ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
ginger

ใบไม้ผลิบนดวงจันทร์

โพสต์แนะนำ

1002318_446841442090697_1464285272_n.jpg

กรุงเทพมหานคร | Bangkok

ถ่ายเมื่อปีค.ศ.1968 (พ.ศ.๒๕๑๑)

Image Source: George Lane

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

945719_495598793852482_783817500_n.jpg

คิดถึง มักจะมาพร้อมกุหลาบ

แต่สาวบางคนรับไว้...ปักบนเกาะกลางถนน

คนให้ได้แต่ขำ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

64798_343072689155976_510503914_n.jpg

คิดถึง สีแดง

แทน ความสดเข้ม ร่าเริง

แทน ความกระฉับกระเฉง

แทน ใจรัก

แทน คุณค่า ลมฟ้าแดดฝน

แทน ใจ "สู้"

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หวัดดีค่ะ คุณginger. คุณYot111 คุณตู้เย็น สบายดีทุกคนนะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
หวัดดีค่ะ คุณginger. คุณYot111 คุณตู้เย็น สบายดีทุกคนนะ

สบายดีค่ะ lavender เป็นไงบ้าง

ตู้เย็น ยุ่งคักๆช่ายบ่

1069812_178981515607881_1821340553_n.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

1006268_593705783985217_2031645427_n.jpg

 

Non Stop Love Song

 

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

540170_412119945563872_466313936_n.jpg

สิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่า รัก

รัก คือ ความผูกพัน

รัก คือ การยึดมั่น

รัก คือ การผูกมัด

รัก คือ เจ้าเข้าครอบครอง

รัก คือ มีดสองคม

รัก คือ ตะวันและจันทรา

รัก คือ บ่วงที่มองมิเห็น

รัก คือ ทุกสิ่งสามารถเป็น

รัก คือ ............

 

รัก ..... คือ การให้

รัก .....คือ สิ่งที่สอนให้เราปล่อยวาง เพราะทุกสิ่งมิอาจบังคับให้ได้อย่างใจเรา

ginger

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

 

สาระแห่งสุขภาพ

11 minutes ago

 

***การส่องกล้องตรวจท่อน้ำดีและตับอ่อน***

 

การทำอีอาร์ซีพี (ERCP) เป็นการส่องตรวจและรักษาโรคระบบทางเดินน้ำดีและตับอ่อน

โดยใช้กล้องชนิดอ่อนที่มีเส้นผ่านศูนย์กล่าง 1 ซม. ความยาวประมาณ 110 ซม.

และส่วนปลายมีไฟส่องตรวจร่วมกับการถ่ายภาพรังสีซึ่งช่วยในการวินิจฉัยและรักษาภาวะที่เรียกว่าดีซ่าน(ตัวเหลืองตาเหลือง)

ที่เกิดจากท่อน้ำดีอุดตันหรืออาการปวดท้องเนื่องจากความผิดปกติของท่อน้ำดี และตับอ่อน

 

น้ำดี คืออะไร

น้ำดีจะถูกสร้างจากตับ และหลั่งมาตามท่อน้ำดี มาเก็บพักไว้ที่ถุงน้ำดี เพื่อทำให้น้ำดีเข้มข้นขึ้น

เมื่ออาหารที่รับประทานผ่านมาถึงลำไส้เล็กส่วนต้นร่างกายจะมีการหลั่งฮอร์โมนไปกระตุ้นให้ถุงน้ำดีบีบตัว

และขับน้ำดีให้ไหลลงสู่ท่อน้ำดี ซึ่งจะมีท่อนำน้ำย่อยที่ผลิตจากตับอ่อนไหลมารวมกันก่อน

แล้วไหลลงสู่รูเปิดเดียวกันซึ่งมีลักษณะเป็นตุ่มเล็ก ๆ ลักษณะคล้ายหัวนมที่บริเวณลำไส้เล็กส่วนต้น

 

ปัจจัยที่ทำให้เกิดนิ่วทางเดินน้ำดี มี 3 สาเหตุหลัก ได้แก่

-ความอิ่มตัวหรือเข้มข้นของน้ำดี

-การบีบตัวของถุงน้ำดีลดลง

-การติดเชื้อในทางเดินน้ำดี โดยจะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และพบได้บ่อยในอายุ 60 ปีขึ้นไป

