ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

กรีซแข่งเส้นตาย เร่งร่างแผนปฏิรูป แลกยืดหนี้ 4 เดือน (23/02/2558)

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

รัฐบาลกรีซกำลังทำงานแข่งกับเวลา เร่งร่างแผนปฏิรูปเสนอเจ้าหนี้วันจันทร์ เพื่อลงมติรับรองในวันอังคารว่าต่ออายุเงินกู้กรีซอีก 4 เดือนหรือไม่ นายกฯ ยอมรับงานยากรออยู่

แผนปฏิรูปนี้เป็นผลจากการต่อรองกับเจ้าหนี้เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้รัฐบาลของนายกฯ อเล็กซิส ซีปรัสถูกฝ่ายค้านตำหนิว่ายอมจำนนต่อแรงกดดันของสหภาพยุโรปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ทั้งที่เคยให้คำมั่นไว้ก่อนชนะเลือกตั้งเมื่อเดือนที่แล้วว่าจะยืนกรานไม่ยอมรับมาตรการลดค่าใช้จ่ายตามข้อตกลงกู้หนี้ 2.4 แสนล้านยูโรเพื่อโอบอุ้มฐานะทางการเงินของกรีซตามที่เจ้าหนี้ 3 ฝ่ายอันรวมถึงธนาคารกลางยุโรปด้วย กำหนดไว้

ซีปรัสยอมรับเมื่อวันเสาร์ว่า กรีซแค่ชนะศึก แต่ยังไม่ชนะสงคราม หลังจากรัฐบาลเขาสามารถเกลี้ยกล่อมให้เจ้าหนี้ยอมยืดเวลาให้กรีซร่างแผนปฏิรูประยะสั้นไปเสนอภายในวันจันทร์นี้ เขาอ้างด้วยว่าการเจรจาเมื่อวันศุกร์กรีซบรรลุผลลัพธ์สำคัญที่ล้มเลิกการรัดเข็มขัด แต่ก็ยังมี "งานยากอย่างแท้จริง" รออยู่ ขณะนี้ตัวเขาและรัฐบาลจะเน้นการเจรจาต่อรองร่างแผนปฏิรูปฉบับใหม่กับเจ้าหนี้ภายในเดือนมิถุนายน

ในการแถลงผ่านโทรทัศน์ ซีปรัสกล่าวว่า รัฐบาลสกัดกั้นแผนของพลังอนุรักษนิยมในกรีซและในต่างแดนที่ต้องการให้ประเทศนี้ล้มละลาย ไม่มีเงินชำระหนี้หลังพ้นสิ้นเดือน ก.พ.นี้ ซึ่งครบกำหนดเดิมของโครงการเงินกู้ ที่หลายฝ่ายหวั่นเกรงว่าจะทำให้กรีซต้องออกจากกลุ่มยูโร

ด้านยานิส วารูฟาคิส รัฐมนตรีคลัง กล่าวว่า เขาจะเร่งมือทั้งวันทั้งคืนร่างรายการปฏิรูป เพื่อให้ทันเส้นตายวันจันทร์

วันอังคาร เจ้าหนี้ของกรีซจะประชุมกันเพื่อตัดสินใจว่าจะเดินหน้าขยายเงินกู้ต่อไปอีก 4 เดือนตามที่ตกลงไว้เมื่อวันศุกร์ หรือจะปฏิเสธแผนที่กรีซเสนอ โดยวารูฟาคิสยอมรับว่า หากรายการปฏิรูปไม่ได้รับความเห็นชอบ ข้อตกลงนี้ก็ถึงกาลอวสาน

รัฐบาลกรีซคุยว่าสามารถชักจูงเจ้าหนี้ให้ล้มเลิกการวางเงื่อนไขด้านงบประมาณที่ไม่สามารถเกิดขึ้นจริงได้ รวมถึงคำขู่ให้ตัดเงินบำเหน็จบำนาญและขึ้นภาษี โดยแลกกับคำมั่นสัญญาจากกรีซว่าจะไม่ใช้มาตรการเองฝ่ายเดียวโดยไม่ผ่านการปรึกษาเจ้าหนี้ ซึ่งอาจกระทบต่อเป้าหมายของการควบคุมงบประมาณได้ และยังต้องยกเลิกแผนจะใช้เงิน 1.1 หมื่นล้านยูโรที่ยังเหลือในโครงการเงินกู้จากธนาคารยุโรป มาสนับสนุนกองทุนพลิกฟื้นเศรษฐกิจ

