ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

น้ำมัน WTI ปรับลง แต่ยังใกล้ระดับสูง ขณะคาดสต็อกน้ำมันสหรัฐลด

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 7 สิงหาคม 2555 19:56:56 น.

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) เดือนก.ย. ซึ่งมีการซื้อขายทางระบบอิเล็กทรอนิกลดลง 42 เซนต์ แตะที่ 91.78 ดอลลาร์/บาร์เรล ณ เวลา 13.12 น.ตามเวลาในลอนดอนวันนี้ แต่ยังคงใกล้เคียงระดับปิดวานนี้ที่ 92.20 ดอลลาร์/บาร์เรลเมื่อวานนี้ ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคมที่ผ่านมา หลังจากราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวลงแล้ว 6% ในปีนี้emnb_1_370236.gif

สัญญาน้ำมันดิบ WTI มีความเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยหลังจากที่ลดลง 0.5% ในช่วงก่อนหน้านี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าปริมาณสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐในสัปดาห์ที่แล้วอาจจะลดลงในการเปิดเผยข้อมูลในวันพรุ่งนี้ และคาดว่าพายุโซนร้อนเออร์เนสโตอาจทวีความรุนแรงขึ้นเป็นพายุเฮอร์ริเคนและจะเคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวกัมเปเชของเม็กซิโกต่อไป

นักลงทุนจับตาดูรายงานสต็อกน้ำมันประจำสัปดาห์ของสหรัฐในช่วงค่ำวันพรุ่งนี้ตามเวลาไทย หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบลดลง 6.5 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 373.6 ล้านบาร์เรล ในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 27 ก.ค. ซึ่งร่วงลงหนักสุดในปีนี้ ขณะที่สต็อกน้ำมันกลั่นลดลง 1.0 ล้านบาร์เรล และสต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 2.2 ล้านบาร์เรล

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย เกตุ โนนทิง/พันธุ์ทิพย์ โทร.02-2535000 อีเมล์: pantip@infoquest.co.th-

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เยอรมนีเผยยอดสั่งซื้อในภาคการผลิตหดตัวลงในเดือนมิ.ย.

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 7 สิงหาคม 2555 20:16:56 น.

กระทรวงเศรษฐกิจของเยอรมนีเผยยอดสั่งซื้อในภาคการผลิตของเยอรมนีหดตัวลงในเดือนมิถุนายน หลังจากที่เพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคม เนื่องจากยอดสั่งซื้อจากต่างประเทศและในประเทศลดลง

รายงานของกระทรวงระบุว่า คำสั่งซื้อลดลง 1.7% ในเดือนมิถุนายน หลังจากที่เพิ่มขึ้น 0.7% ในเดือนพฤษภาคม โดยคำสั่งซื้อภายในประเทศร่วงลง 2.1% หลังจากปรับลง 1.4% ในเดือนพฤษภาคม และคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง 1.5% หลังจากขยายตัว 2.5% ในเดือนก่อนหน้า

ทั้งนี้ ยอดสั่งซื้อจากกลุ่มประเทศยูโรโซนหดตัวลง 4.9% หลังดีดตัวขึ้น 7.8% ในเดือนพฤษภาคม แต่คำสั่งซื้อจากนอกยูโรโซนเพิ่มขึ้น 0.6% หลังลดลง 0.5% ในเดือนก่อนหน้า

ข้อมูลคำสั่งซื้อในภาคการผลิตที่ลดลงในเดือนมิถุนายนบ่งชี้ว่า กิจกรรมในภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนี ซึ่งมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป อาจจะชะลอตัวลงในไตรมาสที่ 3

emnb_1_370236.gif

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย เกตุ โนนทิง/พันธุ์ทิพย์ โทร.02-2535000 อีเมล์: pantip@infoquest.co.th-

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ยูโรแข็งค่า ขานรับเยอรมนีหนุนข้อเสนออีซีบีในการแก้วิกฤตยูโรโซน

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 7 สิงหาคม 2555 20:46:22 น.

เงินสกุลยูโรปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับเยนและดอลลาร์ หลังเยอรมนีออกมาสนับสนุนข้อเสนอของนายมาริโอ ดรากิ ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ในการแก้ปัญหาวิกฤตนี้สินในยูโรโซน

ยูโรดีดตัวขึ้น 0.6% แตะที่ 97.62 เยน ณ เวลา 09.07 น. ในนิวยอร์ก หลังไต่ขึ้นแตะระดับ 97.80 เยนเมื่อวานนี้ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม และเมื่อเทียบดอลลาร์ ยูโรเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 0.2% แตะที่ 1.2427 ดอลลาร์ ส่วนเยนลดลง 0.4% แตะที่ 78.54 เยนต่อดอลลาร์emnb_1_370236.gif

ยูโรแข็งค่าเทียบสกุลเงินหลัก จากความคาดหวังเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือเพื่อคลี่คลายวิกฤตหนี้ยูโรโซน โดยยูโรได้รับแรงซื้อเนื่องจากนักลงทุนในตลาดขานรับถ้อยแถลงของโฆษกรัฐบาลเยอรมนีวานนี้ถึงการสนับสนุนแผนการณ์ของอีซีบีในการเข้าซื้อพันธบัตรของประเทศยูโรโซนซึ่งกำลังประสบปัญหา

ทั้งนี้ นายดรากิได้เปิดเผยในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า อีซีบีอาจจะซื้อพันธบัตรรัฐบาลของประเทศที่กำลังประสบกับปัญหาทางการเงินผ่านทางกองทุนช่วยเหลือของภูมิภาค ในขณะที่ระบุว่ารายละเอียดจำเป็นต้องมีการหารือกันต่อไปอีกหลายสัปดาห์

ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจจากยุโรปที่มีการเปิดเผยในวันนี้บ่งชี้ถึงสถานการณ์ที่ยังย่ำแย่ โดยในวันนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติของอิตาลี (Istat) เผยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) เบื้องต้นของอิตาลีปรับตัวลง 0.7% ในช่วงไตรมาส 2 ปี 2555 หลังจากที่หดตัว 0.8% ในไตรมาสแรก และหากเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2554 เศรษฐกิจอิตาลีหดตัวลง 2.5% ขณะที่การผลิตในภาคอุตสาหกรรมของอิตาลีก็ลดลง 1.4% ในเดือนมิ.ย. หลังจากที่ขยายตัว 1.0% ในเดือนพ.ค. และหากเทียบรายปี การผลิตในเดือนมิ.ย.หดตัวลง 8.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

นอกจากนี้ กระทรวงเศรษฐกิจของเยอรมนีเปิดเผยในวันเดียวกันว่า ยอดสั่งซื้อในภาคการผลิตของเยอรมนีหดตัวลง 1.7% ในเดือนมิ.ย. หลังจากที่เพิ่มขึ้น 0.7% ในเดือนพ.ค. เนื่องจากยอดสั่งซื้อจากต่างประเทศและในประเทศลดลง ซึ่งบ่งชี้ว่ากิจกรรมในภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนี ซึ่งมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป อาจจะชะลอตัวลงในไตรมาสที่ 3

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย เกตุ โนนทิง/พันธุ์ทิพย์ โทร.02-2535000 อีเมล์: pantip@infoquest.co.th

 

ทองฟิวเจอร์ปรับขึ้นตามยูโร ขณะตลาดหวังอีซีบีคลายวิกฤตหนี้ภูมิภาค

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 7 สิงหาคม 2555 21:18:54 น.

สัญญาทองล่วงหน้าส่งมอบเดือนธ.ค.ที่ตลาด COMEX ปรับตัวขึ้น 2.50 ดอลลาร์ หรือ 0.2% สู่ระดับ 1,618.70 ดอลลาร์/ออนซ์ ณ เวลา 20.21 น.ตามเวลาไทย

สัญญาทองฟิวเจอร์เดินหน้าขึ้นในการซื้อขายที่ไม่คึกคักมากนัก โดยมีแรงหนุนจากการแข็งค่าของเงินยูโรเทียบดอลลาร์และแนวโน้มที่แข็งแกร่งของตลาดหุ้น ท่ามกลางมุมมองที่เป็นบวกมากขึ้นว่า ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะดำเนินการเพื่อทำให้ต้นทุนการกู้ยืมของสเปนและอิตาลีปรับตัวลดลง

