ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

สำหรับรหัส 5,35,9 ที่ส่ง Signal ก็ยังบ่งบอกว่า ยังไม่ให้สัญญานในการขึ้นของราคาทองแบบต่อเนื่อง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มาถึงกราฟรหัส 7,5,2 ที่เด็กขายของะอามาดูและสร้างจินตนาการ / ถ้ามองเส้นสัญญานแบบในแง่ดี ที่เข้าซื่อทองแท่งตัวเป็นๆ ไปแล้วที่ราคา 19,650 บาท ( หุหุ เสียจังหวะ จริงๆ เมื่อวานนี้ ถ้าทำตัวว่างช่วงเย็น ก็คงมีกำไรแล้ว เฮอะๆๆ ) เส้นดำพยายามที่จะหาทางเลื้อยไปอยู่ด้านล่าง จากส่วนหัวของมัน ( 5555 คิดเอาเองนะครับ ) ก็รอหวังให้ขึ้นต่อไป ถือต่อไป สู้ต่อไป

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทองคำดิ่ง6วันติดต่ำสุดในรอบเดือน น้ำมันขึ้น-หุ้นมะกันลงจากข้อมูลแรงงาน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 พฤษภาคม 2556 05:29 น.

 

 

เดอะสตรีท/เอเอฟพี - ราคาทองคำดิ่งลง 6 วันติด แตะระดับต่ำสุดในรอบเดือน หลังมีแรงเทขายเพื่อหันไปลงทุนในตลาดทุน แม้วานนี้(16) วอลล์สตรีท จะปรับตัวลงเล็กน้อยจากผลประกอบการบริษัทและข้อมูลภาคแรงงานสหรัฐฯ สวนทางกับน้ำมันที่ขยับขึ้น เหตุยังตกอยู่ใต้แรงกดดันของข้อมูลคลังเชื้อเพลิงสำรองอเมริกา

 

ทองคำตลาดโคเมกซ์ของสหรัฐฯ ลดลง 9.30 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,386.90 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน และหากนับความเคลื่อนไหวในวันพฤหัสบดี(16) ด้วยแล้ว พบว่าตลอด 6 วันของการซื้อขายหลังสุด ราคาทองคำขยับลงมาถึงร้อยละ 5.9 เลยทีเดียว

 

ทั้งนี้ข่าวคราวด้านบวกเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อที่อ่อนตัวลงของสหรัฐฯและการดีดตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องจากตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อเร็วๆ ได้ดึงดูดให้นักลงทุนเทขายทองคำและหันไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆ

 

อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นสหรัฐฯต้องหยุดสถิติปิดบวกต่อเนื่องไว้เพียงแค่วานนี้(16) จากแรงฉุดของรายงานผลประกอบการที่น่าผิดหวังของวอลล์มาร์ตและข้อมูลทางเศรษฐกิจอันห่อเหี่ยวบางส่วน

 

ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ ลดลง 44.10 จุด (0.29 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 15,231.59 จุด แนสแดค ลดลง 6.37 จุด (0.18 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 3,465.24 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 8.41 จุด (0.51 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,650.37 จุด

 

ความเคลื่อนไหวของวอลล์สตรีทเมื่อวันพฤหัสบดี(16) มีขึ้นหลังจาก วอลมาร์ต บริษัทค้าปลีกยักษ์ใหญ่ รายงานผลประกอบการอันน่าผิดหวัง แถมยังคาดหมายด้วยว่าผลประกอบการในช่วงไตรมาส 2 ก็อาจออกมาย่ำแย่เช่นกัน

 

นอกจากนี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังถูกซ้ำเติมด้วยข้อมูลของกระทรวงแรงงาน ที่ระบุว่ายอดผู้เข้ารับสิทธิประโยชน์คนว่างงานอเมริกาในช่วงสัปดาห์ที่แล้ว เพิ่มขึ้นอย่างมากจากสัปดาห์ก่อน ขณะที่ยอดเริ่มก่อสร้างบ้านเดือนเมษายน ก็ทรุดลง อย่างไรก็ตามด้วยตัวเลขอนุญาตก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น เหล่านักวิเคราะห์จึงพากันมองว่าภาวะชะงักงันแห่งการฟื้นตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์คงเกิดขึ้นเพียงแค่ชั่วคราว

 

ด้านราคาน้ำมันวานนี้(16) ปิดบวกเล็กน้อย จากแรงกดดันของข้อมูลคลังเชื้อเพลิงสำรองอเมริกาที่เผยแพร่ออกมาเมื่อช่วงกลางสัปดาห์ แม้มีข้อมูลภาคแรงงานที่น่าผิดหวังของสหรัฐฯก็ตาม

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้น 92 เซ็นต์ ปิดที่ 95.16 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 12 เซนต์ ปิดที่ 103.80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีตอนเช้าครับ วันนี้สู้กันใหม่นะ ^^

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ ​และตลาด​เงินต่างประ​เทศ (17/05/56)

ตลาดหุ้นยุ​โรปปิดลบ​เป็นส่วน​ใหญ่​เมื่อคืนนี้ (16 พ.ค.) หลังจากสหรัฐ​เปิด​เผยข้อมูล​เศรษฐกิจที่อ่อน​แอ​เกินคาด อย่าง​ไร​ก็ตาม ตลาดหุ้นยุ​โรปปรับตัวลง​ไม่มากนัก ​โดยดัชนี Stoxx 600 สามารถ​ไต่ขึ้น​แตะระดับสูงสุด​ในรอบ​เกือบ 5 ปี​ในระหว่างวัน ​เนื่องจากนักลงทุนคาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐ (​เฟด) จะยังคง​เดินหน้า​ใช้มาตร​การผ่อนคลายทาง​การ​เงินต่อ​ไป

 

 

 

