ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
ginger

ใบไม้ผลิบนดวงจันทร์

โพสต์แนะนำ

1457569_583937444995376_1412079988_n.jpg

มะต้องออกปาก ก็อยากช่วย

Dany P.

Love The Nature

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

"๑๒๐ ปี วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว"

 

 

 

เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ครบ ๑๒๐ ปี ในวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ หน่วยงานต่าง ๆ ได้จัดการเฉลิมฉลองเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีกิจกรรมการต่าง ๆ ที่น่าสนใจดังนี้

 

- สถาบันพระปกเกล้าจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ถึงปี ๒๕๕๗ และเตรียมเสนอต่อคณะกรรมการบริหารและที่ประชุมใหญ่ขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส เพื่อยกย่องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นบุคคลสำคัญของโลก

 

- นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ณ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งตั้งอยู่ ณ ถนนหลานหลวง โดยจัดแสดงเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี

 

- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จัดงานเฉลิมพระเกียรติ "๑๒๐ ปี ผ่านฟ้า ประชาธิปก" ตั้งแต่วันที ๗ - ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ณ ห้องพระปกเกล้า อาคารอเนกนิทัศน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

 

- กรมธนารักษ์จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ๑๒๐ ปี พระบรมราชสมภพ

 

- ดวงตราไปรษณียากรที่ระลึก โดยบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด — with Aishi Fukada.

 

Information Division of OHM

 

 

 

529155_551812298223114_76627618_n.jpg

 

 

 

 

โหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง

พระราชนิพนธ์ : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗

แต่เดิมเพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง ของเดิมเป็นอัตรา ๒ ชั้น

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗

ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นมาใหม่ และเป็นเพลงที่ ๓ ที่ทรงพระราชนิพนธ์

โดยขยายเป็นอัตรา ๓ ชั้น ใช้เป็นเพลงโหมโรง

และทรงประดิษฐ์ลูกล้อลูกขัดที่สอดแทรกหลาย­อารมณ์ไว้ใน

เพลงนี้ ทำนองมีความไพเราะพลิ้วไหวให้ความรู้สึกเห­มือน

" คลื่นกระทบฝั่ง " สมดังชื่อเพลง ลำนำของเพลงในท่อนต้นเป็น

เสียงคลื่นกระฉอกในเมื่อกระทบกับแง่หินที่­ยื่นย้อยออกมา

 

ส่วนท่อนที่ ๒ เที่ยวแรกแสดงถึงคลื่นใต้น้ำอันเนื่องหนุน­ซ้อนๆ

กันมาผสมกับคลื่นเหนือน้ำ ส่วนตอนท้ายของเพลงแสดงถึง

คลื่นลูกเล็กๆ ที่วิ่งพลิ้วตามกระแสลมอย่างรวดเร็ว

 

บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องใหญ่ ควบคุมวงโดย อ.ประสิทธิ์ ถาวร ศิลปินแห่งชาติ (ดนตรีไทย)

 

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่๗)

  • e0b8a3e0b8b1e0b88ae0b881e0b8b2e0b8a5e0b897e0b8b5e0b9887-08.jpg e0b897e0b8a3e0b887e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b980e0b8a2e0b8b2e0b8a7.jpg

 

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖ สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงเรียกพระองค์ว่า “เอียดน้อย” และเนื่องจากพระพลานามัยไม่ค่อยสมบูรณ์ สมเด็จพระบรมราชชนนีจึงมอบพระองค์ให้อยู่ในพระอภิบาลของเจ้าจอมมารดาเยื้อน ในรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับการศึกษาขั้นแรกเมื่อพระชนมายุ ๗ พรรษา โดยทรงศึกษาวิชาภาษาไทยกับพระยาอิศรพันธุ์โสภณ (หนู อิศรางกูร ณ อยุธยา) ต่อมาสมเด็จพระบรมชนกนาถได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเป็นนักเรียนในโรงเรียนนายร้อยพิเศษ จากนั้นทรงเข้าพิธีโสกันต์ในวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๘ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทพร้อมกับสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา มุสิกนาม

พระองค์ได้เสด็จไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ ขณะมีพระชน มายุเพียง ๑๓ พรรษา ทรงศึกษาวิชาสามัญในวิทยาลัยอีตัน ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมชั้นหนึ่งของอังกฤษ เมื่อสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยอีตันแล้วทรงสอบเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารที่เมืองวูลิช (Royal Military Academy Council) โดยทรงเลือกศึกษาวิชาทหารแผนกปืนใหญ่ม้า แต่ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ.๒๔๕๓ พระองค์จึงเสด็จกลับประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมพิธีพระบรมศพ แล้วจึงเสด็จกลับไปศึกษาต่อจนจบการศึกษา

