ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

รายงานสหรัฐฯ ออกเยอะคืนนี้ และตามโพลฯ ทุกๆ รายการ ส่งผลทางลบต่อราคาทอง ความคิดเห็นส่วนตัว ถ้าออกมาจริงตามนั้น ก็ย่อลงมาถึงแนวรับขาเสี่ยงฝรั่ง 1193 แล้วก็เด้งกลับ แต่ถ้าออกมาแย่ 1206 อาจแรงจนทะลุ หรือ ชนแล้วย่อ รอตัวเลข

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อ่านข่าวกันต่อ ช่วงเช้าไม่ได้มาส่งข่าว เพราะไปส่งมอบเงินงานอัดฉีด นักกีฬา

 

ค่าเงินบาทเปิดที่ 32.78/80 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าตามสกุลภูมิภาค คาดวันนี้เคลื่อนไหวกรอบ 32.70-32.80 บาท/ดอลลาร์

 

 

นักบริหารเงินจากธนาคาร พาณิชย์ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 32.78/80 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากช่วงเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 32.82/83 บาท/ดอลลาร์

 

เช้านี้เงินบาทแข็งค่าขึ้นซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับค่าเงินสกุล อื่นๆ ในภูมิภาค เนื่องจากดอลลาร์สหรัฐปรับตัวอ่อนค่าลง หลังจากคอนเฟอเรนซ์ บอร์ด เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ย.ลดลงแตะที่ 88.7 จากระดับ 94.1 ในเดือนต.ค. ซึ่งสวนทางกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าน่าจะปรับเพิ่มขึ้น

 

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่า แต่คงเคลื่อนไหวไม่มากนัก มองกรอบไว้ที่ 32.70-32.80 บาท/ดอลลาร์

 

 

 

 

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (26/11/2557)

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาทองคำเคลื่อนไหวในกรอบแคบ โดยในระหว่างวันราคาทองดีดตัวขึ้นในช่วงสั้นๆ ก่อนที่จะมีแรงขายกลับออกมาหลังจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ซึ่งออกมาดีกว่าคาด ส่งผลให้นักลงทุนขายทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยกลับออกมา การเคลื่อนไหวโดยรวมของราคาทองจึงยังเคลื่อนไหวทรงตัวที่บริเวณ 1,200 ดอลลาร์ ต่อ ออนซ์ ต่อไป

 

โดยราคาทองคำปิดตลาดวานนี้ที่ 1,200.69 ดอลลาร์ ต่อ ออนซ์ เพิ่มขึ้น 3.59 ดอลลาร์ ราคาทำจุดต่ำสุดและจุดสูงสุดที่ 1,190 และ 1,203 ดอลลาร์ ต่อ ออนซ์ ตามลำดับ ส่วนราคาซื้อขายทองคำแท่งในประเทศชนิด 96.5% เมื่อวานนี้ ขายออกที่บาทละ 18,650 บาท และรับซื้อคืนที่บาทละ 18,550 บาท กองทุน SPDR ไม่มีรายงานการเปลี่ยนแปลงปริมาณการถือครองทองคำ โดยปัจจุบันกองทุนถือครองทองคำรวม 720.91 ตัน

 

ราคาทองอ่อนตัวลงเข้า ใกล้แนวรับบริเวณ 1,290 ดอลลาร์ ต่อ ออนซ์ หลังจากมีรายงานจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ซึ่งเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของสหรัฐฯ ขยายตัว 3.9% ในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2557 ซึ่งเป็นการปรับทบทวนขึ้นจากตัวเลขประมาณการเบื้องต้นที่ 3.5% และมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ที่ 3.3% โดยมีสาเหตุหลักมาจากการบริโภคส่วนบุคคลที่แข็งแกร่ง การเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่สองของจีดีพีสหรัฐฯ ในครั้งนี้ตอกย้ำให้เห็นถึงการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับเศรษฐกิจยุโรปที่ชะลอตัว และเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ประสบภาวะถดถอย

 

