ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

กระแสตอบรับนิสสัน′มาร์ช′แรงเกินคาด 3เดือนทะลุ1.5หมื่นคัน รอนาน5เดือน

 

"นิสสัน" เล็งเปิดโรงงานเพิ่มอีก 1 แห่ง หลังกำลังการผลิตแบบ "มิกซ์ไลน์" เก๋งผสมปิกอัพ เริ่ม "ตึง" รองรับได้เพียงแสนกว่าคันต่อปี ย้ำตอนนี้ทะลุ 1.5 แสนแล้ว ระบุเป้าปีนี้ผลิต 2 แสน โวกระแสตอบรับนิสสัน "มาร์ช" แรงเกินคาด ผ่าน 3 เดือน ยอดจองทะลุ 1.5 หมื่นคัน หวั่นลูกค้ายังต้องรอรถนานเกิน 5 เดือน

 

 

แหล่งข่าวระดับบริหารจากบริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตอนนี้ต้องยอมรับว่ากำลังการผลิตรถยนต์นิสสันถือว่าเต็มเมื่อเทียบกับตัว เลขเป้าหมายของปีนี้ โดยเฉพาะออร์เดอร์ส่งออกที่มีจำนวนมหาศาล ดังนั้นโรงงานกำลังหาวิธีที่ดีที่สุดในการปรับกระบวนการผลิตภายในให้สอดรับ กันมากขึ้น

 

"จริง ๆ แล้ว ในโรงงานเราไลน์ผลิตปิกอัพเป็นหลัก แต่ผลิตแบบ "มิกซ์ไลน์" คือ จะมีเก๋งผสมด้วยสลับกัน"

ย้อนกลับไปช่วงปี 2539 หรือก่อนวิกฤตเศรษฐกิจนั้น โรงงานของนิสสันที่ถนนบางนาตราด ก.ม. 21 นั้นมี 2 โรง คือ 1.โรงงานผลิตรถยนต์นั่ง และ 2.โรงงานผลิตรถปิกอัพ แต่วันนี้ไลน์รถเก๋งถูกปิดไป ใช้ไลน์ปิกอัพเพียงไลน์เดียว ทำให้มีกำลังผลิตจำกัด

 

แหล่งข่าวกล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อตลาดเก๋งขยายตัวมากขึ้น กำลังการผลิตของโรงงานในวันนี้ มีแค่ 140,000-150,000 คัน แต่ตามแผนงานของนิสสันแล้ว ปีนี้บริษัทตั้งเป้าจะผลิตรถยนต์ 200,000 คัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพิจารณาปรับปรุงและเปิดเพิ่มอีก 1 โรงงาน เพื่อรองรับตลาดเก๋งโดยเฉพาะอีโคคาร์ นิสสัน มาร์ช ซึ่งได้การตอบรับดีมาก

 

นายประพัฒน์ เชยชม รองผู้จัดการใหญ่อาวุโสการตลาดและขาย บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวยอมรับกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้นิสสันอยู่ระหว่างความพยายามปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เนื่องจากปัจจุบันนิสสันใช้โรงงานผลิตรถยนต์เพียง 1 โรงงาน และตอนนี้เต็มกำลังการผลิตแล้ว

 

ตามแผนงานปีนี้นิสสันตั้งเป้าผลิต 200,000 คัน แบ่งเป็นตลาดในประเทศ 48,000 คัน และส่งออกอีก 152,000 คัน สูงขึ้นกว่าปีก่อนที่มีเพียง 90,000 คัน โดยขณะนี้การศึกษารายละเอียดต่าง ๆ คืบหน้าไปมาก โดยใช้ 3 วิธีหลักในการพิจารณา

คือ 1.การตัดสินใจขยายโรงงานใหม่และเพิ่มไลน์ผลิต ซึ่งจะต้องใช้งบประมาณในการลงทุนค่อนข้างสูง และบริษัทจะต้องศึกษารายละเอียดให้ดี โดยเฉพาะความคุ้มค่า 2.การเพิ่มไลน์พ่นสี และไลน์ประกอบให้มากขึ้นเพิ่มขึ้น และ 3.การผลิตที่จำนวน 200,000 คันต่อปีเท่าเดิม แต่ปรับลดจำนวนการผลิตเพื่อส่งออกลง โดยหันไปใช้โรงงานในประเทศอื่นแทน

 

"วันนี้ต้องยอมรับว่าโรงงานเราทำงานกันอย่างเต็มที่ ทั้งการทำงานล่วงเวลา การทำงานในวันหยุด ซึ่งทำกันอย่างเต็มกำลังแล้ว ส่วนการลงทุนเพิ่มเติมนั้น ก็มี 3 วิธีข้างต้นให้เราเลือก ซึ่งจะต้องใช้เม็ดเงินอีกมหาศาล และนิสสันเองจำเป็นต้องมองระยะยาวว่าอีก 5-10 ปีจะคุ้มทุนด้วยหรือไม่"

 

นายประพัฒน์กล่าวอีกว่า หลังจากบริษัทได้ส่งรถยนต์นิสสัน มาร์ช (อีโคคาร์) ออกสู่ตลาดมาเป็นระยะเวลากว่า 2 เดือน ถือว่าได้รับการตอบรับจากลูกค้าอย่างดียิ่ง โดยวันนี้มียอดจองไปแล้วกว่า 15,000 คัน ดังนั้นเป้าหมายที่ 20,000 คันภายในปีแรก มั่นใจว่าทำได้อย่างแน่นอน และลูกค้าจะต้องใช้ระยะเวลาในการรอรถนาน 4-5 เดือน หรือสามารถรับรถได้ราวเดือนพฤศจิกายน

 

ทั้งนี้บริษัทยอมรับว่า มีลูกค้าบางกลุ่มที่รอรถไม่ไหวยกเลิกการจองไปบ้างคิดเป็น 3-4% ของยอดจอง ซึ่งบริษัทพยายามให้ดีลเลอร์ชี้แจงกับลูกค้าอย่างตรงไปตรงมา

 

"วันนี้บางดีลเลอร์รับจองรับรถไว้เกินกว่าโควตาที่ตัวเองได้ ซึ่งคงต้องขึ้นอยู่กับแต่ละดีลเลอร์ว่าจะสามารถบริการจัดการโควตาได้อย่างไร ผมยอมรับว่าดีลเลอร์บางรายมีการจองรถตามโควตาที่ได้ล่วงหน้านานถึง 2 ปีก็มี ซึ่งบริษัทพยายามชี้แจงและพูดปัญหานี้กับดีลเลอร์มาโดยตลอด และต้องขออภัยลูกค้าด้วย" นายประพัฒน์กล่าว

 

ส่วนรถยนต์นิสสัน มาร์ช รุ่นเกียร์อัตโนมัติ หรือ CVT นิสสันพร้อมที่จะทยอยส่งมอบให้กับลูกค้าได้ ในเดือนมิถุนายนนี้ และในเดือนกรกฎาคม คาดว่าน่าจะเริ่มส่งออกด้วย

 

สำหรับนิสสัน มาร์ช เปิดตัวที่ราคาต่ำสุด 375,000 บาทในรุ่นเกียร์ธรรมดา และรุ่นสูงสุด 537,000 บาท

เดือนพฤษภาคม 2553 ส่งออกรถยนต์โตกว่าร้อยละ 135

วันที่ 17 มิถุนายน 2553 10:35 น.

ที่มา สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

 

 

นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยจำนวนยอดขายภายในประเทศ การผลิต และการส่งออกรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของประเทศ ในเดือนพฤษภาคม 2553 ดังต่อไปนี้

 

ยอดขาย

ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนพฤษภาคม 2553 มีจำนวนทั้งสิ้น 62,205 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2553 ร้อยละ 8.89 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว ร้อยละ 53.4 ซึ่งยอดขายที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เป็นผลจากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรก ทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น และจากแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งของรัฐบาลยังเป็นตัวกระตุ้นยอดขายให้เพิ่ม สูงขึ้นด้วย ประกอบกับในช่วงต้นปีที่ผ่านมามีการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่หลายรุ่นทั้งรถ ยนต์ประหยัดพลังงาน รถยนต์ขนาดเล็กและขนาดกลาง โดยสินค้าทางการเกษตรยังมีราคาที่สูง ตลอดจนการส่งออกในหลายอุตสาหกรรมดีขึ้นด้วย ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 149,677 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2552 ร้อยละ 10.57 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2553 ร้อยละ 11.27

ตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2553 รถยนต์มียอดขาย 286,135 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ในระยะเวลาเดียวกัน ร้อยละ 52.2 ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 750,608 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2552 ร้อยละ 25.72

 

การผลิตจำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนพฤษภาคม 2553 มีทั้งสิ้น 132,165 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2552 ร้อยละ 114.03 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2553 ร้อยละ 25.74จำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2553 มีจำนวนทั้งสิ้น 620,116 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2552 ร้อยละ 97.26

รถยนต์นั่ง เดือนพฤษภาคม 2553 ผลิตได้ 45,303 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2552 ร้อยละ 111.84

ยอดผลิตของรถยนต์นั่ง ตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2553 มีจำนวน 190,722 คัน เท่ากับร้อยละ 30.76 ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2552 ร้อยละ 99.45

รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตัน ขึ้นไป ในเดือนพฤษภาคม 2553 ผลิตได้ 42 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2552 ร้อยละ 600 รวมเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2553 ผลิตได้ 163 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2552 ร้อยละ 12.41

รถยนต์บรรทุก เดือนพฤษภาคม 2553 ผลิตได้ทั้งหมด 86,820 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2552 ร้อยละ 115.11 และตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2553 ผลิตได้ทั้งสิ้น 429,231 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2552 ร้อยละ 96.36

รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนพฤษภาคม 2553 ผลิตได้ทั้งหมด 85,041 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2552 ร้อยละ 115.34 และตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2553 ผลิตได้ทั้งสิ้น 420,882 คัน เท่ากับร้อยละ 67.87 ของยอดการผลิตทั้งหมด โดยเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2552 ร้อยละ 97.08 โดยแบ่งเป็น

 

· รถกระบะบรรทุก 152,551 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2552 ร้อยละ 104.59

· รถกระบะดับเบิลแค็บ 217,663 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2552 ร้อยละ 74.08

· รถกระบะ PPV 50,668 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2552 ร้อยละ 263.13

 

รถบรรทุกขนาดต่ำกว่า 5 ตัน - มากกว่า 10 ตัน เดือนเมษายน 2553 ผลิตได้ 1,779 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2552 ร้อยละ 104.48 รวมเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2553 ผลิตได้ 8,349 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2552 ร้อยละ 65.49

ผลิตเพื่อส่งออก

เดือนพฤษภาคม 2553 ผลิตได้ 69,245 คัน เท่ากับร้อยละ 52.39 ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2552 ร้อยละ 129.02 เนื่องจากตลาดส่งออกดีขึ้นในทุกตลาด ส่วนเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2553 ผลิตเพื่อส่งออกได้ 345,465 คัน เท่ากับร้อยละ 55.71 ของยอดการผลิตทั้งหมด ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ระยะเวลาเดียวกัน ร้อยละ 82.31

รถยนต์นั่ง เดือนพฤษภาคม 2553 ผลิตเพื่อการส่งออก 17,235 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2552 ร้อยละ 141.62 ยอดผลิตส่งออกของรถยนต์นั่งตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2553 จำนวน 72,469 คัน เท่ากับร้อยละ 38 ของยอดผลิตรถยนต์นั่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2552 ร้อยละ 67.33

รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนพฤษภาคม 2553 มียอดการผลิตเพื่อการส่งออก 52,010 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2552 ร้อยละ 125.13 และตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2553 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 272,996 คัน เท่ากับร้อยละ 64.86 ของยอดการผลิตรถกระบะ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2552 ร้อยละ 86.75 โดยแบ่งเป็น

