ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

สวัสดีก่อนเที่ยงครับป๋า

 

ขอบคุณสำหรับ บ่น ๆ นะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตัวเลขขาเสี่ยง อาทิตย์นี้ ฝรั่งบอกว่า

 

LONG GOLD above 1193 SL 1190 TP 1206-1212-1218-1224-1228

SHORT GOLD below 1178 SL 1181 TP 1168-1156-1144-1135

 

โชคดี

 

 

 

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เริ่มวันอังคาร ถึงแม้ว่า ราคาทองในปิดวันจันทร์ จะย่อลงมาต่ำกว่า 1200 แต่รหัส 5,35,9 สัญญานนำทาง ของ ค่าเงินดอลล์สหรัฐฯ ยังไม่ตัดกัน ที่จะบ่งบอกว่า จะสามารถแข็งค่าเพิ่มขึ้นได้ % ของการจะแข็ง น้อยกว่า % ที่จะอ่อนค่า " สัญญานอยู่ฝั่งอ่อนค่า " ต่อไป ตอนนี้ ยิ่งสูง น่าจะมีพื้นที่ว่างด้านล่างเยอะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พอค่าดอลล์ ขึ้นเหนือ 88.0 ทีไร ก็ส่งผลบาทอ่อน 32.8x เพราะฉะนั้น พึงระวังเท่านั้นในด้านแข็งค่า ระดับ 32.7x แต่คงจิ๊ปๆๆ ไม่กระทบราคาทองในประเทศ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 5,35,9 ของราคาทอง เส้นดำเส้นแดง ยังถ่างออกอยู่เลย จึงมีจังหวะขึ่นไปทดสอบด้านบน เหนือ 1200 ได้ ส่วนตัว ก็ยังต้อง ถือทน ทนถือ ทองแท่งกันต่อไป

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รายงานยุโรป สำคัญตอนบ่าย 2 โมง ประจวบเหมาะกับช่วงเปิดทำการตลาดยุโรป โพลฯ บอกว่า จะออกมาเหมือนเดิม แต่ในความคิดเห็นส่วนตัว เยอรมันเป็นผู้นำเศรษฐกิจในเขตยูโรโซน น่าจะออกมาดีขึ่น เพื่อสร้างฐานค่าเงินยูโรให้แข็งขึ้น เรื่องจริงรอเวลานั้นมาถึง 555

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รายงานยุโรป สำคัญตอนบ่าย 2 โมง ประจวบเหมาะกับช่วงเปิดทำการตลาดยุโรป โพลฯ บอกว่า จะออกมาเหมือนเดิม แต่ในความคิดเห็นส่วนตัว เยอรมันเป็นผู้นำเศรษฐกิจในเขตยูโรโซน น่าจะออกมาดีขึ่น เพื่อสร้างฐานค่าเงินยูโรให้แข็งขึ้น เรื่องจริงรอเวลานั้นมาถึง 555

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รายงานสหรัฐฯ มีหลายอย่าง ดี แย่ ผสมกันไป ตามโพลฯ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพรายงานว่า ภาวะการเคลื่อนไหวของตลาดเงินปริวรรตประจำวันจันทร์ที่ 24 พฟศจิกายน 2557 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 32.75/77 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดเมื่อเย็นวันศุกร์ (21/11) ที่ระดับ 32.79/32./81 บาท/ดอลลาร์ ถึงแม้ในช่วงค่ำวันศุกร์ (21/11) ทางสหรัฐจะไม่มีการประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจออกมา แต่อย่างไรก็ตามดัชนีดอลลาร์ซึ่งติดตามความเคลื่อนไหวของสกุลเงินดอลลาร์ เทียบกับอีกหกสกุลเงินหลักยังแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยพุ่งขึ้นสู่ระดับ 88.38 ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบกว่า 4 ปี ทั้งนี้ดัชนีดอลลาร์ได้แข็งค่าอย่างต่อเนื่องมาจากช่วงคืนวันพฤหัสบดี (20/11) หลังดัชนีราคาผู้บริโภค ยอดขายบ้านมือสอง และผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจออกมาดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการอ่อนค่าของเงินยูโรหลังจากในช่วง เย็นวันศุกร์ (21/11) ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ออกมากล่าวในเชิงผ่อนคลายว่าทางอีซีบีพร้อมดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพิ่มเติมหากมีความจำเป็น ด้วยเหตุนี้ทำให้มีแรงเทขายเงินสกุลยูโรออกมาอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งในช่วงเย็นวันเดียวกันธนาคารกลางจีนได้ทำการประกาศลดอัตราดอกเบี้ย เงินฝากระยะ 1 ปี ลง 0.25% สู่ระดับ 2.75% และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะ 1 ปี ลง 0.4% สู่ระดับ 5.6% ซึ่งการประกาศลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางจีนในครั้งนี้มีขึ้นเหนือความคาดหมาย โดยครั้งหลังสุดที่ธนาคารกลางจีนลดดอกเบี้ยคือในเดือนกรกฎาคม 2555 โดยนักเศรษฐศาสตร์มองว่าการประกาศลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางจีนในครั้งนี้เป็น ความพยายามล่าสุดของทางการจีนในการเดินหน้าสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศ ภายหลังจากที่ได้มีการอัดฉีดสภาพคล่องและลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคาร พาณิชย์มาก่อนหน้านี้ โดยเศรษฐกิจจีนอยู่ภายใต้แรงกดดันโดยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ขยายตัว 7.3% เมื่อเทียบรายปีในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอตัวที่สุดนับตั้งแต่ปี 2552

