ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
ginger

ใบไม้ผลิบนดวงจันทร์

โพสต์แนะนำ

พระไพศาล วิสาโล - Phra Paisal Visalo

‎" พระในเมืองควรใส่รองเท้าบิณฑบาตหรือไม่ "

 

วิไล วัชรชัยสิริกุล-นักบัญชีดอทคอม - เรียนถามพระอาจารย์ที่เคารพ การบิณฑบาตในเมืองสมัยนี้ พระควรสวมรองเท้าหรือไม่คะ เวลาโยมใส่บาตรในวันทำงาน ไม่สะดวกในการถอดรองเท้า เชื้อโรคสมัยนี้ก็แรง พื้นก็สกปรก น่าเป็นห่วงสุขอนามัยของพระ

 

พระไพศาล วิสาโล - เท่าที่ทราบการถอดรองเท้าบิณฑบาตในเมืองไม่ได้ก่อปัญหาแก่พระส่วนใหญ่ พระท่านยังถอดรองเท้าบิณฑบาตได้ตามปกติ แม้พื้นจะสกปรก แต่ไม่ค่อยเป็นปัญหาแก่ท่านเท่าใด หากเท้าสัมผัสพื้นเป็นประจำ ก็จะมีภูมิคุ้มกันไปเอง ที่ต้องระวังหน่อยก็คือเศษแก้ว แต่ถ้าเดินระมัดระวัง ก็ไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใด

 

 

559207_496720720355250_1994212616_n.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ThaiMarketing.in.th

 

เหรียญที่สองของไทย

1 ไลค์ให้น้องเล็ก ฮีโร่ของไทยอีกคนในโอลิมปิก ♥

 

423461_421133851266224_1120820926_n.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พระไพศาล วิสาโล - Phra Paisal Visalo

‎" พระถ่ายรูปมาลง facebook ได้ไหม "

 

MorningKiss Nakamonpat - นมัสการเจ้าคะ ดิฉันมีปัญหาสงสัยและติดค้างในใจว่า พระสามารถถ่ายรูปตนเองในอริยาบทต่างๆ เช่น กำลังนอนหลับตา ตอนตื่นหรือเรียกเป็นภาษาชาวบ้านธรรมดาว่าแอ็คท่าถ่ายรูปเพื่อลงเฟสบุ๊คได้หรือไม่ค่ะท่าน พอดีว่ามีเพื่อนซึ่งแต่เดิมเป็นเพศที่ 3 แล้วบวช และทำกริยาดังเช่นที่กล่าวมาข้างต้น ดิฉันเห็นแล้วไม่สบายใจและรู้สึกตะขิดตะขวงใจมาก และเคยตักเตือนว่า "ไม่งามมั้งคะท่าน" ไปแล้ว แต่ดูเหมือนพระเพื่อนรูปนั้นจะไม่รู้สึก จึงอยากเรียนถามพระคุณท่านว่าเป็นการกระทำของสงฆ์ทึ่สมควรหรือไม่คะ หรือดิฉันควรแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและดูแลเรื่องนี้ดีคะ หรืออีกนัยคือโลกมันเปลี่ยนไปแล้วคะ นมัสการอีกครั้งคะ

 

พระไพศาล วิสาโล - การกระทำของพระรูปนั้น ไม่ถือว่าผิดวินัยหากตีความตามตัวอักษร แต่เป็นสิ่งที่ไม่งาม เพราะมิใช่การกระทำของพระภิกษุผู้ควรมีอาการสงบ สำรวม ไม่พึงทำสิ่งใด ๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจหรือเพื่อสร้างความเด่นดังให้แก่ตนเอง การทำอย่างนั้นถือว่าเป็น “โลกวัชชะ” คือ โลกติเตียน การที่คุณตักเตือนไปนั้น ถูกต้องแล้ว แต่อาตมาไม่แน่ใจว่าการแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเกิดประโยชน์หรือไม่เพราะเขาอาจเห็นว่าไม่ใช่เรื่องร้ายแรง

 

 

313635_496720267021962_509957074_n.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

427328_446047605439312_1163033023_n.jpg

 

Politics and crime - they're the same thing...

-Michael Corleone

artist: Agustin Iglesias

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

283759_412706478768695_2004203943_n.jpg

ดูลีลา ซิฮับ ตกใจอ่ะ! ตัวอะไรหนะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

531399_423234011049275_200534385_n.jpg

รักทำให้โลกงดงาม(บอกรักแม่ด้วย ทำดีกับคนที่รักคุณ)

SAPPHIRE'S MOONBEAMS

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

226252_429896077049735_138103810_n.jpg

สำหรับเพื่อนๆ คุณๆจ้า

ดอกไม้ผลิบานในใจ

เก็บความงดงาม ใส่ไว้

ใจสดใส รื่นรมณ์ ย่อมเกื้อกูลเจ้าของใจ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

391531_324307604291696_487430513_n.jpg

ธรรมใส่ใจ

ธรรมใช้ได้จริงในช๊วิตประจำวัน

ธรรมะเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนพฤติกรรม

ชีวิตเปลี่ยน+_____+ จิตไม่สบสน มีสติ

=ความไม่แน่นอนเกิดขึ้นเป็นธรรมดา=

ginger

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาพน่าทึ่ง!!ทะเลสาบสีแดงในฝรั่งเศส

blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 สิงหาคม 2555 04:27 น.

