ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
little devil

ซื้อทองซะถ้าคุณเชื่อว่าดอลล่าร์จะลดค่า

โพสต์แนะนำ

ซื้อทองซะถ้าคุณเชื่อว่าดอลล่าร์จะลดค่า

 

เขียนโดย ระพิน ใจดี

วันอาทิตย์ที่ ๐๙ กรกฏาคม ๒๕๔๙

โดย Jackie Steinitz

07 Jul 2006 at 11:13 AM EDT

 

ลอนดอน (ResourceInvestor.com) -- World Gold Council เพิ่งจะตีพิมพ์รายงานฉบับหนึ่ง โดย 2 นักวิชาการที่มีฐานในสกอตแลนด์ Eric Levin และ Robert Wright เกี่ยวกับปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดราคาทองคำทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

 

รายงานได้บรรยายครอบคลุมถึงการศึกษาเศรษฐกิจโดยใช้เทคนิคการคำนวณที่เรียกว่า cointegration regression techniques เพื่อตรวจหาตัวกำหนดราคาทองคำที่แท้จริง ใช้ข้อมูลระหว่างปี 1833-2005 ปัจจัยสำคัญ 5 ตัวที่พบจากรายงานได้แสดงไว้ในรายการด้านล่าง และได้ขยายความต่อในส่วนถัดไป สิ่งที่พบเกือบทั้งหมดฟ้องออกมาในข้อที่ 5 คือ : ซื้อทองซะ ถ้าคุณเชื่อว่าดอลล่าร์จะลดค่าไปตามสภาพความเป็นจริง

 

ปัจจัยหลักที่พบ

1. มีความสัมพันธ์ระยะยาวระหว่างราคาทองคำและระดับราคาทั่วๆไปของ US ดอลล่าร์ โดย 1% ของอัตราเงินเฟ้อที่ขึ้นมา จะนำไปสู่การเพิ่มขึ้น 1% ของราคาทองคำ

 

2.ไม่ว่าจะมีความเบี่ยงเบนขนาดไหน จากความสัมพันธ์ระยะยาวจากเหตุปัจจัยซึ่งกระทบกับดีมานด์และซัพพลายของทองคำ โดยเฉพาะกับเงินเฟ้อของ US และ ความแปรปรวนของเงินเฟ้อ, ความเสี่ยงทางฐานะการเงิน, อัตราแลกเปลี่ยน และ gold lease rate (อัตราสัญญาเช่าทองคำ) ความเบี่ยงเบนระยะสั้นนี้ สามารถมีระยะเป็นปีๆ และจะเป็นแค่การชะลอการกลับเข้าสู่อัตราในระยะยาว

 

3. ไม่มีความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญระหว่างราคาทองคำและเงินเฟ้อของโลกและความแปรปรวนของเงินเฟ้อ, รายได้ของโลก และ ดัชนีของทองคำ ( โดยเฉพาะกับดัชนี S&P500 )

 

4. ทองคำสามารถทำกำไรจากการเป็นเครื่องป้องกันเงินเฟ้อระยะยาวสำหรับนักลงทุนในประเทศที่สกุลเงินเสื่อมค่าเมื่อเปรียบเทียบกับดอลล่าร์โดยมากกว่าผลต่างระหว่างอัตราเงินเฟ้อของประเทศและของ US ตามประวัติประเทศเหล่านี้ รวมถึง อินเดีย จีน ตุรกี ซาอุดิอารเบีย และ อินโดนีเซีย มันไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่ประเทศเหล่านี้อยู่ในกลุ่มที่เป็นอันดับต้นๆที่เป็นผู้ซื้อทองคำ

 

5. ถ้าคุณเชื่อว่าดอลล่าร์เสื่อมค่าเมื่อเปรียบเทียบกับเงินสกุลอื่นซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ (และผู้เขียนจะให้เหตุผลที่ดีๆหลายๆเหตุผลว่าทำไมน่าจะเป็นเช่นนี้ เพียงแต่ว่าผลสุดท้ายจะเกิดเมื่อไหร่และปริมาณเท่าใด) ดังนั้น ผู้ถือครองทรัพย์สินในรูปของ US ดอลล่าร์ ควรจะทำกำไรจากการถือครองทองคำ เพราะ

