ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์อ่อนค่า จากข่าว“ซัมเมอร์สถอนตัวชิงปธ.เฟด

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 17 กันยายน 2556 07:12:30 น.

สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (16 ก.ย

 

) หลังจากนายลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส อดีตรัฐมนตรีคลังสหรัฐ ได้ถอนตัวจากการชิงตำแหน่งประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) คนใหม่

 

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 99.17 เยน จากระดับของวันศุกร์ที่ 99.28 เยน และอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9276 ฟรังค์ จากระดับ 0.9290 ฟรังค์

 

 

 

ยูโรแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.3333 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3307 ดอลลาร์สหรัฐ เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.5898 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5879 ดอลลาร์สหรัฐ และดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 0.9308 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9251 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเนื่องจากนักลงทุนมองว่าการถอนตัวของนายซัมเมอร์สอาจจะส่งผลให้นางเจเน็ต เยลเลน รองประธานเฟด มีโอกาสมากขึ้นที่จะได้ดำรงตำแหน่งสูงสุดของเฟด โดยคาดกันว่านางเยลเลน ซึ่งมีท่าทีสนับสนุนการผ่อนคลายนโยบายการเงินนั้น จะยังคงสานต่อนโยบายผ่อนคลายของนายเบอร์นันเก้ต่อไป

 

ข่าวความเคลื่อนไหวของนายซัมเมอร์สมีขึ้นก่อนการประชุมกำหนดนโยบายการเงินของเฟดในวันอังคารและพุธนี้ โดยนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าเฟดจะเริ่มชะลอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งคาดว่าจะเป็นการลดขนาดโครงการซื้อพันธบัตรลง 1.0-1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ จากวงเงินในปัจจุบันที่ 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน

 

อย่างไรก็ตาม ดอลลาร์ได้แรงหนุนในระหว่างวันหลังจากเฟดเปิดเผยว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนส.ค.ปรับตัวขึ้น 0.4% ได้รับแรงหนุนจากภาคอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์และภาคการผลิตอื่นๆที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งสัญญาณถึงการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐ ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น 0.2% แตะ 77.8%

 

นักลงทุนจับตาดูกระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนส.ค.ในวันนี้เวลา 19.30 น.ตามเวลาไทย ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่าดัชนี CPI ทั่วไปจะเพิ่มขึ้น 0.2% และคาดว่าดัชนี CPI พื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาในหมวดอาหารและพลังงานจะเพิ่มขึ้น 0.2%

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การที่หุ้นบวกอย่างแรงเช้านี้ จะยกให้เป็นผลงานของใครไม่ได้ นอกจากเฮีย Lawrence Summers (อดีต) หนึ่งในตัวเก็งผู้ชิงตำแหน่งประธาน Fed ต่อจากป๋า Ben Bernanke ที่จะครบวาระในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ... ซึ่งเฮีย Summers มีแนวคิด 'ไม่เอาด้วย' กับการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย (QE + ดอกเบี้ยต่ำ แบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน)

 

ทันใดที่เฮีย Summers ประกาศถอนตัว ตลาดทั่วโลกก็รับข่าวโดยพลัน ... ส่งผลให้ Janet Yellen รองประธาน Fed กลายเป็นตัวเก็งอันดับหนึ่งในทันที ซึ่งที่ผ่านมา Yellen เคาะ 'เอาด้วย' มาโดยตลอดในการลงมติด้านนโนบายการเงิน

 

(ภาพจาก: http://bit.ly/167RFtH)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่างินบาทเช้านี้อ่อนค่า ต้องคอยดูตลาดหุ้นบวกหรือลบ ส่งผลต่อค่าบาท

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ส่วนอ้าย HUI เมื่อคืนนี้ ตัวแดงน้อยแค่ 1.58 เส้นสัญญาน MACD รหัส 7,5,2 เส้นดำเส้นแดงทับกัน เส้นแดงลู่ทางน่าจะวิ่งสู่ด้านบนเส้นดำได้ ซึ่งจะทำให้ตัวเลขออกมาแบบ " เขียว "

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง

นายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรปชี้สหภาพยุโรปจำเป็นต้องมีหน่วยงานกลางที่มีความแข็งแกร่งในการดูแลธนาคารที่ประสบปัญหา หลังจากที่ผู้นำในภูมิภาคยังไม่สามารถตกลงกันได้เรื่องแผนการปรับโครงสร้างธนาคาร

 

นายดรากีกล่าวว่า สหภาพธนาคารที่จะจัดตั้งขึ้น น่าจะมีส่วนในการเร่งการช่วยเหลือธนาคารต่างๆ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วเราก็จะมีกลไกในการแก้ปัญหาที่แข็งแกร่งเพียงหนึ่งเดียว เราจำเป็นต้องมีกลไกที่ทำให้ธนาคารต่างๆได้รับความช่วยเหลือโดยไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านเสถียรภาพ

 

ดรากีกล่าวต่อไปว่า สินทรัพย์ในงบดุลของธนาคารที่ไม่มีความโปร่งใสกำลังเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการปล่อยสินเชื่อ ดังนั้น การมีหน่วยงานกลางจะช่วยสนับสนุนให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 16 กันยายน 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เลขาUNแถลงผลสอบใช้อาวุธเคมีในซีเรียจริง

ข่าวต่างประเทศ วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ.2556 6:56น.

