุมมองต่อการทำธุรกิจของฝ่ายจัดซื้อ(ชิคาโก) เดือน ม.ค. วันศุกร์ ยอดการจ้างงานนอกภาคการเกษตร เดือน ม.ค., อัตราการว่างงาน เดือน ม.ค., ดัชนีมุมมองต่อการทำธุรกิจของฝ่ายจัดซื้อในภาคธุรกิจ เดือน ม.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อ ดัชนีมุมมองต่อการทำธุรกิจของฝ่ายจัดซื้อในภาคธุรกิจ ค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้าง

 

- SPDR ถือทองจำนวน 1,328.09 ตัน

 

Spot Silver

 

ราคาโลหะเงินปิดที่ 32.18 USDต่อออนซ์เพิ่มขึ้น 0.99 USDต่อออนซ์ มีความเคลื่อนไหวระหว่าง 31.25 — 32.30 USDต่อออนซ์ ภาพกราฟทางเทคนิค ราคาดีดตัวขึ้นแรงแต่ติดแนวต้านบริเวณเส้น MA 400 วันและ 100 วัน ทำให้มีแรงขายทำกำไร และราคาอ่อนตัวลงมา วันนี้มีแนวต้านบริเวณ 32.3/32.4 มีแนวรับบริเวณ 31.8/31.6 โดย ishares silver trust ถือโลหะเงินจำนวน 10,443.19ตัน คาดว่าวันนี้มี แนะนำ ปิด Short ทำกำไรเมื่อราคาอ่อนตัวลงมาบริเวณแนวรับ

 

ที่มา : ThaiPR.net (วันที่ 31 มกราคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รัฐตั้งทีมนักเศรษฐศาสตร์รับมือค่าเงิน(31/01/2556)

ยิ่งลักษณ์สั่งตั้งทีมนักเศรษฐศาสตร์ศึกษามาตรการรับมือค่าเงินบาท ยันอำนาจตัดสินใจยังเป็นของธปท.

 

ที่ประชุมทีมเศรษฐกิจรัฐบาลที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน สั่งตั้งทีมนักเศรษฐศาสตร์การเงิน ให้ปรึกษาหารือกำหนดมาตรการที่จำเป็นในการรับมือค่าเงินบาทที่แข็งค่าและ ผันผวน จากเงินทุนไหลเข้าในระยะสั้น อย่างไรก็ตามที่ประชุมยืนยันว่า อำนาจการตัดสินใจดำเนินนโยบายยังเป็นของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

 

ทั้งนี้ ทีมนักเศรษฐศาสตร์ มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และรมว.คลังเป็นตัวแทนของรัฐบาล มีนักเศรษฐศาสตร์คนสำคัญในรัฐบาลและหน่วยงานเศรษฐกิจ เช่น นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธานที่ปรึกษานายกฯ นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการธปท. นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธปท.

 

นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า ธปท.รายงานว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นและผันผวนขณะนี้ เป็นเพราะการไหลเข้ามาของเงินทุนจากต่างประเทศในช่วงสั้นๆ ในตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์ฯ และตลาดพันธบัตร แต่ยืนยันจะไม่นำมาตรการควบคุมการไหลเข้าออกของเงินทุนมาใช้แน่นอน

 

ส่วนมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีจากค่าเงินบาทและค่าแรง 300 นั้น นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รมต.ประจำสำนักนายกฯ ประธานคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือเอสเอ็มอี ระบุว่า จะเรียกประชุมคณะกรรมการเร็วๆนี้ เพื่อกำหนดมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม ซึ่งได้เชิญตัวแทนภาคเอกชน เช่น ส.อ.ท. หอการค้า ตลาดหลักทรัพย์ MAI สถาบันการเงิน เข้าร่วมเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยขณะนี้ยังไม่พบสัญญาณการปิดตัวของโรงงานที่ผิดปกติ แต่รัฐบาลจะติดตามสถานการณ์ต่อเนื่อง

 

