ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ปรับขนาดตัวหนังสือให้ใหญ่ขึ้นได้

ด้วยการกด Ctrl [บนคีย์บอร์ด] คลิกซ้าย (ลูกศรอยู่บริเวรที่ต้องการขยาย หมุนเม้าทขึ้นด้านบน

ถ้าต้องการปรับให้ต้วเล็กก็หมุนลงด้านล่าง)

โชดดีมีกำไรทุกคน

Thaigold เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของนักลงทุน

 

นักลงทุนที่ดีควรมองมุมกว้าง และเจาะลึกในเรื่องที่น่ารู้ได้ ค่อยๆเรียนรู้ไปด้วยกันนะเพื่อน

 

แนวโน้มตลาดหุ้นไทย ดัชนีมีแนวรับ 1,058 และแนวต้าน 1,080 จุด

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 กันยายน 2554 22:36 น.

 

Share

 

 

 

ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากแรงซื้อของกองทุน โดยดัชนีปิดที่ระดับ 1,065.18 จุด เพิ่มขึ้น 2.70% จากสัปดาห์ก่อน ด้านมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดลง 20.06% จากสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ 26,847.08 ล้านบาท โดยนักลงทุนสถาบัน นักลงทุนต่างชาติและบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ซื้อสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนรายย่อยขายสุทธิ ส่วนตลาดหลักทรัพย์ MAI ปิดที่ 298.18 จุด เพิ่มขึ้น 3.45% จากสัปดาห์ก่อน

ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นในวันจันทร์ โดยได้แรงหนุนจากการซื้อหุ้นกลับคืนของกองทุนในประเทศ หลังจากที่ได้ขายออกมามากในช่วงก่อนหน้านี้ ก่อนที่จะมีแรงขายทำกำไรในวันอังคาร จากนั้น ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นต่อในวันพุธ จากคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)จะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการที่มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ประกาศเพิ่มอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่สองแห่ง จากนั้น ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงในช่วงปลายสัปดาห์ จากแรงขายทำกำไรของนักลงทุน ในช่วงก่อนการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเอกชนของสหรัฐฯ

สำหรับแนวโน้มสัปดาห์นี้ วันที่ 5-9 ก.ย. 2554 บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด และบริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น โดยน่าจะได้รับแรงหนุนจากการแรงซื้อจากต่างชาติ โดยคงจะต้องจับตาตัวเลขการจ้างานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐฯ ในคืนวันศุกร์ที่ 2 ก.ย. นอกจากนี้ ปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ (Fed's Beige Book) และแถลงการเรื่องแผนสร้างงานใหม่ของโอบามาในวันที่ 8 ก.ย ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด คาดว่า ดัชนีจะมีแนวรับที่ 1,058 และ 1,044 ขณะที่แนวต้านคาดว่าจะอยู่ที่ 1,080 และ 1,102 จุด ตามลำดับ

 

 

 

ทิศทางค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ มีกรอบการเคลื่อนไหว 29.80-30.05 บาทต่อดอลลาร์ฯ

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 กันยายน 2554 22:36 น.

 

Share

 

 

 

บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า เงินบาทปรับตัวในกรอบแคบๆ ก่อนแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยช่วงท้ายสัปดาห์ เงินบาททรงตัวใกล้ 30.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงต้นสัปดาห์ท่ามกลางแรงขายสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ และแรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ ของกลุ่มผู้นำเข้า กระนั้นก็ดี เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นในช่วงกลาง-ปลายสัปดาห์ โดยมีแรงหนุนจากการกลับเข้าซื้อหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ สกุลเงินเอเชียอื่นๆ ก็แข็งค่าขึ้นเช่นกัน อนึ่ง ตลาดการเงินกำลังอยู่ในช่วงประเมินความเป็นไปได้ของการประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบใหม่ของเฟด (QE 3) ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในการประชุมนโยบายการเงินของสหรัฐฯ วันที่ 20-21 ก.ย.นี้

ในวันศุกร์ (2 ก.ย.) เงินบาทอยู่ที่ 29.91 จากระดับ 29.97 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (26 ส.ค.)

สำหรับแนวโน้มสัปดาห์นี้ (5-9 ก.ย. 2554) เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 29.80-30.05 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยคงต้องจับตาการปรับตัวของตลาดการเงินในช่วงต้นสัปดาห์ เพื่อตอบรับทิศทางของข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ขณะที่ ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ ดัชนี ISM ภาคบริการเดือนส.ค. ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ สต็อกสินค้าภาคค้าส่งเดือนก.ค. รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจของเฟด (Beige Book) และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาถ้อยแถลงมาตรการการสร้างงานใหม่ของประธานาธิบดี บารัค โอบามา การประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลายแห่ง และการประชุมกลุ่ม G-7 อีกด้วย อนึ่ง ตลาดการเงินของสหรัฐฯ จะปิดทำการในวันจันทร์เนื่องในวันแรงงาน

 

http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9540000111985

 

http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9540000111990

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 5 กันยายน 2554 06:02:00 น.