 

เลขายูเอ็น เผยรายงานจากคณะผู้ตรวจสอบ ชี้ชัดมีหลักฐานยันใช้อาวุธเคมีในซีเรียจริง พร้อมประณาม อาชญากรสงคราม

สำนักข่าวเอพี รายงานว่า นายบัน คีมูน เลขาธิการสหประชาชาติ แถลงข่าวยืนยันถึงรายงานของเจ้าหน้าที่ ซึ่งตรวจสอบอาวุธเคมีในซีเรียของยูเอ็น โดย นายบัน ยังได้เรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ กำหนดบทลงโทษ หากว่าประนาธิบดี บาชาร์ อัล อัสซาด ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงทำลายอาวุธเคมีที่เห็นพ้องกันระหว่างรัสเซียกับสหรัฐ โดย นายบัน บอกกับ 15 ชาติสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคง ณ ที่ประชุม0ลับ ซึ่งมีความเห็นแตกแยก ระหว่างฝ่ายสนับสนุนและคัดค้านการใช้มาตรการนานาชาติอันหนักหน่วงต่อนายอัสซาดว่า ตอนนี้ คณะผู้ตรวจสอบยูเอ็น ยืนยันโดยไม่อ้อมค้อมว่า มีการใช้อาวุธเคมีในซีเรียจริง นี่คืออาชญากรสงคราม โดยทีมสืบสวนของสหประชาชาติ ซึ่งมี นายอัคเค เซลล์สตรอม เป็นหัวหน้า ยืนยันในรายงานว่า มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ มีการใช้แก๊สพิษซารินติดจรวดในกรุงดามัสกัส เมืองหลวงซีเรียเมื่อเดือนที่แล้วและอาวุธเคมีเหล่านั้น ยังเคยถูกใช้ในวิกฤติความขัดแย้งที่เกาะกุมซีเรีย มานานกว่า 30 เดือนมาก่อน

 

รายงานดังกล่าว ระบุว่า บนพื้นฐานของหลักฐานที่รวบรวมได้ ระหว่างการสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเมืองกูตา สรุปว่า มีการใช้อาวุธเคมีในความขัดแย้งที่กำลังคุกรุ่นในซีเรียโจมตีพลเรือน ซึ่งรวมทั้งเด็ก ในปริมาณมาก จากตัวอย่างด้านสภาพแวดล้อม สารเคมี และยา ที่เก็บรวบรวมได้ แสดงหลักฐานอย่างชัดเจน และเชื่อถือได้ว่า มีการใช้จรวดแบบพื้นสู่พื้น บรรจุแก๊สซาริน ที่ทำลายระบบประสาท

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข้อตกลงปลดอาวุธเคมีซีเรียฉุดน้ำมันดิ่ง ทองคำ-หุ้นสหรัฐฯขึ้น blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 กันยายน 2556 04:29 น.

 

 

blank.gif 556000012269101.JPEG blank.gif เอเอฟพี - น้ำมันโลกวานนี้(16) ยังดิ่งลงหนักต่อเนื่องจากปลายสัปดาห์ที่แล้ว หลังสหรัฐฯและรัสเซียบรรลุข้อตกลงกำจัดอาวุธเคมีซีเรีย คลายกังวลทางอุปทาน ส่วนวอลล์สตรีทและทองคำขยับขึ้น หลังนายแลร์รี ซัมเมอร์ส ประกาศถอนตัวออกจากการชิงตำแหน่งประธานเฟดคนใหม่

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนตุลาคม ลดลง 1.62 ดอลลาร์ ปิดที่ 106.59 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 1.63 ดอลลาร์ ปิดที่ 110.07 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

แรงเทขายเป็นผลมาจากสหรัฐฯและรัสเซียบรรลุข้อตกลงปลดและทำลายอาวุธ เคมีของซีเรียในช่วงกลางปี 2014 ปัจจัยนี้คลายความกังวลทางอุปทานต่อกรณีวอชิงตันอาจใช้กำลังทหารโจมตี ดามัสกัส โดยแม้ ซีเรีย จะไม่ใช่ผู้ส่งออกรายสำคัญ แต่นักลงทุนก็กังวลว่าสงครามอาจลุกลามไปสู่ชาติเพื่อนบ้านซึ่งเป็นแหล่งผลิต พลังงานรายใหญ่

 

ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(16)ขยับขึ้นแรง จากข่าวนายแลร์ ซัมเมอร์ส ถอนตัวจากการชิงตำแหน่งประธานธนาคารกลางอเมริกา(เฟด) หลังนายเบน เบอร์นันกี ผู้นำคนปัจจุบันจะหมดวาระลงในเดือนมกราคมปีหน้า

 

ดัชนีดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 118.49 จุด (0.77 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 15,494.55 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 9.60 จุด (0.57 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,697.59 จุด แนสแดค ลดลง 4.33 จุด (0.12 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 3,717.85 จุด

 

นายแลร์รี ซัมเมอร์ส ประกาศถอนตัวออกจากการชิงตำแหน่งประธานเฟดคนใหม่ แทน นายเบน เบอร์นันกี ส่งผลให้ตลาดหุ้นขานรับด้วยการปรับขึ้น เนื่องจากนายซัมเมอร์ส มีมุมมองต่อ QE ในลักษณะของการชะลอวงเงินให้เร็วที่สุด

 

ปัจจัยนี้เองที่ส่งผลให้ราคาทองคำวานนี้(15) ปิดบวกได้เล็กน้อย หลังจากช่วงปลายสัปดาห์ก่อนขยับลงอย่างหนัก โดยราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ เพิ่มขึ้น 9.20 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,317.80 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข่าวดีท่วมหนุน'หุ้น-เงิน'โลกพุ่ง

