ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

โกลเบล็กมองกรอบราคาทองคำวันนี้ที่ 1,570-1,585 ดอลลาร์/ออนซ์ ยังไม่มีปัจจัยหนุน(08/03/2556)

บมจ.โกลเบล็ก โฮลดิ้ง แมเนจเมนท์ วิเคราะห์กลยุทธ์การลงทุนในทองคำวันนี้ (8 มีนาคม 2556) ยังคงแนะนำให้นักลงทุนระยะสั้นซื้อแนวรับ/ขายแนวต้านในกรอบ $1,570-1,587/Oz ส่วนนักลงทุนระยะกลาง-ยาว ให้รอราคาทองคำทะลุกรอบ $1,570-1,587 ก่อนเข้าลงทุนเพิ่มเติม

ภาพรวมตลาดวานนี้ (7 มีนาคม 2556)

Gold – ราคาทองคำโลกปิดปรับตัวลดลง $5.80/Oz หรือ 0.37% มาอยู่ที่ $1,577.50/Oz (จุดต่ำสุด-สูงสุดในรอบวันอยู่ที่ $1,574.80-1,585.45) ราคาทองคำในคืนที่ผ่านมาปรับตัวลดลงจากยอดผู้ขอรับสวัสดิการสหรัฐปรับตัวลง กว่า 7,000 รายสู่ระดับ 340,000 ราบสะท้อนถึงการเริ่มฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐทำให้มีแรงขายออกมาในทองคำ นอกจากนี้ยังขาดปัจจัยหนุนจากการผลการประชุมของธนาคารกลางอังกฤษและยูโรโซน ที่ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 0.50% และ 0.75% ตามลำดับโดยยังไม่มีการออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม

 

แนวโน้มตลาดวันนี้ (8 มีนาคม 2556)

 

Gold – ในวันนี้ยังมองราคาทองคำเคลื่อนไหวในกรอบ $1,570-1,585/Oz โดยในช่วงนี้ยังขาดปัจจัยหนุนในราคาทองคำทำให้ราคาเคลื่อนไหว sideway ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยในช่วงเย็นให้ติดตามผลผลิตอุตสาหกรรมเยอรมนีและยอดจ้างงานนอกภาคเกษตร สหรัฐเวลา 18.00 น.และ 20.30 น.ตามลำดับ

ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญประจำวันนี้

• ยอดดุลการค้าจีน

• ผลผลิตอุตสาหกรรมเยอรมนี(MoM) เวลา 18.00 น.

• ยอดจ้างงานนอกภาคเกษตรและตัวเลขว่างงานสหรัฐ เวลา 20.30 น.

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ(วันที่ 8 มีนาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เงินบาทเปิด 29.74/76 มองกรอบวันนี้ 29.70-29.80 (08/03/2556)

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 29.74/76 บาท/ดอลลาร์ จากปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 29.72/74 บาท/ดอลลาร์ ค่อนข้างทรงตัวหลังผลประชุมของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ธนาคารกลางอังกฤษ ต่างมีมติคงอัตราดอกเบี้ย และยังไม่มีนโยบายหรือมาตรการใดออกมาเพิ่มเติม โดยเฉพาะธนาคารกลางอังกฤษประกาศจะชะลอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งผลให้ค่าเงินสกุลดอลลาร์เช้านี้อ่อนค่าเมื่อเทียบค่าเงินสกุลอื่นๆ

"ทิศทางวันนี้เงินบาทน่าจะเคลื่อนไหวแคบๆ ระหว่างรอตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ และข้อมูลเศรษฐกิจของจีน"นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันพรุ่งนี้ไว้ในกรอบระหว่าง 29.70-29.80 บาท/ดอลลาร์

 

*ปัจจัยสำคัญ

 

- อัตราแลกเปลี่ยนบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคาร ธปท.วันนี้อยู่ที่ 29.7570 บาท/ดอลลาร์

- เช้านี้ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 94.98/95.00 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ระดับ 94.17/18 เยน/ดอลลาร์

- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.3095/3099 ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ระดับ 1.3040/3044 ดอลลาร์/ยูโร

- วานนี้ (7 มี.ค.) ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,560.98 จุด เพิ่มขึ้น 1.63 จุด หรือ 0.10% โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 66,085.78 ล้านบาท

- ธนาคารกลางอังกฤษมีมติตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ 0.5% ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) นอกจากนี้ ธนาคารกลางอังกฤษยังได้ตัดสินใจที่จะไม่ขยายโครงการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) วงเงิน 3.75 แสนล้านปอนด์ ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้

- ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) มีมติตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.75% ในการประชุมวันนี้ ซึ่งเป็นไปตามการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่

- ดัชนีดาวโจนส์ล่วงหน้าปรับตัวขึ้น 30 จุด หรือ 0.2% แตะที่ 14,295 จุด และดัชนี S&P 500 ล่วงหน้า ดีดตัวขึ้น 0.1% แตะที่ 1,541.2 จุด เมื่อเวลา 06:10 น.ตามเวลานิวยอร์กในวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนยังคงขานรับรายงานที่ว่าภาคเอกชนของสหรัฐมีการจ้างงาน เพิ่มขึ้นเกินคาดในเดือนก.พ.