ที่มา : โพสต์ทูเดย์(วันที่ 31 มกราคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ไทยพาณิชย์หนุนลดดอกเบี้ยสกัดเงินไหลเข้า (31/01/2556)

ไทยพาณิชย์หนุนลดดอกเบี้ยสกัดเงินไหลเข้าควบคู่ไปกับมาตรการหนุนไปลงทุนต่างแดน แนะแบงก์ชาติดูแลบาทเคลื่อนไหวสอดคล้องคู่แข่ง

 

นายพชรพจน์ นันทรามาศ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (EIC) ให้สัมภาษณ์ผ่านร่ายการ Morning News "กรุงเทพธุกิจทีวี" ในช่วงเช้าของวันนี้ (31 ม.ค.) ถึงกรณีที่นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เสนอให้ธปท.ลดดอกเบี้ยเพื่อสกัดฟองสบู่ตลาดหุ้น และตราสารหนี้ ว่า เห็นด้วยกับแนวคิดของนายวีรพงษ์ แม้ธปท.จะมี 3-4 มาตรการ ที่สนับสนุนให้เอกชนนำเงินไปลงทุนต่างประเทศ หรือสนับสนุนในการลดแรงกดดันการแข่งค่าของเงินบาท แต่ต้องยอมรับว่าส่วนต่างดอกเบี้ยระหว่างไทยกับสหรัฐ ต่างกันมาก ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มีเงินเคลื่อนย้ายเข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้ และตลาดหุ้นไทย เพื่อทำกำไรส่วนต่างจากดอกเบี้ย

 

ทั่้งนี้ การลดดอกเบี้ยน่าจะสารถทำควบคู่ไปกับมาตรการลดแรงกดดันเงินบาทแข็งค่าของธปท. ได้ เพราะแรงกดดันเงินเฟ้อในปีนี้น่าจะไม่รุนแรง หากเป็นไปตามกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ธปท.คาดว่าเงินเฟ้อในปีนี้จะอยู่ที่ 2.8% การลดดอกเบี้ยไม่น่าจะมีให้เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นมากนัก

 

นอกจากนี้ นายพชรพจน์ ยังระบุด้วยว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยควรเข้าไปดูแลความผันผวนของค่าเงินบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการส่งออก เพราะต้องยอมรับว่าตั้งแต่ต้นปีค่าเงินบาทแข็งค่ามากเมื่อเทียบกับคู่แข่ง โดยตั้งแต่ต้นปีค่าเงินบาทแข็งค่าประมาณ 2-3% ขณะที่คู่แข่งแข็งค่าไม่ถึง 1% ซึ่งทำให้ความสารถการแข่งขันส่งออกของไทยเสียเปรียบ

 

ส่วนเงินทุนไหลเข้าที่มาเก็งกำไรผ่านตลาดตราสารหนี้ ที่ขณะนี้ส่วนใหญ่เข้ามาพักในตราสารหนี้ระยะสั้น นายพชรพจน์ มองว่า ไม่น่ากังวลเท่ากับการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าสูงกว่าคู่แข่ง เพราะกระทบกับการส่งออกของไทย

 

สำหรับแนวโน้มการส่งออกในปีนี้ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์มองว่า จะขยายตัวเพียง 7.5-8% โดยในช่วงครึ่งปีแรก ยังคงได้รับแรงกดดันจากปัญหาการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรป ที่ยังไม่สู้ดีนัก

 

อย่างไรก็ตาม มองว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปีนี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จะขยายตัวประมาณ 4.9% โดยได้รับปัจจัยหนุนจากการบริโภคในประเทศ และการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจค) ของรัฐบาล

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 31 มกราคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โกร่ง " หนุนลดดอกเบี้ยนโยบาย สกัดเงินร้อนไหลเข้า(31/01/2556)

0 มกราคม 2556 นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ "Thailand's Economic Outlook 2013" จัดโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ว่า ผลกระทบจากการใช้มาตรการกระตุ้นและอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่นก็ดี ได้สร้างความกังวลต่อปัญหาเงินร้อนที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น และตลาดตราสารหนี้ของไทยอย่างร้อนแรง