 

 

blank.gif 555000010358801.JPEG blank.gif

 

เดอะซัน - ภาพทะเลสาบแห่งหนึ่งในฝรั่งเศสกลายเป็นสีแดงฉาน ดูราวกับฉากในภาพยนตร์ แต่ความจริงก็คือสีที่เปลี่ยนไปนี้มีสาเหตุจากระดับเกลือในน้ำที่สูงกว่าปกตินั่นเอง

 

สันนิษฐานว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาตินี้มีต้นตอจากผลึกหินเกลือรอบๆทะเลสาบแห่งนี้ ซึ่งอยู่ในเมืองกามาร์เกอ ทางใต้ของฝรั่งเศส

 

แซม ดอบสัน ช่างภาพผู้ที่ถ่ายรูปอันน่าอัศจรรย์นี้ไว้ได้เผยว่า "ผมศึกษาเมืองกามาร์เกอมาพอสมควร แต่ผมก็ไม่เคยได้ยินเรื่องแบบนี้มาก่อน"

 

ช่างภาพหลายคนต้องมานะอุตสาหะอย่างมากกว่าจะได้รูปอันเหลือเชื่อแต่ละภาพ แต่ชายวัย 51 ปีรายนี้ กลับได้มันมาอย่างไม่คาดฝัน ขณะที่เขาตะลอนขับรถไปทั่วฝรั่งเศส

 

"เรากำลังเดินทางไปยังชายหาดตอนที่พบทะเลสาบสีแปลกตานี้โดยบังเอิญ แน่นอนว่าตอนที่มองจากระยะไกลมันก็สะดุดตาอยู่แล้ว แต่พอเข้ามาดูใกล้ๆ มันน่าทึ่งกว่าที่คิดไว้อีก"

 

แซม เล่าต่อว่า "เราพบเห็นผลึกหินเกลือในทุกๆที่ ทางน้ำทุกสายถูกปกคลุมไปด้วยผลึกและน้ำสีแดง ขณะที่ภาพฉากหลังของมันทำให้รู้สึกราวกับอยู่นอกโลก"

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คำเตือนจาก ดร.เสรี ศุภราทิตย์ พายุจะก่อตัวอีก 20 ลูก น้ำจะท่วมประเทศไทย

 

www.rsunews.net, อาร์เอสยูนิวส์www.rsunews.net

อาร์เอสยูนิวส์, ข่าวด่วน 24 ชั่วโมง, ข่าว, การเมือง, เศรษฐกิจ, สังคม, สิ่งแวดล้อม, น้ำท่วม, ปฏิรูปประเทศไทย, รังสิต

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปริศนาธรรมจาก “พระมหาชนก”

mh13.jpg

เปลว สีเงิน

 

ใกล้ถึงวันที่ ๑๒ สิงหาปีนี้ จะด้วยอะไรก็มิทราบ ทำให้ผมอยากอ่านหนังสือ “พระราชนิพนธ์” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ในเรื่อง “พระมหาชนก” ขึ้นมาอีกครั้ง ผมซื้อไว้ชุดหนึ่งเมื่อคราวเฉลิมฉลองกาญจนาภิเษกแห่งรัชกาล เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๙ เก็บใส่ตู้รวมไว้เฉพาะสิ่งเกี่ยวเนื่องกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ ๔-๕ วันมานี้ ผมนำกลับมาอ่านอีกครั้ง

 

จากอีกครั้ง ก็ต้อง “อ่านแล้วอ่านอีก” ไม่รู้อีกกี่สิบครั้ง บางครั้งแค่ความวรรคเดียว ก็ต้องใคร่ครวญและค้นเพื่อความเข้าใจเป็นวันๆ เป็นดังที่ “วิกิพีเดีย” กล่าวไว้ตอนหนึ่งจริงๆ ว่า…..

“พระมหาชนก เป็นเรื่องหนึ่งในทศชาติชาดก อันเป็นชาดก 10 ชาติสุดท้ายก่อนที่ พระโพธิสัตว์ จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ และตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ชาดกเรื่องนี้ เป็นการบำเพ็ญความเพียรเป็นบารมี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัย จึงทรงค้นเรื่องพระมหาชนกในพระไตรปิฎก และทรงแปลเป็นภาษาอังกฤษตรงจากมหาชนกชาดก ตั้งแต่ต้นเรื่อง โดยทรงดัดแปลงเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น

 

mahajanaka11-081.jpg

 

