ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

ในกราฟรหัส 5,35,9 แบบส่งสัญญานนำทาง มาแต่แรก 18,200 บาท ป่านนี้ และ ตอนนี้ ก็ยังให้ อยู่ในสถานะฝั่งซื้อกันต่อไป เพราะเส้น 2 เส้น ยังไม่ตัดกัน 555

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เจ้ฯ เกี้ยมอี๋ ดู ฮอร์โมน ตอน กินสไปร์ท ต้องใส่ถุง หรือยังครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

น้ำมันขึ้นอีกจากข้อมูลศก.อเมริกา คำพูดปธ.เฟดดันหุ้นมะกัน-ทองคำบวก

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 กรกฎาคม 2556 05:21 น.

 

เอเอฟพี - ราคาน้ำมันนิวยอร์กวานนี้(18) แตะระดับสูงสุดในรอบ 16 เดือนจากข้อมูลทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่บ่งชี้ถึงอุปสงค์อันแข็งแกร่ง โดยปัจจัยดังกล่าวประกอบกับคำยืนยันล่าสุดไม่เร่งรีบชะลอโครงการเข้าซื้อพันธบัตรของเฟด ก็ช่วยดันวอลล์สตรีท ทุบสถิติตลอดกาลรอบใหม่และทองคำขยับขึ้นเล็กน้อย

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนสิงหาคม เพิ่มขึ้น 1.56 ดอลลาร์ ปิดที่ 108.04 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2012 ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 9 เซนต์ ปิดที่ 108.70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันตลาดนิวยอร์ก ได้แรงหนุนจากยอดผู้เข้ารับสิทธิประโยชน์คนว่างงานสหรัฐฯที่ลดลงเกินคาดหมายอย่างมากและข้อมูลกิจกรรมการผลิตระดับภูมิภาคที่แข็งแกร่งขึ้นแบบก้าวกระโดด

 

ปัจจัยดังกล่าวประกอบกับรายงานผลประกอบการอันสดใสของบริษัทต่างๆ รวมไปถึงคำมั่นสัญญาต่อการเดินหน้านโยบายผ่อนคลายทางการเงินเชิงปริมาณของธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ก็ส่งผลให้ตลาดหุ้นอเมริกาวานนี้(18) ปิดบวกพอสมควร โดยดาวโจนส์และเอสแอนด์พี ทุบสถิติสูงสุดตลอดกาลอีกรอบ

 

ดัชนีดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 78.02 จุด (0.50 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 15,548.54 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 8.46 จุด (0.50 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,689.37 จุด แนสแดก เพิ่มขึ้น 1.28 จุด (0.04 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 3,611.28 จุด

 

การทุบสถิติสูงสุดรอบใหม่มีขึ้นตามหลัง เบน เบอร์นันกี ประธานเฟด แจงกับสภาคองเกรสว่ายังเล็งลดการซื้อพันธบัตรตามแผนในลายปีนี้ แต่เปิดช่องสำหรับการพลิกแพลงกลยุทธ์ หากแนวโน้มเศรษฐกิจไม่เป็นไปตามคาด รวมทั้งยังไม่มีแผนขึ้นดอกเบี้ยอย่างน้อยจนถึงปี 2015

 

คำพูดดังกล่าวนี้เองช่วยคลายความกังวลแก่นักลงทุน และเป็นผลให้ราคาทองคำวานนี้(18) ขยับขึ้นเล็กน้อย โดยทองคำตลาดโคเมกซ์ เพิ่มขึ้น 6.70 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,284.20 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เบอร์นันกีเปิดช่องพลิกแพลงQE ไม่มีแผนขึ้นดอกเบี้ยจนถึงปี2015

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 กรกฎาคม 2556 01:40 น.

