Jocho 246 Report post Posted January 8, 2016 สภาพคล่อง ( การรับซื้อคืน ) ยังเหมือนเดิมมั้ยครับ Quote Share this post Link to post Share on other sites
ส้มโอมือ 4,910 Report post Posted July 3, 2016 วันที่30/06/16ผมโพสsilver ช่วงนี้ราคาดูน่าสนใจ ณเวลาที่ผมโพสราคาsilver อยู่ที่18.36 ตอนนี้19.76เหรียญ/ออนซ์ นำข้อมูลการใช้SILVERใน โซลาร์เซลล์ มาฝากเพื่อนๆครับ --solar panel 1 ชิ้นจะใช้โลหะเงินประมาณ 15 - 20 grams ---ใน การผลิตไฟฟ้า 1 gigawatt หรือ 1 ล้าน กิโลวัตต์ ต้องใช้โลหะเงิน ~ 80 ตัน (1) 1 gigawattมากน้อยแค่ไหน ประเทศไทยช่วงที่พีคสุดทั้งประเทศใช้ไฟประมาณ30 gigawatt ---ค่าไฟ โรงไฟฟ้าคิดเป็น หน่วยไฟฟ้า ซึ่ง 1 หน่วย เท่ากับ 1 kWh (1000 วัตต์ ต่อ ชั่วโมง) หมายถึง เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟ 1000 วัตต์ใช้ 1 ชั่วโมง เท่ากับ 1 หน่วย ---เครื่อง ปรับอากาศตามบ้าน จะกินไฟราว 1000-2000 วัตต์ แล้วแต่จำนวนความเย็นที่จะทำได้ หน่วยความเย็นเป็น btu (ยิ่งมาก ก็เย็นเร็ว) หากมากก็กินไฟมากตาม ค่ากระแสไฟฟ้าที่ โรงไฟฟ้าคิด (อัตตราค่าไฟ เปลี่ยนแปลงตามจำนวนการใช้ด้วย) โดยจะอยู่ ประมาณ 2.50-4.00 บาท ต่อหน่วย ---จากรายงานเรื่อง “Revolution Now” โดย กรมพลังงาน สหรัฐอเมริกา (กันยายน 2556) ได้รายงานว่า “ในปี 2555 ต้นทุนแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาได้ลดลงเหลือเพียง 1% ของเมื่อ 35 ปีก่อน และนับจากปี 2551 ได้มีผู้ติดแผงโซลาร์เซลล์เพิ่มขึ้นประมาณ 10 เท่าตัว คือจาก 735 เมกะวัตต์ เป็น7,200 เมกะวัตต์และในช่วงเวลาเดียวกันต้นทุนแผงได้ลดลงจาก $3.40 ต่อวัตต์ เป็น $0.80 ต่อวัตต์” ----จากการศึกษาของสถาบันเพื่อการพึ่งตนเองของท้อง ถิ่น (Institute for Local Self-Reliance, www.ilsr.org) พบว่า ภายในปี 2021 จำนวนประชากรอเมริกันประมาณ 100 ล้านคนจะสามารถผลิตไฟฟ้าจากหลังคาบ้านตนเองในราคาที่ถูกกว่าราคาที่ต้องซื้อ จากบริษัทผลิตไฟฟ้า เป็นจำนวนประมาณ 6 หมื่นเมกะวัตต์(2) 6 หมื่นเมกะวัตต์ - 7,200 เมกะวัตต์ = 5.28หมื่นเมกะวัตต์ 1 gigawatt (1 * 109วัตต์) ใช้โลหะเงิน ~ 80 ตัน 5.28หมื่นเมกะวัตต์(52.8 * 109วัตต์)ใช้โลหะเงิน 4,224ตัน(ช่วงนี้ทั้งโลกผลิตโลหะเงินใหม่ได้ประมาณ3หมื่นตันต่อปี) ----ในต้นปี 2557 การใช้แผงโซลาร์เซลล์ที่ต่อกับระบบสายส่งในอินเดียได้เพิ่มขึ้นเป็น2,028 เมกกะวัตต์ จาก 17.8 เมกะวัตต์เมื่อ 4 ปีก่อน หรือเพิ่มขึ้น 124 เท่าตัว(3) 2,028เมกกะวัตต์ - 17.8 เมกะวัตต์ = 2010.2เมกะวัตต์ 2010.2เมกะวัตต์(2.0102 gigawatt) ใช้โลหะเงิน 2.0102*80ตัน 