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพตส์ (วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จีที เวลธ์ฯมองหลังบรรลุข้อตกลงกรีซลดความน่าสนใจลงทุนของทองคำ (23/02/2558)

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

สรุปภาวะ Gold Futures By GT Wealth Management 23 ก.พ. 58 (ภาคเช้า)

ราคาทองคำร่วงลงมาปิดที่US$ 1,201.91 ต่อออนซ์ (Gold Spot) ลดลง US$ 5.14 เข้าใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 7 สัปดาห์ ราคาทองคำได้รับแรงกดดันจากการบรรลุข้อตกลงระหว่างกรีซและเจ้าหนี้ในการขยาย โครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กรีซไปเป็นระยะเวลา 4 เดือนเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยวันนี้กรีซจะเข้ายื่นแผนปฏิรูปเศรษฐกิจให้ทาง ECB พิจารณาส่งผลให้นักลงทุนไม่มีความจำเป็นต้องถือสินทรัพย์ปลอดภัยเช่นทองคำ ต่อ ประกอบกับดัชนี PMI ภาคการผลิตสหรัฐฯ เดือนก.พ. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 54.3 มากกว่าที่คาดไว้ที่ 54.0 บ่งบอกถึงการขยายตัวต่อเนื่องวันอังคารนี้ติดตามถ้อยแถลงการณ์จากประธานเฟด ด้วยเรื่องเศรษฐกิจและแนวโน้มดอกเบี้ย และ GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 57 ในปลายสัปดาห์ ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาอยู่บริเวณ 32.50 บาทต่อดอลลาร์ SPDR ถือครองทองคำที่ 771.25 ตัน เพิ่มขึ้น 1.79 ตัน

 

ราคาทองคำโลกเช้านี้ (Gold Spot) เคลื่อนไหวบริเวณ US$1,200 โกลด์ฟิวเจอร์สัญญาสิ้นสุดอายุเดือนกุมภาพันธ์ 2558 (GFG15) ราคาเปิดใกล้ระดับ 18,660 บาท ส่วนราคาทองคำที่ประกาศโดยสมาคมค้าทองคำวันนี้ ราคาเสนอซื้อ 18,500 บาท ราคาเสนอขาย 18,600 บาท

 

 

แนวโน้มทองคำ นายกมลธัญ พรไพศาลวิจิต ผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์ บริษัท จีที เวลธ์ แมเนจเมนท์ จำกัดและผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ กล่าวว่า หลังการบรรลุข้อตกลงของกรีซและบรรดาเจ้าหนี้ทำให้ลดความน่าสนใจของทองคำใน ระยะสั้น ในทางเทคนิคแนวรับสำคัญ US$1,195 แนวต้าน US$1,220

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฝรั่งเดาทองสำหรับอาทิตย์นี้ ให้ตัวเลขขาเสี่ยงมา ดังนี้

 

SHORT GOLD below 1199 SL 1202 TP 1192-1180-1168-1156

LONG GOLD above 1218 SL 1215 TP 1226-1232-1242-1251

 

ทุกๆ จุดมีความเป็นไปได้ที่จะมาถึง ทยอยเข้าตามแนวรับ ทยอยขายตามแนวต้าน / ขาซื้อทองแท่งตัวเป็นๆ หนักๆ ยังค้องนิ่งไว้ก่อน เพราะเส้นดำเส้นแดงที่ปรากฎบนเช้าวันเสาร์ จะสถานะด้านลบ ด้านย่อ และถ้าราคาต่ำกว่า 1199 จงระวังอย่างมาก จะไหลร่วง มาไวไปไว ผันผวนน่าดูอีกแล้วในอาทิตย์นี้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณป๋าค่ะ เฮงๆรวยๆ นะคะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีเช้าวันอังคาร จากตัวเลขขาเสี่ยง จุดวนเวียนงงงวยไม่รู้จะเลือกทางไหนดี 1199-1218 กรอบล่างกรอบบน วิ่งหลอกล่อ ชาวไร่ กับ ชาวสวน

