ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
ginger

ใบไม้ผลิบนดวงจันทร์

โพสต์แนะนำ

mahachanok.jpg

ภาพประกอบ พระมหาชนก โดย อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ .

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สุดยอดเลยครับ ขออนุญาติสมัครเป็นขาประจำบล๊อกนี้ด้วยตนนะครับ :Hi

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เรื่องย่อบทพระราชนิพนธ์ พระมหาชนก Fat004.gif

พระมหาชนก พระเจ้าแผ่นดิน ณ เมืองมิถิลาแห่งวิเทหะรัฐ ทรงมีพระโอรสสององค์ คือ พระอริฏฐชนก และ พระโปลชนก เมื่อพระราชบิดาสวรรคต พระอริฏฐชนกผู้เป็นอุปราช ก็ได้ครองบ้านเมืองต่อมา พระโปลชนกทรงเป็นอุปราช ครั้งนั้นยังมีอำมาตย์ออกอุบายให้พระอริฏฐชนกระแวงพระอนุชาว่า พระโปลชนกคิดขบถ พระราชาทรงเชื่ออำมาตย์ จึงให้จับพระโปลชนกไปขังไว้ ด้วยบุญบารมีของพระโปลชนกจึงสามารถเสด็จหนีไปยังชายแดน ผู้คนจำนวนมากพร้อมที่จะเข้าเป็นพวกด้วย

 

เมื่อถึงกาลที่เอื้อ พระโปลชนกก็กองทัพไปตีเมืองมิถิลา บรรดาทหารแห่งเมืองมิถิลาพากันเข้ากับพระโปลชนกอีกเป็นจำนวนมากด้วยเห็นใจที่พระโปลชนกถูกจับไปขังไว้โดยไม่ยุติธรรม

พระพระอริฏฐชนกจึงตรัสสั่งพระมเหสีซึ่งกำลังทรงครรภ์แก่ ให้ทรงหลบหนี เอาตัวรอด ส่วนพระองค์เองทรงออกทำสงคราม และสิ้นพระชนม์ในสนามรบ พระโปลชนกจึงทรงได้เป็นกษัตริย์ ครองเมืองมิถิลาสืบต่อมา ฝ่ายพระมเหสีของพระพระอริฏฐชนก เสด็จหนีไปอยู่เมือง กาลจัมปากะ

 

พระอินทร์จึงเสด็จมาช่วย ทรงแปลงกายเป็นชายชราขับเกวียนมา พาเสด็จไปนั่งพักอยู่ในศาลาแห่งหนึ่งในเมืองนั้น บังเอิญอุทิจจพราหมณ์มหาศาลเดินผ่านมา เกิดความเอ็นดูสงสาร จึงรับพระนางไปอยู่ด้วย อุปการะเลี้ยงดูพระนางเหมือนเป็นน้องสาว ไม่นานนัก พระนางก็ประสูติพระโอรส ทรงตั้งพระนามว่า มหาชนกกุมาร ซึ่งเป็นพระนามของพระอัยกา วันหนึ่ง มหาชนกกุมารชกต่อยกับเพื่อนเล่นเนื่องจากถูกเด็กล้อเลียนว่าเป็นลูกไม่มีพ่อ มหาชนกพยายามสืบความจริง พระมารดาจึงตรัสเล่าเรื่องทั้งหมดให้พระโอรสทราบ ก็ทรงตั้งพระทัยว่าจะได้เสด็จไปเอาราชสมบัติเมืองมิถิลาคืนมา

 

พระมารดาจึงทรงนำเอาทรัพย์สินมีค่ามาจากมิถิลา 3 สิ่ง คือ แก้วมณี แก้วมุกดา และแก้ววิเชียร เพื่อเป็นทุนล่องเรือไปค้าขายที่สุวรรณภูมิ ในระหว่างทางเกิดพายุใหญ่ โหมกระหน่ำ ฝ่ายมหาชนกกุมาร เมื่อทรงทราบว่าเรือจะจมแน่แล้ว ก็เสวยอาหารจนอิ่มหนำ ทรงนำผ้ามาชุบน้ำมันจนชุ่ม แล้วนุ่งผ้านั้นอย่างแน่นหนา ครั้นเมื่อเรือจมลง เหล่าพ่อค้ากลาสี เรือทั้งปวงก็จมน้ำ ส่วนพระมหาชนกทรงแหวกว่าย อยู่ในทะเลถึง 7 วัน นางมณีเมขลา เทพธิดาผู้รักษามหาสมุทร เห็นพระมหาชนก ว่ายน้ำอยู่เช่นนั้น จึงสนทนาแลกเปลี่ยนกัน