ทั้งนี้ จีดีพีสหรัฐฯ ขยายตัว 4.6% ในไตรมาสสอง และหดตัว 2.1% ในไตรมาสแรก อย่างไรก็ตาม ราคาทองเริ่มฟื้นตัวขึ้นหลังจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจอื่นๆ ของสหรัฐฯ กลับออกมาต่ำกว่าที่ตลาดประเมินโดยคอนเฟอเรนซ์ บอร์ด ซึ่งเป็นกลุ่มวิจัยเอกชน เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคแตะที่ 88.7 ในเดือนพฤศจิกายน ปรับตัวลงจาก 94.1 ในเดือนตุลาคม เนื่องจากผู้บริโภคมีมุมมองบวกลดน้อยลงเกี่ยวกับภาวะธุรกิจและตลาดแรงงาน ทั้งในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ในขณะที่ผลสำรวจประเมินว่าน่าจะเพิ่มขึ้นแตะ 96 เช่นเดียวกันกับ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์/เคส ชิลเลอร์ซึ่งเปิดเผยว่า ดัชนีราคาบ้าน 20 เมืองในเดือนกันยายนของสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้น 4.9% จากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอตัวที่สุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2555 หลังจากที่ขยายตัว 5.6% ในเดือนสิงหาคม

 

ส่วนในช่วงค่ำวันนี้จะมีการรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ของสหรัฐฯ ซึ่งผลสำรวจประเมินไว้ที่ 2.87 แสนราย จากสัปดาห์ก่อนที่ 2.91 แสนราย และนอกจากรายงานดังกล่าวแล้ว ในช่วงค่ำวันนี้จะมีการรายงานข้อมูลในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ดัชนีค่าใช้จ่ายผู้บริโภค และยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ซึ่งผลสำรวจประเมินว่ารายงานที่ออกมาอาจชะลอตัวจากการรายงานครั้งก่อน ส่วนภาพการเคลื่อนไหวทางเทคนิคของราคาทองคำซึ่งเคลื่อนไหวทรงตัวที่บริเวณ 1,200 ดอลลาร์ ต่อ ออนซ์ ภาพเทคนิคจึงยังไม่ต่างไปจากต้นสัปดาห์

 

การเคลื่อนไหวของราคาทองซึ่งปรับตัวขึ้นติดต่อกันหลายวัน และกลับมาเคลื่อนไหวที่แนวต้านบริเวณ 1,200 ดอลลาร์ ต่อ ออนซ์ จึงคาดว่าอาจเริ่มมีแรงขายทำกำไรสลับออกมา แต่การเคลื่อนไหวในระยะนี้ยังมีแนวโน้มที่ราคาทองจะฟื้นตัวขึ้นต่อ ดังนั้นหากราคาอ่อนตัวลงเข้าใกล้แนวรับบริเวณ 1,185-1,190 ดอลลาร์ต่อ ออนซ์ จึงยังสามารถกลับเข้าซื้อเก็งกำไรการฟื้นตัว โดยมีแนวต้านของวันอยู่ที่บริเวณ 1,215-1,220 ดอลลาร์ ต่อ ออนซ์.

 

 

 

 

 

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ (26/11/2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 32.78/80 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากช่วงเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 32.82/83 บาท/ดอลลาร์

 

เช้านี้เงินบาทแข็งค่าขึ้นซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับค่าเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาค เนื่องจากดอลลาร์สหรัฐปรับตัวอ่อนค่าลง หลังจากคอนเฟอเรนซ์ บอร์ด เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ย.ลดลงแตะที่ 88.7 จากระดับ 94.1 ในเดือนต.ค. ซึ่งสวนทางกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าน่าจะปรับเพิ่มขึ้น

 

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่า แต่คงเคลื่อนไหวไม่มากนัก มองกรอบไว้ที่ 32.70-32.80 บาท/ดอลลาร์

 

* ปัจจัยสำคัญ

 

- เปิดตลาดเช้านี้ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 117.75 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 118.10 เยน/ดอลลาร์

 

- ส่วนเงินยูโร เช้านี้อยู่ที่ระดับ 1.2471 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.2432 ดอลลาร์/ยูโร

 

- อัตราแลกเปลี่ยนบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 32.8200 บาท/ดอลลาร์

 

- ธุรกิจตั้งใหม่เดือน ต.ค. 5,384 ราย เพิ่มขึ้น 2% ทุนจดทะเบียนกว่า 2 หมื่นล้านบาท ส่วนธุรกิจเจ๊ง 1,641 ราย เพิ่มขึ้น 4% มั่นใจยอดทั้งปีทำได้ทะลุ 6-6.2 หมื่นราย หลัง 10 เดือนทำได้แล้ว 5.17 หมื่นราย เหตุได้รับผลดีจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐบาล

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังคงปรับตัวร่วงลง หลายประเทศเริ่มเตรียมพร้อมรับมือกับช่วงขาลง

 

ใกล้ถึงวันประชุมของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน หรือโอเปค 27 พ.ย.เข้ามาทุกทีราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ก็ยังคงปรับตัวร่วงลง ท่ามกลางกระแสข่าวว่า หลายประเทศเริ่มเตรียมพร้อมรับมือกับช่วงขาลงของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกไปจนถึงปลายปีนี้ หากที่ประชุมโอเปค ตกลงไม่ลดกำลังการผลิต เริ่มจากรัสเซีย ที่เตรียมควบคุมการผลิตน้ำมัน หวังสร้างเสถียรภาพในตลาดโลก

 

รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานรัสเซีย นายอเล็กซานเดอร์ โนวัค ให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์รอสสิยา 24 ว่า รัฐบาลรัสเซีย มีแผนสร้างเสถียรภาพในตลาดน้ำมันโลก ด้วยการควบคุมกำลังการผลิตไม่ให้เกิน 525 ล้านตันต่อปี

 

พร้อมทั้งบอกว่า สมาชิกโอเปคหลายราย มีกำลังการผลิตเกินโควตาอยู่แล้ว จึงแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่กลุ่มโอเปคจะตกลงปรับลดกำลังผลิตน้ำมันลงในการประชุมวันที่ 27 พ.ย.นี้ ซึ่งที่ผ่านมา สมาชิกกลุ่มโอเปค มีความเห็นต่อประเด็นลดหรือไม่ลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบแตกต่างกันไป

 

ประเด็นราคาน้ำมันตกต่ำ เป็นปัญหาใหญ่สำหรับรัสเซีย ที่ปัจจุบัน นอกจากจะมีรายได้จากการขายน้ำมันลดลงแล้ว ยังเจอผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก และสหรัฐเข้าไปด้วย จึงทำให้รายได้เข้าประเทศลดลงไปมาก

 

แม้แต่รัฐมนตรีคลังของรัสเซีย นายแอนทัน ซิลัวนอฟ ยังยอมรับว่า มาตรการคว่ำบาตรของประเทศตะวันตก กรณีความขัดแย้งในยูเครน จะสร้างความสูญเสียให้แก่รัสเซียปีละประมาณ 40,000 ล้านดอลลาร์ นอกจากนั้น ราคาน้ำมันดิบที่ลดลง 30% ยังส่งผลกระทบต่อประเทศอีกปีละ 90,000-100,000 ล้านดอลลาร์

 

มาตรการคว่ำบาตรที่สหภาพยุโรป หรืออียู และสหรัฐ ใช้กับรัสเซียโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ทำให้รัฐบาลกรุงมอสโก ไม่สามารถเข้าถึงตลาดทุนระหว่างประเทศ รวมถึงเทคโนโลยีได้

 

แม้แต่ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินเอง ก็พูดเป็นนัยว่า รัสเซียอาจเผชิญผลพวงอันร้ายแรง จากมาตรการคว่ำบาตร ราคาน้ำมันตกต่ำ และเงินรูเบิลที่ดิ่งลง พร้อมทั้งบอกว่า สิ่งเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อเนื่องไปถึงประเทศอื่นด้วย

 

แต่ปัญหาราคาน้ำมันดิบโลกดิ่ง ก็สร้างความปวดหัวให้แก่รัฐบาลโอมานด้วยเหมือนกัน ล่าสุดทางการโอมาน เตรียมตัดลดการใช้จ่ายภาครัฐ และบังคับใช้มาตรการขึ้นภาษี หลังรายได้ของประเทศลดฮวบ เพราะราคาน้ำมันที่ตกต่ำในตลาดโลก

 

โฆษกสภาชูรา หรือสภาที่ปรึกษาด้านการบริหารราชการแผ่นดินของโอมาน ระบุว่า มีความเป็นไปได้สูงที่เศรษฐกิจของโอมาน จะได้รับผลกระทบอย่างหนัก จากผลพวงของราคาน้ำมันที่ตกต่ำในตลาดโลก หลังจากราคาน้ำมันดิบที่ตลาดเบรนต์ ปรับร่วงลงสู่ระดับ 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทั้งที่เคยพุ่งสูงถึง 115 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เมื่อช่วงเดือนมิถุนายน และหากราคาน้ำมันในตลาดโลกไม่กระเตื้อง โอมาน อาจต้องพิจารณาจัดทำงบประมาณแผ่นดินแบบขาดดุลในปีหน้า แทนการใช้งบประมาณแบบเกินดุลอย่างในปัจจุบัน