นักลงทุนในตลาดขานรับถ้อยแถลงของโฆษกรัฐบาลเยอรมนีวานนี้ถึงการสนับสนุนแผนการณ์ของอีซีบีในการเข้าซื้อพันธบัตรของประเทศยูโรโซนซึ่งกำลังประสบปัญหา หลังจากที่นายมาริโอ ดรากิ ประธานอีซีบีเปิดเผยในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า อีซีบีอาจจะซื้อพันธบัตรรัฐบาลของประเทศที่กำลังประสบกับปัญหาทางการเงินผ่านทางกองทุนช่วยเหลือของภูมิภาค

นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาดูการตัดสินใจด้านนโยบายการเงินอย่างใกล้ชิด เนื่องจากคาดว่า การผ่อนคลายทางการเงินรอบใหม่จะกระตุ้นให้ราคาทองทะยานขึ้นemnb_1_370236.gif

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย พันธุ์ทิพย์ คำเพิ่มพูล/สุนิตา โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: sunita@infoquest.co.th

 

เยอรมนีเผยยอดสั่งซื้อในภาคการผลิตหดตัวลงในเดือนมิ.ย.

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 7 สิงหาคม 2555 20:16:56 น.

กระทรวงเศรษฐกิจของเยอรมนีเผยยอดสั่งซื้อในภาคการผลิตของเยอรมนีหดตัวลงในเดือนมิถุนายน หลังจากที่เพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคม เนื่องจากยอดสั่งซื้อจากต่างประเทศและในประเทศลดลง

รายงานของกระทรวงระบุว่า คำสั่งซื้อลดลง 1.7% ในเดือนมิถุนายน หลังจากที่เพิ่มขึ้น 0.7% ในเดือนพฤษภาคม โดยคำสั่งซื้อภายในประเทศร่วงลง 2.1% หลังจากปรับลง 1.4% ในเดือนพฤษภาคม และคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง 1.5% หลังจากขยายตัว 2.5% ในเดือนก่อนหน้า

ทั้งนี้ ยอดสั่งซื้อจากกลุ่มประเทศยูโรโซนหดตัวลง 4.9% หลังดีดตัวขึ้น 7.8% ในเดือนพฤษภาคม แต่คำสั่งซื้อจากนอกยูโรโซนเพิ่มขึ้น 0.6% หลังลดลง 0.5% ในเดือนก่อนหน้า

ข้อมูลคำสั่งซื้อในภาคการผลิตที่ลดลงในเดือนมิถุนายนบ่งชี้ว่า กิจกรรมในภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนี ซึ่งมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป อาจจะชะลอตัวลงในไตรมาสที่ 3emnb_1_370236.gif

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย เกตุ โนนทิง/พัน

 

สถาบันวิจัยเผยเศรษฐกิจอังกฤษหดตัว 0.2% ในเดือนพ.ค.-ก.ค.

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 7 สิงหาคม 2555 21:46:41 น.

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของอังกฤษ (NIESR) เปิดเผยในการประเมินล่าสุดในวันนี้ว่า เศรษฐกิจของอังกฤษหดตัวลง 0.2% ในช่วง 3 เดือนที่สิ้นสุดในเดือนก.ค. หลังจากปรับตัวลง 0.7% ในเดือนเม.ย.-มิ.ย. ขณะที่ระบุว่าข้อมูลดังกล่าวถูกบิดเบือนจากวันหยุดพิเศษและการเลื่อนวันหยุดธนาคารในเดือนพ.ค.ไปเป็นเดือนมิ.ย.เพื่อให้ประชาชนสามารถร่วมฉลองการครองราชย์ครบ 60 ปีของสมเด็จพระราชินีอลิซาเบธemnb_1_370236.gif

การประเมินล่าสุดของ NIESR เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจของอังกฤษอาจเผชิญกับความยากลำบากในการฟื้นตัวในช่วงไตรมาส 3 หลังจากที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะถดถอย และจุดปะทุข้อกังขาเกี่ยวกับมาตรการรัดเข็มขัดที่เข้มงวดของรัฐบาลที่มีจุดประสงค์ในการลดยอดขาดดุลงบประมาณจำนวนมาก