* การลดค่าเงินดอลล่าร์จะทำให้ราคาทองคำถูกลงสำหรับนักลงทุนนอก US ซึ่งจะเพิ่มความต้องการทองคำและดังนั้นราคาทองคำในหน่วย US ดอลล่าร์จะเพิ่ม

* การลดค่าเงินดอลล่าร์จะเพิ่มเงินเฟ้อของ US ทองคำจะแสดงบทเป็นเครื่องป้องกันเงินเฟ้อ

 

เงินเฟ้อเป็นปัจจัยระยะยาวที่กำหนดราคาทองคำ

ผู้เขียนสันนิษฐานว่า ราคาของทองคำระยะยาวควรจะขึ้นตามเส้นซึ่งเป็นพื้นฐานจากเงินเฟ้อ เพราะมันสัมพันธ์กับขอบเขตของราคา พวกเขาได้ทดสอบทั้งเงินเฟ้อของ US และเงินเฟ้อโลกเป็นตัวแปรในการอธิบายและพบว่า

* ระดับราคาเงิน US เป็นตัวทำนายที่ดีที่สุด ซึ่งการเพิ่มขึ้น 1% ของราคาเงิน US จะนำไปสู่การเพิ่มขึ้น 1% ของราคาทองคำ (ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%) พวกเขาสรุปว่า ทองคำมีผลชะงัดในการป้องกันเงินเฟ้อ

* หลังจากการตกใจอย่างแรง มันจะใช้เวลานานในการกลับมาสู่ความสัมพันธ์ระยะยาว ระยะการแก้ไขความผิดพลาดอยู่ที่ประมาณ 0.019 หมายถึงความผิดพลาดในแต่ละเดือนจะลดลง 2% จากเดือนก่อนหน้า ดังนั้น หลังจาก 5 ปี 2/3 ของความเบี่ยงเบนจากความสัมพันธ์ระยะยาวจะได้รับการขจัด

 

ตามกราฟด้านล่างที่นำมาจากรายงาน แสดงถึงความสัมพันธ์ระยะยาว ในปี 1833 ราคาทองคำอยู่ที่ 20.65$ ต่อออนซ์ ซึ่งมีค่าเท่ากับ 415$ ในปี 2005 และราคาจริงในปี 2005 ก็อยู่ที่ 445$ แสดงโดยนัยว่า มีความแตกต่างน้อยมากกับราคาจริงในช่วง 172 ปี

กราฟยังแสดงชัดเจนถึงเวลาที่ขยายออกไปเมื่อทองคำได้เคลื่อนหนีจากความสัมพันธ์ระยะยาวกับเงินเฟ้อและเมื่อปัจจัยระยะสั้นเข้ามากำหนดราคา

 

steinitzgold1_pngforchapter2.jpg

 

ปัจจัยระยะสั้น

Levin และ Wright ตั้งสมมุติฐานว่าการเคลื่อนของราคาในระยะสั้นถูกกำหนดโดยดีมานด์และซัพพลายที่ซึ่ง

* ซัพพลายระยะสั้นของทองคำขึ้นกับปริมาณจากผู้ผลิตทองคำ ไม่ว่าจะผ่านการเช่าทองคำหรือการสกัด และด้วยความเต็มใจของธนาคารกลางที่จะให้เช่าทองคำ โดยขึ้นกับหลายปัจจัยเช่นอัตราการเช่า ดอกเบี้ยการเช่า ระดับของความวุ่นวายทางการเมืองและการเงิน

* ดีมานด์ของทองคำขึ้นกับความต้องการการใช้ (สำหรับ จิวเวลรี่ เหรียญตรา ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อื่นๆ) ซึ่งจะสวนทางกับราคาทองคำ, และความต้องการทองคำเพื่อการลงทุน ส่วนหลังนี้ได้รับอิทธิพลจากความคาดหวังเกี่ยวกับเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย, ความกลัว, ผลตอบแทนของสินทรัพย์อื่นและการขาดความสัมพันธ์กับสินทรัพย์อื่น, และอัตราดอกเบี้ยจริง (ซึ่งนี่เป็นต้นทุนในการถือทองคำ)

 

พวกเขาได้ทดสอบอิทธิพลของตัวแปรที่จะอธิบายตามมาต่อราคาทองคำในระยะสั้น โดยใช้เทคนิคการคำนวณที่เรียกว่า cointegration regression techniques กับข้อมูลรายเดือนของปี 1976-2005

