ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

แต่ แต่ รหัส 7,5,2 ที่เด็กขายของใช้้ส่อง เส้นสีแดงโผล่ให้เห็นด้านล่าง หลังจากปิดตลาดวันศุกร์หัวชนกัน บัดนี้ โผล่ด้านล่าง ก็ต้องลดต่ำลงแหง่ๆๆ ในปิดรายวันพรุ่งนี้

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

World Markets : สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ (26/03/2556)

ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนนี้ (25 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในภาคธนาคารของไซปรัส แม้มีรายงานว่าไซปรัสบรรลุข้อตกลงการรับความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรปแล้วก็ตาม

 

ดัชนี Stoxx Europe 600 ลดลง 0.3% ปิดที่ 293.25 จุด

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 3,727.98 จุด ลดลง 42.31 จุด หรือ 1.12% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 7,870.90 จุด ลดลง 40.45 จุด หรือ 0.51% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,378.38 จุด ลดลง 14.38 จุด หรือ 0.22%

 

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (25 มี.ค.) หลังจากประธานยูโรกรุ๊ปได้แสดงความคิดเห็นในด้านลบว่า ประเทศอื่นๆในกลุ่มยูโรโซนอาจจะเผชิญกับวิกฤตด้านการธนาคารแบบเดียวกับไซปรัส อย่างไรก็ตาม ตลาดได้รับแรงหนุนในระหว่างวันจากข่าวที่ว่ายูโรโซนได้อนุมัติแผนการให้ความช่วยเหลือไซปรัส

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ร่วงลง 64.28 จุด หรือ 0.44% ปิดที่ 14,447.75 จุด ดัชนี S&P 500 ลดลง 5.20 จุด หรือ 0.33% ปิดที่ 1,551.69 จุด และดัชนี Nasdaq ลดลง 9.70 จุด หรือ 0.30% ปิดที่ 3,235.30 จุด

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดขยับลงเมื่อคืนนี้ (25 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากมีรายงานว่าไซปรัสบรรลุข้อตกลงการรับความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรป

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.ลดลง 1.6 ดอลลาร์ หรือ 0.1% ปิดที่ 1,604.5 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค.ปิดที่ 28.815 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 11.7 เซนต์ ส่วนสัญญาโลหะทองแดงส่งมอบเดือนพ.ค.ลดลง 2.10 เซนต์ ปิดที่ 3.445 ดอลลาร์/ปอนด์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.ปิดที่ 1,582.90 ดอลลาร์/ออนซ์ พุ่งขึ้น 1.20 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย.ปิดที่ 757.35 ดอลลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 4.20 ดอลลาร์

 

-- ราคาทองคำตลาดลอนดอนปิดวันทำการล่าสุด (25 มี.ค.) ที่ 1,599.25 ดอลล์/ออนซ์

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (25 มี.ค.) ขานรับข่าวที่ว่ารัฐมนตรีคลังกลุ่มยูโรโซนก็ได้ให้การรับรองข้อตกลงของไซปรัสกับกลุ่มทรอยกาในการปรับโครงสร้างภาคธนาคารของไซปรัส ซึ่งจะช่วยให้ระบบการเงินของไซปรัสรอดพ้นจากการล้มละลาย

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย.เพิ่มขึ้น 1.1 ดอลลาร์ หรือ 1.17% ปิดที่ 94.81 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ค.ที่ตลาดลอนดอน เพิ่มขึ้น 51 เซนต์ หรือ 0.47% ปิดที่ 108.17 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

-- สกุลเงินยูโรอ่อนตัวลงเมื่อเทียบดอลลาร์ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (25 มี.ค.) เนื่องจากความกังวลที่ว่าข้อตกลงช่วยเหลือทางการเงินแก่ไซปรัสอาจจะไม่เพียงพอที่จะขจัดความเสี่ยงเกี่ยวกับการผิดนัดชำระหนี้ รวมทั้งอาจไม่สามารถสกัดการลุกลามของปัญหาเศรษฐกิจในภูมิภาค

 

ทั้งนี้ ค่าเงินยูโรอ่อนตัวลงแตะระดับ 1.2863 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันศุกร์ที่ 1.2983 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์ร่วงลงแตะระดับ 1.5181 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5220 ดอลลาร์สหรับ และค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียพุ่งขึ้นแตะระดับ 1.0458 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0445 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 94.01 เยน จากระดับ 94.44 เยน และขยับขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9480 ฟรังค์ จากระดับ 0.9412 ฟรังค์

 

-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดคืนนี้ (25 มี.ค.) ที่ 6,378.38 จุด ลดลง 14.38 จุด หรือ 0.22% เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในภาคธนาคารของไซปรัส แม้มีรายงานว่าไซปรัสบรรลุข้อตกลงการรับความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรปแล้วก็ตาม

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 26 มีนาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดลบ $1.6 หลังยูโรโซนไฟเขียวแผนอุ้มไซปรัส (26/03/2556)

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดขยับลงเมื่อคืนนี้ (25 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากมีรายงานว่าไซปรัสบรรลุข้อตกลงการรับความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรป

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.ลดลง 1.6 ดอลลาร์ หรือ 0.1% ปิดที่ 1,604.5 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค.ปิดที่ 28.815 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 11.7 เซนต์ ส่วนสัญญาโลหะทองแดงส่งมอบเดือนพ.ค.ลดลง 2.10 เซนต์ ปิดที่ 3.445 ดอลลาร์/ปอนด์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.ปิดที่ 1,582.90 ดอลลาร์/ออนซ์ พุ่งขึ้น 1.20 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย.ปิดที่ 757.35 ดอลลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 4.20 ดอลลาร์

 

นักลงทุนเทขายสัญญาทองคำหลังจากสหภาพยุโรป (อียู) และไซปรัสได้บรรลุข้อตกลงพื้นฐานเกี่ยวกับเงื่อนไขของมาตรการให้ความช่วยเหลือมูลค่า 1 หมื่นล้านยูโรเมื่อวานนี้ ซึ่งมาตรการดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะช่วยกอบกู้วิกฤตในภาคการธนาคารของไซปรัส

 

หลังจากนั้นไม่นาน รัฐมนตรีคลังกลุ่มยูโรโซนก็ได้ให้การรับรองข้อตกลงของไซปรัสกับกลุ่มทรอยกา ซึ่งประกอบด้วยธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี), คณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ในการปรับโครงสร้างภาคการธนาคารของไซปรัส

 

นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินสกุลดอลลาร์ในตระกร้าเงินเมื่อเทียบกับสกุลอื่นๆ พุ่งขึ้นแตะระดับ 82.879 เมื่อวานนี้ จากระดับของวันศุกร์ที่ 82.387 จุด

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 26 มีนาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ยูโรร่วงเทียบดอลล์ เหตุนักลงทุนยังวิตกปัญหาไซปรัส (26/03/2556)

สกุลเงินยูโรอ่อนตัวลงเมื่อเทียบดอลลาร์ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (25 มี.ค.) เนื่องจากความกังวลที่ว่าข้อตกลงช่วยเหลือทางการเงินแก่ไซปรัสอาจจะไม่เพียงพอที่จะขจัดความเสี่ยงเกี่ยวกับการผิดนัดชำระหนี้ รวมทั้งอาจไม่สามารถสกัดการลุกลามของปัญหาเศรษฐกิจในภูมิภาค

 

ทั้งนี้ ค่าเงินยูโรอ่อนตัวลงแตะระดับ 1.2863 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันศุกร์ที่ 1.2983 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์ร่วงลงแตะระดับ 1.5181 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5220 ดอลลาร์สหรับ และค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียพุ่งขึ้นแตะระดับ 1.0458 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0445 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 94.01 เยน จากระดับ 94.44 เยน และขยับขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9480 ฟรังค์ จากระดับ 0.9412 ฟรังค์

 

ในช่วงแรก ยูโรดีดตัวขึ้นหลังจากสหภาพยุโรป (อียู) และไซปรัสได้บรรลุข้อตกลงพื้นฐานเกี่ยวกับเงื่อนไขของมาตรการให้ความช่วยเหลือมูลค่า 1 หมื่นล้านยูโรในวันนี้ ซึ่งมาตรการดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะช่วยกอบกู้วิกฤตในภาคการธนาคารของไซปรัส และหลังจากนั้นไม่นาน รัฐมนตรีคลังกลุ่มยูโรโซนก็ได้อนุมัติข้อตกลงดังกล่าวข้อตกลงของไซปรัสกับกลุ่มทรอยกา ซึ่งประกอบด้วยธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี), คณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ในการปรับโครงสร้างภาคการธนาคารของไซปรัส

 

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มองว่าข้อตกลงนี้ตอกย้ำถึงปัญหาเชิงโครงสร้างในยูโรโซน และตลาดอาจจะคลายความกังวลเพียงชั่วคราว เนื่องจากข้อตกลงดังกล่าวอาจจะมีวงเงินไม่เพียงพอในระยะยาวที่จะช่วยให้ระบบการเงินของไซปรัสรอดพ้นจากการล่มสลาย

 

นอกจากนี้ เงินยูโรยังได้รับแรงกดดันสำนักงานสถิติแห่งชาติของอิตาลี (Istat) เปิดเผยวันนี้ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอิตาลีในเดือนมี.ค.ลดลงแตะ 85.2 จาก 86.0 ในเดือนก.พ.

 

ฟิทช์ เรทติ้งส์ ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของอิตาลีลง 1 ขั้น สู่ระดับ BBB+ พร้อมกับให้แนวโน้มเชิงลบ เนื่องจากความไม่แน่นอนทางการเมือง หลังจากที่ผลการเลือกตั้งของอิตาลีในเดือนที่แล้วยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน

 

ส่วนสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นหลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาชิคาโก เปิดเผยว่า ดัชนีกิจกรรมภาคการผลิตทั่วประเทศในเดือนก.พ.ดีดตัวขึ้นแตะ 0.44 จาก -0.49 ในเดือนม.ค. นำโดยดัชนีที่เกี่ยวข้องกับการผลิต ซึ่งปรับขึ้นแตะ 0.34 ในเดือนก.พ. จาก -0.30 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งส่งสัญญาณที่ดีเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐ

 

ทั้งนี้ ดัชนีที่ต่ำกว่า 0 บ่งชี้ว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ขณะที่ดัชนีที่เป็นบวกแสดงให้เห็นถึงการขยายตัวที่สูงกว่าแนวโน้ม