160.816ตัน ----ข่าวปี2012 แอลโซลาร์ 1 ใช้งบลงทุนกว่า 800 ล้านบาท ผุดโปรเจ็กต์ “โซลาร์ฟาร์ม” ที่ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ ประเดิมเฟสแรกกำลังผลิต 8 เมกะวัตต์ ขึ้นแท่นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่สุดในประเทศไทยที่เริ่มผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าไฟให้ กฟภ. แล้ว(4) 1 gigawatt (1,000) ใช้โลหะเงิน ~ 80 ตัน(80,000กิโลกรัม) 8 เมกะวัตต์ ใช้โลหะเงิน 640กิโลกรัม ตอนนี้กิโลกรัมประมาณ22,300*640 เป็นเงิน 14.27ล้าน เงินลงทุนโครงการ800ล้าน(เป็นการซื้อที่ดินใหม่มั้ยไม่มีข้อมูล) เป็นค่าโลหะเงิน 14.27ล้าน(เท่ากับ1.78%ของเงินลงทุน ถ้าราคาโลหะเงินเพิ่มขึ้นเป็น3เท่าของปัจจุบัน ราคาแผงโซลาร์เซลล์มีต้นทุนเพิ่มขึ้นเพราะโลหะเงิน3.56%ของเงินโครงการ(ถ้าผู้ขายแผง+ราคาแผงเพิ่มเท่าราคาโลหะเงินที่เพิ่มขึ้น) ---ข่าว6 November 2015 รัฐบาลจะมีโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้เปิดรับซื้อไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติด ตั้งบนพื้นดิน สำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์ภาคการเกษตร จำนวน 800 เมกะวัตต์ ปัจจุบันไทยมีผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์ประมาณ 4-5 ราย กำลังผลิตรวมประมาณ 300 เมกะวัตต์ และสามารถเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นไปถึง 500 เมกะวัตต์แต่เนื่องจากภาครัฐไม่มีนโยบายการสนับสนุนใช้สินค้าภายในประเทศ ทำให้แผงโซลาร์เซลล์ราคาถูกจากต่างประเทศเข้ามาตีตลาดเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถอยู่รอดได้ เห็นได้จากบริษัทเองต้องดิ้นหาตลาดใหม่ โดยหันส่งออกไปประเทศสหรัฐอเมริกาแทนปีละ 100 เมกะวัตต์(5) ส่วนเรื่องการใช้silverกับรถระบบไฮบริดและระบบไฟฟ้า แค่เคยอ่านเจอว่ามีการใช้โลหะเงินในอุปกรณ์บางชิ้นส่วน แต่มีการใช้โลหะเงินจริงมั้ยและใช้เยอะหรือเปล่าต่อคันยังหาข้อมูลไม่ได้ครับ แนวโน้มข้างหน้า10-20ปี หลายๆประเทศจะเป็นรถที่ไม่ใช้น้ำมันกันแล้ว ปัจจุบันทั่วโลกมีรถยนต์รวมกันประมาณ 1,000ล้านคัน ยอดผลิตรถยนต์ใหม่ต่อปีประมาณ80 ล้านคัน (1) http://www.usfunds.com/investor-library/frank-talk/solar-shines-on-silver-demand/#.V3bmHjUf6J5 (2) http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9570000114433'>http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9570000114433 (3) http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9570000120331 (4) http://www.iurban.in.th/greenery/l-solar-the-bigest-solar-farm-in-thailand/ (5)http://www.thansettakij.com/2015/11/06/16983 1 Quote Share this post Link to post Share on other sites