 

การที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลง ทำให้โอมานสูญเสียรายได้ไปมากถึง 7,900 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 259,360 ล้านบาท รัฐบาลโอมานจึง จำเป็นต้องเร่งปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ เพื่อสร้างรายได้จากทางเลือกอื่นๆ ที่ไม่ใช่รายได้จากอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ แต่ในระยะสั้น ทางการโอมานอาจจะต้องทบทวนแผนจัดเก็บภาษีให้มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น รวมทั้งต้องตัดลดการใช้จ่ายภาครัฐลงอย่างมาก

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 26 พฤศจิกายน 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นายฮารุฮิโกะ คูโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) เปิดเผยว่า ทางธนาคารกลางกำลังจับตามองอย่างใกล้ชิด ในส่วนของผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการร่วงลงอย่างหนักของเงินเยนเมื่อเทียบสกุลเงินอื่นๆ หลังจากที่ได้ประกาศมาตรการผ่อนคลายเพิ่มเติมในเดือนก่อนหน้า

 

ผู้ว่าฯคุโรดะกล่าวในการประชุมกลุ่มผู้นำธุรกิจว่า การอ่อนค่าของเงินเยนนั้นอาจส่งผลกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจ เนื่องจากต้นทุนนำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นภาระต่อบริษัทขนาดเล็กและภาคครัวเรือน แม้ว่าจะยังมีผลกระทบด้านบวกอยู่บ้าง เช่น รายได้ที่เพิ่มขึ้นในบริษัทต่างๆที่มีการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ

 

ผลกระทบดังกล่าว "มีความแตกต่างออกไปตามลักษณะทางเศรษฐกิจ" นายคุโรดะ กล่าว "โดยเราจะจับตามองสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รวมถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่แท้จริง"

 

นอกจากนี้ ผู้ว่าฯบีโอเจยังได้แสดงความหวังว่า บริษัทที่ได้รับผลประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินเยน อันเป็นผลจากนโยบายผ่อนคลายทางการคลังพิเศษของแบงก์ชาติ จะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจญี่ปุ่นผ่านมาตรการต่างๆ เช่น การปรับเพิ่มค่าจ้าง หรือเพิ่มเงินลงทุนทางธุรกิจ

 

นายคุโรดะเผยว่า ภาคธุรกิจเริ่มปรากฎให้เห็นถึง "การเปลี่ยนแปลง" ขณะที่ผู้นำธุรกิจบางส่วนแลดูมีความหวังเพิ่มขึ้นในการกำหนดราคาและกลยุทธ์การจ้างงาน พร้อมกับเน้ย้ำถึงความจำเป็นในการจัดการปัญหาเงินฝืดที่ยืดเยื้อมาอย่างยาวนานในญี่ปุ่น สำนักข่าวเกียวโดรายงาน

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 25 พฤศจิกายน 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโรและเงินเยนเมื่อคืนนี้ (26 พ.ย.) หลังจากมีการเปิดเผยข้อมูลความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลงในเดือนพ.ย.

 

ยูโรแข็งค่าขึ้นเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2470 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.2437 ดอลลาร์ ขณะที่ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 117.94 เยน เทียบกับระดับ 118.29 เยน

 

ดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ หลังจากคอนเฟอเรนซ์ บอร์ด ซึ่งเป็นกลุ่มวิจัยเอกชน เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ย.ลดลงแตะที่ 88.7 จากระดับ 94.1 ในเดือนต.ค. และสวนทางกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าน่าจะเพิ่มขึ้นแตะ 96 เนื่องจากผู้บริโภคมีมุมมองบวกลดน้อยลงเกี่ยวกับภาวะธุรกิจและตลาดแรงงาน ทั้งในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้

 

ขณะเดียวกัน สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์/เคส ชิลเลอร์เปิดเผยว่า ดัชนีราคาบ้าน 20 เมืองในเดือนก.ย. ปรับตัวขึ้น 4.9% จากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอตัวที่สุดนับตั้งแต่เดือนต.ค.2555 หรือในรอบกว่า 2 ปี หลังจากที่ขยายตัว 5.6% ในเดือนส.ค.