 

การทำ ERCP จึงมีประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัย และรักษาโรคที่เกี่ยว กับระบบท่อน้ำดี และตับอ่อน

ทำให้ผู้ป่วยบางรายไม่ต้องรักษาด้วยวิธีผ่าตัด ได้แก่

- การอุดตันในท่อน้ำดีจากก้อนนิ่ว เนื้องอกหรือพังผืด

- การตีบแคบของท่อทางเดินน้ำดีเนื่องจากสาเหตุอื่นๆ

- การอุดตันของท่อตับอ่อนจากก้อนนิ่วในท่อน้ำดีเคลื่อนตัวไปอุดตันที่บริเวณรูเปิดร่วมของท่อน้ำดีและท่อตับอ่อน

ทำให้น้ำดีไหลย้อนเข้าไปในตับอ่อน และเกิดการอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยของโรคนี้

 

อาการที่ต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาด้วยการทำ ERCP

- อาการดีซ่านหรือตัวเหลืองตาเหลือง

- อาการปวดท้อง และมีไข้

- ในรายที่มีผลเลือดแสดงการทำงานของตับและตับอ่อนผิดปกติ

 

การเตรียมตัวก่อนรับการตรวจ ERCP

 

1. แจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลทราบก่อนทุกครั้ง สำหรับผู้ป่วยที่มีประวัติและการดูแลรักษาเฉพาะทาง ได้แก่

1.1 โรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคภูมิแพ้ เป็นต้น

1.2 มีประวัติแพ้ยา อาหารทะเล สารทึบแสงและอื่นๆ

1.3 ผู้ที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ (page maker)

 

2. ก่อนวันนัดตรวจ 7 วันให้หยุดกินยาละลายลิ่มเลือด (Orfarin,Warfarin)

หรือยาต้านการแข็งตัวของเกร็ดเลือด (แอสไพริน,Plavix®)

รวมทั้งยาต้านการอักเสบโรคข้อที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDS) เพื่อป้องกันภาวะเลือดออกง่าย

 

3. รักษาความสะอาดของปากเป็นพิเศษช่วงกลางคืนและเช้าวันตรวจ

เพื่อป้องกันการติดเชื้อในช่องปากและทางเดินหายใจ

 

4. งดน้ำและอาหารก่อนวันนัดตรวจอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง

กรณีนัดตรวจเวลาบ่ายให้รับประทานอาหารเหลวก่อนเวลา 08.00 น. หลังจากนั้นให้งดอาหารและน้ำ

 

5. ผู้ที่มีฟันโยกคลอนแจ้งพยาบาลให้ทราบก่อนรับการตรวจเพื่อป้องกันฟันหลุดเข้าไปในหลอดลม

สำหรับผู้ที่ใส่ฟันปลอมแบบถอดได้ แว่นตา หรือเลนส์สายตา ให้ถอดฝากญาติก่อนเข้าห้องตรวจ

 

6. เตรียมญาติมาพร้อมกันในวันนัดตรวจโดยเฉพาะผู้ป่วยที่สูงอายุ

เพื่อรอรับผู้ป่วยกลับภายหลังการพักฟื้นจากยากกล่อมประสาทรวมทั้งยาแก้ปวดที่ได้รับขณะตรวจ

และการเปลี่ยนเสื้อที่เจ้าหน้าที่จัดไว้ให้ก่อนเข้าห้องตรวจ

 

7. ไม่ใส่เครื่องประดับที่มีโลหะเนื่องจากต้องถ่ายภาพรังสีและไม่นำของมีค่าติดตัวในวันที่นัดตรวจ

 

8. ลงนามในใบยินยอมรับการรักษา ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ให้ผู้ปกครองลงนามอนุญาตแทน

และรับทราบเรื่องความเสี่ยงหรือผลข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นภาจหลังการตรวจ

 

ขั้นตอนการส่องกล้องทำ ERCP

1. ให้นอนคว่ำหนุนหมอนและหันใบหน้าตะแคงทางขวา

2. พยาบาลจวัดความดันโลหิต ชีพจร และความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดทุก 10 นาที