การเปิดเผยข้อมูลของ NIESR มีขึ้นในวันเดียวกับที่ สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษ (ONS) รายงานว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมของอังกฤษในเดือนมิ.ย.ลดลง 2.5% เทียบกับที่ขยายตัว 1.0% ในเดือนพ.ค. และเมื่อเทียบกับเดือนมิ.ย.ปี 2554 การผลิตภาคอุตสาหกรรมร่วงลง 4.3% โดยการผลิตที่ลดลงในเดือนมิ.ย.เป็นผลมาจากช่วงวันหยุดพิเศษเนื่องในงานเฉลิมฉลองการครองราชย์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ถ่วงการผลิต

นอกจากนี้ เมื่อช่วงต้นเดือน NIESR ได้ประเมินว่า มาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาลอังกฤษมีแนวโน้มจะฉุดรั้งเศรษฐกิจของประเทศให้เข้าสู่ภาวะถดถอย และส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน 200,000 ตำแหน่ง โดยระบุถึงความกังวลที่ว่าการดำเนินการลดค่าใช้จ่ายขนานใหญ่ของรัฐบาลในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะย่ำแย่จะทำให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงต่อผลผลิตทางเศรษฐกิจและอัตราว่างงานที่อยู่ในระดับสูงอยู่แล้ว

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย พันธุ์ทิพย์ คำเพิ่มพูล/สุนิตา โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: sunita@infoquest.co.th

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับคุณnews,คุณginger,คุณbaskie30(และคุณแม่น้องบีม),คุณ กระต่ายทอง

สวัสดีครับคุณchez,คุณย่าหยา,พี่พวงชมพู,คุณput42,คุณเด็กสยาม,Mr.Liและพี่ๆ เพื่อนๆทุกท่านครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีมือใหม่หัดวิฯทุกท่านฯ ปิดแท่งเมื่อวานนี้ยังเขียวอยู่ครับ

ถือ ยาวว ยาว ต่อไปตามสูตรครับเจ้านายยยย :Announce

post-1950-0-62049800-1344386169_thumb.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีครับคุณ.. Ginger bmw2770 baskie30 Pasaya กระต่ายทอง Pa’ree พวงชมพู ตังเม ย่าหยา Moddang Chez เด็กสยาม Chinchilla fung Mr.Li Ohshikung แสงแดด put42 bbeam mateenee ลูกน้ำเค็ม เฟิร์ส dep99 GoldOfCourse Silver&Gold Goldbullish jojosung fung NOT4545 หัดเล่นgf firework ปุยเมฆ SixMun และทุกท่านครับ

กราฟรายวันวันนี้เป็นเขียวแท่งสามครับล่าสุดราคาต่ำสุด 1608 ราคาสูงสุด1618

:17 ราคาขณะนี้อยู่ที่ 1610.x ครับ

 

สัญญานหลักแบลคคิง ทิศทาง side way ครับ

RSI Price Line เส้นเขียวจาก55.51 วิ่งมา55.36 ตอนนี้อยู่สูงกว่าเส้นแดงและสูงกว่าเส้นเหลืองครับ อยู่สูงกว่า50ทิศทางแนวราบครับ

Trade Signal Line เส้นแดง จาก54.45 วิ่งมา53.53 ทิศทางลงและอยู่สูงกว่า 50 ครับ

เส้นนี้ลดแสดง side way down ครับ

Market base Line เส้นเหลือง จาก49.31 วิ่งมา 49.82 เพิ่มครับ

 

 

สัญญานรองQQE ทิศทาง side way

เส้นฟ้า54.02วิ่งมา54.29อยู่เหนือเส้นประเหลืองทิศทางแนวราบครับ

เส้นนี้เพิ่มแสดง side way up ครับ ไม่ตรงกะสัญญานหลัก

เส้นประเหลือง50.88 วิ่งมา50.88 คงที่ครับยังอยู่ต่ำกว่าเส้นฟ้าครับ

(ถ้าคงที่นานๆ จะแสดง side way และถ้าทิศทางลงจะเด้งไปอยู่สูงกว่าเส้นฟ้าทันทีถ้าขึ้นจะลงมาต่ำกว่าเส้นฟ้าทันที)

แนวต้าน 1616 1627 1633 1638

แนวรับ 1600 1589 1577 1568

ภาพรวมๆจากสัญญานยัง side way ครับ ราคาวิ่งตามแนวรับแนวต้าน

 

 

ขอให้โชคดีครับ

 

:bye

post-1891-0-04418000-1344386164_thumb.gif

ถูกแก้ไข โดย news

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดีจ้า ^_____^ ทุกคน

 

 

ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: แรงขายทำกำไรฉุดทองคำปิดร่วง 3.40 ดอลล์

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 8 สิงหาคม 2555 07:34:48 น.

