ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
ส้มโอมือ

พลังงานไทย เป็นสมบัติของชาติไทยและของคนไทย ไม่ใช่สมบัติของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

โพสต์แนะนำ

ประสาท มีแต้ม

 

รัฐบาลนั่นแหละตัวบิดเบือนราคาน้ำมัน ค่อยๆเริ่มปี 2545 และรุนแรงมากขึ้นในปี 2557

10258242_10152442570066069_3400139783474584850_o.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ประสาท มีแต้ม

 

8 ชม.

 

บริษัทรับสัมปทานปิโตรเลียมมีกำไรสุทธิในปี 2554 แค่ร้อยละ 97 ของเงินลงทุนเอง

 

ตัวเลขทั้งหมดมาจากรายงาน กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เพียงแต่มันอยู่กันคนละหน้า เมื่อนำต่อกันก็พบว่า กำไรสุทธิ 139,940.5 ล้านบาทเอง! ผมลอกมาแปะให้เห็นกันชัดๆ

 

ใครไม่เชื่อ ดาวน์โหลดมาอ่านได้ ข้าราชการอ้างรัฐได้ส่วนแบ่งมากกว่าบริษัท แต่จงใจไม่คิดว่า แล้วบริษัทมีกำไรสุทธิเท่าใด

 

นี่คือเหตุหนึ่งของการแก้ไข พรบ ปิโตรเลียม มี่เป็น "จดหมายผิดซอง"

 

10461347_10152443137196069_3689400743598648897_n.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พูดความจริงปนความเท็จครับ ราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นของสิงคโปร์ถูกกว่าราคาหน้าโรงกลั่นของไทย(ส่วนนี้ คุณโสภณพูดซึ่งเป็นความจริง) แต่คุณกำลังเอาราคาขายปลีกหน้าปั้มน้ำมันในสิงคโปร์มาเทียบกับราคาหน้าปั้ม น้ำมันของไทยครับ รายได้เฉลี่ยของคนสิงคโปร์สูงกว่าเรามากนะครับ อย่าบอกนะว่าคนที่กินเงินเดือนปีนึงไม่ต่ำกว่า100ล้านฟังคุณโสภณพูดไม่เข้า ใจ

 

 

ธุรกิจ

 

วันที่ 22 เมษายน 2557 17:01

ปตท.ปัดถูกระบบทักษิณครอบงำ

 

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

 

 

news_img_577050_1.jpg

 

"ปตท." ยืนยัน ไม่ได้ถูก "ระบอบทักษิณ" ครอบงำ ตามที่ "โสภณ สุภาพงษ์" กล่าวพาดพิง ระบุ ราคาน้ำมันไทยถูกกว่าสิงคโปร์

 

 

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เปิดเผยถึงกรณีที่นายโสภณ สุภาพงษ์ ปราศรัยบนเวที กปปส.ที่สวนลุมพินี ที่อ้างว่าปตท.ถูกระบอบทักษิณกลืนกินไปหมดนั้น มองว่า การปฏิรูปปตท.เกิดขึ้นในสมัยของนายชวน หลีกภัยเป็นนายกรัฐมนตรี และปฏิรูปได้สำเร็จในยุคของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้าเป็นนายกฯ สังกัดพรรคเพื่อไทย จึงมองว่าปตท. ไม่ได้ถูกระบอบทักษิณกลืนกินอย่างที่นายโสภณ กล่าว

ส่วนกรณีที่มีการผูกขาดราคาน้ำมันและสมมติเอาราคาน้ำมัน ซึ่งนายไพรินทร์ มองว่า ประเทศไทยมีหน่วยงานกำกับดูแลราคาน้ำมันอยู่ และประเทศไทยมีการซื้อขายน้ำมันในตลาดเสรีทั้งนำเข้าและส่งออก ปตท.จึงไม่มีสิทธิในการผูกขาดหรือสมมติราคาน้ำมันเอง

นอกจากนี้ กรณีที่กล่าวว่าประเทศไทยใช้น้ำมันแพงกว่าสิงคโปร์นั้น ทางปตท.ได้ ตรวจสอบว่าน้ำมันที่แพงที่สุดของประเทศไทยยังถูกกว่าน้ำมันของสิงคโปร์ จึงมองว่าข้อมูลที่นายโสภณ กล่าวบนเวทีกปสส.ไม่ใช่ความจริงทั้งหมด และสร้างความเข้าใจที่ผิดให้ประชาชน ซึ่งหากทางปตท.ได้ตรวจสอบว่าเป็นการพาดพิงถึงบริษัทฯ จริงก็จะดำเนินการฟ้องร้องนายโสภณ สุภาพงษ์ ต่อไป

" ตั้งแต่ปี 1980 มองว่ายุคของราคาน้ำมันได้เปลี่ยนไป เปลี่ยนเป็นราคาตลาดแทนราคาสมุติ ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายจะตกลงกัน ว่าจะซื้อขายกันในราคาเท่าไหร่ ซึ่งหากเราอยากขาย เราก็แค่ตั้งให้มันถูก นอกจากนี้ ในไทยยังมีเรคกูเลเตอร์มาดูแล ดังนั้น หากพูดว่า ปตท.สมมติเอาราคาน้ำมัน ก็เหมือนกับเป็นการต่อว่าเรกกูเลเตอร์ " นายไพรินทร์ กล่าว

นายไพรินทร์ กล่าวว่า การก่อตั้ง ปตท.ก็เพื่อการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศไทย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อาจารย์Decharut Sukkumnoed เข้าร่วมประชุมงเวทีถกพลังงานเมื่อวันอาทิตย์ที่15/06/57 เล่าได้ดีมาก สำหรับคนที่สนใจเรื่องพลังงานต้องอ่านครับ

 

 

 

Decharut Sukkumnoed

 

7 ชม.

 

กองทุนน้ำมัน: ชัดเจนว่าต้องเปลี่ยนแปลง

 

เนื่องจากเนื้อหาสาระของเวทีถกพลังงานเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมามีรายละเอียดมากเลย และคสช. ขอให้นำเสนอด้วยความระมัดระวัง ผมจึงขอเล่าไปทีละส่วน โดยผมจะประมวลทางเลือกทั้งหมดที่นำเสนอ และพยายามหลีกเลี่ยงการสรุปว่า ทางเลือกใดดีที่สุด (ในขณะนี้) จนกว่าจะมีการนำเสนอข้อเสนอที่เป็นทางการต่อคสช.ภายในสัปดาห์นี้ ทั้งนี้ สิ่งที่ผมเขียนเป็นเพียงมุมมองจากผม มิใช่บันทึกการประชุม และมิใช่สเตตัสทางการเมือง

 

ผมขอเริ่มที่กองทุนน้ำมันก่อน กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีขึ้นมาตั้งแต่พ.ศ. 2520 เพื่อรองรับความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก แต่สิ่งที่คนบางส่วนยังไม่ทราบคือ กองทุนน้ำมันไม่ได้ใช้เงินของรัฐแม้แต่บาทเดียว แต่ใช้วิธีเก็บเงินจากผู้ใช้นำมันเอง ในอดีตการเก็บเงินกองทุนน้ำมันจะเก็บเงินเข้ากองทุนในช่วงเวลาที่น้ำมันในตลาดโลกมีราคาถูกลง (ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศสูงขึ้น) และนำมาจ่ายเงินสนับสนุนในช่วงเวลาที่ราคานำมันในตลาดโลกมีราคาสูงผิดปกติ (ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศถูกลง) จะเห็นว่า วัตถุประสงค์เดิมของกองทุนน้ำมันนั้นคือ การทำให้ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศมีความผันผวนน้อยลง หรือมีเสถียรภาพมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับราคาในตลาดโลก โดยมิได้การอุดหนุนจากรัฐ เป็นเพียงผู้ใช้ต้องจ่ายเงินแพงขึ้นในช่วงเวลาที่น้ำมันดิบในโลกถูก เพื่อช่วยให้ตนเองจ่ายถูกลงในช่วงที่น้ำมันดิบในตลาดโลกมีราคาแพงเท่านั้น

 

แต่ปัจจุบัน การใช้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงกลับใช้ผิดวัตถุประสงค์ไปอย่างมาก เพราะกลายเป็นกองทุนที่เรียกเก็บเงินจากผู้ใช้ประเภทหนึ่ง เพื่อมาจ่ายชดเชยให้ผู้ใช้อีกประเภทหนึ่ง กลายเป็นว่า รัฐบาลได้ใช้อำนาจรัฐทำให้ผู้ใช้กลุ่มหนึ่งต้องจ่ายแพงขึ้น (แบบค่อนข้างถาวร) เพื่อมาอุดหนุนผู้ใช้อีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งจะได้ใช้ถูกลง (แบบค่อนข้างถาวรเช่นกัน) ซึ่งการนำเงินจากคนกลุ่มหนึ่งมาจ่ายให้คนอีกกลุ่มหนึ่งภาษา วิชาการเรียกว่า การอุดหนุนข้ามกลุ่มหรือ Cross subsidy ซึ่งในปัจจุบัน ผู้ใช้น้ำมันดีเซล ผู้ใช้น้ำมันเบนซิน และผู้ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอลล์ 91 และ 95 ต้องจ่ายเพื่อสนับสนุนกลุ่มผู้ใช้น้ำมันอี 20 และอี 85 และผู้ใช้ก๊าซหุงต้ม

 

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ แม้ว่ากองทุนน้ำมันจะไม่ใช่นโยบายประชานิยมที่ส่งผลเสียหายต่อการคลังของรัฐ แต่กองทุนน้ำมันก็ทำให้เกิดการบิดเบือนของราคาในตลาด และทำให้คนกลุ่มหนึ่งได้ประโยชน์ในขณะที่คนอีกกลุ่มหนึ่งเสียประโยชน์ไป

 

การประชุมหารือเรื่องพลังงานที่ผ่านมาจึงมีความเห็นตรงกันว่า กองทุนน้ำมันนั้นมีการใช้ผิดวัตถุประสงค์ไปมาก และการใช้อำนาจรัฐเรียกเก็บเงินจากคนกลุ่มหนึ่ง เพื่อมาจ่ายให้กับคนอีกกลุ่มหนึ่งอาจขัดกับหลักของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กระทรวงพลังงานก็เป็นห่วงข้อนี้เช่นกัน) ดังนั้น จึงควรมีการทบทวนการดำเนินการของกองทุนน้ำมันโดยด่วน

 

อย่างไรก็ดี ความแตกต่างทางความคิดในเวทีดังกล่าวเกิดขึ้นใน 2 ประเด็นคือ ประเด็นแรก เรายังควรมีกองทุนน้ำมันอยู่ต่อไปหรือไม่? และประเด็นที่สอง เราจะเปลี่ยนกองทุนน้ำมันไปสู่จุดที่มีการบิดเบือนราคาน้อยลงและหมดไปได้อย่างไร?