 

สำหรับความเคลื่อน ไหวในประเทศ ล่าสุด ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ได้มีการพูดถึงเศรษฐกิจของไทยในงานสัมมนาหอการค้าไทยว่าจากมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจต่าง ๆ ของรัฐบาลทั้งการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณปี 2557 ที่เหลือและงบประมาณปี 2558 ที่ใช้ในการลงทุน 270,000 ล้านบาทน่าจะเพียงพอต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ ซึ่งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจะเห็นผลต่อเศรษฐกิจไทยภายในไตรมาส 1 ของปี 2556 และจะส่งผลให้ในปีหน้าเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ขยายตัวได้ในระดับ 4% เป็นอย่างน้อย ในวันนี้เงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางอ่อนค่าตามการแข็งค่าของดัชนีดอลลาร์ โดยเคลื่อนไหวระหว่าง 32.75-32.83 บาท/ดอลลาร์ ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 32.81/83 บาท/ดอลลาร์

 

ค่าเงินยูโรเปิดตลาดที่ระดับ 1.2380/82 ดอลลาร์/ยูโร อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดเมื่อเย็นวันศุกร์ (21/11) ที่ระดับ 1.2452/55 ดอลลาร์/ยูโร ค่าเงินยูโรอ่อนค่าอย่างรุนแรงในช่วงเย็นวันศุกร์ (24/11) หลังจากนายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) กล่าวว่าอีซีบีพร้อมดำเนินการขยายขนาดโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม หากอัตราเงินเฟ้อไม่สามารถส่งสัญญาญถึงการฟื้นตัวกลับขึ้นไปสู่ระดับเป้า หมายของอีซีบีได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยการแสดงความเห็นดังกล่าวช่วยเพิ่มความหวังให้กับตลาดทางการเงินที่ว่า อีซีบีจะปรับเพิ่มขนาดการซื้อพันธบัตรรัฐบาลของประเทศสมาชิกซึ่งจะเป็นการ ดำเนินการในทำนองเดียวกันกับธนาคารกลางใหญ่หลายแห่งในทวีปยุโรป นอกจากนี้นายวิเตอร์ คอนสแตนซิโอ รองประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ได้กล่าวไปในทิศทางเดียวกันว่าในตอนนี้ยุโรปยังไม่มีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ ภาวะเงินฝืด แต่อัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันยังอยู่ในระดับต่ำจนเป็นอันตราย ทำให้อีซีบีจะต้องดำเนินการผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ 0.4% ในเดือนตุลาคมให้ได้ โดยหลังจากที่มีถ้อยแถลงดังกล่าวทำให้ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วและ มีระดับต่ำสุดที่ โดยระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวระหว่าง 1.2371-1.2414 ดอลลาร์/ยูโร ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 1.2394/96 ดอลลาร์/ยูโร

 

ค่าเงิน เยนเปิดตลาดที่ระดับ 117.7679 เยน/ดอลลาร์ ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดเย็นวันศุกร์ (21/11) ที่ระดับ 117.80/85 เยน/ดอลลาร์ ค่าเงินเยนอ่อนค่าอย่างมากในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยอ่อนค่าสุดในรอบ 7 ปีที่ 118.96 เยน/ดอลลาร์ในช่วงวันพฤหัสบดี (20/11) เงินเยนถูกกดดันอย่างหนักจากรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาในช่วงต้นสัปดาห์ แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะถดถอยในไตรมาสที่ 3 ในขณะที่ปริมาณการบริโภคยังคงได้รับแรงกดดันจากการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) รอบแรกในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ทำให้นายชินโซะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นกล่าวว่าเขาจะเลื่อนเวลาในการปรับขึ้น VAT รอบสองออกไปจากที่แผนเดิมจะปรับขึ้น VAT รอบสองสู่ 10% ในเดือนตุลาคม ปี 2558 ซึ่งนายอาเบะได้ประกาศยุบสภาล่างของญี่ปุ่นเพื่อทำการจัดการเลือกตั้งใหม่ใน ช่วงกลางเดือนธันวาคมเพื่อต้องการยืนยันถึงเสียงสนับสนุนจากประชาชน ค่าเงินเยนวันนี้เคลื่อนไหวอยู่ที่ 117.37 เยน/ดอลลาร์ ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 118.23/25 เยน/ดอลลาร์