ดัชนี Stoxx 600 ลดลง​เกือบ 0.1% ปิดที่ 307.97 จุด หลังจากที่ทะยานขึ้น​แตะระดับสูงสุด​ในรอบ​เกือบ 5 ปี​ในระหว่างวัน

 

ดัชนี DAX ตลาดหุ้น​เยอรมันปิดวัน​ทำ​การล่าสุดที่ 8,369.87 จุด ​เพิ่มขึ้น 7.45 จุด ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่ง​เศสปิดวัน​ทำ​การล่าสุดที่ 3,979.07 จุด ลดลง 3.16 จุด ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดวัน​ทำ​การล่าสุดที่ 6,687.80 จุด ลดลง 5.75 จุด

 

-- ดัชนีดาว​โจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบ​เมื่อคืนนี้ (16 พ.ค.) หลังจากทาง​การสหรัฐ​เปิด​เผยข้อมูล​เศรษฐกิจที่อ่อน​แอ รวม​ถึงจำนวนคนว่างงานรายสัปดาห์ที่พุ่งขึ้น​เกินคาด ​และ​และตัว​เลขสร้างบ้านที่ร่วงลงอย่างหนัก​ใน​เดือน​เม.ย. นอกจากนี้ ตลาดยัง​ได้รับ​แรงกดดันหลังจากประธานธนาคารกลางสหรัฐ (​เฟด) สาขาซานฟรานซิส​โก ​ได้ออกมา​แสดง​ความ​เห็นว่า ​เฟดอาจจะชะลอ​โครง​การซื้อสินทรัพย์​ในอนาคตอัน​ใกล้นี้

 

ดัชนี​เฉลี่ยอุตสหกรรมดาว​โจนส์ปิดลบ 42.47 จุด ​หรือ 0.28% ​แตะที่ 15,233. 22 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดลบ 8.31 จุด ​หรือ 0.50% ​แตะที่ 1,650.47 จุด ​และดัชนี Nasdaq ปิดลบ 6.37 จุด ​หรือ 0.18% ​แตะที่ 3,465.24 จุด

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลง​เมื่อคืนนี้ (16 พ.ค.) ​ทำสถิติร่วงลงติดต่อกัน 6 วัน​ทำ​การ ​เนื่องจากนักลงทุน​เทขายสัญญาทองคำหลังจากมีรายงานว่า กองทุน SPDR Gold Trust ​ซึ่ง​เป็นกองทุน EFT ด้านทองคำราย​ใหญ่ของ​โลก ​ได้​เทขายทองคำออกมาอย่างต่อ​เนื่อง นอกจากนี้ สัญญาทองคำยัง​ได้รับ​แรงกดดันจากรายงานของสภาทองคำ​โลกที่ระบุว่า ​ความต้อง​การทองคำทั่ว​โลกลดลง​แตะระดับต่ำสุด​ในรอบ 3 ปี​ในช่วง​ไตรมาส​แรกของปีนี้

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบ​เดือนมิ.ย.ร่วงลง 9.3 ดอลลาร์ ​หรือ 0.67% ปิดที่ 1,386.9 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญา​โลหะ​เงินส่งมอบ​เดือนก.ค.ปิดที่ 22.659 ดอลลาร์/ออนซ์ ขยับขึ้น 0.001 ดอลลาร์ ส่วนสัญญา​โลหะทอง​แดงส่งมอบ​เดือนก.ค.​เพิ่มขึ้น 2.95 ​เซนต์ ปิดที่ระดับ 3.2945 ดอลลาร์/ปอนด์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบ​เดือนก.ค.ปิดที่ 1485.60 ดอลลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 5.10 ดอลลาร์ ​และสัญญาพัลลา​เดียมส่งมอบ​เดือนมิ.ย.ปิดที่ 740.75 ดอลลาร์/ออนซ์ ​เพิ่มขึ้น 11.70 ดอลลาร์

 

-- สัญญาน้ำมันดิบ​เวสต์​เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวก​เมื่อคืนนี้ (16 พ.ค.) ​เนื่องจากข้อมูล​เศรษฐกิจที่อ่อน​แอของสหรัฐ​ได้จุดประกาย​ให้นักลงทุนมี​ ความคาดหวังว่า ธนาคารกลางหลาย​แห่งทั่ว​โลกอาจจะ​ใช้มาตร​การกระตุ้น​การฟื้นตัวของ​ เศรษฐกิจ

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบ​เดือนมิ.ย.​เพิ่มขึ้น 86 ​เซนต์ ​หรือ 0.91% ปิดที่ 95.16 ดอลลาร์/บาร์​เรล

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบ​เบรนท์ (BRENT) ส่งมอบ​เดือนมิ.ย.ที่ตลาดลอนดอน ​เพิ่มขึ้น 12 ​เซนต์ ​หรือ 0.11% ปิดที่ 103.8 ดอลลาร์/บาร์​เรล

 

-- สกุล​เงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลง​เมื่อ​เทียบกับสกุล​เงินหลักๆ ​ใน​การซื้อขายที่ตลาดปริวรรต​เงินตรานิวยอร์ก​เมื่อคืนนี้ (16 พ.ค.) หลังจากสหรัฐ​เปิด​เผยข้อมูล​เศรษฐกิจที่อ่อน​แอ ขณะ​เงิน​เยน​แข็งค่าขึ้นขานรับรายงานที่ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภาย​ในประ​เทศ (จีดีพี) ​ไตรมาส​แรกขยายตัวอย่าง​แข็ง​แกร่ง

 

ค่า​เงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลง​เมื่อ​เทียบกับ​เงิน​เยนที่ 102.05 ​เยน จากระดับของวันพุธที่ 102.31 ​เยน ​และอ่อนค่าลง​เมื่อ​เทียบกับฟรังค์สวิสที่ 0.9614 ฟรังค์ จากระดับ 0.9656 ฟรังค์

