TOUNE
Patriarch-
Content Count
606 -
Joined
-
Last visited
Community Reputation
169 bestAbout TOUNE
-
Rank
ขาใหญ่
Profile Information
-
เพศ
ชาย
-
ที่อยู่
กรุงเทพมหานคร
-
หุ้นกู้แปลงสภาพ ( Convertible Debenture ) มีลักษณะคล้ายคลึงกับหุ้นกู้ แตกต่างกันตรงที่หุ้นกู้แปลงสภาพมีสิทธิที่จะแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญในช่วง เวลา อัตรา และราคาที่กำหนดในหนังสือชี้ชวน ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจดี หุ้นประเภทนี้ได้รับความนิยมมาก เพราะผู้ซื้อคาดหวังผลตอบแทนที่จะได้รับจากราคาหุ้นสามัญเมื่อแปลงสภาพแล้ว ซึ่งจะทำกำไรได้มากกว่าผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยของหุ้นกู้ธรรมดา ---------------------------------------------------------------------------------- ข่าวจาก TTA การออกหลักทรัพย์แปลงสภาพ เรื่อง : ออกหลักทรัพย์แปลงสภาพให้บุคคลเฉพาะเจาะจง วันที่คณะกรรมการมีมติ : 14 ธ.ค. 2553 ประเภทหลักทรัพย์ที่จัดสรร : หุ้นกู้แปลงสภาพ จัดสรรให้กับ : บุคคลเฉพาะเจาะจง จำนวนหุ้นที่รองรับ (หุ้น) : 185,000,000 ลักษณะของหุ้นกู้แปลงสภาพ อายุหุ้นกู้(ปี) : 5.00 -------------------------------------------------------------------------------------- ตรงที่เน้นตัวเข้มไว้จะเห็นว่าไม่เกี่ยวกะเรา เค้าต้องการขาย คนวงในเท่านั้น (PP) การเพิ่มทุนไม่เป็นผลดีต่อผู้ถือหุ้นเดิม กำไรต่อหุ้นจะลดลง (กำไร เท่าเดิม ตัวหาร คือ จำนวณหุ้นเพิ่มขึ้น กำไรต่อหุ้นลด )
-
จีนเพิ่มมาตราการกันสำรอง ธนาคารอีกแล้ว RRR = 19.5% เป็นการพยายามลด supply ของปริมาณเงินในตลาดไม่ให้มีมากจนเกินไป เพื่อควบคุมภาวะเงืนเฟ้อ วิกฤตเศรษฐกิจในรอบถัดไป มีโอกาสมากที่จะมาจากจีน เพราะจีนปัจจุบันเป็นเบอร์ 2 ขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของโลก ถ้าพังจะกระทบทั่วโลกอย่างแน่นอน จีนพยายามควบคุมปัจจัยทางเศรษฐกิจในประเทศให้สมดุล โดยเฉพาะเงินเฟ้อ แต่ไม่รู้ว่าจะทำได้ดีแค่ไหน หรือว่าถวงเวลาไว้ได้นานแค่ไหน ซึ่งเป็นปัจจัยที่เราต้องจับตาอย่างจีนอย่างใกล้ชิดที่สุด ส่วนตัวเชื่อว่า จีนจะยังคงควบคุม(ถ่วงเวลา)ได้อีกหลายปี
-
รายละเอียด SNC ที่ผมเคยเขียนถึงครับคุณ Mim25 ยังยืนยันคำเดิมว่า SNC เป็นหุ้นที่ดีที่สุดของผม ในปีนี้ ผู้บริหารคาดหวังจะเติบโตอีก 30% ของยอดขาย (กำไรคงโตได้มากกว่า) ลองไปคิดดูนะครับ ว่าราคาเท่าไรควรรับ ถ้าหุ้นเติบโตได้ขนาดนี้ ราคาที่เราพอใจซื้อควรเป็นเท่าไร?
-
30 บาท/หุ้น เป็นแค่ข่าวลือนะครับ ในข่าวที่ลงไว้ก่อนหน้าทาง STA ออกมาปฏิเสธแล้ว อาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้ แต่ก็มีโอกาสเป็นไปได้อยู่ ลักษณะธุรกิจแบบที่ STA ทำ ถ้าต้องการเติบโตมากๆ จะต้องใช้เงินลงทุนมากๆด้วยและจะขาดสภาพคล่องมาก ทำให้มีความต้องการเงินสดมากอยู่ตลอดเวลา การกู้หรือเพิ่มทุนเป็นสิี่งจำเป็นของ STA ที่พอคาดเดาได้ว่า จะต้องมีให้เห็นเรื่อยๆ นับจากนี้ โดยเฉพาะยิ่งราคายางแพงขึ้น+ความต้องการใช้ยางเพิ่มขึ้น ถ้าคิดถือหุ้นตัวนี้ ระวังในจุดนี้ด้วยนะครับ อย่ามองแต่ว่า หุ้นทำกำไรดีขึ้นอย่างเดียว การทำ abitrage จะต้องเปิด port ที่สิงคโปร์ด้วย ถูกครับ แต่นักลงทุนรายย่อยอย่างเราคงเสียเปรียบกองทุนระหว่างชาติ ซักหน่อย ซึ่งเค้าสามารถย้ายเงินลงทุนเค้าไปที่ไหนก็ได้ง่ายกว่าเรา
-