 

ทั้งที่ปัจจัยพื้นฐานในประเทศ ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไม่เปลี่ยนแปลง แต่หุ้นกลับปรับตัวสูงขึ้น สะท้อนว่าเงินทุนไหลเข้ามาเก็งกำไร ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น และเสี่ยงว่าจะสร้างปัญหาฟองสบู่ในตลาดเงิน รวมถึงอาจลุกลามไปสร้างฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการจะแก้ปัญหาเงินทุนไหลเข้า ต้องแก้ให้ตรงจุด เพราะตอนนี้ประเทศต่างๆปล่อยสภาพคล่องท่วมโลก ดอกเบี้ยสหรัฐต่ำ 0.25% ดอกเบี้ยยุโรป ญี่ปุ่นก็ต่ำ แต่ดอกเบี้ยนโยบายไทยสูงโต่ง 2.75% อยู่ประเทศเดียว เป็นจุดสำคัญที่ทำให้เงินไหลเข้า

 

"การประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจในช่วงเช้า (30 ม.ค.) รัฐบาลก็ประชุม แต่ไม่มีใครพูดถึงการแก้ปัญหาที่ตรงจุด ส่วนมาตรการธปท.ที่ส่งเสริมให้นำเงินออกไปลงทุนต่างประเทศ ผมมองว่าเป็นแค่มาตรการยาหม่อง ยาลม แก้ไม่ตรงจุด " นายวีรพงษ์ กล่าวและว่า หากดอกเบี้ยในประเทศเราต่างกับต่างประเทศมากขนาดนี้การไหลเข้าของเงินจะเอา ไม่อยู่ ฟองสบู่ในตลาดทุนจะยิ่งเพิ่มขึ้น และวิธีการที่หยุดเงินทุนระยะสั้นไหลเข้าเห็นจะมีอยู่ทางเดียว คือ ต้องลดดอกเบี้ยลง เพื่อสกัดเงินทุนไหลเข้า

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 31 มกราคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นายกฯสั่ง "โต้ง" จับเข่าคุยแบงก์ชาติแก้ปัญหาค่าเงินบาท(31/01/2556)

วันนี้ ( 30 ม.ค.) นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามภาวะ เศรษฐกิจของประเทศ โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่า นายกฯได้มอบหมายให้ตนเองในฐานะรมว.คลัง ไปหารือร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รวมทั้งนักเศรษฐศาสตร์ที่ไม่ได้อยู่ในธปท.และกนง. เพื่อหาทางแก้ปัญหาค่าเงินผันผวนต่อไป โดยยืนยันว่าสิทธิและหน้าที่ในการกำกับดูแลนโยบายการเงินยังเป็นของ ธปท.และ กนง.เช่นเดิม

 

ทั้งนี้มีการตั้งข้อสังเกตในที่ประชุมว่า มาตรการที่มีอยู่เป็นการทวนกระแสการแข็งค่าของเงินบาทซึ่งเป็นการทวนการไหล เข้าของเงินในระยะสั้น อาจไม่ได้เป็นมาตรการที่พอดิบพอดีกัน ซึ่งในการหารือมีทั้งนายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการธปท. นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาด้านนโยบายของนายกรัฐมนตรี ผู้ว่าการธปท. ซึ่งเฉพาะในส่วนของนักเศรษฐศาสตร์ นักการเงิน เห็นว่ามีความจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงิน ที่ดูแลการไหลเข้าของเงินทุนที่มีความเสี่ยงว่าเป็นเงินทุนระยะสั้น

 

นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีได้แสดงความเป็นห่วงสถานการณ์ค่าเงินบาทที่ผันผวน และแข็งค่าขึ้น ซึ่งทางธปท.ได้รายงานว่า ในช่วงสั้น ๆ มีเงินทุนไหลเข้ามา บางส่วนเข้ามาลงทุนในตราสาร บางส่วนเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ โดยอาจถือการลงทุนยาวก็ได้ แต่เกิดขึ้นในช่วงสั้นและมีความเสี่ยง เพราะฉะนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่เงินทุนไหลเข้าได้ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่า ขึ้น ขณะที่แนวทางหรือมาตรการในการดูแลค่าเงินบาท จะเป็นมาตรการระยะกลางและระยะยาว เช่น การส่งเสริมนักธุรกิจไทยไปลงทุนต่างประเทศ

 

อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าจะไม่มีมาตรการที่ควบคุมการไหลเข้าออกของเงินเด็ดขาด เพราะต้องยอมรับว่าไทยเป็นประเทศเปิด แต่ใช้กลไกทำงานที่เป็นทิศทางของการบริหารนโยบายการเงิน และจะไม่ใช้นโยบายควบคุมและไม่ใช้มาตรการเก็บภาษีจากผลตอบแทน ไม่ว่า ภาษีมูลค่าเพิ่มจากกำไรของการลงทุน ภาษีผลตอบแทนดอกเบี้ยและเงินปันผล เพราะไม่ใช่นโยบายการเงิน

 

นายกิตติรัตน์ กล่าวด้วยว่า ในระหว่างการประชุม นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รายงานว่าหลังจากที่ครม.เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วย เหลือเอสเอ็มอีแล้ว จะเร่งทำงานร่วมกับภาคเอกชนโดยจะนำรูปแบบของสถาบันการเงินและวิธีการของ องค์กรขนาดใหญ่มาช่วยเหลือ โดยเตรียมแต่งตั้งรมว.อุตสาหกรรมและรมว.พาณิชย์เข้ามาเพิ่มเติมด้วย

 

ที่มา : เดลินิวส์(วันที่ 31 มกราคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ไอเอ็มเอฟ คาดเศรษฐกิจโลก (31/01/2556)

โตเกียว - กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ลงจากที่เคยคาดว่าจะโต ร้อยละ 3.6 เป็นร้อยละ 3.5 และระบุว่าเศรษฐกิจของกลุ่มยูโรโซนจะฟื้นตัวช้ากว่าที่เคยคาดไว้ โดยจะติดลบร้อยละ 0.2 ส่วนเศรษฐกิจของจีน คาดว่าปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 8.2 ด้านสหรัฐ หากรัฐบาลยังสามารถควบคุมวิกฤติการเงินได้ เศรษฐกิจจะโตได้ร้อยละ 2 สำหรับญี่ปุ่นไอเอ็มเอฟ ยังคงคาดว่าเศรษฐกิจจะโตร้อยละ 1.2 เหมือนที่เคยคาดไว้ปลายปีที่แล้ว เป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ก็เรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นเร่งแก้ปัญหาทางการเงินในระยะกลาง และเตือนด้วยว่าการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอาจจะส่งผลให้ หนี้สินของรัฐบาลเพิ่มสูงขึ้น

 

เออร์ลี่ รีไทร์เถอะ

 

ฮ่องกง - สายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิกของฮ่องกงได้ขอความร่วมมือให้พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสมัครใจ เกษียณอายุก่อนกำหนด เพื่อลดค่าใช้จ่ายและอำนวยความสะดวกในการสรรหาพนักงานใหม่และโอกาสในการ เลื่อนตำแหน่ง แต่ยังไม่ได้กำหนดจำนวนพนักงานที่สายการบินหวังว่าจะเข้าร่วมแผนดังกล่าว สายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิก มีพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินราว 9,000 คน คอยให้บริการใน 170 เส้นทาง ใน 42 ประเทศ และเป็นส่วนหนึ่งของพนักงานกว่า 20,000 คนทั่วโลกที่สายการบินว่าจ้าง สายการบินพยายามลดค่าใช้จ่ายหลังจากขาดทุนในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2555 เป็นมูลค่า 935 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง (ราว 3,630 ล้านบาท) ส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งยังส่งผลกระทบต่อสายการบินอื่นๆ เช่นกัน

 

