ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

ตัวเลขยุโรปบ่ายนี้ ตามโพลฯ ออกมาแบบไม่เปลี่ยนแปลง แต่ปัจจุบัน ค่าเงินยูโร เกิดแรงกดดันให้อ่อนค่าจากปัญหากรีซ ที่จะล้มละลาย หรือ ถูกขับออกจากยูโรโซน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตัวเลขสหรัฐ / ตัวเลขการจ้างงาน ตามโพลว่า ออกมาดีขึ้น : ทองอาจย่อ แล้วเวลาต่อมา ตัวเลข..... ออกมาไม่ดี ก็อาจทำให้ปรับขึ้น สรุปว่า มีลงและก็ขึ้น ถ้าตัวเลขออกมาตามโพล

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สำนักงานปริวรรตเงินตราจีน (SAFE) เผย ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดขั้นสุดท้ายของจีนในไตรมาส 4 แตะที่ 6.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

พร้อมกันนี้ SAFE ยังรายงานข้อมูลขั้นสุดท้ายของบัญชีเงินทุนและการเงินประจำไตรมาส 4 ซึ่งขาดดุล 3.05 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

ทั้งนี้ SAFE เปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า จีนเกินดุลบัญชีเดินสะพัด 6.11 หมื่นล้านดอลลาร์ และขาดดุลบัญชีเงินทุนและการเงิน 9.12 หมื่นล้านดอลลาร์ในไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว

 

ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของจีนในการชำระหนี้ต่างประเทศ ปรับตัวลง 2.93 หมื่นล้านดอลลาร์ในไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว ซึ่งทรงตัวจากตัวเลขเบื้องต้น

 

ขณะที่จีนเกินดุลบัญชีเงินทุนและการเงิน 3.82 หมื่นล้านดอลลาร์ในช่วงตลอดทั้งปี 2557 สำนักข่าวซินหัวรายงาน

 

ทีมา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (31/03/58)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นายฮิวจ์ ไวท์ ศาสตราจารย์ด้านการศึกษาเชิงกลยุทธ์และกลาโหมของมหาวิทยาลัย Australian National University กล่าวว่า การที่ออสเตรเลียตัดสินใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB) นั้น สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศครั้งประวัติศาสตร์ของออสเตรเลีย

 

นายไวท์กล่าวว่า AIIB เป็นประเด็นที่ใหญ่มากสำหรับอนาคตทางเศรษฐกิจของเอเชีย แต่แนวทางในการจัดตั้งธนาคารแห่งนี้กำลังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ในเอเชียเช่นกัน

 

นายไวท์ระบุว่า การที่ออสเตรเลียประกาศเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่าจะเข้าร่วม AIIB แม้มีการสงวนท่าทีจากทางสหรัฐนั้น อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์ในด้านนโยบายต่างประเทศของออสเตรเลีย

 

ศาสตราจารย์รายนี้ได้เขียนไว้ในคอลัมน์หนึ่งในแฟร์แฟ็กซ์ มีเดียว่า นี่เป็นครั้งแรกที่ออสเตรเลียท้าทายสหรัฐอย่างเห็นได้ชัด "พวกเขาก็ได้ตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวแล้วเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา"

 

"เราได้ทราบว่าทำไม AIIB จึงมีความสำคัญนัก โดยพิจารณาจากเหตุผลว่าทำไมจีนจึงจัดตั้ง AIIB ขึ้นมา และทำไมสหรัฐจึงต่อต้าน AIIB"

 

"แรงจูงใจของจีนส่วนใหญ่เป็นเรื่องของเศรษฐกิจแลความเป็นเหตุเป็นผลอย่างชัดเจน เอเชียจำเป็นต้องทุ่มทุนประมาณ 1 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปีในช่วง 10 ปีข้างหน้าในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งระบบ เพื่อบรรลุศักยภาพทางเศรษฐกิจในภูมิภาค"

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (31/03/58)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 31 มี.ค.2558

 

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (31 มี.ค.) เพราะได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มพลังงานและข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบ เซาของสหรัฐ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยลบจากการที่ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ริชมอนด์ส่งสัญญาณว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเวลาที่เร็วขึ้น