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงอย่างหนักเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (2 ก.ย.) หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขจ้างงานหยุดชะงักในเดือนส.ค. โดยไม่มีการเพิ่มขึ้นเมื่อเทียกับเดือนก.ค. ซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้สร้างความตื่นตระหนักไปทั่วตลาดการเงิน และยังทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่กังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐอาจจะกลับเข้าสู่ภาวะถดถอยรอบใหม่

 

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ร่วงลง 253.31 จุด หรือ 2.20% ปิดที่ 11,240.26 จุด ดัชนี S&P 500 ลดลง 30.45 จุด หรือ 2.53% ปิดที่ 1,173.97 จุด และดัชนี Nasdaq ร่วงลง 65.71 จุด หรือ 2.58% ปิดที่ 2,480.33 จุด

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้น 2.6% เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (2 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนแห่เข้าซื้อทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่าไม่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นในเดือนส.ค. ซึ่งข้อมูลดังกล่าวทำให้เกิดกระแสคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะใช้มาตรการกรกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.พุ่งขึ้น 47.8 ดอลลาร์ หรือ 2.6% ปิดที่ 1,876.9 ดอลลาร์/ออนซ์

 

-- สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (2 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐอาจจะกลับเข้าสู่ภาวะถดถอยรอบใหม่ หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐระบุว่า ตัวเลขจ้างงานเดือนส.ค.หยุดชะงักลง หรือไม่มีการขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก.ค. นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของภาคการผลิตทั้งในสหรัฐและยุโรป

 

สัญญาน้ำมันดิบ NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบเดือนต.ค.ร่วงลง 2.48 ดอลลาร์ หรือ 2.79% ปิดที่ 86.45 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 85.42-88.99 ดอลลาร์

 

-- ค่าเงินดอลลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (2 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบสาม (QE3) หลังจากตัวเลขจ้างงานเดือนส.ค.ไม่มีการขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก.ค. ซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้สร้างตื่นตระหนกให้กับนักลงทุนในตลาดการเงินว่า เศรษฐกิจสหรัฐอาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยรอบใหม่

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐดิ่งลง 0.74% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.7894 ฟรังค์ จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 0.7953 ฟรังค์ และอ่อนตัวลง 0.12% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 76.810 เยน จากระดับ 76.900 เยน

 

ค่าเงินยูโรร่วงลง 0.46% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.4193 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.4258 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ค่าเงินปอนด์ดีดตัวขึ้น 0.25% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.6220 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.6180 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนตัวลง 0.60% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.0656 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ร่วงลง 0.55% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8459 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8506 ดอลลาร์สหรัฐ

 

-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (2 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนกระหน่ำขายหุ้นกลุ่มธนาคารหลังจากมีรายงานว่าธนาคารในยุโรปอาจขาดแคลนเงินทุนเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันหลังจากสหรัฐเปิดเผยว่าตัวเลขจ้างงานเดือนส.ค.ไม่มีการขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก.ค. ซึ่งทำให้นักลงทุนกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐอาจจะกลับเข้าสู่ภาวะถดถอยอีกครั้ง

 

ดัชนี FTSE 100 ดิ่งลง 126.62 จุด หรือ 2.3% ปิดที่ระดับ 5,292.03 จุด ซึ่งเป็นการร่วงลงหนักสุดนับตั้งแต่วันที่ 14 ส.ค.เป็นต้นมา

 

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ซาอุดิอาระเบีย-คูเวตเพิ่มปริมาณผลิตน้ำมันดิบเพื่อสกัดราคาน้ำมันพุ่ง

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 5 กันยายน 2554 06:54:42 น.

นายมูฮัมหมัด อัล บูไซรี รมว.พลังงานของคูเวตเปิดเผยว่า ซาอุดิอาระเบียและคูเวตได้เพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในเดือนส.ค. เพื่อสกัดการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมัน ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้นหลังจากสมาชิกประเทศอื่นๆของกลุ่มโอเปคได้ปฏิเสธข้อเสนอในการปรับเพิ่มการผลิตน้ำมันของซาอุดิอาระเบียและคูเวตในการประชุมเมื่อเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา

 

 

"หากเราไม่ใช้มาตรการเพิ่มปริมาณการผลิต ราคาน้ำมันดิบก็จะพุ่งขึ้นสูงกว่าในระดับปัจจุบัน และจะส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกถดถอย" นายอัล บูไซรีกล่าว

