ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
ginger

ใบไม้ผลิบนดวงจันทร์

โพสต์แนะนำ

1_display.jpg

เป็นความจริงอยู่โดยธรรมดา ที่บุคคลในสังคมนั้นย่อมมีอัชฌาสัยจิตใจแตกต่างเหลื่อมล้ำกันเป็นหลายระดับ ขึ้นอยู่กับพื้นฐานภูมิธรรมของตน บางคนก็มีความคิดจิตใจสูง มีความประพฤติปฏิบัติดีงาม เป็นคุณเป็นประโยชน์อยู่แล้วเป็นปกติ แต่บางคนก็ไม่สามารถจะทำเช่นนั้นได้ เพราะยังไม่เห็นคุณค่าของการปฏิบัติดี จึงมักก่อปัญหาให้เกิดแก่สังคมคนเรานั้น สำคัญอยู่ที่ควรจะได้ปรารภปรารถนาที่จะพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นเป็นลำดับ เพื่อให้ชีวิตเป็นสุข และเจริญรุ่งเรือง

พระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว... (79)

(พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่านในพิธีเปิดการประชุมยุวพุทธิกสมาคมทั่วประเทศ ครั้งที่ 16 วันเสาร์ 30 พ.ค.2524)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วรวรรณ ธาราภูมิ

 

 

General News

------------------

 

 

• บารัค โอบามา เสนอชื่อ เจคอบ ลิว หัวหน้าคณะทำงานประจำทำเนียบขาวให้ดำรงตำแหน่ง รมต.คลัง คนต่อไป แทน ทิม ไกธ์เนอร์ ทั้งนี้ หากวุฒิสภาลงมติเห็นชอบ ลิวจะเป็นรมต.คลัง คนที่ 2 ในคณะทำงานของโอบามา แทนไกธ์เนอร์ ซึ่งเป็นผู้ช่วยคนสำคัญด้านเศรษฐกิจคนเดียวที่เหลืออยู่ในทีมตั้งแต่ 4 ปีที่แล้ว

 

• ก.คลังสหรัฐ เปิดเผยว่า รัฐบาลกลางสหรัฐขาดดุลงบประมาณ 260 ล้านดอลลาร์ในเดือน ธ.ค. โดยยอดขาดดุลใน 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2556 ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 1 ต.ค.มีจำนวนทั้งสิ้น 2.92 แสนล้านดอลลาร์ ลดลง 9% เมื่อเทียบกับปีงบประมาณก่อนหน้า

 

• ธ.กลางฝรั่งเศส เปิดเผยว่า ยอดขาดดุลการค้าเดือน พ.ย.ลดลงมาอยู่ที่ 5 พันล้านยูโร จาก 5.1 พันล้านยูโรในเดือน ต.ค. ในขณะที่การลงทุนโดยตรงของฝรั่งเศสในต่างประเทศลดลงแตะ 2.9 พันล้านยูโรในเดือน พ.ย. สวนทางกับการลงทุนโดยตรงของต่างชาติในฝรั่งเศสที่เพิ่มขึ้นเป็น 4 พันล้านยูโร

 

• ญี่ปุ่นประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 10.3 ล้านล้านเยน โดยจะใช้งบประมาณ 3.8 ล้านล้านเยนในการฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยธรรมชาติซึ่งรมถึงพัฒนาระบบป้องกัน และจะใช้งบประมาณ 3.1 ล้านล้านเยนกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน ซึ่งคาดว่า จะกระตุ้นให้ GDP ขยายตัวในอัตรา 2% และจะสร้างงานได้ 600,000 ตำแหน่ง

 

• ส.สถิติแห่งชาติจีน เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อเดือน ธ.ค.เป็น 2.5% อันเป็นระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นที่สุดในรอบ 28 ปีส่งผลให้ปริมาณพืชผลทางการเกษตรลดลง 2.3% ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอาจเป็นอุปสรรคต่อรัฐบาลใหม่ของจีนในการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม

 

• ธ.กลางเกาหลีใต้ลดประมาณการ GDP ปีนี้จาก 3.2% เป็น 2.8% หลังเศรษฐกิจโลกยังมีความเสี่ยง และการลงทุนภาคเอกชนชะลอลง โดย ธ.กลางคาดว่าการลงทุนโดยบริษัทเอกชนปีนี้จะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงกว่าที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ เนื่องจากความต้องการจากยุโรป และสหรัฐชะลอลง