 

e0b980e0b884e0b8a3e0b8b7e0b988e0b8ade0b887e0b981e0b89ae0b89a.jpg

ต่อมาพระองค์ทรงเข้าประจำการ ณ กรมทหารปืนใหญ่ม้าอังกฤษที่เมืองอัลเดอร์ชอต (Aldershot) และได้รับอนุญาตให้ทรงเครื่องแบบนายทหารอังกฤษในสังกัด “ L” Battery Royal Horse Artillery พระองค์ทรงได้รับสัญญาบัตรเป็นนายทหารยศร้อยตรีกิตติมศักดิ์แห่งกองทัพอังกฤษ และในการที่พระองค์สำเร็จการศึกษาจากสถานที่นี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งพระยศนายร้อยตรีนอกกองสังกัดกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นนายร้อยโท และนายทหารนอกสังกัด กรมทหารนอกกอง สังกัดกรมทหารปืนใหญ่รักษาพระองค์

ในปีพ.ศ.๒๔๕๗ ได้เกิดสงครามโลกขึ้นในยุโรป แต่เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่าสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอยังทรงศึกษาวิชาการทหารได้เพียงครึ่งๆ กลางๆ หากจะกลับเมืองไทยก็ยังทำคุณประโยชน์ให้กับบ้านเมืองได้ไม่เต็มที่จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจรูญศักดิ์ กฤษดากร ทรงจัดหาครูเพื่อสอนวิชาเพิ่มเติมให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ โดยเน้นวิชาที่จะเป็นคุณประโยชน์แก่บ้านเมือง คือ วิชากฎหมายระหว่างประเทศ พงศาวดารศึก และยุทธศาสตร์การศึก แต่ต่อมาสงครามได้ทวีความรุนแรงขึ้นมาก ทำให้การหาครูมาถวายพระอักษรเป็นเรื่องลำบาก เนื่องด้วยนายทหารที่มีความสามารถต้องออกรบในสงคราม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเสด็จกลับประเทศไทย ในปีพ.ศ. ๒๔๕๘

ครั้นเมื่อเสด็จกลับประเทศไทย ทรงเข้ารับราชการในตำแหน่ง นายทหารคนสนิทพิเศษจอมทัพสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ ผู้ทรงเป็นพระเชษฐาในพระองค์ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นเสนาธิการทหารบก จากนั้นพระองค์ทรงเลื่อนเป็นผู้บังคับบัญชาการกองพันน้อยที่ 2 ในตำแหน่งนายทหารเสนาธิการ และต่อมาเลื่อนเป็นนายพันตรีแล้วเป็นพันโทบังคับการโรงเรียนนายร้อยชั้นประถม ในระยะแรกที่ทรงเข้ารับราชการ พระองค์ประทับอยู่ ณ วังพญาไทร่วมกับสมเด็จพระบรมราชชนนี และนอกจากวังพญาไทแล้ว สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ ยังประทานบ้านท่าเตียนให้เป็นที่ประทับอีกแห่งหนึ่งด้วย

e0b8a3e0b8b1e0b88ae0b881e0b8b2e0b8a5e0b897e0b8b5e0b9887-e0b8.jpg

สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอทรงปฏิบัติราชการสนองพระเดชพระคุณในตำแหน่งหน้าที่การงานต่างๆ เป็นที่เรียบร้อยมาโดยตลอดจนในปี พ.ศ.๒๔๖๐ จึงทรงลาราชการเพื่อผนวช ณ อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วเสด็จ ประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอทรงลาผนวชและเสด็จเข้ารับราชการอีกครั้งเป็นที่เรียบร้อย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระมหากรุณาธิคุณตรัสขอหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี ให้และประกอบพระราชพิธีมงคลสมรส ณ พระที่นั่งวโรภาสพิมาน พระราชวังบางปะอินพระนครศรีอยุธยา ในวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๑

หลังจากที่ทรงอภิเษกสมรส และรับราชการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พระองค์ก็ทรงประสบปัญหาเกี่ยวกับพระพลานามัย จึงจำเป็นต้องลาราชการไปพักรักษาตัวในที่ๆ มีอากาศเย็นตามความเห็นของคณะแพทย์ พระองค์เสด็จไปพักรักษาตัวที่ยุโรปในปีพ.ศ.๒๔๖๓ ครั้นทรงหายจากพระอาการประชวรแล้ว ก็ทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนนายทหารฝ่ายเสนาธิการฝรั่งเศส ณ กรุงปารีส จนสำเร็จการศึกษา และเสด็จกลับประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๔๖๔ หลังจากนั้นอีก ๔ ปี พระองค์ก็ทรงเข้ารับราชการอีกครั้ง โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้เข้ารับราชการในตำแหน่งปลัดกรมเสนาธิการทหารบก และเลื่อนพระยศขึ้นเป็นนายพันเอก ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๒ และเป็นผู้บังคับการพิเศษกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๒ ในคราวเดียวกัน และต่อมา พระองค์ก็ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงษ์วรเดช ได้ทรงเป็นประธานในที่ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์และเสนาบดี เพื่อปรึกษาหารือเรื่องการสืบราชสมบัติ ซึ่งจากการพิเคราะห์พระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงแสดงไว้ในพระราชหัตถเลขานิติกรรมจะเห็นได้ว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงไว้วางพระราชหฤทัยในสมเด็จพระอนุชาธิราชมาก

e0b884e0b8a3e0b8ade0b887e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b8a2e0b98c1.jpg