 

รหัส 5,35,9 สัญญานนำทางราคาทอง ก็ยังไม่ยอมให้เข้าซื้อทองแท่งตัวเป็นๆ หนักๆ ถือกลับบ้านสักกะที เส้นดำเส้นแดงยังถ่างห่างออกจากกัน ได้แต่ขัดช้อนรอคอยกันต่อไป

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 5,35,9 ของค่าเงินดอลล์ ยังอยู่ในสถานะอ่อนค่า เส้นดำเส้นแดงยังไม่ตัดกัน ย่อมทำให้ค่าบาทแข็งค่าได้เสมอ พึงระวัง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับ คุณป๋า

 

เมื่อวานติดภารกิจ ไม่ได้เฝ้าหน้าจอ

 

อดทั้ง ขาขึ้น ขาล่อง ^^

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รายงานยุโรปบ่าย 2 และ 5 โมงเย็น สร้างความผันผวนให้ราคาทองได้ ขึ้นกับความวิตกกังวลเรื่องกรีซ ที่ไม่น่าจะจบลงง่ายๆ แบบที่เขาว่า ผ่อนแล้ว 4 เดือน จบป่ะ แต่อาจจะมีการเตรียมพร้อมอะไรหรือเปล่าที่จะตัดสิ่งที่เป็นภาระของกลุ่มออกไป ไม่ให้พังทั้งหมด

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาคกลางคืน ตลาดสหรัฐฯ ฝรั่งน่าจะชอบรอคอยขี้ปากนางเยลเลน ตอน 4 ทุ่ม เรื่องดอกเบี้ย ทั้งปี

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จับตารัฐมนตรีคลังยูโรโซนหารือแผนปฏิรูปเศรษฐกิจกรีซวันนี้ (24/02/2558)

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

นายมาร์ติน แจเกอร์ โฆษกกระทรวงการคลังเยอรมัน กล่าวว่า รัฐมนตรีคลังยูโรโซนจะหารือกันในการประชุมกันทางโทรศัพท์ในวันนี้ (24 ก.พ.) เกี่ยวกับมาตรการปฏิรูปที่รัฐบาลกรีซได้ยื่นเสนอเมื่อวานนี้

 

"ธนาคารกลางยุโรป, คณะกรรมาธิการยุโรป และกองทุนการเงินระหว่างประเทศจะพิจารณาในวันอังคารนี้ และจะแสดงความเห็น ก่อนที่รัฐมนตรีคลังยูโรกรุ๊ปจะทำการหารือกัน" เขากล่าว

 

นายเจอโรน ดิจเซลโบลม ประธานยูโรกรุ๊ปกล่าวในการแถลงข่าวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า รัฐมนตรีคลังของกลุ่มประเทศยูโรโซนได้พิจารณาอนุมัติข้อเสนอของกรีซให้ขยายระยะเวลาในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินออกไปอีก 4 เดือน

 

นายดิจเซลโบลมกล่าวเสริมว่า กรีซควรจะเสนอมาตรการปฏิรูปที่ต้องดำเนินการต่อยูโรกรุ๊ปในวันจันทร์นี้

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดอลลาร์สหรัฐฯยังคงแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่นๆในช่วงสัปดาห์ ที่ผ่านมาท่ามกลางความคาดหมายของนักลงทุนว่าธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปีนี้แม้ว่าอาจจะไม่ใช่ระยะเร็วๆนี้ก็ตาม ความคาดหมายดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่มีการเปิดเผยรายงานสรุปผลการประชุม คณะกรรมการด้านนโยบายของเฟดครั้งล่าสุด ที่มีขึ้นเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา

 