ch. 0 Report post Posted July 3, 2016 ผมซื้อเม็ดเงินไว้ตั้งแต่ปี2554 ที่ประมาณ 37$ ผ่านมา5ปี ราคาเหลือ 19.76$ คงรออีกนาน 1 Quote Share this post Link to post Share on other sites
ส้มโอมือ 4,910 Report post Posted July 4, 2016 ที่เคยฟังมา ฝ่ายที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินบอกว่าต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินถูกสุด ถ้าข้อมูลข่าวนี้จริงและดำเนินการได้จริง ถ้าแผงโซลาร์เซลล์ในปัจจุบันยังต้องใช้โลหะเงินเหมือนที่ผ่านมา ราคาโลหะเงินจะไปที่ราคาไหน เมื่อดูไบและเยอรมนีประมูลไฟฟ้าจากโซลาร์ฟาร์มได้ราคาต่ำกว่าผลิตจากถ่านหิน โดย ประสาท มีแต้ม 3 กรกฎาคม 2559 14:56 น. ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อแหละครับว่า โลกเรานี้เปลี่ยนเร็วมากจริงๆ แม้ตัวผมเองซึ่งได้ติดตามนโยบายพลังงานหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งของประเทศเยอรมนี ยังได้ตกข่าวนี้เลยครับ โชคดีที่มีเพื่อนคนหนึ่งในเฟซบุ๊กได้โพสต์ขึ้นมา ผมจึงค้นคว้าเพิ่มเติมและขอนำมาเล่าสู่กันฟังพร้อมเอกสารอ้างอิง ที่ว่าโลกเราเปลี่ยนเร็วมากก็เพราะว่า รัฐบาลประเทศเยอรมนีซึ่งได้สนับสนุนพลังงานหมุนเวียนอย่างจริงจังมาตั้งแต่ ปี 2543 โดยวิธีการรับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์ฟาร์มในราคากลางปี 2558 ที่อัตรา 3.40 บาทต่อหน่วยโดยไม่จำกัดจำนวน (ในขณะที่ประเทศไทยเรารับซื้อจากโซลาร์ฟาร์มในราคา 5.66 บาทและจำกัดอยู่กับบางบริษัท ในราคานี้มาตั้งแต่ปี 2557และไม่ยอมรับซื้อจากหลังคาบ้านของอยู่อาศัย) มาวันนี้ประเทศเยอรมนีได้ปรับมาเป็นการประมูลแล้ว นับถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2559 ได้ประมูลมา 4 ครั้งแล้ว (ดังแผ่นภาพ) ผู้ชนะการประมูลในครั้งที่ 4 ขนาด 128 เมกะวัตต์ได้เสนอราคาต่ำสุดเฉลี่ยที่ 2.90 บาทต่อหน่วยไฟฟ้า ที่ว่าผมตกข่าวก็ตรงเรื่องการประมูลนี้แหละครับ และเป็นการประมูลครั้งที่ 4 แล้ว ในขณะที่เพื่อนผมได้โพสต์การประมูลครั้งที่ 3 เอกสารที่ผมนำมาอ้างถึงเป็นขององค์กรระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) โดยมีหน่วยงานย่อยที่ชื่อ “องค์การพลังงานสากล (IEA)” ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2517 ซึ่งเป็นปีที่ราคาน้ำมันดิบของกลุ่มประเทศโอเปกได้ขึ้นราคาไป 3-4 เท่าตัวในเวลาปีเดียว ไม่เพียงแต่ประเทศเยอรมนีประเทศเดียวที่ใช้วิธีการประมูล