 

• ธ.กลางเกาหลีใต้ประกาศอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.75% โดยเป็นการคงอัตราดอกเบี้ย 3 เดือนติดต่อกัน ทั้งนี้ ประธานาธิบดีคนใหม่ของเกาหลีใต้ประกาศว่าจะใช้จ่ายเงินงบประมาณ 201 พันล้านดอลลาร์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (72% ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีทั้งหมด)

 

• ก.คลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ญี่ปุ่นขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน พ.ย. โดยอยู่ที่ 222.4 พันล้านเยน หลังยอดส่งออกลดลงจากการแข็งค่าขึ้นของเงินเยน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ค่าเงินเยนได้อ่อนลงมาสู่ระดับ 89 เยน/ดอลลาร์ แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปีครึ่ง

 

• ส.สถิติแห่งชาติอินเดีย เปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ย. ลดลง 0.1% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน หลังเพิ่มขึ้น 8.3% ในเดือนก่อนหน้า ทำให้คาดกันว่าธนาคารกลางอินเดียจะลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 29 ม.ค.นี้ เพื่อช่วยกระตุ้นการบริโภค ขณะที่นายกรัฐมนตรี มาน โมฮาน ซิงห์ มีแผนจะใช้นโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นการลงทุน

 

• ธ.กลางฟิลิปปินส์ เปิดเผยว่า เม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้น 32.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยมีปริมาณทุนไหลเข้าสุทธิเพิ่มขึ้นกว่า 7 เท่าไปอยู่ที่ 1.2 พันล้านดอลลาร์ จาก 170 ล้านดอลลาร์ในปีก่อนหน้า

 

ทั้งนี้ เม็ดเงินลงทุนส่วนใหญ่มาจากสหรัฐ ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และ หมู่เกาะเวอร์จิ้น โดยนำมาลงทุนในภาคการผลิต อสังหาริมทรัพย์ ค้าส่งและค้าปลีก การเงินและประกันภัย เหมืองแร่ กับ การขนส่งและคลังสินค้า

 

• ส.อุตสาหกรรมยานยนต์ของอินโดนีเซีย เปิดเผยว่า ยอดขายส่งรถยนต์แก่ผู้แทนจำหน่ายในปี 2555 พุ่งขึ้นสู่ 1.161 ล้านคัน หรือเพิ่มขึ้น 24.8% จากปีก่อนหน้า โดยยอดขายของฮอนด้าขยายตัวมากที่สุดถึง 50% เมื่อเทียบกับปี 2554 ส่วนยอดขายปลีกรถยนต์ก็เพิ่มขึ้นในเดือนธ.ค. ปีที่แล้วราวๆ 4.4% หรือ 101,866 คัน เมื่อเทียบกับในเดือน พ.ย. ที่เป็น 97,570 คัน

 

• สภาแห่งชาติของเวียดนาม อนุมัติแผนการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจปี 2556 โดยเน้น การขยายตัวของ GDP ที่ 5.5% ภายใต้สมมติฐานที่ดัชนีราคาผู้บริโภคจะขยายตัว 6.0%-6.5% มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 10% และตั้งเป้าให้อัตราครัวเรือนที่ยากจนลดลง 2% นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควบคุมยอดขาดดุลงบประมาณให้อยู่ต่ำกว่าระดับ 4.8% ของ GDP ในปีนี้

 

• กรมสรรพสามิต เตรียมเสนอของบกลางประจำปี 2556 แก่ ก.คลัง ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท เพื่อคืนเงินโครงการรถยนต์คันแรกในปี 2556 นี้ ซึ่ง ก.คลัง เคยตั้งงบประมาณในการคืนเงินในโครงการดังกล่าว 7 พันล้านบาท แต่ปรากฏว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีจำนวนที่สูงมากโดยซื้อรภไป1.25 ล้านคัน และเป็นเงินคืนในโครงการรถยนต์คันแรก 9.1 หมื่นล้านบาท

 

Equity Market

------------------

 

 

• SET Index ปิดตลาดที่ 1,412.06 จุด เพิ่มขึ้น 6.07 จุด หรือ 0.43% ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 54,895.01 ล้านบาท โดยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 60.21 ล้านบาท ทั้งนี้ SET Index ขยับขึ้นมาเล็กน้อยหลังจากมีแรงเทขายจากในช่วงเช้าจากโบรกเกอร์ซึ่งเป็นผู้ขายสุทธิหลัก แต่ดัชนีกลับขึ้นมาได้จากการที่นังลงทุนเข้าซื้อหุ้นในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์