 

 

 

 

ประธาน “เบอร์นันกี” คลายกังวลตลาด แจง “เฟด” ยังเล็งลดการซื้อพันธบัตรตั้งแต่ปลายปีนี้ แต่เปิดช่องสำหรับการพลิกแพลงกลยุทธ์ หากแนวโน้มเศรษฐกิจไม่เป็นไปตามคาด รวมทั้งยังไม่มีแผนขึ้นดอกเบี้ยอย่างน้อยจนถึงปี 2015 ย้ำแม้มีการฟื้นตัวในระดับพอประมาณ แต่เศรษฐกิจอเมริกันยังอาจได้รับผลกระทบเกินความคาดหมายจากมาตรการขึ้นภาษีและลดงบประมาณรายจ่ายของวอชิงตัน รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่ในประเทศอื่นๆ

 

“โครงการซื้อพันธบัตรของเราอิงกับพัฒนาการทางเศรษฐกิจและการเงิน แต่ไม่ใช่เงื่อนไขที่กำหนดล่วงหน้า” เบน เบอร์นันกี ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) แถลงต่อคณะกรรมาธิการบริการทางการเงินสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันพุธ (17 ก.ค.)

 

ภายใต้แผนการที่เบอร์นันกีเปิดเผยเมื่อวันที่ 19 เดือนที่แล้ว ทำให้เป็นที่รับทราบกันว่าเฟดมีแนวโน้มลดมูลค่าการซื้อพันธบัตรในแต่ละเดือนลงตั้งแต่ปลายปีนี้ และยกเลิกทั้งหมดกลางปีหน้า หากเศรษฐกิจฟื้นตัวตามที่คาดไว้

 

ในการแถลงเมื่อวันพุธ นายใหญ่เฟดไม่ได้ล่าถอยจากจุดยืนดังกล่าว แต่ขยายความว่า มูลค่าการซื้อพันธบัตรที่อยู่ในระดับเดือนละ 85,000 ล้านดอลลาร์นี้ อาจลดลง “เร็วกว่านั้น” หากเศรษฐกิจปรับตัวเร็วกว่าที่คิด ในทางกลับกัน แผนการซื้อพันธบัตรอาจคงอยู่นานกว่าที่ประกาศไว้ หากแนวโน้มตลาดแรงงานซึมเซาลง หรืออัตราเงินเฟ้อทำท่าว่าจะสูงกว่าเป้าหมาย 2% ที่เฟดเล็งไว้

 

ความคิดเห็นดังกล่าวหนุนให้ราคาหุ้นในตลาดนิวยอร์กในวันเดียวกันขยับขึ้นเล็กน้อย ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับลง และดอลลาร์แข็งขึ้นเมื่อเทียบกับยูโรและเยน เนื่องจากมีการตีความว่า เบอร์นันกีเปิดช่องทางสำหรับการพลิกแพลงนโยบายเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวม

 

การแถลงนโยบายการเงินรอบกลางปีของเฟดต่อรัฐสภาครั้งนี้อาจเป็นครั้งสุดท้ายของเบอร์นันกี หากเขาลงจากตำแหน่งหลังหมดวาระนี้ในเดือนมกราคมปีหน้าตามที่หลายคนคาดไว้ ทั้งนี้หลังจากแถลงต่อสภาล่างในวันพุธแล้ว เขายังจะไปแถลงต่อคณะกรรมาธิการการธนาคาร, การเคหะ, และกิจการเขตเมืองใหญ่ ของวุฒิสภาในวันพฤหัสบดี (18) โดยสิ่งที่เขาเตรียมไปพูด น่าจะไม่แตกต่างจากที่กล่าวในวันพุธhttp://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000088583

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐสดใส หนุนเงินดอลล์แข็งค่า

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม 2556 07:25:32 น.

สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (18 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนมองว่าข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐอาจจะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ชะลอการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในปีนี้

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 100.5 เยน จากระดับของวันพุธที่ 99.58 เยน และแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9454 ฟรังค์ จากระดับ 0.9411 ฟรังค์

 

 

 

ค่าเงินยูโรร่วงลงแตะระดับ 1.3105 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันพุธที่ 1.3113 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.5217 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5209 ดอลลาร์สหรัฐ และดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงแตะระดับ 0.9169 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9225 ดอลลาร์สหรัฐ

 

สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเนื่องจากนักลงทุนมองว่าข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐอาจจะทำให้เฟดชะลอการใช้มาตรการ QE ในปีนี้ โดยเมื่อช่วงค่ำวานนี้ตามเวลาไทย กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกประจำสัปดาห์ซึ่งสิ้นสุด ณ วันที่ 13 ก.ค. ร่วงลง 24,000 ราย สู่ระดับ 334,000 ราย ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ 345,000 ราย

 

ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาฟิลาเดลเฟียระบุว่า ดัชนีกิจกรรมด้านการผลิตในเขตมิด-แอตแลนติก พุ่งขึ้นแตะระดับ 19.8 ในเดือนก.ค.ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2554 จากเดือนมิ.ย.ที่ระดับ 12.5

 

เบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แถลงต่อคณะกรรมาธิการด้านการธนาคารแห่งวุฒิสภาสหรัฐในช่วงค่ำวานนี้ตามเวลาไทยว่า ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะตัดสินว่าเฟดควรจะเริ่มลดขนาดโครงการซื้อสินทรัพย์ หรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในการประชุมเดือนก.ย. หรือไม่

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เบอร์นันเก้ชี้ยังเร็วเกินไปที่จะตัดสินใจเรื่องลดขนาด QE ในเดือนก.ย.

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม 2556 06:05:38 น.

เบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แถลงต่อคณะกรรมาธิการด้านการธนาคารแห่งวุฒิสภาสหรัฐในช่วงค่ำวานนี้ตามเวลาไทยว่า ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะตัดสินว่าเฟดควรจะเริ่มลดขนาดโครงการซื้อสินทรัพย์ หรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในการประชุมเดือนก.ย. หรือไม่

 

เบอร์นันเก้กล่าวว่า การตัดสินใจว่าจะลดขนาดโครงการซื้อสินทรัพย์นั้น จะขึ้นอยู่กับข้อมูลด้านตลาดแรงงานที่เฟดได้รับ หรือมีข้อมูลบ่งชี้ว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างยั่งยืน

 

 

 

นอกจากนี้ เบอร์นันเก้กล่าวว่า การคุมเข้มด้านการเงินซึ่งเป็นเหตุให้อัตราดอกเบี้ยระยะยาวปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมานั้น เป็นสิ่งที่ไม่สมควรให้เกิดขึ้น

 

ทั้งนี้ เบอร์นันเก้กล่าวว่า "มี 3 ปัจจัยที่จะทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะยาวปรับตัวสูงขึ้น ปัจจัยแรกคือข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งขึ้น เมื่อนักลงทุนมองว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่ดีขึ้น อัตราดอกเบี้ยก็มีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นด้วย ปัจจัยที่ 2 คือ การที่นักลงทุนเข้าซื้อสินทรัพย์เสี่ยงในตลาด และปัจจัยที่ 3 นั้น เกี่ยวข้องกับการสื่อสารของเฟดและการที่ตลาดตีความนโยบายของเฟด"

 

การแถลงต่อคณะกรรมาธิการด้านการธนาคารแห่งวุฒิสภาสหรัฐในช่วงค่ำวานนี้ตามเวลาไทยนับเป็นการแถลงนโยบายเศรษฐกิจรอบครึ่งปีในวันสุดท้ายของเบอร์นันเก้ ส่วนเมื่อวันพุธที่ผ่านมา เบอร์นันเก้แถลงต่อคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐว่า เฟดจะไม่กำหนดตารางเวลาเกี่ยวกับการลดขนาดโครงการซื้อพันธบัตรเอาไว้ล่วงหน้าอย่างแน่นอน และการปรับขนาดโครงการซื้อพันธบัตรซึ่งปัจจุบันอยู่ที่วงเงิน 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือนนั้น เฟดจะดำเนินการโดยอิงตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจเป็นหลัก