 

จนนางมณีเมขลาเข้าใจในปรัชญาของการบำเพ็ญวิริยบารมี นางมณีเมขลาจึงช่วยอุ้มพามหาชนกกุมาร ไปจนถึงฝั่งเมืองมิถิลา ฝ่ายพระโปลชนกไม่มีพระโอรส ทรงมีแต่พระธิดาพระนามว่า สิวลี ในเมื่อไม่ทรงมีพระโอรส พระโปลชนก ตรัสสั่งอมาตย์ว่า ผู้ใดสามารถไขปริศนาขุมทรัพย์ได้ก็ยกบ้านเมืองให้แก่ผู้นั้น ในที่สุดบรรดาเสนาข้าราชบริพารจึงตั้งพิธีเสี่ยงราชรถ ราชรถหยุดอยู่หน้าศาลาที่พระมหาชนกประทับอยู่ ทรงไขปริศนาได้หมด ผู้คนจึงพากันสรรเสริญปัญญาของพระมหาชนก

 

พระองค์ได้ครองวิเทหรัฐด้วยความผาสุกตลอดมาด้วยทรงอยู่ในทศพิธราชธรรม ต่อมาพระนางสิวลีประสูติพระโอรส ทรงนามว่า ทีฆาวุกุมาร เมื่อเจริญวัยขึ้น พระบิดาโปรดให้ดำรงตำแหน่งอุปราช อยู่มาวันหนึ่ง พระราชามหาชนกเสด็จอุทยานทอดพระเนตร เห็นมะม่วงต้นหนึ่งมีผล ต้นหนึ่งไม่มีผล ต้นที่มีผล ผลมีรสชาติอร่อย ตรัสชมแล้วตั้งใจจะเสวยเมื่ออกจากพระราชอุทยาน

 

แต่เมื่ออกมาต้นมีผลก็เสียหายจนหมดเพราะผู้คนพากันโค่นเพื่อเอาผลมะม่วง ส่วนต้นไม่มีผลยังอยู่รอดได้ พระมหาชนกทรงคิดว่า ราชสมบัติ เปรียบเหมือนต้นไม้มีผลอาจถูกทำลาย แม้ไม่ถูกทำลายก็ต้องคอย ระแวดระวังรักษา เกิดความกังวล พระองค์ประสงค์จะทำตนเป็นผู้ไม่มีกังวลเหมือนต้นไม้ไม่มีผล แต่ก็ไม่ทรงทำเช่นนั้นเพราะคิดว่าเป็นหน้าที่ของพระราชาที่จะทำให้สังคมอยู่รอดพ้นก่อน เพราะสังคมยังขาดสติปัญญาเห็นแก่ประโยชน์เฉพาะหน้าจึงทำลายต้นมะม่วงมีผล คิดดังนั้นจึงเห็นควรทำนุบำรงต้นมะม่วงด้วยหลักวิชาการทางการเกษตร และจัดตั้งสถานศึกษาชื่อ ปูทะเลย์มหาวิชชาลัย เพื่อให้คนเป็นคนดีมีสติปัญญา

 

----------------------------------------

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สุดยอดเลยครับ ขออนุญาติสมัครเป็นขาประจำบล๊อกนี้ด้วยตนนะครับ :Hi

 

สวัสดีคับ

 

ขอบคุณที่เป็นเพื่อนกัน ^____________^

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

zagioooooo ^_____^

 

 

ใจ...ใครว่าไม่สำคัญ

 

ใจ...ที่แน่คือใจเดินทางเร็วกว่าแสงและเสียง

 

ใจ...มีอัตตาเร่งไม่จำกัด

 

ใจ...เดินทางได้ไร้มิติ......