 

· รถกระบะบรรทุก 55,162 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2552 ร้อยละ 71.83

· รถกระบะดับเบิลแค็บ 184,565 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2552 ร้อยละ 74.03

· รถกระบะ PPV 33,269 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2552 ร้อยละ 314.46 เนื่องจากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นในทุกตลาดส่งออก

 

ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ

เดือนพฤษภาคม 2553 ผลิตได้ 62,920 คัน เท่ากับร้อยละ 47.61 ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2552 ร้อยละ 99.64 เนื่องจากยอดขายภายในประเทศที่สูงขึ้น และเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2553 ผลิตได้ 274,651 คัน เท่ากับร้อยละ 44.29 ของยอดการผลิตทั้งหมด และเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2552 ร้อยละ 119.94

 

รถยนต์นั่ง เดือนพฤษภาคม 2553 ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 28,068 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2552 ร้อยละ 96.94 ยอดผลิตจำหน่ายในประเทศของรถยนต์นั่ง ตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2553 เท่ากับ 118,253 คัน เท่ากับร้อยละ 62 ของยอดการผลิตรถยนต์นั่ง โดยเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2552 แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 126.04 จากยอดขายรถยนต์นั่งในประเทศที่เติบโตขึ้นร้อยละ 55.6

รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนพฤษภาคม 2553 มียอดการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 33,031 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2552 ร้อยละ 101.54 และตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2553 ผลิตได้ทั้งสิ้น 147,886 คัน เท่ากับร้อยละ 35.14 ของยอดการผลิตรถกระบะ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2552 ร้อยละ 119.51 จากยอดขายรถกระบะที่เติบโตขึ้นร้อยละ 47.5 ซึ่งแบ่งเป็น

 

· รถกระบะบรรทุก 97,389 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2552 ร้อยละ 129.36

· รถกระบะดับเบิลแค็บ 33,098 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2552 ร้อยละ 74.36

· รถกระบะ PPV 17,399 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2552 ร้อยละ 193.60

 

รถบรรทุก เดือนพฤษภาคม 2553 ผลิตได้ 1,779 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2552 ร้อยละ 104.48 รวมเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2553 ผลิตได้ 8,349 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2552 ร้อยละ 65.49

รถจักรยานยนต์ เดือนพฤษภาคม 2553 ผลิตรถจักรยานยนต์ได้ทั้งสิ้น 214,819 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2552 ร้อยละ 38.65 แยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 154,062 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 26.60 และชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 60,757 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 82.77

ยอดการผลิตรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2553 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,018,137 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 32.99 แยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 774,893 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 24.80 และชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 243,244 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 68.14

 

การส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป

เดือนพฤษภาคม 2553 ส่งออก 75,075 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2552 ร้อยละ 135.25 และมากกว่าเดือนเมษายน 2553 ร้อยละ 31.39 จากการสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นในทุกตลาด โดยมีมูลค่าการส่งออก 3,264.23 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2552 ร้อยละ 27.07

 

· เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 1,392.87 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2552 ร้อยละ 37.93

· ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 11,777.74 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2552 ร้อยละ 63.78

· อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 1,284.04 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2552 ร้อยละ 18.14

 

รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนพฤษภาคม 2553 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 49,781.19 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2552 ร้อยละ 103.52

 

เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2553 ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 348,899 คัน โดยส่งออกเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ในระยะเวลาเดียวกัน ร้อยละ 74.99 มีมูลค่าการส่งออก 163,885.68 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากมกราคม - พฤษภาคม 2552 ร้อยละ 78.48

 

· เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 7,058.15 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2552 ร้อยละ 92.88

· ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 52,725.90 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2552 ร้อยละ 59.78

· อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 5,491.05 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2552 ร้อยละ 9.7

 

รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2553 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 229,160.78 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2552 ร้อยละ 71.67

 

รถจักรยานยนต์

เดือนพฤษภาคม 2553 มีจำนวนส่งออก 73,371 คัน (รวม CBU + CKD) เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2552 ร้อยละ 73.35 และมากกว่าเดือนเมษายน 2553 ร้อยละ 51.05 โดยมีมูลค่า 1,973.84 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2552 ร้อยละ 26.4

 

· ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 1,243.63 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2552 ร้อยละ 27.68

· อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 46.76 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2552 ร้อยละ 40.8

 

รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ เดือนพฤษภาคม 2553 ชิ้นส่วนและอะไหล่รถจักรยานยนต์ 3,264.23 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2552 ร้อยละ 27.07

เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2553 รถจักรยานยนต์ มีจำนวนส่งออก 290,380 คัน (รวม CBU + CKD) เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 38.21 โดยมีมูลค่า 8,824 ล้านบาท ลดลงจากปี 2552 ร้อยละ 3.31

 

· ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 5,367 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 21.23

· อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 214 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 28.14

 

รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2553 ชิ้นส่วนและอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 14,405 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2552 ร้อยละ 4.99

 

เดือนพฤษภาคม 2553 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 53,045.42 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 96.26

เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2553 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 243,565.78 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 65.46

 

ประมาณการผลิตรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ ปี 2553

เดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2553

นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยยอดประมาณการการผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในเดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2553 ดังต่อไปนี้

ประมาณการผลิตรถยนต์ในเดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2553 มีจำนวน 373,088 คัน เปรียบเทียบกับยอดผลิตจริงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2553 ซึ่งมีจำนวน 388,418 คัน ลดลง 15,330 คัน หรือร้อยละ 3.95 และเมื่อเปรียบเทียบกับยอดผลิตจริงเดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2552 ซึ่งมีจำนวน 233,870 คันแล้ว เพิ่มขึ้น 139,218 คัน หรือร้อยละ 59.53

ประมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2553 มีจำนวน 464,024 คัน เปรียบเทียบกับยอดผลิตจริงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2553 ซึ่งมีจำนวน 469,798 คัน ลดลง 5,774 คัน หรือร้อยละ 1.23 และเมื่อเปรียบเทียบกับยอดผลิตจริงเดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2552 ซึ่งมีจำนวน 396,747 คันแล้ว เพิ่มขึ้น 67,277 คัน หรือร้อยละ 16.96

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) เผยยอดจำหน่ายรถฮอนด้า เดือนพ.ค. 2553 มีจำนวน 9.508 คัน และยอดจำหน่ายสะสม ม.ค.-พ.ค. อยู่ที่ 39,247 คัน

 

 

บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด แจ้งยอดจำหน่ายรถยนต์ฮอนด้าในเดือนพฤษภาคม 2553 มีจำนวน 9,508 คัน และมียอดจำหน่ายสะสมตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤษภาคม 39,247 คัน เติบโตขึ้น 20% เมื่อเทียบกับปีก่อน และคิดเป็นส่วนแบ่งการตลาด 13.7% ของตลาดรถยนต์โดยรวม (286,146 คัน) และ 30.1% ของตลาดรถยนต์นั่ง (120,329 คัน)

 

โดยแบ่งออกเป็นรุ่นต่างๆ ดังนี้ ฮอนด้า ซิตี้ มียอดจำหน่าย 3,383 คัน มียอดสะสม 14,830 คัน คิดเป็น 24% และแจ๊ซ มียอดจำหน่าย 1,341 คัน มียอดสะสม 5,911 คัน คิดเป็น 9.8% ในกลุ่มรถยนต์นั่งประเภท ซับคอมแพคท์ ส่วนฮอนด้า ซีวิค มียอดจำหน่าย 3,215 คัน มียอดสะสม 11,711 คัน คิดเป็น 32.5% ในกลุ่มรถยนต์นั่งประเภทคอมแพคท์ สำหรับฮอนด้า แอคคอร์ดมียอดจำหน่าย 490 คัน มียอสะสม 2,318 คัน คิดเป็น 18.8% ในกลุ่มรถยนต์นั่งประเภทแฟมิลี่ ฮอนด้า ฟรีด มียอดจำหน่าย 232 คัน มียอดสะสม 1,517 คัน คิดเป็น 29% ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดสูงสุดในกลุ่มตลาดรถยนต์นั่งเอนกประสงค์ mPV และฮอนด้า ซีอาร์-วี มียอดจำหน่าย 847 คันมียอดสะสม 2,960 คันคิดเป็น 14.2% ในกลุ่มรถยนต์นั่งประเภท SUV/PP

แขกสนใจซื้อชิ้นส่วนรถยนต์ด่วน

 

ข่าวเศรษฐกิจ กรมส่งเสริมการส่งออก -- ศุกร์ที่ 18 มิถุนายน 2553 16:54:28 น.

อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์อินเดียกระอักถูกชิ้นส่วนฯ นำเข้าไล่บี้หนัก แม้แต่รถยี่ห้อดังอย่าง Marutซูซูกิ i 800 จะใช้ชิ้นส่วนฯ ผลิตในประเทศ 95% แต่บริษัทก็กำลังมองหาซิ้นส่วนฯ ที่ถูกกว่าจากประเทศไทยและอาเซียน

 

นายไพศาล มะระพฤกษ์วรรณ ผอ. สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ เมืองเจนไนเปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์มารูติซูซูกิในอินเดียเมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 สูงโด่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โดยทำยอดขายได้ถึง 1 แสนคันต่อเดือน และถือเป็นครั้งแรกของอินเดียด้วย คาดว่ามารูติซูซูกิจะทำยอดขายทะลุเป้า 1 ล้านคันเป็นจ้าวแรกของอินเดียในปีนี้ได้อย่างแน่นอน ทั้งนี้ตลาดรถยนต์นั่งของอินเดียเป็นตลาดของรถเล็กเป็นหลัก โดยมีสัดส่วน 75% ของตลาดรถยนต์นั่งที่มีมารูติซูซูกิเป็นผู้นำตลาด

 

 

 

ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์อินเดียเติบโตปีละ 25 % ยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์อินเดียเติบโตมากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งมีการนำเข้าชิ้นส่วนจากต่างประเทศมากขึ้นเท่านั้น อีกทั้งปัจจุบันภาษีศุลกากรขาเข้าสำหรับชิ้นส่วนยานต์ก็ไม่สูงนักแค่ 10% นอกจากนั้น FTA อินเดีย-เกาหลีใต้ และ FTA อาเซียน- อินเดีย ที่มีผลบังคับใช้แล้วก็ทำให้ฮุนได และบริษัทญี่ปุ่นต่างตัดสินใจนำเข้าเพิ่มขึ้นมากกว่าการซื้อชิ้นส่วนใน ประเทศเพราะราคาถูกกว่า เช่น โตโยตามีแผนออกรถเล็กรุ่น Eitos ในอินเดีย โดยนำเข้าเครื่องยนต์และชิ้นส่วนหลักๆ จากโรงงานในประเทศไทยโดยตรง คาดว่าจะทำยอดขายได้ 7 หมื่นคันต่อปี แม้แต่ฮอนด้าเองก็ชอบชิ้นส่วนฯ นำเข้าจากไทยมากกว่า

 

ในปี 2549 อินเดียนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์ 2.77 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 22% ของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศ แต่ยอดการนำเข้าในปี 2552 มีสูงถึง 6.12 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 30.8% ของอุตสาหกรรมฯ ในประเทศ ปัจจุบันการนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์จากเกาหลีใต้ อาเซียน และอียู (ซึ่งกำลังเจรจา FTA กับอินเดียอยู่)รวมกันคิดเป็นสัดส่วน 70 % ของการนำเข้าชิ้นส่วนฯ รวม ซึ่งหากการขยายตัวของการนำเข้าดังกล่าวยังคงขยายตัวสูงต่อไปเช่นนี้ เป็นไปได้ว่าโรงงานชิ้นส่วนฯ ของอินเดียหลายแห่งคงต้องปิดตัวลง หรือไม่ก็ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดด้วยการเพิ่มการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ จากปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 2.76 พันล้านเหรียญสหรัฐ ไปเป็น 2-2.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2558 ผู้ผลิตรถยนต์บางรายถึงกับมองไปไกลถึงขนาดว่าหากย้ายฐานจากอินเดียไปผลิต ในเกาหลี หรือประเทศไทยแล้วส่งกลับไปขายอินเดียจะถูกกว่าหรือไม่ ซึ่งถ้าถึงตอนนั้น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์อินเดียคงถึงเวลาล่มสลายแล้ว