ขณะที่เงินยูโรยังคงถูกกดดันด้วยปัญหาทางการคลังของกรีซและการเจรจาระหว่าง รัฐบาลกรีซกับเจ้าหนี้ในเรื่องการขยายความช่วยเหลือทางการเงิน ดอลลาร์สหรัฐฯก็ขยับค่าสูงขึ้นเป็นลำดับ นักวิเคราะห์กล่าวว่าการขยับค่าดอลลาร์ในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาส่วนหนึ่ง เกิดจากการตีความรายงานสรุปผลการประชุมของเฟดที่ทำให้นักลงทุนเชื่อว่า น่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยระยะสั้น ซึ่งจะเป็นการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกของเฟดนับตั้งแต่ปี 2549 "เฟดเห็นตัวเลขทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งขึ้นในบางด้าน เช่น รายงานเกี่ยวกับค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้น ซึ่งนั่นน่าจะทำให้เฟดยังคงอยู่ในทิศทางที่จะขึ้นดอกเบี้ยภายในปีนี้" อิมเร สไปเซอร์ นักวางกลยุทธ์จากเวสต์แพค แบงกิ้ง คอร์ป. ให้ความเห็น

 

อัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐฯอยู่ที่ 1.1360 ดอลลาร์ฯต่อยูโร หลังจากที่ขยับขึ้น 0.3% ไปอยู่ที่ 1.1368 ดอลลาร์ฯต่อยูโรในช่วงปลายสัปดาห์ ยังคงเป็นที่คาดเดากันว่าคณะกรรมการด้านนโยบายของเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยเมื่อ ไหร่ แต่ส่วนหนึ่งก็มั่นใจว่าการขึ้นดอกเบี้ยจะเกิดขึ้นภายในช่วงปลายปี

รายงานการประชุมของเฟดเดือนมกราคมสะท้อนให้เห็นความห่วงใยเกี่ยวกับอัตรา เงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลง นอกจากนี้รายงานยังระบุถึงความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่เฟดที่กังวลว่า การขยับขึ้นค่าแรงที่แม้จะปรับสูงขึ้นแต่ยังไม่เร็วมากนักอาจจะทำให้การทำ เป้าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯให้ขยับถึง 2% ต่อปีอาจจะต้องใช้เวลามากขึ้น อย่างไรก็ตาม มีเจ้าหน้าที่ของเฟดบางส่วนที่ให้ความเห็นในรายงานการประชุมว่า การรอเวลาที่จะขึ้นดอกเบี้ยนานเกินไปอาจทำให้สหรัฐฯต้องเผชิญเงินเฟ้อที่สูง กว่าคาดหมายก็เป็นได้ นางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟดได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า ภาษาที่ใช้ในรายงานการประชุมเดือนมกราคมหมายความว่า จะยังไม่มีการขึ้นดอกเบี้ยในอีกสองการประชุมเป็นอย่างน้อย หรือจนกว่าจะถึงการประชุมในเดือนมิถุนายนซึ่งนั่นเป็นอย่างเร็วที่สุด

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้หลักของสหรัฐฯอยู่ในช่วงระหว่าง 0-0.25% มาตั้งแต่ปี 2551 ก่อนหน้านี้มีความคาดหมายกันว่า การประกาศขึ้นดอกเบี้ยจะมีขึ้นในการประชุมคณะกรรมการด้านนโยบายของเฟดใน เดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ แต่ความคาดหมายดังกล่าวก็ลดลงมาเรื่อยๆ จากการรวบรวมข้อมูลของบลูมเบิร์กพบว่า ในเดือนธันวาคม 2557 ความคาดหวังที่ว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนปีนี้มีมากถึง 78 % แต่ก็ค่อยๆลดลงมาเป็นลำดับ โดยการสำรวจเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันที่ผ่านมา ความคาดหวังดังกล่าวลดลงมาอยู่ที่ 25 % และถัดมาไม่กี่วัน (18 ก.พ.) ก็เหลือเพียง 19%