 

จึงควรอย่างยิ่ง ที่จะต้องฝึกสำรวม ระวัง....ใจ

 

ใจ...ร้อนพิมพ์พลาดได้ ..

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สงบลงด้วยการให้อภัย

 

abstract-trees-art-2.jpg

 

เมื่อใครคนหนึ่งทำร้ายเรา เราไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่จะลงโทษเขา ถ้าเราเป็นชาวคริสต์ มุสลิม หรือยิว เราน่าจะเชื่อว่าพระผู้เป็นเจ้าจะลงโทษเขาอย่างสาสม.. ถ้าเราเป็นชาวพุทธ ฮินดู หรือซิกห์ เราย่อมเชื่อว่าผู้ที่ทำร้ายเราจะโดนกรรมที่เขาก่อไว้สนองเอง และถ้าคุณเป็นพวกลัทธิสมัยใหม่ประเภทนิยมการบำบัดทางจิต คุณก็เชื่อว่าผู้ที่ทำร้ายคุณจะต้องเข้ารับการบำบัดทางจิตที่แสนจะแพง เป็นเวลาหลายปีด้วยความรู้สึกผิด

 

ดังนั้น ทำไมเราจึงต้องเป็นผู้ ‘ให้บทเรียน’ แก่เขา? หากพิจารณาด้วยปัญญาแล้ว เราก็พบว่า เราไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ลงมือสำเร็จโทษเขา เรายังคงทำหน้าที่ต่อสังคมของเราได้เมื่อเราปล่อยวางความโกรธ และสงบลงด้วยการให้อภัย

 

พระฝรั่งเพื่อนอาตมาสองรูป กำลังมีเรื่องโต้เถียงกัน พระรูปหนึ่งท่านเป็นอดีตนาวิกโยธินอเมริกันที่เคยผ่านการรบแนวหน้าในสงครามเวียดนาม และเคยบาดเจ็บอย่างหนัก ส่วนอีกรูปหนึ่ง ท่านเคยเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จสูง ทำเงินมหาศาลจนสามารถปลดเกษียณตัวเองได้เมื่ออายุเพียงยี่สิบกว่าปี ทั้งสองท่านฉลาด เข้มแข็งและแกร่งสุดๆ

 

พระเราไม่สมควรจะโต้เถียงกัน แต่ท่านก็กำลังทำอยู่... พระไม่สมควรจะดวลหมัดกัน แต่ท่านก็เกือบๆอยู่รอมร่อ... ท่านกำลังถมึงตาใส่กัน จมูกเกือบจะชนจมูก และพ่นความโกรธใส่กัน ขณะที่กำลังเจรจาโต้ตอบกันด้วยถ้อยคำเผ็ดร้อนสุดๆ จู่ๆอดีตนาวิกโยธินก็คุกเข่าลงกราบอย่างงดงามต่อหน้าพระอดีตนักธุรกิจ ผู้ที่กำลังตกใจสุดขีด ท่านแหงนหน้าขึ้นและกล่าวว่า “ผมเสียใจ ให้อภัยผมด้วยเถิด”

 

มันเป็นการกระทำออกมาจากใจที่พิเศษ และหาได้ยาก ซึ่งมักจะเกิดขึ้นเองจากแรงบันดาลใจมากกว่าจะเกิดจากการวางแผน มันเป็นสิ่งที่รับรู้ได้เพราะอยู่ๆมันก็เกิดขึ้นอย่างที่ไม่ทันจะหักห้ามใจหรือต่อต้านได้

 

พระอดีตนักธุรกิจถึงกับน้ำตาซึม...