 

นับเป็นข่าวดีที่นาย Ganesh Jatadharan แห่งบริษัท Avalon Consulting ต้องการนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์จากไทยเนื่องจากได้รับสิทธิพิเศษภายใต้ FTA อาเซียน-อินเดีย ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ thaitradechennai@gmail.com

 

ส.อ.ท.ฟันธงผลิตรถQ3เจ๋ง โตเพิ่ม60%ส่งออกไปได้สวย

 

ส.อ.ท.ประเมินยอดผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ในอีก 3 เดือนข้างหน้าช่วงมิถุนายน-สิงหาคม น่าจะโตเพิ่มอีกเกือบ 60% มั่นใจตลาดกำลังไปได้สวย ระบุเฉพาะเดือน พ.ค. รถยนต์ทะลุ 1.3 แสนคัน

 

นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงยอดประมาณการผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า (มิถุนายน-สิงหาคม) ว่า น่าจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น เพราะทุกอย่างเข้ารูปเข้ารอย และทุกค่ายโหมเพิ่มกำลังการผลิตกัน อย่างเต็มที่ โดยการผลิตรถยนต์ในเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2553 น่าจะมีจำนวนถึง 373,088 คัน เปรียบเทียบช่วงเดียวกันปีก่อนที่ผลิตได้เพียง 233,870 คัน มีอัตราการเติบโต 59.53%

 

ขณะที่การผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2553 ก็น่าจะมีจำนวนถึง 464,024 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนที่ทำได้เพียง 396,747 คัน คิดเป็นอัตราการเติบโตถึง 16.96%

 

นายสุรพงษ์กล่าวอีกว่า การผลิตในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาได้รับผลกระทบทางการเมืองเยอะ ทำให้ปริมาณการผลิตหดหายไปบางส่วน โดยจำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนพฤษภาคม 2553 มีทั้งสิ้น 132,165 คัน แต่ก็ยังสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2552 ถึง 114.03%

 

ขณะที่การส่งออกในเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2553 ประเทศไทยส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 348,899 คัน โดยส่งออกเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ในระยะเวลาเดียวกัน 74.99% มีมูลค่าการส่งออก 163,885.68 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากมกราคม-พฤษภาคม 2552 78.48%

 

แบ่งเป็นเครื่องยนต์มีมูลค่าการส่งออก 7,058.15 ล้านบาท ชิ้นส่วนรถยนต์อื่น ๆ มีมูลค่าการส่งออก 52,725.90 ล้านบาท และอะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 5,491.05 ล้านบาท รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2553 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 229,160.78 ล้านบาท ส่วนการ ส่งออกรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2553 ชิ้นส่วนและอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 14,405 ล้านบาท

 

วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4220 ประชาชาติธุรกิจ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

บล.ทิสโก้ ขอแก้ไขราคาเป้าหมายใหม่ของหุ้น STANLY

จากเดิม STANLY (ราคาเป้าหมาย 108 บาท)

เปลี่ยนเป็น STANLY (ราคาเป้าหมาย 165 บาท)

 

(แก้ไข)บล.ทิสโก้ : Auto Sector คงน้ำหนักการลงทุน “มากกว่าปกติ” หุ้นที่ชอบ

สุด ได้แก่ STANLY (ราคาเป้าหมาย 165 บาท)

 

AUTO : ปรับประมาณการยอดผลิตรถยนต์ขึ้นมาเป็น 1.5 ล้านคัน

 

อุตสาหกรรมยานยนต์มีแนวโน้มสดใส

เราปรับขึ้นประมาณการยอดผลิตรถยนต์มาเป็น 1.5 ล้านคัน (+50% YoY)

สำหรับปี 2553F เนื่องจากยอดส่งออกและยอดขายในประเทศที่แข็งแกร่งกว่าคาด

แผนการของ Ford ในการปรับย้ายโรงงานผลิตจากฟิลิปปินส์มายังประเทศไทย และ

โครงการ Eco car ในอีก 2 ปีข้างหน้าน่าจะเป็นผลดีต่อการเติบโตในระยะยาวสำหรับ

อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย คงน้ำหนักการลงทุน “มากกว่าปกติ”

 

การผลิตรถยนต์โต 97% YoY ใน 5M53

การผลิตรถยนต์ของไทยใน 5M53 ดีขึ้นอย่างมาก 97% YoY มาอยู่ที่ 620,000

คัน จากยอดส่งออกที่โต 65% YoY มาอยู่ที่ประมาณ 329,000 คันและการเติบโตของ

ยอดขายในประเทศ 54% YoY มาเป็น 289,000 คัน

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและรถยนต์รุ่นใหม่ที่ได้รับความนิยมช่วยกระตุ้นการเติบ

โตยอดผลิตรถยนต์ใน 5M53

 

ปรับประมาณการยอดผลิตรถยนต์ปี 2553F

แม้ว่าจะเกิดความวุ่นวายทางการเมืองและความกังวลกับปัญหาหนี้สินในยุโรป

แต่เราคาดว่าการผลิตรถยนต์ของไทยในปีนี้น่าจะสูงถึง 1.5 ล้านคัน (เทียบกับ

ประมาณการเดิม 1.35 ล้านคัน) ปัจจุบันผู้ผลิตรถยนต์หลายรายมใช้ระยะเวลาที่ค่อน

ข้างยาวในการส่งมอบรถยนต์ให้แก่ลูกค้า ตัวอย่างเช่น ลูกค้าจ้องรออย่างน้อย 6

เดือนสำหรับ Nissan March และ 1-2 เดือนสำหรับ Toyota Vios

 

ปัญหาหนี้สินที่ยุโรปมีผลกระทบเชิงลบเล็กน้อย

คาดว่ายอดขายรถยนต์ในประเทศจะอยู่ที่ 700,000 คัน (+28% YoY) ในปี

2553F ขณะที่ยอดส่งออกน่าจะอยู่ที่ 800,000 คัน (+65% YoY) เราคาดว่าปัญหา

หนี้สินในยุโรปจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกรถยนต์เล็กน้อยเนื่องจากไทยส่งออกรถ

ยนต์ไปยุโรปคิดเป็นเพียง 5% เท่านั้น โดยไทยส่งออกรถยนต์ส่วนใหญ่ไปยังเอเชีย

(27% ของประมาณการผลิตทั้งหมด) , Oceania (25%) และตะวันออกกลาง (21%)

 

มีแนวโน้มที่ดีในอีก 3 ปีข้างหน้า

Ford วางแผนที่จะย้ายโรงงานผลิตรถยนต์จากฟิลิปปินส์มายังประเทศไทยใน

ปี 2554 ด้วยงบลงทุน 2 หมื่นล้านบาท แต่ยังไม่มีการเปิดเผยกำลังการผลิต แต่น่าจะ

ส่งผลดีต่อการผลิตรถยนต์ของไทย อีกทั้งการผลิตรถยนต์ Eco car ใหม่ในอีก 2 ปี

ข้างหน้า น่าจะกระตุ้นให้อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยโตอย่างต่ำ 10% ต่อปี

 

หุ้นที่ชอบสุด ได้แก่ STANLY

เราประเมินมูลค่าหุ้นในอุตสาหกรรมยานยนต์โดยใช้วิธี PER โดยหุ้นที่เราชอบ

ได้แก่ SAT (ราคาเป้าหมาย 23.50 บาท) จากการเติบโตที่แข็งแกร่งและสภาพคล่อง

สูง นอกจากนี้เรายังชอบ STANLY (ราคาเป้าหมาย 165 บาท) อิงจากราคาหุ้นที่ต่ำ

กว่ามูลค่าประเมิน, การเติบที่แข็งแกร่งและเงินสดในมือจำนวนมาก ปัจจัยเสี่ยงมาจาก

ความล่าช้าของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลก, ความวุ่นวายทางการเมืองของไทย ซึ่ง

ส่งผลให้ยอดขายรถยนต์ต่ำกว่าคาด

 

 

 

เรียบเรียง โดย ประน้อม บุญร่วม

อีเมล์แสดงความคิดเห็น commentnews@efinancethai.com

 

AH-TSCส้มหล่น!

ฟอร์ดซื้อชิ้นส่วน

มูลค่า2.6หมื่นล้าน วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน 2010 ฟอร์ดจ่อเทงบ 26,000 ล้านบาท ซื้อชิ้นส่วนในประเทศรองรับโรงงานใหม่ AH-TSC-TRU สายสัมพันธ์ออโต้อัลลายแอนซ์แน่น จ่อคิวได้รับงานเพิ่ม AH โชว์กำไร Q2 ขั้นต่ำ 30 ล้านบาท ฟาก TSC อ้าแขนรับงาน หลังปัจจุบันครองส่วนแบ่งชุดควบคุมสายเกิน 75% เอ็มดี TRU สั่งลุยกินแชร์วางแผนทุ่มขั้นต่ำ 300 ล้านบาท ขยายโรงงานผลิตรองรับออเดอร์

 

ผู้สื่อข่าวรายงานกรณีบริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ลงทุน 15,000 ล้านบาท ในการสร้างโรงงานผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคลแห่งใหม่ และเตรียมใช้เงินจัดซื้อชิ้นส่วนรถยนต์ที่ผลิตในประเทศสูงสุดถึงปีละ 26,000 ล้านบาท จากเครือข่ายผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศไทย จะส่งผลประโยชน์ต่อผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์จะมีโอกาสได้รับออเดอร์งานมากขึ้น

 

โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งปัจจุบันได้รับออเดอร์งานจากทางบริษัท ออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ AAT (บริษัทร่วมทุนของฟอร์ดและมาสด้า) ได้แก่ บริษัท อาปิโก ไฮเทค จำกัด (มหาชน) หรือ AH บริษัท สมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ SAT บริษัท ไทยสแตนเลย์การไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ STANLY บริษัท ไทยสตีลเคเบิล จำกัด (มหาชน) หรือ TSC และบริษัท ไทยรุ่งยูเนียนคาร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TRU โดย AH ยังมีราคาต่ำกว่าบุ๊คแวลูที่จำนวน 15.90 บาท และ TRU มีราคาบุ๊คอยู่ที่ 4.56 บาท

 

นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปัจจัยดังกล่าวได้แสดงถึงแนวโน้มที่เติบโตต่อเนื่องของอุตสาหกรรม และส่งผลบวกต่อกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ ได้แก่ SAT STANLY TSC ซึ่งมีสัดส่วนรายได้จากกลุ่ม AAT ประมาณ 6-7% รองลงมาคือ AH มีสัดส่วนรายได้จากกลุ่ม AAT ประมาณ 5% คงน้ำหนักการลงทุน “มากกว่าตลาด” ด้วยแนวโน้มผลประกอบการที่เริ่มฟื้นตัวแข็งแกร่งในปี 53 แนะนำ “ซื้อ” STANLY มูลค่าพื้นฐาน 161.20 บาท SAT มูลค่าพื้นฐาน 21.40 บาท ส่วน AH แนะนำเก็งกำไร มูลค่าพื้นฐาน 10.80 บาท