 

ในประเด็นแรก ฝ่ายหนึ่งเห็นว่า น่าจะยกเลิกกองทุนน้ำมันไปได้เลย เพราะการใช้ในปัจจุบันก็ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์อยู่แล้ว จึงไม่มีประโยชน์ที่จะใช้ต่อไป อีกฝ่ายหนึ่ง เห็นว่า น่าจะยังคงรักษากองทุนน้ำมันไว้ โดยให้ทำหน้าที่เดิมเท่านั้น หมายความว่า จะต้องเลิกการอุดหนุนข้ามกลุ่มกัน แต่ให้เรียกเก็บเงินในช่วงที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีราคาต่ำลง (และเรียกเก็บจากผู้ใช้ทุกกลุ่มในอัตราเดียวกัน) เพื่อมาชดเชยในช่วงที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีราคาแพงขึ้น (และชดเชยผู้ใช้ทุกกลุ่มในอัตราเดียวกัน) ซึ่งนั่นแปลว่าการเรียกเก็บเงินเข้าหรือเอาเงินออกจากกองทุนน้ำมันจะต้องตั้งอยู่บนเนื้อน้ำมันดิบ มิใช่ราคาของน้ำมันแต่ละประเภท

 

ในประเด็นที่สอง การถกเถียงเข้มข้นกว่าประเด็นแรกมาก เพราะไปเกี่ยวพันกับความคิดที่ใครและอะไรเป็นสาเหตุที่คนบางกลุ่มถึงได้รับอุดหนุนจากคนอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งในประเด็นนี้จะเกี่ยวพันกับข้อกำหนดเบื้องต้น (หรือ assumption) ในวิธีคิดของแต่ละคน (เช่น บางท่านบอกว่าต้องช่วยอุดหนุนอี 85 เพราะมีผลดีต่อสิ่งแวดล้อม หรือบางท่านคิดว่า ไม่ควรให้ผู้ใช้น้ำมันเบนซินต้องจ่ายเงินอุดหนุนกลุ่มอื่น เพราะส่วนหนึ่งเป็นผู้ที่มีรายได้น้อย เป็นต้น) แต่ถ้าเราจะก้าวข้ามประเด็นถกเถียงนั้นไปสู่ข้อเสนอที่เป็นไปได้ ก็อาจจะมีขั้นตอนที่ทำได้อยู่ 3 ขั้นตอนด้วยกันคือ

 

ขั้นตอนที่หนึ่ง แยกกองทุนน้ำมันในส่วนน้ำมันและส่วนก๊าซหุงต้มออกจากกัน เพื่อแก้ไขปัญหาในแต่ละส่วน

 

ขั้นตอนที่สอง เริ่มแก้ไขในส่วนของน้ำมัน ซึ่งน่าจะแก้ไขได้ง่ายก่อน เพราะเม็ดเงินที่อุดหนุนข้ามกลุ่มกันนั้นมีไม่มาก โดยเราสามารถใช้วิธีการอื่นๆ ในการรักษาหรือลดระดับน้ำมันอี 85 และอี 20 เช่น การลดค่าการตลาดและการปรับโครงสร้างราคาเอทานอล เป็นต้น ซึ่งหากทำได้จะลดภาระกองทุนน้ำมันและภาระราคาน้ำมันของผู้ใช้เบนซิน แก๊สโซฮอลล์ และดีเซลลงไปได้มากทีเดียว (เพราะภาระกองทุนน้ำมันของผู้ใช้ 3 กลุ่มนี้เท่ากับ 10.00, 3.30 และ 1.20 บาท/ลิตร ตามลำดับ) ส่วนความคิดที่ว่าอยากจะให้ราคาน้ำมันเบนซินและราคาน้ำมันอี20 หรืออี 85 แตกต่างกัน เพื่อจูงใจให้คนใช้น้ำมันเอทานอลที่เป็นพลังงานหมุนเวียน ก็ควรใช้ภาษีสรรพสามิตเป็นเครื่องมือมากกว่าครับ (เพราะวัตถุประสงค์ของภาษีสรรพสามิตก็มีเพื่อจำกัดหรือลดการบริโภคสินค้าที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว แถมยังมีรายได้เข้ารัฐอีกด้วย)

 

ขั้นตอนที่สาม ในส่วนของแก๊สหุงต้มนั้น เป็นเรื่องยากมิใช่น้อยเพราะสัมพันธ์กับ 2 เรื่องที่ยังถกเถียงกันไม่จบ ก็คือ การจัดสรรแก๊สหุงต้มให้กับสาขาต่างๆ และโครงสร้างราคาแก๊สหุงต้มควรเป็นอย่างไร? เพราะการนำเงินกองทุนน้ำมันไปชดเชยในส่วนของก๊าซหุงต้มนั้นเป็นการชดเชยให้กับผู้ผลิตจาก 2 แหล่งที่มีราคาแพงกว่าคือ LPG จากโรงกลั่นและ LPG จากการนำเข้า ดังนั้นจึงเถียงกันว่า ใครควรจะได้ใช้ก๊าซหุงต้มจากแหล่งที่มีราคาถูกหรือจากโรงแยกก๊าซก่อน ระหว่างภาคครัวเรือน ภาคขนส่ง และภาคปิโตรเคมี แต่ถ้าสมมติว่าเราจะทำให้ราคาแก๊สหุงต้มในแต่ละสาขามีราคาเดียวกัน ราคาแก๊สหุงต้มก็จะอยู่ที่ประมาณ 24 บาท/กก. ซึ่งสูงกว่าที่ครัวเรือนจ่ายอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และต่ำกว่าที่ราคาภาคอุตสาหกรรมใช้อยู่มากทีเดียว (ภาคอุตสาหกรรมใช้อยู่ 31 บาท/กก.ในปัจจุบัน)

 

ทางเลือกที่มีการเสนอกันในขณะนี้มีสามทางคือ ทางแรก ให้เรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันจากภาคปิโตรเคมีมากขึ้น เพราะเป็นผู้ใช้LPG มากที่สุด และยังสามารถนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มต่างๆ มากมาย จึงน่าจะมีความสามารถในการจ่ายได้มากกว่า จนกว่ากองทุนน้ำมัน (ส่วนก๊าซหุงต้ม) จะหมดภาระหนี้ครับ ทางที่สองคือ มีผู้เสนอให้รัฐตั้งวงเงินงบประมาณในการอุดหนุนแทนที่จะเก็บเงินจากผู้ใช้ แต่ข้อเสนอนี้ก็อาจเป็นภาระทางการคลังกับภาครัฐ และอาจกลายเป็นนโยบายประชานิยมได้ ทางสุดท้ายคือ การปล่อยให้ราคา LPG เป็นไปตามกลไกตลาด แต่ต้องตกลงกันให้ได้ก่อนว่า ใครจะใช้ก๊าซจากโรงแยก ใครจะใช้จากโรงกลั่น และจากการนำเข้า (เพราะสามแหล่งนี้ราคาไม่เท่ากัน) หรือจะใช้ราคาเฉลี่ยรวม (หมายความทุกคนใช้ราคาเดียวกัน) อย่างไรก็ดี ประเด็นปัญหานี้ผมจะขอยกไปกล่าวถึงโดยละเอียดในหัวข้อเรื่องเกี่ยวกับ LPG และปิโตรเคมีก็แล้วกัน

 

กล่าวโดยสรุป ขณะนี้ทุกฝ่ายเห็นตรงกันแล้วว่า กองทุนน้ำมันมิได้ทำหน้าที่ของมันอย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการแก้ไขโดยด่วน แต่การจะแก้ไขได้แค่ไหน ก็คงจะขึ้นอยู่กับความกล้าหาญในการจัดการกับปัญหาในแต่ละส่วน ว่าจะจัดการได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดแค่ไหนเพียงใดครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ใครสนใจเรื่องพลังงาน ต้องอ่านโพสนี้ครับ

 

Decharut Sukkumnoed

 

ก๊าซ (หุงต้ม) ข้า ใครอย่าแตะ

 

เมื่อวานผมเกริ่นไว้แล้วว่า การแก้ปัญหาภาระของกองทุนน้ำมัน จะเกี่ยวพันกับการแก้ปัญหาราคาก๊าซหุงต้ม เพราะปัจจุบันภาระของกองทุนน้ำมันส่วนใหญ่มาจากการการอุดหนุนราคาก๊าซหุงต้ม ดังนั้น หากเราจะลดภาระของกองทุนน้ำมันลงมา หรือจะยกเลิกกองทุนน้ำมันก็จำเป็นต้องแก้ปัญหาเรื่องราคาก๊าซหุงต้มให้ได้ก่อนเป็นลำดับแรก วันนี้จึงของเล่าแบบสรุปประเด็นสำคัญสำหรับเรื่องนี้ให้ฟังกันนะครับ

 

ปัญหาราคาก๊าซหุงต้มนั้นมีความซับซ้อนมากกว่าปัญหาอื่นๆ เพราะมิได้เกี่ยวพันเฉพาะโครงสร้างราคา แต่ยังเกี่ยวพันกับการจัดสรรก๊าซหุงต้มหรือ LPG จากแหล่งผลิตที่มีต้นทุนแตกต่างกัน ว่าจะจัดสรรไปให้ผู้ใช้กลุ่มใดก่อน อันจะมีผลให้ราคาของผู้ใช้แต่ละกลุ่มแตกต่างกันตามไปด้วย

 