 

1. เงินเฟ้อของ US และของโลกและความแปรปรวน: บนฐานที่ว่า การเพิ่มขึ้นของตัวแปรเหล่านี้จะเพิ่มความจำเป็นของการป้องกันความเสี่ยงเงินเฟ้อซึ่งส่งผลต่อดีมานด์และราคาของทองคำ

2. รายได้ของโลก: การเพิ่มรายได้อาจเพิ่มความต้องการจิวเวลรี่ทองคำ

3. อัตราแลกเปลี่ยนดอลล่าร์ การตกของค่าเงินดอลล่าร์จะทำให้ราคาทองคำถูกลงสำหรับนักลงทุนที่อยู่นอก US ดอลล่าร์

4. อัตราเช่าทองคำ: เป็นตัวแทนอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของโลกและเป็นต้นทุนในการถือทองคำ มันยังเป็นปัจจัยสำคัญในทางฝั่งด้านซัพพลาย

5. ดัชนีสถิติของทองคำ (สัมพันธ์กับดัชนี S&P500): ซึ่งกำหนดดีมานด์หลักทรัพย์สำหรับทองคำ ถ้าลดลงหลักทรัพย์จะแปนปรวน

6. ความเสี่ยงฐานะทางการเงิน: การเพิ่มขึ้นของความสับสนทางการเงินและความเสี่ยงทางการเงินจะเพิ่มความต้องการทองคำแต่จะลดความเต็มใจของธนาคารกลางในการให้เช่าทองคำ

7. ความเสี่ยง (ที่วัดโดยดัชนีความเสี่ยงทางการเมืองทั่วโลก): ความเสี่ยงที่มากขึ้นทางการเมืองจะเพิ่มความดีมานด์หรือความต้องการทองคำและลดซัพพลาย

 

ปัจจัยสำคัญที่สุดที่พบคือ ความสัมพันธ์กับเงินเฟ้อของ US, ความแปรปรวนและความเสี่ยงทางการเงิน และความสัมพันธ์ด้านกลับกับอัตราแลกเปลี่ยน และอัตราเช่าทองคำ ส่วนรายได้ของโลก เงินเฟ้อโลก และดัชนีสถิติของทองคำพบว่าไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

 

ดัชนีความเสี่ยงทางการเมืองพบว่าจำเป็นต้องมีการตรวจสอบหาความจริงเพิ่มเติม จากที่มีมา 10 ช่วงเวลา แต่ละช่วงเดือน ตัวแปรไม่สามารถอธิบายความเปลี่ยนแปลงทั้งหมดของราคาทองคำได้ อย่างราคาร่วงปี 1999 เป็นตัวอย่าง ที่เริ่มจากข้อตกลงของธนาคารกลางในครั้งแรก ส่วนช่วงอื่นๆ มีความชัดเจนน้อยกว่า

 

ความสำคัญของความเสี่ยงในราคาน้ำมันโดยใช้ดัชนีย่อยของความเสี่ยงทางการเมืองจาก 10 อันดับต้นของประเทศผู้ผลิตน้ำมันลบด้วยของ US

 

ความเปลี่ยนแปลงของระดับราคา US ดอลล่าร์พบว่าสำคัญมากที่สุดเชื่อถือได้ 36% ตามด้วยอัตราแลกเปลี่ยน 18%

 

ทองคำในฐานะเครื่องป้องกันความเสี่ยงสำหรับนักลงทุนที่ไม่ใช่ของ US

 

Levin และ Wright แสดงกราฟสำหรับผู้ซื้อและผู้ผลิตหลักของทองคำซึ่งแสดงหรือ ไม่ก็ตาม ทองคำได้เป็นเครื่องป้องกันเงินเฟ้อที่ดี ตัวอย่างกราฟด้านล่างแสดงทองคำอินเดียมีผลดีมากในการป้องกันเงินเฟ้อใน 30 ปีที่ผ่านมา

 

steinitzgold2.png

 

ราคาทองคำในปี 1976 อยู่ราวๆ 1100 รูปี ตั้งแต่นั้นราคาได้ขึ้นมาประมาณ 10 ครั้ง แนวป้องกันเงินเฟ้อขณะนี้ต้องมีมูลค่าประมาณ 11000 รูปี แต่ยังไงก็ตาม ทองคำขึ้นไปเกิน 20000 รูปี ในปี 2005 และเพิ่มมากกว่าราคาเงินเฟ้อเสมอ