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,776.12 จุด ร่วงลง 200.19 จุด หรือ -1.11% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,900.88 จุด ลดลง 46.56 จุด หรือ -0.94% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,067.89 จุด ลดลง 18.35 จุด หรือ -0.88%

 

-- ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (31 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะซบเซาในตลาดแรงงานของยูโรโซน หลังจากมีรายงานว่าอัตราว่างงานเดือนก.พ.ปรับตัวลงน้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ไว้ นอกจากนี้ การที่อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนยังอยู่ในระดับติดลบ ยังส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินฝืดของยูโรโซน

ดัชนี Stoxx Europe 600 ลดลง 0.6% ปิดที่ 397.3 จุด

 

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,033.64 จุด ลดลง 49.88 จุด หรือ -0.98% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 11,966.17 จุด ร่วงลง 119.84 จุด หรือ -0.99% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,773.04 จุด ดิ่งลง 118.39 จุด หรือ -1.72%

 

-- ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (31 มี.ค.) โดยมีแรงถ่วงจากการปรับตัวลงของหุ้นกลุ่มเหมืองและกลุ่มพลังงาน หลังจากราคาน้ำมันดิบในตลาดนิวยอร์กปิดอ่อนแรงลง

ดัชนี FTSE 100 ลดลง 118.39 จุด หรือ 1.72% ปิดที่ 6,773.04 จุด

 

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (31 มี.ค.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานพลังงานในตลาดโลกที่สูงเกินไป หลังจากมีรายงานว่าปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) เพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือนมี.ค. รวมทั้งการคาดการณ์ที่ว่ายอดส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่านจะเพิ่มขึ้น หากชาติมหาอำนาจมีมติยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่าน

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค.ลดลง 1.08 ดอลลาร์ ปิดที่ 47.60 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ค.ลดลง 1.18 ดอลลาร์ ปิดที่ 55.11 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (31 มี.ค.) เพราะได้รับแรงกดดันจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยู โร อันเนื่องมาจากกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปีนี้

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย.ร่วงลง 2.1 ดอลลาร์ หรือ 0.18% ปิดที่ระดับ 1,183.20 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค.ลดลง 7.6 เซนต์ ปิดที่ 16.598 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค.พุ่งขึ้น 26 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,143.40 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย.ร่วงลง 6.30 ดอลลาร์ ปิดที่ 735.30 ดอลลาร์/ออนซ์

 

-- ดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 10 วันเมื่อเทียบสกุลเงินยูโรเมื่อคืนนี้ (31 มี.ค.) ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เดินหน้าความพยายามที่จะหนุนเศรษฐกิจของภูมิภาคด้วยโครงการซื้อพันธบัตร ส่วนธนาคารกลางสหรัฐมีแนวโน้มจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปีนี้

 

ค่าเงินยูโรร่วงลงเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.0742 ดอลลาร์สหรัฐ จาก 1.0823 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์เพิ่มขึ้นที่ 1.4845 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.4815 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับลงเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 119.95 เยน เทียบกับระดับ 120.16 เยน และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.9723 ฟรังก์ จาก 0.9676 ฟรังก์

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7612 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7652 ดอลลาร์

 

ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 17,776.12 จุด ลดลง 200.19 จุด -1.11%

 

ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,900.88 จุด ลดลง 46.56 จุด -0.94%

 

ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 2,067.89 จุด ลดลง 18.35 จุด -0.88%

 

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,773.04 จุด ลดลง 118.39 จุด -1.72%

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จีนเมินไต้หวันขอเข้าร่วม AIIB ฐานะสมาชิกผู้ก่อตั้ง ย้ำไม่ต้องการสร้างแนวคิดจีนเดียวหรือสองจีน (01/04/58)

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

จีนเปิดเผยว่า จีนยังไม่มีความสนใจที่จะให้ไต้หวันเข้าร่วมเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB)

 

นางหัว ชุงหยิง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน ระบุว่า "เราต้องการที่จะหลีกเลี่ยงการสร้างแนวคิด 2 จีน หรือจีนเดียว หรือไต้หวัน"