เพื่อทำความเข้าใจกับปัญหานี้ เราจะต้องเริ่มทำความเข้าจากที่มาของก๊าซหุงต้มมีอยู่ 3 แหล่ง แหล่งที่มีต้นทุนถูกที่สุด (ประมาณ 16-18 บาท/กก.) คือมาจากโรงแยกก๊าซ ซึ่งมีปริมาณผลผลิตประมาณครึ่งหนึ่งของทั้งหมด แหล่งที่มีต้นทุนสูงขึ้นคือ มาจากโรงกลั่นน้ำมัน ซึ่งมีต้นทุนประมาณ 26-27 บาท/กก. และมีปริมาณประมาณร้อยละ 25 ของก๊าซหุงต้มทั้งหมด สุดท้ายมาจากการนำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งมีต้นทุนประมาณ 29-30 บาท/กก. และมีปริมาณประมาณร้อยละ 25 ของก๊าซหุงต้มทั้งหมด

 

ขณะเดียวกัน เราก็มีผู้ใช้อยู่ 4 กลุ่ม กลุ่มแรกที่ใช้เยอะที่สุด ประมาณร้อยละ 35 คือกลุ่มปิโตรเคมี รองลงมาคือ ภาคครัวเรือนประมาณร้อยละ 32 ตามมาด้วยภาคขนส่ง ประมาณร้อยละ 24 และสุดท้ายคือ ภาคอุตสาหกรรม ใช้อยู่ประมาณร้อยละ 8 และเป็นภาคที่ใช้ก๊าซหุงต้มในราคาที่แพงที่สุดด้วย

 

ตามมติของคณะรัฐมนตรียุคคุณสมชาย วงศ์สวัสดิ์ระบุว่า ให้ภาคครัวเรือนและปิโตรเคมีได้ใช้ก่อน แต่ถ้าเราบวกรวมตัวเลข 2 ภาคเข้าด้วยกัน เราจะเห็นว่าปริมาณของสองภาคส่วนนี้จะเกินจากราคาปริมาณที่โรงแยกก๊าซครับ ตรงนี้แหละครับคือเหตุที่ต้องแย่งกัน แต่เนื่องจากในทางปฏิบัติ ภาคปิโตรเคมี ซึ่งเป็นเจ้าของเดียวกับโรงแยกก๊าซ จะได้ก๊าซหุงต้มส่วนนี้ไปก่อน ภาคครัวเรือนและภาคขนส่งจึงจำเป็นต้องจ่ายค่าก๊าซในราคาที่แพงขึ้น ส่วนภาคอุตสาหกรรม ขณะนี้ถูกจัดไว้ลำดับสุดท้าย จึงต้องไปใช้ราคาของก๊าซหุงต้มนำเข้าที่กก.ละ 30 บาทแทนครับ

 

ดังนั้น ราคาก๊าซหุงต้มจะเป็นเช่นไร จึงขึ้นอยู่กับสิทธิว่าใครจะได้ใช้ก๊าซจากแหล่งใดก่อน ซึ่งแหล่งที่แย่งกันมากที่สุดก็คือ โรงแยกก๊าซครับ เพราะเป็นแหล่งที่มีต้นทุนถูกที่สุด

 

เมื่อมาถึงจุดนี้ ฝ่ายที่ชิงออกตัวก่อนก็คือ ปิโตรเคมี ปิโตรเคมีพยายามอธิบายว่า อุตสาหกรรมของตนเองนั้นต่างจากผู้ใช้อื่นๆ ในแง่ที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบ (ไม่ใช่เชื้อเพลิง) ที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดมูลค่าเพิ่มได้อีกมาก เขาเปรียบเทียบปิโตรเคมีเป็นเสมือนเฟอร์นิเจอร์ไม้สักที่มีราคาสูง เพราะฉะนั้น ในความคิดของคนกลุ่มนี้จึงเห็นว่า ก๊าซหุงต้มจากโรงแยกก๊าซก็ควรจัดสรรให้ปิโตรเคมีก่อน ส่วนอีก 3 ภาคที่เหลือก็ไปแบ่งกันใช้ก๊าซหุงต้มจากโรงกลั่นน้ำมันและก๊าซนำเข้า ที่มีราคาแพงกว่าแทน (และคาดว่าจะมีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต) โดยฝ่ายนี้ เห็นว่า หากรัฐบาลจะช่วยครัวเรือนผู้มีรายได้น้อยก็ให้ใส่เม็ดเงินของรัฐเข้ามาชดเชย หรือจ่ายชดเชยตรงไปยังครัวเรือนเหล่านั้นแทน

 

ตัวแทนภาคประชาชนก็แย้งว่า ภาคครัวเรือนไม่ว่ารวยหรือจนในฐานะประชาชน ย่อมเป็นเจ้าของทรัพยากรของประเทศนี้โดยตรง ฉะนั้นจึงควรจะได้สิทธิใช้ก๊าซจากโรงแยกก๊าซก่อน แถมยังเป็นการนำก๊าซหุงต้มไปใช้เพื่อความจำเป็นในการดำรงชีวิต ส่วนภาคปิโตรเคมีเป็นภาคที่มีการใช้ก๊าซหุงต้มเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงระยะเวลา 5-6 ปีที่ผ่านมา จนทำให้ประเทศไทยต้องไปนำเข้าก๊าซหุงต้มที่มีราคาแพงจากต่างประเทศมาในราคาแพง ภาคปิโตรเคมีจึงควรรับผิดชอบในส่วนนี้ไป ยิ่งไปกว่านั้น หากภาคปิโตรเคมีมั่นใจว่า ตนเองเป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก ก็ควรซื้อวัตถุดิบในราคาไม้สักด้วย ไม่ใช่มาซื้อในราคาไม้ยางอย่างที่เป็นอยู่

 

การถกเถียงในประเด็นนี้เป็นไปอย่างเข้มข้น ฝ่ายหนึ่งแย้งว่า รัฐบาลมีข้อกำหนดบังคับให้โรงแยกก๊าซขายให้ภาคครัวเรือนในราคาต่ำ ทำให้เกิดการบิดเบือนกลไกตลาด ฝ่ายประชาชนยืนยันว่า ถ้ารัฐจะมีข้อกำหนดที่ชัดเจนที่จะจัดสรรก๊าซหุงต้มจากโรงแยกก๊าซให้ภาคครัวเรือนก่อน ฝ่ายประชาชนก็ยินดีที่จะซื้อก๊าซจากโรงแยกก๊าซในราคาที่สมเหตุสมผล เป็นไปตามต้นทุนที่แท้จริงของโรงแยกก๊าซ (ซึ่งจะต่ำกว่าหรือใกล้เคียงกับราคาที่ภาคครัวเรือนจ่ายในปัจจุบัน) โดยไม่ต้องมีการอุดหนุนจากกองทุนน้ำมันอีก

 

อย่างไรก็ดี ฝ่ายปิโตรเคมี ยืนยันว่า การผลักให้ปิโตรเคมีไปใช้ก๊าซหุงต้มนำเข้า (หรือวัตถุดิบนำเข้าชนิดอื่นแทน) จะกระทบกับต้นทุนและความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของประเทศไทย พร้อมกับยืนยันว่า ปิโตรเคมีซื้อก๊าซหุงต้มในราคาที่สูงกว่าภาคครัวเรือน แต่เมื่อมีการขอให้แสดงราคาที่ภาคปิโตรเคมีซื้อ ปรากฏว่าภาคปิโตรเคมีก็ยังมิได้แสดงหลักฐานใดๆ ราคาออกมาให้ที่ประชุมได้รับทราบ

 

อีกทางเลือกหนึ่งที่เป็นไปได้ก็คือ การกำหนดให้ทุกภาคใช้ก๊าซหุงต้มในราคาเดียวกัน นั่นหมายความว่า เรานำต้นทุนจากทุกแหล่งมาเฉลี่ยเท่ากัน ดังนั้น จึงไม่ต้องถกเถียงกันอีกว่า ใครควรจะได้ก๊าซจากแหล่งใดก่อนและหลังกันอย่างไรอีกต่อไป แต่ทางเลือกนี้ก็ไม่ได้รับการตอบสนองจากทั้งสองฝ่าย เพราะต่างฝ่ายต่างเชื่อว่า ฝ่ายของตนมีสิทธิและเหตุผลเพียงพอที่จะได้รับก๊าซหุงต้มจากแหล่งที่ถูกกว่าก่อนฝ่ายอื่นๆ

 

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า โจทย์เรื่องการจัดสรรก๊าซหุงต้มจากแหล่งต่างๆ นั้น สำคัญมาก และจะมีผลต่อเนื่องไปยังราคาของก๊าซหุงต้มของผู้ใช้แต่ละกลุ่ม และจะมีผลกระทบต่อเนื่องไปถึงการใช้เงินกองทุนน้ำมันมาอุดหนุนให้ราคาต่ำลงในภาคครัวเรือนและภาคขนส่งตามมา และกระทบเป็นลูกโซ่ไปยังคนเติมน้ำมันคนอื่นๆ ที่ต้องจ่ายเงินอุดหนุนมาให้คนใช้ก๊าซหุงต้มอยู่ในปัจจุบัน

 

เพราะฉะนั้น หากเราหาคำตอบเรื่องการจัดสรรก๊าซหุงต้มได้ เราจะสามารถลดภาระกองทุนน้ำมันได้ และจะสามารถลดราคาน้ำมันเบนซิน และแก๊สโซฮอล์ 95 และ 91 ในลำดับต่อไป

 

แม้ว่า ดูเหมือนเราจะยังไม่ได้คำตอบสุดท้ายสำหรับการแก้ปัญหาราคาก๊าซหุงต้ม แต่การถกเถียงกันก็ทำให้เราเข้าใจ แก่นของปัญหาได้ชัดเจนขึ้น ว่าลึกที่สุดแล้ว ปัญหาของเรื่องนี้คือ “สิทธิในทรัพยากร” มิใช่เรื่องราคาอย่างที่เข้าใจกันในตอนแรก

 

10447746_648834951875126_6790693473823536305_n.jpg

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอลบครับ

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข้อมูลเพิ่มเติมจากอาจารย์Decharut Sukkumnoed คนสนใจเรื่องพลังงานต้องไม่พลาดครับ

 

 

Decharut Sukkumnoed

 

4 ชม.