ปัจจัยของ STA ตอนนี้น่าจะเป็นการกังวลเพิ่มทุน ที่ตลาดสิงคโปร์นะครับ มีข่าวว่า STA จะขาย ipo ราคา= 30 บาท ถ้าทำได้ น่าทำ abitrage ขายหุ้น ตลาดไทย 40 บาท/หุ้น ไปซื้อตลาด สิงคโปร์ 30 บาท/หุ้น กำไร 25% เห็นๆ ข่าว STA ชี้แจงตลาดหลักทรัพย์ --------------------------------------------------------------------- ชี้แจงข่าวหรือข้อมูล ตามที่ปรากฏในสื่อของสำนักข่าวบางฉบับที่เปิดเผยเกี่ยวกับจำนวนเงินที่บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ("บริษัทฯ") ต้องการจะระดมทุนและช่วงราคาเสนอขายหุ้นของบริษัทฯ ในการนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์นั้น บริษัทฯ ขอเรียนว่าบริษัทฯ อยู่ระหว่างการพบปะนักลงทุน (Roadshow) และยังไม่ได้กำหนดราคาเสนอขายและจำนวนเงินที่ได้รับจากการระดมทุนแต่อย่างใด ราคาเสนอขายดังกล่าวจะดำเนินการโดยการสำรวจความต้องการซื้อหลักทรัพย์ (Book-building) โดยการตกลงระหว่างบริษัทและผู้ร่วมจัดการการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ หากมีการกำหนดราคาเสนอขายแล้ว บริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบต่อไป นอกจากนี้ บริษัทฯ ขอแจ้งความคืบหน้าให้ท่านทราบว่า บริษัทฯ ได้รับจดหมายแจ้งคุณสมบัติการเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในประเทศสิงคโปร์ (Eligibility-to-List Letter) จากตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2553 โดยภายใต้จดหมายดังกล่าว บริษัทฯ มีคุณสมบัติในการเข้าจดทะเบียนในกระดานหลักของตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ได้ภายใต้เงื่อนไขบางประการ ซึ่งการมีคุณสมบัติดังกล่าวนั้น มิได้เป็นการประกันการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ สถานะของบริษัทฯ บริษัทย่อย และหุ้นของบริษัทฯ แต่อย่างใด หากมีความคืบหน้าประการใด บริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบต่อไป
-
ราคายางแพง ชาวสวนยางรวย STA ไม่มีสวนยางที่ผลิตยางได้เอง ยางแพง STA อาจไม่รวยก็ได้ ตรงนี้มันขึ้นอยู่กับความต้องการในการบริโภคยางของโลก ยางแพง แต่ยังขายออกได้แพงกว่า ก็รวย ยางแพง ขายไม่ออก ต้นทุนแพง อันนี้ก็วิบัติ ดูจุดนี้ด้วยนะครับ หุ้น commo เป็นหุ้นเล่น เก็งผลประกอบการยากนะครับ เก็งกำไร? ขึ้นอยู่กับว่าตลาดจะเอาปัจจัยไหนมาเล่นและ ต้องการเล่นให้มันเป็นบวกหรือลบ
-
ไทย ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องแก้ไข เลิกนโยบายประชานิยม ปัจจัยนำที่ควรจับตาที่จะก่อให้เกิดการหดตัวทางเศรษฐกิจ หนี้สารธณะเพิ่มมาก ราคาน้ำมันเพิ่มเร็ว&แรง เงินเฟ้อเร็ว&แรง ค่าเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย อยู่ในช่วงที่ยังเติบโตต่อเนื่องแบบควบคุมได้ง่ายกว่า (ถ้าเทียบกับจีนหรือ เวียดนาม) อัตราการว่างงานอยู่ที่ระดับ 1.5-2% มาหลายปีแล้ว ซึ่งถือว่าน้อยถ้าเทียบกับอเมริกา (ที่มาสำนักสถิติแห่งชาติ) ในบางพื้นที่มีปัญหาการจ้างงานตึงตัว เช่นในเขตนิคมอุตสาหกรรม ที่ระยอง ชลบุรี มีการขาดแคลนแรงงานอยู่ในระดับนึง GDP ของไทย (GDP การใช้จ่ายมวลรวม) เน้นหนักไปที่ การส่งออก มากที่สุด รองลงมาเป็น การจับจ่ายภาคเอกชน และ การใช้จ่ายภาครัฐ มีบทบาทมากขึ้นในช่วงปี 2ปีที่ผ่านมา ตรงนี้จะเห็นว่า ค่าเงินบาทแข็งและแรงงานเริ่มเป็นปัญหาของธุรกิจภาคเอกชน ราคาน้ำมันเป็นอีกตัวที่ผมรู้สึกค่อนข้างกังวลกว่า ราคาน้ำมัน (ดู cost push inflation) น้ำมันเป็นสินค้าทุนที่ใช้ในการผลิตในแทบทุกธุรกิจ และเราอยู่ในสถานะที่จนใจต้องใช้ ไม่ว่าจะถูกหรือแพง ราคาน้ำมันถ้าเพิ่มขึ้นเร็ว&แรงเกินไป จะทำให้ต้นทุนการผลิตของธุรกิจสูงขึ้น สินค้าและบริการจะแพงขึ้น เกิดเงินเฟ้อแบบ cost push การขึ้นเงินเดือนของภาครัฐ ค่าแรงขั้นต่ำ (เงินเดือน สส ด้วยมั้ง)อีกตัวจะเป็นตัวหลักให้เกิดเงินเฟ้อมากขึ้น ในปี 54 กล่าวคือ เมื่อประชาชนมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น กำลังจับจ่ายใช้สอยก็จะสูงขึ้น demand ความต้องการใช้จ่ายในสินค้าและบริการจะสูงขึ้น ในขณะที่กำลังผลิต เพิ่มได้ไม่เร็วนัก จากปัญหาขาดแคลนแรงงาน จากเหตุผลที่กล่าวมา เงินเฟ้อ จะเป็นปัญหาหลักอย่างนึง ที่เราจะเจอแน่ๆในปี 54 