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 26 มีนาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รัฐบาลเยอรมนีขานรับข้อตกลงช่วยไซปรัส ชี้เป็นผลดีแก่ไซปรัส,ยุโรปโดยรวม (26/03/2556)

นายสเตฟเฟน ไซเบิร์ท โฆษกรัฐบาลเยอรมนี กล่าวว่ารัฐบาลเยอรมนีรู้สึกยินดีกับข้อตกลงความช่วยเหลือทางการเงินครั้งใหม่ โดยระบุว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นประโยชน์ของไซปรัสและยุโรปโดยรวม

 

“ข้อตกลงที่มีขึ้นในขณะนี้เป็นประโยชน์ของไซปรัส ยุโรป และยูโรโซน" นายไซเบิร์ทกล่าว

 

โฆษกกล่าวว่า นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคลของเยอรมนี รวมทั้งรัฐบาลกลางทั้งหมดมีความพอใจกับข้อตกลงที่มีขึ้นที่กรุงบรัสเซลส์ โดยกล่าวเสริมว่านางแมร์เคลมองว่ามาตรการความช่วยเหลือครั้งใหม่ดังกล่าวมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติและมีความเหมาะสม

 

ข้อตกลงดังกล่าว ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีคลังยูโรโซนหรือยูโรกรุ๊ปในวันนี้ มีขึ้นก่อนกำหนดเส้นตาย เพื่อเลี่ยงการล่มสลายของระบบการธนาคารไซปรัส

 

ก่อนหน้านี้ ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ยื่นคำขาดว่าไซปรัสจะต้องระดมเงินทุนให้มากเพียงพอก่อนที่อีซีบีจะตัดความช่วยเหลือไซปรัสในวันจันทร์นี้ ข่าวดังกล่าวทำให้นักลงทุนกังวลว่าหากไซปรัสผิดนัดชำระหนี้ ก็จะส่งผลให้ระบบการธนาคารของไซปรัสล่มสลายและจะส่งผลกระทบลูกโซ่ในยูโรโซนซึ่งได้รับความเสียหายอยู่ก่อนแล้วจากวิกฤตหนี้สาธารณะ

 

นอกจากนี้ ข้อตกลงดังกล่าวยังมีขึ้นหลังจากที่มีความไม่แน่นอนมาเป็นเวลาหลายวันจากการที่รัฐสภาไซปรัสปฏิเสธข้อตกลงช่วยเหลือทางการเงินก่อนหน้านี้ที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 16 มี.ค. ซึ่งระบุให้ผู้ฝากเงินในธนาคารไซปรัสต้องเสียภาษีแบบครั้งเดียว (one-off) สำหรับเงินฝากของพวกเขา

 

นายไซเบิร์ทกล่าวว่า ไซปรัสต้องการ “ภาคการธนาคารที่มีขนาดเล็กลง แข็งแกร่งขึ้นและมีการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน" โดยเสริมว่ารัฐบาลไซปรัสมีความรับผิดชอบที่สำคัญในการอธิบายแก่ประชาชนว่าเหตุใดแนวทางนี้จึงยากลำบาก แต่ถูกต้อง

 

เขากล่าวว่ามาตรการปรับโครงสร้างจะนำมาซึ่งความยากลำบาก แต่จะส่งผลให้มีการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไซปรัส

 

ทั้งนี้ โฆษกรัฐบาลเยอรมนีกล่าวเสริมว่า ตัวอย่างของไซปรัสได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ายุโรปมีความเป็นปึกแผ่น และพร้อมจะช่วยเหลือประเทศที่ประสบปัญหา เมื่อมีการตัดสินใจเกี่ยวกับการปฏิรูปต่างๆ สำนักข่าวซินหัวรายงาน

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 25 มีนาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ไซปรัสยังไม่กำหนดเปิดธนาคาร (26/03/2556)

ธนาคารกลางไซปรัสระบุ ยังไม่มีการตัดสินใจว่าจะให้ธนาคารพาณิชย์ในประเทศ เปิดทำการตามที่วางแผนไว้ในวันนี้หรือไม่ หลังปิดมาร่วม 10 วัน

 

 

 

 

แหล่งข่าวในธนาคารกลางไซปรัส เปิดเผยว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการตัดสินใจในเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด แม้ว่าไซปรัสจะบรรลุข้อตกลงกับสหภาพยุโรป (อียู) ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ถึงการรับเงินช่วยเหลือจำนวน 10,000 ล้านดอลลาร์แล้วก็ตาม

 

วันเดียวกันนี้ ธนาคารกลางไซปรัสยังประกาศแต่งตั้งผู้จัดการขึ้นมาทำหน้าดูแลการปิดกิจการธนาคารไลกิ ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ ตามเงื่อนไขที่ทำไว้เพื่อการได้รับความช่วยเหลือดังกล่าว

 

การบรรลุข้อตกลงข้างต้น ยังทำให้ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ได้มีคำสั่งให้รัฐบาลกรุงมอสโก ดำเนินการศึกษาถึงการปรับโครงสร้างหนี้จำนวน 2,500 ล้านยูโรให้กับไซปรัส โดยรัสเซีย ได้ขยายวงเงินกู้ให้กับไซปรัสไปเมื่อปี 2554 และมีกำหนดที่จะต้องชำระคืนภายในปี 2559

 

