ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
ginger

ใบไม้ผลิบนดวงจันทร์

โพสต์แนะนำ

!เด็ก 8 ขวบโชว์โซโล่กีตาร์ระดับเทพ(ชมคลิป)

 

http://www.manager.c...D=9550000012136

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ประกาศแล้ว 9 ศิลปินแห่งชาติ “เฉลิมชัย” คว้าสาขาจิตรกรรม

 

http://www.manager.c...D=9550000011971

 

 

 

 

 

 

 

 

 

http://youtu.be/bJi5CSvM7n8

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ศิลปินแห่งชาติปี ๒๕๕๕ อาจารย์ เฉลิมชัยโฆษิตพิพัฒน์

 

 

ChalermChai.gif

ประวัติ

 

เป็นจิตรกรที่มีฝีมือเป็นที่ยอมรับท่านหนึ่งของประเทศไทย เป็นชาวหมู่บ้านร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย เกิดวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 เป็นบุตรคนที่ 3 ของนายฮั่วชิว แซ่โค้ว​(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นนายไพศาล) และนางพรศรี อยู่สุข​ทำคลอดด้วยหมอตำแยชื่อยายตุ่น ชีวิตตอนเด็กๆ เป็นคนเกเร ไม่ตั้งใจเรียน แต่มีความชอบวาดรูป จึงพยายามเข้าเรียนที่เพาะช่างและมหาวิทยาลัยศิลปากร เคยได้รับเหรียญทองจากการประกวดผลงานระดับชาติ ในตอนที่เรียนอยู่ตอนปีที่ 4 มีผลงานรูปวาดตามผนังของวัดไทยมากมาย ผลงานปัจจุบัน ท่านตั้งใจที่จะสร้างวัดร่องขุ่น ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของท่าน ด้วยศิลปะไทยประยุกต์ หรือศิลปะสมัยใหม่

อ้างอิงจากเว็บไซต์ www.rongkhun.com

[แก้]ผลงาน

 

การแสดงผลงาน เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ จัดแสดงผลงานเดี่ยว และร่วมแสดงผลงานในนิทรรศการสำคัญต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ

ตั้งแต่ พ.ศ. 2520 จนถึงปัจจุบัน

  • พ.ศ. 2523 เป็นประธานก่อตั้งกลุ่ม "ศิลปไทย 23" เพื่อต้านอิทธิพลศิลปะจากยุโรป อเมริกา
  • พ.ศ. 2527 เริ่มโครงการจิตรกรรมฝาผนังวัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และเดินทางไปเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดพุทธปทีป โดยไม่คิดค่าจ้าง
  • พ.ศ. 2539 เริ่มดำเนินการออกแบบก่อสร้างอุโบสถ วัดร่องขุ่น จังหวัดเชียงรายบ้านเกิดของตนถวายเป็นพุทธบูชาจนถึงปัจจุบัน

[แก้]รางวัลและเกียรติยศ

[แก้]ทุนที่ได้รับ

  • พ.ศ. 2523 - ทุนจากกลุ่มศิลปินร่วมสมัยของศรีลังกา ร่วมกับสถานทูตไทยในโคลัมโบให้พำนักศึกษา พุทธศิลป์ เป็นเวลา 6 เดือน และทุนในการแสดงผลงาน
  • พ.ศ. 2524 - ทุนจากโยฮันเนส ซุลทส์เทสมาร์ ให้พำนักและแสดงผลงานในเยอรมนีเป็นเวลา 6 เดือน - ได้รับเชิญจากบริติชเคาน์ซิล ให้ไปดูงานศิลปะ และพบศิลปินมีชื่อของอังกฤษ
  • พ.ศ. 2526 - ทุนจากทูตวัฒนธรรมเยอรมนี ไปศึกษาดูงานพุทธศิลป์ ในประเทศพม่า
  • พ.ศ. 2527 - ทุนจากมูลนิธิวัดพระพุทธศาสนา ณ กรุงลอนดอน และรัฐบาลไทยในการเขียนภาพจิตรกรรม ฝาผนัง วัดพุทธปทีป ณ กรุงลอนดอน
  • พ.ศ. 2532 - ทุนจากกงสุลเยอรมนีในซานฟรานซิสโก แสดงผลงานในสหรัฐอเมริกา
  • พ.ศ. 2539 - ทุนจากกงสุลไทยในแอลเอ ร่วมกับสภาศิลปกรรมไทยในสหรัฐอเมริกาเพื่อเดินทางไปแสดงผลงาน เนื่องในโอกาสเปิดสถานกงสุลไทย