 

ในช่วงสัปดาห์นี้ตลาดรอติดตามการเปิดเผย ข้อมูลทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ รายงานการประชุมเดือนตุลาคมของธนาคารกลางญี่ปุ่น จีดีพีและดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐ (25/11) จีดีพีของอังกฤษ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนและยอดขายบ้านใหม่ของสหรัฐ (26/11) ดัชนีราคาผู้บริโภค อัตราการว่างงานและยอดค้าปลีกของญี่ปุ่น ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของอังกฤษ ข้อมูลการว่างงานและข้อมูลเงินเฟ้อเบื้องต้นของยูโรโซน (28/11)

 

อัตรา ป้องกันความเสี่ยง (Swap point) 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ +5.0/5.1 สตางค์/ดอลลาร์ และอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ +9.5/10.0 สตางค์/ดอลลาร์

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ (วันที่ 24 พฤศจิกายน 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (24 พ.ย.) เพราะได้รับแรงกดดันจากกระแสคาดการณ์ที่ว่า กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) อาจจะไม่ปรับลดเพดานการผลิตในการประชุมที่จะมีขึ้นในสัปดาห์นี้

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนม.ค.ลดลง 73 เซนต์ ปิดที่ 75.78 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนม.ค.ลดลง 68 เซนต์ ปิดที่ 79.68 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

นักลงทุนจับตาการประชุมของกลุ่มโอเปคที่จะมีขึ้นในวันที่ 27 พ.ย.นี้อย่างใกล้ชิด โดยจนถึงขณะนี้ กลุ่มโอเปคยังคงมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับเพดานการผลิต ขณะที่นายอาลี อัล-โอแมร์ รัฐมนตรีน้ำมันคูเวต กล่าวว่า เขาไม่คิดว่าโอเปคจะตัดสินใจลดการผลิตในการประชุมครั้งนี้

 

อย่างไรก็ตาม มอร์แกน สแตนลีย์ คาดการณ์ว่า มีความเป็นไปได้ว่ากลุ่มโอเปคจะปรับลดเพดานการผลิตในการประชุมวันที่ 27 พ.ย.นี้ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ขณะที่บีเอ็นพี พาริบาส์คาดการณ์ว่า โอเปคอาจจะลดเพดานการผลิตลงราว 1-1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพื่อหนุนราคาน้ำมันให้สูงขึ้น

 

นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาดูรายงานสต็อกน้ำมันประจำสัปดาห์ ซึ่งสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) จะเปิดเผยในวันพุธที่ 26 พ.ย. เวลา 22.30 น.ตามเวลาไทย หลังจากสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐในรอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 14 พ.ย. เพิ่มขึ้น 2.6 ล้านบาร์เรล แตะที่ 381.1 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 4 ก.ค. และตรงข้ามกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 780,000 บาร์เรล

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 25 พฤศจิกายน 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 24 พ.ย.2557

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (24 พ.ย.) โดยดัชนีดาวโจนส์ และ S&P 500 ปิดที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพราะได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของตลาดหุ้นทั่วโลก หลังจากธนาคารกลางหลายแห่งส่งสัญญาณการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหม่

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,817.90 จุด เพิ่มขึ้น 7.84 จุด หรือ +0.04% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,754.89 จุด เพิ่มขึ้น 41.92 จุด หรือ +0.89% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,069.41 จุด เพิ่มขึ้น 5.91 จุด หรือ +0.29%

 

-- ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเมื่อคืนนี้ (24 พ.ย.) เพราะได้แรงหนุนจากแรงซื้อหุ้นกลุ่มธนาคาร และดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของเยอรมนีในเดือนพ.ย.ปรับตัวขึ้นเป็นครั้ง แรกในรอบ 7 เดือน

 

ดัชนี Stoxx Europe 600 เพิ่มขึ้น 0.1% ปิดที่ 345.72 จุด

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดวันทำการล่าสุดที่ 4,368.44 จุด เพิ่มขึ้น 21.21 จุด, +0.49% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดวันทำการล่าสุดที่ 9,785.54 จุด เพิ่มขึ้น 52.99 จุด, +0.54% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,729.79 จุด ลดลง 20.97 จุด หรือ -0.31%

 

-- ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลดลงเมื่อคืนนี้ (24 พ.ย.) หลังจากที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5 สัปดาห์ติดต่อกัน โดยหุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลงและได้ฉุดตลาดหุ้นลอนดอนอ่อนแรงลงด้วย

 

ดัชนี FTSE 100 ปรับตัวลดลง 20.97 จุด หรือ 0.31% ปิดที่ 6,729.79 จุด

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (24 พ.ย.) เพราะได้รับแรงกดดันจากกระแสคาดการณ์ที่ว่า กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) อาจจะไม่ปรับลดเพดานการผลิตในการประชุมที่จะมีขึ้นในสัปดาห์นี้

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนม.ค.ลดลง 73 เซนต์ ปิดที่ 75.78 ดอลลาร์/บาร์เรล

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนม.ค.ลดลง 68 เซนต์ ปิดที่ 79.68 ดอลลาร์/บาร์เรล

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (24 พ.ย.) เพราะได้รับแรงกดดันจากการปรับตัวลงของสัญญาน้ำมันดิบ อันเนื่องมาจากกระแสคาดการณ์ที่ว่า กลุ่มโอเปคอาจจะไม่ปรับลดเพดานการผลิตในการประชุมสัปดาห์นี้

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ร่วงลง 2 ดอลลาร์ หรือ 0.17% ปิดที่ 1,195.7

 

ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค.ลดลง 1.9 เซนต์ ปิดที่ 16.376 ดอลลาร์/ออนซ์

ส่วนสัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนม.ค.ร่วงลง 19.8 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,207.5 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนธ.ค.ลดลง 4.80 ดอลลาร์ ปิดที่ 790.10 ดอลลาร์/ออนซ์

 

-- สกุลเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (24 พ.ย.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซา

 

ยูโรแข็งค่าขึ้นแตะระดับ 1.2437 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันศุกร์ที่ 1.2388 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะระดับ 1.5698 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5647 ดอลลาร์สหรัฐ และดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงแตะ 0.8612 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8662 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 118.29 เยน จากระดับ 117.79 เยน แต่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9668 ฟรังค์ จากระดับ 0.9701 ฟรังค์ และอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดาที่ระดับ 1.1299 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.1240 ดอลลาร์แคนาดา

 

ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 17,817.90 จุด เพิ่มขึ้น 7.84 จุด +0.04%

 

ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,754.89 จุด เพิ่มขึ้น 41.92 จุด +0.89%

 

ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 2,069.41 จุด เพิ่มขึ้น 5.91 จุด +0.29%

 

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,729.79 จุด ลดลง 20.97 จุด -0.31%

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่ย่ำแย่ผิดคาดในไตรมาส 3 กดดันให้ นายชินโสะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีลื่อนแผนปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มระยะสองออกไปจากกำหนดเดิมอีก 18 เดือน พร้อมกับยุบสภาเพื่อขอฉันทามติจากประชาชน หลายฝ่ายชี้ว่า สถานการณ์ดังกล่าวสะท้อนถึงความล้มเหลวของนโยบาย "อาเบะโนมิกส์" แต่บางคนเห็นตรงข้าม

 

จีดีพีในไตรมาสที่แล้วของญี่ปุ่นหดตัว 1.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หลังจากในไตรมาส 2 ขยายตัวติดลบ 7.3% ส่งผลให้เศรษฐกิจประเทศดังกล่าวเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิค ซึ่งล้วนเป็นผลจากการปรับขึ้นภาษีภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อ 1 เมษายนที่ผ่านมา จาก 5% เป็น 8% และจะปรับขึ้นอีกครั้งเป็น 10% ตุลาคมปีหน้าแม้ญี่ปุ่นจะเข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว แต่ บิสซิเนส อินไซเดอร์ มองว่า เป็นไปในเชิงคำจำกัดความเท่านั้น เพราะสภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่แท้จริงยังอยู่ในระดับที่ดีกว่ายูโรโซน หรือสหรัฐในหลายด้าน เช่น อัตราการว่างงาน โดยในแดนปลาดิบอยู่ที่เพียง 3.6% ขณะที่ในสหรัฐอยู่ที่ 6% และยุโรปสูง กว่า 10% ที่สำคัญแผนปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มทั้ง 2 ระยะไม่ได้ริเริ่มโดยรัฐบาลนายอาเบะ แต่เป็นมรดกจากรัฐบาลชุดที่แล้ว จากพรรคประชาธิปไตยแห่งญี่ปุ่น (DPJ) แกนนำฝ่ายค้านในปัจจุบัน

 

การปรับขึ้นภาษีเป็นเรื่องที่จำเป็น เพื่อลดภาระหนี้สาธารณะที่สูงกว่าจีดีพีญี่ปุ่นกว่า 2 เท่า แต่ในภาวะที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังเปราะบาง การลดหนี้สินอาจสำคัญน้อยกว่าการกระตุ้นตัวเลขการเติบโต