หุ้น-เงินเอเชียพุ่งแรง หลัง'ซัมเมอร์ส'ประกาศถอนตัวชิงประธานเฟด นักลงทุนคาดประชุม 17-18 ก.ย. เดินหน้าผ่อนคลายนโยบาย ด้าน "กิตติรัตน์" เชื่อเฟดลดคิวอี ส่งผลดีระยะยาว "ศุภวุฒิ" ชี้แนวโน้มค่าเงินอ่อน จากปัญหาดุลบัญชี-เฟดเลิกมาตรการ ขณะที่กสิกรไทยเชื่อพื้นฐานเศรษฐกิจรับมือผลถอนคิวอีได้

 

 

ดอลลาร์ร่วงลง ขณะที่พันธบัตรและหุ้นเอเชียพุ่งขึ้นวานนี้ (16 ก.ย.) หลังจากนายลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐ ประกาศถอนตัวจากการชิงตำแหน่งประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่ามีแนวโน้มที่เฟดจะผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อไป

 

 

เฟด จะเริ่มประชุมในวันนี้ (17 ก.ย.) โดยใช้เวลาสองวัน ในวันอังคารและพุธนี้ เพื่อพิจารณาว่าจะเริ่มปรับลดวงเงินในโครงการซื้อสินทรัพย์จากอัตรา 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือนเมื่อไรและในวงเงินเท่าไร

 

 

ข่าวการถอนตัวของนายซัมเมอร์ส ทำให้นักลงทุนหันมาซื้อสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก จากคาดการณ์ว่านโยบายการเงินของเฟดจะเป็นแบบผ่อนคลายต่อไป

 

 

เช่นเดียวกับตลาดหุ้นยุโรปพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 5 ปีในช่วงเปิดตลาดวานนี้ โดยดัชนี FTSEurofirst 300 ของหุ้นกลุ่มบลูชิพทั่วยุโรป บวก 0.6% มาที่ 1,258.15 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่กลางปี 2551

 

 

นักลงทุนเข้าซื้อหุ้น ยังได้รับปัจจัยหนุนจากการบรรลุข้อตกลงระหว่างสหรัฐและรัสเซียเพื่อทำลายอาวุธเคมีของซีเรีย โดยจะช่วยขจัดความเสี่ยงจากการโจมตีของสหรัฐต่อซีเรีย ประกอบกับปัจจัยเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรปเริ่มกระเตื้องขึ้น ส่งผลให้เป็นปัจจัยบวกต่อบรรยากาศการลงทุนทั่วโลก สกุลเงินของตลาดเกิดใหม่ในเอเชียแข็งค่าขึ้น โดยรูปีพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 1 เดือนวานนี้ (16 ก.ย.) จากข่าวนายซัมเมอร์ส

 

 

รูปีพุ่งแตะระดับ 62.45 ต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุด นับตั้งแต่วันที่ 19 ส.ค. แต่รูปีก็อ่อนค่าลงบ้าง ขณะที่ดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่าแตะระดับสูงสุดในรอบ 5 สัปดาห์ จากแรงซื้อคืน ส่วนบาทแข็งค่าขึ้นตามหุ้นและพันธบัตรไทยที่พุ่งขึ้น

 

 

เปโซ ปิดตลาดที่ 43.61 ต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุด นับตั้งแต่วันที่ 12 ส.ค. จากแรงซื้อของกองทุนต่างประเทศ

 

 

นักวิเคราะห์กล่าวว่า หาก เฟดปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรลง 1.0 หมื่นล้านดอลลาร์ ตามที่ตลาดคาดไว้ โดยที่ไม่แสดงท่าทีคุมเข้มมากเกินไป ตลาดก็อาจจะพยายามซื้อสินทรัพย์เสี่ยงต่อไป

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

 

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 17 กันยายน 2556 07:30:15 น.

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 16 ก.ย. 2556

 

ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 15,494.78 จุด เพิ่มขึ้น 118.72 จุด +0.77%

ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 3,717.85 จุด ลดลง 4.33 จุด -0.12%

 

ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 1,697.60 จุด เพิ่มขึ้น 9.61 จุด +0.57%

 

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,152.22 จุด เพิ่มขึ้น 37.72 จุด +0.92%

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 8,613.00 จุด เพิ่มขึ้น 103.58 จุด +1.22%

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,622.86 จุด เพิ่มขึ้น 39.06 จุด +0.59%

 

ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 4,522.24 จุด เพิ่มขึ้น 146.70 จุด +3.35%

ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันปิดที่ 8,255.34 จุด เพิ่มขึ้น 112.86 จุด +1.35%

ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 2,013.37 จุด เพิ่มขึ้น 19.05 จุด +0.96%

ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,248.00 จุด เพิ่มขึ้น 28.40 จุด +0.54%

ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดที่ 2,231.40 จุด ลดลง 4.82 จุด -0.22%

ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 6,302.71 จุด เพิ่มขึ้น 169.47 จุด +2.76%

ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 23,252.41 จุด เพิ่มขึ้น 337.13 จุด +1.47%

ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 3,179.48 จุด เพิ่มขึ้น 59.18 จุด +1.90%

ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 19,742.47 จุด เพิ่มขึ้น 9.71 จุด +0.05%

 

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (16 ก.ย.) ขานรับข่าวที่ว่านายลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส อดีตรัฐมนตรีคลังสหรัฐ ได้ถอนตัวจากการชิงตำแหน่งประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) คนใหม่ สืบต่อจากนายเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟดคนปัจจุบัน ที่กำลังจะครบวาระในต้นปีหน้า

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 15,494.78 จุด เพิ่มขึ้น 118.72 จุด หรือ +0.77% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,697.60 จุด เพิ่มขึ้น 9.61 จุด หรือ +0.57% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 3,717.85 จุด ลดลง 4.33 จุด หรือ -0.12%