ทว่าสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา ไม่เต็มพระทัยจะรับราชสมบัติ โดยทรงอ้างว่ายังมีเจ้านายที่อาวุโสมากกว่าพระองค์ แต่ในที่ประชุมลงความเห็นเป็นเอกฉันท์ไว้วางใจในพระองค์ และต้องการปฏิบัติตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพร้อมใจกันเชิญสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

เมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว พระองค์จัดตั้ง “คณะอภิรัฐมนตรี” ขึ้น เพื่อทำหน้าที่ถวายคำปรึกษาเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน และราชการในพระองค์ ด้วยทรงพระราชดำริว่า “ไม่ทรงสันทัดในการแผ่นดินมากนัก” คณะอภิรัฐมนตรีนี้ประกอบไปด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ๕ พระองค์ คือ

๑. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงษ์วรเดช

๒. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต

๓. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

๔. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

๕. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทรบุรีนฤนาท

e0b8aae0b8a5e0b8b0e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b8aae0b8a1e0b89ae0b8b1.jpg

หลังจากนั้นได้มีเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้น จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยทำให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งพระองค์ก็มิได้ทรงขัดเคืองพระราชหฤทัย แต่ได้เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ที่ทำให้พระองค์ต้องประกาศสละราชสมบัติ เพราะการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น ไม่เป็นไปตามที่พระองค์ได้วางแผนให้เป็น คือ ต้องการมอบประชาธิปไตยให้กับคนไทยทุกคน ดังนั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จต่างประเทศเพื่อผ่าตัดพระเนตรแล้ว ก็มิได้เสด็จกลับประเทศไทย ยังคงประทับอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ จนกระทั่งคณะรัฐบาลจัดตั้งกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่งเดินทางไปเฝ้ากราบบังคมทูลเชิญพระองค์เสด็จกลับประเทศไทย แต่การกราบบังคมทูลเชิญเสด็จกลับนั้นกลับไม่เป็นผล ทำให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตัดสินพระราชหฤทัยประกาศสละราชสมบัติ ในวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ และหลังจากที่ทรงสละราชสมบัติแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี และพระประยูรญาติที่สนิทบางพระองค์ ก็ได้เสด็จประทับที่รัฐเวอร์จิเนียวอเตอร์ (Virginia Water) อันเป็นชนบทใกล้กรุงลอนดอนเป็นการถาวร

 

พระราชกรณียกิจ

พระราชกรณียกิจด้านการทำนุบำรุงบ้านเมือง

18-20060306083227.jpg

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ ขึ้น ด้วยทรงระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ผู้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ สะพานแห่งนี้เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรี พร้อมกับทรงชักชวนประชาชนชาวไทยร่วมกันสร้าง พระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่บริเวณเชิงสะพานแห่งนี้ด้วย โดย พระองค์เสด็จไปทำพิธีเปิดด้วยพระองค์เองในวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๕ และโปรดเกล้าฯ ให้มีมหรสพสมโภชเป็นการเฉลิมฉลองที่กรุงเทพฯ มีอายุครบ ๑๕๐ ปีด้วย และพระราชทานนามสะพานแห่งนี้ว่าสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์

เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ ขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังที่ประทับ ณ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้วยโปรดการประพาสชายทะเลเป็นอย่างมาก เมื่อสร้างเสร็จได้พระราชทานนามว่า พระราชวังไกลกังวล พระราชวังแห่งนี้ประกอบไปด้วย พระตำหนักต่างๆ มากมาย เช่น พระตำหนักเปี่ยมสุข พระตำหนักน้อย พระตำหนักปลุกเกษม พระตำหนักเอมปรีดี ศาลาเริง เป็นต้น

 

พระราชกรณียกิจด้านการดนตรี

e0b897e0b8a3e0b887e0b894e0b899e0b895e0b8a3e0b8b51.jpg

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดการทรงดนตรีเป็นอย่างมาก พระองค์ทรงตั้งวงดนตรีไทยส่วนพระองค์ขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๗๐ ซึ่งประกอบไปด้วยเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ และข้าราชการที่ใกล้ชิด รวมถึงมีพระปรีชาสามารถในการพระราชนิพนธ์เพลงอีกด้วย โดยพระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์เพลงไทยเดิมไว้ 3 เพลง คือ เพลงราตรีประดับดาว (เถา), เพลงเขมาลออองค์ (เถา), เพลงคลื่นกระทบฝั่ง 3 ชั้น