- ยูโรแข็งค่าขานรับอีซีบีคงดอกเบี้ย ตลาดจับตาตัวเลขว่างงานรายสัปดาห์สหรัฐ

- ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเมื่อคืนนี้ (7 มี.ค.) ขานรับธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และธนาคารกลางอังกฤษ ที่ตัดสินใจตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำสุดในการประชุมเมื่อวานนี้ นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐที่ปรับตัวลดลง อย่างเหนือความคาดหมาย

- ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) กล่าวภายหลังการประชุมนโยบายการเงินซึ่งเสร็จสิ้นเมื่อช่วงค่ำวานนี้ตามเวลา ไทยว่า เศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มกระเตื้องขึ้นภายในสิ้นปี 2556 และคาดว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจของยุโรปจะเริ่มมีเสถียรภาพในช่วงครึ่งแรกของปี นี้ พร้อมกับยืนยันว่าอีซีบีจะยังคงจุดยืนด้านการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน

- สมาคมแลกเปลี่ยนทองคำและเงินของจีน เปิดเผยว่า ราคาทองคำที่ตลาดฮ่องกงลดลง 38 ดอลลาร์ฮ่องกง เปิดที่ระดับ 14,680 ดอลลาร์ฮ่องกง/ตำลึงในวันนี้ ราคาดังกล่าวเทียบเท่ากับ 1,588.59 ดอลลาร์สหรัฐ/ทรอยออนซ์ ลดลง 4.11 ดอลลาร์สหรัฐ ที่อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ/ 7.757 ดอลลาร์ฮ่องกงในวันนี้

 

ที่มา : ทันหุ้น(วันที่ 8 มีนาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จีนเผยยอดส่งออกพุ่ง 21.8% ในเดือนก.พ. ขณะนำเข้าหดตัว 15.2% (08/03/56)

สำนักงานศุลกากรจีนเปิดเผยในวันนี้ว่า การส่งออกของจีนในเดือนก.พ.เพิ่มขึ้น 21.8% เมื่อเทียบรายปี ขณะที่การนำเข้าลดลง 15.2%

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (08/03/56)

 

จีนโวเศรษฐกิจโต 8% ต่อเนื่องอีก 20 ปี (08/03/2556)

จีน 8 มี.ค. - อดีตหัวหน้านักวิเคราะห์เศรษฐกิจของธนาคารโลกระบุว่า จีนจะรักษาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปีละ 8% ต่อไปได้อีกอย่างน้อย 20 ปี

 

นายจัสติน ยี่ฟู หลิน อดีตหัวหน้าคณะนักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลก เปิดแถลงข่าวในการประชุมคณะกรรมาธิการของสภาที่ปรึกษาทางการเมืองของสภา ประชาชนจีนในปีที่ 12 เมื่อวานนี้ นายหลินซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกกคณะกรรมาธิการด้วย ระบุว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนเป็นไปอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากการปรับปรุงด้านแรงงาน ด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยี รวมไปถึงการปรับปรุง และพัฒนาด้านอุตสาหกรรม อันจะทำให้จีนสามารถรักษาระดับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอัตราปีละ 8% ไปได้อย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 20 ปี

 

พร้อมกันนี้ยังย้ำว่า คำกล่าวนี้ไม่ใช่เรื่องเกินจริงแต่อย่างใด เพราะสามารถมองเห็นได้จากรายได้ต่อหัวของประชาชนที่เพิ่มขึ้น และกำลังซื้อจำนวนมหาศาลในขณะนี้ ระบุต้นแบบการพัฒนาเศรษฐกิจแบบจีนกำลังแพร่หลายในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ดังนั้นจึงเป็นที่คาดการณ์ได้ว่า หากยังสามารถรักษาระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจได้ในระดับนี้ต่อไป เศรษฐกิจจีนจะโตในอัตราปีละ 7.6-9.2% ต่อเนื่องเช่นนี้เป็นเวลาอย่างน้อย 20 ปี . -

 

ที่มา : สำนักข่าวไทย (วันที่ 8 มีนาคม 2556)

 

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ญี่ปุ่นขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 3.648 แสนล้านเยนในเดือนม.ค. (08/03/56)

รายงานเบื้องต้นของกระทรวงการคลังของญี่ปุ่นระบุว่า ญี่ปุ่นมียอดขาดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันในเดือนมกราคม

 

รายงานดังกล่าวระบุว่า ยอดขาดดุลในบัญชีเดินสะพัด ซึ่งเป็นมาตรวัดทางการค้าระหว่างประเทศที่กว้างที่สุด อยู่ที่ 3.648 แสนล้านเยน สำนักข่าวเกียวโดรายงาน

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฤเควสท์ (08/03/56)

 

 

 

ตลาดหุ้นเอเชียดีดขึ้นเช้านี้ ขานรับ GDP ญี่ปุ่นขยายตัว,คนว่างงานสหรัฐลดลง(08/03/2556)

ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวขึ้นในช่วงเช้าวันนี้ เพราะได้แรงหนุนจากรายงานที่ว่า ญี่ปุ่นได้ปรับเพิ่มการประมาณการเศรษฐกิจ และสหรัฐเปิดเผยจำนวนคนว่างงานรายสัปดาห์ที่ลดลงอย่างผิดคาด ซึ่งบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจทั่วโลกกำลังฟื้นตัวขึ้น

ดัชนี MSCI Asia Pacific ปรับตัวขึ้น 0.3% แตะที่ 135.60 จุด เมื่อเวลา 10:22 น.ตามเวลาโตเกียวในวันนี้

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 12,066.50 จุด เพิ่มขึ้น 98.42 จุด, +0.82% ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 7,981.00 จุด เพิ่มขึ้น 20.49 จุด, +0.26% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 22,839.27 จุด เพิ่มขึ้น 67.83 จุด, +0.30% ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 2,326.42 จุด เพิ่มขึ้น 2.13 จุด, +0.09% ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เปิดวันนี้ที่ 6,771.50 จุด เพิ่มขึ้น 46.37 จุด, +0.69%

ส่วนดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,001.97 จุด ลดลง 2.43 จุด, -0.12% ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,296.64 จุด ลดลง 1.90 จุด, -0.06% ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,650.69 จุด ลดลง 0.24 จุด, -0.01%

ตลาดหุ้นเอเชียได้รับแรงหนุนหลังจากสำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้ปรับเพิ่ม การประมาณการผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่แท้จริงในไตรมาส 4/2555 ของญี่ปุ่น เป็นขยายตัว 0.2% ต่อปี

ขณะที่กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยเมื่อช่วงค่ำวานนี้ตามเวลาไทยว่าจำนวนผู้ขอ รับสวัสดิการว่างงานในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 2 มี.ค.ลดลง 7,000 ราย มาอยู่ที่ระดับ 340,000 ราย ตรงข้ามกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 355,000 ราย สะท้อนให้เห็นว่าตลาดแรงงานของสหรัฐเริ่มฟื้นตัว

หุ้นฮอนด้า มอเตอร์ พุ่งขึ้น 1.7% ในการซื้อขายที่ตลาดหุ้นโตเกียว หลังจากบริษัทเปิดเผยยอดขายในอเมริกาเหนือเพิ่มขึ้น 44%

นักลงทุนจับตาดูสำนักงานศุลกากรจีนจะเปิดเผยข้อมูลการค้าในวันนี้ รวมถึงยอดการนำเข้าและการส่งออกในเดือนก.พ.

