ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

ค่ำคืนนี้ พี่ HUI ซืี้อเข้านะครับ

 

 

____.gif เฮีย HUI

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

US Index อ่อนค่าลง จะหลุด 82.0 หรือไม่ ถ้าหลุดก็........ เย้ เย้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Factory Orders (MoM)

Actual:1.5%

Forecast:2.3%

Previous:3.0%

Importance:Currency:USDSource Of Report:US Census Bureau (Release URL)

OverviewChartHistory

Factory Orders measures the change in the total value of new purchase orders placed with manufacturers. The report also includes a revision of the Durable Goods Orders data released about a week earlier as well as data new data on non-durable goods orders.

 

A higher than expected reading should be taken as positive/bullish for the USD, while a lower than expected reading should be taken as negative/bearish for the USD.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สหรัฐเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือนก.ค.เพิ่มขึ้น 162,000 ตำแหน่ง

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2556 19:50:58 น.

กระทรวงแรงงานสหรัฐเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรปรับตัวเพิ่มขึ้น 162,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. ขณะอัตราว่างงานลดลงสู่ระดับ 7.4% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2551

 

โดยตัวเลขจ้างงานเดือนล่าสุดนี้ขยายตัวต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 175,000 ราย ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เป็นไปอย่างเชื่องช้าจะส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน อันเนื่องมาจากภาษีที่สูง และการลดการใช้จ่ายภาครัฐส่งผลให้เศรษฐกิจยังไม่กระเตื้องขึ้นมากนักในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา แม้ตัวเลขการจ้างงานยังคงแข็งแกร่งในปีนี้

 

ทั้งนี้ บริษัทเอกชนมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 161,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจค้าปลีก บริการด้านอาหาร ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจค้าส่ง

 

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย อรษา สงค์พูล โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: interdesk@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณป๋า เงินบาท มันจะบาดเราอะจิ เเข็งเยอะเลย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณป๋า เงินบาท มันจะบาดเราอะจิ เเข็งเยอะเลย

พึ่งแข็งขึ้นมาแค่ 10 สตางค์เอง เปรียบเทียบจากจุดที่เราเข้าซื้อทองแท่ง ถือว่ายังมีกำไรอยู่นะ. และ การแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาท ตอนนี้ 31.29 นั้นคือแบบสากลจากค่าเงินดอลล์สหรัฐฯ ที่อ่อนค่า กรณีพรุ่งนี้ยังไม่ขาย ถือต่อลุ้นวันจันทร์ ค่าเงินบาทน่าจะอ่อนค่าลง ภายใต้เงื่อนไขที่รัฐบาลสารขันธ์กำลังสร้างเงื่อนปมให้กับตัวเอง กรณี ออก พรบ.จัดการม็อบ ซึ่งผลจะลงที่ บาทอ่อนกว่าภูมิภาค เพราะ ฝรั่งทิ้งบาท ซื้อดอลล์ มั่งครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เราต้องมองเฉพาะตัวเลขที่นักลงทุนต่างชาติมองเป็นสำคัญครับ และตัวนั้นก็คือ Non Farm Payroll และ อัตราว่างงาน ( สังเกตุสัญญานมันให้มากี่ตัว กรณีนี้ 3 ตัว )

 

ตัวเลขว่างงาน : คืนนี้ หรือ แต่ไหนแต่ไรมา เขาเลิกดูแล้ว เพราะคนทำ มันมั่ว ดังนั้น สิ่งที่ถูกจับตามองมากที่สุด คือ NFP เมื่อมันเกิดอาการออกต้ำ ต่ำ จังหวะไปต่อมีครับ เผอิญอาจติดแนวต้านที่ 1315 ที่มีนักลงทุนบางส่วน เทขายทำกำไร จากที่ซื้อมาตั้งแต่ 1288 ก็ต้องขายทำกำไรบ้าง จริงมั้ยครับ ราคาจึงถอยลง ขออีกสักพัก 3 ทุ่ม ตัวเลข Factory Order ออก ก็น่าจะกระแทกด่านต้านพัง มั่งครับ

 

ปล. ต้องจับใจความให้ได้ว่า ณ. ช่วงนั้นช่วงนี้ เขาเล็งความสำคัญไปที่ข่าวใด ครับ

ขอบคุณค่ะป๋า กิ๊บเก๋เห็นตัวเลขอีกตัวมันออกมา 7.4% และ non farm 162 มันออกมาต่ำกว่าคาดการณ์มาก มันมีทั้งดีและไม่ดีก้อเลยไม่รู้ว่าจะไปต่อหรือไม่ค่ะ ถ้าผ่านด่านนี้ไปได้คงไปได้อีกไกลมั้งค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณค่ะ คุณป๋า ได้มุมมองจากป๋าเป็นแนวคิดต่อไป ขอบคุณๆๆๆ :gd