"ถึงแม้ว่าตอนแรกจะมีความคาดหวังกันมาก แต่ต่อมานักลงทุนส่วนหนึ่งก็ชะลอท่าที การขึ้นดอกเบี้ยอาจจะไม่ฉับพลันทันที แต่ก็ยังเป็นไปได้ว่ามันจะเกิดขึ้นในปี 2558 นี้" เป็นทัศนะของนีล โจนส์ หัวหน้าฝ่ายเฮดจ์ฟันด์ของธนาคารมิสุโฮ แบงก์ ในลอนดอน

พอล เอเดนสไตน์ นักเศรษฐศาสตร์จากไอเอชเอส โกลบอล อินไซต์ ให้ความเห็นว่า มีความเป็นไปได้มากขึ้นว่า เฟดจะรอเวลาที่จะขึ้นดอกเบี้ยต่อไปอีกระยะหนึ่ง เพราะเมื่อชั่งน้ำหนักดูแล้วโดยพิจารณาดูจากเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% จากที่เดิมคาดว่าจะมีการปรับดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนก็มีแนวโน้มสูงว่าน่าจะ ต้องรอไปนานกว่านั้น

การแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ เกิดขึ้นท่ามกลางบางดัชนีที่ชี้ว่าเศรษฐกิจเริ่มแข็งแรงขึ้นแล้ว อาทิ จำนวนผู้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตกงานที่ลดลง 2.1 หมื่นคน สู่ระดับ 2.83 แสนคนในรอบ 7 วัน (สิ้นสุด ณ 14 ก.พ. 2558) จากเดิมที่มีจำนวนถึง 3.04 แสนคน (รอบ 7 วันก่อนหน้า) สถิติดังกล่าวเปิดเผยโดยกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ ขณะเดียวกันตัวเลขการจ่ายค่าจ้างแรงงานก็เพิ่มสูงขึ้นเหนือความคาดหมายเช่น กัน สัญญาณที่ดีดังกล่าวทำให้นักลงทุนมีความมั่นใจในการถือครองเงินดอลลาร์และ พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯมากขึ้นด้วย ขณะเดียวกับที่เงินยูโรก็อ่อนค่าลงมากเช่นกันเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก อื่นๆ

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 22 - 25 กุมถาพันธ์ พ.ศ. 2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สถานการณ์เศรษฐกิจและวิกฤติหนี้ท่วมของประเทศกรีซที่เผชิญปัญหาเรื้อรังมา ตั้งแต่ปี 2552 แม้ว่าจะได้รับการช่วยเหลือจากกลุ่มประเทศสมาชิกและเจ้าหนี้ในการยืดหนี้ แต่ดูเหมือนว่าปัญหานี้จะยังไม่จบสิ้น ล่าสุดกลายมาเป็นประเด็นอีกครั้ง

เมื่อพรรคไซรีซาภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี อเล็กซิส ซีปราส ได้รับชัยชนะการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2558 โดยมีนโยบายต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัด ซึ่งเป็นมาตรการและเงื่อนไขหลักในการขอความช่วยเหลือจากทรอยก้า (Troika) หรือคณะกรรมการร่วมผู้ตรวจสอบวินัยการคลังของยุโรป (ประกอบด้วย คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)) ที่ต้องการให้กรีซลดงบประมาณรายจ่าย ฟื้นฟูสถานะด้านการคลัง ในขณะที่ที่ประชุมระหว่างรัฐมนตรีคลังของกรีซและยูโรโซนก็ยังไม่สามารถบรรลุ ข้อตกลงเกี่ยวกับหนี้สินของกรีซได้ ต่อประเด็นดังกล่าว "ฐานเศรษฐกิจ" ได้รวบรวมสอบถามนักเศรษฐศาสตร์ ถึงมุมมองสถานการณ์กรีซและผลกระทบ ดังนี้

 