 

เนื่องจากขีดเส้นตายในการรับสมัครสมาชิกผู้ก่อตั้งธนาคารคือวันนี้ ไต้หวันจึงประกาศว่าจะสมัครเข้าร่วมเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้ง AIIB ด้วยเช่นกัน

 

การตัดสินใจดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่นานาประเทศในยุโรปต่างดาหน้าสมัครเข้าเป็นสมาชิก AIIB ในนาทีสุดท้าย ซึ่งรวมถึงออสเตรเลีย โดยมีจีนเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงจุดประกายโครงการดังกล่าวขึ้นมา เพื่อส่งเสริมการลงทุนในเอเชีย

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (31/03/58)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คอลัมน์ เลียบรั้วเลาะโลก โดย ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารเอชเอสบีซี

 

ในช่วงทศวรรษ 1970 ธนาคารกลางที่มีผลงานยอดเยี่ยมและน่าเชื่อถือที่สุดต้องดิ้นรนเพื่อสยบปัญหาเงินเฟ้อ แต่เวลานี้ธนาคารกลางเหล่านั้นกำลังเผชิญความยุ่งยากที่จะหลีกเลี่ยงปัญหาเงินฝืด

 

ใน ทางทฤษฎี ธนาคารกลางสามารถปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงพอเพื่อป้องกันความเสียหายต่อ เศรษฐกิจจากภาวะเงินเฟ้อที่สูงเกินในช่วงปี′70การใช้นโยบายการเงินที่เข้ม งวดขึ้นมักทำให้สกุลเงินของประเทศตนแข็งค่าขึ้น และช่วยลดผลกระทบจากราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นมากในต่างประเทศต่อราคาในประเทศ

 

แต่ทว่าไม่มีธนาคารกลางใดสามารถทำได้อย่างที่ต้องการ แม้แต่ประเทศที่ผลักดันให้ค่าเงินของตนแข็งค่าขึ้นมากในช่วงนั้น ก็ยังต้องเผชิญปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่สูงเกิน เมื่อเทียบกับระดับที่เศรษฐกิจส่วนใหญ่ยอมรับได้ในปัจจุบัน ในที่สุดธนาคารกลางหลายแห่งเริ่มเข้าใจว่าพวกเขาไม่อาจทำให้เงินเฟ้อลดลงได้ง่าย เพราะประชาชนรู้ดีว่าธนาคารกลางไม่ได้มีอำนาจที่จะทำได้ทุกเรื่อง และไม่ได้เป็นอิสระอย่างแท้จริงจากฝ่ายการเมือง

 

ขณะนี้เราต้องการ "การปฏิวัติทางความคิด" อีกครั้งหนึ่ง แต่คงเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีพื้นฐานมาจากเหตุผลทางการเมือง ไม่ใช่เศรษฐศาสตร์

 

ในขณะนั้นนานาประเทศต่างก็พบว่า ปัญหาเงินเฟ้อนั้นมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของธนาคารกลางของตนเป็นส่วนใหญ่ และทางเดียวที่จะจัดการกับปัญหาเงินเฟ้อได้สำเร็จคือต้องยอมรับกับผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งเกิดจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงลิ่วและค่าเงินที่แข็งค่าขึ้นมากเป็นพิเศษ การที่จะทำเช่นนี้ได้นั้นจำเป็นต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนมุมมองทางการเมืองของประชาชนครั้งใหญ่

 

Monetarism หรือแนวคิดสํานักการเงินนิยม ส่งผลให้การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในช่วงนั้นมุ่งไปที่การควบคุมเงินเฟ้อ มากกว่าการลดปัญหาการว่างงานผลกระทบที่ตามมามีความแตกต่างกันอย่างมากในแต่ ละภาคส่วนยกตัวอย่าง เช่น อัตราการว่างงานพุ่งขึ้น หลายธุรกิจล้มละลาย และอุตสาหกรรมการผลิตพังทลายลง แต่ถึงกระนั้น ผู้กำหนดนโยบายยังคงต้องใช้เวลานานหลายปีกว่าจะสามารถทำให้อัตราเงินเฟ้อลด ลงมาสู่ระดับที่สอดคล้องกับกรอบเป้าหมายในปัจจุบันซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะ ประชาชนยังคงสงสัยในความตั้งใจของการควบคุมเงินเฟ้อของทางการ และคอยตั้งข้อกังขาเกี่ยวกับโอกาสการปรับเปลี่ยนนโยบายอย่างกะทันหันเป็น ระยะ ๆ