แต่มีหลายประเทศครับ เช่น กรีซ อินเดีย อาร์เจนตินา และออสเตรเลีย เป็นต้น ในแผ่นภาพนี้ เมืองดูไบก็ใช้วิธีการประมูลขนาด 800 เมกะวัตต์ ผู้ชนะการประมูลเสนอราคา 1.05 บาทต่อหน่วยซึ่งถือว่าเป็นราคาต่ำที่สุดในโลก ผู้เสนอราคาสูงสุดในการประมูลครั้งนี้เท่ากับ 1.58 บาทต่อหน่วยซึ่งก็แพ้ไปตามระเบียบ (IEA อ้างข้อมูลจาก PV Magazine 2 พ.ค. 2559) เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้มีเวลาครุ่นคิด ท่านลองเอาใบเสร็จค่าไฟฟ้ามาดูซิครับว่า ท่านได้จ่ายค่าไฟฟ้าอยู่ในราคาเท่าใด และเพื่อให้เราได้เห็นแนวโน้มของราคา ผมขอย้อนไปดูราคาผู้ชนะการประมูลของประเทศเยอรมนี 3 ครั้งที่ผ่านมา การประมูลครั้งที่ 3 เมื่อกลางเดือนธันวาคม 2558 ขนาด 200 เมกะวัตต์ ผู้ชนะการประมูลเสนอขายไฟฟ้าราคา 3.03 บาทต่อหน่วย สูงกว่าครั้งที่ 4 ถึง 13 สตางค์ต่อหน่วย โดยมีผู้เข้าประมูล 170 บริษัท สำหรับครั้งที่ 2 เมื่อเดือนสิงหาคม มีผู้เข้าประมูล 136 ราย ผู้ชนะการประมูลเสนอราคาขายไฟฟ้า 2.98 บาทต่อหน่วย (ต่ำกว่าครั้งที่ 3) ท่านผู้อ่านอาจจะสงสัยว่า ทำไมราคาในเมืองดูไบ (เมืองใหญ่ที่สุดของ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตะวันออกกลาง) กับราคาในประเทศเยอรมนีจึงได้แตกต่างกันมากนัก คือเกือบ 3 เท่าตัว คำตอบที่สำคัญก็คือ พลังงานแสงแดดต่อพื้นที่หนึ่งตารางเมตรของสองประเทศต่างกันมาก กล่าวคือในขณะที่ค่าเฉลี่ยของประเทศเยอรมนีผลิตได้ 850 หน่วยต่อหนึ่งกิโลวัตต์ (ใช้พื้นที่ประมาณ 7 ตารางเมตร) เมืองดูไบสามารถผลิตได้ถึงประมาณ 2,500 หน่วยโดยใช้พื้นที่เท่ากัน (ดังแผนที่ประกอบ) คราวนี้เราลองมาพิจารณากรณีของประเทศไทยกันบ้าง สมมติว่าต้นทุนในการผลิตต่อโครงการของประเทศไทยกับของเมืองดูไบเท่ากัน (สมมตินะครับสมมติ) โดยการเทียบบัญญัติไตรยางศ์ก็พบว่า ผู้ชนะการประมูลในเมืองดูไบน่าจะเสนอราคาในประเทศไทยได้ที่ 1.75 บาทต่อหน่วย เนื่องจากพลังแสงแดดในประเทศไทยต่ำกว่าเมืองดูไบค่อนข้างมาก ผมเชื่อว่าข้อมูลที่ผมได้นำเสนอมานี้ คงจะช็อกความรู้สึกของใครหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ถ้ามองกันในแง่ดีๆ ก็เพราะว่าคนเหล่านั้นตามโลกไม่ทันนั่นเอง มัวแต่ยุ่งอยู่กับการบริหารงานเอกสารจนหมดเวลา อ้อ ผมลืมบอกไปนิดหนึ่งว่า การประมูลของประเทศเยอรมนีที่ผ่านมา ผู้ประมูลได้จะต้องผลิตไฟฟ้าเข้าสู่ระบบภายในปี 2561 ครับ (ถ้าจำไม่ผิด) โดยต้องมีการวางเงินมัดจำเรียบร้อย ระหว่างที่ผมเขียนบทความนี้ เพื่อนคนเดิมได้ส่งข้อความมาถึงผมเป็นการส่วนตัวว่า “บางบริษัทที่ชนะการประมูลไปแล้ว ก็ไม่สามารถปฏิบัติได้จริง ดังนั้น