 

นายอัล บูไซรีแสดงความเห็น การที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกผันผวนอย่างหนักเป็นผลมาจากวิกฤตหนี้ยุโรป และจากการที่ลิเบียระงับการส่งออกน้ำมันดิบ อันเนื่องมาจากความไม่สงบภายในประเทศ

 

ทั้งนี้ นายอัล บูไซรีคาดว่า ราคาน้ำมันดิบจะยังคงมีเสถียรภาพไปจนถึงช่วงปลายปีนี้ และคาดว่าความต้องการน้ำมันจะยังคงเพิ่มขึ้นในอัตรา 1-1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า คูเวตซึ่งเป็นสมาชิกโอเปคที่สามารถผลิตน้ำมันได้มากเป็นอันดับที่ 4 ของกลุ่ม มีเป้าหมายที่จะผลักดันผลผลิตน้ำมันให้ได้ถึง 40 ล้านบาร์เรลต่อวันภายในปี 2563

 

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: วิตกตัวเลขจ้างงานสหรัฐฉุดตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วง

 

 

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 5 กันยายน 2554 06:28:29 น.

ตลาดหุ้นยุโรปร่วงลงอย่างหนักเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (2 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐอาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยรอบใหม่ หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่าตัวเลขจ้างงานไม่มีการขยายตัวในเดือนส.ค.

 

 

ดัชนี Stoxx 600 ร่วงลง 2.4% ปิดที่ 233.11 จุด

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสร่วงลง 117.30 จุด ปิดที่ 3148.53 จุด ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีดิ่งลง 192.30 จุด ปิดที่ 5538.33 จุด ส่วนดัชนี FTSE 100 ร่วงลง 126.62 จุด ปิดที่ 5,292.03 จุด ซึ่งเป็นการร่วงลงหนักสุดนับตั้งแต่วันที่ 14 ส.ค.เป็นต้นมา

 

ตลาดหุ้นยุโรปได้รับปัจจัยลบจากกระแสความวิตกกังวลที่ว่า เศรษฐกิจสหรัฐอาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยรอบใหม่ หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรหยุดชะงักในเดือนส.ค. โดยไม่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก.ค. ตรงข้ามกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าตัวเลขจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 75,000 ตำแหน่ง ส่วนอัตราว่างงานเดือนส.ค.อยู่ที่ระดับ 9.1% ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก.ค.

 

หุ้นกลุ่มธนาคารร่วงลงหลังจากต้นทุนการประกันการผิดนัดชำระหนี้พันธบัตรประเภท Credit-default swaps (CDS) ของรัฐบาลใน 15 ประเทศของยุโรป พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยหุ้นธนาคารบาร์เคลย์สร่วงลง 8.4% หุ้นธนาคารลอยด์ แบงกิง กรุ๊ป ดิ่งลง 7.1% และหุ้นรอยัล แบงก์ ออฟ สก็อตแลนด์ (RBS) ร่วงลง 5.4%

 

นอกจากนี้ หุ้นกลุ่มธนาคารยังได้รับแรงกดดันจากรายงานของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์รายงานว่า สำนักงานบริการการเงินเพื่อที่อยู่อาศัยของรัฐบาลกลางสหรัฐ (FHFA) เตรียมยื่นฟ้องธนาคารขนาดใหญ่กว่า 10 แห่ง ซึ่งอาจรวมถึงเจพีมอร์แกน เชส, โกลด์แมน แซคส์, ดอยช์ แบงก์ และแบงก์ ออฟ อเมริกา ในกรณีบิดเบือนคุณภาพของสัญญาจำนองที่ทางธนาคารนำออกมาขายในช่วงที่เกิดภาวะฟองสบู่ในตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐ

 

หุ้นแอสทราเซเนกา ซึ่งเป็นบริษัทเวชภัณฑ์รายใหญ่ของยุโรป ร่วงลง 3.7% หลังจากบริษัทเปิดเผยผลการศึกษายา Crestor ซึ่งมีสรรพคุณช่วยลดคลอเรสเตอรัลในเลือดนั้น มีประสิทธิภาพสูงกว่ายา Lipitor ของบริษัทไฟเซอร์ซึ่งเป็นคู่แข่ง

 

หุ้นหุ้นเปอร์โยต์ เอสเอ ในกลุ่มรถยนต์ร่วงลง 6% หุ้น Cie. de Saint-Gobain SA ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์วัสดุก่อสร้างรายใหญ่ของยุโรป ดิ่งลง 6%

 