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (16 ก.ย.) ทำสถิติปิดบวกเป็นครั้งแรกในรอบ 5 วันทำการ ขานรับข่าวที่ว่านายลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส อดีตรัฐมนตรีคลังสหรัฐ ได้ถอนตัวจากการชิงตำแหน่งประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) คนใหม่ ซึ่งนายซัมเมอร์สไม่สนับสนุนการใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงิน

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.พุ่งขึ้น 9.2 ดอลลาร์ หรือ 0.70% ปิดที่ 1,317.8 dollars ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 28.9 เซนต์ ปิดที่ 22.009 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค.ร่วงลง 3.30 ดอลลาร์ ปิดที่ 1441.20 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 6.95 ดอลลาร์ ปิดที่ 706.05 ดอลลาร์/ออนซ์

 

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (16 ก.ย.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ซีเรียได้คลี่คลายลง หลังจากรมว.ต่างประเทศสหรัฐและรัสเซียได้บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการทำลาย อาวุธนิวเคลียร์ของซีเรีย

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนต.ค.ร่วงลง 1.62 ดอลลาร์ ปิดที่ 106.59 ดอลลาร์/บาร์เรล

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือพ.ย.ร่วงลง 1.63 ดอลลาร์ ปิดที่ 110.07 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

-- สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (16 ก.ย

) หลังจากนายลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส อดีตรัฐมนตรีคลังสหรัฐ ได้ถอนตัวจากการชิงตำแหน่งประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) คนใหม่

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 99.17 เยน จากระดับของวันศุกร์ที่ 99.28 เยน และอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9276 ฟรังค์ จากระดับ 0.9290 ฟรังค์

ยูโรแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.3333 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3307 ดอลลาร์สหรัฐ เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.5898 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5879 ดอลลาร์สหรัฐ และดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 0.9308 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9251 ดอลลาร์สหรัฐ

 

-- ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเมื่อคืนนี้ (16 ก.ย.) ขานรับข่าวที่ว่านายลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส อดีตรัฐมนตรีคลังสหรัฐ ได้ถอนตัวจากการชิงตำแหน่งประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) คนใหม่ ซึ่งจะเปิดทางให้นางเจเน็ต เยลเลย มีโอกาสที่จะดำรงตำแหน่งประธานเฟด

ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวขึ้น 0.6% ปิดที่ 313.42 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2008

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 8,613.00 จุด เพิ่มขึ้น 103.58 จุด หรือ +1.22% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,152.22 จุด เพิ่มขึ้น 37.72 จุด หรือ +0.92% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,622.86 จุด เพิ่มขึ้น 39.06 จุด หรือ +0.59%

 

-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบมากกว่า 5 สัปดาห์เมื่อคืนนี้ (16 ก.ย.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ซีเรียได้คลี่คลายลง หลังจากรมว.ต่างประเทศสหรัฐและรัสเซียได้บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการทำลาย อาวุธนิวเคลียร์ของซีเรีย

ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ปิดที่ 6,622.86 จุด เพิ่มขึ้น 39.06 จุด หรือ +0.59%

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หุ้น-เงินเอเชียพุ่งแรง หลัง'ซัมเมอร์ส'ประกาศถอนตัวชิงประธานเฟด นักลงทุนคาดประชุม 17-18 ก.ย. เดินหน้าผ่อนคลายนโยบาย ด้าน "กิตติรัตน์" เชื่อเฟดลดคิวอี ส่งผลดีระยะยาว "ศุภวุฒิ" ชี้แนวโน้มค่าเงินอ่อน จากปัญหาดุลบัญชี-เฟดเลิกมาตรการ ขณะที่กสิกรไทยเชื่อพื้นฐานเศรษฐกิจรับมือผลถอนคิวอีได้

 

 

ดอลลาร์ร่วงลง ขณะที่พันธบัตรและหุ้นเอเชียพุ่งขึ้นวานนี้ (16 ก.ย.) หลังจากนายลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐ ประกาศถอนตัวจากการชิงตำแหน่งประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่ามีแนวโน้มที่เฟดจะผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อไป

 

เฟด จะเริ่มประชุมในวันนี้ (17 ก.ย.) โดยใช้เวลาสองวัน ในวันอังคารและพุธนี้ เพื่อพิจารณาว่าจะเริ่มปรับลดวงเงินในโครงการซื้อสินทรัพย์จากอัตรา 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือนเมื่อไรและในวงเงินเท่าไร

 

ข่าวการถอนตัวของนายซัมเมอร์ส ทำให้นักลงทุนหันมาซื้อสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก จากคาดการณ์ว่านโยบายการเงินของเฟดจะเป็นแบบผ่อนคลายต่อไป

 

เช่นเดียวกับตลาดหุ้นยุโรปพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 5 ปีในช่วงเปิดตลาดวานนี้ โดยดัชนี FTSEurofirst 300 ของหุ้นกลุ่มบลูชิพทั่วยุโรป บวก 0.6% มาที่ 1,258.15 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่กลางปี 2551

 

 

นักลงทุนเข้าซื้อหุ้น ยังได้รับปัจจัยหนุนจากการบรรลุข้อตกลงระหว่างสหรัฐและรัสเซียเพื่อทำลายอาวุธเคมีของซีเรีย โดยจะช่วยขจัดความเสี่ยงจากการโจมตีของสหรัฐต่อซีเรีย ประกอบกับปัจจัยเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรปเริ่มกระเตื้องขึ้น ส่งผลให้เป็นปัจจัยบวกต่อบรรยากาศการลงทุนทั่วโลก

 

สกุลเงินของตลาดเกิดใหม่ในเอเชียแข็งค่าขึ้น โดยรูปีพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 1 เดือนวานนี้ (16 ก.ย.) จากข่าวนายซัมเมอร์ส