รัฐบาลเยอรมนีจึงต้องมีความระมัดระวังในเรื่องนี้ด้วย” อย่างไรก็ตาม เท่าที่ผมได้ติดตามพบว่า ประเทศเยอรมนีกำลังศึกษาวิธีการและมาตรการดังกล่าวอยู่ ซึ่งอาจจะอยู่ในขั้นการทดลอง ก็อย่างที่ว่าแหละครับ การประมูลมันเป็นของใหม่ของประเทศเขาเหมือนกัน ผมเองก็ใช่ว่าจะเชื่ออะไรง่ายๆ แต่ผมมีข้อมูลให้ตรวจสอบได้ทั้งจากเอกสาร และจากการสอบถามจากผู้ที่ได้ติดตั้งแล้ว ผมลองคิดให้ต่ำๆ หน่อย คือ สมมติว่าติดตั้งในประเทศไทยขนาด 10 กิโลวัตต์ ลงทุนทั้งหมด 6 แสนบาท (ความจริงไม่ควรเกิน 5 แสนบาท) ผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 13,500 หน่วย ในช่วงเวลา 20 ปี (แทนที่จะเป็น15,000 หน่วย และนาน 25 ปีตามที่อ้างกัน) รวมทั้งโครงการสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 270,000 หน่วย ดังนั้น ต้นทุนเฉลี่ยตลอดโครงการ 2.22 บาทต่อหน่วยเท่านั้น ถ้านำเงินลงทุน 2.22 บาทไปฝากธนาคารด้วยอัตราดอกเบี้ยทบต้น 2.0% ต่อปี เมื่อครบ 20 ปี ก็จะได้เงินรวม 3.30 บาท ต่ำกว่าค่าไฟฟ้าที่เราจ่ายในปีนี้เสียอีก สิ่งที่ผมพยายามจะบอกก็คือ การติดโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เองให้ผลตอบแทนสูงกว่านำเงินไปฝากธนาคาร หรือเปลี่ยนหลังคาบ้านเป็นธนาคาร คราวนี้มาดูราคารับซื้อไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กันบ้าง จากข้อมูลล่าสุด ทาง กฟผ.รับซื้อจากเอกชนที่ผลิตจากถ่านหินในราคา 2.69 บาทต่อหน่วย (ซึ่งน่าจะมีแนวโน้มที่สูงขึ้นกว่านี้อีกในอนาคต) และรับซื้อจากโซลาร์ฟาร์ม (แสงอาทิตย์ขนาดใหญ่) ที่ 5.66 บาทต่อหน่วยจนถึง 6.85 บาทต่อหน่วย (สำหรับผู้ผลิตจากหลังคา) ขณะนี้ ประเทศไทยกำลังจะก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินจำนวน 3 โรง ซึ่งจะเข้าสู่ระบบในปี 2562, 2565 และ 2567 รวม 3 พันเมกะวัตต์ ด้วยเหตุผลสำคัญ 2 ประการที่นำมาอ้าง คือ (1) ต้นทุนราคาไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าถ่านหินมีราคาถูก แต่ผมมีหลักฐานมาจากทั่วโลกแล้วว่าไม่เป็นความจริงเลย นอกจากนี้ ประเทศไทยเราไม่มีถ่านหิน ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ (2) เป็นโรงไฟฟ้าหลัก หรือ Base Load ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมงใน 7 วันได้ ในเรื่องนี้ ผมเองในฐานะนักคณิตศาสตร์ ไม่มีความรู้ทางวิศวกรรม ผมก็เชื่อตามที่เขาอ้างมาตลอด มาวันนี้ ผมมีเอกสารวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับโลก ทั้งการปฏิบัติจริงของบางรัฐในบางประเทศ ทั้งจากการใช้คอมพิวเตอร์จำลองสถานการณ์(Computer