ขณะที่นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในไตรมาส 2 AH ยังมีออเดอร์ใหม่เข้ามาเพิ่ม จึงคาดว่าจะผลักดันให้ยอดขายไตรมาส 2 ยังคงรักษาฐานได้อย่างน้อย 2 พันล้านบาท และมีกำไร 30-50 ล้านบาท ฟื้นตัวโดดเด่น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนที่ได้ยอดขาย 1,513 ล้านบาท และมีขาดทุนสุทธิ 38 ล้านบาท โดยประเมินยอดขายทั้งปี 8,655 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ได้ 7,114 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิจำนวน 185 ล้านบาท พลิกจากเดิมที่ขาดทุน 109 ล้านบาท แนะนำ “ซื้อ” ให้ราคาเป้าหมาย 11.45 บาท

ก่อนหน้านี้ นายเย็บ ซู ชวน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AH ประเมินว่า ในช่วงไตรมาส 2 ทางบริษัทยังมีโอกาสทำยอดขายเติบโตได้ใกล้เคียงกับช่วงไตรมาสแรกที่เพิ่ม ขึ้นถึง 30% ถึงแม้จะมีปัจจัยลบจากเรื่องการเมืองเข้ามากดดันก็ตาม ส่วนทิศทางในช่วงครึ่งปีหลังจะยังคงสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ตามภาวะอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยยังคงเป้าหมายยอดขายทั้งปีที่จำนวน 1 หมื่นล้านบาท

 

ส่วนแหล่งข่าวจากบริษัท TSC เปิดเผยว่า ปัจจุบันทางบริษัทได้รับออเดอร์งานจาก AAT ในการผลิตชุดสายควบคุมอยู่แล้ว ดังนั้น เมื่อทางฟอร์ดมีแผนที่จะลงทุนสร้างโรงงาน บริษัทจึงมีโอกาสได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากเดิมด้วยเช่นกัน ส่วนผลการดำเนินงานทั้งปี จะมีแนวโน้มเติบโตตามภาวะอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ฟื้นตัวขึ้นมา ทั้งนี้ ในไตรมาสแรก TSC มีกำไรสุทธิจำนวน 76 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ได้ 10 ล้านบาท

“สำหรับ TSC เองก็มีงานผลิตที่ดำเนินการให้กับทาง AAT มาก่อนแล้ว ซึ่งในอนาคตก็มีโอกาสที่จะได้รับงานเพิ่มขึ้นจากฟอร์ดด้วยเช่นกัน ส่วนทิศทางการดำเนินงานของบริษัทจะมีแนวโน้มเติบโตขึ้นกว่าเดิม เพราะถ้าสังเกตดูจะเห็นได้เลยว่าหากปีไหนอุตสาหกรรมโตผลการดำเนินงานของ TSC ก็จะโตตามด้วย” แหล่งข่าวจาก TSC กล่าว

ขณะที่นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากแนวโน้มการผลิตยานยนต์ที่ปรับตัวสูงขึ้นโดยในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาส 2 ทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ซึ่ง TSC มีส่วนแบ่งทางการตลาดที่สูงสำหรับผลิตภัณฑ์สายควบคุม มากกว่า 90% ในกลุ่มจักรยานยนต์ และมากกว่า 75% ในกลุ่มรถยนต์ จึงคาดว่าจะส่งผลให้ยอดขายของไตรมาส 2 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 53% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนมาอยู่ระดับ 561 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 52 ล้านบาท โตขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีก่อน 130% ประเมินกำไรสุทธิทั้งปี 246 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ได้ 148 ล้านบาท มีโอกาสจ่ายปันผลทั้งปี 0.95 บาท แนะนำ “ซื้อ” ราคาพื้นฐาน 9.40 บาท

 

ด้านนายสมพงษ์ เผอิญโชค กรรมการผู้จัดการ TRU กล่าวว่า ทางบริษัทมีโอกาสที่จะรับออเดอร์งานจากฟอร์ดเช่นกัน เนื่องจากในขณะนี้ TRU เองได้ผลิตสินค้าในส่วนมาสด้า 2 ส่งให้กับ AAT อยู่แล้ว ส่วนผลการดำเนินงานในไตรมาส 2 จะมีทิศทางที่ดีขึ้น หลังจากบริษัทได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้าเข้ามาอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องจาก ไตรมาสแรก ทั้งนี้ ไตรมาส 1 มีกำไรสุทธิ 23 ล้านบาท พลิกจากขาดทุนในปีก่อนที่จำนวน 49 ล้านบาท

โดยในช่วงปีหน้าทางบริษัทยังมีแผนที่จะใช้เงินลงทุนจำนวน 300-500 ล้านบาท สำหรับการขยายโรงงานที่อมตะซึ่งมีพื้นที่เหลืออยู่อีก 10 ไร่ (มีทั้งหมด 20 ไร่ ใช้เป็นโรงงานไปแล้ว 10 ไร่) เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่จะมียอดการผลิตสูงถึงระดับ 2 ล้านคัน ภายในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า จากการเติบโตของตลาดรถยนต์ขนาดเล็กตามแผนของค่ายรถยนต์ที่เตรียมเปิดตัวรถ ยนต์รุ่นใหม่หลายราย ส่วนเงินลงทุนดังกล่าวจะนำมาจากเงินทุนหมุนเวียนในบริษัทและการกู้จากธนาคาร

ด้านนายโจ ฮินริคส์ ประธานฟอร์ด ประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและแอฟริกา กล่าวว่า จากแผนการลงทุนจำนวน 15,000 ล้านบาทของบริษัท ทางฟอร์ดเองยังมีแผนจัดซื้อชิ้นส่วนรถยนต์ที่ผลิตในประเทศ ซึ่งมูลค่าสูงสุดถึง 800 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 26,000 ล้านบาท จากเครือข่ายผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศไทย และสามารถจ้างงานใหม่ได้สูงสุดถึง 11,000 ตำแหน่ง เพื่อรองรับต่อกระบวนการผลิตรถยนต์ดังกล่าว

ถูกแก้ไข โดย TOUNE

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฟอร์ดทุ่ม1.5หมื่นล้านผุด2รง.ใหม่ในไทย ผลิต′โฟกัส′ขายทั่วโลก จ้างงานเพิ่ม1.1หมื่นราย

 

"ฟอร์ด"ทุ่ม 1.5 หมื่นล้าน ผุดโรงงานใหม่ผลิตรถในไทย ใช้เทคโนโลยีชั้นยอด เสร็จปี′55 เริ่มผลิต “ฟอร์ด โฟกัส” รุ่นใหม่ป้อนตลาดในประเทศและตลาดโลก มั่นใจซื้อชิ้นส่วนจากผู้ผลิตคนไทยมูลค่าสูงสุดถึง 26,000 ล้านบาทต่อปี พร้อมจ้างงานใหม่ 11,000 ตำแหน่ง

 

นายอลัน มูลัลลี ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี กล่าวว่า ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ประกาศแผนการลงทุนมูลค่า 15,000 ล้านบาท (หรือ 450 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ในการสร้างโรงงานผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคลแห่งใหม่ที่พร้อมไปด้วยเทคโนโลยี ชั้นยอด ในจังหวัดระยอง ประเทศไทย โดยมีกำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2555

 

โรงงานแห่งนี้จะเริ่มผลิตรถยนต์ฟอร์ด โฟกัส รุ่นใหม่ ในปี 2555 เพื่อป้อนตลาดในประเทศไทยรวมถึงการส่งไปจำหน่ายยังตลาดอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นอกจากนี้ ด้วยการเป็นโรงงานที่มีความยืดหยุ่นสูง ทำให้ฟอร์ดมีศักยภาพในการผลิตรถยนต์ได้หลากหลายรุ่นในอนาคต

"การประกาศลงทุนเพื่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ในวันนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวย่างสำคัญในการขยายการดำเนินธุรกิจเชิงรุกของเราอย่าง ต่อเนื่องในเอเชียแปซิฟิก เพื่อตอบสนองต่อความต้องการสินค้าคุณภาพระดับโลกของฟอร์ดในภูมิภาคที่มีการ เติบโตอย่างรวดเร็วแห่งนี้" นายอลัน กล่าว

"เรามีความมุ่งมั่นในระดับโลกที่จะผลิตรถยนต์ภายใต้แบรนด์ฟอร์ด ให้มีความหลากหลายและครอบคลุมความต้องการของผู้บริโภคทุกกลุ่ม โดยรถยนต์ของเราจะต้องเป็นเลิศ ทั้งในด้านคุณภาพ การประหยัดน้ำมัน ความปลอดภัย และเทคโนโลยีล้ำสมัย ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่ลูกค้าของเราให้ความสำคัญและต้องการ"

สำหรับโรงงานผลิตรถยนต์แห่งใหม่จะมีกำลังการผลิตเบื้องต้นอยู่ที่ 150,000 คันต่อปี โดยจะใช้ระบบการผลิตระบบอัตโนมัติอันทันสมัย และปฏิบัติงานภายใต้ระบบและกระบวนการผลิตรถยนต์ระดับโลกของฟอร์ด โดยการผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่จะเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกสูงสุดถึงร้อยละ 85

นายโจ ฮินริคส์ ประธานฟอร์ด ประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและแอฟริกา กล่าวว่าการลงทุนในครั้งนี้เป็นการยืนยันถึงพันธสัญญาในระยะยาวของเราที่มี ต่อประเทศไทย และบทบาทที่สำคัญ ในฐานะศูนย์กลางการผลิต และการส่งออกระดับโลกของฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี

“การตัดสินใจสร้างโรงงานผลิตแห่งใหม่ของฟอร์ดในครั้งนี้ เป็นผลมาจากความพร้อมของอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทย ระบบโลจิสติกส์ และโครงสร้างพื้นฐานด้านการส่งออกที่มีมาตรฐานในระดับโลก”

ทั้งนี้ รถยนต์ฟอร์ด โฟกัสรุ่นใหม่ จะถูกผลิตโดยใช้โครงสร้างตัวถังใหม่ของรถยนต์ขนาดกลาง หรือ “ซี-คาร์” ของฟอร์ด ซึ่งคาดว่าจะมียอดขายรวมทั่วโลกมากกว่าปีละสองล้านคัน โดยปัจจุบันตลาดรถยนต์นั่งขนาดกลางถือเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และคาดกันว่าภายในปี 2556 จะมีสัดส่วนราวร้อยละ 28 ของยอดขายรถยนต์นั่งโดยรวมทั้งหมด

โรงงานประกอบรถยนต์แห่งใหม่ขนาด 750,000 ตารางเมตร จะเป็นโรงงานแบบครบวงจร เพื่อการประกอบตัวถัง การพ่นสี การเก็บรายละเอียดและการประกอบรถยนต์ขั้นสุดท้าย โดยใช้กระบวนการผลิตตามรูปแบบระดับโลกซึ่งเป็นแนวคิดเพื่อความยั่งยืน ตลอดจนกระบวนการ และระบบการผลิตที่มีความรับผิดชอบ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

“สำหรับฟอร์ดแล้ว การดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมนั้น เป็นมากกว่าความมุ่งมั่นของเราในการเป็นผู้นำด้านการประหยัดพลังงาน โดยเราประสบความสำเร็จอย่างสูงในการประยุกต์ใช้เทคนิคด้านการใช้พลังงาน ต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ในโรงงานผลิต และสำนักงานของเราทั่วโลก โรงงานแห่งใหม่ในประเทศไทยนี้จะปฏิบัติตามนโยบายของฟอร์ดทั่วโลกอย่าง เคร่งครัด ซึ่งการปฏิบัติการ ผลิตภัณฑ์ และบริการของเรา บรรลุการทำหน้าที่ในการปกป้องสุขภาพและสิ่งแวดล้อม”

 