 

Fixed Income Market

----------------------------

 

 

• อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเปลี่ยนแปลงในช่วงระหว่าง 0.00% ถึง +0.05% สำหรับวันนี้ไม่มีการประมูล

 

Oil Corner

--------------

 

 

• สัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้า เวสต์เท็กซัส เดือน ก.พ.ปรับตัวขึ้น 6 เซนต์ไปแตะ 93.88 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากมีรายงานว่า ซาอุดิอาระเบียซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่สุดของโลกได้ลดปริมาณการผลิตลง 4.9% หรือ 465,000 บาร์เรลต่อวัน ไปอยู่ที่ 9.025 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือน ธ.ค. ซึ่งเป็นการลดการผลิตรายเดือนลงมากที่สุดนับตั้งแต่ ธ.ค. 2551

 

Guru Corner

---------------

 

‎"อเมริกาเคยมีปัญหาหนักทางเศรษฐกิจแบบนี้มาก่อนในประวัติศาสตร์ช่วงต้นยุค 1920s แต่ไม่น่าเชื่อเลยว่าทางแก้ไขของคนในยุคก่อนคือ เพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นกับจัดทำงบประมาณสมดุลย์ ไม่ก่อหนี้เพิ่ม และหลังจากนั้นเศรษฐกิจก็ฟื้นฟูจนรุ่งเรืองที่สุดไปอีกเป็นทศวรรษ หลังจากอดทนยอมลำบากไป 2-3 ปี

 

ในช่วงต้นของยุค 1990s พวกสแกนดิเนเวียนก็มีปัญหาเหมือนๆ กัน เขายอมปล่อยให้ธุรกิจและผู้คนล้มละลาย ปล่อยให้ตลาดแก้ไขต...นเองไปตามธรรมชาติโดยไม่เข้าไปแทรกแซง ซึ่งเป็นความเจ็บปวดที่สุดใน 2-3 ปีแรก แต่หลังจากนั้นก็กลายเป็นชาติที่มีเศรษฐกิจรุ่งเรืองที่สุดในระบบเศรษฐกิจโลกอีก 10-15 ปี

 

นั่นละ การแก้ปัญหาที่ถูกต้อง

 

ส่วนญี่ปุ่นในช่วงเดียวกันคือยุค 1990s ทำตรงกันข้าม ไม่ยอมปล่อยให้เกิดการล้มละลาย ใช้เงินจำนวนมากที่ไม่มีจริงเข้าไปโอบอุ้ม ทำให้ญี่ปุ่นเรียกว่ามันเป็น “ทศวรรษแห่งการสูญเปล่า” และเดี๋ยวนี้ชาวญี่ปุ่นต้องเรียกมันใหม่ว่า เป็น “2” ทศวรรษแห่งความสูญเปล่า ซึ่งยังต่อเนื่องยาวนานมาจนถึงวันนี้

 

นั่นคือการแก้ปัญหาที่ผิดพลาด และวิธีนี้ไม่เคยแก้ปัญหาได้เลยสักครั้งในประวัติศาสตร์

 

การยอมรับความเจ็บปวดในวันนี้แม้จะยากลำบาก แต่ในที่สุดมันจะช่วยจัดระบบทุกอย่างให้สะอาดขึ้น ไม่มีสิ่งตกค้างอีกต่อไป และนั่นคือสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์หลายคนเช่น Hayek, von Mises

 

และ Schumpeter ได้กล่าวเอาไว้ว่า “หากไม่แก้ไขด้วยการทำระบบให้สะอาด กลับไปแก้ปัญหาด้วยวิธีที่ผิดพลาด จะทำให้อะไรที่ดูคล้ายๆ ดีขึ้นหลังจากนั้นเป็นของปลอม ซึ่งการฟื้นตัวจะเป็นของปลอมที่จะไม่ยาวนาน”

 

และอดีตได้พิสูจน์แล้วว่า พวกเขากล่าวไว้ถูกต้อง ในขณะที่แนวทางของ Keynes ไม่เคยมีข้อพิสูจน์ว่าทำได้สำเร็จเลย"

 

..... Jim Rogers

 