กราฟหลายตัวแสดงให้เห็นว่าทองคำมีผลดีในการป้องกันเงินเฟ้อในหลายประเทศ รวมทั้งจีน และ ซาอุดิอารเบีย เช่นเดียวกับ ประเทศที่ประสบกับเงินเฟ้อสูงมากเช่นตุรกีและอินโดนีเซีย แต่กระนั้นก็ตาม บางประเทศอย่างเช่นออสเตรเลีย และญี่ปุ่น กลับไม่มีผลอะไร

 

แทนที่จะเป็นทองคำ นักลงทุนอินเดียได้ซื้อสินทรัพย์ในรูปดอลล่าร์ ซึ่งคงพอใจกับการขึ้นเช่นกันกับทองคำแต่ผลตอบแทนเพิ่มเติมในรูปดอกเบี้ยและขจัดความเสี่ยงในราคาทองคำไป อย่างไรก็ดีนักลงทุนเสียประโยชน์จากการสวมจิวเวลรี่ ผู้เขียนสรุปว่า อาจมองได้ว่า ดอกเบี้ยของดอลล่าร์ดีกว่าที่ทองคำให้ ยังไม่มีการคาดการณ์การลดลงของค่าเงินดอลล่าร์เมื่อเทียบกับรูปี อย่างไรก็ดี ส่วนถัดไปจะให้เหตุผลถึงการลดค่าเงินดอลล่าร์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และนั่นเป็นเหตุที่นักลงทุนอินเดียจะอยากถือทองคำมากกว่า

 

การลดค่าเงินดอลล่าร์

ผู้เขียนอ้างถึงความเห็นของนักวิเคราะห์ที่มีมากขึ้นว่าการลดค่าเงินดอลล่าร์มีโอกาสเกิด บางส่วนเพราะการเพิ่มขึ้นอย่างมากของทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของจีน และบางส่วนเพราะการขาดดุลบัญชีอย่างมากอยู่แล้วของอเมริกาซึ่งดูจะแย่ลงอีก (พวกเขาอ้างถึงรายงานของ OECD ซึ่งให้ 5 เหตุผลของการความคาดการขาดดุลบัญชีที่แย่ลงและ 14 การประเมินราคา ช่วง 12-90% ของการลดค่าเงินดอลล่าร์นั้นจำเป็นต่อการคืนความสมดุลย์)

 

ในรายงาน ผู้เขียนไม่ได้อธิบายถึงความนุ่มนวลหรือความแข็งกระด้างของการลงของดอลล่าร์และขอบเขตของการลดค่า พวกเขากล่าวว่ามันเพียงพอที่จะพูดได้ว่าดีกรีที่มีนัยสำคัญต่อการลดค่าจะทำให้เกิดผลกระทบที่ใหญ่และกว้างต่อสินทรัพย์ทางการเงินรวมทั้งทองคำ

 

ในกรณีนี้ พวกเขาอ้างว่า ผู้ถือครองสินทรัพย์ US จะทำกำไรจากการถือทองคำจากเหตุผลที่กล่าวข้างต้น

* การลดค่าเงินดอลล่าร์จะทำให้ราคาทองคำถูกลงสำหรับนักลงทุนนอก US ซึ่งจะเพิ่มความต้องการทองคำและดังนั้นราคาทองคำในหน่วย US ดอลล่าร์จะเพิ่ม

* การลดค่าเงินดอลล่าร์จะเพิ่มเงินเฟ้อของ US ทองคำจะแสดงบทเป็นเครื่องป้องกันเงินเฟ้อ

 

มีการศึกษาทางสถิติมากมายในปัจจัยที่กำหนดราคาทองคำ Lewin และ Wright แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม: ปัจจัยเศรษฐกิจมหภาค, ปัจจัยการเก็งกำไรและการเคลื่อนของราคาอย่างมีเหตุผลทั้งระยะสั้นและระยะยาว และปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองและการเงินโดยมองทองคำเป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยง

 

แปลจาก: http://www.resourceinvestor.com/pebble.asp?relid=21333

 

{moscomment}

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...