 

พระราชกรณียกิจด้านการวางรากฐานปกครองในระบอบประชาธิปไตย

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์แน่วแน่ที่จะทรงมอบอำนาจการปกครองให้แก่ประชาชนในรัชกาลของพระองค์ จึงได้มีการจัดตั้งสภากรรมการองคมนตรี อันประกอบด้วยกรรมการ 40 คน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี ทำหน้าที่ในการประชุมพิจารณากฎหมายและปัญหาอื่นๆ ตามแต่จะโปรดเกล้าฯ อีกทั้งมีพระราชประสงค์ให้สภากรรมการองคมนตรีเป็นสภาทดลองระดับท้องถิ่น พระองค์ ทรงเปิดโอกาสให้ราษฎรมีส่วนร่วมในกิจการสุขาภิบาล ซึ่งพระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงกิจการเป็นรูปแบบการบริหารงานส่วนท้องถิ่นแบบเทศบาล โดยทรงแต่งตั้งกรรมการจัดการประชาภิบาลคอยสำรวจดูงานสุขาภิบาลตามหัวเมือง ทั่วราชอาณาจักร แต่พระราชบัญญัติเทศบาลที่ร่างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๓ ต้องมีขั้นตอนผ่านการพิจารณาจากเสนาบดีสภา สภากรรมการองคมนตรี จึงยังมิได้ประกาศพระราชบัญญัติเทศบาลดังกล่าว

 

พระราชกรณียกิจด้านการปกครอง

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดระเบียบการบริหารงานบุคคลของชาติ ด้วยการตราพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๔๗๑ ขึ้นบังคับใช้ โดยจะมีกลุ่มคนที่เรียกว่า คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน คอยดูแลการบรรจุแต่งตั้ง การเคลื่อนย้าย รวมทั้งควบคุมให้อยู่ใน ระเบียบวินัยของราชการ และโปรดเกล้าฯ ให้มีการสอบแข่งขันบุคคลเข้าบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนเป็นครั้งแรก ซึ่งแตกต่างจากเดิมที่ใครประสงค์จะเข้ารับราชการก็ไปฝากตัวแก่หัวหน้าส่วนราชการนั้นโดยตรง

e0b89ae0b8a3e0b8a1e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b8b2e0b8a0e0b8b4e0b980.jpg

นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวยังโปรดเกล้าฯ ให้ออกพระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือความผาสุกแห่งสาธารณชน พ.ศ. ๒๔๗๑ เพื่อเป็นการคุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชนชาวไทย โดยมีขอบเขตครอบคลุมการค้าขายที่เป็นสาธารณูปโภคและการเงิน เช่น กิจการไฟฟ้า การประปา รถราง รถไฟ ฯลฯ ซึ่งนับว่าเป็นรากฐานของระเบียบที่ใช้กันมาจนทุกวันนี้

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ที่เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตย พระองค์ทรงพยายามที่จะปรับปรุงแก้ไขระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มา เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยหลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วก็โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาคณะอภิรัฐมนตรีขึ้น เพื่อเป็นที่ปรึกษาในการบริหารราชการแผ่นดินแทนที่จะทรงตัดสินพระราช หฤทัยแต่เพียงพระองค์เดียว นอกจากนี้ยังทรงฟื้นฟูการประชุมเสนาบดีให้มีความสำคัญ และทรงแนะนำให้รู้จักการทำงานเป็นคณะและรับผิดชอบร่วมกันทั้งยังทรงแต่งตั้ง สภากรรมการองคมนตรี เพื่อเป็นที่ปรึกษาข้อราชการและฝึกหัดการประชุมแบบรัฐสภา สำหรับ การปูพื้นฐานในการปกครองตนเองของประชาชนก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้ร่างพระราชบัญญัติเทศบาลขึ้น แต่กฎหมายดังกล่าวได้ร่างเสร็จเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้รู้ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นเพื่อเตรียมพระราชทานแก่ประชาชนในโอกาสฉลอง กรุงเทพมหานครครบรอบ ๑๕๐ ปี แต่ได้มีพระบรมวงศานุวงศ์บางพระองค์ได้ทรงทูลคัดค้านว่ายังไม่สมควรแก่เวลา จึงต้องรอคอยการพระราชทานรัฐธรรมนูญไว้ก่อน

 