 

ที่มา : ทันหุ้น(วันที่ 8 มีนาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

น้ำมันดิบ พุ่งสูงสุดในรอบ2สัปดาห์ ปิดที่ 91.56 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล (08/03/2556)

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า จากข้อมูลตลาดแรงงานของสหรัฐฯและมูลค่าของดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง ส่งผลให้ ราคาน้ำมัน เมื่อวันที่ 7 มีนาคม ที่ผ่านมา ขยับขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์

 

ทั้งนี้ สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนเมษายน เพิ่มขึ้น 1.13 ดอลลาร์ ปิดที่ 91.56 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 9 เซนต์ ปิดที่ 111.15 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ที่มา : มติชนออนไลน์ (วันที่ 8 มีนาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ห่วงบาท​แข็งฉุดดัชนีราคาทอง (08/03/2556)

ศูนย์วิจัยทองคำ​เปิด​เผย​การจัด​ทำดัชนี​ความ​เชื่อมั่นราคาทองคำ​ใน​เดือน มีนาคม 2556 พบว่า ​ความ​เชื่อมั่นที่มีต่อราคาทองคำมีค่อนข้างน้อย​โดยค่าดัชนี​ความ​เชื่อ มั่นราคาทองคำ (Gold Price?Sentiment Index) อยู่ที่ 44.07 จุด สะท้อนมุมมอง​ใน​เชิงลบที่มีต่อราคาทองคำ​โดย​การ​เ​ก็งกำ​ไร ​การ​แข็งค่าของค่า​เงินบาท​และทิศทางของสกุล​เงินดอลลาร์สหรัฐ​เป็นปัจจัย สำคัญที่กลุ่มตัวอย่าง​เชื่อว่าจะกระทบต่อราคาทองคำ​ในประ​เทศ

 

จากคำถามว่ากลุ่มตัวอย่างจะซื้อทองคำ​ในช่วงหนึ่ง​เดือนข้างหน้า​หรือ​ ไม่ ผลปรากฏว่า 52.53% ของกลุ่มตัวอย่างคิดว่าจะซื้อ ขณะที่ 28.89% คาดว่าจะ​ไม่ซื้อ ​และ 18.57% ​ไม่​แน่​ใจว่าจะซื้อ​หรือ​ไม่สอดคล้องกับผลของดัชนี​ความ​เชื่อมั่นที่คาด ว่าราคาทองคำจะอ่อนตัวลงระยะสั้น​แต่จะฟื้นตัว​ได้​ในสาม​เดือนข้างหน้า

 

​โดยสรุปพบว่า​ความ​เชื่อมั่นที่มีต่อราคาทองคำ​ในประ​เทศของ​ผู้ลงทุน​ และ​ผู้ค้าทองคำ​ในประ​เทศ​ไทยมีมุมมอง​ใน​เชิงลบ​ในช่วงหนึ่ง​เดือนข้าง หน้า ​แต่​ในระยะสาม​เดือนข้างหน้าคาดว่าราคาจะกลับมา​เป็นบวก​ได้​ซึ่งตรงกัน​ ทั้งสองกลุ่ม​โดยมีปัจจัย​เรื่อง​การ​เ​ก็งกำ​ไร​ในตลาดทองคำ ​การ​แข็งค่าของค่า​เงินบาท ทิศทางค่า​เงินดอลลาร์สหรัฐ ​และปัญหาหนี้ยุ​โรปที่ส่งผลกระทบต่อราคาทองคำ​ในช่วงหนึ่ง​และสาม​เดือน ข้างหน้า

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์​แนวหน้า (08/03/2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิบากหนี้ยุโรปพัดหวนรัดเข็มขัดไร้ผล คุยแก้วิกฤติไม่คืบ(08/03/2556)

ขณะที่ทั่วโลกใจจดจ่อกับการเจรจาระหว่างพรรคเดโมแครตกับพรรครีพับลิกันใน สภาคองเกรสสหรัฐว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงยุติมาตรการซีเควสเตรชัน (การตัดงบรัฐแบบเหมารวม) ได้หรือไม่ ความเคลื่อนไหวอีกฟากหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติกก็ยังคงเป็นประเด็นสำคัญที่ ต้องเฝ้าติดตามอยู่เช่นกัน

 

สาเหตุเพราะมาตรการรัดเข็มขัดและเพิ่มวินัยทางการคลัง รวมถึงการเดินหน้าปรับกฎระเบียบเพื่อควบคุมสถาบันการเงินดูจะไม่เพียงพอที่ จะแก้ปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะ ที่ส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคอีกต่อไป

 

ทั้งนี้ สถานการณ์ของยุโรป โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ และการเงินการคลัง ในขณะนี้ เริ่มส่งสัญญาณอ่อนแรงลงอีกระลอก ยืนยันได้จากตัวเลขการว่างงานล่าสุดของสำนักงานสถิติยุโรป (ยูโรสแตท) ที่ระบุชัดเจนว่า ปริมาณการว่างงานของ 17 ประเทศสมาชิกกลุ่มยูโรโซนทำประวัติศาสตร์ทุบสถิติสูงสุด 11.9 ในเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา หรืออยู่ที่ 19 ล้านคน เพิ่มจากเดือนก่อนหน้าที่ 11.8%

 