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณค่ะป๋า กิ๊บเก๋เห็นตัวเลขอีกตัวมันออกมา 7.4% และ non farm 162 มันออกมาต่ำกว่าคาดการณ์มาก มันมีทั้งดีและไม่ดีก้อเลยไม่รู้ว่าจะไปต่อหรือไม่ค่ะ ถ้าผ่านด่านนี้ไปได้คงไปได้อีกไกลมั้งค่ะ

อาจแค่ Rebound ( เด้งขึ้น เพื่ออาจจะลงต่อ )

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิธีการในการแก้ปัญหาที่สามารถทำได้ง่ายๆ โดยการใส่ใบมะกรูดลงไปในถังข้าวสาร โดยจะใส่ทั้งก้านเลยก็ได้แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละคน หลังจากนั้นไม่นานแมลงที่อาศัยอยู่เดิมก็จะตายไปจากข้าวสาร และจะไม่มีแมลงเข้ามาอยู่ในข้าวสารของเราใหม่อีกครั้ง เพียงแค่เราใช้ ใบมะกรูดมาช่วยในการจัดการแมลงที่มีอยู่ในข้าวสารนั้นออกไป เพียงเท่านี้ข้าวสารที่รับประทานไม่หมดเพราะว่าซื้อมาในปริมาณที่มากๆ ก็จะไม่มีแมลงมอดเข้ามาอยู่ในข้าวสารแล้วล่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

น้ำมันลง-หุ้นมะกันทรงตัวจากข้อมูลแรงงานสหรัฐฯ ทองคำปิดลบ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 สิงหาคม 2556 04:46 น.

556000010054901.JPEG

เอเอฟพี - น้ำมันลง ส่วนวอลล์สตรีททรงตัววานนี้(2) หลังสหรัฐฯเปิดเผยข้อมูลภาคแรงงานที่อ่อนแอเกินคาดหมาย ขณะที่ปัจจัยดังกล่าวก็ฉุดให้ทองคำ ช่วงหนึ่งดิ่งลงไปกว่า 25 ดอลลาร์ ก่อนฟื้นตัวปิดลบแค่เล็กน้อย

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนกันยายน ลดลง 95 เซนต์ ปิดที่ 106.94 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 59 เซนต์ ปิดที่ 108.95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ราคาน้ำมันวานนี้(2) ตกอยู่ภายใต้แรงกดดันของข้อมูลภาคแรงงานสหรัฐฯ โดยแม้ว่าอัตราคนว่างงานในเดือนกรกฎาคม จะลงมาอยู่ที่ร้อยละ 7.4 จากร้อยละ 7.6 ในเดือนมิถุนายน แต่อีกด้านหนึ่งก็พบว่าเมื่อเดือนที่ผ่านมา มีการจ้างงานแค่ 162,000 ตำแหน่งเท่านั้น น้อยกว่าที่คาดหมายไว้อย่างมาก

 

ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(2) ขยับขึ้นเล็กน้อย หลังข้อมูลคนว่างงานและการจ้างงานที่สวนทางกันของประเทศ ส่งสัญญาณที่ผสมผสานว่าธนาคารกลางอเมริกา(เฟด) อาจเพิ่มความระมัดระวังต่อการลดระดับมาตรการเข้าซื้อพันธบัตรกระตุ้นเศรษฐกิจ

 

ดัชนีดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 28.49 จุด (0.18 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 15,656.51 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 2.72 จุด (0.16 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,709.59 จุด แนสแดก เพิ่มขึ้น 13.84 จุด (0.38 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 3,689.59 จุด

 

ทั้งนี้ข้อมูลการจ้างงานที่อ่อนแอเกินคาดหมายและดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง ช่วยผยุงให้ราคาทองคำกระเตื้องขึ้นมาปิดลบเล็กน้อยวานนี้(2) หลังจากช่วงหนึ่งของการซื้อขายร่วงลงไปมากกว่า 25 ดอลลาร์ โดยราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ ลดลง 70 เซนต์ปิดที่ 1,310.50 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9560000095656

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

NOW now_dropdown.png

 

 

 

ดอลลาร์ผันผวน จับตาตัวเลขจ้างงานสหรัฐ

 

updated: 02 ส.ค. 2556 เวลา 18:00:40 น.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

 

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพรายงานว่า ภาวะการเคลื่อนไหวของค่าเงินประจำวันที่ 29 กรกฎาคม-2 สิงหาคม 2556 ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวผันผวนตลอดทั้งสัปดาห์เมื่อเทียบกับค่าเงินสกุล หลัก

โดยการคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญของตลาด โดยเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นและกลางสัปดาห์ก่อนการเผยมติการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งภายหลังจากที่คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (FOMC) มีมติที่จะเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐผ่านทางการซื้อพันธบัตร หรือการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) โดยจะยังคงดำเนินโครงการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) ในวงเงินรวมกัน 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ทุกเดือนต่อไป และคงเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (fed tunds rate) อยู่ในกรอบ 0-0.25% ต่อไป เพื่อพยุงเศรษฐกิจที่ยังคงได้รับผลกระทบจากมาตรการตัดงบรายจ่ายของรัฐบาล และภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอในต่างประเทศ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวอ่อนค่าลงในทันที แม้ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐในช่วงกลางสัปดาห์จะดีขึ้นเกินคาดก็ตาม โดยตัวเลขประมาณการครั้งแรกของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ประจำไตรมาส 2/2013 ขยายตัว 1.7% เมื่อเทียบรายปี สูงกว่าที่คาดไว้ที่ 1.0% และสูงกว่าระดับ 1.1% ของไตรมาสแรกที่มีการปรับลดลงจากเดิมที่ 1.8% อีกทั้งตัวเลขการจ้างงานทั่วประเทศเพิ่มขึ้นอีกครั้งในศุกร์ (2/8) ก่อนการเปิดเผยตัวเลขสำคัญในตลาดแรงงานสหรัฐ ภายหลังตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่เปิดเผยในช่วงท้ายสัปดาห์ออกมาดีเกินคาด อาทิ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกร่วงลงสู่ 326,000 ราย ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปีครึ่งนับตั้งแต่เดือน ม.ค. 2008 และดัชนีภาคการผลิตพุ่งขึ้นเกินคาด 4.5% สู่ระดับ 55.4 ในเดือน ก.ค. ได้หนุนการคาดการณ์ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐที่สดใสในคืนวันนี้ ซึ่งตลาดจับตาตัวเลขดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เพื่อดูสัญญาณการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน และโอกาสในการประกาศปรับลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐในการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ครั้งต่อไปในช่วงเดือนกันยายน (17-18/9)

 

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท ค่าเงินบาทเปิดตลาดวันจันทร์ (29/7) ที่ระดับ 31.12/15 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ทรงตัวเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (26/7) ที่ 31.12/14 บาท/ดอลลาร์ โดยในช่วงต้นสัปดาห์ ภายหลังจากเปิดตลาดไม่นานค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งช่วงกลางสัปดาห์ จากแรงซื้อของกลุ่มผู้นำเข้าในช่วงสิ้นเดือน และความวิตกกังวลในเรื่องการเมืองและตัวเลขการส่งออกของไทยในช่วง 6 เดือนแรกที่ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยเมื่อวันศุกร์ (26/7) ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์เผยตัวเลขการส่งออกเดือน มิ.ย. ลดลง 3.38% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่การส่งออกในครึ่งปีแรกที่ผ่านมาขยายตัวได้เพียง 0.95% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งถือว่าต่ำกว่าที่ ธปท.ประเมินไว้ แต่ ธปท.คาดว่า การส่งออกของไทยจะฟื้นตัวขึ้นในช่วง 6 เดือนหลังของปีนี้ นอกจากนี้ ความกังวลเกี่ยวกับการปรับลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐ เป็นอีกปัจจัยที่เข้าหนุนการถือครองดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งภายหลังจากที่เฟดประกาศคงเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยนโยบายและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป ได้กดดันให้ค่าเงินดอลลาร์ร่วงลง และหนุนให้ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นในช่วงสั้น ๆ ก่อนที่เงินบาทจะปรับตัวอ่อนค่าลงอีกครั้งท้ายสัปดาห์ จากการเข้าซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐ จากการที่ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐช่วงท้ายสัปดาห์ออกมาดีเกินคาด หนุนการคาดการณ์ตัวเลขในตลาดแรงงานสหรัฐสดใสในคืนวันนี้ ทั้งนี้ตลอดทั้งสัปดาห์ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 31.12-31.41 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนปิดตลาดวันศุกร์ (2/8) ที่ระดับ 31.38/40 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

 