 

ค่า​เงินยู​โรพุ่งขึ้น​แตะระดับ 1.2908 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันพุธที่ 1.2876 ดอลลาร์สหรัฐ ค่า​เงินปอนด์พุ่งขึ้น​แตะระดับ 1.5307 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5221 ดอลลาร์สหรัฐ ​และค่า​เงินดอลลาร์ออส​เตร​เลียพุ่งขึ้น​แตะระดับ 0.9837 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9872 ดอลลาร์สหรัฐ

 

-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลง​เพียง​เล็กน้อย​เมื่อคืนนี้ (16 พ.ค.) หลังจากที่พุ่ง​แตะระดับสูงสุดนับตั้ง​แต่​เดือนต.ค. 2550 ​เมื่อวันก่อน ผนวกกับ​การปรับตัวขึ้นติดต่อกันอย่างยาวนานที่สุด​ในรอบ 4 ปี

 

ที่มา : สำนักข่าวอิน​โฟ​เควสท์ (17/05/56)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาทองคำลดลงต่อเนื่อง (17/05/56)

 

ราคาทองคำลดลง 6 วันติดกัน โดยแตะระดับต่ำสุดในรอบเดือนเมื่อวานนี้ (16 พ.ค.) หลังมีแรงเทขายเพื่อหันไปลงทุนในตลาดทุน

 

 

เมื่อวานนี้ (16 พ.ค.) สมาคมค้าทองคำ ประกาศเปลี่ยนแปลงราคาทองคำรวม 7 ครั้ง โดยภาพรวมทั้งวันราคาทองปรับลดลงบาทละ 500 บาท ซึ่งราคาทองคำแท่งเมื่อวานนี้ลดลงต่ำกว่าบาทละ 20,000 ขายอยู่ที่บาทละ 19,450 บาท ส่วนทองรูปพรรณขายอยู่ที่บาทละ 19,850 บาท

 

สำหรับราคาทองคำตลาดโคเมกซ์ของสหรัฐฯ ล่าสุด ลดลงอีก 9.30 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,386.90 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ แตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน และ หากนับความเคลื่อนไหวในรอบ 6 วันของการซื้อขายราคาทองคำขยับลงมาถึงร้อยละ 5.9

 

ทั้งนี้ คาดว่าสาเหตุการปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องของราคาทองในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากสหรัฐฯ อาจหยุดมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน หรือการยกเลิกการพิมพ์แบงก์ดอลลาร์ภายในสิ้นปีนี้ (56) ทำให้มีการขายทองคำออกมาเพื่อระดมเงินทุน จึงทำให้ราคาทองปรับลดลงอย่างมากจนนักลงทุนหลายรายต้องอยู่ในภาวะขาดทุน และกำลังเป็นที่วิตกอย่างมาก ซึ่งอาจทำให้นักลงทุนต้องถือทองคำราคาสูงเพื่อรอลุ้นราคาทองให้ปรับตัวสูง ขึ้นอีกครั้ง

 

ส่วนนักวิเคราะห์ราคาทองคำในไทย ส่วนใหญ่เชื่อว่า วัฏจักรขาลงของทองคำได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ราคาทองคำปรับลดต่ำสุดเมื่อช่วงกลาง เดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งจะต้องใช้เวลาอีกนานหลายปี ที่ราคาทองคำจะปรับเพิ่มสูงขึ้นเกินกว่าบาทละ 25,000 บาท ที่ราคาทองคำเคยทำสถิติไว้สูงสุด

 

ที่มา : ไทยพีบีเอส (17/05/56)

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก : ดอลลาร์ร่วงหลังสหรัฐเผยข้อมูลเศรษฐกิจอ่อนแอ (17/05/2556)

สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (16 พ.ค.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ขณะเงินเยนแข็งค่าขึ้นขานรับรายงานที่ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสแรกขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 102.05 เยน จากระดับของวันพุธที่ 102.31 เยน และอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 0.9614 ฟรังค์ จากระดับ 0.9656 ฟรังค์

 

 

 

ค่าเงินยูโรพุ่งขึ้นแตะระดับ 1.2908 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันพุธที่ 1.2876 ดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินปอนด์พุ่งขึ้นแตะระดับ 1.5307 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5221 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียพุ่งขึ้นแตะระดับ 0.9837 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9872 ดอลลาร์สหรัฐ

 

สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงหลังจากมีข้อมูลบ่งชี้ถึงความอ่อนแอของเศรษฐกิจสหรัฐ โดยสหรัฐเปิดเผยว่าจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 11 พ.ค. เพิ่มขึ้น 32,000 ราย สู่ระดับ 360,000 ราย มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 330,000 ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็วที่สุดในรอบ 6 เดือน และสะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐได้รับผลกระทบจากมาตรการลดงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลกลางสหรัฐโดยอัตโนมัติ (sequestration)

 

ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ทั่วไปของสหรัฐ ซึ่งเป็นมาตรวัดภาวะเงินเฟ้อ ลดลง 0.4% ในเดือนเม.ย. มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะขยับลงเพียง 0.2% และดัชนี CPI พื้นฐานซึ่งไม่นับรวมราคาอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้นเพียง 0.1% น้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.2% โดยปัจจัยที่ทำให้ดัชนี CPI ทั่วไปเดือนเม.ย.ลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้นั้น มาจากการที่ต้นทุนราคาน้ำมันเบนซินร่วงลง 8.1% ซึ่งเป็นสถิติที่ร่วงลงหนักสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค. 2551

 

ด้านตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านใหม่ของสหรัฐอยู่ที่ 853,000 ยูนิตในเดือนเม.ย. ลดลง 16.5% จากเดือนมี.ค. ซึ่งลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะอยู่ที่ 945,000 ยูนิต

 

ส่วนสกุลเงินเยนแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ หลังจากรัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยเมื่อวานนี้ว่า จีดีพีที่แท้จริงในไตรมาสแรกปีนี้ ขยายตัว 3.5% ต่อปี ทำสถิติขยายตัวติดต่อกัน 2 ไตรมาส และมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะขยายตัวเพียง 2.8% ต่อปี เพราะได้แรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภคและยอดการส่งออก ซึ่งเพิ่มมุมมองที่เป็นบวกว่า นโยบายเศรษฐกิจที่รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีชินโสะ อาเบะ นำมาใช้นั้น เริ่มส่งผลดีต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก

 

นักลงทุนจับตาดูคอนเฟอเรนซ์ บอร์ด จะเปิดเผยดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐเดือนเม.ย.ในวันนี้เวลา 21.00 น.ตามเวลาไทย โดยนักวิเคราะห์คาดว่าดัชนีชี้นำเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนเม.ย.

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 17 พฤษภาคม 2556)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทองปิดลบ $9.3 กองทุนETF-โซรอสถล่มขาย (17/05/56)

ทองปิดลบ 9.3 ดอลลาร์ อยู่ที่ 1,386.9 ดอลลาร์/ออนซ์ กองทุนETF-โซรอส ถล่มขายทอง

 

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย.ร่วงลง 9.3 ดอลลาร์ หรือ 0.67% ปิดที่ 1,386.9 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค.ปิดที่ 22.659 ดอลลาร์/ออนซ์ ขยับขึ้น 0.001 ดอลลาร์ ส่วนสัญญาโลหะทองแดงส่งมอบเดือนก.ค.เพิ่มขึ้น 2.95 เซนต์ ปิดที่ระดับ 3.2945 ดอลลาร์/ปอนด์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค.ปิดที่ 1485.60 ดอลลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 5.10 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย.ปิดที่ 740.75 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 11.70 ดอลลาร์

 

สภาทองคำโลก (WGC) เปิดเผยเมื่อวานนี้ ความต้องการทองคำทั่วโลกในช่วงไตรมาสแรกปี 2556 ลดลง 13% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี ที่ 963 ตัน

 

WGC ระบุว่าอุปสงค์ลดลงในไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากนักลงทุนลดสัดส่วนการลงทุนในกองทุน ETF ลงอย่างมาก แม้ว่าความต้องการในส่วนของอัญมณี เหรียญทองและทองแท่งจะพุ่งขึ้นก็ตาม

 

นับตั้งแต่ต้นปี 2556 จนถึงวันพุธที่ผ่านมา สัญญาทองคำร่วงลงไปแล้ว 17% ซึ่งทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นในการลงทุนทองคำ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากรายงานที่ว่า กองทุน SPDR ได้ลดการถือครองทองคำลง 0.4% เมื่อวันพุธ สู่ระดับ 1,047.13 ตัน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2550 และได้ปรับลดการถือครองทองคำไปแล้ว 303.7 ตันในปีนี้

 

ขณะที่กองทุนโซรอส ฟันด์ เมนเนจเมนท์ ของนายจอร์จ โซรอส ได้ปรับลดการถือครองทองคำในกองทุน SPDR ลง 55% ในไตรมาส 4 ปีที่แล้ว

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (17/05/56)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เงินบาทไร้ทิศทางหลังขาดปัจจัยใหม่กระตุ้น (17/05/2556)

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพรายงานว่า ภาวะการเคลื่อนไหวของค่าเงินประจำวันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม 2556 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 29.68/70 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดเมื่อวันพุธ (15/5) ที่ 29.71/73 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทนั้นแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากการที่นักลงทุนต่างชาติยังเข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้และตลาดหลักทรัพย์ของไทยอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับตัวเลขภาคการผลิตของสหรัฐฯที่ได้รับการเปิดเผยเมื่อคืนวันพุธที่ผ่านมานั้นเป็นที่น่าผิดหวัง ทำให้นักลงทุนลดการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) จะลดวงเงินในการทำการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ลงภายในสิ้นปีนี้ลง ส่งผลให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯนั้นปรับตัวอ่อนค่าลงอีกครั้ง โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯนั้นปรับตัวลดลงถึง 0.5% ในเดือนเมษายน ลดลงมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ดี ในวันนี้เงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ เนื่องจากนักลงทุนยังคงรอปัจจัยใหม่ที่จะมาเคลื่อนตลาดและรอดูผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 29 พฤษภาคมที่จะถึงนี้ โดยในวันนี้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบ ๆ ที่ 29.65-29.72 บาท/ดอลลาร์ ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 29.67/69 บาท/ดอลลาร์

 

สำหรับค่าเงินยูโรวันนี้เปิดตลาดที่ระดับ 1.2876/77 ดอลลาร์/ยูโร ระดับเดียวกับระดับปิดตลาดเมื่อวันพุธที่ 1.2879/80 ดอลลาร์/ยูโร สกุลเงินยูโรนั้นอ่อนตัวลงตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันพุธโดยปรับตัวอ่อนค่าสุดที่ระดับ 1.2843 ดอลลาร์/ยูโร ภายหลังจากที่ตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจของยูโรโซนที่ได้รับการเปิดเผยเมื่อวานนั้นออกมาเป็นที่น่าผิดหวัง โดยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของเยอรมนีนั้นปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียง 0.1% ในไตรมาสแรกของปีนี้ น้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ และตัวเลข GDP ของฝรั่งเศสนั้นแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจของประเทศฝรั่งเศสซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของยุโรปนั้นได้เข้าสู่ภาวะถดถอยอีกครั้ง โดย GDP ของฝรั่งเศสนั้นปรับตัวลดลงสองไตรมาสติดต่อกันโดยลดลง 0.2% ในไตรมาสแรกของปีนี้ อย่างไรก็ดี สกุลเงินยูโรปรับตัวแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากระดับต่ำสุดภายหลังจากข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐออกมาไม่ดีเท่าที่คาดการณ์ไว้และช่วยกดดันเงินดอลลาร์สหรัฐฯ โดยในวันนี้สกุลเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบ ๆ ยูโรระหว่างระดับ 1.2845-1.2889 ดอลลาร์/ยูโร ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 1.2867/68 ดอลลาร์/ยูโร