 

วอลล์สตรีต เจอร์นัล ตั้งข้อสังเกตว่าการชะลอแผนขึ้นภาษีระยะสองออกไปเป็นเดือนเมษายน 2560 ชี้ถึงการจัดลำดับความสำคัญของนายอาเบะ ซึ่งอาจได้รับบทเรียนจากความผิดพลาดของยุโรปที่มุ่งลดการขาดดุลงบประมาณให้ได้ตามเกณฑ์ มากกว่าจะเน้นฟื้นฟูเศรษฐกิจผ่านการผนึกกำลังของนโยบายการเงินและการคลัง ทั้ง ๆ ที่ยูโรโซนกำลังเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำและคนว่างงานมหาศาล

 

นอกจากนี้ นโยบายอาเบะโนมิกส์ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1) การคลัง เพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ 2) การเงิน ธนาคารกลางอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ และ 3) การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ยังไม่เสร็จเรียบร้อย โดยเฉพาะข้อ 3 ซึ่งยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก ดังนั้น การฟันธงว่าอาเบะโนมิกส์ล้มเหลวจึงอาจเป็นการด่วนสรุปเกินไป

 

การตัดสินใจยุบสภาของผู้นำญี่ปุ่น ไม่เพียงมาจากแรงกดดันทางเศรษฐกิจเท่านั้น ปัจจัยการเมืองก็สำคัญไม่แพ้กัน ในภาวะที่พรรคฝ่ายค้านยังรวมตัวกันไม่ติด และไม่มีใครที่โดดเด่นพอจะมาเทียบรัศมีกับนายอาเบะได้ ขณะที่พรรคร่วมรัฐบาลอย่างพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) และพรรคโคเมะอิโตะยังมีสายสัมพันธ์แนบแน่น โอกาสในการกลับมาครองเก้าอี้นายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่สามของนายอาเบะ จึงไม่ใช่เรื่องยากเย็น การจัดการเลือกก่อนกำหนดในช่วงนี้นับเป็นจังหวะเวลาที่เหมาะสม

 

แม้มีความเป็นไปได้สูงที่พรรคร่วมรัฐบาลชุดปัจจุบันจะกลับมาครองเสียงข้างมากในสภาอีกครั้งหลังการเลือกตั้งวันที่ 14 ธันวาคมนี้ แต่อาจจะได้ที่นั่งลดลง เพราะรัฐบาลนายอาเบะเองมีชนักติดหลังหลายประเด็น เช่น ความพยายามแก้ไขบทบัญญัติข้อ 9 ในรัฐธรรมนูญ ที่ระบุให้ญี่ปุ่นมีเพียง "กองกำลังป้องกันตนเอง" เท่านั้น แต่นายอาเบะต้องการเสริมเขี้ยวเล็บให้มีศักยภาพเทียบเท่ากองทัพของประเทศอื่นๆ ประเด็นนี้ถูกคัดค้านอย่างหนัก และสร้างความกังวลให้กับนานาชาติว่าอาจนำไปสู่การเผชิญหน้ากับจีนที่มีข้อพิพาทเขตแดนเหนือทะเลจีนตะวันออก

 

อีกนโยบายที่สร้างความไม่พอใจให้คือ การเปิดเดินเครื่องเตาปฏิกรณ์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ สวนทางกับนโยบายลดการพึ่งพาพลังงานนิวเคลียร์ที่รัฐบาลชุดก่อนปูทางไว้ เนื่องจากประสบการณ์จากภัยพิบัติสึนามิรวมถึงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะชัดเจนในความทรงจำของคนญี่ปุ่น นโยบายนี้จึงเรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์อื้ออึง

 

แม้อาเบะโนมิกส์จะยังไม่สำเร็จอย่างที่นายอาเบะให้คำมั่นไว้ แต่อย่างน้อยก็เป็นมาตรการที่เป็นรูปธรรมในช่วงหลายปีมานี้ ที่หลายคนฝากความหวังว่าจะช่วยปลดโซ่ตรวนภาวะเงินฝืด ที่เกาะติดเศรษฐกิจญี่ปุ่นมานานนับทศวรรษออกไปเสียที

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ (วันที่ 24 พฤศจิกายน 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 32.82/83 บาท/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดอยู่ที่ระดับ 32.81/86 บาท/ดอลลาร์

 

สำหรับวันนี้ คาดว่าเงินบาทจะยังคงแกว่งในกรอบแคบระหว่าง 32.75-32.90 บาท/ดอลลาร์ รอ GDP ไตรมาส 3 ของสหรัฐฯ

 