 

ไม่กี่นาทีต่อมา ผู้คนก็ได้เห็นท่านเดินไปด้วยกันฉันท์เพื่อน... นั่นแหละคือสิ่งที่พระเราสมควรจะกระทำ

 

****************

 

จาก หนังสือ “ชวนม่วนชื่น” ธรรมะบันเทิงหลายเรื่องเล่า

ผู้นิพนธ์: พระอาจารย์พรหม หรือท่านอาจารย์พรหมวงฺโส

ต้นฉบับหนังสือ: Opening The Door of Your Heart

ผู้แปล: ศรีวรา อิสสระ

ผู้ตรวจสอบการแปล: ท่านอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ

 

ขอบพระคุณท่านอาจารย์ ชยสาโร ภิกขุ

และภาพจากอินเตอร์เน็ต

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

เมื่อศิลปินรังสรรค์งาน ด้วยจิตวิญญาณของศิลปิน

 

ตาที่มองเห็นความงดงามของธรรมชาติ

 

ใจที่สัมผัส คุณธรรมความวิริยะ เพียรพยายามของพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่่ง

 

ตลอดเวลา พระองค์ทรงงานเพื่อประชาชน

 

ความยากแค้น โทมนัส กลายเป็น ความหวัง

 

ชีวิตมีความเป็นอยู่ดีขึ้น มีความภูมิใจ

 

สามารถใช้ชีวิตอย่างไม่เบียดเบียนธรรมะชาติและตนเอง

 

ยังแบ่งปัน เกื้อหนุน

 

ทรงพระเจริญ

 

ขอบคุณ คเซนเนีย ซิมอนโนว่า ศิลปิน

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

<p style="text-align: center;"><strong><u>คุณค่าที่แท้จริง</u></strong></p>

<p style="text-align: center;"> </p>

<p style="text-align: center;">“แม้เราจะช่วยเหลือผู้อื่น</p>

<p style="text-align: center;">แต่จงอย่าคาดหวังว่า</p>

<p style="text-align: center;">จะได้รับการขอบคุณกลับในวันหลัง</p>

<p style="text-align: center;"><span style="color:#ff0000;">การทำความดีในจุดที่คนอื่นมองไม่เห็นนี่แหละ</span></p>

<p style="text-align: center;"><span style="color:#ff0000;">ถึงจะเป็นคุณค่าที่แท้จริงของคนคนหนึ่ง</span></p>

<p style="text-align: center;">การทำดี “มันดีอยู่ในตัวแล้วขณะที่ทำ”</p>

<p style="text-align: center;">ส่วนการทำชั่วนั้น “มันก็ชั่วอยู่ในตัวแล้วขณะที่ทำ”</p>

<p style="text-align: center;"> </p>

<p style="text-align: center;"> </p>

<p style="text-align: center;"><strong>ที่มา </strong>: <strong>หนังสืออภิมหามงคลธรรม  หน้า 218  ชมรมเพื่อนชาวพุทธ  </strong></p>

<p style="text-align: center;"> </p>

<p><img src="http://www.thaigold.info/Board/public/style_emoticons/onion/04a97f13.gif" /> ขออนุญาติร่วมด้วยช่วยแบ่งปันนะครับ คุณ ginger <img src="http://www.thaigold.info/Board/public/style_emoticons/onion/ceb85dec.gif" /></p>

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

http://bit.ly/xbC1Rj

 

ธนบัติใหม่

 

สวัสดี อนัตตา

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีครับ ยังมือใหม่หัดโพสต์อยู่ ขอโทษที่ทำให้รกบล๊อกนะครับ :_09

 

(เราแก้ไขที่โพสต์ไปยังไงอ่ะครับ หาปุ่มไม่เจอ แล้วถ้าเราก้อปปี้จากเวิร์ดไม่สามารถ Paste ได้เลยเหรอครับ ต้องใช้ Paste จากการตอบกระทู้อย่างเดียวเหรอครับ)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณค่าที่แท้จริง

 

“แม้เราจะช่วยเหลือผู้อื่น

แต่จงอย่าคาดหวังว่า

จะได้รับการขอบคุณกลับในวันหลัง

การทำความดีในจุดที่คนอื่นมองไม่เห็นนี่แหละ

ถึงจะเป็นคุณค่าที่แท้จริงของคนคนหนึ่ง

การทำดี “มันดีอยู่ในตัวแล้วขณะที่ทำ”

ส่วนการทำชั่วนั้น “มันก็ชั่วอยู่ในตัวแล้วขณะที่ทำ”

 

 