 

เบอร์นันเก้ยังคงย้ำมุมมองของเขาที่เคยกล่าวไว้เมื่อเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมาว่า "เราจะพิจารณาข้อมูลเศรษฐกิจเป็นหลัก หากข้อมูลเศรษฐกิจออกมาแข็งแกร่งกว่าที่คาดการณ์ไว้ เราก็จะดำเนินการลดขนาดโครงการซื้อพันธบัตรให้เร็วขึ้น แต่หากข้อมูลที่ออกมาไม่สอดคล้องกับการคาดการณ์ เราก็อาจจะชะลอการดำเนินการดังกล่าว หรืออาจจะเพิ่มขนาดโครงการซื้อพันธบัตร"

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม 2556 07:31:52 น.

ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเมื่อคืนนี้ (18 ก.ค.) ขานรับผลประกอบการของบริษัทเอกชน และจำนวนคนว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐที่ปรับตัวลดลง ซึ่งบ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของตลาดแรงงานสหรัฐ

 

ดัชนี Stoxx Europe 600 Index เพิ่มขึ้น 0.9% ปิดที่ 299.76 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 31 พ.ค.

 

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 3,927.79 จุด เพิ่มขึ้น 55.77 จุด หรือ +1.44% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 8,337.09 จุด เพิ่มขึ้น 82.37 จุด หรือ +1.00% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,634.36 จุด เพิ่มขึ้น 62.43 จุด หรือ +0.95%

 

 

 

-- ดัชนี FTSE ตลาดหุ้นลอนดอนพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 สัปดาห์เมื่อคืนนี้ (18 ก.ค.) หลังสหรัฐเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกประจำสัปดาห์ที่ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน

 

ดัชนี FTSE 100 ปิดที่ 6,634.36 จุด เพิ่มขึ้น 62.43 จุด หรือ 0.95%

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (18 ก.ค.) เพราะได้แรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง และผลประกอบการที่สดใสของบริษัทเอกชน

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 15,548.54 จุด เพิ่มขึ้น 78.02 จุด หรือ +0.50% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 3,611.28 จุด เพิ่มขึ้น 1.28 จุด หรือ +0.04% ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดวันทำการล่าสุดที่ 1,689.37 จุด เพิ่มขึ้น 8.46 จุด, +0.50%

 

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (18 ก.ค.) หลังจากทางการสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนคนว่างงานรายสัปดาห์ปรับตัวลดลง ซึ่งทำให้นักลงทุนคาดหวังว่าการฟื้นตัวของตลาดแรงงานจะช่วยหนุนเศรษฐกิจให้เติบโตมากขึ้น

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนส.ค.พุ่งขึ้น 1.56 ดอลลาร์ ปิดที่ 108.04 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนส.ค.ที่ตลาดลอนดอน เพิ่มขึ้น 9 เซนต์ ปิดที่ 108.7 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (18 ก.ค.) หลังจากเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุว่ายังเร็วเกินไปที่จะตัดสินใจว่าจะลดขนาดโครงการซื้อสินทรัพย์ในการประชุมเดือนก.ย. หรือไม่

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค.เพิ่มขึ้น 6.7 ดอลลาร์ หรือ 0.52% ปิดที่ 1,284.2 ดอลลาร์/ออนซ์

 

ขณะที่สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ย.ลดลง 3.1 เซนต์ ปิดที่ 19.389 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค.ปิดที่ 1414.80 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 3.80 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย.ปิดที่ 747.50 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 12.05 ดอลลาร์

 

--ราคาทองคำตลาดลอนดอนปิดวันทำการล่าสุด (18 ก.ค.) ที่ 1,283.25 ดอลล์/ออนซ์

-- สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (18 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนมองว่าข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐอาจจะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ชะลอการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในปีนี้

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 100.5 เยน จากระดับของวันพุธที่ 99.58 เยน และแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9454 ฟรังค์ จากระดับ 0.9411 ฟรังค์