นายดมิทรี เปสคอฟ โฆษกประจำตัวผู้นำรัสเซีย ระบุว่า ประธานาธิบดีปูตินได้ชี้แนะให้รัฐบาล และกระทรวงการคลังรัสเซียทำงานร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อ เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ข้างต้น โดยไม่ได้มีการระบุอย่างเจาะจงว่า เงื่อนไขในการปรับโครงสร้างหนี้จะเป็นอย่างไร

 

ท่าทีดังกล่าวของรัสเซีย ถือเป็นข่าวดีสำหรับเจ้าหน้าที่ยุโรป ที่ก่อนหน้านี้เคยออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลไซปรัสเดินหน้าเจรจากับรัสเซีย ในเรื่องเงินกู้จำนวนดังกล่าว หลังไซปรัสจ่ายหนี้ล่าช้าเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

 

นายเปสคอฟ ระบุว่า เมื่อพิจารณาจากเงื่อนไขที่ไซปรัสตกลงกับยุโรปแล้ว ประธานาธิบดีปูตินจึงเห็นถึงความเป็นได้ ที่จะสนับสนุนความพยายามของประธานาธิบดีไซปรัส และคณะกรรมาธิการยุโรป ในการเอาชนะวิกฤติในระบบธนาคาร

 

ทางด้านนายไมเคิล บานิเยร์ กรรมาธิการยุโรป รับผิดชอบในเรื่องตลาดเดี่ยวของอียู ออกมาให้ความมั่นใจว่า แม้ไซปรัสจะต้องดำเนินการควบคุมการเคลื่อนไหวของเงินทุน แต่มาตรการนี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ เร็วสุดอาจจะเพียงไม่กี่วันเท่านั้น

 

ก่อนหน้านี้ นายโฮเซ มานูเอล บาร์โรโซ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป กล่าวว่า แม้จะสามารถบรรลุข้อตกลงกัน แต่ก็เป็นเรื่องยากที่จะคาดการณ์ถึงอนาคตเศรษฐกิจของไซปรัสได้ โดยทั้งหมดขึ้นอยู่กับว่าไซปรัสจะปฏิบัติตามเงื่อนไข และคำมั่นของตัวเองได้ดีเท่าใด

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 26 มีนาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

บาทแข็งโป๊ก!!ผู้ผลิตรถเล็งขยายลงทุนอินโดฯ (26/03/2556)

ผู้ผลิตรถยนต์เริ่มสนใจขยายการลงทุนไปยังอินโดนีเซียมากขึ้น หลังเงินบาทแข็งค่าในรอบ 16 ปี รวมทั้งขาดแคลนแรงงาน

 

 

 

นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. กล่าวว่า ส.อ.ท. รอดูสถานการณ์การเลื่อนรับมอบรถยนต์ของผู้จองซื้อรถยนต์ตามโครงการคืนภาษีรถยนต์คันแรกต่อไปอีก 2 เดือน เนื่องจากช่วงปลายเดือนมี.ค. นี้ จะมีการจัดงาน บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล ครั้งที่ 34 หรือ มอเตอร์โชว์ จึงอาจมีประชาชนต้องการรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ที่จะมาเปิดตัวในงานนี้ และขอเลื่อนการรับมอบรถยนต์ที่จองไว้ออกไปก่อน และบางส่วนอาจยังไม่มีความพร้อมที่จะรับรถในช่วงนี้

 

ทั้งนี้ ยอมรับว่าการเลื่อนรับมอบรถยนต์ ทำให้ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ มีรถยนต์ค้างสต็อกเพิ่มขึ้นมีปัญหาภาระดอกเบี้ยจ่ายแก่สถาบันการเงินที่ชำระค่ารถยนต์ไปก่อน หากการเลื่อนรับมอบรถยนต์มีสัดส่วนประมาณ 10% ของยอดการจองทั้งหมด เชื่อว่าจะไม่มีผลกระทบต่อการวางแผนผลิตรถยนต์ของค่ายรถยนต์ต่างๆ มากนัก แต่หากมากกว่านี้จะกระทบต่อการวางแผนผลิตในครึ่งปีหลังแน่นอน ทำให้ยอดผลิตรถยนต์อยู่ที่ 2.55 ล้านคัน จากเดิมตั้งเป้าจะผลิตได้ถึง 2.7-2.8 ล้านคันในปีนี้

 

ส่วนปัญหาเงินบาทแข็งค่าสูงสุดในรอบ 16 ปี ทำให้ผู้ประกอบการรถยนต์ขาดทุนแน่นอน เพราะกำไรของอุตสาหกรรมยานยนต์มีไม่มาก และยังมีสัดส่วนการส่งออก 40-50% โดยปีนี้ตั้งเป้าว่าจะส่งออกรถยนต์ให้ได้ 1.1 ล้านคัน

 

นอกจากปัญหาเงินบาทแข็งค่าแล้ว อุตสาหกรรมยานยนต์ยังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน ทำให้ขณะนี้ค่ายรถยนต์เริ่มสนใจขยายการลงทุนไปยังอินโดนีเซียมากขึ้น หลังจากอินโดนีเซียมีนโยบายสนับสนุนการผลิตรถยนต์ขนาดเล็ก หรือ อีโคคาร์ ทำให้ตลาดรถยนต์ขยายตัวมากขึ้น

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 25 มีนาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อุ๋ยเตือนธปท.แก้ค่าบาทพุ่ง ระวังกระทบภาวะตลาดหุ้น (26/03/2556)