 

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

phoca_thumb_l_chalermchai00010.jpg

 

 

 

phoca_thumb_l_chalermchai00007.jpg

 

 

phoca_thumb_l_chalermchai00079.jpg

 

 

 

phoca_thumb_l_chalermchai00090.jpg

 

 

phoca_thumb_l_chalermchai00027.jpg

 

 

phoca_thumb_l_chalermchai00078.jpg

 

 

phoca_thumb_l_chalermchai00023.jpg

 

 

phoca_thumb_l_chalermchai00060.jpg

 

 

phoca_thumb_l_chalermchai00072.jpg

 

 

phoca_thumb_l_chalermchai00066.jpg

 

 

phoca_thumb_l_chalermchai00028.jpg

 

 

phoca_thumb_l_chalermchai00117.jpg

ภาพวาด อาจารย์ เฉลิมชัยโฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติปี ๒๕๕๔

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นิทานเซน : ข้าวเย็นหมดแล้ว blank.gif blank.gif 555000001111001.JPEG ภาพจาก nipic.com blank.gif 《早餐凉了》

 

ยังมีพระบวชใหม่รูปหนึ่ง เมื่อถึงมื้ออาหารเช้าในวันถัดไปหลังจากครองเพศบรรพชิต เกิดอาการอดรนทนไม่ไหว จึงเอ่ยถามคำถามเพื่อหวังให้อาจารย์เซนหลงหยาชี้ทางสว่างให้ ดังนี้

 

"ท่านอาจารย์ ศิษย์มีข้อสงสัยมากมาย

ข้อแรก :จิตวิญญาณของคนเราสามารถเป็นอมตะหรือไม่?

ข้อสอง:ร่างกายของคนเราต้องเสื่อมสลายเสมอไปหรือไม่?

ข้อสาม:คนเราจำต้องตายแล้วเกิดใหม่แน่หรือ?

ข้อสี่:หากเราตายแล้วเกิดใหม่ จะสามารถจำเรื่องราวในชาติที่แล้วได้หรือไม่?

ข้อห้า:เซน จะทำให้เราหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดจริงหรือ?..."

 

จากนั้นศิษย์เซนยังคงถามคำถามต่อเนื่องไปอีกมากมายไม่มีหยุด แต่ขณะที่กำลังจะเอ่ยถามคำถามต่อไป กลับถูกขัดจังหวะด้วยประโยคเดียวของอาจารย์เซนหลงหยาว่า "ข้าวเช้าของเจ้า เย็นหมดแล้ว"

 

ปัญญาเซน: การเอาแต่ฟุ้งซ่านถึงสิ่งที่อยู่ห่างไกลจนละเลยปัจจุบันขณะเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรม เซนเน้นการรักษาจิตปกติ ดำรงสติระลึกรู้อยู่ทุกขณะเวลาในชีวิตประจำวัน เพราะเมื่อมีสติแล้ว ย่อมเข้าใจแก่นแท้ของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ

 

ที่มา : หนังสือ 《一日一禅》, 东方闻睿 เรียบเรียง, สำนักพิมพ์ 中国电影出版史, 2004.8, ISBN 7-106-02204-7

 

manageronline

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีจ้า

 

เก็บมาฝาก ท่องเที่ยวพักผ่อน ชมธรรมชาติ วัฒนธรรมท้องถิ่นในเมืองไทย

 

ภาคถิ่นไหนๆ ช่วยกันไปชม

 

http://www.manager.c...D=9550000011308

 

แอ่ว “เจียงฮาย” เที่ยวหลายอารมณ์ ชมดอกซากุระบาน ที่ “ดอยแม่สลอง”

 

555000001185711.JPEG

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ว.วชิรเมธี (W.Vajiramedhi)

 

 

สรรพสิ่งในโลกล้วนตกอยู่ในกฎไตรลักษณ์ที่ว่า “เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป” หรือ “ไม่แน่ไม่ได้ดั่งใจ ไม่มีอะไรสมบูรณ์”