เพื่อความปลอดภัยในขณะส่องกล้อง

3. ให้คาบอุปกรณ์ป้องกันฟันกระแทกหรือกัดกล้อง

4. ได้รับการฉีดยากล่อมประสาทและยาแก้ปวดยาเข้าหลอดเลือด เพื่อให้หลับขณะส่องกล้องตรวจ

โดยทั่วไปใช้เวลาในการตรวจประมาณ 40-60 นาที

5. แพทย์สอดกล้องส่องตรวจผ่านทางปากและกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก

เพื่อหารูเปิดท่อน้ำดีและฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในท่อน้ำดี จากนั้นเอกซเรย์ดูความผิดปกติของท่อน้ำดีและท่อตับอ่อน

6. ขณะทำการตรวจ แพทย์จะใส่ลมเข้าสู่ลำไส้เพื่อให้เห็นรูเปิดของท่อน้ำดี

และดูดลมบางส่วนออกกลับหลังจากการส่องตรวจเสร็จ

7. หากตรวจพบว่ามีนิ่วในท่อน้ำดี แพทย์อาจตัดรูเปิดท่อน้ำดีให้กว้าง

เพื่อใช้ลวดผ่านกระแสไฟฟ้าดึงก้อนนิ่วที่ค้างอยู่ให้หลุดออกมา

และแผลที่เกิดจากการตัดจะหายเป็นปกติภายใน 1 สัปดาห์ หรือหากพบมีการตีบตันก็จะใส่ท่อเพื่อระบายน้ำดีให้ไหลลงสู่ลำไส้

8. รอพบแพทย์หลังการตรวจ เพื่อทราบผลการส่องกล้องและรับการรักษาต่อในบางราย

 

ภายหลังการส่องกล้องตรวจและข้อควรปฏิบัติ

1. ผุ้ป่วยจะถูกย้ายไปนอนห้องพักฟื้น 1-2 ชัวโมง จากการได้รับยากล่อมประสาท ยาแก้ปวด

และเพื่อเฝ้าระวังอาการภายหลังการตรวจ โดยได้รับการวัดสัญญาณชีพ ได้แก่ วัดความดันโลหิต

นับชีพจรและการหายใจทุก 15 นาที และทุก 1 ชั่วโมง จนกว่าปกติจึงกลับห้องพักในโรงพยาบาลหรือให้ญาติรับกลับบ้านได้

และไม่ควรขับรถ

2. แพทย์จะแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับเวลาของมื้ออาหาร ส่วนใหญ่รับประทานอาหารได้ภายหลังการส่องกล้อง 6 ชั่วโมง

3. ในบางรายอาจมีท้องอืดหรือแน่นท้องจากการใส่ลมเข้าไปในขณะส่องกล้องตรวจ อาการเหล่านี้จะหายไปได้เอง

4. ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นภายหลังการตรวจ แต่จะพบได้น้อย อาการที่ควรพบแพทย์โดยด่วน ได้แก่

- ปวดท้องอย่างมาก มีไข้และอาเจียร หรือถ่ายอุจจาระเหลวเป็นสีดำ

- ผู้ที่ได้รับการใส่ท่อระบายน้ำดี และมีอาการเป็นไข้หนาวสั่น ตัวเหลืองตาเหลือง

หรือปวดท้อง โดยแพทย์จะนัดเปลี่ยนท่อระบายน้ำดีทุก 3 เดือน เพื่อป้องกันการอุดตันซ้ำ

5. พบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามการรักษาและรับประทานยาตามแพทย์สั่ง

 

 

ที่มา : chulalongkornhospital.go.th/by สาระแห่งสุขภาพ

 

 

995944_522507254494699_1460723232_n.jpg

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

สาระแห่งสุขภาพ

22 hours ago

 

***6 สมุนไพรไทยต้านเบาหวาน***

 

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ชู 6 ผักสมุนไพรไทยใกล้ตัว

ช่วยลดน้ำตาลในเลือดและต้านโรคเบาหวาน อันได้แก่ ตำลึง มะระขี้นก วุ้นว่านหางจระเข้ กะเพรา ใบหม่อน และใบบัวบก

 

ในขณะที่ทั่วโลกมีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 285 ล้านคน และคาดการณ์ว่าอีก 20 ปีข้างหน้า