"เงินบาทเช้านี้ถือว่ายังไม่ขยับไปไหน แม้ยูโรจะแข็งค่าขึ้นจากรายงานของ Ifo สถาบันวิจัยเศรษฐกิจของเยอรมนีซึ่งระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของเยอรมนีในเดือนพ.ย.ปรับตัวขึ้นแตะระดับ 104.7 จากระดับ 103.2 ในเดือนต.ค. โดยเป็นการปรับตัวขึ้นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน หลังจากที่อ่อนแรงลงติดต่อกันมา 6 เดือน คาดว่าตลาดจับตา GDP สหรัฐฯที่จะประกาศคืนนี้" นักบริหารเงิน กล่าว

 

* ปัจจัยสำคัญ

 

- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 118.10 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่อยู่ทึ่ระดับ 118.05 เยน/ดอลลาร์

 

- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.2430 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่อยูที่ระดับ 1.2375 ดอลลาร์/ยูโร

 

- อัตราแลกเปลี่ยนบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ 32.7940 บาท/ดอลลาร์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กรุงเทพฯ--25 พ.ย.--MTS Gold Group

 

ราคาทองคำเปิดตลาดที่ระดับ 1,201 เหรียญ/ออนซ์ และกลับมาปิดช่วงกลางคืนที่ระดับ 1,200เหรียญ/ออนซ์ (22.30น.) ค่าเงินบาทปิด 32.84 บาท/ดอลลาร์ ราคาสมาคมเปิดที่ 18,550บาท กับ 18,650บาท และกลับมาปิดที่ 18,500 บาท กับ 18,600 บาท

 

ปริมาณการซื้อขาย Gold Futures 50 บาทอยู่ที่ 959 คู่สัญญาแบบ 10 บาทอยู่ที่ 6,552 คู่สัญญา Open Interest แบบ 50 บาท ลดลง 2 % แบบ10 บาท ลดลง 3% GFZ14 ปิด 18,700 บาท และ GFG14 ปิด 18,770 บาท GF10Z14 ปิดที่ 18,710 บาท GF10G14 ปิดที่ 18,760 บาท

 

สัญญา Comex ร่วงลง 2 ดอลลาร์ ปิดที่ระดับ 1,195.7 ดอลลาร์/ออนซ์ NYMEX ลดลง 73 เซนต์ ปิดตลาดที่ระดับ 75.78 ดอลลาร์/บาร์เรล SPDR ถือครองทองคำที่ระดับ 720.91 ตัน ( คงทองเท่าเดิม)

 

ข่าวที่สำคัญ

 

-เมื่อคืนนี้ราคาทองคำปิดปรับตัวลดลง 0.17% และปิดต่ำกว่าระดับ 1,200 เหรียญอีกครั้ง เพราะได้รับแรงกดดันจากแรงเทขายของนักลงทุน หลังตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดปรับตัวแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ รวมถึงราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลง

 

-นักกลยุทธ์จาก มิทซูบิชิ ครอป กล่าวว่า แม้ราคาทองคำจะปรับตัวลดลงจากกระแสข่าวการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของจีนที่เจือจางลงไป แต่การขับเคลื่อนมาตรการทางการเงินของจีนจะช่วยสนับสนุนปริมาณความต้องการทองคำให้ปรับเพิ่มขึ้นได้ และจะผลักดันให้ราคาทองคำตอบรับกับผลเชิงบวกในระยะยาว

 

-นักวิเคราะห์จาก ABN กล่าวว่า การปรับตัวขึ้นของราคาทองคำในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมาช่วยหยุดแนวโน้มขาลงของทองคำได้ในระยะสั้น แต่ยังคงมีความเป็นไปได้ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงกลางปีหน้าหรือเร็วกว่าคาด ซึ่งอาจส่งผลให้ตลาดตอบรับอย่างรวดเร็ว และจะส่งผลกดดันราคาทองคำในทิศทางขาลงต่อ

 

-นักวิเคราะห์จากคิทโก ระบุว่า ทองคำอาจปรับตัวขึ้นต่ออย่างยากลำบาก เพราะได้รับปัจจัยลบที่เข้ามากดดัน ได้แก่ การแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับค่าเงินหลักอื่นๆทั่วโลก รวมถึงดัชนีดอลลาร์ (Dollar Index) ยังคงปรับตัวสูงขึ้นในรอบ 4 ปี แตะระดับ 88.388 ก่อนจะปรับตัวลงเพราะได้รับแรงกดดันจากแรงเทขายทำกำไร

 