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีครับทุกท่าน

กราฟรายวันเป็นเขียวแท่งเจ็ดครับ

จะเปลี่ยนเป็นแท่งแดงต้องลงต่ำกว่า 1835 ครับ !17

ท่าจะลงไม่เป็นครับช่วงนี้เพราะข้างบนตอนนี้ ที่วิ่งยังมีอีกเยอะครับ !38

แนวรับ 1883 1876 1871

แนวต้าน 1891 1911 1918 1940 1963

ขอให้โชคดีครับ

post-1891-093050200 1315181343.gif

ถูกแก้ไข โดย news

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณคะคุณnews

 

ดอยกำลังจะกลายเป็นีท่ราบ เริ่มจะดี๊ด๊าอีกรอบ อิอิ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณคะคุณnews ginger สวัสดีค่ะเพื่อนๆวันจันทร์ฮาเฮ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับ มันยาวจริง ๆ และตัวอักษรเล็กด้วยอ่านลำบากมาก แต่ก็ขอบคุณด้วยใจ

 

การปรับขนาดตัวหนังสือให้ใหญ่ - เล็ก 'ง่ายมาก

 

ใช้ กด ctrl + หรือ ctrl -

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณคุณมดแดงสำหรับบทวิเคราะห์

สงสัยแค่ว่า fiboarc และ fibonacci มีหลักเกณฑ์ในการลากจากจุดไหนคะ

 

 

เอาของเก่ามาดูนะคะ......คัมภีร์ลงทุนทองคำฉบับไทยโกลดิ์

 

บทที่ 5 Fibonacci number ช่วยให้คุณรู้จักคลื่น Elliott wave ดีขึ้น

 

โดย Kumponys

 

!047 !047

 

ผมพยายามลำดับความสำคัญว่า อะไรที่ควรจะเรียนรู้ก่อนในกลุ่มเครื่องมือจำนวนมากที่สามารถพาพวกเราเวียนหัวกันได้ ผมว่าน่าจะเอาสิ่งที่เป็นพื้นฐานที่สุด ที่เข้าใจตรงกันมากที่สุด ก็คือ Fibonacci number นี่แหละ มาให้เราทำความเข้าใจกันก่อน ผมว่าเหมือนกับการป้อนข้อมูลใส่ให้พวกเราเข้าใจว่า สาวๆ หน้ากลมๆ สัดส่วน 30-24-36 ถึงจะสวยนะ ถ้าไม่ใช่ ก็สัก 32-26-36 ก็ยังดี (หุหุ เกี่ยวป่าว?)

 

fibonacci เป็นชื่อเรียกเลขอนุกรมมหัศจรรย์ ที่ตั้งขึ้นตามผู้คิดค้นคือ LEONARDS FIBONACCI ซึ่งสังเกตเห็นว่า ธรรมชาติมีสัดส่วนสัมพันธ์กับตัวเลขนี้ ต่อมาได้มีการประยุกต์นำมาใช้ในการวิเคราะห์ราคาหุ้น เพื่อที่จะใช้ค้นหาแนวโน้ม แนวต้าน แนวรับ สัญญาณซื้อและขาย โดยมีรูปแบบอยู่ 3 ลักษณะ คือ

- Fibonacci retracement หาแนวรับแนวต้านราคาในแนวระนาบ

- Fibonacci fan หาแนวรับในแนวเฉียง

- Fibonacci fan หาแนวรับในแนวดิ่ง หรือระยะเวลา

ส่วนใหญ่ที่เห็นใช้กัน ก็เป็นอันแรกครับ ส่วนที่มาของตัวเลข ไม่ขอพูดมากครับ ตำราเยอะแยะ เอาเป็นว่า ผมแนะนำสิ่งที่นำไปใช้งานเลยละกัน ตัวเลขสัดส่วนที่นำมาใช้ ถูกคำนวณมาเป็น % หรือเทียบกับ 1.0 เป็นเลขดังนี้

23.6% 38.2% 50% 61.8% 78.6% 100% 127.2% 161.8% 261.8% 423.6%

โดยตัวเลขสีแดง คือตัวเลขที่ผมให้ความสำคัญเป็นพิเศษครับ

การใช้ Fibonacci สามารถใช้วัดได้ทั้งคลื่นย่อย และคลื่นหลักตามสะดวก และโดยมากเราวัดในคลื่นย่อย มักจะตรงกับคลื่นหลักอย่างน่าแปลกใจในบางครั้ง ซึ่งหากตรงกัน ผมมักให้ความสำคัญเพิ่มตรงจุดนั้นด้วย

 

การใช้ Fibonacci ใช้ตอนไหน และตรงไหนดี?