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (7 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้ามาเทขายทำกำไรหลังจากสัญญาทองคำพุ่งขึ้นแข็งแกร่งเมื่อ 2 วันทำการที่ผ่านมา

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ปิดที่ 1,612.80 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 3.40 ดอลลาร์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ย.ปิดที่ 28.086 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 22.30 เซนต์emnb_1_370236.gif

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค.ปิดที่ 1,410.40 ดอลลาร์/ออนซ์ พุ่งขึ้น 8.50 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย. 588.20 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 8.65 ดอลลาร์

สัญญาทองคำเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆเมื่อคืนนี้ เนื่องจากตลาดขาดปัจจัยชี้นำ และจากการที่นักลงทุนเข้ามาเทขายทำกำไรหลังจากสัญญาทองคำพุ่งขึ้นแข็งแกร่งเมื่อ 2 วันทำการที่ผ่านมา ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทำให้สัญญาทองคำร่วงลงแม้ว่าตลาดหุ้นและตลาดน้ำมันนิวยอร์กปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อคืนนี้ก็ตาม

อย่างไรก็ตาม สัญญาทองคำยังสามารถเคลื่อนไหวเหนือระดับ 1,600 ดอลลาร์/ออนซ์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าทองคำยังคงมีแนวโน้มที่แข็งแกร่ง

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.t

 

ภาวะตลาดน้ำมัน: น้ำมัน WTI ปิดพุ่ง $1.47 จากคาดการณ์เฟดกระตุ้นศก.

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 8 สิงหาคม 2555 07:25:51 น.

สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (7 ส.ค.) เพราะได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยบวกจากสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลาง และพายุเฮอริเคนในอ่าวเม็กซิโก

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ส่งมอบเดือนก.ย.ที่ตลาด NYMEX พุ่งขึ้น 1.47 ดอลลาร์ หรือ 1.6% ปิดที่ 93.67 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 91.78-94.42 ดอลลาร์emnb_1_370236.gif

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.ย.ที่ตลาดลอนดอนพุ่งขึ้น 2.45 ดอลลาร์ หรือ 2.2% ปิดที่ 112.00 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 109.13-112.56 ดอลลาร์

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า สัญญาน้ำมันดิบ WTI ทะยานขึ้นหลังจากนายอิริค โรเซนเกร็น ประธานเฟดสาขาบอสตันกล่าวเมื่อวานนี้ว่า เฟดควรจะใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณในระดับที่ยั่งยืน เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการจ้างงาน เนื่องจากเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัวลง ซึ่งถ้อยแถลงดังกล่าวทำให้นักลงทุนมีความหวังว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยหนุนอุปสงค์พลังงานในสหรัฐเพิ่มขึ้นด้วย

ตลาดยังคงรับแรงหนุนหลังจากธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ส่งสัญญาณว่าจะใช้มาตรการเพื่อฉุดต้นทุนการกู้ยืมของสเปนและอิตาลีให้ปรับตัวลดลง ซึ่งถ้อยแถลงดังกล่าวทำให้นักลงทุนคาดว่าอีซีบีจะเข้าซื้อพันธบัตรรอบใหม่ เพื่อคลี่คลายวิกฤตหนี้สาธารณะในยูโรโซน

นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่าอุปทานน้ำมันในตลาดโลกจะหดตัวลง หลังจากรัฐบาลสหรัฐประกาศใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจครั้งใหม่ต่ออิหร่าน และสถานการร์รุนแรงในตะวันออกกลางที่ยังคงยืดเยื้ออยู่ในขณะนี้ โดยเฉพาะในประเทศซีเรีย

ขณะเดียวกัน ตลาดได้รับแรงหนุนหลังจากมีรายงานว่า อ่าวเม็กซิโกกำลังเผชิญกับฤดูพายุเฮอริเคน โดยเฉพาะพายุเฮอริเคนเออร์เนสโต้ ซึ่งคาดว่าจะสร้างความเสียหายต่ออ่าวเม็กซิโก ซึ่งเป็นฐานการผลิตน้ำมันที่สำคัญของสหรัฐ