แถมเหตุการณ์ข้างต้นยังมาพร้อมกับสถานการณ์ที่เสถียรภาพภายในกลุ่มอียู กำลังสั่นคลอนอย่างหนัก โดยมีจุดสังเกตได้ไม่ยากอย่างผลการเลือกตั้งเมื่อเดือน ก.พ.ที่ผ่านมาของประเทศอิตาลี ที่นอกจากจะไม่มีพรรคใดชนะขาดแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นความไม่พอใจมาตรการรัดเข็มขัดของประชาชนในแดนมะกะโรนี

 

ขณะที่สถานการณ์ภายในของประเทศสมาชิกอื่นๆ ก็ไม่ใคร่จะสู้ดีนัก โดยกรีซในรอบสัปดาห์นี้ต้องเตรียมตัวเตรียมใจต้อนรับตัวแทนจากอียู ธนาคารกลางแห่งยุโรป (อีซีบี) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) หรือที่รวมเรียกกันว่า กลุ่มทรอยกา ที่จะเดินทางไปตรวจสอบแผนการดำเนินงานของกรีซว่าเป็นไปตามเงื่อนไขของการขอ เงินช่วยเหลือหรือไม่ เพื่อประกอบการพิจารณาการให้เงินช่วยเหลือในงวดที่เหลืออยู่ต่อไป

 

ด้านประเทศไอร์แลนด์กับโปรตุเกสก็ไม่น้อยหน้า เพราะได้รับเสียงเรียกร้องให้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแผนมาตรการรัดเข็มขัดเพิ่ม เติมเพื่อแลกกับแพ็กเกจเงินช่วยเหลือตามที่ร้องขอทรอยกาไว้ ขณะที่ประเทศสเปนต้องเผชิญกับการพิจารณากระบวนการปฏิรูปโครงสร้างธนาคารภาย ในประเทศจากรัฐมนตรีพาณิชย์อียู

 

ส่วนประเทศไซปรัส ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการยื่นเรื่องขอเงินช่วยเหลือเช่นกัน ก็กำลังปวดหัวไม่น้อยกับการร่างแผนแสดงจุดยืนของตนเองในการจัดการกับปัญหา หลักๆ คือ ความยั่งยืนทางการคลังของประเทศ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และมาตรการป้องกันการฟอกเงิน

 

นอกจากประเด็นภายในของชาติสมาชิกที่ต้องพินิจพิเคราะห์เป็นกรณีๆ ไปแล้ว อียูยังมีประเด็นที่ต้องใคร่ครวญร่วมกันอย่างการทบทวนตัวเลขการขาดดุลงบ ประมาณของแต่ละประเทศสมาชิก โดยเฉพาะประเทศฝรั่งเศส เพื่อพิจารณาว่ามาตรการรัดเข็มขัดที่อียูเดินหน้าผลักดันสนับสนุนมาโดยตลอด ได้ผลเป็นที่น่าพอใจมากน้อยแค่ไหนอย่างไร

 

และรวมถึงการหารือเรื่องกฎเกณฑ์ใหม่ที่จะนำมาใช้กับกองทุนกลไกรักษา เสถียรภาพยุโรป (อีเอสเอ็ม) เพื่ออัดฉีดเงินช่วยเหลือให้แก่สถาบันการเงินในประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหา ได้โดยตรง ตลอดจนการเดินหน้าบรรลุข้อตกลงบาเซิล 3 ที่จะกำกับดูแลการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงิน โดยกำหนดให้สถาบันการเงินมีเงินทุนสำรองเพียงพอที่จะรองรับความเสี่ยงหรือ ความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งเพิ่มเติมประเด็นเรื่องการจ่ายเงินโบนัสของนายธนาคารทั้งหลายด้วย

 

เรียกได้ว่าเพียงแค่ประเด็นข้างต้นก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้นักลงทุนทั่ว โลกต้องจับตามองยุโรปอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะกับการประชุมรัฐมนตรีพาณิชย์ยุโรปคราวนี้ เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

เพราะนักวิเคราะห์หลายสำนักต่างเห็นตรงกันว่า ผลการประชุมดังกล่าวมีแนวโน้มจะเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้เห็นภาพรวม สถานการณ์และท่าทีของอียูในการแก้ปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะของภูมิภาคที่ยืด เยื้อเรื้อรังมานาน แม้เจ้าหน้าที่อียูจะย้ำชัดไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่าจะไม่มีการตัดสินใจใดๆ ในประเด็นการประชุมครั้งนี้ก็ตาม

 

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า ปัญหาของยุโรปในขณะนี้ ก็คือการยึดมั่นในแนวทางรัดเข็มขัดเพื่อลดการขาดดุลงบประมาณของชาติสมาชิก มากจนเกินไป โดยลืมคำนึงถึงความจริงที่ชาติสมาชิกเหล่านั้นจำเป็นจะต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้เติบโตเพื่อปากท้องและชีวิตความเป็นอยู่ของคนในประเทศ

 

นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์กลุ่มเดียวกัน ยังโต้เหตุผลที่ โฮเซ มานูเอล บาร์รอสโซ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) ซึ่งระบุว่าแผนรัดเข็มขัดได้ช่วยให้ตัวเลขขาดดุลงบประมาณของโปรตุเกส สเปน อิตาลี และกรีซ ลดน้อยลง และช่วยให้ช่องว่างความสามารถทางการแข่งขันระหว่างยุโรปเหนือและยุโรปใต้แคบ ลง ว่าเป็นเพราะประเทศที่กล่าวมาทั้งหมดลดการนำเข้า เนื่องจากความต้องการบริโภคในประเทศลดลง

 

ขณะที่ตัวเลขต้นทุนแรงงานที่ลดลงเป็นผลมาจากการปลดคนงานมหาศาลออกมากกว่า ผลจากกระบวนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น และตัวเลขการส่งออกของประเทศที่ใช้มาตรการรัดเข็มขัดยังน้อยกว่าอัตราส่งออก ครึ่งหนึ่งของเยอรมนี แถมยังน้อยเกินกว่าจะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวเติบโตได้อย่าง เต็มที่อีกครั้ง

 