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร ค่าเงินยูโรเปิดตลาดวันจันทร์ (29/7) ที่ระดับ 1.3286/88 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (28/7) ที่ระดับ 1.3272/74 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร โดยในช่วงต้นสัปดาห์ ค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ขณะที่นักลงทุนชะลอการลงทุนเนื่องจากไม่แน่ใจว่า เฟดจะเริ่มต้นปรับลดขนาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเมื่อใด ซึ่งภายหลังจากการประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยและนโยบายทางการเงินของเฟด ค่าเงินยูโรได้ทะยานขึ้นเหนือระดับ 1.3300 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโรอีกครั้ง นอกจากนี้ ตัวเลขผลประกอบการที่สดใสของบริษัทชั้นนำในยุโรป ก็เป็นอีกหนึ่งแรงหนุนการเข้าลงทุนในสกุลเงินที่ให้ผลตอบแทนสูง อย่างไรก็ดี เงินยูโรได้ลดแรงบวกลงและเคลื่อนไหวกรอบแคบ ก่อนการเผยมติการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ในวันพฤหัสดบี (1/8) โดยหลังจากการประกาศมติการประชุมนโยบายการเงินของอีซีบีที่มีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 0.50% ตามคาด นายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ได้กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยในยูโรโซนจะยังคงอยู่ที่ระดับต่ำไปอีกระยะหนึ่ง โดยความเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจยังอยู่ในช่วงขาลง ซึ่งสนับสนุนการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อไป ส่งผลให้ค่าเงินยูโรร่วงลงต่ำกว่าระดับ 1.3200 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโรในช่วงท้ายสัปดาห์ ทั้งนี้ ตลอดทั้งสัปดาห์ค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 1.3188-1.3344 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโรก่อนปิดตลาดวันศุกร์ที่ (2/8) ที่ระดับ 1.3218/20 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร

 

ส่วนการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนนั้น ค่าเงินเยนเปิดตลาดวันจันทร์ (29/7) ที่ระดับ 98.03/06 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (26/7) ที่ระดับ 98.60/62 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ โดยในช่วงต้นและกลางสัปดาห์ ค่าเงินเยนเคลื่อนไหวขึ้นลงอยู่ในกรอบแคบ ๆ ขณะที่นักลงทุนส่วนใหญ่ชะลอการลงทุนและรอมติการประชุมนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพื่อดูสัญญาณการลงทุน ซึ่งภายหลังการเปิดเผยมติการประชุมที่ยังคงดำเนินนโยบายเชิงผ่อนคลายต่อไปของเฟด ได้หนุนการลงทุนของนักลงทุนอีกครั้ง และได้กดดันให้เงินเยนอ่อนค่าลงเหนือระดับ 99.50 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ดี ภายหลังจากที่ตัวเลขสหรัฐช่วงท้ายสัปดาห์ออกมาดีเกินคาด ได้หนุนการคาดการณ์ว่า ตัวเลขสำคัญในตลาดแรงงานสหรัฐในคืนวันนี้จะออกมาดี จึงส่งผลให้เงินเยนได้กลับมาทรงตัวและเคลื่อนไหวกรอบแคบอีกครั้ง ทั้งนี้ตลอดทั้งสัปดาห์ค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 97.56-99.75 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนปิดตลาดวันศุกร์ (2/8) ที่ระดับ 99.60/63 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ

 

อนึ่ง ในสัปดาห์นี้ธนาคารกลางสำคัญหลายแห่งได้มีการประชุมนโยบายการเงิน ซึ่งธนาคารกลางส่วนใหญ่ยังคงยืนนโยบายเชิงผ่อนคลายทางการเงิน และยังคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำต่อไป โดยในวันอังคาร (30/7) ที่ผ่านมา ธนาคารกลางอินเดีย (RBI) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 7.25% ตามความคาดหมาย และได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของอินเดียลงสู่ระดับ 5.5% สำหรับปีงบประมาณปัจจุบัน จาก 5.7% ที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ (RBI) ยังได้คงสัดส่วนการสำรองเงินสด (CRR) ที่ 4.00% ด้วย ส่วนในวันพฤหับดี (1/8) ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.5% และคงวงเงินในมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) โดยการเข้าซื้อพันธบัตรไว้ที่ระดับ 3.75 แสนล้านปอนด์ ต่อไปตามความคาดเช่นกัน

 

สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐสำคัญที่น่าสนใจ ได้แก่ กระทรวงแรงงานสหรัฐเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน ก.ค. และสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เผยดัชนีภาวะธุรกิจรัฐนิวยอร์กเดือน ก.ค. (2/8), Conference Board เผยดัชนีการจ้างงานเดือน ก.ค. และสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยดัชนีภาคบริการเดือน ก.ค. (5/8), กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเผยข้อมูลการค้าระหว่างเดือน มิ.ย. (6/8) กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ (8/6), กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขสต๊อกสินค้าและยอดค้าส่งเดือน มิ.ย. (9/8)

 

 

 

 

ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

www.facebook.com/prachachat

ทวิตเตอร์ @prachachat

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...