ที่มา : แนวหน้า (วันที่ 31 มกราคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จับตาธปท.อาจต้องฉีกกฏบริหารทุนสำรอง(31/01/2556)

หลังจากที่ต้องแบกภาระขาดทุนสะสมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จำนวนมากถึง 4 แสนล้านบาท จากการเข้าแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยน ในภาวะ "สงครามค่าเงิน" ปัจจุบัน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องหันศึกษาทางเลือกสำหรับการบริหารทุนสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นภาวะท้าทายที่อาจต้องฉีกกฏเกณฑ์จากแนวทางดั้งเดิม เพื่อที่จะสามารถทำให้เกิดผลกำไรนำมาหักล้างภาระขาดทุนที่มีอยู่จำนวนมหาศาลดังกล่าว

 

รายงานโดย วัชรา จรูญสันติกุล

 

ตลอดหลายที่ผ่านมานี้ ธปท.ได้แสวงหารูปแบบในการบริหารทุนสำรองโดยมีหลักการยึดหยุ่นในแบบของเอกชน ที่สามารถเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงบางประเภท แต่สามารถให้ผลตอบแทนที่ดีควบคู่ไปกับการบริหารความเสี่ยงด้วย เช่นการลงทุนหุ้นที่มีการซื้อขายในประเทศ หรือในตลาดต่างประเทศ โดยยึดโมเดลของธนาคารกลางในหลายประเทศที่แยกการบริหารจัดการทุนสำรองออกมาเป็นองค์กรอิสระ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องมีการแก้ไขกฎหมายให้ ธปท.สามารถดำเนินการดังกล่าวได้

 

สำหรับโมเดลที่มีการนำพิจารณาส่วนหนึ่ง คือ การดำเนินการของเนการาแบงก์ ซึ่งเป็นธนาคารกลางของมาเลเซีย ที่มีกฎหมายรองรับให้สามารถลงทุนซื้อหุ้นได้ หรือโมเดลของธนาคารสิงคโปร์ที่มีการแยกองค์กรบริหารโดยอิสระ ซึ่งหากธปท.จะนำมาใช้ก็ต้องมีการแก้ไขกฎหมายเพื่อรองรับทั้ง 2 โมเดล

 

เนื่องจากตามกฎหมายของธปท.ในปัจจุบัน ไม่สามารถนำไปบริหารจัดการลงทุนในสินทรัพย์ที่เป็นหุ้นได้ เหตุกฏหมายอนุญาตให้ถือเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีความเสี่ยง คือพันธบัตรรัฐบาลประเทศที่มีอันดับเรทติ้งส์ AAA หรือทองคำ หรือพันธบัตรของประเทศที่เป็คู่ค้าขายในภูมิภาคเอเชีย

 

ที่ผ่านมา ธปท.มีสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ที่เป็นสกุลเงินดอลลาร์ราว 40-50% เป็นสกุลเงินยูโร 20% เป็นเงินเยน 10-15% เป็นเงินหยวนและสกุลเงินเพิ่อนบ้าน 10-15% และทองคำราว 3.5%

 

โดยข้อจำกัดของกฎหมาย ทำให้ธปท.ไม่ยืดหยุ่นเพียงพอในการบริหารจัดการทุนสำรอง โดยเฉพาะในภาวะที่สินทรัพย์ในประเทศหลักของโลกมีการเสื่อมค่าลง และยังมีแนวโน้มจะเสื่อมค่าลงอีก จากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินที่เกิดขึ้นทั้งกับสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่วิกฤติซับไพรม์ปี 2008 เป็นต้นมา ทำให้เงินดอลลาร์เสื่อมค่าลง และอาจจะเกิดขึ้นต่อเนื่องไปอีกหลายปี จนกว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นตัวกลับมาได้อีกครั้งหนึ่ง

 