 

ทั้งนี้ แนวโน้มราคาบ้านโดยรวมยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง โดยราคาบ้านที่ชะลอตัวลงนั้นเป็นผลมาจากความต้องการซื้อบ้านที่ซบเซา ขณะที่อุปทานบ้านในตลาดปรับตัวสูงขึ้น

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 24 พฤศจิกายน 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รายงานระบุว่า องค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) ได้เปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกวานนี้ (25 พฤศจิกายน 2557) โดยมีการคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวแตะ 3.3% ในปีนี้ ก่อนที่จะขยายตัวเร็วขึ้นเป็น 3.7% ในปี 2558 และ 3.9% ในปี 2559

อย่างไรก็ตาม OECD คาดว่า จีดีพียูโรโซนจะขยายตัว 0.8% ในปีนี้ 1.1% ในปี 2558 และ 1.7% ในปี 2559 แต่ ภาวะเศรษฐกิจของยูโรโซนจะยังคงอ่อนแอ

ส่วนในญี่ปุ่นนั้น คาดว่าจีดีพีจะขยายตัว 0.8% ในปี 2558 และ 1.0% ในปี 2559 เทียบกับ 0.4% ในปี 2557 เนื่องจากภาวะตลาดแรงงานที่ปรับตัวดีขึ้น และการผ่อนคลายการเงินเพิ่มมากขึ้น

สำหรับเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มจะชะลอตัวลงแตะ 7.1% ในปี 2558 เทียบกับ 7.3% ที่คาดการณ์ไว้สำหรับปีนี้

ที่มา หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 26 พฤศจิกายน 2557)

 

 

องค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) ชี้เศรษฐกิจญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะถดถอยหลังจากที่ได้มีการปรับขึ้นภาษีบริโภคเมื่อวันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา พร้อมกับลดการคาดการณ์เศรษฐกิจญี่ปุ่นในปี 2557 และ 2558 ลง

 

สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า OECD ได้ระบุในรายงานว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นคาดว่า จะขยายตัว 0.4% ในปี 2557 และขยายตัว 0.8% ในปีหน้า ซึ่งเป็นตัวเลขคาดการณ์ที่ต่ำกว่าระดับที่ทำไว้เมื่อเดือนก.ย.ที่ 0.9% และ 1.1% ในแง่ของการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่ได้มีการปรับทบทวนเงินเฟ้อแล้ว

 

รายงานนี้มีการเผยแพร่หลังจากที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้เปิดเผยว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัวลง 1.6% ในไตรมาสที่สิ้นสุดเดือนก.ย. ซึ่งถือเป็นการหดตัวติดต่อกัน 2 ไตรมาส หลังจากที่เศรษฐกิจร่วงลง 7.3% ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2557

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 25 พฤศจิกายน 2557)

 

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เมื่อคืน ตัวเลขรายงานสหรัฐฯ ออกมาไม่ดี แต่ราคาทองก็ไม่ขยับไปไหนเลย ขึ้นลงในกรอบแบบเดิมๆ 1193-1200 ค่าเงินดอลล์สหรัฐฯ ก็อ่อนต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ( ตามกราฟฯ ด้านล่าง ) นักลงทุนขาใหญ่ไม่ลงทุนเลย น่าจะเป็นเพราะ เทศกาล วันขอบคุณพระเจ้า Thanksgiving Day ถือเงินสด ดีกว่ากำอย่างอื่น

 

คืนนี้ ตลาดสหรัฐฯ ปิดดำเนินการ และชาวอเมริกันจะกินไก่งวง ในวันของครอบครัว ความผันผวนจะมีถึงหัวค่ำ 1 ทุ่ม เท่านั้น เล่นกันเฉพาะตลาดยุโรป และ เอเชีย นี่แหละ 555

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

5,35,9 MACD ของค่าเงินดอลล์สหรัฐฯ ยังอยู่ในสถานะ " ยังอ่อนค่า " แต่ ทำไม ราคาทอง ยังไม่ขยับ เพียงแค่รักษาฐานราคาอยู่ แถวๆ 1193-1202

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่าเงินบาท ช่วงนี้ ออกแข็ง และน่าต่ำกว่า 32.8x แต่คงไม่แข็งจนถึง 32.6x หรอก

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...