นอกจากนี้ ยังทรงแปลเป็นภาษาสันสกฤตประกอบอีกภาษา รวมทั้งแผนที่ฝีพระหัตถ์ แสดงสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของเมืองโบราณบางแห่งและข้อมูลอุตุนิยมวิทยาเกี่ยวกับทิศทางลม กับกำหนดวันเดินทะเลตลอดจนจุดอับปางของเรืออับโชค ทรงคาดคะเนโดยอาศัยข้อมูลทางโหราศาสตร์ แสดงถึงพระปรีชาในด้านอักษรศาสตร์ ภูมิศาสตร์และโหราศาสตร์ไทย

 

ในโอกาสเฉลิมฉลองกาญจนาภิเษกแห่งรัชกาล เมื่อ พ.ศ.2539 พระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนกก็ออกจำหน่าย และเป็นที่ชื่นชมโดยทั่วไป แต่หนังสือพระราชนิพนธ์นี้ ก็ยังอ่านค่อนข้างยาก ด้วยความซับซ้อนของข้อความและของภาพ ทำให้มีการวิจารณ์และตีความกันในทางต่างๆ นานา”

 

นี่แหละครับ…ตรงที่วิกิพีเดียว่า “อ่านค่อนข้างยาก ด้วยความซับซ้อนของข้อความและภาพ ทำให้มีการวิจารณ์และตีความกันในทางต่างๆ นานา” นั่นแหละ อ่านแล้วก็ต้องอ่านอีก เหมือนเดินเข้าอุโมงค์แห่งเขาวงกต แรกๆ คลำไปในเส้นทางมืด เวิ้งว้าง คดเคี้ยว ไร้ที่สิ้นสุด และไม่ทราบว่า….

เมื่อไหร่จะพบ “แสงสว่างปลายอุโมงค์” ซักที!?

ทั้งหมดมี ๓๗ บท นอกนั้นเป็น “พระราชปรารภ” และภาคผนวก ที่สำคัญจะพลาดไม่ได้คือ ภาพเขียนประกอบแต่ละบท จากจิตรกรแห่งแผ่นดินและเพื่อแผ่นดิน ประหนึ่งซ่อนปริศนาธรรมเป็นลายแทง “อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต” แห่งแผ่นดินสุวรรณภูมินี้ไว้ให้ใช้ “ปัญญาที่เฉียบแหลม” คลายคลี่กัน

 

ผมอยากจะบอกกับทุกท่านว่า จงกลับไปเปิดตู้หนังสือของแต่ละท่าน และหยิบหนังสือพระราชนิพนธ์ “พระมหาชนก” มาพลิกอ่านเถิด

 

mahajanaka13-01.jpg

 

อ่านอีกหลายๆ ครั้ง อ่านด้วยอานิสงส์จากพรดังปรากฏใน “พระราชปรารภ” ว่า….”ขอจงมีความเพียรที่บริสุทธิ์ ปัญญาที่เฉียบแหลม กำลังกายที่สมบูรณ์” นั่นแล

ทุกความ-ทุกภาพ” ในพระราชนิพนธ์พระมหาชนกนั้น มีอะไรที่เรียกว่า “ซ่อนนัยลึกซึ้ง” เกินกว่าจะอ่านผ่านๆ พอรู้-พอสนุก และจำแค่ตอนพระมหาชนกว่ายน้ำกลางมหาสมุทร ๗ วัน ๗ คืน จนเทพธิดา “มณีเมขลา” เห็นในความเพียร จึงอุ้มพาเหาะไปในอากาศสู่ฝั่ง แล้วนำไปพูด-ไปเล่ากันดาดๆ แค่นั้น

 

แรกอ่าน จะเหมือนเดินเข้าอุโมงค์ อ่านหนึ่งจบ และพิเคราะห์แต่ละภาพหนึ่งครั้ง เหมือนคลำเปะปะในความมืด อ่านครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๓ ครั้งที่ ๔ และต่อๆ ไปแต่ละครั้ง จะเหมือนทิศทางที่มืดมิด ค่อยๆ เลือนรางปรากฏทางขึ้นทีละน้อย..ทีละน้อย

ยิ่งอ่านด้วย “ความเพียรบริสุทธิ์ ปัญญาที่เฉียบแหลม” ก็ยิ่งตื่นเต้น กระปรี้กระเปร่า ด้วยปีติ ดื่มด่ำ กับความล้ำลึกที่ค่อยๆ คลี่คลายว่า..พบแล้ว…ทางสู่คลังมหาสมบัติที่ค้นหา คือ “คำตอบอนาคตประเทศไทย” ว่าอยู่ตรงไหน และจะไปสู่จุดนั้นได้…….

“ด้วยหนทางและวิธีใด”?

ประหนึ่งคนเคี้ยวผลสมอ ฝาดเฝื่อน ขื่นและขมแต่แรก ครั้นเคี้ยวนานจนเข้าเนื้อ จากฝาดเปลี่ยนเป็นหวานชะเอม จากขื่นและขม เป็นชุ่มคอ-ชื่นใจ!