นักลงทุนจับตาดูรายงานสต็อกน้ำมันดิบประจำสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 3 ส.ค. ซึ่งสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) จะเปิดเผยตัวเลขดังกล่าวในวันพุธนี้ โดยนักวิเคราะห์คาดว่าสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐจะลดลง 500,000 บาร์เรล สต็อกน้ำมันกลั่นจะเพิ่มขึ้น 400,000 บาร์เรล สต็อกน้ำมันเบนซินจะลดลง 1.9 ล้านบาร์เรล และอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันจะลดลง 0.5%

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีคะคุณ chez news ginger bmw bas+trader กระต่ายทอง ย่าหยา fung พวงชมพู Pasaya Pa'ree bbeem Mr.Li

 

deb99 chinchilla meng wann bigbag Alan ตังเม แสงแดด เด็กสยาม เด็กอู่ทอง ปุยเมฆ กบจ้า ขุนศึกปทุม

 

และเพื่อนๆทุกคน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณ คุณ news

ขอบคุณ คุณ gingerคะ

สวัสดีค่ะ Pa'ree' Pasaya Alan gold leng bigbag ริมคลอง นัอย ต่ายทอง gejen jojo พวงชม

โชคดี สบายใจ มีสติ ได้สตางค์ กำไรชีวิต

 

 

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 8 สิงหาคม 2555 07:59:50 น.

ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเมื่อคืนนี้ (7 ส.ค.) ซึ่งเป็นการปิดบวกติดต่อกัน 3 วันทำการ เพราะได้แรงหนุนจากการรายงานผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทหลายแห่ง รวมถึงบริษัทเหมืองแร่รายใหญ่อย่างเอ็กสตราต้า ซึ่งปัจจัยดังกล่าวสามารถชดเชยข่าวในด้านลบจากสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด

ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวขึ้น 0.8% ปิดที่ 268.80 จุด

emnb_1_370236.gif

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 3,453.28 จุด เพิ่มขึ้น 51.72 จุด ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 6,967.95 จุด เพิ่มขึ้น 49.23 จุด ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 5,841.24 จุด เพิ่มขึ้น 32.47 จุด

 

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (7 ส.ค.) เพราะได้แรงหนุนจากความคาดหวังที่ว่าธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และรัฐบาลของประเทศอื่นๆในยุโรป จะใช้มาตรการเพื่อปกป้องเศรษฐกิจของยูโรโซน อย่างไรก็ตาม ภาวะการซื้อขายเป็นไปอย่างซบเซาหลังจากเยอรมนีเปิดเผยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่หดตัวลง

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปรับตัวขึ้น 51.09 จุด หรือ 0.39% ปิดที่ 13,168.60 จุด ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้น 7.12 จุด หรือ 0.51% ปิดที่ 1,401.35 จุด และดัชนี Nasdaq เพิ่มขึ้น 25.95 จุด หรือ 0.87% ปิดที่ 3,015.86 จุด

 

-- สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (7 ส.ค.) เพราะได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยบวกจากสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลาง และพายุเฮอริเคนในอ่าวเม็กซิโก

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ส่งมอบเดือนก.ย.ที่ตลาด NYMEX พุ่งขึ้น 1.47 ดอลลาร์ หรือ 1.6% ปิดที่ 93.67 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 91.78-94.42 ดอลลาร์

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.ย.ที่ตลาดลอนดอนพุ่งขึ้น 2.45 ดอลลาร์ หรือ 2.2% ปิดที่ 112.00 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 109.13-112.56 ดอลลาร์

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (7 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้ามาเทขายทำกำไรหลังจากสัญญาทองคำพุ่งขึ้นแข็งแกร่งเมื่อ 2 วันทำการที่ผ่านมา

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ปิดที่ 1,612.80 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 3.40 ดอลลาร์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ย.ปิดที่ 28.086 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 22.30 เซนต์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค.ปิดที่ 1,410.40 ดอลลาร์/ออนซ์ พุ่งขึ้น 8.50 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย. 588.20 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 8.65 ดอลลาร์

 

-- สกุลเงินยูโรทรงตัวเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (7 ส.ค.) หลังจากมีการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะใช้มาตรการเพื่อฉุดต้นทุนการกู้ยืมของสเปนและอิตาลีให้ปรับตัวลดลง

ค่าเงินยูโรทรงตัวอยู่ที่ 1.2400 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้น 0.16% แตะที่ 1.5626 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันจันทร์ที่ 1.5601 ดอลลาร์สหรัฐ

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้น 0.50% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 78.630 เยน จากระดับของวันจันทร์ที่ 78.240 เยน และขยับลง 0.01% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 0.9683 ฟรังค์ จากระดับ 0.9684 ฟรังค์

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th-

 

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ยูโรทรงตัว จากคาดการณ์อีซีบีใช้มาตรการหนุนยูโรโซน

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 8 สิงหาคม 2555 07:58:33 น.

สกุลเงินยูโรทรงตัวเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (7 ส.ค.) หลังจากมีการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะใช้มาตรการเพื่อฉุดต้นทุนการกู้ยืมของสเปนและอิตาลีให้ปรับตัวลดลง

ค่าเงินยูโรทรงตัวอยู่ที่ 1.2400 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้น 0.16% แตะที่ 1.5626 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันจันทร์ที่ 1.5601 ดอลลาร์สหรัฐ

emnb_1_370236.gif

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้น 0.50% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 78.630 เยน จากระดับของวันจันทร์ที่ 78.240 เยน และขยับลง 0.01% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 0.9683 ฟรังค์ จากระดับ 0.9684 ฟรังค์

ตลาดได้รับแรงหนุนจากข่าวที่ว่านายมาริโอ ดรากิ ประธานอีซีบีได้ส่งสัญญาณว่าจะทำทุกวิถีทางเพื่อปกป้องยูโรโซน ซึ่งข่าวดังกล่าวช่วยให้นักลงทุนผ่อนคลายความกังวลจากถ้อยแถลงของนายมาริโอ มอนติ นายกรัฐมนตรีอิตาลีที่ออกมาเตือนถึงความเป็นไปได้ที่ยุโรปจะแตกสลาย หากไม่มีการดำเนินการเร่งด่วนกว่านี้เพื่อลดต้นทุนการกู้ยืมของรัฐบาลหลายประเทศในภูมิภาค

นายมอนติแสดงความเห็นดังกล่าวในการให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร Der Spiegel ของเยอรมนี โดยระบุว่า ความคิดเห็นที่ไม่ลงร้อยกันในหลายๆเรื่องภายในกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร 17 ประเทศ กำลังเบี่ยงเบนการดำเนินนโยบายแก้ไขวิกฤตหนี้และกำลังบ่อนทำลายอนาคตของสหภาพยุโรป (อียู)

ตลาดได้รับแรงหนุนมากขึ้นเนื่องจากนักลงทุนในตลาดขานรับถ้อยแถลงของโฆษกรัฐบาลเยอรมนีวานนี้ถึงการสนับสนุนแผนการณ์ของอีซีบีในการเข้าซื้อพันธบัตรของประเทศยูโรโซนซึ่งกำลังประสบปัญหา

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th-

ยาย Ctrl+

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีคะคุณ chez news ginger bmw bas+trader กระต่ายทอง ย่าหยา fung พวงชมพู Pasaya Pa'ree bbeem Mr.Li

 

deb99 chinchilla meng wann bigbag Alan ตังเม แสงแดด เด็กสยาม เด็กอู่ทอง ปุยเมฆ กบจ้า ขุนศึกปทุม

 

และเพื่อนๆทุกคน

 

ดาวโจนส์ฟิวเจอร์สบวก 36 จุด ขณะคาดหวังมาตรการกระตุ้นศก.ในยุโรป

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 7 สิงหาคม 2555 19:25:53 น.

ดัชนีดาวโจนส์ล่วงหน้าปรับตัวขึ้น 36 จุด หรือ 0.3% แตะที่ 13,103 จุด ขณะที่ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้น 0.4% แตะที่ 1,395 จุด ณ เวลา 19.33 น.ตามเวลานิวยอร์กวันนี้ โดยดัชนีได้ปรับตัวขึ้นตลอดทั้ง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา หลังธนาคารกลางที่สำคัญเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจ ในขณะที่หลายบริษัทรายงานผลประกอบการที่สูงกว่าคาดการณ์

 