 

ค่าเงินยูโรร่วงลงแตะระดับ 1.3105 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันพุธที่ 1.3113 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.5217 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5209 ดอลลาร์สหรัฐ และดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงแตะระดับ 0.9169 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9225 ดอลลาร์สหรัฐ

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ป๋า กะลังดูตอน ep 4 อยู่ เพื่อทันลูก ตอนสมัยเราไม่มีอย่างนี้เลย ถ่ายที่ อสธ. ยังดีที่ตอนในห้องชีวะฝ่ายหญิงถามหาว่ามีถุงยางป่าวไม่งั้นไม่ยอม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ใครเป็นพ่อแม่น่าดูนะ วันนี้จะเชิญมาพูดช่อง 5 ไม่รู้กี่โมงปั้วบอก เชิญเจ้ระเบียบรัตน์ด้วยมั้ง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันเสาร์ อ๊านตี้ แอน แจกฟรี 2 รสชาดทุกสาขา ตั้งแต่ 10-14.00 น

และ คริปปี้ครีม ฉลองครบ 2 ปี ออริจินอล โหลละ 105 บาท ( ถ้าจำไม่ผิด ) ลดวันไหนอ่านไทยรัฐเอาหน้าซุบซุบ

 

ป๋าฝากซื้อด้วยจิ :uu

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

น้ำมันดิบสหรัฐฯ ทุบสถิติปิดบวก ทะลุกว่า 108ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สูงสุดรอบ16 เดือน

 

วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เวลา 07:22:30 น.

13741931251374193147.jpg

 

 

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคมที่ผ่านมา สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนสิงหาคม เพิ่มขึ้น 1.56 ดอลลาร์ ปิดที่ 108.04 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล นับเป็นสถิติที่สูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2012 หรือในรอบ 16 เดือนที่ผ่านมา

อันเป็นผลมาจากข้อมูลทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่บ่งชี้ถึงอุปสงค์อันแข็งแกร่ง

 

 

ขณะที่ เบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 9 เซนต์ ปิดที่ 108.70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

http://www.matichon.co.th/

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดหุ้นเอเชียเคลื่อนไหวอย่างผันผวนในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากที่เบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แถลงต่อคณะกรรมาธิการด้านการธนาคารแห่งวุฒิสภาสหรัฐในช่วงค่ำวานนี้ตามเวลาไทยว่า ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะตัดสินว่าเฟดควรจะเริ่มลดขนาดโครงการซื้อสินทรัพย์ หรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในการประชุมเดือนก.ย. หรือไม่

 

ดัชนี MSCI Asia Pacific ขยับลง 0.2% แตะ 135.35 จุด เมื่อเวลา 10.11 น.ตามเวลาโตเกียว

 

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 14,909.76 จุด เพิ่มขึ้น 101.26 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 2,025.32 จุด เพิ่มขึ้น 1.92 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 21,451.60 จุด เพิ่มขึ้น 106.38 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 8,117.94 จุด ลดลง 76.94 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 1,880.44 จุด เพิ่มขึ้น 4.96 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,218.54 จุด เพิ่มขึ้น 0.34 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เปิดวันนี้ที่ 6,648.35 จุด ไม่เปลี่ยนแปลง, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,794.38 จุด เพิ่มขึ้น 2.84 จุด และดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียเปิดวันนี้ที่ 4,996.80 จุด เพิ่มขึ้น 3.40 จุด

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 19 กรกฎาคม 2556)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ มูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส ได้ปรับปรับเพิ่มแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐจาก “เชิงลบ" มาอยู่ที่ “มีเสถียรภาพ" พร้อมยืนยันอันดับเครดิตของรัฐบาลสหรัฐที่ AAA

 

มูดีส์ปรับเพิ่มแนวโน้มดังกล่าวหลังจากประเมินว่าแนวโน้มหนี้สินของรัฐบาลกลางสหรัฐมีความคืบหน้าสอดคล้องตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้เมื่อเดือนส.ค.2554 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มูดีส์ให้แนวโน้ม “เชิงลบ" แก่สหรัฐ