 

7days.jpg

“หนังสือนี้เป็นที่รักของข้าพเจ้า”

“หนังสือนี้ไม่มีที่เทียม และจะเป็นที่ร่าเริงใจของผู้อ่าน”

“ต้องการให้เห็นว่าสำคัญที่สุดคนเราทำอะไรต้องมีความเพียร”

“ขอจงมีความเพียรที่บริสุทธิ์ ปัญญาที่เฉียบแหลม กำลังกายที่สมบูรณ์”

นี่คือพระราชดำรัส “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” เมื่อครั้งโปรดเกล้าฯ ให้สื่อมวลชนเข้าเฝ้าฯ ณ พระที่นั่งดุสิดาลัย สวนจิตรลดา เมื่อ ๒๘ มี.ค.๓๙

โดยพระองค์ทรงแจ้งให้ทราบว่า พระราชนิพนธ์เล่มล่าสุดของพระองค์เรื่อง “พระมหาชนก” เสร็จแล้ว และทรงเชื่อมั่นว่า ด้วยพระราชนิพนธ์พระมหาชนกนี้ ได้ทรงบรรลุพระราชภารกิจสำคัญที่สุดในรัชสมัยแห่งมงคลชัยในชีวิตประชาชนชาวไทยอันหาที่เปรียบมิได้แล้ว

ตาม “พระราชปรารภ” ต้นเล่มบอกว่า ทรงสดับเรื่องพระมหาชนกจากพระธรรมเทศนาตั้งแต่พ.ศ.๒๕๒๐ แล้วสนพระราชหฤทัย จึงค้นเรื่องจากพระไตรปิฎก และทรงแปลเป็นภาษาอังกฤษ “โดยดัดแปลงเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น” ทรงแปลเสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๑ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๙

 

maha0036-2.jpg

 

ครับ…ผมอยากให้สนใจเป็นพิเศษ ทรงแปลตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๐ ถึง พ.ศ.๒๕๓๑ รวม ๑๑ ปี และต่อมาอีก ๘ ปีจึงพิมพ์ รวมเวลา ๑๙ ปี

และเมื่ออ่านด้วยใคร่ครวญตามพระราชปรารภตรงที่ว่า……..

“ด้วยประการเช่นนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงดัดแปลงเนื้อเรื่องในมหาชนกชาดก ให้เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน โดยที่พระราชดำริว่า พระมหาชนกจะบรรลุโมกขธรรมได้ง่ายกว่า หากได้ประกอบพระราชกรณียกิจในโลกให้ครบถ้วนก่อน”

 

ครับ…พระราชนิพนธ์ไว้ก่อนหน้า “สังคมปัจจุบัน” เป็นเวลา ๑๙ ปี ถ้าหากนับจาก พ.ศ.๒๕๒๐ คือหลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ๑๖ และ ๖ ตุลา ๑๙ ถึง “สังคมปัจจุบัน” คือใน พ.ศ.๒๕๕๕ นี้ ก็เป็นเวลา ๓๕ ปี แต่ปรากฏว่า เนื้อเรื่องที่ทรงดัดแปลงไว้ในมหาชนกนั้น

“ช่างเหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน” ดุจประหนึ่งพระปรีชาหยั่งรู้ด้วย อตีตังสญาณ อนาคตังสญาณ และปัจจุปปันญาณ ว่า “สังคมปัจจุบัน” เป็นฉันใด ถ้าท่านต้องการพิสูจน์ตรงที่ผมว่านี้ โปรดพิจารณาภาพประกอบพระมหาชนกแต่ละภาพด้วย “ปัญญาที่เฉียบแหลม” เป็นเบื้องต้นเถิด

พิจารณาด้วยใคร่ครวญตามแต่ละจุดในภาพ แต่ละตัวอักษรที่ปรากฏในภาพ ทุกเส้น ที่ประกอบเป็นภาพไม่ว่าวัตถุ ต้นไม้ สายน้ำ มนุษย์ สัตว์ พืช ผืนดิน ผืนฟ้า มหาสมุทร และอักษร ใช่สักแต่เขียน-ขีดเป็นภาพ หากแต่ “มีความหมาย” สอดใส่เป็นนัยแห่งปริศนาจากอดีต ถึงปัจจุบัน สู่อนาคต ทั้งสิ้น!

 

ก่อนจะอ่านพระมหาชนก ควรต้องอ่าน “พระราชปรารภ” ให้เข้าใจถ่องแท้ก่อน จะอ่านกี่เที่ยวก็ต้องอ่าน ต้องให้เข้าใจในพระราชปรารภนั้น ถ้ายังไม่เข้าใจ ถึงเปิดอ่านเนื้อหาในหน้า-ในบทต่อๆ ไป ก็เหมือนคนทานผลไม้ทั้งเปลือก

 

16.jpg

 

และถ้าจะให้ดียิ่งขึ้น ไปหา “พระมหาชนกชาดก” อ่านก่อน หลายปีมาแล้ว ผมเคยแจกหนังสือ “ทศชาติ” ไปครั้งหนึ่ง ซึ่ง “กองทุนพุทธานุภาพ” ที่วัดสระเกศฯ จัดพิมพ์เป็นธรรมทาน โดยท่าน “ญาณวชิระ” เป็นผู้เรียบเรียง

พระมหาชนกเป็น ๑ ใน ๑๐ ชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารมีสู่ความเป็นพระพุทธเจ้า ที่ผมต้องการให้ไปหาอ่านก่อน ก็เจตนาให้เข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้นเมื่ออ่านพระราชนิพนธ์พระมหาชนก เพราะจะได้ทราบว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ทรงดัดแปลงเนื้อเรื่อง “จากตรงไหน-สู่ตรงไหน?”