ที่มา : หนังสืออภิมหามงคลธรรม หน้า 218 ชมรมเพื่อนชาวพุทธ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีครับ ยังมือใหม่หัดโพสต์อยู่ ขอโทษที่ทำให้รกบล๊อกนะครับ :_09

 

(เราแก้ไขที่โพสต์ไปยังไงอ่ะครับ หาปุ่มไม่เจอ แล้วถ้าเราก้อปปี้จากเวิร์ดไม่สามารถ Paste ได้เลยเหรอครับ ต้องใช้ Paste จากการตอบกระทู้อย่างเดียวเหรอครับ)

 

โพสที่เราต้องการแก้ไข คลิกซ้าย ตรง แก้ไข

 

 

มุมขวาด้านล่าง รายงาน โปรโมตเป็นข้อความ แก้ไข อ้างถึง(มากกว่า1) อ้างถึง

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นิทานเรื่องยายผู้ไม่ยินดีในวิมาน

 

normal_b001a.JPG

 

 

มีนิทานเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องของยายคนหนึ่งแกทำบุญสร้างโบสถ์ วิหาร สร้างวัด ให้ทานแก่บุคคล ถวายเครื่องอุปโภค บริโภคแด่พระสงฆ์จำนวนมาก มีครั้งหนึ่งเทวดาท่านดลบันดาลให้ยายได้เห็นวิมาน อาหารที่เป็นทิพย์ พร้อมทั้งบริวารที่รอยายอยู่บนสวรรค์ และบอกกับยายว่านี่คือวิมานของยาย นี่คืออาหารของยาย นี่คือบริวารของยาย

 

เมื่อยายตายโลกมนุษย์แล้ว วิมานนี้ อาหารนี้ พร้อมทั้งบริวารเหล่านี้จะเป็นของยาย ด้วยหวังจะให้ยายยินดี แต่ยายกลับไม่ได้รู้สึกยินดีกับวิมาน อาหาร พร้อมทั้งบริวารเหล่านั้นเลย

 

เพราะยายเข้าใจในพระธรรม รู้ซึ้งในพระธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างดี ยายเห็นความ

“ไม่เที่ยง”

ยายเห็นว่าแม้แต่พรหมชั้นสูงสุดที่มีอายุยาวนานถึง ๘๔,๐๐๐ มหากัป

 

พระพุทธเจ้าท่านก็เรียกว่า “ท่านผู้มีอายุ” คือ ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป เมื่อหมดอายุก็ต้องจุติ (ดับ, ตาย) จากภพนั้นและมีกำเนิดในภพอื่นต่อไป ยายเห็นว่าความสุขนั้นเป็น

“วิปรินามธรรม ที่สามารถแปรเปลี่ยนกลับเป็นทุกข์ได้”

 

ยายรู้ดีว่าบุญที่ยายทำนั้นจะเป็นเครื่องนำไปสู่สุคติสวรรค์ และยายอาจจะได้เสวยสุขอยู่บนสวรรค์ชั่วอายุหนึ่ง อาจจะสัก ๒๕๐๐ ปี แต่เมื่อหมดอายุจากภพนั้นแล้ว ยายกลัวว่ายายอาจจะได้มาเกิดเป็นมนุษย์ในสมัยกลียุค เป็นยุคที่โลกมนุษย์มีแต่ความทุกข์ยากลำบาก เป็นยุคที่ไม่มีธรรมะของพระพุทธเจ้าอยู่แล้ว เป็นยุคที่พุทธศาสนาครบ ๕๐๐๐ ปีแล้ว

 

ศาสนาพุทธเสื่อมไปแล้วตามที่พระพุทธเจ้าท่านทรงพยากรณ์ไว้ ยายกลัวว่าจะประสบกับความทุกข์ในช่วงสมัยนั้น กลัวว่าจะไม่ได้พบกับสัจจธรรมในช่วงสมัยนั้น ยายจึงไม่รู้สึกยินดีในวิมาน อาหาร พร้อมทั้งบริวารเหล่านั้น

 