รูปีพุ่งแตะระดับ 62.45 ต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุด นับตั้งแต่วันที่ 19 ส.ค. แต่รูปีก็อ่อนค่าลงบ้าง ขณะที่ดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่าแตะระดับสูงสุดในรอบ 5 สัปดาห์ จากแรงซื้อคืน ส่วนบาทแข็งค่าขึ้นตามหุ้นและพันธบัตรไทยที่พุ่งขึ้น

 

เปโซ ปิดตลาดที่ 43.61 ต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุด นับตั้งแต่วันที่ 12 ส.ค. จากแรงซื้อของกองทุนต่างประเทศ

 

นักวิเคราะห์กล่าวว่า หาก เฟดปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรลง 1.0 หมื่นล้านดอลลาร์ ตามที่ตลาดคาดไว้ โดยที่ไม่แสดงท่าทีคุมเข้มมากเกินไป ตลาดก็อาจจะพยายามซื้อสินทรัพย์เสี่ยงต่อไป

 

ค่าบาทแข็งค่า ชี้แกว่งตัวรอผลเฟด

 

สำหรับค่าเงินบาทต่อดอลลาร์พุ่งขึ้น ขณะที่ตลาดหุ้นไทยทะยานขึ้นมากกว่าตลาดหุ้นส่วนใหญ่ในภูมิภาค และผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี และ 10 ปีร่วงลง

 

แต่บาทถูกสกัดการแข็งค่า ขณะที่คาดว่ากลุ่มผู้นำเข้าซื้อดอลลาร์เพื่อการชำระเงิน

นักบริหารเงินจากธนาคารพาณิชย์ กล่าวว่า วานนี้ค่าเงินบาทผันผวนขึ้นลง โดยเปิดตลาดที่ระดับ 31.72-31.74 บาทต่อดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นไปถึง 31.65 บาทต่อดอลลาร์ ก่อนที่จะมาปิดตลาดที่ระดับ 31.71-31.73 บาทต่อดอลลาร์

 

"ตลาดคลายกังวลเรื่องยกเลิกคิวอี ทำให้ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง และค่าเงินภูมิภาคแข็งค่าขึ้น โดยในระยะนี้เงินบาทยังมีโอกาสแกว่งตัวได้มาก เพื่อรอผลการประชุมเฟด คาดว่าจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.45-31.80 บาทต่อดอลลาร์"

 

 

'กิตติรัตน์'ลดคิวอีส่งผลดีระยะยาว

 

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวว่าหากมองในแง่มุมระยะยาว ถือว่าเป็นข่าวดี เพราะระบบเศรษฐกิจเอเชียรวมถึงไทยจะได้เข้าสู่ระบบที่ถูกต้อง แต่อาจจะทำให้ตลาดทุนมีความผันผวน ซึ่งเป็นกลไกของการเก็งกำไรระยะสั้น

 

“ตลาดทุนเกิดความผันผวน ก็เป็นกลไกในการเก็งกำไรกัน แต่การลดคิวอี เพราะเศรษฐกิจสหรัฐและตะวันตกเริ่มดีขึ้น ค่าเงินของเราอ่อนลงก็ดี ซึ่งที่จริงแล้ว เงินที่ไหลออกก็เป็นเงินที่ไม่ควรไหลเข้ามาตั้งแต่ต้น”

 

 

‘ศุภวุฒิ’ฟันธงแนวโน้มบาทอ่อนค่า

 

นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ภัทร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โอกาสที่เงินบาทจะกลับมาแข็งค่าเหมือนในอดีตคงมีไม่มาก เพราะช่วงที่ผ่านมาการส่งออกของไทยทำได้ไม่ดีนัก และดุลบัญชีเดินสะพัดเองก็เริ่มเป็นยอดขาดดุล ซึ่งตรงนี้ถือเป็นตัวแปรสำคัญที่จะกำหนดทิศทางค่าเงินบาทในอนาคต

 

 

“ตัวแปรสำคัญในการกำหนดค่าเงินบาท ก็คือ ดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งจะเป็นตัวส่งเสริมในเรื่องการไหลเข้าไหลออกของเงินทุน ซึ่งเท่าที่ดูตัวเลขในปัจจุบันแล้ว แนวโน้มที่เงินบาทจะอ่อนค่ามีมากกว่าที่จะกลับมาแข็งค่า” นายศุภวุฒิ กล่าว

 

 

นอกจากนี้ อีกหนึ่งตัวที่ทำให้เงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าลง คือ การลดมาตรการผ่อนคลายคิวอี ของเฟด ซึ่งแม้ระยะสั้นนักลงทุนอาจมองว่า เฟด ลดขนาดของคิวอีลงเพียง 1 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน แต่แนวโน้มระยะยาวแล้ว ยังไงเฟดก็คงลดขนาดของมาตรการคิวอีลงจนหมดอยู่ดี ซึ่งทำให้สภาพคล่องในระบบการเงินลดลงตามไปด้วย

 

 

“ตอนนี้สถานการณ์โดยรวมดูดีขึ้น เพราะความกังวลเรื่องการลดคิวอี ถือว่าลดลงไปมากตั้งแต่ ลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส อดีต รมว.คลังสหรัฐ ขอถอนตัวจากการลงชิงชัยในตำแหน่งประธานเฟด ทำให้เชื่อกันว่า เจเน็ท เยลเลน รองประธานเฟด ซึ่งเป็นแคนดิเดทอีกหนึ่งคนน่าจะได้รับการเสนอชื่อ นักลงทุนจึงเชื่อกันว่า จะช่วยให้การลดทอนคิวอีลงเป็นไปอย่างราบรื่น” นายศุภวุฒิ กล่าว

 

 