และที่ทรงดัดแปลงนั้น ด้วยพระราชประสงค์ใด และแปลงไปเป็นอย่างใด?

ถ้าไม่ทราบตรงไหนเนื้อเดิม จากตรงไหนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดัดแปลง จะทำให้ท่านยากขึ้นต่อการศึกษาในเนื้อหาว่า ที่ “ให้เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน” นั้น จากตรงไหนที่ทรงดัดแปลง

ผมแนะให้ท่านอ่านจากบทที่ ๓๒ เป็นต้นไป จากบทที่ ๓๔ จะเป็นบทที่ทรงดัดแปลง จนถึงบทจบที่ ๓๗ อันจบลงด้วยประโยคว่า

“มิถิลายังไม่สิ้นคนดี!”

เรานำเรื่องสถาบัน “ปูทะเลย์มหาวิชชาลัย” ในพระมหาชนกส่วนทรงดัดแปลงมากล่าวขานกันใช่ไหม เรานำเรื่องมหาชนรุมทึ้งต้นมะม่วงเพื่อแย่งกินผลมะม่วงจนต้นหักโค่นกันแล้วใช่ไหม และก็…เข้าใจกันบ้าง ไม่เข้าใจกันบ้างใช่ไหม?

 

ton19.jpg

 

วันนี้ เห็นจะคุยกันไม่จบ แต่จะนำบางตอนใน “พระราชปรารภ” มาให้ท่านได้อ่านด้วยโยนิโสมนสิการ ก่อนจะต่อกันอีกวันพรุ่งนี้ ดังนี้

มาถึงตอนเรื่องต้นมะม่วง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า การที่พระมหาชนกจะเสด็จออกทรงแสวงโมกขธรรม ยังไม่ถึงวาระเวลาอันสมควร เพราะว่าได้ทรงสร้างความเจริญแก่มิถิลายังไม่ครบถ้วน

กล่าวคือข้าราชบริพาร นับแต่อุปราชจนถึงคนรักษาช้างรักษาม้า และนับแต่คนรักษาม้าจนถึงอุปราช และโดยเฉพาะเหล่าอมาตย์ ล้วนจาริกในโมหภูมิทั้งนั้น

ไม่มีความรู้ทั้งทางวิทยาการทั้งทางปัญญา ยังไม่เห็นความสำคัญของผลประโยชน์แท้ แม้ของตนเอง จึงต้องตั้งสถานอบรมสั่งสอนให้เบ็ดเสร็จ

อนึ่ง พระมหาชนกยังต้องทรงปรารภเรื่องการอนุบาลต้นมะม่วงตามวิธีสมัยใหม่ เก้าวิธีอีกด้วย.

 

mh14.jpg

 

สำนักพิมพ์เจ้าพระยา

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

๙ วิธี”ฟื้นฟูต้นมะม่วง”มิถิลานคร

(ปริศนาธรรม“พระมหาชนก”ตอน ๒)

1301233376.jpg

เปลว สีเงิน

 

ครับ…เมื่อวานคุยกันถึงเรื่อง “พระมหาชนก” ผู้ครองสมบัติแห่งกรุงมิถิลานครบำเพ็ญ “วิริยบารมี” อันเป็น ๑ ในบารมี ๑๐ ประการที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญสู่ความเป็นพระพุทธเจ้าในชาติต่อๆ ไป ยังไม่สิ้นกระบวนความ โดยเฉพาะในส่วนที่ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ทรงดัดแปลงเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น และเพื่อ “ให้เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน”

 

ก็ต่อกันเลยนะครับ ตามชาดก เมื่อพระมหาชนกเสด็จประพาสพระราชอุทยาน พอผ่านประตูก็ทรงเห็นต้นมะม่วง ๒ ต้น ทั้ง ๒ ต้นแผ่กิ่งก้านเขียวชอุ่มสง่างาม ต้นหนึ่งมีผล อีกต้นไม่มี แต่ไม่มีใครกล้าเก็บกิน เพราะพระราชายังไม่ได้เสวย

พระมหาชนกเสวยไปผลหนึ่ง รสหอมหวาน อร่อยมาก ตั้งพระทัยว่าเดี๋ยวจะกลับมาเสวยอีกผล แต่พอพระมหาชนกคล้อยหลังเท่านั้นแหละ ทั้งอุปราช ทั้งปุโรหิต อำมาตย์ ข้าราชบริพาร ตลอดจนตะพุ่นช้าง ตะพุ่นม้า เมื่อรู้ว่าพระราชาเสวยแล้ว

 

เฮละโลแย่งกันรุมทึ้งเก็บกินมะม่วงที่เหลือ จนกิ่งหักแหลกลาญ ใบร่วงเกลื่อนกลาด เรียกว่ายับเยินสิ้นสภาพต้นมะม่วงที่เขียวชอุ่มสง่างาม ตรงข้ามกับต้นที่ไม่มีผล อย่าว่าแต่จะมีใครไปแตะต้องเลย กระทั่งจะแลก็ยังไม่มี ยืนต้นแผ่กิ่งก้านสาขาสง่างามเหมือนเดิม!