เมื่อเห็นในทุกข์อันเกิดจากภพ ยายจึงไม่ปรารถนาในภพ ยายปรารถนาที่จะออกจากภพ จึงเพียรศึกษาพระธรรม เพียรปฏิบัติตามองค์มรรควิธี เพื่อให้ถึงซึ่งความดับแห่งภพ

 

เวลาที่ยายทำบุญบริจาคทาน ยายก็ไม่ปรารถนาในภพ ไม่ปรารถนาว่าจะได้ไปสู่วิมาน อาหาร พร้อมทั้งบริวารในภพใดๆ เพราะยายรู้ดีว่านั่นคือ “ภวตัณหา” (ยินดีติดใจในภพ) ยายทำบุญบริจาคทานก็เพราะยายเพียรพยายามที่จะทำให้โลภะเบาบางลง

 

ยายรู้ว่าการทำบุญบริจาคทานเพื่อที่จะขจัดโลภะนี้คือกุศลที่มีอานิสงส์มากกว่าบุญ ไม่ใช่เป็นแค่บุญ เพราะการทำบุญอย่างเดียวไม่อาจทำให้ยายหลุดพ้นได้ แต่กุศลคือสิ่งที่ทำให้ยาย คิด พูด และกระทำสิ่งใดๆ อย่างฉลาด รู้เท่าทัน โลภะ โทสะ โมหะ ต่างหากจะทำให้ยายหลุดพ้นได้

 

นอกจากนี้ ยายยังได้เพียรเจริญเมตตาธรรมก็เพื่อที่จะทำให้โทสะเบาบางลง เพื่อขจัดโทสะให้สิ้นไป ยายเพียรทำจิตให้ผ่องใสควรแก่งาน เพื่อน้อมไปสู่วิชชา ๓ เพื่อความสิ้นอาสวะ เพื่อละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ให้ได้ (เครื่องร้อยรัดสัตว์ ๑๐ อย่างให้วนเวียนอยู่ในวัฏฏะ)

 

“เพื่อบรรลุโสดาบันในชาตินี้ ซึ่งจะไม่มีความเสื่อมลงได้อีก เพื่อบรรลุสกทาคามีในชาตินี้ ซึ่งจะกลับมาเกิดในโลกนี้อีกเพียงครั้งเดียวก็จะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ เพื่อบรรลุอนาคามีในชาตินี้ ซึ่งจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในสวรรค์ชั้นพรหมสุทธาวาส ไม่กลับมาเกิดในโลกนี้อีก เพื่อบรรลุอรหันต์นิพพานในชาตินี้”

 

เพราะจุดมุ่งหมายของยาย คือปรมัตถประโยชน์ คือ ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ นิพพาน

 

ยายเพียรทำอยู่อย่างนี้โดยที่ยายไม่ได้คำนึงถึง

ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ คือประโยชน์ในปัจจุบัน

และ

สัมปรายิกัตถประโยชน์ คือ ประโยชน์ในภายหน้า

เลย

 

“เพราะยายรู้ดีว่า ประโยชน์สองอย่างนี้ยายจะพึงมีพึงได้อยู่แล้วจากการกระทำที่ดีเป็นบุญเป็นกุศลในปัจจุบันของยาย โดยไม่จำเป็นต้องเพ่งเล็งขวนขวาย นี่คือจุดมุ่งหมายของยายผู้ไม่ยินดีในวิมาน อาหาร พร้อมทั้งบริวาร ในสุคติภพใดๆ”

 

และยายได้กล่าวภาษิตฝากถึงผู้ที่ยังปรารภนาในประโยชน์ว่า

 

 

“ผู้ไม่เห็นในทุกข์ ย่อมไม่ปรารถนาที่จะออกจากทุกข์

ผู้ไม่เห็นในคุณของพระนิพพาน ย่อมไม่ปรารถนาปรมัตถประโยชน์

ผู้ไม่เห็นในปรมัตถประโยชน์ ย่อมไม่ปรารภความเพียร”

 

 

 

(ที่มา..แหล่งรวบรวมกรณีศึกษาจิต วิญญาณ ชีวิตหลังความตาย และการเกิดใหม่)

 