การปรับตัวขึ้นของดาวโจนส์ฟิวเจอร์บ่งชี้ว่า ดัชนี S&P 500 อาจพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน ในขณะที่นักลงทุนกำลังจับตาดูการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจของยุโรป โดยคาดว่าข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแรงจากยุโรปจะช่วยหนุนให้มีการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ทางด้านสำนักงานสถิติแห่งชาติของอิตาลี (Istat) เปิดเผยในวันนี้ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) เบื้องต้นของอิตาลีปรับตัวลง 0.7% ในช่วงไตรมาส 2 ปี 2555 หลังจากที่หดตัว 0.8% ในไตรมาสแรก และหากเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2554 เศรษฐกิจอิตาลีหดตัวลง 2.5% ขณะที่การผลิตในภาคอุตสาหกรรมของอิตาลีลดลง 1.4% ในเดือนมิ.ย. หลังจากที่ขยายตัว 1.0% ในเดือนพ.ค. และหากเทียบรายปี การผลิตในเดือนมิ.ย.หดตัวลง 8.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ โดยวันพุธ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเปิดเผยตัวเลขประมาณการประสิทธิภาพการผลิตและต้นทุนแรงงานต่อหน่วยประจำไตรมาส 2/2555 วันพฤหัสบดี กระทรวงพาณิชย์สหรัฐจะเปิดเผยข้อมูลการค้าระหว่างประเทศเดือนมิ.ย. และกระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

ส่วนวันศุกร์ กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยราคานำเข้าและส่งออกเดือนก.ค. และกระทรวงการคลังสหรัฐจะเปิดเผยงบประมาณของรัฐบาลกลางเดือนก.ค.

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย เกตุ โนนทิง/พันธุ์ทิพย์ โทร.02-2535000 อีเมล์: pantip@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เหนือ-อีสานมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง

blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 สิงหาคม 2555 06:12 น.

 

 

blank.gif กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์อากาศประจำวันพุธที่ 8 สิงหาคม 2555 ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น. ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง

 

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนโดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ในระยะ 1-2 วันนี้ไว้ด้วย

 

อนึ่ง พายุ “ไห่คุ้ย” (HAIKUI) บริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไต้หวัน มีแนวโน้มเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งบริเวณมณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน ในช่วงเช้าของวันนี้ (8 ส.ค. 55) พายุนี้ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย

 

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.

 

ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัด เชียงราย พะเยา และน่าน อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม และมุดาหาร อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

 

ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ และลพบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

 

ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

 

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

 

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรบริเวณทะเลอันดามันตอนบน

 

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีคะเพื่อนๆทุกท่าน :01 วันนี้มี1กราฟคะ เห็นสามีบอกมีงานด่วน"8-8-2012-1.gif จากกราฟแนวทางยังเหมือนเมื่อวานคือยังไงต้องย่อทำss2ก่อน แม้จะมีความพยายามดันทุรังทำไฮใหม่ขึ้น แต่ทั้งสัญญาณmacd rsi ไม่ได้เกิดไฮใหม่ตามเรียกว่ า "เกิดไดเวอร์จิ้นชัดเจน"เข้าสู่red zone เฝ้าระวังการย่อ แถมมีแพทเทิ้ลh&S ตอกย้ำให้เห็นเป้าหมายการย่อลง และราคาก็อยู่ตรงแนวรับสีม่วงแล้ว คำแนะนำวันนี้ :aa หากราคาหลุดตรง1608 (แนวรับสีม่วงและเนคไลน์สีขาวตัดกัน) ให้ปิดทำกำไรที่ได้ซื้อมาและรอย่อลงมาตามเป้าหมายh&s แถวๆ1599 หรือ แถวๆแนวรับสีฟ้า1593ค่อยเสี่ยงซื้อเข้าพอร์ท ส่วนทองแท่งถ้ามีของแล้วแนะนำถือต่อไปก่อนเพราะราคาน่าจะเปลี่ยนแปลงไม่เกิน150 ซื้อขายไม่ได้อะไรเลยแต่ถ้าไม่มีของแนะนำรอซื้อ ตามจุดที่บอก1599-1593 cutlossถ้าแนวรับสีฟ้าหรือหลุด1584ลง เป้าหมายยังเหมือนเดิม" จบการรายงานข่าว :Announce ขอให้เพื่อนๆโชคดีในการลงทุนทุกท่านนะคะ :bye

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...