 

ทั้งนี้ ยอดขาดดุลงบประมาณสหรัฐได้ลดลง และคาดว่าจะยังคงปรับตัวลงต่อเนื่องในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า แม้ว่าขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐได้ชะลอลงในปัจจุบัน แต่ก็ยังมีความคืบหน้ามากกว่าหลายประเทศที่มีอันดับเครดิตที่ AAA และมีความยืดหยุ่นต่อการปรับลดรายจ่ายขนานใหญ่ของรัฐบาล ดังนั้น สัดส่วนหนี้สินต่อจีดีพีของรัฐบาลสหรัฐจนถึงปี 2561 จะมีการลดลงมากกว่าที่มูดีส์ได้ประเมินไว้เมื่อตอนที่ให้แนวโน้มเชิงลบแก่สหรัฐ

 

อย่างไรก็ตาม มูดีส์เตือนว่า แม้แนวโน้มการคลังเป็นไปในเชิงบวกมากขึ้นในช่วงหลายปีข้างหน้า แต่หากไม่มีความพยายามเสริมความแข็งแกร่งทางการคลังต่อไป ก็คาดว่ายอดขาดดุลของรัฐบาลจะเพิ่มขึ้นอีกครั้งในระยะยาว ซึ่งภาวการณ์ดังกล่าวอาจจะสร้างแรงกดดันต่ออันดับเครดิตอีกครั้ง

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 19 กรกฎาคม 2556)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

19 กรกฎาคม 2556 08:33

ทองปิดพุ่ง$6.7 เฟดไม่ฟันธงลดคิวอีก.ย.

news_img_518298_1.jpg

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

ทองปิดพุ่ง 6.7 ดอลลาร์ หรือ 0.52% ปิดที่ 1,284.2 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังเฟดไม่กล้าฟันธงลดมาตรการคิวอีในเดือนก.ย.56

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค.เพิ่มขึ้น 6.7 ดอลลาร์ หรือ 0.52% ปิดที่ 1,284.2 ดอลลาร์/ออนซ์

 

เบน เบอร์นันเก ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)แถลงต่อคณะกรรมาธิการด้านการธนาคารแห่งวุฒิสภาสหรัฐในช่วงค่ำวานนี้ตามเวลาไทยว่า ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะตัดสินว่าเฟดควรจะเริ่มลดขนาดโครงการซื้อสินทรัพย์ หรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในการประชุมเดือนก.ย. หรือไม่

 

เบอร์นันเก กล่าวว่า การตัดสินใจว่าจะลดขนาดโครงการซื้อสินทรัพย์นั้น จะขึ้นอยู่กับข้อมูลด้านตลาดแรงงานที่เฟดได้รับ หรือมีข้อมูลบ่งชี้ว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างยั่งยืน

 

http://www.bangkokbiznews.com

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยตั้งแต่ปลายไตรมาส 2 เป็นต้นมา เป็นเหมือนฝันร้ายของรัฐบาล เอกชน และประชาชน ที่จะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจหดตัวกันทั่วหน้า

 

สิ่งที่รัฐบาลรับมือภาวะเศรษฐกิจถดถอยก็คือ เรียกประชุมเชิงปฏิบัติการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อมาให้ข้อมูลและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา แม้จะยังไม่มีมาตรการใหม่ๆ ออกมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ แต่รัฐบาลก็มีนโยบายเดิมๆ ที่ใช้อยู่ที่ยังสามารถพยุงให้เศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปได้ นั่นคือ การไขก๊อกการดำเนินนโยบายการคลังให้เข้มแข็งในการเบิกจ่ายงบประมาณที่ค้างท่อ เร่งรัดให้นำเงินออกมาใช้ให้รวดเร็วขึ้น

 