ด้านโรงพ่นสีของโรงงานแห่งใหม่นี้ จะใช้กระบวนการพ่นสีแบบ 3-Wet technology ที่พ่นสีซ้อนทับกัน 3 ชั้น แล้วจึงอบสีแห้งเพียงครั้งเดียว โดยถือเป็นวิธีที่ช่วยปรับปรุงคุณภาพของการพ่นสี ความละเอียด และความทนทานของสี ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีคุณภาพระดับโลกและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยังช่วยลดปริมาณการปล่อยสาร อินทรีย์ไอระเหย และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมทั้งของเสียต่างๆ จากการผลิตลงได้อย่างมาก นอกจากนั้น ยังมีโรงบำบัดน้ำเสียอยู่ภายในโรงงาน และระบบควบคุมแสงสว่างที่ประหยัดพลังงาน โดยใช้แสงธรรมชาติ ระบบระบายอากาศด้วยลมธรรมชาติ รวมทั้งใช้วัตถุดิบที่ผลิตในประเทศไทย และสามารถนำกลับมาใช้อีกได้

ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี มีแผนจัดซื้อชิ้นส่วนรถยนต์ที่ผลิตในประเทศ ซึ่งมูลค่าสูงสุดถึงปี 800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (26,000 ล้านบาท) จากเครือข่ายผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศไทย

"ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างความเติบโตอย่างต่อเนื่องให้กับอุตสาหกรรมยาน ยนต์ระดับโลกของประเทศไทยทำให้ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี สามารถนำปัจจัยต่างๆ ที่มีมาต่อยอดให้ธุรกิจให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นต่อไปได้อีก โดยใช้แรงงานที่มีความชำนาญในประเทศ และความเชี่ยวชาญด้านการตลาด ตลอดจนรากฐานการดำเนินธุรกิจเชิงกลยุทธ์ ซึ่งเราได้วางรากฐานในประเทศไทย”

พร้อมกันนี้ ฟอร์ดยังเปิดเผยว่าโรงงานผลิตรถยนต์แห่งใหม่นี้จะสามารถจ้างงานใหม่ได้สูง สุดถึง 11,000 ตำแหน่ง โดยจะเป็นตำแหน่งงานที่ ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี จ้างโดยตรงสูงสุดถึง 2,200 ตำแหน่ง และเป็นการจ้างงานผ่านทางเครือข่ายซัพพลายเออร์ และดีลเลอร์อีกถึง 8,800 ตำแหน่ง เมื่อโรงงานมีกำลังการผลิตสูงถึง 150,000 คันต่อปี

มิตซูฯเปรี้ยง! ทุ่ม 1.5 หมื่นล้านผุดโรงงานอีโคคาร์ แหลมฉบัง ผลิต2แสนคัน/ปี

 

ค่ายมิตซูฯทุ่มอีก 1.5 หมื่นล้าน ผุดโรงงานผลิตอีโคคาร์ที่แหลมฉบัง ชลบุรี ใช้ชื่อโครงการ "โกลเบิล สมอลล์ คาร์" เริ่มก่อสร้างปีนี้ คาดเสร็จปี2555 มีกำลังการผลิต 2แสนคัน/ปี ประเดิมปีแรก 5 หมื่นคัน เผยแล้วเสร็จเป็นฐานผลิตใหญ่อันดับสองของมิตซูฯรองจากญี่ปุ่น

 

เมื่อวันที่ 5ก.ค.2553 นายโอซามุ มาสุโกะ ประธานมิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยในงานฉลองความสำเร็จส่งออกรถยนต์มิตซูบิชิ 2 ล้านคัน ณโรงงานแหลมฉบัง เมื่อวันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม 2553 ว่า มิตซูบิชิ จะลงทุนในประเทศอีก 1.5 หมื่นล้านบาท เพื่อก่อสร้างโรงงานผลิตรถยนต์นั่งขนาดเล็กประหยัดพลังงาน (อีโคคาร์) โดยใช้ชื่อโปรเจ็กต์นี้ว่า "โกลเบิล สมอลล์ คาร์" เริ่มดำเนินการก่อสร้างปีนี้คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2555 โดยโครงการนี้จะมีกำลังการผลิต 2 แสนคันต่อปี ซึ่งในปีแรกจะสามารถผลิตได้ 5 หมื่นคัน

 

นายมาสุโกะ กล่าวว่า หากโครงการนี้สำเร็จจะทำให้ประเทศไทย เป็นฐานการผลิตที่ยิ่งใหญ่เป็นอันดับสองของมิตซูบิชิ รองจากประเทศญี่ปุ่น

 

นายโนบุยูกิ มูราฮาชิ" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ตลาดรถยนต์ของไทยปีนี้น่าจะทำได้ถึง 7 แสนคัน ซึ่งบริษัทตั้งเป้าจะมีอัตราการเติบโตสูงถึง 50% มียอดขายอยู่ที่ 32,000 คัน และมีมาร์เก็ตแชร์ที่ 5% ทั้งนี้ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมิตซูบิชิทำยอดขายได้ถึง 3,474 คัน ซึ่งเป็นตัวเลขการขายที่สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา

 

นายมาสุโกะ กล่าวว่า มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อปี 2530 หรือเมื่อประมาณ 23 ปีที่ผ่านมา ในชื่อบริษัท เอ็มเอ็มซี สิทธิผล จำกัด และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ในปี 2546 มีโรงงานประกอบรถยนต์ 2 แห่ง ซึ่งมีกำลังการผลิตรวมอยู่ที่ 200,000 คันต่อปี โดยปัจจุบันทำการผลิตรถยนต์ มิตซูบิชิ แลนเซอร์ มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีเอ็กซ์ มิตซูบิชิ สเปซ แวกอน มิตซูบิชิ ไทรทัน และมิตซูบิชิปาเจโร สปอร์ต เพื่อการจำหน่ายในประเทศ รวมทั้งได้ส่งออกมิตซูบิชิ ไทรทัน และมิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต ไปจำหน่ายยังกว่า 140 ประเทศทั่วโลกอีกด้วย สำหรับรถมิตซูบิชิคันที่ 2 ล้าน ซึ่งปล่อยออกจากสายพานการผลิตในวันนี้นั้น ถือเป็นการสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับบริษัทฯ รวมทั้งสะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย โดยยอดการผลิต 2 ล้านคันดังกล่าวเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 1,246,480 คัน หรือ ประมาณ 62% และเพื่อการจำหน่ายในประเทศ 753,520 คัน หรือ 38 %

 

ทั้งนี้ มร.มาสุโกะ กล่าวถึงการดำเนินของ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย พร้อมแสดงความมั่นใจในอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยว่า "ความสำเร็จในครั้งนี้ ถือเป็นสิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นถึงศักยภาพของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยซึ่งมีความ พร้อมทั้งในด้านของฝีมือแรงงาน รวมไปถึงการให้การสนับสนุนอย่างดีโดยรัฐบาลไทยจึงทำให้ผู้ผลิตรถยนต์ต่างๆ รวมทั้ง มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ไว้วางใจเลือกประเทศไทยฐานการผลิตรถ ยิ่งไปกว่านั้นด้วยนโยบายของภาครัฐที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของอุตสาหกรรม ยานยนต์และการให้สนับสนุนมาด้วยดีตลอดมา ทำให้มั่นใจว่าทิศทางของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยจะมีอัตราการเติบโตต่อไป และทำให้มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจและเป็นยุทธศาสตร์การผลิตที่สำคัญของ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ต่อไป" มร.มาสุโกะ กล่าว

 

ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีศักยภาพและความพร้อมสูงสุดด้านการผลิตรถยนต์ใน ภูมิภาคนี้ ไม่ว่าจะเป็นด้านฝีมือแรงงานที่มีมาตรฐานสูงจนได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ รวมไปถึงระบบสาธารณูปโภคที่เอื้อต่อการลงทุน และนโยบายสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของภาครัฐซึ่งต่างมีบทบาทสำคัญในการส่ง เสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย ด้วยองค์ประกอบดังกล่าวจึงทำให้ผมมั่นใจว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยได้เดินมา ในทิศทางที่ถูกต้องและกำลังมีอนาคตที่สดใส

 

ที่มา http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1278320443&grpid=00&catid=no

ถูกแก้ไข โดย TOUNE

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ยอดมอเตอร์ไซค์ทะลัก149,696คัน

 

วันอังคารที่ 13 กรกฏาคม 2010

 

ตลาดมอเตอร์ไซค์ไปได้สวย เดือนพ.ค.กวาดยอดขาย 149,696 คัน ยอดจดทะเบียนสะสม 5เดือนทะลัก 750,607 คัน โตขึ้น 26% กลุ่มรถเอ.ที. ยังขึ้นแท่นครองตลาด ขณะที่ฮอนด้ายึดเบอร์หนึ่งฟาดเพียบ 56% ฟากผู้บริหารชี้ อนาคตตลาดเอ.ที.ยังไปได้สวย หลังกลุ่มเป้าหมายเปลี่ยนหันมาใช้รถสไตล์นี้มากขึ้น

 

 

นายธีระพัฒน์ จิวะพงศ์ กรรมการบริหารฝ่ายขาย บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด เปิดเผยว่า สำหรับรายงานตัวเลขตลาดรวมรถจักรยานยนต์ทุกประเภทเดือน พ.ค. มียอดจำหน่ายทั้งสิ้น 149,696 คัน แบ่งเป็นรถจักรยานยนต์แบบเอ.ที. 78,161 คัน เทียบเท่าสัดส่วนตลาด 52% โดยขึ้นนำรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวที่มียอดจดทะเบียนอยู่ที่ 67,334 คัน หรือเทียบเท่าสัดส่วนตลาด 45% รถจักรยานยนต์แบบครอบครัวกึ่งสปอร์ตมีจำนวน 1,706 คัน เทียบเท่าสัดส่วนตลาด 1% แบบออฟโรด 1,582 คัน เทียบเท่าสัดส่วนตลาด 1% แบบสปอร์ตและประเภทอื่นๆ 893 คัน มีสัดส่วนตลาดกว่า 1%

 

โดยหากแยกเป็นยอดจดทะเบียนตามประเภทผู้ผลิตในเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา รถจักรยานยนต์ฮอนด้า 100,266 คัน เทียบเท่าอัตราครองตลาด 67%, ยามาฮ่า 40,826 คัน อัตราครองตลาด 27%, ซูซูกิ 5,412 คัน อัตราครองตลาด 4%, อื่นๆ ได้แก่ คาวาซากิ 1,768 คัน, เจอาร์ดี 48 คัน, แพล็ตตินั่ม 68 คัน, ไทเกอร์ 139 คัน และอื่นๆ 1,149 คัน

 

ส่วนภาพรวมตลาดรถจักรยานยนต์ไทยประจำเดือนพ.ค. 53 มีปริมาณยอดการจำหน่ายทั้งสิ้น 149,676 คัน เติบโตขึ้น 10.57% หรือ 14,305 คัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน โดยรถประเภทเอ.ที. เติบโตสูงสุดถึง 52% สูงกว่ารถจักรยานยนต์ประเภทครอบครัว ที่มีสัดส่วน 45% ส่งผลให้ฮอนด้าครองส่วนแบ่งทางการตลาดได้เป็นอันดับ 1 ในทุกเซ็กเมนต์ที่ฮอนด้ามีการวางจำหน่าย ขณะที่เทรนด์การขับขี่ใหม่ระบบจ่ายน้ำมันแบบหัวฉีดยังได้รับความนิยมสูง มีสัดส่วนตลาดรวมสูงสุด 63% สะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มวัยรุ่นไทยได้นิยมใช้รถแบบหัวฉีดเพิ่มขึ้นอย่างต่อ เนื่อง

 