คาดดอกเบี้ยพันธบัตรจ่อปรับขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครสามารถคาดเดาได้ว่า สุดท้ายแล้วเฟดจะลดมาตรการคิวอีลงอย่างไร และเมื่อไร คงต้องรอดูผลการประชุมในวันที่ 17-18 ก.ย. นี้ว่า เฟดจะมีความเห็นต่อเรื่องดังกล่าวอย่างไร ซึ่งหลายคนเชื่อว่ามาตรการดังกล่าวจะจบลงกลางปีหน้า หรือไม่ก็ไตรมาส 3 ของปีหน้า

 

ส่วนทิศทางของอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรระยะยาวของไทยนั้น นายศุภวุฒิเชื่อว่า มีโอกาสที่จะปรับขึ้นแตะระดับ 5% ได้ในปลายปีหน้า จากปัจจุบันที่ปรับขึ้นมาอยู่ในระดับ 4.2% ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นตามทิศทางของผลตอบแทน (ยีลด์) การลงทุนในพันธบัตรระยะยาวของรัฐบาลสหรัฐ

 

“โดยปกติแล้ว ยีลด์ บอนด์ของไทย มักมีสถิติการเคลื่อนไหวที่เป็นไปทิศทางเดียวกับยีลด์บอนด์สหรัฐ อย่างช่วงที่ผ่านมาของเราก็ขึ้นจากระดับ 3.2% มาอยู่ที่ 4.2% ซึ่งทาง เมอร์ริล ลินช์ มีการมองว่า ยีลด์บอนด์ของสหรัฐ มีแนวโน้มว่าจะขึ้นไปแตะที่ 4% ในปลายปีหน้า และโดยปกติแล้วยีลด์บอนด์ของไทย ก็มักจะสูงกว่าของยีลด์บอนด์สหรัฐประมาณ 1% ดังนั้น ก็มีความเป็นไปได้ที่อาจได้เห็นยีลด์บอนด์ที่ 5% ในปลายปีหน้า” นายศุภวุฒิ กล่าว

 

 

กสิกรคาดเฟดทยอยลดคิวอี

 

ด้าน นายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าเฟดจะทยอยลดขนาดคิวอีอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยจะลดวงเงินซื้อสินทรัพย์ต่อเดือนลงไปที่ 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์ จาก 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ และเชื่อว่าเฟดจะยังคงดอกเบี้ยในระดับต่ำที่ 0-0.25% ต่อเนื่องไปอีกสักระยะหนึ่ง และอาจเห็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยเริ่มขึ้นในช่วงปลายปี 2557

 

ทั้งนี้ ตลาดเงินทั่วโลกได้รับข่าวการชะลอมาตรการคิวอีมาระยะหนึ่งแล้ว เห็นได้จากค่าเงินที่อ่อนค่าลงโดยเฉพาะค่าเงินของประเทศที่ยังมีพื้นฐานเศรษฐกิจอ่อนแอ เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และ มาเลเซีย ที่ค่าเงินอ่อนค่าแล้ว 13.2% 13.1% 7.0% และ 6.3% โดยจะต้องจับตาดูว่าที่ประธานธนาคารกลางสหรัฐคนใหม่ที่จะมีผลต่อการคาดการณ์คิวอี

 

ในส่วนค่าเงินบาทตั้งแต่ต้นปีอ่อนค่าลงแล้ว 4.0% ในช่วงที่เหลือของปีคาดว่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.00-32.00 บาทต่อดอลลาร์ โดยจะยังเห็นความผันผวนขึ้นลงได้ประมาณ 6%

 

“ค่าเงินบาทในช่วงนี้เก็งได้ยาก และผันผวนมากขึ้น ปีนี้ทั้งปีจะเห็นความผันผวนประมาณ 6% เทียบกับปีก่อนที่ผันผวนประมาณ 4.4% โดยเมื่อไตรมาส 2 เงินบาทแข็งค่าถึง 28.50 บาทต่อดอลลาร์ และเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาอ่อนค่าไปถึง 32.80 บาทต่อดอลลาร์ ส่วนปี 2557 คาดว่าความผันผวนจะลดลงมาอยู่ที่ 4.5% ซึ่งเป็นระดับปกติ”

 

มั่นใจไทยรับมือเฟดถอนคิวอีได้

 

อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยเชื่อว่าสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจไทยจะมีเพียงพอรองรับการไหลออกของเงินทุนแบบฉับพลันในกรณีที่เลวร้ายที่สุด หากมาตรการคิวอีมีการยกเลิกจริง โดยประเมินจากยอดการถือครองตราสารหนี้ของนักลงทุนต่างชาติที่ ณ เดือนส.ค. 2556 มียอดรวมอยู่ที่ 7 แสนล้านบาท

 

ขณะที่สภาพคล่องส่วนเกินของเงินบาท มีประมาณ 1 ล้านล้านบาท ส่วนสภาพคล่องเงินดอลลาร์สหรัฐ มีอยู่ถึง 9 แสนล้านบาท จึงถือว่าเพียงพอรองรับสถานการณ์ดังกล่าวได้แม้โอกาสเกิดขึ้นจะมีไม่มากนักก็ตาม

นายเชาว์ กล่าวอีกว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังเชื่อว่าจะถึงจุดต่ำสุดแล้ว และยุติภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจแล้ว โดยศูนย์วิจัยคาดว่าครึ่งปีหลังเศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 3-3.8% และได้ปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2556 เหลือ 3.7% โดยมีกรอบคาดการณ์ใหม่ที่ 3.5-4.0% จากเดิมที่คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวที่ระดับ 4.0%

 