25 มี.ค.56 ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตผู้ว่าการ ธปท. กล่าวถึงสถานการณ์ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องในเวลานี้ว่า ในช่วงระยะนี้ น่าจะมีการเข้ามาแทรกแซงเป็นระยะๆ ทำให้ค่าเงินบาทไม่ได้แข็งจนเกินไป ส่วนมีความจำเป็นที่ ธปท.จะต้องลดดอกเบี้ยนโยบาย หรือออกมาตราการควบคุมเงินทุนไหลเข้า เพื่อสกัดการแข็งค่านั้น เท่าที่ได้คุยกับจากทั้งคนในกระทรวงการคลัง ธปท. และคณะกรรมการนโยบายการเงินหลายคน ก็พูดกันว่า จะพยายามไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งจนเกินไป แต่ จะต้องไม่ไปกระเทือนกับตลาดหุ้นอย่างเด็ดขาด เพราะกำลังเดินไปในทิศทางที่ดี และไปในลักษณะที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น ทำให้ธุรกิจหลายอย่าง สามารถใช้เงินจากตลาดหุ้นไปขยายธุรกิจได้

 

ส่วนที่หลายฝ่ายวิตกกังวลว่า การแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาทในขณะนี้ เร็วเกินไปและจะกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจหรือไม่นั้น ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวว่า คิดว่า ที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็วนั้น น่าจะอยู่ตั้งแต่ในช่วงครึ่งเดือนแรกของปี 2556 แล้ว แต่หลังจากนั้นก็นิ่งมาโดยตลอด และมากระตุกอีก 2-3 วันหลัง เพราะฉะนั้น ส่วนตัวคิดว่าน่าจะรอดูสถานการณ์ไปก่อนอีกสัก 1 สัปดาห์ หากเงินบาทนิ่งได้ ก็แสดงความความจำเป็นในการใช้มาตรการต่างๆ ก็คงไม่มี ต้องไม่ลืมว่า ที่ผ่านมายอดส่งออกก็ยังพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง เห็นว่าสถานการณ์การแข็งค่าเงินบาทในระยะนี้ ยังไม่ถือว่ารุนแรงขนาดที่จะต้องมีมาตราการใดออกมาแก้ไข

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า (วันที่ 26 มีนาคม 2556)

 

 

'หม่อมอุ๋ย'แนะจับตาค่าเงินบาท (26/03/2556)

'หม่อมอุ๋ย' แนะจับตาค่าเงินบาท ให้อยู่ที่ 29 บาทต่อดอลลาร์

 

25 มี.ค.56 ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยให้สัมภาษณ์รายการเจาะลึกทั่วไทยอินไซด์ไทยแลนด์ ทางสถานีวิทยุ FM 97.0 ถึงปัญหาค่าเงินบาทว่า วันนี้ยังไม่ถือว่าแข็งจนเกินไป แต่เชื่อว่ามีการแทรกแซงโดยที่รัฐบาลไม่รู้ เท่าที่ตนได้คุยกับกรรมการนโยบายการเงิน เขารับรู้แล้วว่าต้องพยายามไม่ให้บาทแข็งเกินไป และจะไม่ให้กระเทือนตลาดหุ้นเด็ดขาด เพราะวันนี้ตลาดหุ้นกำลังไปด้วยดี และกำลังเดินดี ซึ่งหากจะมีมาตรการก็ใช้เฉพาะกับเงินที่ไหลเข้า และตราสารหนี้เท่านั้น

 

เมื่อถามว่า ค่าเงินบาทที่เหมาะสมควรอยู่ที่จุดไหน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ระบุว่า ต้องดูว่าค่าเงินอื่นปรับหรือไม่ แต่ปัจจุบันค่าเงินญี่ปุ่นอ่อนลง เราจึงต้องระวังไม่ให้แข็งไปกว่านี้ เราต้องอยู่ที่ 29 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์ไว้จะเป็นการดี

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก (วันที่ 26 มีนาคม 2556)

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เศรษฐกิจไซปรัสส่อเค้าเจ็บหนักหลายปี (26/03/2556)

นักวิเคราะห์คาด ชาวไซปรัสเผชิญความยากลำบากทางเศรษฐกิจอีกหลายปี ผลจากเงื่อนไขสุดหินในข้อตกลงอียู อีซีบี และไอเอ็มเอฟ

 

 

 

 

ผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจชี้ว่าผลกระทบจะเกิดขึ้นทันที เพราะมีแนวโน้มจะเกิดการขาดแคลนอาหารและยาในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ขณะที่ธุรกิจต่างๆ ขาดแคลนเงินสดเพราะฝากไว้กับธนาคาร

 

จากนั้นไซปรัสจะเผชิญภาวะถดถอยอย่างหนักเป็นเวลา 2 ปี ผสานกับอัตราว่างงานที่สูงลิ่ว ท่ามกลางความหวังริบหรี่ว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้ในระยะยาว เพราะนักลงทุนรัสเซียและนักลงทุนชาติอื่นจะไม่เข้ามาข้องแวะกับภาคการเงินของไซปรัส

 

นักเศรษฐศาสตร์ที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับไซปรัส กล่าวว่าแม้ข้อตกลงเงินช่วยเหลือสามารถป้องกันไซปรัสให้ไม่ต้องออกจากยูโรโซนได้ แต่ชาวไซปรัสจำนวนมากรู้สึกถูกหักหลังจากหลายประเทศ