 

Fat004.gif

 

พอพระมหาชนกเสด็จกลับออกมา ตั้งใจจะเสวยมะม่วงเพิ่มอีก แต่ทอดพระเนตรเห็นสภาพดังกล่าว จึงตรัสถามอำมาตย์ว่าเกิดอะไรขึ้น อำมาตย์ก็กราบทูลให้ทรงทราบถึงสาเหตุว่า…

“ต้นมะม่วงต้นหนึ่งยังคงแผ่กิ่งก้านสาขาสง่างามเพราะไม่มีผล แต่อีกต้นที่มีผลดกหนาถูกยื้อแย่ง ใบร่วง กิ่งฉีกหักเกลื่อน ราชสมบัติก็เหมือนต้นมะม่วงมีผล ที่มีผู้เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ ทำให้เกิดปัญหาแก่แผ่นดิน วันหนึ่งอาจถูกโค่นล้มราชบัลลังก์เปลี่ยนแปลงการปกครอง หากยังไม่ถูกโค่นล้มราชบัลลังก์ พวกทหารก็คอยปฏิวัติรัฐประการกันเอง ต้องคอยเฝ้าหวงแหน ทั้งถูกพวกคณะมนตรีแก่ๆ คอยประจบสอพลอ ทำให้เกิดความกังวลใจ การบวชเหมือนต้นมะม่วงไร้ผล เพราะไม่มีผลประโยชน์ให้แสวงหา ภัยย่อมมีแก่ผู้มีความกังวล ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีความกังวล“

พระมหาชนกทรงอธิษฐานจิตมั่นว่า “เราจะไม่เป็นเหมือนต้นมะม่วงมีผล แต่จะเป็นเหมือนต้นมะม่วงไม่มีผล เราจะสละราชสมบัติออกบวช”

ครับ…นั่นเป็นเนื้อเรื่อง “พระมหาชนกชาดก” ในพระไตรปิฎก พอพระมหาชนกเสด็จสู่พระนครก็เสด็จขึ้นปราสาท รับสั่งห้ามไม่ให้ผู้ใดเข้าเฝ้า เว้นแต่ผู้นำอาหาร น้ำบ้วนพระโอษฐ์ และไม้สีพระทนต์เท่านั้น พระองค์ไม่ออกว่าราชการ ทรงมอบให้เหล่าอำมาตย์เป็นผู้วินิจฉัยราชกิจ ทรงบำเพ็ญสมณธรรมบนพระตำหนักเพียงลำพังพระองค์เดียว

 

mahajanaka14-05.jpg

 

แต่พระมหาชนก ฉบับที่ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” พระราชนิพนธ์ ทรงดัดแปลงจากตรงนี้ คือจากบทที่ ๓๔ เป็นต้นไป โดยทรงดัดแปลงด้วยพระราชดำริตาม “พระราชปรารภ” ในเล่ม ว่า

“การที่พระมหาชนกจะเสด็จออกทรงแสวงโมกขธรรม ยังไม่ถึงวาระเวลาอันสมควร เพราะว่าได้ทรงสร้างความเจริญแก่มิถิลายังไม่ครบถ้วน กล่าวคือ ข้าราชบริพาร “นับแต่อุปราชจนถึงคนรักษาช้างรักษาม้า และนับแต่คนรักษาม้าจนถึงอุปราช และโดยเฉพาะเหล่าอมาตย์ ล้วนจาริกในโมหภูมิทั้งนั้น ไม่มีความรู้ทั้งทางวิทยาการทั้งทางปัญญา ยังไม่เห็นความสำคัญของผลประโยชน์แท้แม้ของตนเอง จึงต้องตั้งสถานอบรมสั่งสอนให้เบ็ดเสร็จ” อนึ่ง พระมหาชนกยังต้องทรงปรารภเรื่องการอนุบาลต้นมะม่วงตามวิธีสมัยใหม่ เก้าวิธีอีกด้วย

ดังนั้น ความตามบทที่ ๓๔ ในพระราชนิพนธ์พระมหาชนกจึงมีว่า…….