 

ระบบสัมปทานปิโตรเลียม VS ระบบแบ่งปันผลผลิต

 

การถกเถียงเรื่อง ระบบการให้สัมปทาน (ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน) และระบบการแบ่งปันผลผลิตปิโตรเลียม (ที่เสนอให้ใช้แทน) มีมานานแล้วทั้งในโซเชียลมีเดีย และในรายการโทรทัศน์ต่างๆ แต่เวทีถกพลังงานเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านนี่เป็นครั้งแรกที่ผมได้เห็นและร่วมเรียนรู้กับการหักล้างด้วยข้อมูลทางวิชาการแบบเปิดเผยจากทั้งสองฝ่าย

 

การถกเถียงและการหักล้างทางวิชาการครั้งนี้เป็นอย่างเข้มข้นและสร้างสรรค์ ที่ว่าสร้างสรรค์หมายถึง ต่างฝ่ายต่างมีโอกาสอย่างเต็มที่ในการนำเสนอข้อมูลทางวิชาการของฝ่ายตน ซึ่งมีผลทำให้ทั้งสองฝ่ายได้เห็นประเด็นของตนและของฝั่งตรงข้ามได้ชัดเจนยิ่งขึ้น แต่เนื่องจากแต่ละประเด็นมีรายละเอียดมาก ผมขอเล่าให้ฟังแบบย่อๆ พอเป็นตัวอย่างเท่านั้น (ส่วนผู้สนใจรายละเอียด ผมคงขอตอบในโอกาสต่อไป)

 

กล่าวโดยย่อระบบสัมปทานเป็นรูปแบบที่ให้สิทธิเอกชนเข้ามาสำรวจและผลิตในแผ่นดินและผืนน้ำของเรา และเมื่อพบแล้วเอกชนผู้ขุดเจาะก็จะมีสิทธิในผลผลิตปิโตรเลียมทั้งหมดที่ผลิตได้ ซึ่งหากประเทศเราจะนำมาใช้ในประเทศ เราก็ต้องไปซื้อมาในราคาตลาดโลก (หรืออ้างอิงตลาดโลกตามที่ตกลงกัน) ส่วนรัฐาก็จะได้ส่วนแบ่งค่าภาคหลวงและภาษีเป็นการตอบแทน

 

ส่วนระบบแบ่งปันผลผลิตนั้น เมื่อมีการผลิตปิโตรเลียมได้ก็จะแบ่งผลผลิตดังกล่าวตามสัดส่วนที่ตกลงกัน ผลผลิตส่วนหนึ่งก็จะเป็นของประเทศ ซึ่งอาจจะนำไปขายในราคาใดก็ได้ แล้วแต่การบริหารจัดการของประเทศนั้น ส่วนเอกชนก็นำส่วนแบ่งที่ได้ไปขายให้กับใครก็ได้ แล้วแต่จะตัดสินใจเช่นกัน

 

ตัวอย่างของการหักล้างกันด้วยข้อมูลอาทิ ฝ่ายสนับสนุนระบบสัมปทานมักอ้างว่าระบบการแบ่งปันผลผลิตจะใช้ได้เฉพาะหลุมที่มีปริมาณมากและมีความเสี่ยงต่ำเท่านั้น จึงจะจูงใจให้เอกชนเข้ามาขุดเจาะ (ฝ่ายนี้จะบอกว่า หลุมปิโตรเลียมของไทยเป็นหลุมเล็กๆ ที่มีปริมาณน้อยและความเสี่ยงสูง) แต่ฝ่ายสนับสนุนระบบแบ่งปันผลผลิตก็ได้ชี้ให้เห็นว่า ไม่จริง เพราะยังมีกรณีต่างๆ มากมายในต่างประเทศ ที่สามารถนำระบบแบ่งปันผลผลิตไปใช้กับหลุมขนาดเล็กได้เช่นกัน เช่นเดียวกับหลุมที่มีความเสี่ยงสูง ระบบแบ่งปันผลผลิตก็สามารถมีระบบแบ่งปันความเสี่ยงสำหรับผู้ลงทุนได้เช่นกัน

 

ขณะเดียวกัน ฝ่ายสนับสนุนระบบแบ่งปันผลผลิตซึ่งมักชี้ให้เห็นว่า โดยภาพรวมทั่วโลกแล้ว ระบบแบ่งปันผลผลิตจะให้ประโยชน์กับรัฐมากกว่า แต่ฝ่ายสนับสนุนระบบสัมปทานก็โชว์ข้อมูลว่า บางประเทศที่ใช้ระบบสัมปทาน แต่รัฐก็ยังสามารถได้รับส่วนแบ่งมากกว่าอีกบางประเทศที่ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต เพราะฉะนั้น จึงอาจมิได้เป็นหลักประกันว่า ระบบแบ่งปันผลผลิตจะให้ผลประโยชน์มากกว่า ทั้งนี้ ฝ่ายนี้เห็นว่า เงื่อนไขการเจรจาในการให้สัมปทานน่าจะสำคัญกว่าการเปลี่ยนไปใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต

 

ผมอาจสรุปได้ว่า เมื่อพิจารณาแล้ว ในระหว่างสองทางเลือกนี้ ประเทศไทยสามารถเลือกใช้ทางเลือกใดก็ได้ โดยไม่ได้มีปัญหาหรือจำกัดถึงขนาดที่เราต้องใช้ระบบสัมปทานเท่านั้น เพียงแต่ว่าจุดเน้นหรือข้อดีและข้อควรระวังของทั้งสองทางเลือกจะแตกต่างกัน และเราต้องตัดสินใจว่าจะเน้นที่จุดใด

 

ระบบแบ่งปันผลผลิตนั้นจะเน้นที่ภาครัฐจะสามารถเข้าไปตรวจสอบข้อมูลและการดำเนินการต่างๆ ได้อย่างใกล้ชิด รวมถึงสามารถนำผลผลิตปิโตรเลียมในส่วนที่ตนได้รับมาขายหรือใช้ได้อย่างมีอิสระ โดยอาจขายเพื่อใช้ในประเทศในราคาใดก็ได้ หรือหากขายในราคาตลาดโลก ก็น่าจะได้เม็ดเงินเข้ากระเป๋าของรัฐมากกว่า (โดยเฉพาะในเวลาราคาน้ำมันขาขึ้น)

 

ส่วนระบบสัมปทานนั้น ภาครัฐเข้าไปมีส่วนในการบริหารจัดการน้อยกว่า จึงไม่ต้องยุ่งยาก เพราะเป็นหน้าที่ของภาคเอกชนในการดำเนินการ โดยรัฐเก็บเพียงค่าภาคหลวงและภาษีอย่างเดียว แต่รัฐก็จะเสียสิทธิในผลผลิตปิโตรเลียมที่ขุดเจาะได้ไป หากว่าต้องการใช้ในประเทศก็ต้องไปซื้อกลับมาในราคาตลาดโลก แม้ว่าจะเป็นทรัพยากรเดิมของตนก็ตาม ฝ่ายสนับสนุนระบบสัมปทานเชื่อว่า ระบบสัมปทานจะจูงใจให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนมากกว่า

 

ในเวทีหารือมีผู้กล่าวว่า การจะใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตได้นั้นจะต้องมี 2 เงื่อนไขคือ หนึ่ง ประเทศนั้นจะต้องมีราชการที่เก่งและขยัน เพราะจะต้องตรวจสอบบริษัทอย่างใกล้ชิด แล้วยังต้องจัดการในการขายน้ำมันในส่วนแบ่งของตนด้วย และสอง ราชการของประเทศนั้นต้องโปร่งใสปราศจากคอร์รัปชั่น เมื่อกล่าวจบจึงมีเสียงหัวเราะเล็กน้อย เพราะกลายเป็นการแซวภาคราชการของไทยไปโดยไม่ตั้งใจ ในขณะที่ฝ่ายแบ่งปันผลผลิตเห็นว่า การลงแรงของภาคราชการเป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องทำให้ได้ เพราะการยอมยกผลผลิตปิโตรเลียมให้กับบริษัทขุดเจาะทั้งหมด แล้วไปซื้อกลับมาตามระบบสัมปทาน เป็นการเสียสิทธิอันพึงมีพึงได้ของเจ้าของทรัพยากรไปอย่างน่าเสียดาย

 

นอกจากนี้ยังมีมุมมองที่แตกต่างกันในแง่ของความเร่งด่วนของเวลาที่จะต้องตัดสินใจ ฝ่ายสนับสนุนระบบสัมปทานก็พยายามจะชี้ให้เห็นว่า ปริมาณก๊าซธรรมชาติของไทยจะเริ่มมีไม่พอ และต้องนำเข้ามากขึ้น (มิใช่หมดอ่าวไทยภายใน 7 ปีอย่างที่กระทรวงพลังงานกล่าวอ้าง) ดังนั้น จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องเปิดสัมปทานรอบใหม่ เพื่อให้สามารถขุดก๊าซธรรมชาติมาใช้ได้มากขึ้น ภายในระยะเวลา 7 ปี

 

ฝ่ายสนับสนุนระบบสัมปทานเห็นว่า การใช้ระบบสัมปทานจะทำให้สะดวกและสามารถเปิดสัมปทานรอบใหม่ได้ทันที แต่ถ้าเปลี่ยนไปใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต รัฐก็จะต้องแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม และเตรียมการอื่นๆ มากมาย ทำให้ใช้เวลานาน ซึ่งผู้แทนกระทรวงการคลังก็ได้ชี้แจงสนับสนุนให้ใช้ระบบเดิม เพราะการเปลี่ยนระบบไปเป็นระบบแบ่งปันผลผลิตก็จะมีผลต่อความยุ่งยากในจัดทำบัญชีและการประเมินรายได้เพื่อจัดเก็บภาษี โดยมิได้ตอบว่าระบบไหนน่าจะให้ผลตอบแทนแก่ประเทศมากกว่า (เอ๊ะ!! หรือว่าประเด็นราชการไทยไม่ค่อยขยันจะเป็นจริง)