*ดัชนีสะท้อนเสถียรภาพศก.-ค่าเงินเลยจุดต่ำสุด

อุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ไทย จำกัด(มหาชน) (บมจ.) กล่าวว่า มุมมองของธนาคารมองว่าโอกาสที่ประเทศกรีซจะคงอยู่ในกลุ่มยูโรโซนมีค่อนข้าง สูง และในท้ายที่สุดเชื่อว่าจะมีการเจรจารอมชอมกันระหว่าง 2 ฝ่าย ดังนั้นเรื่องของความกลัวเรื่องหนี้ของกรีซที่มีอยู่จะไม่เกิดขึ้น ดังดัชนีชี้วัดสำคัญๆที่สะท้อนถึงการลุกลามของปัญหาไปสู่วิกฤติยังไม่น่า ห่วง

คือ 1.ดัชนีชี้วัดส่วนต่างของผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond Yield) ของประเทศเยอรมนีเทียบกับประเทศอื่นๆ ในกลุ่มยูโรโซน หากส่วนต่างยิ่งสูงก็จะยิ่งสะท้อนถึงความเสี่ยงที่สูงขึ้น เนื่องจากในช่วงที่เกิดวิกฤติรอบแรกปี 2552-2553 จะเห็นว่าส่วนต่างพันธบัตรของประเทศอิตาลี สเปน เมื่อเทียบกับเยอรมนีมีอัตราที่พุ่งสูงขึ้นตามการขึ้นของกรีซ แต่ย้อนดูข้อมูลขณะนี้ ส่วนต่างผลตอบแทนพันธบัตรยังอยู่ในระดับทรงตัว กรอบการเคลื่อนไหวยังแคบ แม้ว่าจะมีประเด็นปัญหาการยืดหนี้ก็ตาม โดยเทียบผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะ 10 ปี เช่น อิตาลีเทียบเยอรมนีในช่วงที่เกิดวิกฤติอยู่ที่ 5.2% ปัจจุบันอยู่ที่ 1.2% โปรตุเกส 10.9% ปัจจุบัน 1.9% สเปน 3.8% ปัจจุบัน 1.9% และกรีซ ช่วงวิกฤติพุ่งสูงถึงระดับ 29.9% ปัจจุบันอยู่ที่ 8.8%

ตัวเลขดัชนีดังกล่าวนี้สะท้อนว่าสถานการณ์ของยูโรโซนมีเสถียรภาพมากขึ้น จะมีก็เพียงประเด็นที่หลายฝ่ายกังวลว่าภาวะเศรษฐกิจกรีซที่ถดถอยจะสามารถ ฟื้นตัวได้เมื่อไร ส่วนปัญหาการลุกลามของวิกฤติหนี้ที่เกิดจากกรีซคงไม่มีประเด็นหรือส่งผล กระทบ เพราะยูโรโซนสามารถหาจุดต่ำสุดของปัญหาได้แล้ว

ดัชนีชี้วัดที่ 2.ค่าเงินยูโร ที่ผ่านมาค่าเงินเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น แม้ว่าจะมีการอ่อนค่าอย่างหนักและรุนแรงต่อเนื่องมายาวนานกว่า 4 ปี แต่คาดภายในครึ่งหลังของปีนี้จะเริ่มเห็นค่าเงินยูโรถึงจุดต่ำสุดและกลับมา แข็งค่าขึ้นตามลำดับ ซึ่งเป็นผลจากเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ศาลยุติธรรมยุโรปตีความเชิงกฎหมายให้ ECBสามารถเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลของประเทศสมาชิกได้ จากก่อนหน้าที่ ECB ไม่สามารถทำได้ แม้จะใช้เงินสกุลเดียวกัน โดยอำนาจนโยบายการคลังจะขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ คำตัดสินดังกล่าวทำให้ ECB สามารถประกาศดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ที่ถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหา เนื่องจากการเข้าซื้อพันธบัตรโดยตรงของประเทศต่างๆ เท่ากับช่วยลดความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระในประเทศสมาชิก และยังมีผลนัยสำคัญต่อค่าเงินยูโรที่อ่อนค่ากลับมาแข็งค่า