ทางด้านนโยบายการเงิน แน่นอนว่ารัฐบาลต้องการให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ เพื่อประคองบรรยากาศการบริโภคในประเทศให้ดำเนินต่อไป แต่ความผันผวนของการไหลเข้าและออกของเงินทุนต่างชาติที่จะส่งผลต่อค่าเงินบาท ทำให้การดำเนินนโยบายดอกเบี้ยทำได้ไม่ง่าย

 

แต่ทว่า กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และ รมว.คลัง กล่าวว่า “ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็บอกว่าอย่ากระตุ้นเศรษฐกิจ แต่นักวิเคราะห์วิจารณ์ก็บอกว่า ถ้าแผ่วแล้วไม่กระตุ้นเศรษฐกิจต่อหรือ ถ้ากลัวจะแผ่วก็ลดดอกเบี้ยอีกสิ บางทีก็มองเห็นแต่คนอื่น แต่ไม่มองเห็นตัวเอง”

 

นั่นแสดงให้เห็นถึงการอยากเห็นดอกเบี้ยเป็นไปในทิศทางใด แต่ทาง ไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท. ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงว่า การที่ กนง.ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.5% ก็เพราะเห็นว่าเป็นระดับที่ผ่อนคลาย และเหมาะสมกับเศรษฐกิจในปัจจุบันแล้ว

 

ทาง กนง.ยืนยันว่า พร้อมที่จะผ่อนคลายนโยบายการเงินได้ตลอดเวลา หากสภาวะเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลง

 

สิ่งที่ ธปท.เป็นห่วง คือ การไหลออกของเงินที่มาเร็วไปเร็ว หลังภาวะเศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มฟื้นตัวจนธนาคารกลางสหรัฐตั้งเป้าจะเลิกใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินในเชิงปริมาณ (คิวอี)

 

สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (ไอไอเอฟ) ได้ออกรายงานเตือนว่า จะเกิดสภาวะทุนไหลออกจากภูมิภาคเศรษฐกิจเกิดใหม่ ท่ามกลางนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำที่ถูกนำมาใช้เพื่อสกัดทุนไหลเข้าก่อนหน้านี้ จะกลายเป็นปัญหาที่เร่งให้เงินไหลออกมากยิ่งขึ้น

 

การที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงอย่างพรวดพราด และพร้อมที่จะแข็งค่าในทันที หากมีเงินไหลกลับเข้ามา ทำให้ ธปท.ไม่แน่ใจว่าการกดดอกเบี้ยให้ต่ำจะเป็นผลดีหรือผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจ

 

นอกจากนี้ การที่ภาวะเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวลง เสี่ยงต่อการเกิดหนี้เสีย ธนาคารพาณิชย์ทั้งหลายต่างชะลอการปล่อยกู้ตามไปด้วย ดอกเบี้ยน่าจะลดลง แต่ดอกเบี้ยในตลาดเงินก็ยังไม่ลง แถมธนาคารพาณิชย์ยังคงขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากระยะสั้น ในรูปแบบเงินฝากพิเศษไม่หยุด

 

แถมดอกเบี้ยที่ลดลง อาจจะไล่เงินฝากออกจากระบบธนาคาร ไปสร้างหนี้ครัวเรือนให้เบ่งบานขึ้นอีกก็เป็นได้

 

ทางด้านเงินเฟ้อ แม้ 6 เดือนแรกของปีนี้ อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ 2.7% เทียบกับปีก่อนที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 3% และเป็นอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำที่สุดในรอบ 3 ปี ก็ไม่ได้หมายความว่าราคาสินค้าจะไม่เพิ่มขึ้น เพราะราคาสินค้าได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้ว

 

จากรายงานของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่ระบุว่า ราคาสินค้าที่พาเหรดราคา โดยเฉพาะสินค้าบริโภคเพิ่มขึ้น 1025% จากเดือน ก.ย. 2554 จนถึงปัจจุบัน

 