Simulation) รวมทั้งจากการฟังคำบรรยายผู้เชี่ยวจากประเทศเดนมาร์กเมื่อเร็วๆ นี้พบว่าไม่เป็นความจริงอีกเช่นกันครับ แนวคิดที่ต้องมี Base Load เป็นกระบวนทรรศน์เก่า ยังเป็นกระบวนทรรศน์ในยุค “เครื่องจักรไอน้ำ” ที่ใช้หลักการของ “ฟิสิกส์แบบดั้งเดิม” เมื่อ 200 ปีก่อนทำให้พลังงานร้อยละ 65% ของพลังงานที่ป้อนเข้าไปกลายเป็นความร้อน ได้ไฟฟ้าเพียง 35% เท่านั้น แม้จะมีการปรับปรุงไปบ้าง แต่ก็ถือเป็นยุคเก่าเหมือนเดิม มาวันนี้ เป็นยุค “ธุรกิจไฮเทค (Silicon Valley)” ซึ่งเป็นยุคของ “ฟิสิกส์แบบควอนตัม” ที่อิเล็กตรอนนับล้านๆ ตัวทำงานแทนเกียร์และลูกสูบได้อย่างรวดเร็วมากๆ ได้พลังงานจากแสงอาทิตย์โดยไม่ต้องซื้อ ไม่ต้องใช้ไอน้ำ ไม่ปล่อยอากาศเสีย รวมทั้งไม่ปล่อยน้ำเสีย ในขณะที่เกิดการสูญเสียพลังงานประมาณ 9% เท่านั้น “ฟิสิกส์แบบควอนตัม” นี่แหละครับที่ทำให้เรามีโทรศัพท์มือถือใช้ในราคาถูกและประสิทธิภาพสูงมาก จนแยกไม่ออกว่าเป็นโทรทัศน์ โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ หรือกล้องถ่ายรูป ฯลฯ ในยุคไฮเทคที่ทำให้พลังงานหมุนเวียนที่เคยถูกละเลย ได้เพิ่มบทบาทมากขึ้นอย่างรวดเร็วและเป็นจำนวนมาก มากกว่าพลังงานฟอสซิลเสียอีกแนวคิดเรื่อง Base Load จึงเป็นแนวคิดที่ล้าหลัง ตกยุค แต่วันนี้ผมยังไม่ขอลงในรายละเอียดนะครับ สรุป เมื่อประมาณ 15 ปีก่อน ตอนนั้นผมยังทำงานราชการเต็มเวลากินเงินเดือนประชาชน ชาวบ้านคนหนึ่งได้บอกกับผมว่า “อาจารย์อย่าเอาแต่นอน ช่วยหาความรู้มาให้พวกฉัน แล้วพวกฉันจะคิดเอง” มาถึงวันนี้ ผมเกษียณราชการแล้ว กินเงินเดือนบำนาญ แม้การเขียนบทความจะไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ แต่ผมยังรู้สึกเป็นหนี้สังคมไทยยังจำคำเตือนที่มีค่าของชาวบ้านได้ดี ผมจึงใช้เวลาส่วนใหญ่ของผมเพื่อค้นหาความรู้มาบอกเล่าให้กับสังคมไทยอย่าง ต่อเนื่องและยาวนาน ถ้าเรื่องที่ผมได้นำเสนอมาแล้วยังยากต่อการทำความเข้าใจ กรุณาเปรียบเทียบกับเรื่องที่ง่ายกว่านี้ คือราคาเอทานอล ในขณะที่ราคาในสหรัฐอเมริกาและบราซิลประมาณ 11 ถึง 14 บาทต่อลิตร แต่ราคาที่คนไทยต้องจ่าย (ซึ่งผลิตในประเทศไทย) สูงถึง 23 บาทต่อลิตร (ดูภาพประกอบ) ทำไมมันจึงเป็นเช่นนี้ ขอท่านผู้อ่านโปรดพิจารณา หรือ “คิดเอง” ว่าปัญหาด้านพลังงานซึ่งมีมูลค่าถึง 18-19% ของจีดีพีประเทศไทยเราเป็นอย่างไร และจะมีทางออกอย่างไร ถ้าเห็นด้วยก็กรุณาช่วยกันเผยแพร่ และกรุณาร่วมกันครุ่นคิดเพื่อหาทางออกให้ลูกหลานครับ 1 Quote Share this post Link to post Share on other sites
thoney87 92 Report post Posted July 4, 2016 ขอบคุณครับ คุณส้มโอมือ นำความรู้และข้อมูลมาแบ่งปัน ให้คนไม่รู้ได้รู้เพิ่มขึ้น 1 Quote Share this post Link to post Share on other sites