ดังนั้น การทำ QE ของ ECB จะเป็นกุญแจตัวสำคัญ เป็นแรงจูงใจที่จะทำให้กรีซยังอยู่ในกลุ่มสภาพยุโรปต่อไป โดยที่จะเห็นกรีซพยายามเจรจาเพื่อขอผ่อนผันเงื่อนไขมาตรการรัดเข็มขัดบางข้อ ของทรอยก้าและไอเอ็มเอฟ ซึ่งท้ายที่สุดจะนำไปสู่การรอมชอมของทั้ง 2 ฝ่ายได้

 

*กรีซไม่มีทางเลือกต้องรัดเข็มขัดต่อ

เชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด (บจก.) กล่าวว่าสถานการณ์ปัจจุบัน มองว่ากรีซคงไม่มีทางเลือกมากนัก เพราะหากตัดสินใจออกจากการเป็นสมาชิกยูโรโซน จะยิ่งทำให้สถานการณ์กรีซย่ำแย่มากยิ่งขึ้น เนื่องจากจะต้องกลับมาใช้เงินสกุลของตัวเอง โดยการพิมพ์ธนบัตรใหม่ แต่เป็นการพิมพ์ธนบัตรที่ไม่มีความน่าเชื่อถือและไม่มีคนยอมรับ เพราะไม่มีสินทรัพย์หรือหลักทรัพย์ที่จะมาหนุนหลังการพิมพ์ธนบัตร จะทำให้ค่าเงินยิ่งดิ่งลงอย่างมาก ซึ่งจะยิ่งนำไปสู่ความไม่น่าเชื่อถือของประชาชนที่จะแห่กันถอนเงินยูโรจาก สถาบันการเงินนำมาเก็บไว้ ส่งผลต่อเนื่องไปยังระบบสถาบันการเงินที่ไม่สามารถเดินต่อไปได้ และท้ายที่สุดแรงกดดันก็ไม่พ้นกลับสู่รัฐบาลว่าจะแก้ไขอย่างไร

 

ส่วนผลกระทบยูโรโซนกรณีกรีซออกจากยูโรโซน ในเบื้องต้นค่าเงินยูโรอาจจะอ่อนค่าลงเล็กน้อยเพราะเกิดจากความกังวลว่า ปัญหาจะลุกลามหรือไม่ แต่ในท้ายที่สุดค่าเงินจะกลับมาแข็งค่าในท้ายที่สุด เพราะถ้าเทียบมูลหนี้ของกรีซที่มีอยู่กว่า 3 แสนล้านยูโร กับขนาดเศรษฐกิจของกลุ่มยูโรโซนที่มีกว่า 10 ล้านล้านยูโร คิดเป็น 2% ของจีดีพีของยูโรโซนถือว่าน้อยมาก

"ความเป็นจริงกรีซไม่มีอำนาจที่จะต่อรองใดๆ และเชื่อว่าประเทศสมาชิกยังคงยืนกระต่ายขาเดียวที่จะให้กรีซปฏิรูปตัวเอง และใช้มาตรการรัดเข็มขัด เพราะถ้าหากปล่อยกรีซจะยิ่งทำให้เสียวินัยการเงินและปัญหาจะยิ่งลาวยาว ในที่สุดกรีซจะต้องยอม เพราะถ้าออกไปเท่ากับฆ่าตัวตาย"

 

*ซีไอเอ็มบี ไทย แนะปิดความเสี่ยงค่าเงิน

อมรเทพ จาวะลา ผู้อำนวยการสำนักวิจัย บมจ.ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่าในช่วงที่สถานการณ์กรีซยังมีความไม่แน่นอน จะเห็นค่าเงินยูโรอ่อนค่ารุนแรง และแรงเทขายสินทรัพย์เสี่ยง เนื่องจากนักลงทุนมองว่าปัญหาดังกล่าวจะลากยาว หากกรีซไม่รับข้อเสนอ ซึ่งจะส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าได้เล็กน้อย แม้ว่าขณะนี้ค่าเงินบาทจะแข็งค่าอยู่ก็ตาม ทำให้ผู้ประกอบการที่ค้าขายและกู้เงินเป็นสกุลเงินยูโรจะต้องเร่งบริหาร จัดการความเสี่ยงให้ดี เช่น ผู้ประกอบการที่ก่อนหน้านำเข้าสินค้าจากยุโรปในช่วงที่ค่าเงินยูโรถูกนั้น อาจจะต้องมีการปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เพราะในอนาคตจะเห็นค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้น ซึ่งจะเริ่มเห็นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ส่งผลให้ผู้ประกอบการจะต้องใช้เงินบาทในการซื้อขายที่เพิ่มขึ้น