ทั้งราคาผักสดเพิ่มขึ้น 25.8% ราคาผลไม้สดเพิ่มขึ้น 16.3% ราคาอาหารบริโภคในบ้านสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น 5.4% ราคาไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 19.9% ราคาน้ำประปาเพิ่มขึ้น 12% ราคาเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 14.7% ราคายาสูบเพิ่มขึ้น 12.8% และราคาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น 3.8%

 

เหล่านี้ล้วนเป็นเหตุผลที่ทำให้ ธปท.ยังไม่อาจไว้วางใจที่จะผ่อนคลายนโยบายดอกเบี้ยได้ ถึงเงินเฟ้อจะเกิดจากต้นทุนดัน (Cost Push) ไม่ได้เกิดจากความต้องการบริโภคสินค้ามากขึ้น (Demand Pull) แต่เงินเฟ้อก็คือเงินเฟ้อ ยังบั่นทอนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้ในระยะยาว

 

แต่ไม่ใช่ว่าไม่มีโอกาสที่ดอกเบี้ยในประเทศจะลดต่ำลงกว่าที่เป็นอยู่นี้ได้

 

การที่ ธปท.จะตัดสินใจลดดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อส่งสัญญาณให้ธนาคารพาณิชย์ลดดอกเบี้ยตามก็มีหากตัวเลขการขยายตัวของสินเชื่อในระบบธนาคารไม่ขยายตัว เงินเฟ้อขยายตัวติดลบ นั่นคือสัญญาณของเศรษฐกิจถดถอย ซึ่ง ธปท.จะต้องผ่อนนโยบายการเงินแน่นอน

 

แต่หากดูจากภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน เศรษฐกิจไทยยังเป็นแค่การชะลอตัว แต่ยังไม่ถึงขั้นถดถอย จึงยังไม่ใช่เวลาที่ดีที่จะลดดอกเบี้ย

 

บันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า ดอกเบี้ยนโยบายช่วงที่เหลือของปีนี้ มีโอกาสที่จะปรับลดลงได้ 0.250.5% ตามเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ซึ่งขณะนี้เริ่มเห็นความแตกต่างของดอกเบี้ยระยะยาวที่ปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่ดอกเบี้ยระยะสั้นปรับลดลง

 

แต่หากมองในระยะ 12 ปีข้างหน้าแล้ว การลงทุนที่เพิ่มขึ้นตามโครงการของรัฐบาล เช่น การลงทุนโครงการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท และลงทุนในโครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศอีก 2 ล้านล้านบาท หากการลงทุนโครงการเหล่านี้เกิดขึ้นจริง จะทำให้การดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยขาดดุลได้ กดดันให้อัตราดอกเบี้ยระยะยาวปรับเพิ่มขึ้นได้อีก

 

ดังนั้น การลดดอกเบี้ยลงเพื่อพยุงเศรษฐกิจ ดูแล้วก็ไม่ง่าย แต่ใช่ว่าจะไม่มีโอกาส ปัญหาคือการมองปัญหาคนละด้าน และถือหลักการที่ต่างกัน ของคลังและ ธปท.จะเกิดขึ้นอีก

 

ศึกดอกเบี้ยยกต่อไปของคลังและ ธปท.จะไม่ได้เกิดขึ้นเพราะค่าเงินบาท แต่รอบนี้จะเกิดจากการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่ฝ่ายหนึ่งอยากให้ลดดอกเบี้ย แต่อีกฝ่ายหนึ่งยังคงต้องรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ

 

แต่ด้วยเหตุผลการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ลุกลามมายังไทย คาดว่ารอบนี้รัฐบาลน่าจะได้เปรียบ เพราะมีเหตุมีผลที่จะร้องขอให้ลดดอกเบี้ย หากจะไม่สนองตอบ ธปท.ก็ต้องตั้งการ์ดสูงและให้เหตุผลที่ฟังขึ้นกับฝ่ายการเมือง

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ (วันที่ 19 กรกฎาคม 2556)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...