ในช่วงระยะเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็นระยะที่ทุกประเทศทั่วโลกกำลังประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ อันเป็นผลเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง ต่อสู้กับปัญหาดังกล่าวด้วยการประหยัด โดยทรงเริ่มจากตัดทอนรายจ่ายส่วนพระองค์ก่อน จากนั้นทรงตัดทอนรายจ่ายของแผ่นดินลงทุกวิถีทางเท่าที่จะกระทำได้ เริ่มด้วยการยุบรวมหน่วยราชการที่พอจะรวมกันได้ โดยมีการดุล (ปลด) ข้าราชการที่ล้นงานออกจากกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ มากมาย ซึ่งก่อให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการเป็นอันมาก และการแก้ปัญหาด้วยวิธีการดังกล่าวก็ไม่สามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศให้ดีได้ ประกอบกับขณะนั้นมีพวกข้าราชการและนายทหารที่กลับจากการไปศึกษาต่างประเทศ และมีหัวคิดรุนแรงต้องการจะเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองเสียใหม่ เพราะเข้าใจว่าจะเป็นหนทางแก้ปัญหาทางบ้านเมืองได้

 

แล้วในเช้ามืดของวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปประทับที่พระราชวังไกลกังวล “คณะราษฎร” นำโดย พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาก็ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองแผ่นดินที่กรุงเทพมหานคร โดยเข้าควบคุมพระบรมวงศานุวงศ์บางพระองค์ และข้าราชการตำแหน่งสำคัญๆ ไว้เป็นตัวประกัน แล้วส่งหนังสือไปกราบบังคมทูลเชิญเสด็จนิวัติกลับพระนครเพื่อเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญการปกครองที่คณะราษฎรได้ทำขึ้น ซึ่งแม้ว่าพระองค์จะได้ทรงเตรียมพระราชทานอำนาจอธิปไตยนี้แก่ประชาชนอยู่แล้ว แต่เมื่อคณะราษฎรแสดงออกถึงความปรารถนาอันแรงกล้าเช่นนี้ พระองค์ก็มิได้ทรงถือทิฐิมานะ โดยทรงละพระบรมเดชานุภาพ ยอมรับการเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และหลังจากเสด็จพระราชดำเนินกลับคืนสู่พระนครแล้ว ก็ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามฉบับแรก เมื่อวันที่ ๑๐ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕

 

e0b8aae0b8a5e0b8b0e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b8aae0b8a1e0b89ae0b8b1e0b895e0b8b401.jpg พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหา กษัตริย์ที่ทรงเลื่อมใสการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

พระองค์ทรงพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่ยังมิได้ทรงทำการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ด้วยทรงคำนึงว่ายังไม่ถึงเวลาที่เหมาะสม แต่เมื่อคณะราษฎรได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียก่อน ก็มิได้ทรงขัดเคืองพระราชหฤทัย ทรงยอมรับการเปลี่ยนแปลงอย่างเต็มพระราชหฤทัย ดังมีพระราชดำรัสว่า“ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่ เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร”

ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้เกิดสงครามกลางเมืองที่เรียกกันว่า กบฏบวรเดช ขึ้น โดยพระองค์เจ้าบวรเดชกับพระยาศรีสิทธิสงคราม รวมกำลังทหารหัวเมืองมุ่งเข้าตีกรุงเทพมหานคร ตามคำแถลงการณ์ที่จะเข้ามาช่วยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ทรงหลุดพ้นจากอำนาจของคณะราษฎร เหตุการณ์ในครั้งนี้มีการปราบปรามด้วยอาวุธ ทำให้เกิดการสู้รบระหว่างคนไทยด้วยกันเอง และมีผู้เสียชีวิตด้วยกันทั้งสองฝ่าย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็นที่สะเทือนพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างมาก จึงทรงตัดสินพระราช หฤทัยเสด็จไปประทับที่ประเทศอังกฤษ ด้วยเหตุผลเพื่อไปรักษาพระเนตรเมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๖ และในวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ พระองค์จึงได้พระราชทานพระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติ

 

 

พระราชกรณียกิจด้านประเพณีและวัฒนธรรม

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง เป็นผู้ริเริ่มในการสร้างค่านิยมให้ชายไทยมีภรรยาเพียงคนเดียว ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสังคมไทยแต่โบราณที่ชายไทยมักนิยมมีภรรยาหลายคนโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะผัวเมีย พ.ศ. ๒๔๗๓ และ ทรงริเริ่มให้มีการจดทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ทะเบียนรับรองบุตร อันเป็นการปลูกฝังค่านิยมใหม่ทีละน้อยตามความสมัครใจ นอกจากนี้ยังทรงปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างโดยมีพระบรมราชินีเพียงพระองค์เดียว และไม่มีสนมนางในใดๆ ทั้งสิ้น

 

เกร็ดความรู้

พระราชทานรัฐธรรมนูญ

 

e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b897e0b8b2e0b899e0b8a3e0b8b1e0b890e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b899e0b8b9e0b88d011-300x215.jpg

 