 

"ตอนนี้จึงเป็นช่วงจังหวะที่ผู้ประกอบการที่มีต้นทุนหรือกู้เงินยูโรในการ ดำเนินธุรกิจควรปิดความเสี่ยง ส่วนผลต่อภาคการส่งออก ประเมินว่าไทยยังคงได้รับอานิสงส์อยู่ เนื่องจากกลุ่มประเทศยูโรโซน ไม่รวมกรีซ มีลักษณะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพมากขึ้น โดยจะเห็นการเติบโตจีดีพีที่เป็นบวกประมาณ 1.3% จะเป็นผลดีต่อคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น และยังได้รับอานิสงส์ทางอ้อมจากการนำเข้าสินค้าไทยไปยังจีน เพื่อส่งออกไปยังกลุ่มยูโรอีกด้วย "

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 22 - 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (23 ก.พ.) เพราะได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์และราคาน้ำมันดิบที่ ร่วงลง ขณะที่นักลงทุนระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่นางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะแถลงนโยบายการเงินต่อสภาคองเกรส

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.ร่วงลง 4.1 ดอลลาร์ หรือ 0.34% ปิดที่ระดับ 1,200.80 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.ลดลง 1.9 เซนต์ ปิดที่ 16.254 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.ร่วงลง 6.6 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,162.90 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาทองคำได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ โดยโดยดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ ในตะกร้าเงินนั้น ปรับตัวขึ้น 0.22% แตะที่ 94.51 ทั้งนี้ การแข็งค่าดอลลาร์จะช่วยให้สัญญาทองคำซึ่งซื้อขายในรูปสกุลเงินดอลลาร์นั้น มีราคาแพงขึ้นและไม่น่าดึงดูดนักลงทุนใจสำหรับนักลงทุน

 

นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ร่วงลง หลังจากผลสำรวจของเบเกอร์ ฮิวจ์ระบุว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐปรับตัวลดลงในอัตราที่น้อยที่สุดในรอบ 7 สัปดาห์ ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันล้นตลาด

 

นักลงทุนระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่นางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะแถลงนโยบายการเงินรอบครึ่งปีต่อสภาคองเกรสในวันอังคารและวันพุธนี้ ขณะที่นักวิเคราะห์บางส่วนมองว่าประธานเฟดอาจจะส่งสัญญาณเรื่องการปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ยในระหว่างการแถลงครั้งนี้

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558)

 

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฝรั่งเดาทองสำหรับอาทิตย์นี้ ให้ตัวเลขขาเสี่ยงมา ดังนี้

 

SHORT GOLD below 1199 SL 1202 TP 1192-1180-1168-1156

LONG GOLD above 1218 SL 1215 TP 1226-1232-1242-1251

 

ทุกๆ จุดมีความเป็นไปได้ที่จะมาถึง ทยอยเข้าตามแนวรับ ทยอยขายตามแนวต้าน / ขาซื้อทองแท่งตัวเป็นๆ หนักๆ ยังค้องนิ่งไว้ก่อน เพราะเส้นดำเส้นแดงที่ปรากฎบนเช้าวันเสาร์ จะสถานะด้านลบ ด้านย่อ และถ้าราคาต่ำกว่า 1199 จงระวังอย่างมาก จะไหลร่วง มาไวไปไว ผันผวนน่าดูอีกแล้วในอาทิตย์นี้

ดึงมาดู กรอบวันนี้ เดาว่า เข้าสู่พื้นที่ งงงวยสับสนทิศทาง 1199-1218 ขึ้นลง รอปัจจัยมาเกื้อหนุน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...