 

แต่ฝ่ายสนับสนุนระบบแบ่งปันผลผลิตเห็นว่า ยิ่งก๊าซธรรมชาติกำลังจะหมดอ่าวไทยเรายิ่งจะต้องรอบคอบ เพราะทรัพยากรเหลือน้อยแล้ว และหากเราต้องไปซื้อผลผลิตปิโตรเลียมกลับมาใช้ในราคาตลาดโลก (ตามระบบสัมปทาน) ก็ยิ่งไม่มีความจำเป็นอะไรที่เราจะต้องรีบให้สัมปทานเพิ่ม เพราะเราก็สามารถซื้อจากตลาดโลกได้ในราคาเท่ากัน เราจึงควรเก็บก๊าซธรรมชาติเอาไว้ก่อนหรือเอาไว้ให้ลูกหลานใช้ (เพราะมันไม่เน่าเสีย) จนกว่าจะได้ส่วนแบ่งผลประโยชน์ที่เป็นธรรมแล้วจึงค่อยขุดขึ้นมาใช้ประโยชน์

 

ในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์อย่างผม การมีทางเลือกถือเป็นการเพิ่มอำนาจต่อรอง (ในที่นี้คือ การต่อรองกับบริษัทผู้ขอรับสัมปทาน) ดังนั้น ถ้าเป็นผม ผมจะพัฒนาทั้งสองทางเลือกขึ้นมาควบคู่กัน เสมือนว่าเราพร้อมจะใช้ทั้งสองทางเลือก เพื่อทำให้มีอำนาจต่อรองว่า หากผู้ลงทุนไม่ยินยอมตามข้อเรียกร้องของเรา เราก็พร้อมที่จะขยับไปใช้ระบบที่มีความเข้มงวดและรัฐพร้อมเก็บผลประโยชน์มากขึ้นแทน แต่กลยุทธ์ของภาครัฐขณะนี้คือ ตัดสินใจเลือกใช้ระบบสัมปทานเท่านั้น และพยายามจะถล่มระบบแบ่งปันผลผลิตให้หายไปจากตัวเลือก เพื่อให้เปิดสัมปทานโดยเร็วที่สุด ซึ่งการไม่มีทางเลือกเชิงนโยบาย การพยายามบอกว่าก๊าซในอ่าวไทยมีน้อย และการเร่งเปิดสัมปทานโดยเร็วที่สุด จะส่งผลเสียหายต่ออำนาจต่อรองของเรา ในการเปิดสัมปทานรอบใหม่

 

แล้วสรุปว่า ท่าทีหรือจุดยืนของภาคประชาชนเป็นอย่างไร? ผมขอตอบว่า แม้ว่าภาคประชาชนสนับสนุนระบบแบ่งปันผลผลิตมาตั้งแต่ต้น แต่ภาคประชาชนก็พร้อมและเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาเปรียบเทียบกันอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจ ดังนั้น ผู้แทนภาคประชาชนจึงเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่เป็นเรื่องสำคัญที่สามารถรอได้ คสช. จึงไม่ควรรีบตัดสินใจเปิดสัมปทานรอบใหม่ แต่ควรมอบเรื่องนี้ให้สภาปฏิรูปเป็นผู้ตัดสินใจ เพราะสภาปฏิรูปน่าจะมีที่มาจากทุกภาคส่วน และน่าจะได้ตัดสินใจในเรื่องที่มีความสำคัญของชาติในระยะยาว

 

เพราะหาก คสช. ตัดสินใจให้เปิดสัมปทานไป โดยไม่ให้โอกาสสภาปฏิรูปพิจารณาเสียก่อน สภาปฏิรูปที่จะตั้งขึ้นก็คงเป็นไปได้แค่ “ลูบๆ” เท่านั้น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เฮียเพ้งยอมรับปิโตรเคมีซื้อ LPG กก.ละ 16.20 บาท(คลิปยาว2.15นาที)

post-38-0-72497100-1403181108_thumb.jpg

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Decharut Sukkumnoed

 

6 ชม. · แก้ไขแล้ว

 

ปิโตรเคมีและภาษีที่ไม่ต้องจ่าย

 

ท่านทราบหรือไม่ว่า ภาคปิโตรเคมีสามารถใช้ก๊าซหุงต้มเป็นวัตถุดิบในการผลิตของตน โดยไม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต และภาษีเทศบาล ในขณะที่ภาคครัวเรือนและภาคอื่นๆ ต้องเสียภาษีสรรพสามิต 2.17 บาท/กก. และภาษีเทศบาล 0.217 บาท/กก.

 

ภาษีสรรพสามิตเป็นเครื่องมือทางการคลังที่ใช้ในการลดการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นพิษต่อสุขภาพ (เช่น บุหรี่ แอลกอฮอล์) แล้วคุณคิดว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเป็นอุตสาหกรรมที่ได้สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่?

 

ภาษีเทศบาลเป็นเครื่องการกระจายอำนาจทางการคลัง เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ รวมถึงการเฝ้าระวังและการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ แล้วคุณคิดเทศบาลเมืองมาบตาพุดและองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ ในพื้นที่รอบนั้น ควรได้รับภาษีมารับมือกับมลพิษที่เพิ่มขึ้นจากปิโตรเคมีหรือไม่? เขาควรได้รับภาษีมารองรับกับประชากร พาหนะ ขยะ และอื่นๆ ที่เพิ่มมากขึ้นในพื้นที่หรือไม่?

 

แล้วการใช้ก๊าซหุงต้มของครัวเรือนนั้นสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าภาคปิโตรเคมีหรืออย่างไร? สร้างภาระให้กับเทศบาลและท้องถิ่นมากกว่าภาคปิโตรเคมีหรืออย่างไร? รัฐบาลจึงเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตและภาษีเทศบาลจากภาคครัวเรือน แต่ไม่เรียกเก็บจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีแม้แต่บาทเดียว

 

ถ้าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีถูกเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตและภาษีท้องถิ่นในอัตราเดียวกับภาคครัวเรือน ประเทศไทยของเราก็จะมีรายได้จากภาษีสรรพสามิตประมาณ 6,000 ล้านบาท/ปี ซึ่งสามารถนำมาจัดตั้งเป็นกองทุนเพื่อการรักษาและส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้ด้วย

 

ขณะเดียวกัน ท้องถิ่นที่ต้องรองรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในพื้นที่ก็จะมีงบประมาณในการรับมือกับภาระต่างๆ มากขึ้นปีละ 600 ล้านบาท

แล้วทำไม ปิโตรเคมีถึงไม่ต้องจ่ายภาษีเหล่านี้ล่ะ?

 

เหตุผลที่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีชี้แจงคือ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไม่ได้ใช้ก๊าซหุงต้มในฐานะเชื้อเพลิง แต่ใช้เป็น “วัตถุดิบ” สำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีต่อเนื่อง อุตสาหกรรมปิโตรเคมีบอกว่า เขาสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้มหาศาล ทำให้รัฐสามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้มากมาย ดังนั้นเขาจึงไม่น่าจะต้องเสียภาษีทั้งสองประเภทอีก

 

แต่สำหรับผม การสร้างมูลค่าเพิ่มให้ระบบเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่ดี แต่นั้นมิใช่เหตุผลที่จะไม่ต้องเสียภาษีทั้งสองประเภท ตราบใดที่อุตสาหกรรมปิโตรเคมียังคงสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และยังคงสร้างภาระทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กับท้องถิ่นที่ตนตั้งอยู่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีก็ควรเสียภาษีทั้งสองประเภทเฉกเช่นเดียวกับผู้ใช้อื่นๆ ในสังคม (ซึ่งอาจสร้างผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าด้วย)

 

เพื่อนๆ ครับ ในฐานะเพื่อนร่วมชาติ และเพื่อนร่วมโลก เพื่อนๆ มีความเห็นว่าอย่างไรครับ

 

10373675_649714091787212_5602271418676945430_n.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กองทัพลิง สามพราน

 

21 ชม.

 

ยางมะตอยจ้า....

ยางมะตอยสดๆจากใต้ดินจ้า เป็นไงบ้างล่ะ สาวก ปตท.ทั้งหลาย เมื่อเดือนมิย. 57 โพสรูปนี้มาให้ดูกัน ก็โดนสาวกปตท.กระหน่ำเสียและเลย ไปที่วิเชียรบุรี ไปดูไปถ่ายทำวิดีโอ หาข้อมูลเรื่องการบุกรุกขุดเจาะน้ำมันในเพชรบูรณ์ แล้วก็ไปเจอเจ้ารถคันนี้ ตีรถปล่าวขึ้นไปบ่อน้ำมัน ข้างๆเขียนว่ารถทุกยางมะตอย รถทุกยางมะตอยมันจะต้องออกจากโรงกลั่นเท่านั้นและทุกส่งตามต่างจังหวัด ใครที่ดูข่าว7สี ก็จะเห็นรถบรรทุกยางมะตอยจอดอยู่ ความจริงมันใช้เวลาจะช้านานนาน มันก็ได้เผยกันออกมาแล้ว.........