สำหรับภาพรวมตลาดรถจักรยานยนต์ ช่วงระยะเวลา 5 เดือนที่ผ่านมา มีปริมาณยอดสะสมจดทะเบียนป้ายวงกลมของรถจักรยานยนต์ทั้งสิ้น 750,607 คัน ปรับเพิ่มขึ้นสูงถึง 26.84% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีจำนวน 591,755 คัน ซึ่งมีปริมาณการจดทะเบียนเพิ่มขึ้น 158,852 คัน นับเป็นสัญญาณที่ดีของการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ฮอนด้ายังสามารถทำยอดปรับเพิ่มขึ้นตามทิศทางเศรษฐกิจเช่นกัน โดยมียอดจดทะเบียนรวมระยะเวลา 5 เดือนที่ผ่านมา 518,865 คัน เทียบเท่าสัดส่วนตลาดที่ 69.12%

 

“หากศึกษาในรายละเอียดจะพบว่า ภายใต้สัญญาณการเติบโตตลาดในภาพรวม สะท้อนตัวเลขเชิงลึกที่ชี้ให้เห็นถึงกระแสการเติบโตของกลุ่มรถจักรยานยนต์ ประเภทเอ.ที. ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นมาเป็นลำดับ และครองสัดส่วนความนิยมสูงกว่ารถประเภทครอบครัว” นายธีระพัฒน์กล่าว

 

ทั้งนี้ ในเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา กลุ่มตลาดรถจักรยานยนต์ ประเภทเอ.ที. มีส่วนแบ่งครองตลาดสูงถึง 52% โดยนายธีระพัฒน์ให้เหตุผลว่า การเติบโตดังกล่าวเป็นผลมาจากการที่ทุกค่ายผู้ผลิตต่างแข่งขันและชิงความ นิยม อีกทั้งยังมีการใช้กลยุทธ์ในการส่งเสริมการจำหน่าย ผลักดันแคมเปญต่างๆ เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับตัวสินค้ามากขึ้น

 

นอกจากนี้ ยังคาดการณ์ว่ากลุ่มรถจักรยานยนต์ประเภทเอ.ที. จะสร้างความตื่นตัวให้กับตลาดได้อย่างต่อเนื่อง โดยฮอนด้าสามารถกวาดแชร์เซ็กเมนต์ดังกล่าวได้สูงถึง 56% หรืออยู่ที่ 43,510 คัน จากยอดจดทะเบียนประเภทรถเอ.ที. รวมทั้งหมด 78,161 คัน รองลงมาเป็นยามาฮ่า 43% และซูซูกิ 1%

 

โดยนายธีระพัฒน์กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นผู้นำตลาดทางบริษัทจึงได้นำเอากลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดมาใช้ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการผลักดันตลาดรถประเภทเอ.ที. เติบโต อย่างการเปิดเกมรุกกิจกรรมสานต่อไลฟ์สไตล์ความสนุก เช่น การแข่งขันฟุตบอลระดับโลก 2010 ซึ่งร่วมกับร้านผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์ฮอนด้าทั่วประเทศจัดแคมเปญ “เกาะติดอังกฤษ สู้ศึกลูกหนังโลก ลุ้นโชคทุกรอบกับฮอนด้าสกู๊ปปี้ ไอ” ซึ่งผู้ร่วมสนุกจะได้ลุ้นรางวัลใหญ่ รถจักรยานยนต์ฮอนด้า สกู๊ปปี้ ไอ ลายสิงโตคำราม Limited Edition เพียง 100 คัน หรือเสื้อโปโลลิขสิทธิ์ทีมชาติ รวมมูลค่าของรางวัลทั้งสิ้นกว่า 7 ล้านบาท โดยจับรางวัลพร้อมกันวันที่ 29 กรกฎาคมนี้

ตลาดรถยนต์เดือน มิ.ย. สูงถึง 70,557 คัน สูงสุดในปีนี้ และ เติบโตสูงสุดในรอบ 10 ปี

 

ตลาดรถยนต์เดือน มิ.ย. ยังโดดเด่นถึง 70,557 คัน ทำสถิติสูงสุดใหม่ของยอดขายเดือน มิ.ย. สูงสุดในปีนี้ และ เติบโตสูงสุดในรอบ 10 ปี แนวโน้มเดือน ก.ค. ค่ายโตโยต้าประเมินจะยังเติบโตต่อ และ แนวโน้มรวมปี 2553 จะเติบโต 18% สู่ระดับ 650,000 คัน มากกว่าที่ประเมินตอนต้นปี ดังนั้น เราคงมีมุมมองเป็นบวกต่อกลุ่มยานยนต์ แนะนำ ซื้อ ใน SAT, STANLY และ IRC

 

ตลาดรถยนต์ในประเทศเดือน มิ.ย. สูงสุดในปีนี้ และ โตมากสุดรอบ 10 ปี

 

บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยตัวเลขสถิติตลาดรถยนต์รวมภายในประเทศประจำเดือน มิ.ย. 2553 สูงถึง 70,557 คัน ทำสถิติสูงสุดในปีนี้ และ เป็นสถิติใหม่ของยอดขายเดือน มิ.ย. รวมถึงมีอัตราการเติบโตสูงสุดในรอบ 10 ปี ด้วยอัตราการเติบโต 63% สามารถเติบโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 โดยตลาดรถยนต์สามารถแบ่งเป็น 1.) รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ มีจำนวน 37,611 คัน เพิ่มขึ้น 53% และ 2.) รถยนต์นั่งส่วนบุคค มีจำนวน 32,946 คัน เพิ่มขึ้น 76% เนื่องจากยังได้แรงหนุนจาก ความนิยมต่อเนื่องของรถยนต์รุ่นใหม่หลายรุ่น ซึ่งยังมีส่วนหนึ่งที่ค้างส่งมอบและได้มีการปรับเพิ่มกำลังการผลิตตั้งแต่ เดือนที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังเป็นผลมาจากเศรษฐกิจฟื้นตัว บรรยากาศการเมืองผ่อนคลายได้ส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค สำหรับยอดสะสม 6 เดือนแรกตลาดรถยนต์รวมเท่ากับ 356,392 คัน เพิ่มขึ้น 54% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

 

แนวโน้มเดือน ก.ค. ค่ายโตโยต้าประเมินจะยังเติบโตต่อ

 

แนวโน้มตลาดรถยนต์ในเดือน ก.ค. ค่ายโตโยต้า ประเมินจะยังเติบโตต่อเนื่อง เนื่องจาก ความนิยมต่อเนื่องของรถยนต์รุ่นใหม่ ซึ่งบางรุ่นยังคงมียอดค้างส่งมอบแม้ว่าจะได้มีการปรับเพิ่มกำลังการผลิต การจัดกิจกรรมการตลาดอย่างต่อเนื่อง เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี ราคาสินค้าเกษตรที่ดี และ การเมืองที่คลี่คลาย สำหรับแนวโน้มรวมปี 2553 ในเดือนก่อนค่ายโตโยต้าปรับเป้าหมายตลาดรวมเป็น 650,000 คัน หรือ เติบโต 18% เทียบกับประมาณการเดิม 600,000 คัน หรือ เติบโต 9% จากปีก่อน

 

มีมุมมองต่อกลุ่มยานยนต์เป็นบวก

 

เรามีมุมมองต่อกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์เป็นบวก จากตัวเลขยอดขาย และ ยอดผลิตรถยนต์ แสดงทิศทางการเติบโตสูง สำหรับคำแนะนำในกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ ที่เราแนะนำ ซื้อ คือ SAT (ราคาเหมาะสม 21 บาท) SAT มีแผนลงทุนเพิ่ม 3,500 ล้านบาท ในช่วง 3 ปีนี้ คาดจะหนุนการเติบโตปี 2553 เท่ากับ 45% และ เฉลี่ยปีละ 10% ในช่วงปี 2554 - 2557, STANLY (ราคาเหมาะสม 160 บาท) คาดกำไรงวด เม.ย. - มิ.ย.53 จะยังโดดเด่นถึง 350-370 ล้านบาท แนวโน้มปี 2554 คาดจะเติบโตโดดเด่น และ IRC (ราคาเหมาะสม 15 บาท) แนวโน้มกำไรในปี 2553 จะเติบโตโดดเด่นจากปีก่อน ในขณะที่เราแนะนำ ถือ ใน TSC (ราคาเหมาะสม 8.2 บาท), และ AH (ราคาเหมาะสม 8 บาท)

 

http://kelive2.kimeng.co.th/

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฮอนด้าปรับเป้าขายทะลุ 1.1 แสนคัน

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 กรกฎาคม 2553 20:47 น.

 

ข่าวในประเทศ - ฮอนด้า ประเมินสถานการณ์ตลาดใหม่ ปรับเป้ายอดขายตัวเองเป็น 110,000 คัน เพิ่มจากตัวเลขเดิม 95,000 คัน สอดคล้องยอดขายตลาดรวม โต20% เมื่อเทียบกับปี 2552

 

 

อาซึชิ ฟูจิโมโตะ

 

อาซึชิ ฟูจิโมโตะ ประธานบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ฮอนด้าช่วงหกเดือนแรกของปี (ม.ค.-มิ.ย.2553) ทำได้ 51,782 คัน เพิ่มขึ้น 30% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (39,967 คัน) และจากกระแสตอบรับอย่างดีเยี่ยมของผู้บริโภค ที่มีต่อแบรนด์และคุณภาพรถยนต์ ล่าสุดบริษัทฯปรับเป้ายอดขายปี 2553 เพิ่มเป็น 110,000 คัน (เดิม 95,000 คัน)หรือคิดเป็นส่วนแบ่งตลาด 17% ของตลาดรถยนต์โดยรวม

 

สำหรับตลาดรถยนต์รวมปีนี้น่าจะทำได้เกิน 650,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ประมาณ 20% และคาดว่ายอดขายรถยนต์ในประเทศจะเพิ่มขึ้นถึง 800,000 คันในอีกสามปีข้างหน้า

 

“เรามีความเชื่อมั่นในศักยภาพการเติบโตของตลาดรถยนต์ประเทศไทย พิจารณาจากเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ ระดับรายได้สูงขึ้น และนโยบายด้านการส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาลไทย เราเชื่อว่าตลาดรถยนต์จะมีแนวโน้มขยายตัวในระยะยาว และส่วนแบ่งตลาดรถยนต์นั่งจะขยับขึ้นไปอยู่ในระดับเดียวกับรถ ปิกอัพที่จำหน่ายในประเทศไทย ภายในอีกครึ่งทศวรรษข้างหน้า”

 

นอกจากนี้ยังพบว่าผู้บริโภคชาวไทยค่อยๆ ปรับเปลี่ยนความต้องการในการขับขี่จากปิกอัพและรถซีดานขนาดใหญ่ มาเป็นรถขนาดเล็กที่ประหยัดเชื้อเพลิง พร้อมความใส่ใจสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น ดังนั้นการที่ผู้บริโภคเลือกใช้รถที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงถือเป็นแนวโน้มที่ดีสำหรับฮอนด้า ซึ่งมีกำหนดเปิดตัวรถอีโคคาร์ในเมืองไทยปี 2554 และคาดว่าจะได้รับความสนใจอย่างท่วมท้นจากผู้บริโภคเมื่อออกสู่ตลาด

ซิตี้คาร์แรง! ครึ่งปีกวาดยอดขาย8.5หมื่นคัน "มาสด้า-นิสสัน"ยอดพุ่งกระฉูด คาดสิ้นปีทะลุ2แสนคัน

 

"ซิตี้คาร์" แรงฉุดไม่อยู่ "ค่ายรถยนต์" ระบุครึ่งปีแรกกวาดยอดแล้วกว่า 8.5 หมื่นคัน มีลุ้นทั้งปีเฉียด 2 แสนคัน มาสด้า-นิสสันปลื้ม ขายดีเกินคาด กำลังการผลิตแน่นเอี้ยด ทุกค่ายเดินเกมบุกตลาดอัดกิจกรรมต่อเนื่อง ด้านฮอนด้าชี้อีก 5 ปีซิตี้คาร์จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้สัดส่วนตลาดเปลี่ยนเป็น 50/50 พร้อมปรับเป้าเป็น 1.1 แสนคัน