ขอบคุณ ลานธรรมจักร

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

การให้อภัยเชิงสร้างสรรค์ av193.gif

 

s0o18.gif 061208_gunbang_j1cola71a.gif

 

 

อาตมาได้ยินโยมพูดนะว่า การให้อภัยจะได้ผลก็แต่ในวัดเท่านั้น ในชีวิตจริงหากเราให้อภัยแบบนั้น เราก็มีแต่จะโดนเอาเปรียบ คนอื่นๆจะกระทืบเรา พวกเขาจะคิดแต่ว่าเราน่ะอ่อนแอ

 

อาตมาเห็นด้วย การให้อภัยเช่นนั้นยากที่จะได้ผล ดังคำกล่าวที่ว่า ‘ผู้ที่หันแก้มอีกข้าง (ให้เขาตบ) จะต้องลงเอยด้วยการไปหาหมอฟันถึงสองครั้ง แทนที่จะไปแค่ครั้งเดียว!’

สิ่งที่อาตมาจะพูดต่อไปคือ ‘การให้อภัยเชิงสร้างสรรค์’… คำว่า‘สร้างสรรค์’ หมายถึงการเสริมสร้างสิ่งที่ดีงามที่เราต้องการให้มีให้เป็น... ‘การให้อภัย’ หมายถึง การละสิ่งไม่ดีที่เป็นส่วนของปัญหาทิ้งไปเสีย ไม่ยึดมันไว้

แล้วก้าวต่อไป... av193.gif

 

ยกตัวอย่างเรื่องในสวน การรดน้ำเฉพาะวัชพืช เปรียบเสมือนการเพาะเลี้ยงปัญหาให้เจริญเติบโต... การไม่รดน้ำเลย เปรียบเสมือนการให้อภัยเฉยๆ... ส่วนการรดน้ำเฉพาะดอกไม้โดยไม่รดน้ำวัชพืช เป็นสัญญลักษณ์ของ ‘การให้อภัยเชิงสร้างสรรค์’

 

เมื่อประมาณสิบปีที่แล้ว หลังจากที่อาตมาเทศน์จบลงในคืนวันศุกร์ที่เมืองเพิร์ธ ผู้หญิงคนหนึ่งเข้ามาคุยกับอาตมา เธอผู้นี้มาฟังอาตมาเทศน์ประจำเป็นเวลานานมากเท่าที่อาตมาจะสามารถจำได้ แต่นี่เป็นครั้งแรกที่เธอเข้ามาพูดกับอาตมา เธอบอกว่า เธอต้องการจะขอบคุณอย่างมากๆ ไม่เฉพาะแต่อาตมาเท่านั้น แต่กับพระทุๆรูปที่เคยเทศน์ที่ศูนย์ของเรา แล้วเธอก็อธิบายว่าเพราะเหตุใด เธอเริ่มมาที่ศูนย์ของเราเมื่อเจ็ดปีที่แล้ว เธอสารภาพว่า ในตอนนั้นเธอไม่ได้สนใจอะไรนักในพระพุทธศาสนา หรือแม้แต่การปฏิบัติภาวนา เหตุผลสำคัญที่เธอเช้ามาร่วมกับเรานั้น เพียงเพื่อใช้เป็นข้ออ้างที่เธอจะได้ออกจากบ้านเท่านั้น...

 

สามีของเธอชอบใช้กำลังรุนแรง และเธอก็ตกเป็นเหยื่อการประทุษร้ายภายในครอบครัวที่น่ากลัวนี้ ในสมัยนั้นยังไม่มีองค์กรใดๆที่จะให้ความช่วยเหลือผู้เคราะห์ร้ายเหล่านี้ ในสภาวะเช่นกาต้มน้ำที่กำลังเดือดพล่านไปด้วยอารมณ์ความรู้สึก เธอไม่สามารถจะเห็นชัดพอที่จะเดินออกไปจากสภาพที่เป็นอยู่ตลอดกาล เธอจึงได้แต่มาที่ศูนย์พุทธของเราด้วยความคิดแค่ว่า ‘เวลาสองชั่วโมงที่ศูนย์นี้คือ เวลาสองชั่วโมงที่เธอจะรอดพ้นจากการถูกทุบตี’