ความเครียดก็เช่นกัน เมื่อมันเกิดขึ้นได้ ไม่เร็วก็ช้าความเครียดนั้นก็ต้องดับไป เพราะไม่มีอะไรเที่ยงแท้ อย่าชิงดับตัวเองไปเสียก่อน

เพราะในที่สุดแล้วความเครียดจะดับไปเอง ขอเพียงเราไม่ท้อ ไม่หวั่น ไม่ถอย ใดใดในโลกล้วนอนิจจัง วันนี้เราเครียดแทบตาย

แต่วันพรุ่งนี้อาจเป็นวันที่ดีที่สุดของชีวิตก็เป็นได้

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณมากค่ะ คุณginger

ชอบผลงานของ อ.เฉลิมชัยมากๆ

ขอแสดงความยินดีกับศิลปินแห่งชาติสาขาจิตรกรรม ปี๒๕๕๕ ค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

'ต้อย เศรษฐา' ขึ้นแท่นศิลปินแห่งชาติ ปี 54

ไฮไลท์บันเทิง วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ.2555 18:59น.

355772-01.jpg

เศรษฐา ศิระฉายา - อ.เฉลิมชัย- ประภัสสร นั่งแท่นศิลปินแห่งชาติปี 54 เตรียมเข้ารับพระราชทานโล่และเข็มเชิดชูเกียรติจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 24 กุมภาพันธ์ ศูนย์วัฒนธรรม

ที่หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานประชุมคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กวช.) เพื่อพิจารณาคัดเลือกศิลปินแห่งชาติปี 2554 หลังการประชุมร่วม 3 ชั่วโมง นางสุกุมล แถลงผลการคัดเลือกเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปิน ผู้มีความสามารถ และอุทิศตนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจนโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน เป็นศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2554 ใน 3 สาขา จำนวน 9 คน ดังนี้

สาขาทัศนศิลป์ ได้แก่ นายเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ (จิตรกรรม) นายเมธา บุนนาค (สถาปัตยกรรม) นายทองร่วง เอมโอษฐ(ประณีตศิลป์-ศิลปคนะปูนปั้น)

สาขาวรรณศิลป์ ได้แก่ นายประภัสสร เสวิกุล(นวนิยายและกวีนิพนธ์) นายสุชาติ สวัสดิ์ศรี(เรื่องสั้นและกวีนิพนธ์)

สาขาศิลปะการแสดง ได้แก่ นางรัจนา พวงประยงค์(นาฏศิลป์ไทย-ละคร) นายนคร ถนอมทรัพย์(ดนตรีสากล-ประพันธ์และขับร้อง) นายเศรษฐา ศิระฉายา (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง)และรศ.สดใส พันธุมโกมล(ละครเวทีและละครโทรทัศน์)

สำหรับเกณฑ์การคัดเลือกศิลปินแห่งชาตินี้ประกอบด้วย 3 หลักเกณฑ์ ดังนี้ 1.เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญ และมีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับของวงการศิลปะและเป็นผู้สร้างสรรค์และพัฒนาศิลปะ รวมถึงเป็นต้นแบบศิลปะแขนงนั้น 2. คุณค่ามาตรฐานผลงานศิลปะของศิลปินแห่งชาติ เช่น ผลงานต้องสื่อให้เห็นถึงคุณค่าในความดี ความงาม คุณค่าทางอารมณ์ สะท้อนความเป็นธรรมชาติ หรือสถานภาพทางสังคม และวัฒนธรรมแห่งยุคสมัย เอกลักษณ์ของท้องถิ่นและเอกลักษณ์ของชาติไม่ลอกเลียนแบบจากผู้อื่น และ 3.มีการจัดแสดงหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง มีหลักฐานอ้างอิง โดยเป็นผลงานที่แสดงให้เห็นถึงแนวคิด พัฒนาการทางงานศิลปะอย่างเด่นชัด ผลงานได้รับรางวัลหรือเกียรติคุณ ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ

โดย ศิลปินแห่งชาติทั้งหมดจะเข้ารับพระราชทานโล่และเข็มเชิดชูเกียรติจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ซึ่งตรงกับวันศิลปินแห่งชาติ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หนึ่งในดวงใจ- ดิอิมพอสซิเบิ้ล

 

 

 

http://youtu.be/KQEpLq6itAk

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...