 

นางสาวสุรีทิพย์ ละอองทอง โฉมทองดี ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท มาสด้าเซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงสถานการณ์การแข่งขันของตลาดรถยนต์นั่งขนาดเล็ก (บีคาร์) หรือซิตี้คาร์ ว่า ขณะนี้อัตราการเติบโตค่อนข้างดีมากจนน่ากลัว เห็นได้จากตัวเลขของเจซีซี (กลุ่มรถยนต์ญี่ปุ่น) ในช่วงครึ่งปีแรกพบว่ามียอดขาย 85,148 คัน มาสด้า 2 มียอดขายที่ 11,570 คัน

 

 

ส่วนการแข่งขันในกลุ่มบีคาร์นี้ถือว่ามีการแข่งขันค่อนข้างสูงและรุนแรง เนื่องจากเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมามีค่ายรถยนต์ต่าง ๆ ได้ให้ความสนใจส่งรถยนต์ประเภทนี้ออกสู่ตลาดเยอะ ทั้งมาสด้า 2 อีโคคาร์ หรือนิสสัน มาร์ช เร็ว ๆ นี้ก็จะมีฟอร์ด เฟียสต้า อีกราย ซึ่งจุดขายของเก๋งเล็กนี้ นอกจากระดับราคาแล้ว อัตราการกินน้ำมันก็เป็นจุดขายที่ทำให้บีคาร์เป็นที่ต้องการของตลาดมาก

 

ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจากยอดขายบีคาร์ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2552 ที่ผ่านมาจะเห็นว่ามียอดขายจะอยู่ที่ 40% และในครึ่งปีหลังสัดส่วนยอดขายจะอยู่ที่ 58% โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสุดท้ายจะเป็นช่วงที่มียอดขายสูงสุดมากกว่า 30% ด้วย

ดังนั้นหากพิจารณาจากตัวเลขยอดขายบีคาร์ในปีที่ผ่านมาที่มียอดขายประมาณ 1.2 แสนคัน และพิจารณาจากสถิติข้างต้นประกอบกับยอดขายในครึ่งปีแรกของรถยนต์กลุ่มนี้ ที่มียอดรวมที่ 85,148 คัน กับช่วงระยะเวลาที่เหลือทำให้เชื่อว่ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างมากว่ายอดขาย โดยรวมของบีคาร์น่าจะอยู่ในระดับใกล้เคียง 200,000 คัน

 

"กระแสของบีคาร์ค่อนข้างแรงมาก แต่เราก็ไม่สามารถที่จะเพิ่มกำลังผลิตได้ ทั้ง ๆ ที่อยากเพิ่ม เนื่องจากโรงงานเอเอทีนั้นตอนนี้ต้องแบ่งกำลังการผลิตไปให้กับฟอร์ด เฟียสต้า ซึ่งตามแผนที่วางไว้ต้องใช้ระยะเวลาอีกพอสมควรจึงจะผลิตได้เต็มกำลังที่ 1.2 แสนคัน หรือจะพูดตรง ๆ คือ กำลังการผลิตของเราก็ค่อนข้างเต็มที่แล้ว" นางสาวสุรีย์ทิพย์กล่าว

ในแง่ของการทำกิจกรรมส่งเสริมการตลาดของมาสด้า 2 วันนี้จะเน้นไปที่การรักษา อแวร์เนสและเน้นทำกิจกรรมเพื่อให้ลูกค้าได้มีประสบการณ์โดยตรงกับรถ มีโอกาสสัมผัสรถมากขึ้น ทั้งการลงพื้นที่เจาะกลุ่มลูกค้าอย่างนักศึกษาตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ การจัดกิจกรรมตามโชว์รูม พร้อมทั้งนำรถมาสด้า 2 รุ่นตกแต่งอุปกรณ์เสริมเข้าไปโชว์ ซึ่งล้วนแล้วแต่ได้รับการตอบรับค่อนข้างดี

เช่นเดียวกับนายประพัฒน์ เชยชม รองผู้จัดการใหญ่อาวุโสการตลาดและขาย บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวยอมรับกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ กระแสความนิยมของนิสสัน มาร์ช ถือว่าค่อนข้างดี และมียอดจองเกือบ 20,000 คัน ใกล้เคียงกับเป้าหมายการขายทั้งปี โดยปัจจุบันได้ส่งมอบรถให้กับลูกค้าไปแล้วกว่า 8,000 คัน และยังคงมียอดจองเข้ามาอย่างต่อเนื่อง และไม่เฉพาะแต่นิสสัน แต่บีคาร์ปีนี้ถือว่าโตเพิ่มขึ้นทั้งตลาด

 

ประกอบกับเมื่อช่วงต้นเดือนกรกฎาคมนิสสันส่งมาร์ชที่ผลิตจากประเทศไทย ไปขายประเทศญี่ปุ่น ผลจากการเปิดตัวจนวันนี้ปรากฏว่ามียอดจองไปแล้วกว่า 10,000 คัน ซึ่งเดิมบริษัทตั้งใจจะบริหารจัดการเรื่องกำลังการผลิต โดยอาจจะมีการนำกำลังการผลิตในส่วนของตลาดส่งออกบางส่วนมารองรับตลาดใน ประเทศ แต่จากกระแสค่อนข้างดีคงจะต้องมีการหารือและหาวิธีการเพิ่มกำลังการผลิต เพื่อให้รองรับความต้องการที่ค่อนข้างมากในปัจจุบัน

 

ในขณะที่นายอาซึชิ ฟูจิโมโตะ ประธานบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ฮอนด้าได้ปรับเป้าหมายการขายของฮอนด้า จากเดิมที่วางไว้เท่ากับปีก่อนที่ 95,000 คัน เป็น 110,000 คัน เนื่องจากบริษัทมองว่าตลาดรถยนต์โดยรวมจะเติบโตเพิ่มขึ้น อยู่ในระดับ 800,000 คัน

"รถในกลุ่มซิตี้ ซีวิคขายดี ส่วนฮอนด้า ฟรีด เราก็ขึ้นผู้นำตลาดรถเอ็มยูวี นี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่เรามั่นใจและพร้อมปรับเป้ายอดขายปีนี้ใหม่เพิ่ม เป็น 1.1 แสนคัน ส่วนรถอีโคคาร์ยังเดินไปตามแผน เปิดตัวปีี54 เชื่อตลาดตอบรับอย่างท่วมท้นแน่นอน" นายฟูจิโมโตะกล่าว

ขณะที่นายพงษ์ศักดิ์ เลิศฤดีวัฒนวงศ์ ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) กล่าวเสริมว่า ภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปีจากนี้เชื่อว่ารถยนต์ในกลุ่มซิตี้คาร์จะเป็นตัวขับเคลื่อน และทำให้สัดส่วนการจำหน่ายรถยนต์โดยรวมจะเป็น 50/50 ระหว่างรถยนต์นั่งกับรถเพื่อการพาณิชย์

นายโนบุยูกิ มูราฮาชิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยถึงยอดขายรถยนต์มิตซูบิชิในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาว่า มิตซูบิชิมียอดขายรวมอยู่ที่ 3,474 คัน เติบโตขึ้นถึง 166% ปรากฏว่าแลนเซอร์ซึ่งบริษัทกำหนดให้เป็นหัวหอกในตลาดบีคาร์ก็ทำตัวเลขได้ น่าพอใจ

นอกจากนี้ค่ายเชฟโรเลตเร็ว ๆ นี้ก็จะส่งอาวีโอ ซีเอ็นจี เข้าแข่งในตลาดให้คึกคักมากยิ่งขึ้นด้วย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มิตซูฯเล็งพัฒนา'อีโคคาร์'

 

มิตซูบิชิ เพิ่งประกาศแผนลงทุนกว่า 15,000 ล้านบาท ในโครงการโกลบอล สมอลล์ คาร์ หรือ อีโคคาร์ โดยใช้เป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกขายทั่วโลก ทิศทางของมิตซูบิชิใน การพัฒนารถยนต์รุ่นใหม่จะช่วยให้ค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่รายนี้กลับมาผงาดใน ตลาดรถยนต์ได้แค่ไหน โนบุยูกิ มูราฮาชิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้กุมบังเหียนแบรนด์มิตซูบิชิในประเทศไทยจะเป็นผู้ที่ให้คำตอบนี้ได้ดีที่ สุด

 

+++ผลการดำเนินงานครึ่งปีแรก

ยอดขายมิตซูบิชิในช่วงที่ผ่านมา กลุ่มรถเก๋งเติบโตขึ้นมากกว่า 50% ส่วนรถปิกอัพเติบโตประมาณ 47% ซึ่งการเติบโตดังกล่าวถือว่าดีมาก ทั้งๆมิตซูบิชิไม่มีรถยนต์ในกลุ่มอีโคคาร์ หรือ กลุ่มบี-เซ็กเมนต์ โดยมิตซูบิชิคาดว่าจนถึงสิ้นปีจะมีตัวเลขยอดขายประมาณ 33,000 คัน แบ่งออกเป็น รถยนต์นั่งที่มีแลนเซอร์ ซีเอ็นจี,แลนเซอร์ อี85 ,แลนเซอร์ อี-เอ็กซ์ และสเปซ แวกอน รวม 7,000 คัน ,รถปิกอัพไทรทัน 16,000 คัน และรคปิกอัพดัดแปลงปาเจโร สปอร์ต 9,000 -10,000 คัน ซึ่งถือเป็นตัวเลขสูงกว่าปีที่ผ่านมาที่มียอดขาย 16,500 คัน แบ่งออกเป็น รถยนต์นั่ง 3,800 คัน และ ปิกอัพ 7,700 คัน และรถปิกอัพดัดแปลง 5,000 คัน

 

+++ ภาพรวมครึ่งปีแรกของตลาดรวม

ด้านตลาดรถรวมตั้งแต่มกราคม- มิถุนายน พบว่าใกล้เคียง 350,000 คัน ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี คาดว่าทั้งปีน่าจะเป็นเท่าตัวหรือมีแนวโน้มสูงกว่า เพราะตลาดรถยนต์นั่งมีนิสสัน มาร์ช รวมไปถึงมาสด้า 2 และฟอร์ด เฟียสต้า ดังนั้นคาดว่าตัวเลขยอดขายจะมีกว่า 700,000 คัน ถือเป็นยอดขายที่สูงเป็นประวัติศาสตร์ของตลาดรถยนต์ไทย ปัจจัยที่มีส่วนช่วยให้ยอดขายโตมาจากอำนาจการซื้อของลูกค้าที่เพิ่มสูงขึ้น เช่นเดียวกับพืชผลทางการเกษตรที่มีราคาสูง ประกอบกับเศรษฐกิจโลกมีการฟื้นตัว ส่งผลให้การจ้างงานดีขึ้น และคาดว่า ตลาดครึ่งปีหลัง ยังคงมีความแข็งแกร่ง และไม่น่าจะมีปัจจัยลบเข้ามากระทบ เพราะเมื่อดูตลาดส่งออกจะพบว่ามีอัตราเพิ่มมากขึ้น มียอดสั่งจองล่วงหน้า จนทำให้ โรงงานมิตซูบิชิที่แหลมฉบังต้องเดินเครื่องเต็มกำลังผลิต

 