 

สำหรับค่าเงินเยนวันนี้เปิดตลาดที่ระดับ 102.08/10 เยน/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดวันพุธที่ 102.68/71 เยน/ดอลลาร์ สกุลเงินเยนนั้นปรับตัวแข็งค่าขึ้นในช่วงคืนวันพุธและแข็งค่าสุดที่ระดับ 101.86 เยน/ดอลลาร์ ภายหลังการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจซึ่งเป็นที่น่าผิดหวังของสหรัฐ โดยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐฯนั้นส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯปรับตัวลดลง และส่งผลให้นักลงทุนถอนเงินออกจากพันธบัตรสหรัฐฯและกลับเข้าครอบครองเงินเยนมากขึ้น อย่างไรก็ดีเงินเยนได้อ่อนค่าลงในช่วงการซื้อขายวันนี้จากการเข้าซื้อทำกำไรเงินดอลลาร์สหรัฐฯของนักลงทุน นอกจากนี้ยังมีการเปิดเผยตัวเลข GDP ไตรมาสแรกของญี่ปุ่นซึ่งออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดย GDP ของญี่ปุ่นนั้นเพิ่มขึ้น 0.9% ในไตรมาสแรกของปีนี้มากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 0.7% ซึ่งการเพิ่มขึ้นของ GDP ญี่ปุ่นในครั้งนี้นั้นเป็นผลจากการดำเนินมาตรการเชิงรุกเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของญี่ปุ่นโดยรัฐบาลและธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ทั้งนี้ค่าเงินเยนมีกรอบการเคลื่อนไหวระหว่างวันอยู่ที่ระดับ 101.95-102.60 เยน/ดอลลาร์ ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 102.56/58 เยน/ดอลลาร์

 

อนึ่ง ข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าสนใจในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI), ยอดการสร้างบ้านใหม่และตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการผู้ว่างงานประจำสัปดาห์ของสหรัฐฯ (16/5)

 

อัตราป้องกันความเสี่ยง (swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ +5.2/5.4 สตางค์/ดอลลาร์ และอัตราป้องกันความเสี่ยง (swap point) ภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ +6.5/7.5 สตางค์/ดอลลาร์

 

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ (วันที่ 17 พฤษภาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ศึก"บาทแข็ง"พักรบรอประทุรอบใหม่ (17/05/56)

การแก้ไขปัญหาค่าเงินบาทแข็งดูคลี่คลาย เมื่อค่าเงินบาทเริ่มอ่อนค่าลง ทั้งที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และรัฐบาลยังไม่ได้ออกมาตรการอะไรออกมาควบคุมก็ตาม

 

ค่าเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี แข็งค่าไปถึง 28.55 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ในช่วงเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา และลงมาอยู่ที่ 2930 บาทต่อเหรียญสหรัฐในปัจจุบัน ซึ่งเป็นระดับที่มีการแข็งค่าสอดคล้องกับประเทศคู่แข่งในภูมิภาค

 

การที่ค่าเงินบาทอ่อนลงยังทำให้ศึกค่าเงินบาทระหว่างกระทรวงการคลัง และ ธปท.ดูจะสงบลงด้วยเช่นกัน ไม่เหมือนตอนที่ค่าเงินบาทแข็งค่าผ่าน 29 บาทต่อเหรียญสหรัฐ รัฐบาลโดยกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ไล่บี้ ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. ทุกวันให้มีการลดดอกเบี้ยนโยบายเพื่อแก้บาทแข็งค่า

 

ขณะที่ ธปท.ก็ไม่ยอมอ่อนโอนตามฝ่ายการเมือง ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ 2.75% เพราะเป็นห่วงเสถียรภาพเศรษฐกิจที่เกิดจากหนี้สินภาคครัวเรือน และฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ที่เริ่มมีสัญญาณก่อตัวขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งปฏิเสธไม่ได้มาจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล

 

การตัดสินใจและเหตุผลของ ธปท.ในการคงดอกเบี้ย สร้างความไม่พอใจให้กับฝ่ายการเมืองอย่างมาก ถึงขนาดกิตติรัตน์หลุดปากว่าอยากจะปลดผู้ว่าการ ธปท.ทุกวัน ที่ไม่ยอมลดดอกเบี้ยนโยบายให้

 

แม้แต่ฝ่ายการเมืองอย่าง วราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ก็ยังพยายามออกมากดดันให้ผู้ว่าการ ธปท.รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการไม่ลดดอกเบี้ย และทำให้ค่าเงินบาทแข็งไม่หยุด

 

หลังจากนั้นก็เกิดสหสามัคคี คนในฝั่งรัฐบาลดาหน้าออกมากดดัน ธปท.ให้ลดดอกเบี้ย

 

ความพยายามของฝ่ายการเมือง ถึงขนาดมีการคิดแก้กฎหมาย ธปท. เพื่อให้ปลดผู้ว่า ธปท. ได้ง่ายเหมือนเด็ดกล้วยที่ผ่านมา เนื่องจากกฎหมายใหม่ของ ธปท. การจะปลดผู้ว่าออกจากตำแหน่งจะต้องมีความผิดชัดเจน ไม่สามารถอ้างพอเป็นพิธีว่าเพื่อความเหมาะสมไม่ได้

 