ซึ่งหน้าที่แก้ปัญหาอันนี้ จะไปตกกะ แบงค์ชาติ และ กระทรวงพานิชย์ ซึ่งปีนี้คงได้เห็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกหลายครั้ง นโยบายภาครัฐ เป็นอีกเรื่องที่ควรกังวล ในภาวะที่เศรษฐกิจเติบโตได้ด้วยตัวของมันเอง รัฐบาลควรหยุดการเพิ่มการจับจ่ายโดยเฉพาะการใช้จ่ายแบบเลว ลดการใช้จ่าย แบบกลาง และใช้จ่ายแบบดี แบบระมัดระวัง ตรงนี้ขอขยายความนิดนึง ปรกติการใช้จ่ายของรัฐบาลจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ 1 แบบดี เอาเงินไปลงทุนในสิ่งที่จะให้สร้างรายได้กับภาครัฐในอนาคต เช่น สร้างถนน โรงไฟฟ้า รถไฟฟ้า ระบบสารธณูปโภค ต่างๆ 2 แบบกลางๆ เอาเงินไปแลกซื้อสินค้าและบริการ เช่น เงินเดือน ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ที่ได้ผลตอบแทนเป็น service ของงานรัฐ ป้องกันประเทศ และ ดูแลความปลอดภัยของคนในประเทศ 3 แบบเลว ไม่ได้อะไรกลับคืนมาเลย เช่น แจกเงินให้เปล่า เช่นจ่ายเช็คให้เปล่า ตรงนี้ควรให้ก็ต่อเมื่อคนที่ได้รับเดือดร้อนจริงๆ เช่นเกิดภัยพิบัติ เป็นต้น ถ้าให้พรำเพื่อ คนในประเทศจะเคยตัว และงอมืองอเท้า รอรับของแจกอย่างเดียว ซึ่งถ้าหากเงินที่เอามาแจก แบบให้เปล่า ถ้าเงินเป็นเงินของรัฐบาลเอง ผมก็ไม่ได้ขัดข้องอะไร แต่รัฐบาล เอาเงินภาษีประชาชนมาแจก หรือ กู้มาแจก การกู้เงินของรัฐบาล ก่อให้เกิด สิ่งที่เรียกว่า "หนี้สารธณะ" หนี้สารธณะ คือสิ่งที่รัฐบาลกู้แต่พวกเราทุกๆคนชดใช้ กล่าวคือ ถ้ารัฐบาลชุดที่กู้นี้ไม่ได้เป็นรัฐบาลในสมัยหน้า เจ้าหนี้ของรัฐบาล จะไม่ไปตามเก็บหนี้กับอดีตรัฐบาลที่กู้ แต่จะไปเก็บหนี้กับรัฐบาลชุดใหม่ รัฐบาลใหม่ถ้าไม่มีเงินจ่าย ก็จำเป็นต้องเก็บภาษีเพิ่มจากเราๆท่านๆ หรือ กู้เพิ่ม กู้เพิ่มมาจ่ายหนี้เรื่อยๆ จนหนี้พอกพูนไปเรื่อยๆ เราก็จะประสบปัญหาแบบ ที่ประเทศกรีก เป็นอยู่ ซึ่งเป็นตัวอย่างของประเทศที่มีระบบการคลังที่ไม่ดี ปล ส่วนเรื่องการขึ้นเงินเดือนราชการ ไม่ใช่ผมจะไม่เห็นด้วยให้ขึ้น แต่ควรจะ มีการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วย โดยให้เงินเดือนเพิ่มแก่ข้าราชการที่ทำงานได้ดีและมาก ลดการจ้างงาน คนที่ทำงานไม่มีประสิทธิภาพออกไป เพื่อคืนแรงงานสู่ภาคการผลิตด้วย ถ้าทำได้แบบนี้ คงไม่มีใครขัดข้อง เขียนไปเขียนมา กล่าวเป็นเขียนโจมตีรัฐไปได้ แต่ที่จริง มีบางโครงการของภาครัฐที่ผมเห็นด้วยและสนับสนุนให้ทำ เช่น โครงการ broadband แห่งชาติ ถ้ามีนักวิชาการที่รู้ทิศทางราคาสินค้าเกษตร คอยแนะนำเกษตรว่าปีนี้ควรปลูกอะไร ไม่ควรปลูกอะไร ก็น่าจะช่วยเกษตรลดปัญหาราคาผลผลิตการเกษตรตกต่ำลงได้ อีกอย่างก็ช่วยเรื่องการศึกษาแก่เด็กด้อยโอกาสในชนบทด้วย แนวทางการแก้ไข เอกชนควรแก้ปัญหาแรงงานตึงตัว โดยการนำเข้าเครื่องจักรการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต/แรงงาน ให้สูงขึ้น อีกทั้งได้ประโยชน์จากค่าเงินที่ต่ำทำให้ได้ เครื่องจักรที่ถูกลงด้วย ภาครัฐ ความเลิกนโยบาย ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ เช่น นโยบายประชาภิวัตน์อะไรนั้น ผมว่ามันก็คือ ประชานิยมย้อมแมว นั้นเอง
-
จีน ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องแก้ไข อัตราการจ้างงานเต็ม ค่าแรงสูงขึ้นเร็วเกินไปหน่วยธุรกิจจะเสี่ยงในเรื่องของการควบคุมต้นทุนให้ไม่ผันผวน ความต้องการบริโภคเติบโตเร็วเกินกว่าภาคผลิตจะผลิตได้ทัน ปัจจัยนำที่ควรจับตาที่จะก่อให้เกิดการหดตัวทางเศรษฐกิจ ฟองสบู่ เงินเฟ้อรุนแรง!! ก่อนหน้านี้ซัก 2-3 ปี จีนเป็นสวรรค์ของนักลงทุนต่างชาติ รัฐบาลจีนส่งเสริมให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนให้การช่วยเหลือ อำนวนความสะดวก ที่มากกว่าหลายประเทศในระแวกเดียวกัน รัฐสามารถเวนคืนที่ดินต้องการตรงไหนก็ได้ ค่าแรงถูกมาก ปัจจุบันการส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาลจีนเปลื่ยนไป