 

สิ่งที่เธอได้ฟังจากศูนย์ของเราได้เปลี่ยนชีวิตของเธอ เธอฟังพระท่านบรรยายเรื่องการให้อภัยเชิงสร้างสรรค์ เธอจึงตัดสินใจที่จะทดลองกับสามีของเธอ เธอเล่าให้อาตมาฟังว่า ทุกๆครั้งที่เขาตีเธอ เธอได้ให้อภัยเขาและปล่อยวาง เธอทำเช่นนั้นได้อย่างไร มีแต่เธอเองเท่านั้นที่จะรู้ และเมื่อใดที่สามีของเธอทำอะไรหรือพูดอะไรที่แสดงน้ำใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม เธอจะกอดเขาหรือจูบเขา หรือแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้เขาได้รู้ว่า.. ความมีน้ำใจนั้นมีความหมายต่อเธอมากเพียงใด... เธอสำนึกในคุณค่าของมันเสมอ

 

เธอถอนหายใจแล้วจึงเล่าต่อ... เธอต้องใช้เวลายาวนานถึงเจ็ดปี... เมื่อพูดถึงตรงนี้ ดวงตาของเธอก็เปียกชุ่มไปด้วยน้ำตา เช่นเดียวกับดวงตาของอาตมา... เธอบอกว่า “เจ็ดปีที่แสนยาวนาน บัดนี้ท่านจะจำชายคนนั้นไม่ได้เลย เขาได้เปลี่ยนไปแล้วจริงๆ เดี๋ยวนี้เราจะมีความรักความผูกพันที่มีค่ายิ่งต่อกัน และมีลูกที่น่ารักมากสองคน” สีหน้าของเธอแวววาวด้วยประกายสดใสของผู้มีใจบริสุทธิ์ อาตมารู้สึกอยากจะคุกเข่าคารวะเธอ เธอหยุดอาตมาไว้ด้วยการพูดต่อว่า “ท่านเห็นม้านั่งตัวนั้นไหมคะ? อาทิตย์นี้เขาต่อเก้าอี้ไม้ตัวนั้นไว้ให้ดิฉันนั่งสมาธิเพื่อจะ’เซอร์ไพรซ์’ดิฉัน... นี่ถ้าเป็นเมื่อเจ็ดปีก่อนล่ะก็ เขาก็คงได้แต่ใช้มันทุ่มใส่ดิฉันเท่านั้นเอง” ก้อนสะอื้นในลำคอของอาตมาถูกกลืนหายไป เมื่ออาตมาหัวเราะไปกับเธอผู้นั้น... 4784755795db1.gif

 

อาตมาชื่นชมผู้หญิงคนนั้น เธอหาความสุขได้ด้วยตัวเธอเอง ซึ่งอาตมาสามารถบอกได้จากความสดใสบนหน้าของเธอว่า ความสุขนั้นมากมายทีเดียว และเธอก็ได้เปลี่ยนคนร้ายๆที่น่ากลัว มาเป็นชายที่มีไมตรีจิต เธอได้ช่วยคนๆหนึ่งด้วยความเมตตาเป็นอย่างยิ่ง

 

792915009395005019.jpg นี่เป็นตัวอย่างสุดโต่งเรื่องหนึ่งของการให้อภัยเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งขอแนะนำเฉพาะผู้ที่จะมุ่งหน้าสู่ความเป็นอรหันต์ อย่างไรก็ตาม

มันแสดงให้เห็นถึงผลที่จะได้รับจากการให้อภัยที่ทำพร้อมกับการให้กำลังใจในความถูกต้องดีงาม

 

*************

 

จาก หนังสือ “ชวนม่วนชื่น” ธรรมะบันเทิงหลายเรื่องเล่า

ผู้นิพนธ์: พระอาจารย์พรหม หรือท่านอาจารย์พรหมวงฺโส

ต้นฉบับหนังสือ: Opening The Door of Your Heart

ผู้แปล: ศรีวรา อิสสระ

ผู้ตรวจสอบการแปล: ท่านอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ

ขอบคุณ คุณธรรมมี้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...