นับแต่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สืบต่อจากพระบรมเชษฐาธิราช เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๖๘ พระบรมราโชบายแรกที่ทรงดำเนิน คือทรงเตรียมความพร้อมในการปูพื้นฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตยแก่ประชาชนชาวสยาม เฉกเช่นเดียวกับแนวทางของพระบรมชนกนาถ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยการจัดระบบการบริหารงานราชการแผ่นดินแบบใหม่ ด้วยการจัดตั้งอภิรัฐมนตรีสภา องคมนตรีสภา เสนาบดีสภา เป็นสภาที่ปรึกษาราชการเพื่อซักซ้อมการบริหารงานระบบรัฐสภา ภายหลังเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึง มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ผู้สำเร็จราชการพระราชวังประกาศว่าบัดนี้การเรียบเรียงรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรสยามสำเร็จสมบูรณ์แล้ว ให้กำหนดการพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ราษฎรสยามในวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๕ นับเป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานรัฐธรรมนูญมาสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย และปวงชนชาวไทยก็ยึดถือวันที่ ๑๐ ธันวาคมของทุกปีเป็นวันรัฐธรรมนูญนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

 

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

wanpanpum7.jpg

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งอยู่ภายในบริเวณสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยดำริของท่านอดีตประธานรัฐสภา (พลอากาศเอกหะริน หงสกุล) เริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๒๒ พร้อมกับพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดเป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ พระราชทานสิ่งของส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว นำมาจัดแสดง และเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าชมเป็นครั้งแรกในพระราชพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ที่ ถ.หลานหลวง เปิดทุกวันอังคาร – อาทิตย์ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ค่าเข้าชมครั้งละ ๒๐ บาท (เสาร์-อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์เข้าชมฟรี)

http://www.chaopraya...B9%89%E0%B8%B2/

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

1209129_298792686925633_1513332365_n.jpg

 

 

592042_219997661471803_1735423133_q.jpg

ย้อนรอยประวัติศาสตร์ยุคใหม่ในสยาม

 

ภาพนี้ชัดมากครับ..

 

พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หวัดดีวันเสาร์คับคุณginger เพื่อนๆ

 

 

 

10 อันดับสถานที่ "รถหายมากที่สุด" « เมื่อ: 8 พ.ย. 13, 16:59 น »

spacer.gif

 

 

1450262_180054592183379_1280069573_n.jpg

 

อันดับ 10.ลานจอดรถ Fashion Island

 

อันดับ 9. ลานจอดรถ Future Park รังสิต

 

อันดับ 8. ซอยปรีดีพนมยงค์

 

อันดับ 7.ซอยลาดพร้าว 101

 

อันดับ 6. ลานจอดรถตลาดไท

 

อันดับ 5.ลานจอดรถเซียร์ รังสิต

 

อันดับ 4.ลานจอดรถ คอนโดเมืองทอง

 

อันดับ 3.ลานจอดรถสนามหลวง 2

 

อันดับ 2.ลานจอดรถการเคหะคลองจั่น

 

อันดับที่ 1. ตกเป็นของ " ลานจอดรถการเคหะร่มเกล้า "

 

จากสถิติรถหาย 100 คันได้คืนไม่ถึง 5 คัน รถหายโทรสายด่วน 1192

 

*อ้างอิง สนง.ตำรวจแห่งชาติ

 

จากเฟซบุ๊ก ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร - บก.02

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดี yot เพื่อนๆ พี่น้อง ทุกท่าน

 

 

ปันกัน_เรื่องราวและงานดีๆ'sphoto.

 

 

374405_551637261536666_81065447_n.jpg

 

แก้นิ้วล็อก และหินปูนที่ข้อกระดูก - Beleive it or not!?!

ใครที่เป็นนิ้วล็อก มือชา ถ้าขี้เกียจอ่านก็ช่วยไม่ได้......

มือผมชามานานมาก ประมาณเกือบ 10 ปีแล้ว ชาระดับไหน...ชาชนิดที่ว่า

กระจกบาดไม่รู้ กวาดบ้านได้ไม่เกิน 2 นาที และที่ทำร้ายจิตใจมากก็คือ

ผมจับไม้แบดโดยที่ไม่รู้สึกอะไรเลย เล่นไปเพราะความเคยชิน

เคยไปปรึกษาหมอเมื่อ 2 ปีที่แล้วหมอบอกว่าเป็นพังผืด

และพูดสั้นๆ โดยไม่ต้องแปล...ผ่า!

พูดง่าย เข้าใจง่าย แต่ผมทำไม่ได้

เพราะนั่นหมายถึงผมต้องหยุดงานอย่างน้อย 2 อาทิตย์

รวมถึงหน้าที่ที่ต้องทำ คิดแล้ว...ทน...ต่อไปดีกว่า...