ไปลงทุนในจีนยากขึ้น จีนมีเงินทุนต่างชาติมาก มากจนล้น ไม่ต้องการเงินทุนจากต่างชาติอีกต่อไป ค่าจ้างในจีนได้ยินว่า เพิ่มขึ้นแบบรวดเร็ว เป็น 100% ภาคในปีเดียว มีการแย่งแรงงานในการผลิตจนต้องปรับค่าจ้างเพื่อดึงดูดแรงงานให้ผลิตได้ทันตามกำหนด ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาคนจีนมีรายได้เพิ่มสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด ทำให้คนจีนมีกำลังจับจ่ายสูงขึ้นอย่างมาก เห็นได้ชัด เพื่อนๆลองย้อนกลับไปดู ปังกิ่งเมื่อ 10 ปีก่อนกับตอนนี้ เมื่อก่อนหายากมากที่จะเห็นรถยนต์ขับผ่านมาซักคันเห็นแต่รถจักรยาน เดียวรถยนต์เต็มถนนแถมติดซะด้วยซ้ำไป การเติบโตทีี่รวดเร็วเกินไป เกินกำลังผลิต ก่อให้เกิดการแย่งกันกินแย่งกันบริโภค สินค้าบางอย่างที่ขาดแคลนราคาถีบตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ถ้ารัฐบาลจัดการแก้ปัญหาไม่ดีจะเกิดปัญหาในแบบตรงข้ามกับอเมริกา ประเทศที่ขึ้นชื่อว่าประชาชนเคยประหยัดสุดๆ เป็นประเทศที่อู้ฟู่ขึ้นในอัตราเร่งที่เร็ว แนวทางการแก้ไข ขึ้นอัตราดอกเบี้ย ในขั้นต้น ควบคุม ภาวะฟองสบู่ โดยเฉพาะภาคอสังหา แลกเงินทุนออกไปเป็นสินค้าที่ไม่เน่าเสีย ตุนเหล็กถ่านหิน แร่ธาตุ โลหะมีค่า หากยังแก้เงินเฟ้อไม่ได้ ต้องขึ้นภาษี และยังคงต้องผูกติดค่าเงินกับดอลล่าร์ (ตรงนี้จะอธิบายเวียดนาม) เวียดนาม ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องแก้ไข ความเชื่อมั่นในระบบเงิน ด่อง ของตัวเองที่เสียไปแล้ว ปัจจัยนำที่ควรจับตาที่จะก่อให้เกิดการหดตัวทางเศรษฐกิจ น่าจะเข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว ถ้าภาครัฐยังคงไม่เปลื่ยนนโยบายทางเศรษฐกิจ เวียดนามในช่วง หลายปีที่ผ่านมามีลักษณะคล้ายจีนมาก ในเรื่องของการเติบโตในอัตราเร่งที่เร็วมาก ณ วันนี้เกิดปัญหาแล้วก็เลยพูดได้ว่า เร็วจนเกินไป (อย่างที่ผมบอกเร็วไปใช่ว่าจะดี) เวียดนามได้รับเงินลงทุนจากต่างชาติเข้ามามาก รายได้เฉลี่ยประชาชาติต่อหัวของเวียดนามถีบตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่มีความเหลื่อมล้ำทางสังคม คนรวยๆขึ้นแบบก้าวกระโดด คนจนมีเงินเพิ่มขึ้นบ้างเล็กน้อย รัฐบาลพยายามหาทางแก้ปัญหาด้วยการ คุมราคาสินค้าให้ไม่แพงเร็วเกินไป เพื่อช่วยเหลือคนจน ปัญหาอยู่ที่ว่า กำลังซื้อที่สูงขึ้น ราคาสินค้าไม่เพิ่มเพิ่มไม่ได้ เกิดการไม่สมดุล (อ่านเรื่องจุดดุลภาพ ที่ผมเขียนเมื่อบทความที่แล้ว) ความต้องการซื้อของเพิ่มขึ้น คนซื้อของเก็บเป็นจำนวนมาก ของขาดตลาด ในเมื่อราคาของเพิ่มไม่ได้ ระบบเงินก็ปรับสมดุลในวิธีของมันเอง ปรกติเงินเฟ้อเกิดจาก ราคาสินค้าเพื่มสูงขึ้น เรามีเงินเท่าเดิม เราก็เลยรู้สึกว่าค่าเงินเราน้อยลง ในเวียดนาม ของราคาไม่เพิ่ม แต่ ค่าลงด่องลดลง (เป็นประเทศเดียวในเอเชียเลยมั้ง ค่าเงินอ่อนค่าเทียบกับดอลลาร์)ประชาชนเห็นค่าเงินลดลง ก็ยิ่งตุนสินค้ายิ่งทิ้งด่องซื้อดอล ยิ่งทำให้สินค้าขาดค่าเงินก็ยิ่งลดลงอย่างรุนแรง ในเวียดนาม เมื่อคนได้เงินจะไม่ใครเก็บเงินเวียดนามไว้ จะนำไปแลกเป็นทองหรือ ดอลลาร์จนหมด นี่ละครับ เป็นเหตุที่จีนใช้ระบบผูกเงิน ไม่ว่าจะเฟ้อยังไงประชาชนก็แลกดอลได้เท่าเดิมก็ไม่มีใครอยากไปแลกดอลล่าร์ยังไงละครับ อีกอย่างที่เป็นปัญหา รัฐบาลดำเนินนโยบายผิดพลาด ในภาวะที่ควรลดการกระตุ้นเศรษฐกิจ กลับเพิมการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการ เพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ (ดูตรง GDP การใช้จ่ายมวลรวม ตัวที่ 3)เช่นการลงทุนรถไฟหัวกระสุน ที่ต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมากต้องใช้ทรัพยากรมาก เป็นการเร่งใหปัจจัยผลิตขาดตลาดเร็วและแรงขึ้น แนวทางการแก้ไข ดำเนินนโยบายเกินดุล เก็บภาษีมากขึ้นกับคนที่มีรายได้สูงมาแก้ปัญหา เลิกกระตุ้นเศรษฐกิจ ดึงความเชื่อมั่นในระบบการเงินของตัวเอง(ทำไง ไม่รู้เหมือนกัน) แนะนำ น่าไปเที่ยวเวียดนาม ก่อนไปแลกเงินดอล ไปนะครับ ซื้อสินค้าที่มีราคาถูกกว่าปรกติ กลับมาใช้บ้านเรา อิอิ ไทยติดไว้ก่อนครับ เลยเวลามามากแล้ววันนี้