 

พระราชาเสด็จสู่พระนคร เสด็จขึ้นปราสาท ประทับที่พระทวารปราสาท ทรงมนสิการถึงวาจาของนางมณีเมขลา ในการที่นางอุ้มพระมหาสัตว์ขึ้นจากมหาสมุทร พระราชาทรงจดจำคำพูดของเทวดาไม่ได้ทุกถ้อยคำ เพราะพระสรีระเศร้าหมองด้วยน้ำเค็มตลอดเจ็ดวัน.แต่ทรงทราบว่า เทวดากล่าวชี้ว่า พระองค์จะยังเข้ามรรคาแห่งความสุขไม่ได้ หากไม่กล่าวธรรมให้สาธุชนได้สดับ

 

ton27.jpg

 

นางมณีเมขลาให้พระองค์ตั้งสถาบันการศึกษา ให้ชื่อว่า ปูทะเลย์มหาวิชชาลัย.แม้ในการนั้นก็จะสำเร็จกิจ และได้มรรคาแห่งบรมสุข พระมหาสัตว์ทรงดำริว่า : “ทุกบุคคล จะเป็นพ่อค้าวาณิช เกษตรกร กษัตริย์ หรือสมณะ ต้องทำหน้าที่ทั้งนั้น.อย่างไรก็ตาม ก่อนอื่นเราต้องหาทางฟื้นฟูต้นมะม่วงที่มีผล”

 

บัดนั้นจึงให้เรียกเสนาบดีมา ตรัสสั่งว่า : “จงไปเชิญอุทิจจพราหมณ์มหาศาลให้มาพร้อมด้วยลูกศิษย์สองสามคน”

ก็ขอย้อนกลับไปนิดหนึ่ง เฉพาะประเด็น “นางเมขลาให้พระมหาชนกตั้งสถาบันปูทะเลย์มหาวิชชาลัย” นั้น เป็นพระราชนิพนธ์ที่ทรงดัดแปลงเพิ่มขึ้น ดังปรากฏในบทที่ ๒๗ ว่า……

 

ก็แล ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว นางมณีเมขลาได้ถามว่า : “ข้าแต่ท่านบัณฑิตผู้มีความบากบั่นมาก ข้าพเจ้าจักนำท่านไปที่ไหน “เมื่อพระมหาสัตว์ตรัสว่า : ” มิถิลานคร” นางจึงอุ้มพระมหาสัตว์ขึ้นดุจคนยกกำดอกไม้ ใช้แขนทั้งสองประคองให้นอนแนบทรวง พาเหาะไปในอากาศ เหมือนคนอุ้มลูกรักฉะนั้น

 

พร้อมกันนั้น เทวดาก็ได้กล่าวอดิเรกคาถาว่า : ข้าแต่บัณฑิต วาจาอันมีปาฏิหาริย์มิบังควรหายไปในอากาศ ท่านต้องให้สาธุชนได้รับพรแห่งโพธิญาณจากโอษฐ์ของท่าน ถึงกาลอันสมควร ท่านจงตั้งสถาบันการศึกษาให้ชื่อว่า โพธิยาลัยมหาวิชชาลัย ในกาลนั้นท่านจึงจะสำเร็จกิจที่แท้

 

A02.jpg

 

คำว่า โพธิยาลัย หมายความ ที่อาศัยแห่งแสงสว่าง คำว่า มหาวิชฺชาลย หมายความ ที่อาศัยแห่งความรู้อันยิ่งใหญ่

ครับ…ก็กลับไปตอนเชิญอุทิจจพราหมณ์มหาศาลกับลูกศิษย์สองสามคนต่อ เป็นบทที่ ๓๕ ใจความว่า พระมหาชนกแทนที่จะสุขเฉพาะตนด้วยการออกแสวงหาโมกขธรรมตามเรื่องพระมหาชนกในพระไตรปิฎก แต่ฉบับพระราชนิพนธ์ทรงดัดแปลงเป็น พระมหาชนกไม่ประสงค์เข้ามรรคาแห่งสุขเฉพาะตน แต่ทรงยอมอุทิศตนช่วยเหลือประชาชนให้ถึงฝั่งสุขก่อน ดังปฏิปทาของพระโพธิสัตว์

 

ทรงแนะ ๙ วิธี ฟื้นฟูต้นมะม่วง ให้กับอุทิจจพราหมณ์มหาศาลกับลูกศิษย์เพื่อปฏิบัติ

คือ ๑.เพาะเม็ดมะม่วง

๒.ถนอมรากที่ยังมีอยู่ให้งอกใหม่

๓.ปักชำกิ่งที่เหมาะแก่การปักชำ

๔.เอากิ่งดีมาเสียบยอดกิ่งของต้นที่ไม่มีผลให้มีผล

๕.เอาตามาต่อกิ่งของอีกต้น

๖.เอากิ่งมาทาบกิ่ง

๗.ตอนกิ่งให้ออกราก

๘.รมควันต้นที่ไม่มีผลให้ออกผล

และ ๙.ทำ “ชีวาณูสงเคราะห์”

 