หรือกรณีวิกฤติหนี้สาธารณะในกลุ่มยูโรโซน ที่ฉุดให้สกุลเงินยูโรอ่อนค่าลง และมีทิศทางที่ไม่แน่นอน เนื่องจากวิกฤติหนี้ของยโรูโซนเกิดขึ้นจากปัญหาโครงสร้างที่ยังไม่ได้มีการแก้ไขที่ชัดเจน ซึ่งเป็นไปได้ว่า กลุ่มยูโรโซนอาจจะต้องใช้ระยะเวลานานนับสิบปี ก่อนที่จะกลับมาแข็งแกร่งได้เหมือนในอดีตได้อีก

 

ส่วนเงินเยนที่เคยมีอิทธิพลสูงในการค้าขายและลงทุน ก็มีปัญหาการเสื่อมค่าลงเช่นกัน นับตั้งแต่รัฐบาลญี่ปุ่นดำเนินการ Yen Carry Trade ที่ปลดปล่อยเงินเยนเข้าสู่ระบบการเงินในญี่ปุ่นและระบบการเงินโลก เพื่อต้องการให้เงินเยนอ่อนค่าลงโดยหวังใช้เป็นเครื่องมือต่อสู้กับภาวะเงินฝืดที่เกาะกินเศรษฐกิจญี่ปุ่นมานานถึง 2 ทศวรรษ

 

ความไม่ยิดหยุ่นของการบริหารจัดการในทุนสำรอง ส่งผลให้การเข้าแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อให้เงินบาทอ่อนค่าลงในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา หลังจากที่เงินบาทมีทิศทางที่แข็งค่าขึ้นมาเรื่อยๆ เกิดภาวะขาดทุนขาเดียวตลอดมา ซึ่งผลขาดทุนที่เกิดขึ้นในที่สุดก็จะสะท้อนกลับมาเป็นภาระเงินภาษีของประชาชนในที่สุด หากวันหนึ่งต้องมีการชดเชยกับภาระขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวนมหาศาลดังกล่าว

 

ถึงแม้ว่า ธปท.จะยืนยันว่า การขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนเป็นภาวะที่สามารถยอมรับได้ ในการทำหน้าที่แทรกแวงเพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาท แต่หากไม่ยุติภาวะขาดทุน ก้จะทำให้ความเป็นกิสระในการทำหน้าที่ของธปท.มีข้อจำกัดมากขึ้น เพราะต้องคอยกังวลกับภาระขาดทุนที่เพิ่มขึ้นทั้งจากอัตราแลกเปลี่ยนและการเสื่อมค่าของสินทรัพย์ในสกุลเงินหลักของโลกขณะนี้

 

จึงต้องจับตามองว่า ในการประชุมบอร์ดของธปท.ในวันนี้ (31 ม.ค.) จะมีการหยิบยกมาพิจารณากรือไม่ มิเช่นนั้น แรงกดดันทั้งหมดจะไปอยู่ที่กรดำเนินนโยบายดอกเบี้ยของธปท. ที่เป็นเครื่องมืออิสระเพียงเครื่องเดียวที่เหลืออยู่ ซึ่งทั้งรัฐบาล หรือแม้แต่ประธานบอร์ดของธปท.ได้ออกเรียกร้องให้ลดดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อสกัดการไหลเข้าของเงินทุนไหลเข้ามาเก็งกำไร จนเกิดวงจรของ"ฟองสบู่"ในภาคการเงิน ตลาดหุ้น และตลาดอสังหาริมทรัพย์ในที่สุด

 

ขณะที่ธปท.กลับกังวลว่า ภาวะการใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำนานเกินไป จะทำให้เกิดการเก็งกำไรในสินทรัพย์ในตลาดหุ้นน ตลาดอสังหาริมทรัพย์ และภาคการเงินที่มีการก่อหนี้และบริโภคที่มากเกินไปในสินเชื่อบุคคล ในที่สุดจะกลายเป็นหนี้เสียในระบบการเงินเพิ่มมากขึ้นในที่สุด

 

ที่มา : สิทธิชัยหยุ่น(วันที่ 31 มกราคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดี ค่ะ ป๋า และทุกท่าน

 

แซวป้าก่อน มาเช้ากะมาดึก อิอิ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...