เครเมนต์ส เฟาส์ท หัวหน้าสถาบันวิจัยเศรษฐศาสตร์แซดอีดับเบิลยู ของเยอรมนี ถึงกับกล่าวว่า หากยังดึงดันใช้แผนรัดเข็มขัดต่อ นอกจากจะไม่แก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจแล้ว ยังทำให้เกิดวิกฤตสังคมตามมา และอาจรุนแรงถึงขั้นที่ประเทศซึ่งจำใจต้องเผชิญกับมาตรการรัดเข็มขัดอย่าง รุนแรง อย่างอิตาลี ยอมโบกมือลา ละทิ้งสถานะสมาชิกอียูก็เป็นได้

 

อย่างไรก็ตาม เฟาส์ท และนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ระบุว่าไม่ได้ต้องการให้ยุโรปละทิ้งแนวทางมาตรการ รัดเข็มขัด หรือยุติการรักษาวินัยทางการคลัง โดย ซโสล์ต ดาร์วาส นักวิเคราะห์จากสถาบันคลังปัญญาบรูเกล ในกรุงบรัสเซลส์ เบลเยียม เห็นว่า ทางออกหนึ่งเดียวของยุโรปในขณะนี้ก็คือการปรับเปลี่ยนนโยบายทางการคลังให้มี การผสมผสานระหว่างแผนประหยัดที่ดำเนินอยู่ และแผนกระตุ้นที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากประเทศทางยุโรปเหนือ อย่างเยอรมนี

 

กระนั้น เมื่อไล่เรียงประเด็นที่รัฐมนตรีพาณิชย์อียูพิจารณาในการประชุมล่าสุด จะเห็นได้ว่า ไม่มีการพูดคุยหรือเกริ่นถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับแนวทางข้างต้นเลยแม้แต่ น้อย

 

จนน่ากลัวว่าอียูอาจจะต้องเผชิญกับแรงเขย่าที่ใหญ่กว่าการเลือกตั้ง อิตาลี เพื่อให้บรรดาผู้นำชาติสมาชิกหันมาพิจารณาทางเลือกอื่นที่มากกว่ามาตรการรัด เข็มขัดก็เป็นได้

 

ที่มา : โพสต์ทูเดย์(วันที่ 8 มีนาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หุ้นยุโรปปิดบวก ขานรับอีซีบีคงอัตราดอกเบี้ย 0.75% (08/03/2556)

ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเมื่อคืนนี้ (7 มีนาคม 2556) ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 3,793.78 จุด เพิ่มขึ้น 20.02 จุด หรือ 0.53% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 7,939.77 จุด เพิ่มขึ้น 20.44 จุด หรือ 0.26%

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,439.16 จุด เพิ่มขึ้น 11.52 จุด หรือ 0.18% ขณะที่ดัชนี Stoxx Europe 600 ลดลง 0.1% ปิดที่ 293.19 จุด

ทั้งนี้ ตลาดหุ้นยุโรปดีดตัวขึ้นหลังจากที่ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) มีมติตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำสุดที่ 0.75% ในการประชุมวานนี้ ซึ่งเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาเป็นเวลา 8 เดือนนแล้ว โดยมีเป้าหมายที่จะผ่อนคลายความตึงเครียดในตลาดการเงินและกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาค ขณะที่ธนาคารกลางอังกฤษมีมติตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ 0.5% ต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปี เช่นกัน พร้อมตัดสินใจไม่ขยายโครงการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) วงเงิน 3.75 แสนล้านปอนด์

นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังมีแรงหนุนมากขึ้นหลังจากสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) ปรับเพิ่มแนวโน้มความน่าเชื่อถือระยะยาวของโปรตุเกสขึ้นสู่ระดับ "มีเสถียรภาพ" จากเดิม "เชิงลบ" และต้นทุนการกู้ยืมของสเปนปรับตัวลดลงเนื่องจากความต้องพันธบัตรของสเปนเพิ่มขึ้น และยังได้รับปัจจัยบวกหลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 2 มี.ค.ลดลง 7,000 ราย มาอยู่ที่ระดับ 340,000 ราย ตรงข้ามกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 355,000 ราย สะท้อนให้เห็นว่าตลาดแรงงานของสหรัฐเริ่มฟื้นตัว

ที่มา หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 8 มีนาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ยอดขาดดุลการค้าสหรัฐปรับขึ้นในเดือนม.ค. เหตุนำเข้าน้ำมันเพิ่ม (08/03/2556)

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่ายอดขาดดุลการค้าในเดือนม.ค.เพิ่มขึ้นแตะ 4.44 หมี่นล้านดอลลาร์ จาก 3.81 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนธ.ค.ปีที่แล้ว

 

การส่งออกลดลง 1.2% จากเดือนก่อนหน้า สู่ระดับ 1.845 แสนล้านดอลลาร์ในเดือนม.ค. ขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้น 1.8% แตะ 2.289 แสนล้านดอลลาร์ จากการนำเข้าน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ยอดขาดดุลการค้านับเป็นปัจจัยถ่วงการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐมาเป็นเวลาหลายปี โดยในปีที่แล้ว ตัวเลขขาดดุลการค้าลดลง 3.6% จากปีก่อนหน้า แตะ 5.395 แสนล้านดอลลาร์

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 8 มีนาคม 2556)

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทุนไหลเข้าเริ่มชะลอหลังศก.สหรัฐฟื้น(08/03/2556)

ธปท.ชี้เงินทุนไหลเข้าชะลอลง เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มฟื้นดึงเงินไม่ให้ไหลออก สะท้อนจากเงินบาทเริ่มนิ่ง

 

นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า เงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศยังมีโอกาสไหลเข้ามาในไทยเพิ่มขึ้น โดยขณะนี้เงินทุนไหลออกจากตลาดหุ้นบ้างแต่ไม่มาก ส่วนตลาดตราสารหนี้ยังไหลเข้าอยู่ แต่ถ้าเทียบกับต้นปีนี้หรือเดือนม.ค.ที่ผ่านมาถือว่าชะลอลงแล้ว เห็นได้จากช่วงนี้ปริมาณธุรกรรมในพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติบางลง และค่าเงินบาทค่อนข้างนิ่ง เคลื่อนไหวมีเสถียรภาพ เคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ เพราะเงินทุนไหลเข้าและออกสมดุลมากขึ้น