แม้แต่กลุ่มคนเสื้อแดงยังร่วมวงกับรัฐบาล ทั้งรวมตัวกันไปขับไล่นายประสารออกจากตำแหน่งถึงหน้า ธปท. เพราะไม่ยอมลดดอกเบี้ยนโยบายทำให้บาทแข็ง ส่งผลให้รัฐบาลขายข้าวที่จำนำมาไม่ได้ แม้แต่ วีรพงษ์ รามางกูร ประธาน ธปท.ยังออกมาขย่มองค์กรของตัวเองว่า การที่ ธปท.ไม่ลดดอกเบี้ยจะทำให้ผลขาดทุนของ ธปท.สูงถึง 1 ล้านล้านบาท ซึ่งจะกลายเป็นวิกฤตเหมือนปี 2540

 

ความขัดแย้งที่รุนแรงระหว่างรัฐบาล และ ธปท.ดูเหมือนไม่มีทางออก เพราะต่างฝ่ายต่างมีจุดยืนที่ไม่ตรงกัน รัฐบาลต้องการให้ลดดอกเบี้ย แต่ ธปท.ต้องการให้ออกมาตรการอื่นที่ไม่ใช่ลดดอกเบี้ย

 

โดย ธปท. ได้เสนอให้ 4 มาตรการในการดูค่าเงินบาท ให้รัฐบาลพิจารณา ประกอบด้วย

 

1. ไม่ให้นักลงทุนต่างประเทศซื้อพันธบัตร ธปท.

 

2. นักลงทุนต่างประเทศซื้อพันธบัตรได้เฉพาะพันธบัตรของกระทรวงการคลัง และพันธบัตรของรัฐวิสาหกิจ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือน หรือ 6 เดือน

 

3. เก็บค่าธรรมเนียมและภาษีจากนักลงทุนต่างประเทศที่ได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดตราสารหนี้ ซึ่งมาตรการนี้ ธปท.จะต้องเสนอกระทรวงการคลังให้แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

 

4. ให้นักลงทุนที่นำเงินมาลงทุนต้องทำป้องกันความเสี่ยง รวมถึงให้มีการสำรองระดับหนึ่ง

 

ปรากฏว่า นายกิตติรัตน์ ไม่พอใจมาตรการที่ ธปท. เสนอมา เพราะไม่มีมาตรการลดดอกเบี้ย ที่รัฐบาลยืนยันให้ ธปท. ดำเนินการมาตลอด อีกทั้งยังไม่เห็นด้วยกับมาตรการกันสำรอง เพราะจะทำให้นักลงทุนตื้นตระหนกเหมือนในอดีตที่ ธปท. เคยออกมาตรการสำรอง 30% เมื่อตอนปี 2549

 

อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐบาลกับ ธปท.จะมีความขัดแย้งยังรุนแรงในการหามาตรการแก้ไขบาทแข็ง แต่ค่าเงินบาทก็เริ่มมีการอ่อนค่าลง เพราะนักลงทุนเริ่มเห็นว่า ธปท.มีมาตรการที่ชัดเจนจะนำมาใช้ดูแลหากมีความจำเป็น แม้ว่ายังไม่ได้นำมาใช้เพราะยังมีความเห็นต่างกับรัฐบาลก็ตาม

 

ในส่วนของรัฐบาลก็ยังมีการรุกไล่ ธปท.อีกคำรบ เมื่อกิตติรัตน์ได้เรียกคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของ ธปท.มาประชุมร่วมกันกับฝ่ายรัฐบาลและเอกชน ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่ไม่เคยมีการปฏิบัติมาก่อน

 

ก่อนการประชุมมีการคาดการณ์กันว่า รัฐบาลต้องการให้ภาคเอกชนมากดดันให้ กนง.ลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้แก้ไขค่าเงินบาทแข็ง

 

ขณะที่ ธปท.ก็ตั้งการ์ดสู้ มีการออกหมายชี้แจงการดำเนินการดูแลค่าบาทแข็งของ ธปท.ผ่านทางเว็บไซต์ของ ธปท. ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ดำเนินการเช่นนี้

 

สาระสำคัญของการชี้แจงบทบาทหน้าที่และความเป็นอิสระของ ธปท. ได้รับการยอมรับการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท.มีความน่าเชื่อถือและโปร่งใส ขณะที่การดูแลความผันผวนของอัตรา ธปท. ได้ยืนยันว่ามีการดูแลให้สอดคล้องกับประเทศคู่แข่งและผู้ประกอบการปรับตัวได้

 

นอกจากนี้ ธปท.ยังชี้แจงการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ย พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนหากมีความจำเป็น และเห็นว่าการลดดอกเบี้ยอาจจะกระตุ้นหนี้ภาคครัวเรือน และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้ร้อนแรง ซึ่งต้องการใช้มาตรการควบคุมสินเชื่อของสถาบันการเงินช่วย ซึ่งการดำเนินการต้องใช้ทั้งกับธนาคารพาณิชย์และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ เพราะมีสัดส่วนการปล่อยกู้สูงถึง 1 ใน 3 ของ ธปท.ยังชี้แจงในจดหมายว่า การขาดทุนของ ธปท.ไม่ส่งผลให้เกิดวิกฤตเหมือนปี 2540 เพราะสถานการณ์ไม่เหมือนกัน และการขาดทุนของธนาคารกลางเป็นเรื่องปกติ และ ธปท.หาทางแก้ไขอยู่

 

การออกจดหมายชี้แจงละเอียดยิบของ ธปท. ถึง 9 หน้ากระดาษ ถูกมองว่าเป็นการตีกันแรงกดดันก่อนการประชุมร่วมนัดพิเศษกับภาคเอกชนที่มีรัฐบาลเป็นตัวกลาง

 