-
เศรษฐกิจฝั่งถดถอย อเมริกา ญี่ปุ่น เศรษฐกิจผี่งเติบโตรุนแรง จีน เวียดนาม ไทย(กะเค้าด้วยมั้ง) อเมริกา ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องแก้ไข อัตราการว่างงานสูง ว่างงานประมาณ 10กว่า% ของคนที่อยู่ในวัยทำงาน ปัจจัยนำที่ควรจับตาที่จะก่อให้เกิดการพื้นตัวทางเศรษฐกิจ ส่งออกเพิ่ม อัตราว่างงานลดลง อัตราการผลิตสินค้าสูงขึ้น จากที่ทราบกัน วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ เกิดขึ้นจากประเทศอเมริกา คนของเค้ามีการบริโภคที่ไม่สมดุลกับรายได้ ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย มีปัญหาเรื่องหนี้สิน เช่นหนี้บัตรเครดิต แบงค์ต่างๆสนใจแต่รายได้ปล่อยกู้มากไปจนลืมดูในเรื่องของความเสี่ยง จนเกิดปัญหาหนี้พอกพูนมากเข้าๆจนไม่อาจชำระได้ เกิดภาวะหนี้เสียเป็นจำนวณมาก แบงค์สุดท้ายประสบภาวะขาดทุนจนต้องปิดกิจการไปหลายแห่ง คนถูกให้ออกจากงานเป็นจำนวนมาก สินค้าและบริการขายไม่ออกเพราะคนขาดรายได้ ส่งผลกระทบต่อเนื่องไปสู่ภาคการผลิตอื่น เช่น รถยนต์ ซึ่งเป็นสินค้าราคาแพง นี้คือจุดเริ่มต้นของวิกฤต ในปัจจุบัน อเมริกา มีการพื้นตัวดีขึ้น ธุรกิจห้างร้านกลับมาค้าขายแบบมีกำไรมากขึ้น แต่อยู่ในภาวะใหม่ที่เรียกกันว่า "NEW NORMAL" แปลเป็นไทย น่าจะใกล้ๆกับคำว่า "ความเคยชินใหม่" คืออะไร? คือ ธุรกิจและห้างร้าน แต่เดิมใช้ปัจจัยการผลิตฟุ่มเฟือย (แรงงานถือเป็น 1 ใน 4 ปัจจัยการผลิตตามทฤษฎีของ Ricado) เปลื่ยนเป็นใช้ปัจจัยการผลิตอย่างคุ้มค่ามากขึ้น ธุรกิจและห้างร้าน เรียนรู้ที่จะผลิตสินค้าให้ได้มากขึ้น โดยไม่จ้า่งคนเพิ่มขึ้น ใช้คนที่มีอยู่เดิม ปรับปรุงประสิทธิภาพ ให้โอที จ่ายเงินเดือนแพงขึ้น แต่ไม่จ้างงานเพิ่ม หลังจากวิกฤต คนที่มีรายได้เรื่ยนรู้ที่จะใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง คนที่ตกงานก็ยังคงไม่มีเงินจับจ่ายใช่สอย จากที่ผมอธิบายเรื่อง GDP ในบทความที่แล้ว จะเห็นว่า การที่ประชาชนไม่จับจ่าย จะทำให้เศรษฐกิจ ไม่พื้นตัว (ดูตรง GDP การใช้จ่ายมวลรวม) การไม่จับจ่าย ส่งผลต่อเนื่องไปยัง การผลิต ก็จะไม่เพิ่มขึ้นตาม การผลิตไม่เพิ่มการจ้างงานก็ไม่เพิ่ม จ้างงานไม่เพิ่ม คนก็ไม่มีเงินก็ไม่จับจ่าย วนลูปไปในทางแย่ลงแบบนี้ไปไม่รู้จบ แนวทางการแก้ไข อเมริกา ต้องเพิ่มการผลิตเพื่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น เมื่อมีการจ้างงานประชาชนจะมีเงินจับจ่ายใช้สอยเศรษฐกิจ ก็จะวนลูปไปในทางดีขึ้นเรื่อยๆ แต่จะทำอย่างไร จะให้การผลิตเพิ่มขึ้นโดยคนในประเทศไม่ซื้อแล้วจะขายใคร คำตอบอยู่ตรง (ดูตรง GDP การใช้จ่ายมวลรวม) ลงออก นี่คือเหตุผลที่ว่า ทำไมอเมริกาต้องดำเนินนโยบายเงินดอล อ่อน เพิ่มให้ตนขายสินค้าของตัวเองให้มากขึ้นนั้นเอง ปัจจัยเสริม นโยบายการคลัง ดำเนินนโยบายขาดดุล คงภาษีในอัตราต่ำ เพื่อเพิ่มรายได้ประชาชนให้มากขึ้น นโยบายทางการเงิน คงอัตราดอกเบี้ยให้อัตราตำ่่ เพื่อ เพิ่มเม็ดเงินในตลาดให้มากขึ้น เพื่อเพื่มการจับจ่ายภาคเอกชน นำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยให้น้อยลง ผลิตสินค้าฟุ่มเฟือยเองเพื่อไม่ให้ขาดตลาด ญี่ปุ่น ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องแก้ไข เงินฝืด ปัจจัยนำที่ควรจับตาที่จะก่อให้เกิดการพื้นตัวทางเศรษฐกิจ การบริโภคภาคเอกชนที่สูงขึ้น ญี่ปุ่นเป็นอะไรที่แก้ยากนะผมว่า ญี่ปุ่นมีปัญหาเรื่องเงินฝืด มาเป็น 10 ปีแล้ว ประชาชนเค้าไม่ค่อยยอมจับจ่าย เหตุผลเนื่องจากลักษณะนิสัยของคนของเค้า เป็นคนประหยัด มักจะเก็บออมไม่ยอมจับจ่าย เมื่อประชาชนไม่ยอมจับจ่าย การผลิตก็ลดลง การผลิตลดลง การจ้างงานก็ลงลด รายได้ประชาชนก็ลดลง การบริโภคก็ลดลง วนลูปไปเรื่อยๆ แนวทางการแก้ไข ญี่ปุ่นพยายามแก้ปัญหาโดยการคงอัตราดอกเบี้ยในระดับตำ่ แต่ก็ดูเหมือนจะแก้ปัญหานี้ไม่ได้ ส่งออกเพิ่มขึ้น ก็ไม่น่าจะได้ เพราะต้นทุนในการผลิตในประเทศเค้าแพง คงต้องรอดูกันต่อไปว่าเค้าจะแก้ยังไง
-
พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์แบบง่ายๆ ที่ควรรู้ ก่อนจะพูดเรื่องเศรษฐกิจ เพื่อนควรเข้าใจสิ่งพื้นฐานเหล่านี้ก่อน ไม่งั้นคงคุยกันไม่รู้เรื่องเหมือนคุยกันคนละภาษา จะพยายามเขียนแบบสั้นๆ และเข้าใจง่าย 1 Demand & Supply และจุดดุลภาพ Demand หรือ อุปสงค์ คือความต้องการในการบริโภคสินค้าชนิดใดชนิดนึงของผู้บริโภค ความต้องการบริโภคของผู้บริโภคจะแปรผันตรงข้ามกับราคา เช่น ถ้าสินค้ามีราคาสูงขึ้น ผู้บริโภคจะอยากซื้อน้อยลง Supply หรือ อุปทาน คือความต้องการในการผลิตสินค้าชนิดใดชนิดนึงของผู้ผลิต ความต้องการผลิตของผู้ผลิตแปรผันตรงกับราคา เช่น ถ้าสินค้ามีาราคาสูงขึ้น จะจูงใจให้ผู้ผลิตผลิตสินค้าออกมาขายมากขึ้น ยกตัวอย่าง เวลาสินค้าชนิดใดชนิดหนึงราคาถูกลงมากๆ จนเรารู้สึกว่ามันโครตถูก เราก็อยากจะซื้อมันไว้มากๆ ในขณะเดียวกัน ถ้าเราเป็นผู้ผลิต เมื่อราคาสินค้าถูกลงมาก เราก็ไม่อยากผลิตออกมาขาย เกิด demand เกิน คือความต้องการบริโภคสินค้าสูงกว่าความต้องการผลิต ทำให้สินค้าขาดตลาด เมื่อมีการแย่งกันซื้อมากขึ้น ผู้บริโภคต้องยอมซื้อสินค้าในราคาแพงขึ้นอีกหน่อย เพื่อให้ได้ของ ราคาสินค้าก็จะขยับตัวสูงขึ้น เรื่อยๆ ในทางตรงข้าม สินค้าอีกชนิดนึง มีราคาแพงมาก ผู้ผลิตก็อยากขายก็เต็มใจผลิตออกมามาก แต่ผู้บริโภครู้สึกว่ามันแพงมากไป ก็ไม่อยากซื้อ เมื่อผู้บริโภคไม่ซื้อ ผู้ผลิตก็ขายได้น้อย จำต้องผลิตให้น้อยลงเพราะคงไม่มีใครอยากผลิตสินค้าที่ขายไม่ได้ เกิด supply ส่วนเกิน ผู้ผลิตผลิตจำต้องยอมลดราคาสินค้าลงบ้างเพื่อให้ขายได้มากขึ้น ราคาสินค้าจะลดลงเรื่อยๆ จุดดุลภาพ คือจุดสมดุลที่ความต้องการผลิต = ความต้องการบริโภค คือจำนวณสินค้าที่ผลิตออกมาแล้วขายได้ทั้งหมด ไม่มีขาดไม่มีเกิน คือราคาสินค้าที่ ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคพอใจ ผลิตและซื้อ จากตัวอย่าง เมื่อเกิด demand ส่วนเกิน ราคาสินค้าจะขยับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเกิด supply ส่วนเกินราคาสินค้าจะขยับตัวลดลงเรื่อยๆ เข้าหาจุดดุลภาพ ที่มี demand และ supply พอดีกัน การเพิ่มหรือลดของราคาก็จะหยุดลง 2 GDP ผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ GDP เป็นสิ่งที่เราใช้วัดเศรษฐกิจของประเทศที่ยอมรับกันโดยทั่วๆไป โดยปรกติเราจะสามารถวัด GDP ได้จาก 3 ทาง การผลิตมวลรวมประเทศ รายได้มวลรวมประเทศ และ รายจ่ายมวลรวมประเทศ ซึ่งทั้ง 3 มีค่าเท่า ณ จุดดุลภาพ การผลิตมวลรวมประเทศ หาได้จาก การวัดอัตราการผลิตของแต่ละอุตสาหกรรมรวมทั้งหมดที่ผลิตได้ในประเทศนั้นในช่วงเวลานึง โดยเอามูลค่า ของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ของแต่ละอุตสาหกรรม มาบวกรวมกัน (ผมจะไม่ลงลึกในเรื่องการหามูลค่าเพิ่ม และเรื่องการใช้ปีฐานเพื่อตัดปัญหาเรื่องราคา ไม่งั้นจะยิ่งยาวไปกันใหญ่) รายได้มวลรวมประเทศ หาได้จาก รายได้รวมของคนในประเทศนั้นๆในช่วงเวลานึง มาบวกกัน เช่น รายได้จาก ค่าเช่า ค่าจ้าง ดอกเบี้ย และ กำไร รายจ่ายมวลรวมประเทศ หาได้จาก รายจ่ายรวมของประเทศนั้นๆในช่วงเวลานึง หาได้จาก = การบริโภคภาคเอกชน + การลงทุนภาคเอกชน + รายจ่ายภาครัฐ + นำเข้า - ส่งออก รายได้ และ การผลิตมวลรวม เป็น การวัดด้าน supply ส่วน รายจ่ายเป็นการวัดด้าน demand ซึ่งโดยปรกติเรามัก จะใช้ รายจ่ายมวลรวมประเทศ ในการหา GDP เนื่องจาก