คงเป็นคำถามสำหรับมือใหม่ ที่บางคนลากแบบไม่รู้จะเริ่มตรงไหนดี ต้องย้อนกลับไปอ่านอีกทีข้างบน ที่บอกว่า ใช้หาแนวต้าน แนวรับ แนวต้าน ไงครับ แนวรับจะเกิด เราต้องหาหัวหาท้ายคลื่นให้ได้ก่อน ใช่มั๊ย? เราสนใจคลื่นชุดใหญ่หรือชุดย่อยล่ะ ถ้ายังไม่รู้ ต้องเริ่มจากคลื่นใหญ่ก่อนครับ

 

- แนะนำให้เริ่มจาก กราฟรายวัน เพราะจะเห็นคลื่นหลักชัดๆ

 

เมื่อคลื่นเริ่มต้นขึ้น จนเริ่มตก เราก็จะได้จุดเริ่มต้นและปลายทางของคลื่นเป้าหมายครับ สิ่งที่เราจะวัดหา คือแนวรับเป็นอันดับแรก โดยมีจุดที่ผมให้ข้อคิดไว้ ตามประสบการณ์อันน้อยนิดของผมคือ

 

- หากคลื่นที่วัด ความแรงไม่มาก เช่นคลื่น 1 แนวรับจะอยู่ที่แถว 50% 61.8% และ 78.6% รวมถึง 100%

- หากหลุดต่ำกว่า 100% ก็จะเป็นการ correction หรือปรับฐานเลย (คลื่น a-b-c) เป้าหมายแรกอยู่ที่ 127.2% และ 161.8% หรือกว่านั้น

- หากเป็นคลื่น 3 บางที ลงไม่ถึง 50% ด้วยซ้ำ

 

หากแนวรับ รับได้อยู่แถว 61.8% และดีดกลับได้อย่างแข็งแกร่ง สิ่งที่เราจะมองหาคือแนวต้านแทน เราก็สามารถคาดได้ครับว่า คลื่นอาจจะย้อนสูงขึ้นกว่ายอดเดิม ไปที่ 127.2% 161.8% หรือ 261.8% หรือมากกว่านั้นได้ เราสามารถเอาความเข้าใจเรื่องอีเลียตเวฟมาประยุกต์คาดการณ์ร่วมกับการคะเน แนวต้านได้ครับ เช่น

- หากเป็นคลื่น 3 อาจแรงไปถึง 261.8 หรือ 423.6% ได้

- ขณะที่คลื่น 5 อาจไม่ผ่าน 100% หรือแค่ 127.2% ก็เป็นได้ หากสัญญาณไม่แรงพอ

 

lesson5fibo.gif

 

 

สั้นๆ ได้ใจความ ไม่เยิ้นเย้อนะครับ ที่เหลือ ลองไปหัดวัดดูคลื่นเก่าๆที่เคยผ่านไปแล้วดู ผมสรุปสั้นๆว่า

- มองภาพคลื่นใหญ่ หาจุดเริ่มต้นให้เจอ

- พิจารณาธรรมชาติของคลื่นลูกนั้น ว่าเป็นคลื่นไหน 1-2-3-4-5 หรือ a-b-c เพื่อคะเนว่า ตัวเลขแนวต้าน-แนวรับตรงไหน น่าจะสำคัญ สำหรับคลื่นลูกนั้น

- คลื่นใหญ่มองภาพไม่เห็นว่าจะจบแถวไหน ก็วัดคลื่นย่อยช่วย เช่น วัดคลื่น 3 หลักที่เห็นได้ชัดในรายวัน ในรายชั่วโมง เราก็มาวัดคลื่นย่อยของ 3 หลัก หากอยู่ในคลื่นย่อย 5 แล้ว เราก็คาดได้ว่า ราคาจะพุ่งไปเส้นต่อไปไม่ไหวก็เป็นได้ เป็นต้น

 

การดูว่าคลื่นไหนเป็นคลื่นไหน เราสามารถใช้ความรู้เรื่อง RSI มาช่วยกำกับได้ อย่างที่กล่าวไปในบทที่แล้วนะครับ เช่น หากคลื่นราคาใหม่ สูงขึ้น แต่ RSI ต่ำกว่าเดิม ก็มีโอกาสจะเป็นยอดคลื่น 5 ได้ เพราะ RSI จะ peak ในคลื่น 3 กับ b เป็นหลัก

 

Fibonacci fan กับ timezone คงไม่พูดถึงนะ ก็คล้ายกัน แต่ผมว่า ใช้วัดคลื่นหลักก็พอ โดยเฉพาะ fibo fan ผมใช้บ่อยตอนหาแนวรับ ใช้ร่วมกับ Fibonacci retracement ช่วยบอกแนวรับได้ดีมากๆ

 

บทต่อไปน่าจะเป็นการดู RSI, MACD นะ แต่ใครอ่านบทวิเคราะห์ของผมบ่อยๆคงได้เรียนรู้ไปเยอะแล้ว เพราะผมพูดถึงบ่อยมาก

 

 

 

เอาของใหม่มาดู

 