 

"ตอนนี้คนไทยมีความต้องการซื้อเงินเหรียญสหรัฐมากขึ้น เพราะต้องการออกไปลงทุนโดยตรงในต่างประเทศและนำเข้าสินค้ามากขึ้น ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจที่มีการเติบโตมากขึ้นสอดคล้องกับการลงทุนในประเทศ ที่มีมากขึ้น สะท้อนได้จากค่าเงินบาทไปไหนไม่ได้ไกล พออ่อนค่าลงก็มีส่งออกมาขายและนำเข้ามาซื้อ ขณะที่พอแข็งค่าขึ้นหน่อยนำเข้าก็มาซื้อเป็นต้น ทำให้ความต้องการซื้อและขายค่อนข้างสมดุล" นางผ่องเพ็ญกล่าว

 

นางผ่องเพ็ญ กล่าวว่า ในอนาคตเงินทุนไหลเข้ายังน่าห่วงหรือไม่นั้น ต้องยอมรับว่ายังมีความเป็นไปได้ที่จะมีคลื่นเงินทุนไหลเข้ามาที่ไทย แต่ความรุนแรงน่าจะน้อยลง เนื่องจากแนวโน้มที่เศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวมากขึ้น จากที่เคยไหลออกมาลงทุนนอกประเทศอาจจะเปลี่ยนใจอยู่ในประเทศต่อ เพราะภาคอสังหาริมทรัพย์เริ่มฟื้นตัวได้ จึงน่าจะมีส่วนช่วยดึงให้เงินอยู่ในประเทศต่อไป ส่วนรายที่ไม่มั่นใจจะลงในสหรัฐต่อ แต่อาจจะมีไหลมานอกประเทศหาไทยเพื่อหาผลตอบแทนเพิ่มก็ยังมีอยู่ แต่แรงดึงไม่ให้ออกจากสหรัฐมีมากขึ้นถ้าปัจจัยเศรษฐกิจสหรัฐยังมีแนวโน้ม ฟื้นตัวดีต่อเนื่องเช่นนี้

 

อย่างไรก็ตามปัจจัยนี้เปลี่ยนแปลงได้ต้องติดตาม รวมถึงติดตามการเปลี่ยนแปลงในญี่ปุ่น ว่าจะดำเนินนโยบายการเงินต่ออย่างไรหลังได้ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่นใหม่ หรือยุโรปจะมีแนวโน้มการพัฒนาไปในทิศทางบวกหรือลบ เพราะปัจจัยเหล่านี้เปลี่ยนแปลงได้

 

ที่มา :โพสต์ทูเดย์(วันที่ 8 มีนาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปธ.อีซีบีคาดศก.ยุโรปเริ่มฟื้นตัวปีนี้ พร้อมยืนยันจุดยืนผ่อนคลายการเงิน (08/03/2556)

นายมาริโอ ดรากิ ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) กล่าวภายหลังการประชุมนโยบายการเงินซึ่งเสร็จสิ้นเมื่อช่วงค่ำวานนี้ตามเวลาไทยว่า เศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มกระเตื้องขึ้นภายในสิ้นปี 2556 และคาดว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจของยุโรปจะเริ่มมีเสถียรภาพในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ พร้อมกับยืนยันว่าอีซีบีจะยังคงจุดยืนด้านการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน

 

นายดรากิกล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนปรับตัวลดลงต่ำกว่าระดับ 2% ในเดือนก.พ. และแรงกดดันด้านเงินเฟ้อก็ยังคงอยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้ ขณะเดียวกันนายดรากิกล่าวว่า การคาดการเงินเฟ้อของยูโรโซนยังมีความสอดคล้องกับเป้าหมายในการคงอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับ แต่ก็คาดว่าอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเคลื่อนไหวใกล้ระดับ 2% ในระยะกลาง

 

"โดยภาพรวมแล้ว สถานการณ์ด้านเงินเฟ้อจะทำให้เรายังคงมีโอกาสที่จะใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินได้ต่อไป" นายดรากิกล่าว

 

ส่วนแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนนั้น นายดรากิกล่าวว่า ข้อมูลและสัญญาณบ่งชี้ที่มีการเปิดเผยเมื่อไม่นานมานี้แสดงให้เห็นว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจของยูโรโซนจะเริ่มมีเสถียรภาพในช่วงครึ่งแรกของปีนี้

 

"จากนั้นเศรษฐกิจจะค่อยๆฟื้นตัวขึ้นอีกในช่วงครึ่งปีหลัง โดยการขยายตัวด้านการส่งออกได้รับประโยชน์จากความแข็งแกร่งของอุปสงค์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ อันเป็นผลมาจากการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินของเรา" เขากล่าว

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ในการประชุมเมื่อวานนี้ อีซีบี) มีมติตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.75% ซึ่งเป็นไปตามการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ โดยอีซีบีได้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาเป็นเวลา 8 เดือนติดต่อกันแล้ว

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 8 มีนาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดทองคำ Gold Futures by Classic Gold Futures (08/03/2556)

คลาสสิก โกลด์ ฟิวเจอร์ส

 

Price Movement

 