เทรดเดอร์ทองคำ ระบุว่า ตลาดทองคำจะค่อนข้างเงียบเหงาในช่วงปลายสัปดาห์นี้จากวันหยุด Thanksgiving ของสหรัฐฯ ขณะที่นักลงทุนบางส่วนรอคอยผลการประชุมของโอเปกในสัปดาห์นี้ รวมถึงผลการลงประชามติของชาวสวิสเซอร์แลนด์ต่อการถือครองทองคำเพิ่มขึ้น 20% ของธนาคารกลางสวิสฯ

 

-ค่าเงินดอลลาร์ยังคงผันผวนและกลับมาอ่อนค่าสู่ระดับ 1.2437 ยูโร/ดอลลาร์ จากระดับ 1.2388 ยูโร/ดอลลาร์ เพราะได้รับแรงกดดันจากข้อมูลกิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่ส่งสัญญาณชะลอตัวในเดือนที่ผ่านมา

 

-ค่าเงินเยนอ่อนค่าใกล้แตะระดับต่ำสุดในรอบ 7 ปีเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ 0.4% สู่ระดับ 118.22 เยน/ดอลลาร์ จากระดับ 117.79 เยน/ดอลลาร์ เพราะได้รับแรงกดดันจากความต้องการเงินเยนที่ลดลง หลังธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลกส่งสัญญาณดำเนินนโยบายกระตุ้นทางการเงินเพิ่มเติม

 

-ผลสำรวจจากธนาคารกลางเฟด สาขาชิคาโก ระบุว่า ดัชนีกิจกรรมภาคการผลิตประจำเดือนตุลาคม ปรับตัวลดลงสู่ระดับ +0.14 จาก +0.29 ในเดือนก่อนหน้า แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯเริ่มชะลอตัวลงในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา

 

-สถาบัน Ifo ของเยอรมนี เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของเยอรมนีประจำเดือนพฤศจิกายน ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 104.7 จากระดับ 103.2 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน หลังจากที่อ่อนแรงมาอย่างต่อเนื่อง

 

-เช้าวันนี้ สรุปรายงานการประชุมของบีโอเจ วาระ 30 ตุลาคม ระบุว่า เจ้าหน้าที่บีโอเจยังคงมีความวิตกกังวลกับการเพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงและอาจส่งผลกระทบต่อยอดงบดุลของรัฐบาลญี่ปุ่นได้

 

-ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง เพราะได้รับแรงกดดันจากกระแสคาดการณ์ที่ว่า กลุ่มโอเปคอาจจะไม่ปรับลดเพดานการผลิตในการประชุมที่จะถึงนี้

 

-ขณะที่อิหร่านพยายามผลักดันให้กลุ่มโอเปคปรับลดปริมาณการผลิตลง 1 ล้านบาร์เรล/วัน ก่อนการประชุมจะเริ่มต้นขึ้น 27 พ.ย.นี้

 

-สำนักข่าว MKS ระบุว่า การเจรจาโครงการนิวเคลียของอิหร่านกับชาติมหาอำนาจมีแนวโน้มจะขยายกำหนดเส้นตายออกไป และคาดว่าจะมีการเปิดประชุมใหม่ในเดือนธันวาคม หลังมีรายงานว่าการตัดสินใจหาข้อตกลงสุดท้ายร่วมกันล้มเหลว

 

-เมื่อวานนี้ นาย ซัค ฮาเกล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ประกาศลาออกจากตำแหน่ง หลังได้รับแรงกดดันจากการเผชิญความท้าทายจากวิกฤตการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ

 

-ทั้งนี้นักวิเคราะห์จาก รอยเตอร์ ระบุว่า การลาออกของนายซัค ฮาเกล ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งแรกของพรรคเดโมแครต และอาจสร้างความกดดันในการดำรงตำแหน่งของนายโอบามา หลังจากจบการเลือกตั้งกลางเทอมในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมาพรรครีพับลิกันได้รับชัยชนะและสามารถครองเสียงส่วนใหญ่ได้ทั้ง 2 สภา ดังนั้นจึงต้องจับตาไปยังการปรับเปลี่ยนครั้งใหม่ของทำเนียบขาวอย่างใกล้ชิด

 

-ตลาดหุ้นดาวโจนส์ปิด +0.04% และยังคงปิดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ต่อเนื่อง 3 วันทำการ เพราะได้รับแรงสนับสนุนจากการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นทั่วโลก หลังธนาคารกลางหลายแห่งได้ส่งสัญญาณการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหม่

 

-เช้าวันนี้ ดัชนีนิกเกอิ เปิด +0.77% เพราะได้รับแรงหนุนจากตลาดหุ้นดาวโจนส์ที่ปรับตัวสูงขึ้น 3 วันทำการ

 

-นักบริหารเงิน ประเมินว่า ค่าเงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าต่อเนื่องจนถึงสิ้นปีนี้ ซึ่งในวันนี้คาดจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.75-32.90 บาท/ดอลลาร์

 

ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญเมื่อคืนนี้

 

- ไม่มีตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ

 

ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญในคืนนี้

 

Prelim GDP q/q ตัวเลขเดิมอยู่ที่ระดับ 3.5 % ตัวเลขที่คาดการณ์อยู่ที่ระดับ 3.3 %

 

CB Consumer Confidence ตัวเลขเดิมอยู่ที่ระดับ 94.5 ตัวเลขที่คาดการณ์อยู่ที่ระดับ 95.9

 

ทิศทางราคาทองคำ

 

ตลาดทองคำเคลื่อนไหวในกรอบแคบเช่นเดิม โดยปราศจากตัวกระตุ้นทางด้านข่าวใดๆ ราคาเคลื่อนไหวในกรอบ 1,195-1,205 เหรียญ โดยเมื่อวาน SPDR ยังคงถือครองทองคำเท่าเดิม 720.91 ตัน ในคืนนี้จะมีการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ได้แก่ Prelim GDP ไตรมาสที่ 3/2014 คาดว่าจะลดลงเล็กน้อย ขณะที่ CB Consumer Confidence คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย จึงคาดว่าจะไม่ส่งผลใดๆต่อตลาดมากนัก ขณะที่ดอลลาร์ทรงตัวในทิศทางแข็งค่าเมื่อเทียบกับยูโร เช้านี้อยู่ที่ระดับ 1.2430 เยน/ดอลลาร์ ขณะที่ค่าเงินเยนอยู่ในทิศทางอ่อนค่าที่ระดับ 118.113 เยน/ดอลลาร์

 

วิเคราะห์ราคาทองคำทางเทคนิค

 

ราคาทองคำยังคงเคลื่อนตัวในทิศทาง Sideways ในกรอบ 1,190 – 1,205 เหรียญ โดยที่ถ้าวันนี้ยังไม่สามารถยืนเหนือ 1,210 เหรียญขึ้นไปได้ โอกาสที่จะปรับตัวลงจะมีสูงขึ้น แนวรับสำคัญของทองคำอยู่ที่ 1,180 เหรียญ

 

กลยุทธ์การลงทุนในวันนี้

 

แนะนำบริหารพอร์ตให้ดี สำหรับการแกว่งตัวในทิศทาง Sideways ขณะนี้ ทำกำไรระยะสั้นระวังความผันผวนของตลาด

 

- นักลงทุนที่ถือ Long Position และ นักลงทุนที่ถือ Short Position

 

ทำกำไรระยะสั้น และบริหารพอร์ตให้สมดุลกับความผันผวนของตลาด

 

กลยุทธ์สำหรับนักลงทุน Weekly Trading

 

Wait and See ปรับพอร์ตให้เหมาะสมกับสภาพตลาด อย่างไรก็ดีภาพหลักของทองคำยังคงเป็นแนวโน้มขาลง

 

Gold Futures Z14 จะมีแนวรับที่ระดับ 18,620 บาท และแนวต้านที่ระดับ 18,820 บาท

 

Gold Futures G15 จะมีแนวรับที่ระดับ 18,680 บาท และแนวต้านที่ระดับ 18,880 บาท

 

บทวิเคราะห์ข้างต้น ยึดหลักตาม Technical Analysis บริษัทไม่ได้มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ต่อการวิเคราะห์ข้างต้นและโปรดระลึกเสมอว่าการลงทุนมีความเสี่ยงโปรดใช้วิจารณญาณในการลงทุนด้วยตัวของท่านเอง

 

ประชาสัมพันธ์:

 

1. เรียนเชิญนักลงทุนเข้าร่วมงานสัมมนาพิเศษ “Technical Class : ทำกำไรในทองคำโดยใช้กราฟเทคนิค” (Level 2) ร่วมบรรยายโดย นพ. กฤชรัตน์ หิรัณยศิริ วันที่ 15 ธันวาคม 2557 ณ สาขาเซ็นทรัลปิ่นเกล้า ชั้น17 เวลา 15.00-17.00น. รับจำนวนจำกัด 40 ที่นั่ง สามารถสำรองที่นั่งได้ที่ MTS Gold Call Center: 02 770 7777

 

(เปิดรับเฉพาะสมาชิกของบริษัท MTS Gold และ MTS Gold Futures เท่านั้น หากผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกต้องมีการเปิดบัญชีก่อนเข้าร่วมงานสัมมนา).

 

2. HOT Line: “MTS E-Business 02-770-7791”

 

นักลงทุนสามารถสอบถามรายละเอียดด้านการลงทุนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ทั้งระบบ Gold Online และGold Futures ได้ตั้งแต่เวลา 09.00-24.00น.

 

ที่มา : ThaiPR.net (วันที่ 25 พฤศจิกายน 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...