การตี fibonacci

 

เมื่อราคาลงมาถึงจุดที่คาดว่าจะกลับตัวได้ โดยยังไม่ได้ทำจุดต่ำสุดใหม่ เราจะใช้ fibonacci วัดแนวต้านที่มีโอกาสติด โดยแนวสำคัญ ได้แก่ เส้น 61.8 78.6 100 127.2 161.8 216.8

 

วิธีการตี ดูตามรูปเลยครับ

howtofibo.gif

 

 

พื้นฐานการใช้งาน mt 4 สไตล์ kumponys

http://www.thaigold.info/Board/index.php?app=forums&module=post&section=post&do=reply_post&f=16&t=712&qpid=138858

 

 

 

การใช้ fibo arc ก็เหมือนกับ fibo ปกติ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดหุ้นเอเชียอ่อนตัวลงเช้านี้ เหตุวิตกตัวเลขจ้างงานสหรัฐ-หนี้ยุโรป

 

 

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 5 กันยายน 2554 09:51:24 น.

ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้อ่อนตัวลง เนื่องจากยอดจ้างงานนอกภาคการเกษตรสหรัฐที่หยุดชะงัก ขณะที่ตลาดวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์หนี้ยุโรปว่าอาจจะย่ำแย่มากไปกว่านี้

 

ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 8,828.46 จุด ลดลง 122.28 จุด สำหรับดัชนีฮั่งเส็งตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 19,830.50 จุด ลดลง 382.41 จุด ส่วนดัชนีเวทเต็ดตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 7,637.90 จุด ลดลง 119.16 จุด ดัชนีคอมโพสิตตลาดหุ้นโซลเปิดวันนี้ที่ 1,829.30 จุด ลดลง 38.45 จุด ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,469.77 จุด ลดลง 4.32 จุด ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียเปิดวันนี้ที่ 4,221.20 จุด ลดลง 21.70 จุด และดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 2,797.00 จุด ลดลง 46.09 จุด

 

 

ดัชนี MSCI Asia Pacific ร่วง 2% เมื่อเวลา 9.55 น.ตามเวลาท้องถิ่นในกรุงโตเกียว

หุ้นไต้หวัน เซมิคอนดัคเตอร์ แมนูแฟคเจอริ่งอ่อนตัวลงหลังจากที่บริษัทระบุว่า ความเชื่อมั่นในกลุ่มลูกค้าของบริษัทที่มีต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกนั้นอ่อนตัวลง

 

กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรหยุดชะงักในเดือนส.ค. โดยไม่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก.ค. ตรงข้ามกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าตัวเลขจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 75,000 ตำแหน่ง ส่วนอัตราว่างงานเดือนส.ค.อยู่ที่ระดับ 9.1% ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก.ค.

 

นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐได้ปรับลดการประเมินตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือนก.ค.โดยระบุว่า ตัวเลขจ้างงานเดือนก.ค.เพิ่มขึ้นเพียง 68,000 ตำแหน่ง จากเดิมที่ประเมินว่าเพิ่มขึ้น 117,000 ตำแหน่ง

 

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย สุนิตา พรรณรักษา/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เงินยูโร ระเบิดเวลาลูกเก่า (2)

 

เศรษฐศาสตร์จานร้อน : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 2 กันยายน 2554

 

ขอบคุณผู้เขียน

 

ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว ที่ผมทิ้งประเด็นไว้ว่า ถ้าประเทศในกลุ่มที่มีการใช้เงินสกุลเดียวกัน มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่สอดคล้องกัน ใครจะเป็นผู้กำหนดนโยบายการเงิน และนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน

 

Robert Mundell นักเศรษฐศาสตร์เจ้าของรางวัลโนเบล เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกทฤษฎี optimal currency area บอกไว้ว่าต้องมีเงื่อนไขสำคัญ 4 ข้อที่จะทำให้เขตการใช้เงินสกุลเดียวประสบความสำเร็จ

 

1. ต้องมีการเคลื่อนย้ายทรัพยากรแรงงานแบบเสรี คือถ้ามีประเทศไหนเริ่มมีการว่างงานสูง แรงงานต้องสามารถย้ายไปอีกประเทศที่มีการว่างงานต่ำ เพื่อลดการว่างงานในแต่ละประเทศได้

 

2. ต้องมีการเปิดกว้างของการไหลของเงินทุน การกำหนดราคาสินค้าและค่าจ้างต้องมีความยืดหยุ่น การไหลของทรัพยากรต้องสามารถลดความไม่สม่ำเสมอของเขตเศรษฐกิจลงไปได้

 