 

เงื่อนไขของเจ้าหนี้ระบุว่าธนาคารไลกิจะต้องปิดตัวลง และผู้มีเงินฝากสูงกว่าแสนยูโรส่อเค้าจะไม่ได้เงินคืน ส่วนแบงก์ออฟไซปรัสเปิดบริการต่อไปได้ แต่รัฐบาลกล่าวว่าเป็นไปได้ที่จะมีการปรับโครงสร้างเงินฝากสูงกว่าแสนยูโร

 

สภาพการณ์ดังกล่าวทำให้มาตรการควบคุมเงินทุน รวมถึงการจำกัดการถอนเงินออกจากเอทีเอ็ม น่าจะมีผลบังคับใช้ไปอีกหลายสัปดาห์ อันหมายความว่าธุรกิจต่างๆ จะประสบปัญหาในการจ่ายเงินเดือนและซื้อสินค้า

 

นักเศรษฐศาสตร์ชี้ว่าฝ่ายต่างๆ อาจมองข้ามผลกระทบด้านนี้ไป ทั้งที่บริษัทขนาดใหญ่นั้น ล้วนเป็นผู้นำเข้าและผู้ขายอาหาร รวมถึงผู้นำเข้ายา ที่อาจประสบปัญหาขาดแคลนสิ่งต่างๆ อย่างอาหาร ซึ่งในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมาชาวไซปรัสก็เริ่มกักตุนอาหารกันแล้ว

 

ส่วนแนวโน้มระยะยาวนั้น ริบหรี่ยิ่งกว่า เพราะเศรษฐกิจมีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบครั้งใหญ่ที่สุดนับจากตุรกีบุกไซปรัสเมื่อปี 2517 โดยปีแรกเศรษฐกิจอาจติดลบ 15% และติดลบ 5% ในปีต่อมา ส่วนอัตราว่างงานซึ่งอยู่ที่ระดับ 15% อยู่แล้ว ก็มีแนวโน้มจะเพิ่มเป็น 17.5% หลังจากมีการปิดธนาคารไลกิ และจะพุ่งเป็น 20% ภายใน 3 เดือน ก่อนทะยานเป็น 26% ภายใน 1 ปี

 

เอฟเซนทิส เอฟเซนติโอ อดีตผู้ว่าการธนาคารกลางไซปรัส กล่าวว่าผลกระทบที่มีต่อสภาพเศรษฐกิจอาจยาวนานเป็นสิบปี มาตรฐานการครองชีพจะดิ่งเหว แม้เศรษฐกิจอาจสามารถฟื้นตัวได้ใน 2-3 ปี แต่มาตรฐานการครองชีพจะใช้เวลาอย่างน้อย 10 ปีกว่าจะกระเตื้องขึ้น

 

ขณะเดียวกัน การฟื้นฟูเศรษฐกิจจะเป็นสิ่งยากลำบาก เพราะภาคบริการการเงินได้รับผลกระทบอย่างหนัก และเงินฝากของนักลงทุนรัสเซียจำนวนมากจะลดค่าลงเมื่อต้องถูกเจียดไปอุ้มภาคธนาคาร

 

นักเศรษฐศาสตร์แห่งวีทีบีแคปิตอล ชี้ว่า ชัดเจนว่าการลดขนาดระบบการเงินไซปรัส เป็นเป้าหมายของอียูกับไอเอ็มเอฟ แต่การกระทำดังกล่าวจะทำให้ผู้คนตกงานและทำให้ระบบธนาคารมีข้อจำกัดมาก และผลกระทบแง่ลบต่อเศรษฐกิจจะรุนแรงมาก

 

นอกจากนั้น สถานภาพของไซปรัสในยูโรโซนยังเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นคำถาม แม้ได้รับเงินช่วยเหลือแล้ว โดยปฏิกิริยาทางสังคมและการเมืองในไซปรัสซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่ออียูอย่างมาก อาจทำให้มีกระแสต่อต้านและไม่อาจปิดทางได้ว่าไซปรัสอาจออกจากยูโรโซนในอนาคต

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 26 มีนาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธนาคารทุกแห่งในไซปรัสจะเปิดทำการอีกครั้งในวันพฤหัสบดีนี้ (26/03/2556)

ธนาคารกลางไซปรัสมีคำสั่งในเช้าวันนี้ให้ธนาคารทุกแห่งยังคงปิดทำการอีก 2 วันจนถึงวันพฤหัสบดี ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงคำสั่งก่อนหน้านี้

 

อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางไม่ได้อธิบายถึงเหตุผลในการเปลี่ยนแปลงคำสั่งดังกล่าว

 

ก่อนหน้านี้ คำสั่งฉบับแรกของธนาคารกลางระบุว่าธนาคารทุกแห่ง ยกเว้น แบงก์ ออฟ ไซปรัสและไซปรัส ปอปปูลาร์ แบงก์ จะเปิดทำการอีกครั้งในวันอังคาร หลังจากที่หยุดยาวต่อเนื่องมา 8 วัน

 

คำสั่งดังกล่าวได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากบรรดานักเศรษฐศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอดีตประธานาธิบดีจอร์จ วาสิลัว ซึ่งกล่าวว่าจะเป็นการสร้างความเสียหายแก่ระบบการธนาคารและเศรษฐกิจ