imf39 0 Report post Posted February 17, 2018 ขอบคุณที่นำความรู้และข้อมูลมาแบ่งปันกันคะ Quote Share this post Link to post Share on other sites
tunluck 37 Report post Posted April 30, 2018 2018 แล้ว ขายเงินทิ้งกันไปหมดยังครับ T T Quote Share this post Link to post Share on other sites
thoney87 92 Report post Posted July 31, 2018 ไม่ได้เข้ามาอ่านนานมากแล้ว ทุกคนสบายดีกันน่ะครับ Quote Share this post Link to post Share on other sites
ส้มโอมือ 4,910 Report post Posted February 4, 2019 การลงทุนครั้งที่ขาดทุนมากที่สุดในชีวิตของผม ---การลงทุนครั้งที่ขาดทุนมากที่สุดของผมคือการลงทุนในโลหะเงิน ช่วงที่ผมกำลังลงทุนทองคำแบบมีกำไรสะสมมาเรื่อยๆนั้น ----เริ่มมีการพูดถึงโลหะเงิน ราคาโลหะเงินเริ่มออกตัวเเรง พุ่งไว พุ่งแรง ----มีคนเอาข้อมูลโลหะเงินมาเผยแพร่ อ่านแล้วตื่นตาตื่นใจกว่าทองมากมาย ----ทองมีช่วงราคาพุ่งแรงแบบทุกคนต้องอิจฉาอยู่2ครั้ง ครั้งแรกเมื่อ40กว่าปีก่อนทองไปถึง850เหรียญก่อนทองโดนทุบหนัก(โลหะเงินไปถึง50 เหรียญ) -----ตอนทึ่ผมเริ่มศึกษาเรื่องโลหะเงิน โลหะเงินอยู่ที่32เหรียญ(รอบนี้ไปถึงประมาณ49แล้วก็โดนฆ้อนปอนด์หลายอันช่วยกันทุบ ในเวลาไม่กี่วันออกกฏเพิ่มเงินสำรองสำหรับการซื้อขายโลหะเงินหลายรอบมาก ราคาโลหะเงินย่อยยับมาถึงวันนี้) แต่ทองข้ามเส้น850เหรียญไปไกลมาก น่าจะอยู่ประมาณ1500เหรียญ ความโลภเริ่มเกิดทันที -----มีคนเคยบอกว่าจะลงทุนในหุ้นตัวไหน ต้องตอบทุกย่างเกี่ยวกับหุ้นตัวนั้นได้เกิน90%(จำตัวเลขไม่ได้ น่าจะประมาณนี้) -----ผมหาข้อมูลมาเก็บไว้เยอะมาก ทุกอย่างไปทิศเดียวกัน(ข้อมูลอาจมาจากจุดเดียวกันแล้วกระจายไป หลายทิศหลายทาง ผมค้นหลายทางก็ได้ข้อมูลเดียวกัน) พูดกันว่าโลหะเงินที่ขายกันตอนนี้ ราคาถูกกว่าต้นทุนมากมาย เจอผู้รู้ที่เก่งเรื่องทองคำก็จะสอบถามถึงโลหะเงินได้คำตอบว่า ตัวนี้น่าสนใจและมีอนาคต คนที่เก่งTAก็บอกว่าจากกราฟราคาไปสวยมากๆ ----คำถามสำคัญสุดคือทำไมโลหะเงินถึงยังไม่ขึ้น ----คำตอบจากทุกทิศเหมือนกันเลย ศัตรูของทองคำและโลหะเงินคือดอลลลาร์และอเมริกา พวกเขากดโลหะเงิน ----ในตลาดซื้อขายตราสารอนุพันธ์ล่วงหน้า สัญญาแทงว่าโลหะเงินจะลงมีจำนวนมหาศาล คน จำนวนมากพูดว่าถ้าถึงวันหมดสัญญา แล้วลูกค้าฝั่งซื้อเลือกรับเป็นของจริงกันเยอะมากๆ พังๆแน่ ราคาโลหะเงินจะขึ้นแรง ----คนที่ซื้อสัญญาว่าโลหะเงินจะลง ส่วนมากคือพวกธนาคาร(ลูกน้องอเมริกาแบะดอลลาร์) คนที่ซื้อสัญญาว่าโลหะเงินจะลงมากสุดและก้อนมหาศาลมากคือ เลย์แมนบาร์เธอร์ ----ช่วงที่เลย์แมนล้ม มีธนาคาร มารับช่วงสัญญาโลหะไป มีบางคนบอกว่าถ้าหาคนมารับช่วงไม่ได้ ราคาจะทะยานขึ้นเป็น100% ในช่วงเวลาแค่ข้ามคืน ------------------------------------- ความจริงที่ผมมาเจอทีหลังและไม่มีคนพูดถึง 1)40กว่าปีก่อนที่โลหะเงินขึ้นไปแรงนั้น ไม่ใช่การขึ้นโดยธรรมชาติเหมือนทอง มีคนปั่นราคาเงิน ----ทอง มีกฏหมายห้ามการปั่นทอง แต่ทองก็ยังขึ้นไปถึง850เหรียญ ----พี่น้องตระกูลฮันซ์ซึ่งรวยมากๆ อยากปั่นราคาทองแต่ผิดกฎหมาย แต่ไม่มีกฎหมายห้ามปั่นราคาโลหะเงิน 2คนพี่น้องเลยปั่นราคาโลหะเงินอย่างหนัก .สร้างกำไรมหาศาล แต่สุดท้าย2พี่น้องก็พ่ายแพ้แบบหมดเนื้อหมดตัว) 1 Quote Share this post Link to post Share on other sites
ส้มโอมือ 4,910 Report post Posted February 6, 2019 สรุปการขึ้นของโลหะเงินในครั้งแรกนั้น ไม่ได้ขึ้นเพราะเป็นโลหะเงิน แต่ขึ้นที่มีมหาเศรษฐีใหญ่มาปั่นครับ 1 Quote Share this post Link to post Share on other sites
tunluck 37 Report post Posted August 16, 2019 ทองไปถึงไหนแล้ว เงินแทบไม่ขยับเลย เศร้า Quote Share this post Link to post Share on other sites
Vcan 0 Report post Posted July 17, 2020 กระแสการพิมพ์เงินเพิ่ม อัดฉีดเศรษฐกิจ ของทุกๆประเทศ กดดันทำให้ราคาโลหะเพิ่มขึ้น อย่างราคาโลหะเงิน มีวิเคราะห์ว่าจะดีดตัวไปถึง $25 ต่อ oz (ปัจจุบันอยู่ที่ 19.xx) ไม่แน่ ในอีกไม่นานกระทู้นี้ก็อาจจะกลับมาคึกคักเหมือนเดิมก็เป็นได้ Quote Share this post Link to post Share on other sites
Vcan 0 Report post Posted July 28, 2020 ผ่านไป 8 วัน ถึงแล้ว 25 Quote Share this post Link to post Share on other sites
tunluck 37 Report post Posted August 7, 2020 (edited) 2-3 วันนี้ ราคาเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ราคาเงินเม็ดในวันที่ 07 Aug 2563 11:45 น. ขายออกบาทละ 434 บาท (กิโลกรัมละ 28470 บาท) รับซื้อบาทละ 404 บาท (กิโลกรัมละ 26502 บาท) ราคาเงินเม็ดในวันที่ 06 Aug 2563 10:40 น. ขายออกบาทละ 411 บาท (กิโลกรัมละ 26961 บาท) รับซื้อบาทละ 381 บาท (กิโลกรัมละ 24993 บาท) ราคาเงินเม็ดในวันที่ 05 Aug 2563 10:45 น. ขายออกบาทละ 393 บาท (กิโลกรัมละ 25780 บาท) รับซื้อบาทละ 363 บาท (กิโลกรัมละ 23812 บาท) Edited August 7, 2020 by tunluck Quote Share this post Link to post Share on other sites
tunluck 37 Report post Posted February 2, 2021 (edited) Edited February 2, 2021 by tunluck 1 Quote Share this post Link to post Share on other sites