ชีวาณูสงเคราะห์ ก็คือวิธีเพาะเนื้อเยื่อ เมื่อทรงแนะวิธีฟื้นฟูต้นมะม่วงแล้ว อุทิจจพราหมณ์ก็รับสนองพระราชโองการว่า : “ข้าพระองค์ผู้ทรงปัญญา จะให้คเชนทรสิงหบัณฑิตนำเครื่อง “ยันตกล” ไปยกต้นมะม่วงให้ตั้งตรงทันที และจะให้จารุเตโชพราหมณ์เก็บเม็ดและกิ่งไปดำเนินการตามพระราชดำริ ” พระราชาโปรดให้สองคนนั้นรีบไป แต่ขอให้พราหมณ์มหาศาลคอยรับพระราชดำริต่อไป

 

1301233467.jpg

 

ครับ…ในบทที่ ๓๖ และ ๓๗ สุดท้าย และขอให้ท่านพิจารณา “ด้วยปัญญาที่เฉียบแหลม” ในภาพหน้าที่ ๑๒๖-๑๒๗-๑๒๘ และหน้า ๑๓๑ หน้า ๑๓๔-๑๓๕ หน้า ๑๓๘-๑๓๙ และหน้า ๑๔๒-๑๔๓-๑๔๔

โปรดพินิจพิจารณาด้วยโยนิโสมนสิการ ทุกเส้นแห่งภาพ และทุกองค์ประกอบในภาพ รวมถึงตัวหนังสือ และตัวเลข ล้วนบอกนัยจากอดีต ถึงปัจจุบัน และสู่อนาคตทั้งสิ้น

เช่นเดียวกับภาพในหน้าที่ ๑๖-๑๗-๑๘-๑๙!?

บทที่ ๓๖ ผมอยากให้เราตั้งใจอ่านพร้อมๆ กัน เพื่อนำไปทำการบ้านให้ถูกต้อง เพราะเป็นนัยแฝงปริศนาธรรมล้ำลึก มิใช่ดังเข้าใจดาดๆ ด้วยตื้นเขิน พระราชนิพนธ์พระมหาชนก บทที่ ๓๖ มีว่า

ครั้นอยู่ลำพังพระราชาตรัสกะพราหมณ์ว่า : “เราสงวนเรื่องนี้มาหลายเวลาแล้ว นับแต่คราวลงเรือมุ่งสู่สุวรรณภูมินั้น ก่อนคลื่นยักษ์มากระหน่ำนาวา เราได้ยินพาณิชชาวสุวรรณภูมิพูดกัน เป็นภาษาสุวรรณภูมิว่า : “โน่นปูทะเลยักษ์สู้กับปลาและเต่า.”และว่าผู้ใดเหยียบปูนั้นได้ จะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ หากมีความเพียรแท้”

พราหมณ์ทูลว่า : “ข้าพระองค์ก็เคยได้ยินเรื่องอย่างนี้ แต่ไม่ทราบว่า มีปูทะเลยักษ์ดังนี้หรือไม่.”

พระราชาตรัสต่อว่า : “มีแน่แท้, หลังจากได้กระโดดจากยอดเสากระโดงเรือ ลงทะเลพ้นปลาและเต่า ก็ว่ายข้ามมหาสมุทร.ได้พักผ่อนเป็นคราวๆ.บางครั้งก็รู้สึกเหมือนเหยียบพื้นทะเลได้คล้ายๆ ใกล้ถึงฝั่ง ดังเช่นบุคคลที่หกในจำพวกเจ็ดบุคคล (ในอุทกูปมสูตร ที่ ๕) แต่ที่แท้เป็นปูทะเลยักษ์นั่นเอง.”พราหมณ์ทูลว่า : “ที่จริงแท้คือพระบุญญาธิการ.”

 

1_original.jpg

 

ครับ…เข้าใจว่าหลายท่านคงได้นำพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก จากในตู้ หรือบนหิ้งหนังสือ มาอ่านด้วยใจจดจ่อกันอยู่ ดูแต่ละภาพเขียนกันแล้วก็ดี อ่านแต่ละบทตีปริศนาธรรมกันแล้วก็ดี เกิดแสงสว่างแห่งปัญญาอย่างใด โปรดเอื้อเฟื้อแบ่งปันกันบ้าง เอาไว้พรุ่งนี้ เรามาอ่าน “บทที่ ๓๗” สุดท้าย ด้วยกันอีกที นอกจากทราบ ๙ วิธีฟื้นฟูต้นมะม่วงแล้ว

ก็จะทราบกันว่า “มิถิลานคร” ถึงคราสิ้นคนดี หรือว่า “มิถิลานี้…ยังมีคนดีกอบกู้ฟูฟื้น?”.

 

1301232916.jpg

 

สำนักข่าวเจ้าพระยา

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธรรมะอินเทรนด์ ธรรมะออนไลน์

การให้เพียงแค่ครั้งเดียว

สำหรับบางคนเขาจำได้และไม่มีวันลืม

แต่...การให้ทั้งชีวิตของคนสองคน

สำหรับบางคนไม่เคยจำและหลงลืมไป

 

ที่มา... http://www.ebooks.in.th/ebook/1667/

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...