วัดผลได้ง่ายที่สุด 3 เงินเฟ้อ inflation ภาวะที่สินค้ามีราคาแพงขึ้น ค่าของเงินลดลง โดยจะดูจากราคาสินค้าของทั้งตลาดมาเทียบกัน สินค้าบางอย่างราคาแพงขึ้น แต่บางอย่างราคาลดลง แต่ถ้าโดยรวมๆแล้วแพงขึ้น ก็เกิดเงินเฟ้อ ภาวะเงินเฟ้อแบบอ่อนๆ จะกระตุ้นให้ผู้ผลิตผลิตสินค้ามากขึ้น จะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ แต่ เงินเฟ้อแบบรุนแรง ผิดปรกติจะทำลายเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถเกิดได้ 2 ประเภท 3.1 demand pull inflation ภาวะที่ ความต้องการบริโภคสูงกว่า ความสามารถในการผลิต เนื่องจากหลายสาเหตุ เช่น ทรัพยากรในการผลิตลดลงอย่างรวดเร็ว ภัยแล้ง ภัยธรรมชาติรุนแรง ที่ส่งผลให้ผลผลิตตกต่ำลงอย่างมาก หรือ มีการใช้ทรัพยากรไปในทางที่ไม่ก่อให้เกิดสินค้าและบริการ เช่นภาวะสงคราม คนละทิ้งไร่นาไปรบ ผลผลิตข้าวที่ได้ลดลงมาก กว่าความต้องการสินค้า ทำให้สินค้ามีราคาแพงขึ้นอย่างรวดเร็ว 3.2 cost push inflation ภาวะที่สินค้าราคาแพงขึ้น เนื่องจากสินค้าทุน จำเป็นขึ้นราคามากๆ จนทำให้ผู้ผลิต ต้องปรับราคาสินค้าตัวเองขึ้น เพื่อให้ยังคงมีกำไรหรือ หยุดผลิตเพราะขาดทุน ทำให้เกิดการลดลงฝั่ง supply ตัวอย่างของ cost push ที่เห็นได้ชัดคือการเพิ่มของราคาน้ำมันอย่างรุนแรง ในปี 51 4 สรุป ในทางเศรษฐศาสตร์ คนมักให้ความสำคัญในเรื่องของการเติบโต ยิ่งโตเร็วยิ่งดี ผมคิดว่านี้เป็นการเข้าใจที่ผิดของคนที่ไม่ได้ศึกษาวิชานี้ เศรษฐศาสตร์ คือความต้องการที่จะรักษาสมดุลของเศรษฐกิจและการเติบโต ต้องสอดคล้องกัน ต้องเติบโตและเติบโตในอัตราที่ควบคุมได้ ไม่ใช่ปล่อยให้เติบโตเร็วไปจนเกินสมดุลเกิดภาวะฟองสบู่ อย่างที่เราเคยเจอในวิกฤตต้มยำกุ้งปี 40 นั้นเอง เพราะสุดท้าย เศรษฐกิจที่โตมากไปจะปรับตัวของมันเองกลับเข้าสู่สมดุลโดยการพังทลายลงนั้นเอง
-
ECONOMIC OUTLOOK 2011 ตลาดหุ้นปีกระต่าย เทียบเสือ ผมเองส่วนตัวก็มีความเห็นสอดคล้องกับ broker ทั้วๆไป เชื่อว่าตลาดหุ้น SET index ในปี 2011 น่าจะเติบโตได้ต่อเนื่อง ประมาณ 20% ลดลงจากปี 2010 ที่ เติบโตได้ 40% กลับสู่ภาวะที่เรียกว่า เติบโตแบบปรกติ (ตลาดปี 2010 เป็นการเติบโตที่ผิดปรกติ อันเนื่องจากการพึ่งพื้นตัวของเศรษฐกิจที่ตกต่ำ)ที่จริงการวิเคราะห์ของผม ก็เป็นไปแบบง่ายๆ เพียงแค่เปรียบเทียบ ค่าประเมิน GDP ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2010 GDP ค่อนข้างแน่นอนว่าจะเติบโตได้ 7-8% ในปี 11 คาดการจาก bank ชาติ GDP จะเติบโตลดลงในอัตรา 3-4% ก็แค่เทียบกันแบบง่ายๆ ถ้าลองแยก GDP ปี 2010 ดูจะเห็นว่า GDP เติบโตสูงสุดใน Q1 คือประมาณ 12% Q2 9% Q3 3-4% (จำไม่ค่อยได้ประมาณนี้) Q4 ยังไม่ออกซึ่งน่าจะประมาณ 4-5% ซึ่งผมก็รู้สึกได้ถึงความสอดคล้องของ การเคลื่อนไหวหุ้นใน port ของผม ไตรมาศ 1-2 เป็นไตรมาศที่ดีมาก หุ้นจับตัวไหนก็ขึ้นกันหมด การเล่นหุ้นเป็นไปแบบสบายๆ ถึงแม้มีภาวะทางการเมืองก็ตาม ในเดือน 7 ซึ่งเป็นเดือนที่ดีที่สุดของผม ในเดือน 7 เดือนเดียวสามารถสร้างผมตอบแทนได้สูงถึง 30% ของเงินทั้งหมดที่มี ในตอนนั้นน่าจะมาจากตลาดตอบรับในทางที่ดี กับการยุติลงของความวุ่นวายทางการเมือง ในเดือน 8 กลับเป็นเดือนที่ยากลำบากที่สุด 30% ที่ได้ในเดือน 7 ลดลงอย่างรวดเร็วหายไปครึ่งนึง เกิดภาวะหุ้น vi ถือถูกทิ้งเพื่อที่จะไปซื้อ หุ้น big cap SET เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในไตรมาศ 3 ซึ่งตรงข้ามกับ การตกต่ำของผลประกอบการของหุ้น ส่วนใหญเป็นหุ้นส่งออกซึ่งเป็นหุ้นจำนวนมากที่ผมถือในขณะนั้น พร้อมกับเริ่มต้นของปัญหาค่าเงินบาท ส่งผลให้ตัวเองต้องปรับ port อย่างแรง (ประมาณ 1/3)เพื่อเอาตัวรอด จากระบบการเล่นแบบ graham ซื้อหุ้นต่ำกว่ามูลค่า (หุ้นถูกนั้นเอง) เป็นระบบการเล่นแบบ fisher