3. ต้องมีระบบชดเชยทางการคลังด้วย คือประเทศที่มีเศรษฐกิจดีมากๆ มีการเกินดุลการคลังมากๆ ต้องเข้าไปอุดหนุนประเทศที่มีเศรษฐกิจไม่ดี เพื่อไม่ให้ช่องว่างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศมีสูงเกินไป

 

และ 4.สำคัญที่สุด ประเทศในกลุ่มเงินสกุลเดียวกัน ต้องมีวงจรทางธุรกิจที่สอดคล้องกัน คือถ้าจะรุ่ง ต้องรุ่งด้วยกัน ถ้าจะแย่ต้องแย่ด้วยกัน เพื่อไม่เกิดความขัดแย้งกันในความต้องการแนวทางการดำเนินนโยบายการเงิน

 

ผมอยากยกกรณีสหรัฐอเมริกา เป็นตัวอย่างหนึ่งของกลุ่มเศรษฐกิจที่ใช้เงินสกุลเดียวกัน ด้วยขนาดทางเศรษฐกิจ สหรัฐอเมริกา มีขนาดไม่ต่างจากสหภาพยุโรปเท่าไร และรัฐใหญ่ๆ อย่างแคลิฟอร์เนีย มีขนาดพอๆ กับประเทศอันดับเจ็ดของโลกเลยทีเดียว แต่ทำไมแคลิฟอร์เนียจึงไม่จำเป็นต้องมีเงินสกุลของตัวเอง และสามารถอยู่ร่วมได้กับรัฐอื่นๆ ของสหรัฐ

 

ปัจจัยสำคัญก็คือ การมีวงจรทางเศรษฐกิจที่ใกล้เคียงกัน การไหลของทรัพยากรทั้งทุนและแรงงานในสหรัฐเป็นไปอย่างเสรีพอสมควร การย้ายของแรงงานจากรัฐหนึ่งไปอีกรัฐหนึ่งเป็นเรื่องปกติ และนโยบายการคลังและการเงิน แบบ federal ที่มีการอุดหนุนทางการคลัง และพิจารณาวงจรธุรกิจในแต่ละเขตของประเทศ ทำให้ทุกวันนี้ ยังไม่มีรัฐไหนอยากแยกตัวออกจากระบบดอลลาร์สักที

 

ย้อนกลับมาประเทศในยุโรป เมื่อมีการเริ่มใช้เงินสกุลยูโร พบว่าข้อดีที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนคือต้นทุนในการค้าขายลดลง การไม่มีอัตราแลกเปลี่ยน ลดอุปสรรคในการแลกเปลี่ยนเงินไปเยอะ และต้นทุนในการกู้ยืมก็ลดลงอย่างรวดเร็ว เพราะ risk premium ที่ตลาดเคยให้กับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน หายไปอย่างรวดเร็ว แต่ตลาดดูเหมือนจะให้ค่าของการเป็นส่วนหนึ่งของยูโรมากไปหน่อย จน risk premium สำหรับการผิดนัดชำระหนี้ (default risk) หายไปด้วย จนเพิ่งจะมากระแทกเมื่อปีสองปีนี้

 

ว่ากันว่า ตอนแรกที่มีการคิดว่าจะใช้เงินสกุลยูโร กะว่าจะใช้กันแต่เฉพาะประเทศยุโรป “ตอนเหนือ” ที่มีการพัฒนาและความมั่นคงทางเศรษฐกิจสูงกว่า จึงตั้งกฎเหล็กกันไว้ไม่ให้ประเทศเล็กๆ “ตอนใต้” เข้า แต่พอทำไปทำมา ทางการเมืองเริ่มมีการตอบรับดี จนต้องขยายรวมประเทศที่ยังไม่พร้อมเข้ามาด้วย (เช่น กรีซ ที่ต้องใช้เวลากว่าสองปี จึงแหกกฎเหล็กเข้ามาได้ แต่ก็ต้องผ่อนปรนกันแทบแย่)

 

ต่อมาภายหลังที่มีประเทศเกิดใหม่ในยุโรปมากขึ้น เริ่มมีความพยายามที่จะขยายเงินสกุลยูโรออกไป โดยใช้เงื่อนไขคล้ายๆ กัน จนประเทศอย่าง Slovenia, Cyprus, Malta, Slovak Republic และ Estonia ก็ได้ใช้เงินสกุลยูโรเมื่อไม่นานมานี้และมีอีกหลายประเทศเข้าคิวรอใช้เงินยูโร ทั้งๆ ที่ ถ้าดูกันทางทฤษฎีแล้ว บางประเทศอาจจะไม่เหมาะที่จะใช้เงินยูโร เพราะมีความแตกต่างทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูง

 