 

10421107_668726536555023_770099070763292139_n.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Thailand only ประชาชนโดนปล้นจากนโยบายของรัฐอีกหรือเปล่าครับ ส่งออก15แต่ใช้ในประเทศ27 และที่สำคัญที่สุด ใครเป็นผู้ได้ประโยชน์จากธุรกิจแอลกอฮอล์(เอทานอล) ได้คำตอบช่วยบอกด้วยครับท่านอาจารย์

 

 

 

 

ประสาท มีแต้ม

5 ชม. ·

 

พรุ่งนี้( (22 มิย) จะไปให้ข้อมูลกับ คสช. ตั้งแต่เช้าววว

ตั้งใจจะไปให้เขาถามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า

ทำไม ราคาเอทานอลในสหรัฐอเมริกาและบราซิลซึ่งผลิตได้ถึง 80% ของโลก จึงมีราคา (กุมภาพันธ์ 57) ที่ 15 บาทต่อลิตร แต่ราคาในประเทศไทย 27 บาท แถมไทยเป็นประเทศส่งออก ถ้าเขาส่งออกในราคา 27 บาท แล้วเขาไปขายใคร งง? (ไทยผลิต E85 วันละ 8 แสนลิตร)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ หวังว่าครั้งนี้ท่านจะทำเพื่อแก้ไขสิ่งผิดที่ทำไว้ ตอนนี้ประชาชนจับตาดูท่านอยู่ และสิ่งที่ท่านเคยทำไว้ประชาชนยังไม่ลืม(เซฟรอนถือครองสัมประทานของไทย50% ตะวันออกกลางถือครอง25% ผูกขาดพลังงานโดยต่างชาติ)

 

ฝีมือของนายปิยสัวสดิ์คือ การแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ฉบับที่ 6 พ.ศ.2550 มาตรา 28 เรื่องการจำกัดปริมาณแปลงและพื้นที่สัมปทานปิโตรเลียม จากเดิมบริษัทจะถือสัมปทานได้แค่ 20,000 ตร.กม.ตามที่กฎหมายกำหนด แต่พอแก้กฏหมายเสร็จ บริษัท “มูบาดาลา ปิโตรเลียม” ได้แสดงไว้ในเว็บไซต์ว่าได้ถือสัมปทานในปี 2553 ไว้ถึง 100,622 ตร.กม.โดยในปี 2550 ที่นายปิยสวัสดิ์ นั่งเป็น รมว.กระทรวงพลังงาน บริษัท “มูบาดาลา ปิโตรเลียม”ได้สัมปทานไปทั้งหมดถึง 5 แปลง ภายในปีเดียว

ขณะที่รายงานประจำปีของบริษัทเชฟรอน ในปี 2553 ระบุว่าได้แปลงสัมปทานในประเทศไทยที่เดียวสูงถึง 72,742 ตร.กม.

 

ยิ่งสลดหดหู่เข้าไปอีกหากไปเทียบกับจำนวนพื้นที่สัมปทานที่มีอยู่ใน ประเทศไทยในปี 2553 มี 274,635 ตร.กม.กลับมีเพียง 2 บริษัทที่ได้ไป คือบริษัท “มูบาดาลา ปิโตรเลียม” ได้ไป 100,622 ตร.กม.และบริษัท “เชฟรอน” ได้ไป 72,742 ตร.กม.รวมแล้วกว่า 173,364 ตร.กม.

 

ส่งผลให้ทุกวันนี้ บริษัท เชฟรอน สามารถผลิตปิโตรเลียมได้เกินกว่าครึ่งของที่ผลิตในไทย ดังนั้นเท่ากับว่า กว่าครึ่งหนึ่งของพลังงานที่คนไทยใช้อยู่ขึ้นอยู่กับบริษัท เชฟรอน บริษัทเดียว จึงเป็นอันตรายอย่างมากที่ปล่อยให้บริษัทต่างชาติผลิตปิโตรเลียมได้ถึงครึ่ง หนึ่งจากที่คนไทยใช้อยู่ และนี่คือผลงานของนายปิยสวัสดิ์ล้วนๆ ที่อ้างอยู่เสมอว่าเปิดเสรีการค้าจะได้เกิดการแข่งขัน แต่ความ จริงกลับสวนทางเป็นการผูกขาด

 

 

แฉกลุ่มทุนพลังงานแทรกซึม กปปส.(ตอนที่ 1) ใครคือซาตานขวางปฏิรูปพลังงานตัวจริง ?

blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 14 มีนาคม 2557 09:47

 

ประเด็นปฏิรูปพลังงาน ต้องบอกว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่ประชาชนทั่วทั้งประเทศรอคอย และหลายคนฝากความหวังไปที่ คณะกรรมการประชาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ กปปส.ว่าจะมีแนวทางเดินหน้าปฏิรูปพลังงานอย่างไรให้เกิดประโยชน์ต่อปากท้อง ของประชาชนโดยเร็วที่สุด

 

ในทางกลับกันสิ่งที่เกิดขึ้น ณ เวที กปปส.ที่มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นหัวเรือใหญ่และพรรคประชาธิปัตย์คอยกุมบังเหียนอยู่ กลับดูเหมือนว่าจะไม่ได้เดินหน้าเรื่องปฏิรูปพลังงานอย่างเต็มสูบ เกิดข้ออ้างเลี่ยงไปต่างๆ นานาว่า ต้องล้มระบอบทักษิณให้สิ้นซากไปก่อนถึงจะปฏิรูปพลังงาน หรืออ้างว่าพบข้อมูลไม่ตรงกันจะนำไปสู่การทะเลาะกัน ซึ่งจะเป็นไปได้อย่างไรเมื่อการปฏิรูปพลังงานประชาชนจะได้ประโยชน์ทั้ง ประเทศ

 

ข้ออ้างต่างๆ จึงเกิดคำถามให้หลายคนสงสัยว่าอาจเป็นแค่การซื้อเวลาไปเท่านั้นหรือไม่ เพราะยิ่งกางฉากหลังของเวที กปปส.ออกมาในเรื่องการปฏิรูปพลังงานก็ยิ่งเกิดคำถามชวนสงสัยในหลายข้อเข้าไป อีก

 

ย้อนกลับไปครั้งหนึ่ง ขณะที่ ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี อนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน และอนุกรรมาธิการพิจารณากฎหมายด้านพลังงาน วุฒิสภา ได้ขึ้นเวทีปราศรัยที่ถนนราชดำเนินเพียงครั้งเดียว หลังจากนั้นได้เกิดแรงกระเพื่อมที่ด้านหลังเวที กปปส.จนทำให้หม่อมกรฯ ไม่สามารถขึ้นเวที กปปส.ที่แยกปทุมวันได้

 

นอกจากนั้น หากกล่าวถึงกระแสปฏิรูปพลังงานที่รายล้อมอยู่รอบเวทีใหญ่ กปปส.ล้วนแต่เป็นของภาคประชาชนโดยตรงอีกต่างหาก ไม่ได้มาจากกลุ่มการเมืองของ กปปส.แต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายนักศึกษาและประชาชนปฏิรูปประเทศไทยหรือ คปท.สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้านครหลวง หรือ สรส.หรือเวที กปปส.แจ้งวัฒนะ ที่มีหลวงปู่พุทธะอิสระ เป็นแกนนำอยู่ หรือจะเป็นกองทัพธรรม โดยกลุ่มเหล่านี้ล้วนมีความเสี่ยงถูกโจมตีจากกลุ่มผู้ไม่หวังดีมากกว่าเสีย ด้วยซ้ำ

 

ครั้งหนึ่ง ดร.ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ กำลังพูดเรื่องพลังงานบนเวที กปปส.ก็ถูกเบรกตัดบทออกอากาศ ขณที่ ดร.สมบัติ ธำรงธัญญาวงศ์ พูดเรื่องปฏิรูปพลังงานที่เวทีปทุมวันประมาณ 1 นาที บลูสกายที่ถ่ายทอดสดอยู่ก็ตัดภาพไปเวทีอื่น

 

กาลครั้งหนึ่งในช่วงแรกเริ่มของการชุมนุมบุคคลสำคัญใน กปปส.ได้อ้างเหตุผล ณ ร้านอาหารศรแดง ย่านถนนราชดำเนินกลางว่า จะไม่พูดเรื่องการปฏิรูปพลังงาน โดยอ้างว่าบริษัท เชฟรอน มีผลประโยชน์ให้กับทหารบางกลุ่ม ซึ่ง กปปส.จำเป็นต้องพึ่งทหารกลุ่มนี้ ดังนั้นจึงยังไม่ต้องพูดเรื่องปฏิรูปพลังงานและอาจไม่ต้องพูดถึงเลย

 

หรือจะเป็นเมื่อกาลครั้งหนึ่ง วันที่ 27 มิถุนายน 2552 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมขณะนั้น ไปกัมพูชาพูดคุยกับฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา หลังจากเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2552 ครม.มีมติตั้งนายสุเทพ ในฐานะที่เป็นรองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคงให้เป็นประธานคณะกรรมการในการเจรจาลับกับกัมพูชาเรื่อง พลังงานก็เคยมาแล้ว

 

ทั้งนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าฝ่ายการเมืองทั้งหลายในประเทศไทยมีประโยชน์พัวพันในเรื่อง พลังงานกันทั้งสิ้น ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งนับแต่การชุมนุมวันแรกจนถึงวันนี้ นายสุเทพและ กปปส.ก็มิได้ทำให้เห็นเลยว่าจะมีรายละเอียดพิมพ์เขียวในการปฏิรูปปรากฏให้ เห็นเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นประเด็นการปฏิรูปพลังงานที่นายสุเทพ และ กปปส.ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก

 

การปฏิรูปพลังงานจึงอาจเกิดคำถามขึ้นได้ว่าเป็นแค่วาทกรรมลวง ไม่มีอะไรมากไปกว่า ล้มระบอบทักษิณเพื่อให้อีกพรรคการเมืองเข้ามาสวมตอหรือไม่ ถ้าไม่เช่นนั้น ทำไม กปปส.จึงไม่กล้าแตะเรื่องปฏิรูปพลังงานอย่างที่ควรจะเป็น

 

ทั้งที่ถ้าชูธงปฏิรูปพลังงานอย่างเต็มสูบจะได้มวลชนอีกมาก แม้แต่คนเสื้อแดงแดงหลายคนก็อาจย้ายข้างมาเอาด้วย เพราะทุกคนไม่ว่าสีอะไร อยากให้น้ำมันราคาถูกลง เกลียดการถูกเอาเปรียบทั้งนั้น

 

เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นหลังฉากเวที กปปส.เหล่านี้ แสดงให้เห็นว่าอาจมีคนชูธงกำกับว่าห้ามมีการพูดถึงเรื่องปฏิรูปพลังงาน ยิ่งถ้าทฤษฎีเป็นแบบนี้จริง ความสำเร็จการปฏิรูปพลังงานจึงไม่อาจเกิดขึ้นได้เลย ประโยชน์ที่จะตกกับประชาชนอย่างแท้จริงคงไม่มีทางเกิดขึ้น

 