ส่วนเศรษฐกิจไทยในปี 2557 คาดว่าจะขยายตัวได้ 4.5% โดยได้แรงหนุนจากการลงทุนที่เพิ่มขึ้นจากโครงการภาครัฐและการส่งออกที่ฟื้นตัวจากเศรษฐกิจโลก

 

 

ไทยพาณิชย์กดจีดีพีปีนี้เหลือ 3.4%

 

ขณะที่ นางสาวสุทธาภา อมรวิวัฒน์ หัวหน้าศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ และผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ปรับลดประมาณการจีดีพีปีนี้ลงมาอยู่ที่ 3.4% ส่วนตัวเลขการส่งออกคาดว่าจะเติบโตได้ 1.5% จากช่วง 7 เดือนแรก การส่งออกเติบโต 0.6%

 

"คาดว่าครึ่งปีหลังจะดีกว่าครึ่งแรก จากการอ่อนตัวของค่าเงินบาท และปริมาณการสั่งซื้อจากต่างประเทศที่ปกติแล้วจะเข้ามาในช่วงไตรมาส 4"

 

นางสาวสุทธาภา กล่าวอีกว่า ต้องจับตาดูเฟดว่าจะลดและยกเลิกมาตรการคิวอีในวันที่ 17-18 ก.ย. นี้หรือไม่ ซึ่งหากผลออกมาว่าปรับลดและกำหนดเวลาที่แน่นอน จะไม่กระทบต่อตลาดเงินและตลาดทุนมากนัก เนื่องจากรับข่าวมาพอสมควรแล้ว แต่หากยังไม่มีความชัดเจนและเลื่อนออกไปอีก จะส่งผลกระทบต่อความผันผวนของค่าเงินบาทอีกครั้ง ทั้งนี้ ประเมินว่าค่าเงินบาทในปีนี้จะเฉลี่ยอยู่ที่ 31 บาทต่อดอลลาร์

 

http://www.suthichaiyoon.com/home/details.php?NewsID=4719

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง

ในวันที่ 17-18 กันยายน ที่จะถึงนี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการประชุมครั้งสำคัญ เนื่องจากเป็นที่คาดหมายกันอย่างกว้างขวางในตลาดเงิน-ตลาดทุนทั่วโลก ว่าในประชุมดังกล่าว เฟดคงจะประกาศการลดจำนวนเงินในการเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงิน หรือการทำ QE ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน โดยการปรับวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์ดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นก้าวสำคัญก้าวแรกของธนาคารกลางสหรัฐ ในการที่จะทยอยปรับสมดุลทางการเงินให้เข้าสู่ระดับปกติ หลังจากที่ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐ ทยอยฟื้นตัวขึ้นตามลำดับ ส่วนทำไมต้องเริ่มทำตอนนี้ เหตุผลหลัก ๆ คือ หากไม่เริ่มทยอยดำเนินการ ต่อไปอาจจะปรับตัวลำบากเมื่อเงินเฟ้อกลับมาเป็นประเด็น เพราะจะถูกเงินเฟ้อกดดันให้ต้องเร่งทำ ซึ่งจะส่งผลให้ตลาดผันผวนมากกว่าตอนนี้มากครับ

 

ทั้งนี้ ผมคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐ คงจะเริ่มต้นการลดวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์ในจำนวนที่ไม่มากนักก่อน เช่น ประมาณ 1.0-1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ พร้อม ๆ กับคงจะย้ำว่า จะยังติดตามตัวเลขเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการจ้างงาน อย่างใกล้ชิดต่อไป โดยคงจะระบุในแถลงการณ์ว่า หากเศรษฐกิจไม่ดีขึ้นอย่างที่ควรจะเป็น ก็พร้อมที่จะกลับมาเพิ่มขนาดการเข้าซื้อสินทรัพย์ฯ รวมถึงดำเนินการต่าง ๆ เพื่อที่จะช่วยให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐ สามารถดำเนินไปได้อย่างตลอดรอดฝั่ง

 

หากเฟดประกาศการปรับลดการเข้าซื้อสินทรัพย์ในจำนวนไม่มากตามที่คาด ผลกระทบต่อตลาดเงิน ตลาดทุน และอัตราแลกเปลี่ยน คงจะมีจำกัด เพราะตลาดต่าง ๆ ได้ทยอยรับรู้การปรับลด QE ของเฟดไปก่อนหน้านี้พอสมควรแล้ว ประกอบกับสถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลางก็ดูผ่อนคลายลงเช่นกัน โดยล่าสุด คงจะไม่มีการใช้กำลังทหารโจมตีซีเรียอย่างที่เคยกังวล ซึ่งสถานการณ์ที่ผ่อนคลายลงดังกล่าว ได้ส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับลดลง ขณะที่เงินดอลลาร์สหรัฐ ก็พลอยลดความน่าสนใจ ในฐานะสกุลเงินที่ปลอดภัยในยามที่เกิดวิกฤติไปด้วย

 

นอกจากนี้ ความกังวลที่นักลงทุนเคยมีต่อค่าเงินรูปีของอินเดีย จากปัญหาการขาดดุลต่าง ๆ ก็ผ่อนคลายลงไปพอสมควร จากการดำเนินการของทางการอินเดีย และความเชื่อมั่นในตัวผู้ว่าการธนาคารกลางคนใหม่ ประกอบกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ดูดีขึ้น ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินรูปี ฟื้นตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในช่วงปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายนที่ผ่าน มา ส่วนเงินรูเปียของอินโดนีเซียนั้น แม้ว่าจะฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดมาบ้าง แต่ก็ไม่เด่นชัดเท่ากับเงินรูปีของอินเดีย ทั้งนี้เนื่องมาจากประเด็นเงินเฟ้อ ที่ยังคงสูงอยู่เมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทำให้ยังคงส่งผลกดดันต่อค่าเงินของอินโดนีเซีย