อย่างไรก็ตาม ผลการประชุมเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา กลับผิดความคาดหมาย ไม่มีการพูดถึง 4 มาตรการ ที่ ธปท.เสนอในการดูค่าเงินบาท ขณะที่รัฐบาลรวมทั้งเอกชนก็ไม่มีการกดดันให้ ธปท.ลดดอกเบี้ย ต่างออกมาเป็นเสียงเดียวกันว่าทุกฝ่ายเห็นฟ้องต้องกัน

 

ที่สำคัญฟากเอกชนได้มีการยื่นข้อเสนอแก้บาทแข็ง 7 ข้อ ก็ไม่มีการเสนอให้ลดดอกเบี้ย โดยมาตรการที่ส่วนใหญ่ให้มีการขอให้ ธปท.ดูแลค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวน และไม่ให้แข็งค่ากว่าคู่แข็ง ก็เป็นเรื่องที่ ธปท.ดำเนินการอยู่แล้ว

 

มีการประเมินกันว่า การที่สงครามค่าเงินบาทระหว่างรัฐบาลกับ ธปท.สงบลงแบบกะทันหันมาจากหลายสาเหตุ ตั้งแต่สถานการณ์ไม่เอื้ออำนวย เพราะค่าเงินบาทอ่อนลงแล้ว การดื้อรันให้ ธปท.ลดดอกเบี้ยอยู่เหมือนเดิม จะถูกมองว่ารัฐบาลมีนัยแอบแฝง ทั้งต้องการลดต้นทุนเงินกู้ของรัฐบาลเอง หรือว่ามีกลุ่มธุรกิจบางกลุ่ม โดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ได้รับประโยชน์จากการลดดอกเบี้ย

 

นอกจากนี้ รัฐบาลยังต้องการสยบกระแสรัฐบาลหาเรื่องปลดผู้ว่าการ ธปท. เพื่อส่งคนของตัวเองเข้าไปนั่งแทน รวมถึงกระแสภาพลบว่ารัฐบาลสร้างข่าวการลดดอกเบี้ยและค่าเงินบาท เพื่อให้คนลืมประเด็นจำนำข้าวที่มีปัญหารุมเร้าทั้งระบายข้าวไม่ออก ขาดทุนจำนวนมาก และเงินขาดมือไม่พอรับจำนำข้าวรอบใหม่

 

ทว่า ศึกค่าเงินบาทของรัฐบาล และ ธปท.เป็นการสงบศึกเพียงชั่วคราวเท่านั้น รัฐบาลยุติศึก เพื่อออมกำลังไว้เปิดศึกกับ ธปท.รอบใหม่ เมื่อสถานการณ์เอื้อมากกว่านี้

 

เพราะเป็นที่รู้กันว่า ค่าเงินบาทของไทยจะต้องแข็งค่าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเศรษฐกิจไทยขยายตัวดีอันดับต้นๆ ในภูมิภาค ขณะที่เศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นและมีการอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวนมหาศาล ทำให้มีเงินจำนวนมากไหลเข้ามาลงทุนในประเทศไทย

 

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง และ ผู้ว่าการ ธปท. ระบุว่า ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่ามาตลอดช่วงที่ดำรงตำแหน่งผู้ว่า ธปท. ปี 2544-2549 ค่าเงินบาทจาก 45.50 บาทต่อเหรียญสหรัฐ เป็น 37.56 บาทต่อเหรียญสหรัฐ แข็งค่าขึ้น 20.87% เฉลี่ยปีละ 4%

 

ต่อมาสมัย นางธาริษา วัฒนเกส เป็นผู้ว่า ธปท. ปี 2549-2553 ค่าเงินบาทจาก 37.56 บาทต่อเหรียญสหรัฐ แข็งค่าเป็น 30.36 บาทต่อเหรียญสหรัฐ แข็งค่าขึ้น 23.72% เฉลี่ยปีละ 5% กว่า

 

มาถึงยุคนายประสารเข้ามาเป็นผู้ว่าค่าเงินอยู่ที่ 30.36 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ถึงปัจจุบันค่าเงินแข็งขึ้น 4% ซึ่งค่าเงินบาทไทยก็ยังมีแนวโน้มที่แข็งจากเงินทุนไหลเข้าต่อเนื่องหากไม่มีมาตรการออกมาคุมซึ่งการแข็งค่าเงินบาทรอบใหม่ก็จะทำให้ศึกระหว่างรัฐบาลกับ ธปท.ปะทุขึ้นอีกครั้ง และมีแนวโน้มรุนแรงกว่าเดิม เพราะรัฐบาลมีเป้าอยู่ในใจว่าดอกเบี้ยต้องลด และต้องเปลี่ยนผู้ว่าการ ธปท.คนใหม่ให้ได้

 

 

ที่มา โพสต์ทูเดย์ (17/05/56)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

17 พฤษภาคม 2556

 

ตลาดหุ้นเอเชียติดลบเช้านี้ หลังข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐซบเซา

 

 

ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงเช้านี้ หลังจากทางการสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ซึ่งรวมถึงจำนวนคนว่างงานรายสัปดาห์ที่พุ่งขึ้นเกินคาด และตัวเลขสร้างบ้านที่ร่วงลงอย่างหนักในเดือนเม.ย.