เมื่อเดือนก่อน เพื่อนบ้านของผมก็เป็นแบบผม

และเขาได้ไปผ่ามา หมดไป 18,000 บาท มันเยอะสำหรับผม

แต่เขาบอกว่าดีขึ้นมา

ก ผมก็ตั้งใจว่า ถ้ารวยเมื่อไหร่ ก็คงจะต้องไปผ่ามั่ง

แต่...เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ผมได้อ่านหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ คอลัมน์นายเกษตร

มีคนบอกสูตรยาแก้นิ้วล็อก พังผืด ผมอ่านแล้วก็ลองทำดู

สาเหตุ...ไม่ใช่ยากิน ไม่ใช่ของหายาก ลงทุนน้อยมากกกกกกกกกก ลองเลย...

ผลที่ได้...มหัศจรรย์ ฝ่ามือที่ชาดีขึ้นประมาณ 80% จริงๆ ไม่ได้โม้

ที่ว่า 80% เพราะหลังมือยังชาอยู่ ลองกดดูไม่เจ็บ

ลองกดที่ง่ามนิ้วระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ ไม่เจ็บ เฮ้ย จริงดิ

ไม่เชื่อ ลองกำมือซ้ายกับมือขวาดู เฮ้ย...มือซ้ายยังชา

แต่มือขวาดีกว่ามือซ้าย ปกติมือขวาเป็นหนักกว่ามือซ้าย

ลองคิดดู ความรู้สึกของมือที่กลับคืนมาหาเราอีกครั้ง มันวิเศษขนาดไหน

ตกเย็นลองของเลย ดิ่งไปสนามแบด โอ้โฮ มันดีจริงๆ เลย

 

คืนค่ำนี้ก็เลยลองที่หลังมือขวา ผลที่ได้ก็คือ อาการชาดีขึ้นมามาก

จนมือขวาเรามี

ความรู้สึกแล้ว อยากรู้แล้วล่ะดิ

 

ตั้งใจฟังนะ..... - ขนมปัง 1 แผ่น - น้ำส้มสายชู 5% 1 ขวด เขาว่าถ้าจะให้ดีต้อง อสร.

(แต่ผมหาไม่ได้ ก็เลยใช้ตราภูเขาทองแทน ) - ผ้าพัน 1 ผืน

 

วิธีทำ เอาน้ำส้มสายชูราดลงไปบนแผ่นขนมปังพอชุ่ม แล้ววางลงตรงจุดที่เป็นพังผืด

เอาผ้าพันทับ พันหลวมๆ ไม่ต้องแน่น แล้วก็ปล่อยทิ้งไว้ 1 ชม. แกะออกแล้วก็ล้างมือ...

ลองดู ความมหัศจรรย์ก็จะเกิดขึ้นกับมือของท่าน เหมือนอย่างที่เกิดขึ้นกับผม

ผมลองแล้วได้ผลดีเกินคาด ก็เลยนำมาบอกต่อ แต่ถ้าใครคิดว่าผมบ้ามาหลอกอะไรล่ะก้อ

มาหาผมที่ร้าน ผมจะทำให้ดู ไม่มีอันตราย น้ำส้มสายชูเรากินได้

ฉะนั้น ถ้าโดนผิวหนังเรามันย่อมไม่มีผลอะไร อันที่จริงผมจะส่งมาแค่สูตรยาก็กลัวว่าจะไม่กล้าทำกัน

ก็เลยร่ายยาวเลย ใครที่เป็นลองดูนะครับ ได้ผลจริงๆ ป้าปุ๊กลองดูกับคนไข้ได้นะครับ

รับรองคนไข้ต้องเรียกป้าปุ๊กว่า นางฟ้าแทนนางพยาบาลแน่นอน

 

แถมให้อีกหน่อย...น้ำกัดเท้า ก็น้ำส้มสายชูนี่แหละ รินแล้วแช่เลย

หายขาด

หินปูนที่เกาะตามข้อกระดูก น้ำส้มสายชู 1 ขวด เกลือป่น 1 กิโล ผสมกับน้ำอุ่นแล้วลงไปนอนแช่ 10-25 นาที

เขาบอกว่าถ้าจะให้ดีก็ควรออกกำลังกายก่อนสัก 15-20 นาที

จะทำให้หินปูนหลุดได้ง่ายขึ้น แต่อันนี้ยังไม่ได้ลอง เพราะไม่มีอ่างอาบน้ำ

ลองดูนะครับ ได้ผลแล้วก็ช่วยบอกต่อกันเยอะๆ นะครับ

ขอขอบคุณคอลัมน์นายเกษตร และผู้ที่เผยแพร่สูตรนี้

ผมคงตอบแทนบุญคุณท่านได้ก็โดยการเผยแพร่ต่อไป อย่าลืมนะครับ...บอกต่อๆ กันไป

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

ปันกัน_เรื่องราวและงานดีๆ

November 6

 

อาหารที่กินคู่กัน ...อันตราย!!!