 

ทั้งนี้ ธนาคารทุกแห่ง ซึ่งรวมถึงธนาคารต่างชาติและองค์กรสินเชื่อสหกรณ์ 26 แห่ง จะเปิดทำการอีกครั้งในวันพฤหัสบดีนี้

 

ประธานาธิบดีนิคอส อนาสตาเซียเดส ได้แถลงทางโทรทัศน์เมื่อวานนี้ว่า ธนาคารกลางจะกำหนดเพดานการทำธุรกรรมของภาคธนาคาร เพื่อเลี่ยงการแห่ถอนเงินฝาก

 

เมื่อธนาคารต่างๆเปิดทำการอีกครั้ง ไซปรัส ปอปปูลาร์ แบงก์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไลกิ (Laiki) จะยุติการดำเนินงาน โดยจะถูกแยกหนี้ดีและหนี้เสียออกจากกัน และสินทรัพย์ที่ดีจะถูกนำไปรวมไว้ในแบงก์ ออฟ ไซปรัส

 

การควบรวมกิจการธนาคารทั้งสองแห่งดังกล่าวและการเปิดดำเนินงานระบบการธนาคารอีกครั้งในวันพฤหัสบดีนี้ จะเป็นบททดสอบแรกสำหรับรัฐบาลไซปรัส ในการปฏิบัติตามเงื่อนไขของยูโรกรุ๊ปเพื่อรับเงินช่วยเหลือ 1.0 หมื่นล้านยูโร

 

ปธน.อนาสตาเซียเดสกล่าวในการแถลงว่าธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ได้แจ้งแก่ธนาคารกลางไซปรัสว่าจะรับประกันสภาพคล่องที่เพียงพอสำหรับระบบธนาคาร สำนักข่าวซินหัวรายงาน

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 26 มีนาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

**ตลาดหุ้นเอเชียลดลงเช้านี้ หลังนักลงทุนยังวิตกปัญหาไซปรัส

 

 

ตลาดหุ้นเอเชียลดลงเช้านี้โดยการนำของหุ้นญี่ปุ่น หลังจากที่เงินเยนแข็งค่า ท่ามกลางความวิตกกังวลว่าแผนปรับโครงสร้างธนาคารไซปรัสอาจกลายเป็นแม่แบบที่จะนำมาใช้กับประเทศอื่นในยุโรป

 

 

ดัชนี MSCI Asia Pacific ขยับลง 0.1% แตะที่ 135.51 จุด เมื่อเวลา 9.34 น.ตามเวลาโตเกียว

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 12,461.79 จุด ลดลง 84.67 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 22,208.06 จุด ลดลง 43.09 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 2,318.58 จุด ลดลง 8.14 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 7,873.70 จุด เพิ่มขึ้น 17.58 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 1,976.81 จุด ลดลง 0.86 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,266.48 จุด ลดลง 1.00 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เปิดวันนี้ที่ 6,601.39 จุด เพิ่มขึ้น 3.80 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,651.84 จุด เพิ่มขึ้น 7.95 จุด และดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียเปิดวันนี้ที่ 4,981.00 จุด ลดลง 9.20 จุด

 

 

หุ้นโซนี่ คอร์ป ลดลง 2.1% และหุ้นบีเอชพี บิลลิตัน ติดลบ 1.2%

 

 

ในช่วงแรก ยูโรดีดตัวขึ้นหลังจากสหภาพยุโรป (อียู) และไซปรัสได้บรรลุข้อตกลงพื้นฐานเกี่ยวกับเงื่อนไขของมาตรการให้ความช่วยเหลือมูลค่า 1 หมื่นล้านยูโรในวันนี้ ซึ่งมาตรการดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะช่วยกอบกู้วิกฤตในภาคการธนาคารของไซปรัส และหลังจากนั้นไม่นาน รัฐมนตรีคลังกลุ่มยูโรโซนก็ได้อนุมัติข้อตกลงดังกล่าวข้อตกลงของไซปรัสกับกลุ่มทรอยกา ซึ่งประกอบด้วยธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี), คณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ในการปรับโครงสร้างภาคการธนาคารของไซปรัส

 

 

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มองว่าข้อตกลงนี้ตอกย้ำถึงปัญหาเชิงโครงสร้างในยูโรโซน และตลาดอาจจะคลายความกังวลเพียงชั่วคราว เนื่องจากข้อตกลงดังกล่าวอาจจะมีวงเงินไม่เพียงพอในระยะยาวที่จะช่วยให้ระบบการเงินของไซปรัสรอดพ้นจากการล่มสลาย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดซื้อขายดอลลาร์/เยน:ยูโรร่วงเทียบเงินสกุลต่างๆเช้านี้

 

 

 

 

ยูโรร่วงลงอย่างหนักในการซื้อขายช่วงเช้านี้ที่ตลาดเอเชีย โดยร่วงลงเมื่อเท ยบกับ สกุลเงินต่างๆจากความวิตกที่ว่า การช่วยเหลือภาคธนาคารในอนาคตในยูโรโซนจะต้องมี เงื่อนไขแบบเดียวกับในข้อตกลงของไซปรัส

ยูโรอยู่ที่ 1.2854 ดอลลาร์ใกล้กับระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือนที่ 1.2829 ดอลลาร์ของเมื่อวานนี้ และใก้ลกับระดับต่ำสุดของเดือนพ.ย.ที่ 1.2661 ดอลลาร์

 

 

โดยยูโรร่วงลงมากกว่า 6% แล้วจากระดับสูงสุดที่ 1.3711 ดอลลาร์ที่เข้าทดสอบเมื่อ วันที่ 1 ก.พ.