ทีนี้ปัญหาเกิดขึ้นอย่างที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้จริงๆ เมื่อเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจขึ้น ขณะที่มีความไม่สม่ำเสมอของวงจรธุรกิจ บางประเทศในกลุ่มประเทศยูโร มีปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ไม่มีการเจริญเติบโตมาหลายปี การว่างงานสูงถึง 20% ในสเปน และสูญเสียความสามารถในการแข่งขันเพราะค่าเงินที่แข็งขึ้นอย่างมาก และมีการขาดดุลเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง

 

สิ่งที่ประเทศเหล่านี้ต้องการในขณะนี้ คือค่าเงินที่อ่อนลง เพื่อกระตุ้นการส่งออก และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน

 

จำเมืองไทยตอนมีวิกฤติได้ไหมครับ ค่าเงินเราลดไปกว่าครึ่ง แต่ก็ทำให้เศรษฐกิจหดตัวอย่างรุนแรงแค่ปีเดียว และการส่งออกกลับมาช่วยเราไว้ได้

 

แต่ประเทศใหญ่ และมีเสียงในการกำหนดนโยบายการเงินในยุโรป อย่างเยอรมัน ไม่ได้ประสบปัญหาไปด้วย และยังมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง และมีอัตราการว่างงานที่ค่อนข้างต่ำ เยอรมันจึงไม่ต้องการนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เพราะกลัวจะเกิดเงินเฟ้อในประเทศตัวเอง และไม่ได้ต้องการค่าเงินที่อ่อน เพราะยังเกินดุลประเทศอื่นๆ อยู่เลย และด้วยปัญหาในเงินสกุลหลักอื่นๆ ค่าเงินยูโร เลยแข็งปึ๋งปั๋งเอาการ

 

ขณะเดียวกัน นโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป ในระยะแรกที่เริ่มมีปัญหาทางเศรษฐกิจจึงเป็นไปแบบ “เหยี่ยว” สุดๆ คือไม่ลดดอกเบี้ยในทันที และเพิ่งจะมาลดและมีบทบาทในการแก้ไขวิกฤติการเงิน เมื่อดูเหมือนว่าปัญหาอาจจะลามไปในวงกว้าง

 

นอกจากนี้ ยังขาดการช่วยเหลือทางการคลังระหว่างกันที่เพียงพอ และขาดแรงสนับสนุนในทางการเมืองที่จะช่วยเหลือประเทศอื่น ทำให้ปัญหาลุกลามไปไม่หยุด

 

สิ่งเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นข้อด้อยของการมีเงินสกุลร่วม ที่เป็นระเบิดเวลาที่หลายๆ คนได้วิเคราะห์ไว้ และปัจจุบันเริ่มมีคนพูดถึงการแตกสลายของเงินสกุลยูโรเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ประเทศที่มีปัญหา เอาตัวรอดด้วยการลดค่าเงินตัวเอง เพื่อให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจกลับมา ดีกว่าเตะปัญหาไปเรื่อยๆ

 

น่าสนใจจริงๆ ครับ ว่าปัญหาพวกนี้จะจบอย่างไร

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รัฐมนตรีญี่ปุ่นเห็นพ้องต้องเร่งใช้มาตรการสกัดเงินเยนแข็งค่า

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 5 กันยายน 2554 09:10:48 น.

นายจุน อาซุมิ รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่น พร้อมด้วยรัฐมนตรีอีก 3 คนที่ดูแลปัญหาเศรษฐกิจ ภายใต้รัฐบาลชุดใหม่ของนายกรัฐมนตรีโยชิฮิโกะ โนดะ เห็นพ้องต้องกันว่า ญี่ปุ่นควรต้องเร่งใช้มาตรการต่างๆเพื่อจัดการกับเงินเยนที่แข็งค่าเป็นประวัติการณ์

 

นายโมโตฮิสะ ฟุรุคาวะ รัฐมนตรีเศรษฐกิจและนโยบายการคลัง ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า เขาและนายอาซุมิ รวมถึงนายโยชิโอะ ฮาชิโร่ รัฐมนตรีเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม และนายทัตสึโอะ ฮิราโนะ รัฐมนตรีผู้ดูแลด้านการฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยแผ่นดินไหวและสึนามิ เห็นพ้องต้องกันว่าต้องเร่งใช้มาตรการต่างๆ ระหว่างประชุมร่วมกันที่โรงแรมแห่งหนึ่งในกรุงโตเกียว

 

รัฐมนตรีทั้ง 4 คนหารือกันเรื่องเงินเยนแข็งค่า, งบประมาณพิเศษงวดที่ 3 สำหรับปีงบประมาณซึ่งสิ้นสุดเดือนมีนาคม, การขึ้นภาษีชั่วคราว รวมถึงการฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากแผ่นดินไหวและสึนามิเมื่อวันที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมา สำนักข่าวเกียวโดรายงาน

 

 

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปรียพรรณ มีสุข/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...