ดัชนี MSCI Asia Pacific ขยับลง 0.1% แตะ 142.89 จุด เมื่อเวลา 9.52 น.ตามเวลาโตเกียว

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 14,926.42 จุด ลดลง 110.82 จุด ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 2,249.81 จุด ลดลง 2.00 จุด ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 8,377.26 จุด ลดลง 12.79 จุด ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,454.56 จุด เพิ่มขึ้น 2.28 จุด ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เปิดวันนี้ที่ 7,308.85 จุด ลดลง 2.09 จุด ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,768.55 จุด เพิ่มขึ้น 1.83 จุด และดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียเปิดวันนี้ที่ 5,175.60 จุด เพิ่มขึ้น 9.90 จุด

ตลาดหุ้นฮ่องกงและตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดทำการวันนี้

หุ้นพานาโซนิค คอร์ป ลดลง 1.6% หุ้นนิวเครสต์ ไมนิ่ง หดตัว 2.3% และหุ้นวอร์ลีย์พาร์สันส์ ดิ่งลง 14%

ตลาดหุ้นเอเชียได้รับแรงกดดันหลังจากที่สหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 11 พ.ค. เพิ่มขึ้น 32,000 ราย สู่ระดับ 360,000 ราย มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 330,000 ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็วที่สุดในรอบ 6 เดือน และสะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐได้รับผลกระทบจากมาตรการลดงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลกลางสหรัฐโดยอัตโนมัติ (sequestration)

ด้านตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านใหม่ของสหรัฐอยู่ที่ 853,000 ยูนิตในเดือนเม.ย. ลดลง 16.5% จากเดือนมี.ค. ซึ่งลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะอยู่ที่ 945,000 ยูนิต

 

ที่มา ทันหุ้น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เงินบาทเปิด 29.74/75 คาดแกว่งตัวกรอบแคบ ยังรอปัจจัยใหม่

 

 

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 29.74/75 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวในระดับเดียวกับช่วงปิดตลาดเย็นวานนี้

"เงินบาททรงตัว น่าจะแกว่งตัวในกรอบ แต่มีแนวโน้มอ่อนค่าเนื่องจากดอลลาร์กลับมาแข็งค่า" นักบริหารเงิน กล่าว

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อค่าบาทยังไม่ชัดเจน ตลอดรอดูผลประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ในวันที่ 29 พ.ค.นี้ว่าจะพิจารณาเรื่องการกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นอย่างไร

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 29.65-29.85 บาท/ดอลลาร์

 

* ปัจจัยสำคัญ

 

- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 102.35/37 เยน/ดอลลาร์ จากระดับ 102.63/66 เยน/ดอลลาร์

- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.2867/2869 ดอลลาร์/ยูโร จากระดับ 1.2866/2867 ดอลลาร์/ยูโร

- อัตราแลกเปลี่ยนบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ 29.6850 บาท/ดอลลาร์

- สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้(16 พ.ค.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอจากจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 11 พ.ค. เพิ่มขึ้น 32,000 ราย สู่ระดับ 360,000 ราย มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ขณะเงินเยนแข็งค่าขึ้นขานรับรายงานผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) ไตรมาสแรกขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 102.05 เยน จากระดับของวันพุธที่ 102.31 เยน และอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 0.9614 ฟรังค์ จากระดับ 0.9656 ฟรังค์ ส่วนค่าเงินยูโรพุ่งขึ้นแตะระดับ 1.2908 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันพุธที่ 1.2876 ดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินปอนด์พุ่งขึ้นแตะระดับ 1.5307 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5221 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียพุ่งขึ้นแตะระดับ 0.9837 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9872 ดอลลาร์สหรัฐ

 

- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้(16 พ.ค.) ทำสถิติร่วงลงติดต่อกัน 6 วันทำการ เนื่องจากนักลงทุนเทขายสัญญาทองคำหลังจากมีรายงานว่า กองทุน SPDR Gold Trust ซึ่งเป็นกองทุน EFT ด้านทองคำรายใหญ่ของโลก ได้เทขายทองคำออกมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้สัญญาทองคำยังได้รับแรงกดดันจากรายงานของสภาทองคำโลกที่ระบุว่า ความต้องการทองคำทั่วโลกลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปีในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ โดยสัญญาทองคำตลาด COMEX(Commodity Exchange) ส่งมอบเดือน มิ.ย.ร่วงลง 9.3 ดอลลาร์ หรือ 0.67% ปิดที่ 1,386.9 ดอลลาร์/ออนซ์

 

- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส(WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้(16 พ.ค.) เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐได้จุดประกายให้นักลงทุนมีความคาดหวังว่า ธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลกอาจจะใช้มาตรการกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน มิ.ย.เพิ่มขึ้น 86 เซนต์ หรือ 0.91% ปิดที่ 95.16 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์(BRENT) ส่งมอบเดือน มิ.ย.ที่ตลาดลอนดอน เพิ่มขึ้น 12 เซนต์ หรือ 0.11% ปิดที่ 103.8 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

- ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) สาขาฟิลาเดลเฟีย เผยดัชนีกิจกรรมการผลิตเขตมิด-แอตแลนติกในเดือน พ.ค.หดตัวลงสู่ระดับ -5.2 จาก 1.3 ในเดือน เม.ย. ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมทางธุรกิจโดยทั่วไปในภาคการผลิตอ่อนแรงลง ขณะที่ดัชนีย่อยอื่นๆ ก็ปรับตัวลงในเดือนนี้ โดยดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ร่วงลงแตะ -7.9 จาก -1.0 ในเดือน เม.ย. และดัชนีการส่งออกอ่อนดิ่งลงแตะ -8.5 จาก 9.1 ในเดือนที่แล้ว

- รัฐบาลญี่ปุ่น เผยยอดสั่งซื้อเครื่องจักรพื้นฐานภาคเอกชนเดือน มี.ค.ปรับตัวสูงขึ้น 14.2% จากเดือน ก.พ. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2

- นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรมว.คลัง เปิดเผยในงานเสวนา "บาทแข็ง นโยบายการเงิน การคลังที่ควรจะเป็น" ว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 29 พ.ค. 2556 หวังว่า กนง.จะยึดหลักดูภาพรวมเศรษฐกิจโดยรวมในการตัดสินใจปรับดอกเบี้ย โดยรอดูตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาสแรกปีนี้ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะประกาศในวันที่ 20 พ.ค.นี้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...