ยูโรปรับตัวขึ้นในช่วงแรกเมื่อวานนี้ หลังไซปรัสบรรลุข้อตกลงกับสหภาพยุโรป และกองทุนการเงินระหว่างประเทศเพื่อหลีกเลี่ยงการล่มสลายของภาคธนาคาร

 

 

ปัจจัยกดดันยูโรยังมาจากการคาดการณ์ที่ว่า อาจมีการปรับลดอันดับความ น่าเชื่อถือของอิตาลีซึ่งยังคงเผชิญความยากลำบากในการจัดตั้งรัฐบาล โดยมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิสจัดอันดับความน่าเชื่อถือของอิตาลีที่ Baa2 ซึ่งสูงกว่าอันดับข ยะ 2 ขั้น โดยมีแนวโน้มในเชิงลบ

 

 

ยูโรร่วงลงเมื่อเทียบกับเยน, ปอนด์, ฟรังก์สวิสและดอลลาร์ออสเตรเลีย โดยยูโรร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 1 เดือนที่ 120.08 เยนก่อนทรงตัวใกล้ระดับ 121.00 เยน

 

 

ดัชนีดอลลาร์อยู่ที่ระดับ 82.886 หลังปรับตัวใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือนครึ่งที่ 83.166

ดอลลาร์อยู่ที่ 94.19 เยน ขณะที่นักลงทุนขายเยนจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) จะดำเนินนโยบายเชิงรุกมากขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเงินฝืด

 

 

นักลงทุนจำนวนมากคาดว่า บีโอเจจะขยายโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจในการ ประชุมวันที่ 3-4 เม.ย. และจะจับตาการแถลงนโยบายของนายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการบี โอเจคนใหม่ต่อรัฐสภาในวันดังกล่าว

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

ราคาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปิดปรับขึ้น -- ราคาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ปรับขึ้นในวันจันทร์โดยได้รับแรงหนุนจากความต้องการซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย หลังจาก นายเจอโรน ดีจ์เซลเบลิม ประธานกลุ่มรัฐมนตรีคลังยูโรโซน (ยูโรกรุ๊ป) กล่าวว่า มาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ไซปรัสถือเป็นแม่แบบใหม่ในการใช้แก้ไข ปัญหาทางการธนาคารในยูโรโซน และในประเทศอื่นๆที่อาจจำเป็นต้องปรับโครงสร้าง ภาคธนาคาร โดยถ้อยแถลงนี้ทำให้เกิดความกังวลว่าอาจจะมีการแห่ถอนเงินออกจากธนาคาร ทั้งนี้ ราคาพันธบัตรอายุ 10 ปีปิดปรับขึ้น 04/32 สู่ 100-25/32 โดยมีผลตอบแทน 1.915 % และราคาพันธบัตรอายุ 30 ปีปิดปรับขึ้น 07/32 สู่ 99-24/32 โดยมีผลตอบแทน 3.138 %

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีตอนเช้าครับ

 

เมื่อคืนใจไม่ถึง ไม่กล้าเข้า ^^

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กลุ่มกบข.-แพทย์ชนบทก่อม็อบหน้าทำเนียบ

ข่าวการเมือง วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2556 8:01น.

 

กลุ่ม กบข. และกลุ่มแพทย์ชนบท ก่อม็อบหน้าทำเนียบรัฐบาล จี้ ยกเลิกโครงการ กบข. ค้าน การเป็นผู้นำ "น.พ.ประดิษฐ"

บรรยากาศที่ ทำเนียบรัฐบาล ขณะนี้ มีกลุ่มองค์กรเครือข่ายสมาชิก กองทุน บำเหน็จ บำนาญ ข้าราชการ หรือ กบข. แห่งประเทศไทย นำโดย นายวิศร์ อัครสันตติกุล ประธานองค์กร และกลุ่มผู้ชุมนุมจำนวนมาก เดินทางมาชุมนุมเคลื่อนไหวใหญ่ เพื่อเรียกร้องให้แก้ไข หรือ ยกเลิกโครงการ กบข. พร้อมกันนี้ ยังมีกลุ่มชมรมแพทย์ชนบทอีกจำนวนมาก เดินทางมาชุมนุม เพื่อเรียกร้อง รวมถึง กล่าวคำปฏิญญาณไม่ยอมรับการเป็นผู้นำของ น.พ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เนื่องจาก คัดค้านนโยบายการปรับลดเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย โดยใช้หลักเกณฑ์พิจารณาจากภาระงาน หรือ พีฟอร์พี ทั้งนี้ จากการชุมนุมของทั้ง 2 กลุ่ม ส่งผลให้ขณะนี้ มีการปิดเส้นทางการจราจร 1 เส้นทางบริเวณ ถนนพิษณุโลก ด้านข้างทำเนียบรัฐบาล และยังปิดถนนพระราม 5 ทั้งเส้นบริเวณ ด้านหน้าทำเนียบรัฐบาลด้วย

 

http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=442648

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...