+++แผนงานด้านการตลาด

มิตซูบิชิ วางเป้าหมายไว้ว่าปีนี้จะยกระดับการขายและคุณภาพการบริการ ดังนั้นตามแผนงานจะเริ่มตั้งแต่โปรดักต์ ซึ่งยังคงใช้กลยุทธ์เดิมโดยจะซัพพลายสิ่งที่มีอยู่ให้เต็มที่ มีการทำแคมเปญให้กับรถยนต์รุ่นต่างๆออกมากระตุ้นตลาดเป็นครั้งคราว ส่วนทางด้านแผนงานในการพัฒนาเครือข่ายผู้แทนจำหน่าย ปัจจุบันมิตซูบิชิมีตัวแทนจำหน่าย 137 แห่ง คาดว่าจนถึงสิ้นปีจะมี 150 แห่ง ซึ่งหน้าที่ของตัวแทนจำหน่ายนอกจากจะขายรถใหม่แล้ว ต้องมีความพร้อมด้านการบริการหลังการขาย ,การซ่อมสี ,ซ่อมแซมตัวถัง ทั้งนี้เพื่อรองรับกับประกันที่มิตซูบิชิมอบให้กับลูกค้า

รวมไปถึงการพัฒนาให้เครือข่ายผู้แทนจำหน่ายมีแผนกรถมือสอง หรือที่รู้จักกันในนาม ไดมอนด์ ยูสด์คาร์ ที่ปัจจุบันมีอยู่เพียง 10 แห่ง ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นแผนงานที่ไม่ได้มีการเร่งรัด ถือเป็นโครงการระยะยาวที่ค่อยเป็นค่อยไป แต่สิ่งที่จะเน้นคือเรื่องการบริการหลังการขายในส่วนของซ่อมสี และตัวถัง ที่ปัจจุบันมี 40 แห่ง และจะขยายให้ครบ 50 แห่งเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าทั่วประเทศ โดยมิตซูบิชิ วางเป้าหมายไว้ว่าปีนี้จะยกระดับการขายและคุณภาพการบริการ

 

+++แผนงานสำหรับอีโคคาร์ของมิตซูบิชิ

จากนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทย ภายใต้โปรเจ็กต์อีโคคาร์ ซึ่งบริษัทมีความสนใจและได้ยื่นเรื่องไปที่บีโอไอนั้น ปัจจุบันเรามีแผนที่จะปรับเพิ่มการลงทุนจากเดิมที่บีโอไอกำหนดไว้ที่ 7,000 ล้านบาท โดยมีกำลังการผลิต 100,000 คัน บริษัทคิดว่า จะปรับเพิ่มการลงทุนในโปรเจ็กต์นี้เป็น 15,000 ล้านบาท โดยมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 200,000 คัน

ทั้งนี้ เนื่องจากเรามองว่า โลกในยุคปัจจุบันต้องการรถยนต์ที่รักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเทรนด์ของตลาดโลกก็ต้องการรถยนต์ที่สามารถประหยัดพลังงาน ไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม ฉะนั้น มิตซูบิชิจะทำการพัฒนารถขึ้นมาใหม่ และใช้ชิ้นส่วนหลักจากประเทศไทย และนำรถรุ่นนี้ออกขายในตลาดทั่วโลก รวมไปถึงตลาดในประเทศญี่ปุ่นด้วย

 

+++อีโคคาร์ของมิตซูบิชิจะเป็นอย่างไร

ขณะนี้เรากำลังมีการพัฒนา อย่างไรก็ตามโครงการอีโคคาร์ของมิตซูบิชิจะอยู่ภายใต้คอนเซ็ปต์ โกลบอล สมอลล์ คาร์ ซึ่งมิตซูบิชิคำนึงถึงการตอบสนองความต้องการของลูกค้าคนไทย โดยต้องการรถยนต์ที่อยู่ตรงกลางระหว่างอีโคคาร์ และรถบี-คาร์ ที่จะรองรับทั้งความสะดวกสบาย สามารถนั่งได้ 4 - 5 คนแบบสบายๆ และมีอัตราการประหยัดน้ำมัน

 

+++มองนโยบายพลังงานของไทยอย่างไร

เรานับถือแนวทางสนับสนุนนโยบายพลังงานของรัฐบาลชุดนี้ เพราะเรามองว่าการที่รัฐบาลยิ่งสนับสนุนเรื่องพลังงานทางเลือกมากเท่าไรก็ ยิ่งดี ถือเป็นแนวทางที่มองออกไปข้างหน้าของภาครัฐ อย่างไรก็ตามจุดอ่อนของนโยบายในการสนับสนุนพลังงานทางเลือกก็คือ ผลผลิตที่ไม่เพียงพอ ส่วนผู้ผลิตรถยนต์ก็มองว่าสถานีบริการที่จะรองรับกับรถยังไม่เพียงพอ ทำให้ค่ายรถไม่มีความมั่นใจที่จะผลิตรถยนต์ที่สามารถรองรับพลังงานทางเลือก ออกมา

ส่วนความกังวลใจด้านพลังงานทางเลือกที่มาจากพืชพลังงานจะไปแย่งพืชอาหารนั้น เรามองว่ามีการจัดสรรวัตถุดิบให้เพียงพอและไม่ได้ไปเบียดกับพืชอาหาร ประกอบกับพืชพลังงานบางชนิดมีการนำไปปลูกบนเนื้อที่ที่เสีย ถือว่าไม่ได้เบียดแย่งพื้นที่

ขณะที่ความไม่แน่นอนทางการเมืองนั้น เนื่องจากมิตซูบิชิมีการพูดคุยกับข้าราชการประจำซึ่งกำกับดูแลนโยบาย พลังงานทางเลือก ดังนั้นหากรัฐบาลมีการเปลี่ยนแปลง แต่เราคาดว่าจะไม่มีผลกระทบหรือมีการเปลี่ยนแปลงเพราะถือว่านโยบายดังกล่าว เป็นนโยบายหลักที่ต้องขับเคลื่อนต่อไป

 

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,551 25-28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

 

ข่าวเกี่ยวกับรถยนต์ทั้งหมดในรอบ 2 เดือนครับ เล่นเอาเหนื่อย ในอนาคตถ้าจะวิเคราะห์ หุ้นเกี่ยวกับรถยนต์อีก ก็มาอ่านตรงนี้ได้ใหม่ครับ อนาคตคงลงแค่ข่าวที่ใหม่กว่านี้

ถูกแก้ไข โดย TOUNE

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ความเห็นส่วนตัว

ผมเคยถามน้าชาย ที่ทำธุรกิจขายอะไหล่รถยนต์เกี่ยวกับ STANLY เมื่อปีที่แล้ว เค้าบอกว่าสินค้าของ STANLY มีราคาสูงกว่าสินค้าหลอดไฟในตลาดโดยทั่วไปประมาณ 50% แต่ก็มีอายุใช้งานมากกว่าเป็นเท่าตัว ซึ่งผมว่ามันก็ขึ้นอยู่กับลูกค้านะละว่าชอบแบบคุณภาพ หรือแค่พอใช้ได้ แต่เลือกแบบคุณภาพดี ผมคิดว่า STANLY แทบจะไร้คู่แข่งในตลาดบน

 

ที่กล่าวมานั้นคือร้านอะไหล่ แต่ถ้าพูดถึงโรงงานประกอบรถยนต์ที่ต้องควบคุมคุณภาพจะซื้อหลอดไฟติดรถของตัวเอง ผมเชื่อว่ายังไงคงต้องเลือกของดีไว้ก่อนไม่งั้นเสียชื่อตายใช้ไปไม่เท่าไรหลอดขาดขายหน้าตาย STANLY เป็นตัวเลือกที่โดดเด่นสุดครับ ผมว่านั้นละคือจุดเด่นของหุ้นตัวนี้ ใครๆก็ต้องใช้ของเค้า ส่วนแบ่งตลาดกินขาด (ถ้ากิมเอ็งไม่มั่วนะครับ)

ผมว่าแค่เหตุผล ส่วนแบ่งการตลาดที่กิมเอ็งว่า 80-90% ผมคงไม่ต้องพูดถึงเรื่องอื่นอีกแล้วแค่นี้ก็พอแล้วสำหรับเหตุผลที่จะเลือกหุ้นตัวนี้ ไม่ต้องพูดถึงธุรกิจยานยนต์ที่กำลัง boom สุดๆ

ยอดจำหน่ายรถยนต์ภายในประเทศ

ขายในประเทศ

ม.ค. 49,560

ก.พ. 54,100

มี.ค. 63,000

เม.ย. 57,128

พ.ค. 62,205

มิ.ย. 70,557

ถ้าอ่านข่าวที่ลงให้ จะเห็นว่า hot จริงๆธุรกิจนี้

 

ข้อเสียของหุ้นตัวนี้คงมีอย่างเดียวที่เห็นชัดละครับ มันแพงอะ ยังไงก็ดี การซื้อหุ้นคือการซื้ออนาคต ถ้าโตไปแบบนี้ไปอีกหลายๆ Q ข้างหน้าผมว่า ราคานี้ก็ ok นะ

ความเห็นส่วนตัว

โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณ Toune รบกวนดู AH กับ TPP น่าลงทุนมั้ย :rolleyes: :blink:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณ Toune รบกวนดู AH กับ TPP น่าลงทุนมั้ย :rolleyes: :blink:

TPP ไม่คุ้นเลยครับ AH ถือดูงบก็ได้น่าลุ้นอยู่้ หุ้นอยู่ในกลุ่มรถยนต์ แต่เห็นมีคนพูดว่าผู้บริหารไม่ค่อย.... เลยไม่เอาดีกว่า

 

เสริมข่าว

เพลิงผลาญ บ.ผลิตอะไหล่รถยนต์ ในนิคมอุตฯบางพลี เสียหายกว่า 10 ล้านบาท

ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- จันทร์ที่ 19 กรกฎาคม 2553 08:21:17 น.

เกิดเหตุเพลิงไหม้ บมจ.อาปิโก้พลาสติก ซึ่งเป็นบริษัทผลิตอะไหล่รถยนต์ ในนิคมอุตสาหกรรมบางพลี จ.สมุทรปราการ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง จึงควบคุมเพลิงไว้ได้ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ ตรวจสอบไม่พบผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต มูลค่าเสียหายประมาณ 10 ล้านบาท เบื้องต้น สันนิษฐานว่า อาจเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร

ถูกแก้ไข โดย TOUNE

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

7

ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ประจำวันที่ 2 สิงหาคม 2553

ปิดตลาดที่ระดับ 863.18 จุด บวก 7.35 จุด (+0.86%)

 

บรรยากาศการลงทุนตลาดหุ้นไทยวันนี้ (2 ส.ค.) ดัชนีปรับตัวในแดนบวกตามตลาดต่างประเทศ ระหว่างชั่วโมงการซื้อขายดัชนีต่ำสุดที่ 860.47 จุด และปรับตัวสูงสุดที่ 864.59 จุด โดยมีแรงซื้อหุ้นในกลุ่มสื่อสาร แบงก์ และพลังงานหนุน ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 863.18 จุด บวก 7.35 จุด หรือ 0.86%

 

หลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับแรกประกอบด้วย TRUE ปิดที่ 4.56 บาท บวก 0.16 บาท TMB อยู่ที่ 2.04 บาท บวก 0.08 บาท SCB อยู่ที่ 90.00 บาท บวก 1.00 บาท DTAC อยู่ที่ 47.50 บาท บวก 0.25 บาท และ TRUBB อยู่ที่ 9.20 บาท บวก 0.90 บาท

 

ดัชนี SET 100 ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,290.96 จุด บวก 10.93 จุด (+0.85%)

ดัชนี SET 50 ปิดวันนี้ที่ระดับ 588.86 จุด บวก 5.03 จุด (+0.86%)

ดัชนี MAI ปิดวันนี้ที่ระดับ 242.52 จุด ลบ 1.19 จุด (-0.49%)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

!53 !53 !53 ขอหัวเราะรับ TVO หน่อยวันนี้ ถือยาวๆ รอรับเงินปันผล !gd

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

!53 !53 !53 ขอหัวเราะรับ TVO หน่อยวันนี้ ถือยาวๆ รอรับเงินปันผล !gd

 

พี่ Nice รวยแล้ว !gd !01

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...