 

โดยรวมแล้ว ทั้งหมดนี้น่าจะถือได้ว่าเป็นข่าวดีครับ ซึ่งเมื่อประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดของจีนและญี่ปุ่น ที่ออกมาค่อนข้างดีเช่นกัน ก็ยิ่งทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลก รวมถึงในบ้านเรา ปรับตัวขึ้นขานรับต่อข่าวดังกล่าว แต่สำหรับเศรษฐกิจไทยนั้น เรายังคงต้องติดตามตัวเลขส่งออกเดือนสิงหาคม ที่จะประกาศในช่วงปลายเดือนนี้ โดยหากยังคงออกมาต่ำกว่าคาดเหมือนในเดือนก่อน ๆ แล้ว ตัวเลขเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และประมาณการต่าง ๆ ที่ตั้งกันไว้ ก็อาจจะต้องปรับลดกันอีกรอบ ซึ่งย่อมจะเป็นโจทย์ที่ท้าทายการดำเนินการของทางการไทย แต่อย่างน้อยในรอบนี้ ความกังวลเรื่องเงินทุนไหลออก ดูเหมือนจะบรรเทาลงไปตามสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เริ่มดูดีขึ้นมาบ้างครับ ...

 

ที่มา: เดลินิวส์(วันที่ 17 กย.56)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ราคาทองคำได้ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจนทำจุดสูงสุดที่ 1,920 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่ต่อมา การปรับตัวลงอย่างรวดเร็วก็เกิดขึ้น โดยประเด็นที่เป็นปัจจัยหลักในการเคลื่อนไหวของราคาทองคำคงหนีไม่พ้น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) ทำให้ปัจจัยอื่นๆ นั้นได้รับความสนใจค่อนข้างน้อย อย่างเช่น ราคาน้ำมัน ซึ่งโดยปกติมักจะเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกันกับทองคำ

 

ในปีที่แล้ว ราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก จากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างชาติตะวันตก กับประเทศอิหร่าน จนมีการขู่ว่าจะปิดช่องแคบฮอร์มุส ทำให้ราคาน้ำมันในตลาดูไบสูงเกือบแตะระดับ 125 เหรียญต่อบาร์เรล และในช่วงต้นปีนี้ ราคาน้ำมันในตลาดูไบ ได้ปรับตัวอ่อนลง จนสิ้นในไตรมาส 2 ราคาได้แตะระดับประมาณ 97-98 เหรียญต่อบาร์เรล

 

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ความขัดแย้งในประเทศของอิยิปต์ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ได้ผลักดันราคาน้ำมันขึ้นมา และในช่วงปลายเดือนสิงหาคม ก็มีสถานการณ์อาวุธเคมีในซีเรีย ซึ่งได้ส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดูไบแตะระดับเหนือ 113 เหรียญต่อบาร์เรล และส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวเพิ่มขึ้นด้วย (ในปัจจุบันราคาน้ำมันในตลาดูไบได้ปรับตัวลดลงอยู่ที่ประมาณ 109 เหรียญต่อบาร์เรล จากการที่สถานการณ์เริ่มกลับสู่ปกติ)

 

โดยความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนไหวระหว่างราคาทองคำกับราคาน้ำมันนั้นในช่วงตั้งแต่ต้นปีนั้นอยู่ที่ระดับ 0.56 (ยิ่งค่าเข้าใกล้ 1 มากยิ่งมีความสัมพันธ์กันสูง) ซึ่งดูเหมือนไม่เยอะมากนัก แต่หากนับตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม ถึงปัจจุบันพบว่า ความสัมพันธ์ดังกล่าวเริ่มเพิ่มมากขึ้นมาอยู่ที่ 0.89 นั่นเป็นการบอกว่า ในปัจจุบันราคาน้ำมันมีความสัมพันธ์ต่อราคาทองคำค่อนข้างมาก

 

สำหรับสถานการณ์ล่าสุดในซีเรียนั้น ทางรัสเซีย ได้มีการเสนอแผนให้ทางซีเรียมอบอาวุธเคมีให้สหประชาชาติ และทำลายอาวุธลง เพื่อป้องกันแผนการโจมตีของทางสหรัฐฯ และซีเรียเองก็ตอบรับแผนดังกล่าวเป็นอย่างดี ส่งผลให้ราคาน้ำมันเริ่มชะลอการปรับตัวขึ้นไปได้บ้าง ขณะที่ผลการประชุมระหว่างรัฐเซีย และสหรัฐฯ นั้น มีสาระสำคัญว่า ประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด แห่งซีเรีย มีเวลา 1 สัปดาห์ในการเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับอาวุธเคมีที่รัฐบาลมีอยู่ และจะมีการส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าไปตรวจสอบในพื้นที่ได้ไม่ช้าไปกว่าเดือนพ.ย. โดยมีเป้าหมายคือ การกำหนดแนวทางกำจัดอาวุธเคมีให้ได้ครึ่งหนึ่งภายในปีหน้า

 

ดังนั้น สิ่งที่จำเป็นต้องติดตามก็คือ ซีเรีย จะสามารถทำตามมติดังกล่าวได้หรือไม่ ซึ่งถ้าไม่ได้ก็มีความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯ จะดำเนินมาตรการขั้นเด็ดขาดคือ การเข้าโจมตีซีเรีย ซึ่งหากเกิดขึ้นจริง ราคาน้ำมันในตลาดโลกจะทะยานขึ้นอีกครั้ง และนั่นก็จะส่งผลให้ราคาทองคำถีบตัวขึ้นได้อีกรอบเช่นเดียวกัน

 

ที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์ (วันที่ 17 กันยายน 2556)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...