 

หากคิดในมุมกลับ ในเมื่อเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเงินเฟ้อในช่วงทศวรรษ 1970 ได้ ทำไมเราจึงคิดว่าจะสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเงินฝืดในวันนี้ได้ง่ายดาย นักวิเคราะห์เศรษฐกิจส่วนใหญ่มองข้ามโอกาสที่จะเกิดภาวะเงินฝืด โดยเชื่อว่าธนาคารกลางส่วนใหญ่มีความตั้งใจและมีศักยภาพที่จะปรับอัตราเงิน เฟ้อให้กลับมาอยู่ในกรอบเป้าหมายได้แต่แล้วแม้ว่าวิกฤตการเงินจะผ่านไปนาน หลายปี บวกกับมีการอัดฉีดเม็ดเงินมหาศาลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อก็ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง การอ้างว่าเป็นเพราะราคาสินค้าโภคภัณฑ์ตกต่ำลงย่อมไม่มีเหตุผลพอ เพราะอัตราเงินเฟ้อลดลงต่ำกว่าระดับเป้าหมายมานาน ก่อนที่ราคาน้ำมันจะดิ่งลงเมื่อเร็ว ๆ นี้เสียอีก

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ (วันที่ 1 เมษายน 2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีตอนเช้า วันหวยออกครับ

 

รวย ๆ เฮง ๆ กันนะค้าบ ทุกท่าน

 

ขอบคุณ ป๋า ครับผ้ม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปธ.เฟดริชมอนด์เรียกร้องเฟดขึ้นดอกเบี้ยโดยเร็ว ขณะศก.ขยายตัวแข็งแกร่ง (01/04/58)

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

นายเจฟฟรีย์ แล็คเกอร์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าววานนี้ว่า เขาคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะมีการขยายตัวแข็งแกร่ง ขณะที่เงินเฟ้อจะปรับตัวสูงขึ้นในปีนี้ และเขาเรียกร้องให้มีเฟดเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยเร็ว

 

นายแล็คเกอร์กล่าวว่า มีความเป็นไปได้อย่างมากที่เฟดจะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย.

 

ความเห็นของนายแล็คเกอร์เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับถ้อยแถลงของนางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟด ที่ระบุเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า เฟดคาดว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นจะเกิดขึ้นในช่วงต่อไปของปีนี้ โดยจะเป็นการปรับขึ้นทีละน้อย

 

นางเยลเลนกล่าวในที่ประชุมซึ่งจัดโดยเฟดสาขาซานฟรานซิสโกว่า การปรับขึ้นช่วงเป้าหมายสำหรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จากปัจจุบันที่ 0-0.25% นั้น อาจดำเนินการได้ในช่วงต่อไปของปีนี้

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (01/04/58)

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีตอนเช้า วันหวยออกครับ

 

รวย ๆ เฮง ๆ กันนะค้าบ ทุกท่าน

 

ขอบคุณ ป๋า ครับผ้ม

::

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รวยๆ กันถ้วนหน้า ทุกท่านครับ

ถูกแก้ไข โดย DarkKnight

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตัวเลขออกมาผิดจากที่โพลฯ ตัวเลขจ้างงานออกมาแย่

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

SHORT GOLD below 1196 SL 1199 TP 1191-1182-1178-1166-1152

LONG GOLD above 1202 SL 1199 TP 1212-1216-1222-1226-1238

 

ถ้ามองตามชุดตัวเลขนี้ ก็ต้องเดาและโพสต์ว่า " ด่านต้าน 1191 แตกแล้ว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แนวต้านกลับกลายเป็นแนวรับ 1191 โดยมีจุดต้านคือ 1196 แล้วจุดงงงวย คือ 1196-1202

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...