ราคาทองคำในตลาด COMEX ปิดที่ 1,575.10 USDต่อออนซ์ปิดเพิ่มขึ้น 0.20 USDต่อออนซ์ ราคาทองคำแกว่งตัวในกรอบระหว่าง 1,574.00 — 1,584.90 USDต่อออนซ์ ราคาทองคำโดยในช่วงแรกขึ้นไปทำ high บริเวณ 1,585 แต่หลังจากการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกมาดี ได้แก่ ยอดขอรับสวัสดิการการว่างงานรายสัปดาห์ลดลงเหลือ 340,000 รายลดลง 7,000 รายดีกว่าคาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 354,000 ราย นอกจากนี้ทางด้านปธ.ECB นายดาร์กี ไม่ได้มีมาตรการกระตุ้เศรษฐกิจเพิ่มเติม ทำให้มีการเทขายทองคำเมื่อไม่สามารถผ่านแนวต้านบริเวณ 1,585 ขึ้นไปได้ ตลาดหุ้นสหรัฐยังทำ new high ได้ต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 และปิดที่ 14,329.49 จุด เพิ่มขึ้น 33.25 จุด ส่วนดัชนีค่าเงินดอลล่าร์อ่อนค่าลงมาที่ระดับ 82.09 จากระดับ 82.55 ราคาน้ำมันดิบ Nymex เพิ่มขึ้น 1.25% ปิดที่ 91.56 USDต่อบาร์เรล ในช่วงเช้าวันนี้ราคาทองคำเคลื่อนไหวบริเวณ 1,578 USD ปัจจัยลบวันนี้ ได้แก่ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในวันนี้ที่คาดว่าจะออกมาดี ส่วนปัจจัยบวกได้แก่ ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้น ค่าเงิน USD ที่อ่อนค่าลง ราคาน้ำมันดิบ Nymex ปรับตัวสูงขึ้น แนวโน้มราคาทองคำวันนี้ คาดว่า หลังจากขึ้นไปทดสอบแนวต้านบริเวณ 1,585 แล้วไม่ผ่านมีแนวโน้มอ่อนตัวลงมา โดยมีแนวรับบริเวณ 1,575/1,567/1,554 ส่วนแนวต้านมีที่บริเวณ 1,580/1,585/1,590 แรงซื้อทองคำในตลาด physical ในช่วงราคาอ่อนตัว ทำให้ราคาประคองตัวอยู่เหนือ 1,570 ได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยลบ จากความต้องการทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยที่ลดลง อาจทำให้ราคาอ่อนตัวลงมาได้อีก ในระยะสั้นราคาแกว่งตัวในกรอบ 1,567 — 1,585 การทะลุกรอบไปด้านใดด้านหนึ่งจะส่งสัญญาณ Bullish หรือ Bearish

 

Spot Gold

 

Technical Analysis

 

ภาพกราฟทางเทคนิคทิศทางยังเป็นขาลง แต่ราคาสามารถเกาะอยู่ที่ขอบล่างของเส้นคู่ขนานได้ คาดว่าถ้าสามารถสร้างฐานได้ ไม่หลุดต่ำกว่า 1,570 ลงมา มีโอกาสปรับตัวขึ้นอย่างช้าๆ อย่างไรก็ตามภาพกราฟในราย 1 ช.ม. มีแนวโน้มที่ราคาทองคำจะปรับตัวลดลงมาที่แนวรับ คาดว่าวันนี้มีแนวรับบริเวณ 1575/1567/1554 ส่วนแนวต้านบริเวณ 1580/1585/1590 คำแนะนำ Trading ในกรอบ 1,554 — 1,590

 

Key Point in Precious Market

 

- ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาทองคำ ค่าเงิน USD อ่อนค่าลง ( + ) ราคาน้ำมัน Nymex ปรับตัวเพิ่มขึ้น ( + ) การประกาศตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐออกมาดีกว่าคาด ( - ) ผลการเลือกตั้งในอิตาลี ( - ) เงินบาทแข็งค่าขึ้น ( - )

 

- ประเด็นที่ต้องติดตาม การจัดตั้งรัฐบาลของอิตาลี // การประชุมเฟด 19 — 20 มี.ค. // เส้นตายสภาครองเกรส วันที่ 27 มี.ค. ซึ่งเป็นวันที่กฎหมายจัดสรรเงินทุนระยะสั้นหมดอายุลง และ จำเป็นต้องมีการเจรจาต่อรองมาตรการใหม่เพื่อจัดสรรเงินทุนให้แก่หน่วยงานรัฐบาล

 

- การรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐ วันศุกร์ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนก.พ. ข้อมูลสต็อกสินค้าภาคค้าส่งเดือนม.ค.

 

- SPDR ขายทองคำออก 1.81 ตัน ถือทองจำนวน 1,243.05 ตัน

 

Spot Silver

 

ราคาโลหะเงินปิดที่ 28.81 USDต่อออนซ์ มีความเคลื่อนไหวระหว่าง 28.74 — 29.09 USDต่อออนซ์ ภาพทางเทคนิคราคามีแนวโน้มเป็นขาลง แต่ในระยะสั้นมีการแกว่งตัวเพื่อสร้างฐาน ทำให้แนวโน้มในระยะสั้นดีขึ้น สำหรับวันนี้ คาดว่ามีแนวรับบริเวณ 28.7/28.5/28.3 ส่วนแนวต้านบริเวณ 29.1/29.4 แนะนำ Trading ในกรอบ 28.3 — 29.4

 

ที่มา : ThaiPR.net (วันที่ 8 มีนาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน : บมจ.ไทยออยล์(08/03/2556)

"WTI เพิ่มกว่า 1 เหรียญฯ หลังตลาดแรงงานสหรัฐฯสดใส"

 

เบรนท์ส่งมอบเดือน เม.ย. ปรับเพิ่มขึ้น 0.09 ปิดที่ 111.15 เหรียญฯ และเวสต์เท็กซัสส่งมอบเดือน เม.ย.ปรับเพิ่มขึ้น 1.13 ปิดที่ 91.56 เหรียญฯ

+ ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสปรับเพิ่มขึ้นมากกว่า 1 เหรียญฯ หลังจากยอดขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ ปรับลดลงสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ และเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่า ขณะที่เบรนท์ปรับเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย เนื่องจากท่อขนส่งน้ำมันในทะเลเหนือกลับมาผลิตได้ตามปกติ

+ ยอดขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ ปรับลดลง 7,000 ราย มาอยู่ที่ระดับ 340,000 ราย สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 355,000 ราย ส่วนยอดขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ ปรับลดลง 7,000 ราย แตะระดับ 348,750 ราย ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 51

+ เงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง เมื่อเทียบกับค่าเงินยูโรแข็งค่า หลังจากธนาคารกลางยุโรปตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำสุดที่ 0.75% ตามคาด ประกอบกับประสบความสำเร็จในการออกพันธบัตรรัฐบาล

- ท่อขนส่งน้ำมันดิบในทะเลเหนือ ซึ่งมีกำลังการส่ง 80,000 บาร์เรลต่อวัน ได้เกลับมาดำเนินการผลิตตามปกติ หลังพบการรั่วไหลของน้ำมันและก๊าซบริเวณแท่นขุดเจาะ ทำให้ต้องปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 2 มี.ค. ที่ผ่านมา นับเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 2 เดือน

-/+ นอกจากนี้คาดว่ากำลังการผลิตของ Forties ในแถบทะเลเหนือ เดือน เม.ย. จะเพิ่มขึ้นเป็น 400,000 บาร์เรลต่อ จาก 368,000 บาร์เรลต่อวันในเดือน มี.ค. อย่างไรก็ดี คาดว่ากำลังการผลิตรวมในแถบทะเลเหนือเดือน เม.ย.ยังคงปรับลดลงเป็น 820,000 บาร์เรลต่อวัน จาก 871,000 บาร์เรลต่อวัน ในเดือน มี.ค.

- ยอดคำสั่งซื้อของโรงงานเยอรมนี เดือน ม.ค. ปรับลดลง 1.9% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะปรับเพิ่มขึ้น 0.6% นอกจากนี้ยอดคำสั่งซื้อยังปรับลดลง 2.5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจเยอรมนียังคงได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจยูโรโซนที่ ยังคงยืดเยื้อ

ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ แม้ว่าโรงกลั่นในเกาหลีใต้จะปิดซ่อมบำรุงกะทันหันและความต้องการจากเวียดนาม ยังคงอยู่ในระดับสูงก็ตาม

ราคาน้ำมันมันดีเซล ปรับลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากโรงกลั่นทางเกาหลีใต้ได้มีการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น ซึ่งส่งผลให้ปริมาณการส่งออกจากเกาหลีใต้ลดลง ประกอบกับปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังที่สิงคโปร์ก็ปรับลดลง

ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง

กรอบการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบสัปดาห์หน้าเบรนท์ 108-115 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัส 88-95 เหรียญ วันนี้ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจที่ได้แก่ การผลิตภาคอุตสาหกรรมเยอรมนี การจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานสหรัฐฯ

ส่วนสัปดาห์หน้าติดตามการอนุมัติงบประมาณของสหรัฐฯ โดยวุฒิสภา และการจัดตั้งรัฐบาลของอิตาลี

ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่

วันศุกร์:การผลิตภาคอุตสาหกรรมเยอรมนี การจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานสหรัฐฯ

วันเสาร์: การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีราคาผู้บริโภคและยอดขายปลีกจีน

ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์หน้า ได้แก่

วันจันทร์: ดุลการค้าเยอรมนี การผลิตภาคอุตสาหกรรมฝรั่งเศส

วันอังคาร: ดัชนีราคาผู้บริโภคเยอรมนี การผลิตภาคอุตสาหกรรมอังกฤษ

วันพุธ: ยอดขายปลีกสหรัฐฯ การผลิตภาคอุตสาหกรรมยูโรโซน

วันพฤหัส: ดุลบัญชีเดินสะพัดสหรัฐฯ ตัวเลขการจ้างงานยูโรโซน ยอดขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ รายงานธนาคารกลางยุโรป

วันศุกร์: การผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯและยูโรโซน ดัชนีภาคอุตสาหกรรมของรัฐนิวยอร์ค ความรู้สึกของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ (ม.มิชิแกน)

- ติดตามความคืบหน้าในการอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีของสหรัฐฯ เพื่อหลีกเลี่ยงการยุติการให้บริการของรัฐบาลต่อประชาชน ซึ่งจะมีผลให้วันที่ 27 มี.ค. โดยล่าสุดสภาล่างซึ่งนำโดยพรรครีพับริกันได้ผ่านร่างกฎหมายมูลค่า 9.82 แสนล้านเหรียญฯ เพื่อให้รัฐบาลสามารถปฏิบัติงานได้จนถึงสิ้นปีงบประมาณในเดือน ก.ย. อย่างไรก็ตาม ร่างกฎหมายงบประมาณดังกล่าวต้องผ่านการอนุมัติจากสภาสูงที่นำโดยพรรคดีโม เครต โดยคาดว่าจะมีการลงมติในสัปดาห์หน้า

- ติดตามการจัดตั้งรัฐบาลของอิตาลี หลังไม่มีพรรคใดได้เสียงข้างมากในสภาสูงและสภาล่าง โดยจะมีการประชุมสภาในวันที่ 15 มี.ค. ซึ่งถ้าหากไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จประธานาธิบดีอาจจัดตั้งรัฐบาล ชั่วคราวหรืออาจจะต้องมีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการแก้ปัญหาหนี้ของอิตาลี

- ติดตามการเลือกตั้งในเวเนซุเอลาที่จะจัดขึ้นภายใน 30 วันภายหลังการอสัญกรรมของประธานาธิบดีฮูโก ชาเวซ ว่านายนิโกลัส มาดูโร รองประธานาธิบดีผู้ซึ่งนายชาเวซตั้งใจจะให้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งจะได้รับ เลือกตั้งหรือไม่ โดยปัจจุบันเวเนซุเอลามีปริมาณน้ำมันดิบสำรองมากเป็นอันดับ 1 ของโลก ราว 297,000 ล้านบาร์เรล

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ(วันที่ 8 มีนาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

S&Pปรับทบทวนแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวโปรตุเกสเป็นมีเสถียรภาพ(08/03/2556)

สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ได้ปรับทบทวนแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวของประเทศโปรตุเกสเป็นมี เสถียรภาพจากเดิมเชิงลบ และยังได้คงอันดับความน่าเชื่อระยะสั้นและระยะยาวของโปรตุเกสที่ 'BB/B'

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ(วันที่ 8 มีนาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...