จะเพิ่มขึ้นเป็น 438 ล้านคน โดยที่ผู้ป่วย 4 ใน 5 เป็นชาวเอเชีย สำหรับประเทศไทย

จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข ในปี 2553 พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานทั้งหมด 6,855 คน

หรือวันละ 19 คน หากไม่มีการควบคุมจริงจังคาดว่าจะมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า

และยังมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย

 

กรณีที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน แพทย์แผนไทยแนะนำให้ใช้รสชาติอาหารเป็นยา

นั่นคือ รสขม ซึ่งปัจจุบันมีนักวิชาการจากองค์กรและสถาบันต่างๆ ทำการศึกษาวิจัยสมุนไพรและผักพื้นบ้านของไทย

พบว่าหลายชนิดมีฤทธิ์ในการลดน้ำตาลในเลือด อาทิ ตำลึง กะเพรา มะระขี้นก หม่อน เป็นต้น

และสมุนไพรเร่งการหายของแผล ได้แก่ บัวบก นอกจากนี้ สิ่งที่ผู้ป่วยไม่ควรมองข้ามคือ

การออกกำลังกาย เช่น การเดินแทนการใช้รถ การทำความสะอาดบ้าน

รำไทเก๊ก ฤาษีดัดตน เดินกะลา โยคะ หรือเดินในสวน รดน้ำตนไม้

รวมถึงไม่ควรเครียด อาจจะหากิจกรรมอื่นๆ ทำ เช่น

ทำบุญตักบาตร นั่งสมาธิ ฟังเทศน์ เพื่อให้จิตใจสงบและผ่อนคลาย

หรือการนวดเท้าเพื่อกระตุ้นให้ระบบไหลเวียนโลหิตไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลาย จะช่วยลดอาการชาได้

 

สำหรับวิธีการรับประทานผักสมุนไพร 6 ชนิด ต้านเบาหวาน มีดังต่อไปนี้

 

"ตำลึง"

ใช้เถาแก่ๆ ประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ หรือน้ำคั้นจากผลดิบ ดื่มวันละ 2 ครั้ง

เช้า-เย็น จะช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ สำหรับการรับประทานในรูปแบบของแกงจืดจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมว่า

จะมีผลในการลดสาระสำคัญในตำลึงที่ช่วยลด น้ำตาลในเลือดหรือไม่

 

"มะระขี้นก"

หั่นเนื้อมะระตากแห้งชงน้ำดื่ม หรือรับประทานผลสดครั้งละ 6-15 กรัม หรือคั้นน้ำจากผลสด 1 ผลแล้วดื่ม

 

"วุ้นว่างหางจระเข้"

ใช้วุ้นว่านหางจระเข้หั่นสดประมาณ 1 ช้อนโต๊ะมาปั่น แล้วรับประทานวันละ 2 ครั้ง

 

"กะเพรา"

นำใบกะเพราตากแห้ง 2-5 กรัมละลายน้ำแล้วดื่ม

 

"ใบหม่อน"

มีสาระสำคัญในการลดน้ำตาลในเลือด โดยสารชนิดนี้จะออกมาได้ดีเมื่อนำไปชงแบบชา

ทิ้งไว้ 3-5 นาที ซึ่งสารชนิดนี้ช่วยยับยั้งเอนไซม์ย่อยน้ำตาล การดูดซึมกลูโคสลด ระดับน้ำตาลในร่างกายก็จะลดลงด้วย

 

"บัวบก"

สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลและหายช้ากว่าคนปกติทั่วไป

มีการวิจัยพบว่าบัวบกสามารถเร่งการหายของแผลได้เร็วขึ้น โดยปั่นน้ำบัวบกเข้มข้นดื่มต่างน้ำ

 

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่กินสมุนไพรในการช่วยลดน้ำตาลในเลือด

ควรแจ้งให้แพทย์แผนปัจจุบันที่ทำการรักษาด้วย

เนื่องจากบางครั้งแพทย์อาจจะจัดยาให้ในปริมาณที่เหมาะสมแล้ว

เมื่อรับประทานผักหรือสมุนไพรควบคู่ด้วย ก็อาจทำให้น้ำตาลลดมากเกินไปอีกเช่นกัน

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก/by สาระแห่งสุขภาพ

 

 

1010857_521833861228705_1235020889_n.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...