1. หัวไชเท้ากับเห็ดหูหนู ทั้งดำและขาว - ห้ามรับประทารด้วยกัน จะเป็นโรคผิวหนัง

2. เต้าหู้กับน้ำผึ้ง - ห้ามรับประทานด้วยกันจะทำให้หูหนวก

3. มันฝรั่งกับกล้วยทุกชนิด - ห้ามรับประทานรวมกัน จะทำให้หน้าเป็นฝ้า

4. หัวไชเท้ากับผลไม้ทุกชนิด - ห้ามรับประทานรวมกัน จะทำให้เกิดคอพอก

5. กล้วยกับเผือก - ห้ามรับประทานด้วยกัน จะทำให้ท้องอืด

6. มันเทศกับลูกพลับ - ห้ามรับประทานรวมกัน จะทำให้เกิดนิ่วในกระเพาะอาหาร

7. กล้วย+มะละกอ+แตงโม - ห้ามรับประทานด้วยกัน จะทำให้เป็นโรคไตกับโรคเบาหวาน

8. มันฝรั่งกับลูกพลับ - ห้ามรับประทานรวมกัน จะทำให้เป็นนิ่วในท่อปัสสาวะ

9. น้ำเต้าหู้กับนมสด - ห้ามใส่ไข่ เพราะจะทำให้ท้องผูกและเส้นเลือดตีบ

10. ผักป๋วยเล้งกับเต้าหู้ - ห้ามรับประทาน กับเต้าหู้ จะทำให้เป็นนิ่วที่ไขสันหลัง

11. น้ำผึ้ง - ห้ามชงด้วยน้ำที่ร้อนจะทำให้เสียวิตามิน

12. ส้มกับมะนาว - ห้ามรับประทานด้วยกัน จะทำให้กระเพาะทะลุ

13. ปลาทุกชนิด - ห้ามต้มกับผักกาดดอง จะทำให้เป็นโรคมะเร็ง

14. ขิงดอง - ห้ามเข้าตู้เย็น กินแล้วจะเป็นโรค มะเร็ง

15. น้ำเต้าหู้ - ห้ามใส่น้ำตาลแดง จะทำให้เสียวิตามิน

16. น้ำข้าว - ห้ามใส่กับนม จะทำให้เสียวิตามิน

17. บวบ ซือกวย ไชเท้า - ห้ามรับประทานวันเดียวกัน จะทำให้เป็นเบาหวาน ทำให้เชื้ออสุจิอ่อนไม่แข็ง

 

แรง

18. มังคุดกับน้ำตาล - กินรวมกันจะทำให้เสียชีวิต

19. ถั่วลิสงกับฟักทอง - ห้ามรับประทานรวมกัน จะทำให้ทำร้ายร่างกายและลำไส้อักเสบ

20. เหล้าขาวกับลูกพลับ - ห้ามรับประทานด้วยกัน จะทำให้เป็นพิษ

21. เหล้าขาวกับเบียร์ - ห้ามรับประทานด้วยกัน จะทำให้เส้นเลือดในสมองแตก

22. กินทุเรียนกับน้ำอัดลม - ให้พิษร้ายมากกว่าพิษงูเห่า!

 

มีนักท่องเที่ยวชาวจีนวัยเพียง28ปีรายหนึ่ง ตอนมาเที่ยวเมืองไทยได้รับประทานทุเรียนไปจำนวนมาก

 

หลังจากนั้นก็ดื่มน้ำอัดลม สารคาเฟอินในน้ำอัดลมก่อให้เกิดความดันโลหิตสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้

 

หัวใจวายอย่างเฉียบพลัน

ประเทศไทยได้ออกกฎอย่างชัดเจนไว้ว่า ภายใน 8 ชั่วโมงหลังจากการรับประทานทุเรียนเป็นจำนวนมาก

 

ห้ามดื่มน้ำอัดลมเป็นอันขาด!!

 

ทุเรียนก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะสูงเลยทีเดียว

 

via-Vullada Puranaveja

 

 

1379455_670740092959715_1143246143_n.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

1395120_450686885051762_353320529_n.jpg

ชีวิต งดงาม

เดี๋ยวยิ้ม เดี๋ยวหิว

แป๊บหัวเราะ เผลอหน่อยเดียวร้องไห้

เลี้ยงไปขำไป

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

1424423_450041311782986_1150334680_n.jpg

มีแสงแดดทอดส่อง

ฝนสาด ดินซับน้ำชุ่ม

เมล็ดกำเนิด กำหนด

ชูกิ่งก้านเขียวใส ซอนรับแสง

เหยียดยื่น หยัดยืน

ผลิดอก เบิกบาน

ชีวิต ต้องสู้

จึงจะ มีประกายสดใส

ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

:: หมื่นตา - เป็นหนึ่งเดียวกับเสี้ยวแสง ::

 

เรื่องและภาพ : กะว่าก๋า

line.jpg

 

img135%2Bcopy-horz.jpg

 

 

img136%2Bcopy-horz.jpg

 

 

img137%2Bcopy-horz.jpg

 

img138%2Bcopy-horz.jpg

 

 

img139%2Bcopy-horz.jpg

 

 

A THING BOOK

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...