ยิ่งหากกางรายชื่อบุคคลในแวดวงพลังงานที่รายล้อมอยู่รอบ กปปส.ด้วยแล้ว จะทำให้เห็นความเชื่อมโยงอย่างผิดสังเกตว่าการปฏิรูปพลังงานบนเวที กปปส.อาจจะเป็นแค่ปาหี่มวยล้มต้มคนดูเท่านั้น ซึ่งหนึ่งในบุคคลสำคัญที่จะไม่พูดถึงไม่ได้ก็คือ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่มีคนพบเห็นเดินอยู่หลังเวทีชุมนุม กปปส.อยู่บ่อยครั้ง ว่ากันว่าเป็นตัวกำหนดเกมเป็นผู้อยู่เบื้องหลังคอยกำกับไม่ให้ กปปส.พูดถึงการปฏิรูปพลังงานอยู่ในขณะนี้

 

สำหรับ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อาจจะกล่าวได้เลยว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังวิกฤตพลังงานไทยมาถึงทุกวันนี้ ตั้งแต่ต้นจนจบ ขณะที่ประชาชนมักเข้าใจว่า นช.ทักษิณ เป็นคนแปรรูป ปตท.คำถามสำคัญก็คือใครเป็นคนชงเรื่องแปรรูปตั้งแต่แรก ตั้งแต่ปี 2541 แล้วจึงมาแปรรูปในสมัย นช.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรีในปี 2544

 

เมื่อสืบค้นย้อนไปจะพบว่าก่อนที่จะมีการแปรรูป ปตท.ในปี 2544 พรรคการเมืองที่ได้มีแนวคิดจะเริ่มแปรรูป ปตท.ในสมัยนั้นหาใช่ใครกลับเป็นพรรคประชาธิปัตย์นั่นเอง ที่มีนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2540 - 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2544

 

โดยการแปรรูป ปตท.ได้เกิดขึ้นในปี 2544 เป็นในช่วงที่พรรคประชาธิปัตย์ หมดอำนาจพอดิบพอดี เมื่อเรื่องได้ถูกชงไว้แล้วและอำนาจมาตกอยู่ที่ นช.ทักษิณ จึงไม่รีรอที่จะจัดการแปรรูป ปตท.เป็นรูปธรรม พอคนอย่าง นช.ทักษิณ เข้าสู่อำนาจมีหรือจะไม่จัดการแปรรูป ปตท.ให้เสร็จสรรพ

 

ขณะที่ตัวละครสำคัญยิ่งในการคิดค้นและชงเรื่องการแปรรูป ปตท.ก็คือ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ โดย นายปิยสวัสดิ์ ได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2537 และอยู่ในตำแหน่งรวม 6 ปี ก่อนจะย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อ 27 พฤษภาคม พ.ศ.2543 แน่นอนว่านั้นเป็นช่วงที่การกำเนิดนโยบายแปรรูป ปตท.กำลังถือกำเนิดขึ้น คือในช่วงปี 2540-2543 โดยมี นายปิยสวัสดิ์ ให้การสนับสนุนการแปรรูป ปตท.

 

ย้อนไปเมื่อปี 2541 ขณะที่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นประเด็นที่อยู่ในความสนใจของประชาชนเป็น จำนวนมาก นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ในขณะนั้นได้ให้สัมภาษณ์กับทางสถานีวิทยุ FM 101เมื่อ 10 มิถุนายน 2541 บางประโยคที่คนไทย ณ วันนี้ฟังแล้วเจ็บปวดหัวใจยิ่งก็คือ

 

“เป้าหมายผมคิดว่าต้องทำให้ได้ อันนี้สำคัญมาก ถ้าแปรรูปไปแล้วไม่เป็นไปตามเป้าหมาย อาจจะไม่แปรดีกว่า เช่น ถ้าเปลี่ยนการผูกขาดของภาครัฐเป็นเอกชน ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วอยู่เฉยๆ ไม่ดีกว่าหรือ แปรรูปแล้วต้องให้ได้ตามเป้าหมาย”

 

“การแปรรูปไปแล้วก็ต้องทำให้มีการแข่งขันกันมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่คุณภาพบริการและราคาที่ต่ำลงเมื่อเทียบกับในกรณีไม่มีการแปร รูป หมายความว่าจะต้องแปรรูปในลักษณะให้มีการแข่งขันด้วย มีการแข่งขันอย่างแท้จริง เปิดกว้างทั้งหมด”

 

เพราะความเป็นจริงนั้น ที่ว่าเอาเงินเข้าประเทศแต่เมื่อแปรรูปแล้วเงินกลับไปเข้ากระเป๋าบริษัท เอกชนต่างๆ และไม่ได้เพิ่มการแข่งขันแต่กลับเกิดการผูกขาดอย่างไม่น่าเกิดขึ้น สวนกลับคำพูดของเขาชัดเจน ซึ่ง นายปิยสวัสดิ์ ยังเป็นคนริเริ่มการแปรรูปบริษัท ปตท.สำรวจและผลิต (ปตท.สผ.) ซึ่งการมีแปรรูปหลายครั้งในลักษณะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ และจนนำไปสู่การแปรรูป ปตท.ด้วยการผ่องถ่ายออกอยู่ตลอดเช่นกัน

 

ทบทวนความจำที่ตามหลอนท่านอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน อีกสักเล็กน้อยว่า การแปรรูป ปตท.เพื่อทักษิณ ที่ถูกโจมตีมาอย่างต่อเนื่องนั้น นายปิยสวัสดิ์เข้าไปเกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง

 

1.ในฐานะเป็นเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) และกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ซึ่งเป็นผู้จัดทำและพิจารณาอนุมัติแผนการแปรรูป ปตท.ในปี 2544

 

2.ในฐานะเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้ง บริษัท ปตท. ซึ่งทำหน้าที่ตราร่าง พ.ร.ฎ.เพื่อแปลงสภาพ ปตท.เป็น บมจ.ปตท ในปี 2544

 

3.ในฐานะเป็นกรรมการในคณะกรรมการดำเนินการระดมทุนจากภาคเอกชนในการ แปรสภาพ ปตท.ซึ่งทำหน้าที่กำกับการประเมินทรัพย์สิน ราคาหุ้น และแนวทางการกระจายหุ้น ในปี 2544

 

4.ในฐานะที่ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการในบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และบริษัทขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด ซึ่ง ปตท.ถือหุ้นอยู่ด้วย

 

5.ในฐานะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และกรรมการ กพช. และ คณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ (กนท.) ในปี 2549-2550 ซึ่งมีส่วนโดยตรงในการตรา พ.ร.ฎ.กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550 ซึ่งศาลปกครองสูงสุดพิพากษาว่าไม่ชอบโดยกฎหมายเช่นกัน

 

ขณะเดียวกันที่ต้องขีดเส้นใต้ตัวหนาๆ โดยฝีมือของนายปิยสัวสดิ์คือ การแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ฉบับที่ 6 พ.ศ.2550 มาตรา 28 เรื่องการจำกัดปริมาณแปลงและพื้นที่สัมปทานปิโตรเลียม โดยมาตรา 28 ที่ยาวเหยียด ถูกนายปิยสัวสดิ์ตัดเหลือเพียง 3 บรรทัด โดยหัวใจของมาตรานี้คือการจำกัดแปลงและจำกัดพื้นที่ของผู้รับสัมปทานเพื่อ ป้องกันไม่ให้เกิดการผูกขาดการผลิตปิโตรเลียมจากแผ่นดินไทย นอกจากนั้นยังพบว่าหลังการแก้ไขกฎหมายเสร็จสิ้น ปรากฎว่าพบ บริษัท “มูบาดาลา ปิโตรเลียม” ยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานในเครือมูบาดาลา หนึ่งในแขนขาด้านการลงทุนของแห่งอาบูดาบี ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) โดยขณะนั้นได้ประกาศลงในเว็บไซต์ว่าได้แปลงสัมปทานในเมืองไทยมากมายอีกด้วย

 

ปรากฏว่าจากเดิมบริษัทจะถือสัมปทานได้แค่ 20,000 ตร.กม.ตามที่กฎหมายกำหนด แต่พอแก้กฏหมายเสร็จ บริษัท “มูบาดาลา ปิโตรเลียม” ได้แสดงไว้ในเว็บไซต์ว่าได้ถือสัมปทานในปี 2553 ไว้ถึง 100,622 ตร.กม.โดยในปี 2550 ที่นายปิยสวัสดิ์ นั่งเป็น รมว.กระทรวงพลังงาน บริษัท “มูบาดาลา ปิโตรเลียม”ได้สัมปทานไปทั้งหมดถึง 5 แปลง ภายในปีเดียว

 

ขณะที่รายงานประจำปีของบริษัทเชฟรอน ในปี 2553 ระบุว่าได้แปลงสัมปทานในประเทศไทยที่เดียวสูงถึง 72,742 ตร.กม.หรือ 17,975,000 เอเคอร์ ในขณะที่เมื่อเทียบสัดส่วนการให้พื้นที่ของประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชีย มีความแตกต่างแบบชนิดไม่เห็นฝุ่น โดยบริษัทเชฟรอนถือครองมากที่สุดไม่เกิน 10 ล้านเอเคอร์

 

ยิ่งสลดหดหู่เข้าไปอีกหากไปเทียบกับจำนวนพื้นที่สัมปทานที่มีอยู่ใน ประเทศไทยในปี 2553 มี 274,635 ตร.กม.กลับมีเพียง 2 บริษัทที่ได้ไป คือบริษัท “มูบาดาลา ปิโตรเลียม” ได้ไป 100,622 ตร.กม.และบริษัท “เชฟรอน” ได้ไป 72,742 ตร.กม.รวมแล้วกว่า 173,364 ตร.กม.