ที่เน้นการเติบโตในอนาคตมากกว่าให้ความสำคัญเรื่องราคาหุ้น อีกครั้ง ประมาณเดือน 11 ตลาดปรับตัวลดลงอีก ก็เป็นอีกครั้งที่รู็้้สึกกดดัน แต่ไม่มากเท่าตอนเดือน 8 สรุป ผลตอบแทนทั้งปี ทำได้ 82% ครึ่งปีหลังที่ดิ้นรนสุดฤทธิ ก็ทำได้เพียงใกล้เคียงกับ ครึ่งปีแรก ที่ทำได้ประมาณ 40% รู้สึกได้อย่างชัดเจนว่าตลาดยากขึ้น ที่เขียนมา อย่างจะบอกว่า GDP อาจจะไม่ ส่งผลต่อการขึ้นลงของตลาดหุ้นอย่างชัดเจน อย่างที่เห็นๆกันว่าในไตรมาศ 3 2010 ปีที่ผ่านมา GDP ต่ำสุดแต่ ตลาดหุ้นกลับเติบโตสูงสุดในช่วงนั้น แต่เท่าที่สังเกตุ จะเห็นว่า ผลประกอบการของหุ้นในตลาดไม่ใช่ มูลค่าของตลาด จะสอดคล้องกับ GDP (เหตุผลที่ตลาดหุ้นในช่วง Q3 เติบโตดี ไม่ใช่สาเหตุจากการเติบโตทางเศรษฐกิจไทย แต่เป็นการไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติ) อีกอย่างที่ต้องการจะเตือนคือ ตลาดหุ้นปี 2010 "โครตง่าย" อย่าได้หวังว่า ตลาดปี 2011 จะง่ายแบบนั้น อย่างไรก็ดี ตลาดยังปราณีในปี 2011 ซึ่งคิดว่าน่าจะยัง "ง่ายแบบปรกติ" เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา (ถ้านับปี 40 คือปีที่โหดร้ายที่สุด ตลาดหุ้นปี 11 ก็คงเป็นความยากระดับประถมต้น ปี 10 ยากระดับอนุบาล 2 ประมาณนั้น) แต่การยากขึ้นจะยังเป็นการยากแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่โหดร้ายนัก ซึ่งเหมือนกับตลาดไม่ได้ต้องการฆ่าเราให้ตาย แต่ต้องการให้เราเรียนรู้และเติบโตไปด้วยกัน ECONOMIC OUTLOOK 2011 ของไทยขอติดไว้ก่อนนะครับจะทยอยเขียน ทั้งของไทย อเมริกา จีน ญี่ปุ่น และอยากพูดถึง เวียดนาม ที่เป็นตัวอย่างที่ดีด้วย
-
ผมอยากเล่าความรู้สึกในการลงทุนในปีที่ 53 ที่ผ่านมา มีทั้ง ตื่นเต้น ดีใจ มีเฮ เซ็ง หดหู่ ขมขื่นใจ เดินเกมผิด แก้เกมกันชุลมุน เป็นอีกปีที่ได้ ครบทุกอารมณ์ จริง เพียงแต่ ตอนนี้ ไม่ว่างแล้ว คงต้องขอตัวไปก่อน แล้วจะมาเขียนใหม่ครับ
-
ที่อธิบายข้างต้น ไม่ได้พูดถึง ความเสี่ยงเลยนะครับ พูดถึงแต่วิธีวัด ผลตอบแทน ซึ่งตามจริงแล้ว จะต้องพิจารณาทั้ง 2 ประเด็นคู่กัน อย่างที่คุณ GG เข้าใจนะถูกแล้วละครับ การลงทุน ในทางการเงิน จะรู้จักกัน "ความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนสูง" เช่น ROE (ตัววัดประสิทธิภาพ)สูง บางครั้งเกิดจาก การมีหนี้มาก (เสี่ยงสูง) แต่ประโยคนี้ก็ไม่แน่เสมอ ไป ถ้ารู้จักการบริหารจัดการที่เหมาะสม กับ port การลงทุน อาจจะเป็น "เสี่ยงต่ำลง ผลตอบแทนสูงขึ้นได้" ส่วนนักลงทุนมือใหม่ ที่ไม่มีวิธีการทางการเลือกหุ้นที่ดี ก็อาจเป็น "เสื่ยงสูง ผลตอบแทนต่ำ" ก็เป็นได้ เช่นพวกชอบซื้อเปิด วันแรก หุ้น IPO ทั้งหลายนั้นเอง การเล่นหุ้นส่วนตัว จะไม่เล่นจนหมดเงินสด ต่อให้เห็น upside มากแค่ไหนก็ตาม (ส่วนมากจะขายตัว upside น้อยทิ้ง มาซื้อตัว upside มากกว่า) ยังไงเราต้องถือเงินสด ไว้ส่วนนึงตลอดเวลา เพื่อเหตุไม่คาดฝัน เป็นการบริหารความเสี่ยงส่วนนึงครับ
-
ลืมบอกไปอีกอย่าง ถ้าเพื่อนๆไม่ได้ลงทุนในหุ้น และกองทุน SET อย่างเดียว แต่มีการแยก จำนวนเงิน port ไป ลงทุนในทอง หรือ น้ำมันที่มีการเพิ่มของราคาไม่เท่ากันกับ SET ให้ใช่้วิธี การถ่วงน้ำหนัก weighted Average เช่น สมมุติว่าลงทุนในทอง 20% น้ำมัน 20% หุ้น+กองทุนSET 60% ของเงินลงทุนทั้งหมด ก็ให้แยกเปรียบเทียบเป็นส่วนๆ โดยคิดเท่ากันกับน้ำหนักที่ลงทุนครับ สมมุติว่า เราได้ ผลตอบแทนจากทองคิด เป็นกำไร 60% น้ำมัน 50% หุ้น 40% จากเงินลงทุนในแต่ละส่วน ผลตอบแทนตลาด ทองสมมุติ 40% น้ำมัน 30% หุ้น 40% คำนวณ ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักปอดเรา = (60%x20%)+(50%x20%)+(40%x60%) = 12%+10%+24% = 46% ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักตลาด = (40%x20%)+(30%x20%)+(40%x60%) = 8%+6%+24% = 38% เปรียบเทียบ 46-38= +8% ชนะตลาด 8%