 

ส่งผลให้ทุกวันนี้ บริษัท เชฟรอน สามารถผลิตปิโตรเลียมได้เกินกว่าครึ่งของที่ผลิตในไทย ดังนั้นเท่ากับว่า กว่าครึ่งหนึ่งของพลังงานที่คนไทยใช้อยู่ขึ้นอยู่กับบริษัท เชฟรอน บริษัทเดียว จึงเป็นอันตรายอย่างมากที่ปล่อยให้บริษัทต่างชาติผลิตปิโตรเลียมได้ถึงครึ่ง หนึ่งจากที่คนไทยใช้อยู่ และนี่คือผลงานของนายปิยสวัสดิ์ล้วนๆ ที่อ้างอยู่เสมอว่าเปิดเสรีการค้าจะได้เกิดการแข่งขัน แต่ความจริงกลับสวนทางเป็นการผูกขาด

 

ตามปกติแล้วทุกประเทศจะมีการแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียมเพื่อให้ได้เงินมากขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ประเทศไทยไม่ได้ปรับเรื่องส่วนแบ่งกำไรเลย โดยที่นายปิยสวัสดิ์ทำสิ่งที่เรียกว่ายกเลิกเรื่องการจำกัดจำนวนแปลงสัมปทาน ไม่เกิน 4-5แปลง หรือไม่เกิน 20,000 ตร.กม.เพื่อไม่ให้เกิดการผูกขาด หมายความว่าใครก็สามารถครอบครองมากเท่าใดก็ได้หรือจะยึดครองทั้งประเทศเลยก็ ย่อมเป็นไปได้

 

นอกจากนั้น ยังมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2550 เช่น การลดหย่อนค่าภาคหลวงจากเดิมที่สามารถลดได้ในอัตราร้อยละ 30 กรณีในพื้นที่ที่มีปัญหา เปลี่ยนให้ลดค่าภาคหลวงได้ร้อยละ 90 จะต่างอะไรกับการไม่เก็บค่าภาคหลวงเลย

 

สำหรับวีรกรรมของอดีตรัฐมนตรีพลังงานในยุคขิงแก่เกี่ยวกับการให้ สัมปทานปิโตรเลียม ยังมีเรื่องให้ตั้งคำถามกันอีก เช่น การอนุมัติการต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมให้แก่บริษัท เชฟรอน (ประเทศไทย) สำรวจและผลิต จำกัด และบริษัท มิตซุย ออยล์ เอ็กซ์พลอเรชั่น จำกัด ล่วงหน้าก่อนหมดอายุสัมปทานถึง 5 ปี ทั้งที่ตามสัมปทานปิโตรเลียม เลขที่ 1/2515/5 จะสิ้นสุดลงในวันที่ 23 เมษายน 2555 แต่คำถามดังกล่าวจนป่านนี้ยังหาคำตอบไม่ได้ว่า เหตุไฉนกระทรวงพลังงานจึงเร่งร้อนอนุมัติให้ก่อน โดยต่อเวลาสัมปทานไปอีก 10 ปี มีผลตั้งแต่ 24 เมษายน 2555-23 เมษายน 2565

 

สิ่งที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่งที่ประชาชนทั้งประเทศควรรู้ไว้ ก็คือ การอนุมัติสัมปทานปิโตรเลียมหลังจากแก้ไขกฎหมายข้างต้นเพียง 2 เดือน ทิ้งทวนก่อนรัฐบาลขิงแก่จะหมดอายุลงในอีก 42 วัน รวมทั้งสิ้น 22 สัมปทาน รวม 27 แปลงสำรวจ ในเวลาไล่เลี่ยกันคือ มติ ครม.เมื่อวันที่ 22 ต.ค.2550 จำนวน 4 แปลงสัมปทาน 4 แปลงสำรวจ, มติ ครม.11 ธ.ค.2550 จำนวน 7 สัมปทาน 10 แปลงสำรวจ และมติ ครม.18 ธ.ค.2550 จำนวน 11 สัมปทาน 13 แปลงสำรวจ เรียกว่ากระหน่ำออกสัมปทานเป็นว่าเล่นเลยทีเดียว แปลเป็นไทยก็คือรีบอนุมัติก่อนคณะรัฐมนตรีขิงแก่จะหมดอำนาจเพียงเดือนครึ่ง เท่านั้นเอง

 

อีกผลงานชิ้นโบดำที่อดจะกล่าวถึงเสียมิได้ก็คือ กรณีแปรรูป ปตท.ที่มูลนิธิผู้บริโภคฟ้องคดีต่อศาลปกครองสูงสุดเมื่อปี 2550 นั้น ก่อนหน้าที่จะมีคำพิพากษาเพียง 3 วัน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในช่วงรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้ออก พ.ร.บ.ประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 เพื่อมาแก้ไขความไม่ถูกต้องไม่ชอบด้วยกฎหมายของการแปรรูป ปตท.

 

นั่นเป็นฝีมือการผลักดันและชงเรื่องของรัฐมนตรีพลังงานชื่อ ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เพราะด้วยการออก พ.ร.บ.ประกอบกิจการพลังงานดังกล่าว ทำให้ศาลมีคำพิพากษาโดยใช้หลักรัฐศาสตร์ ว่ากระบวนการแปรรูป ปตท.นั้นผิด แต่หากกลับคืนสู่สภาพเดิมจะทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง จึงตัดสินแค่ให้เอาท่อส่งก๊าซฯ ที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินกลับคืน ซึ่งจนถึงเวลานี้ ปตท.ก็ยังคืน ยังไม่ครบด้วยซ้ำไป

 

ทั้งหมดทั้งปวงเป็นบทพิสูจน์มัดตัวว่า การแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม นอกจากคนไทยจะไม่ได้ประโยชน์อันใดเพิ่มแล้วยังกลับถูกกระหน่ำซ้ำเติมให้แย่ ลงไปอีก ด้วยยกเลิกการจำกัดพื้นที่สัมปทานที่เป็นสัมทานรูปแบบเดิม ซึ่งอาจนำไปสู่การผูกขาดมากกว่าเดิม คือยิ่งแก้ยิ่งกลับไปสู่สัมปทานยุคโบราณที่อาจนำชาติไปสู่ความเสี่ยงเรื่อง การผูกขาดพลังงานหรือไม่ เป็นสิ่งที่น่าคิด

 

แน่นอนจึงไม่พ้นต้องมีคำถาม เมื่อเห็นนายปิยสวัสดิ์ เดินอยู่หลังเวที กปปส.ว่าเป็นคนจัดหาทุนจากกลุ่มพลังงานมาหรือไม่ คนที่เวที กปปส.จึงได้มีความเกรงอกเกรงใจอยู่เสมอ โดยเฉพาะเวทีหลักที่มีการถ่ายทอดสดทางทีวี ซึ่งไม่ทราบได้ว่าเป็นการไปกำกับมิให้ใครขึ้นไปบนเวทีชำแหละเรื่องปฏิรูปงาน หรือไม่

 

และด้วยเหตุนี้กระมังที่ กำนันสุเทพเกรงอกเกรงใจอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานที่มีบทบาทสำคัญ อยู่เบื้องหลังนโยบายด้านพลังงานของประเทศ และนั่งอยู่หลังเวที กปปส.เหมือนคอยกีดกันไม่ให้ใครที่จะพูดถึงเรื่องนี้นอกกรอบ หลุดรอดขึ้นเวทีไปได้ เพราะถ้าปล่อยให้มีการพูดถึงเรื่องพลังงาน ซึ่งแน่นอนต้องมีประเด็นการแปรรูป ปตท.มีเรื่องสัมปทานปิโตรเลียม อยู่ด้วยนั้น ขุดไปคุ้ยมาจะกลับมาทิ่มแทงพรรคประชาธิปัตย์เอง

 

เรื่องที่เกิดขึ้นนี้ กำนันสุเทพ และพรรคประชาธิปัตย์ จะเป็นอย่างที่ประชาชนครหากันหรือไม่ว่าเรื่องพลังงานนั้นไม่มีพรรคมีแต่พวก และสามารถแปลงร่างเป็นพวกหิวกระหายสูบกินเลือดเนื้อประชาชนได้ทั้งนั้นไม่ เว้นว่าใคร

 

เมื่อถึงตรงนี้แล้ว มวลมหาประชาชนและประชาชนทั้งประเทศ จะเคลิ้มตามหรือเชื่อใจแกนนำ กปปส.ที่พูดบนเวทีอยู่ได้อย่างไรว่าจะมีการปฏิรูปพลังงานเป็นรูปธรรม เมื่อปีศาจร้ายตัวจริงของพลังงานไทยยังคงอยู่รอบตัวของเขาเหล่านั้น และเหล่าขบวนการผู้เป็นต้นคิดริเริ่มนำหายนะด้านพลังงานมาสู่ประชาชนทำให้ ถูกเอาเปรียบด้านพลังงานมาช้านานก็หาใช่ใครอื่นอีกต่างหาก

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เวทีปฏิรูปพลังงาน เสวนาถาม-ตอบ ปัญหาพลังงานชาติ 27/08/14

 

หาเนื้อหามาไม่ครบครับ แต่ที่มีก็เกือบ4ชั่วโมงแล้วครับ(หามาเพิ่มแล้วในส่วนสีแดงครับ)

 

News Hour ช่วงที่2 เสวนา ถาม-ตอบ ปฏิรูปพลังงานเพื่อความปรองดองของชาติ

 

 

 

เสวนา ถาม-ตอบ ปัญหาพลังงานชาติ (1/11)

 

 

 

เสวนา ถาม-ตอบ ปัญหาพลังงานชาติ (2/11)

 

เสวนา ถาม-ตอบ ปัญหาพลังงานชาติ (3/11)

 

 

เสวนา ถาม-ตอบ ปัญหาพลังงานชาติ (4/11)

 

 

เสวนา ถาม-ตอบ ปัญหาพลังงานชาติ (5/11)

 

 

เวทีปฏิรูปพลังงาน เสวนาถาม-ตอบ ปัญหาพลังงานชาติ ช่วงเช้า B1

 

 

เวทีปฏิรูปพลังงาน เสวนาถาม-ตอบ ปัญหาพลังงานชาติ ช่วงเช้า B2

 

 

 

เวทีปฏิรูปพลังงาน เสวนาถาม-ตอบ ปัญหาพลังงานชาติ ภาคบ่าย B3

 

 

 

 

เวทีปฏิรูปพลังงาน เสวนาถาม-ตอบ ปัญหาพลังงานชาติ ภาคบ่าย B4

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...