(สรุปความโดย วรวรรณ ธาราภูมิ CEO กองทุนบัวหลวง)

 

 

537222_10200101879376982_1256519819_n.jpg

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดวงตาเราไม่ได้ออกแบบมาให้เห็นตัวเองก็จริง

แต่อย่าลืมใส่ใจตัวเองบ้าง

 

394869_535108646507344_23472510_n.jpg

ดาวยังพร่างพรายอยู่เต็มฟ้าแม้ดวงตาของเราจะไม่เห็นมัน

+______-

FB pic

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

304621_393554200730314_1413892821_n.jpg

 

 

1 king 1 heart

‎..ภาพแห่งความประทับใจ ที่หาชมได้ยากในอดีต..

 

ภาพขณะที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินด้วยพระองค์เอง

ในตลาด และพระองค์ยังทรงซื้อของอีกด้วย

 

ที่เห็นในภาพเป็นร้านถ่ายรูป และขายของที่ระลึกตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษม หน้าตลาดใน อ.หัวหิน ชื่อร้านสมัยศิลป ปัจจุบันลูกหลานดูแลกิจการค่ะ

 

- ขอขอบคุณ "@Decha T Decha" และ เพจ:" The Greatest of The Kings The Greetings of The Land "

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

BE4_A20120209120850.jpg

 

 

icon14.gif 18 กฏเหล็กการใช้โทรศัพท์ สำหรับวัยรุ่น

 

18 กฏเหล็กการใช้โทรศัพท์ สำหรับวัยรุ่น

เดี๋ยวนี้ เทคโนโลยี มันก้าวไปไกลจริงๆ วัยรุ่นหนุ่มสาวก็ชอบมันซะด้วย ก็เช่น Iphone , Samsung , Black Berry รุ่นใหม่มาทีไรก็แห่กันไปซื้อซะเกลี้ยง!! บางคนก็ซื้อด้วยเงินตัวเอง แต่สำหรับใครที่อ้อนง้อให้พ่อแม่ซื้อให้ ถ้าเจอ 18 กฏเหล็กการใช้โทรศัพท์ สำหรับวัยรุ่น เข้าไปจะเสียววาบๆแน่นอน!! คุณพ่อคุณแม่ ก็สามารถใช้ได้นะคะ NangFah ว่า 18 กฏเหล็กการใช้โทรศัพท์ ดีมากๆทีเดียว ^^

 

 

ซึ่งเรื่องราวกฏเหล็กเหล่านี้ เป็นของของแม่ลูกชาวอเมริกันคู่หนึ่ง โดยนางเจเนล ฮอฟฟ์แมน ผู้เป็นแม่ ได้มอบ iPhone รุ่นล่าสุดให้แก่ เกร็ก ฮอฟฟ์แมน ลูกชายวัย 13 ปี เพื่อเป็นของขวัญในวันคริสต์มาส พร้อมกับแนบกฎเหล็กในการใช้โทรศัพท์เอาไว้อย่างชาญฉลาดถึง 18 ข้อด้วยกัน เพื่อให้ลูกชายรู้จักใช้โทรศัพท์ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม และมีความรับผิดชอบ!!!

 

 

1. กฏเหล็กการใช้โทรศัพท์ มันเป็นโทรศัพท์ของแม่ แม่เป็นคนซื้อ แม่เป็นคนจ่าย แม่ให้ลูกยืมใช้ เพราะฉะนั้นแม่มีสิทธิ์สูงสุด

 

2. กฏเหล็กการใช้โทรศัพท์ แม่จะต้องรู้พาสเวิร์ดทั้งหมด

 

3. กฏเหล็กการใช้โทรศัพท์ ถ้าแม่โทรเข้า ต้องรับ มันคือโทรศัพท์ ให้ทักทายอย่างสุภาพ ห้ามเมินเมื่อมีคำว่า “Mom” หรือ “Dad” โชว์บนหน้าจอโดยเด็ดขาด

 

4. กฏเหล็กการใช้โทรศัพท์ ส่งโทรศัพท์ให้พ่อหรือแม่ในเวลา 19.30 น. ในวันที่มีเรียน และ 21.00 น. ในวันหยุด ซึ่งมันจะถูกปิดจนกระทั่งเปิดอีกครั้งตอน 7:30 น. เช้าวันรุ่งขึ้น ถ้าลูกไม่ยอมใช้โทรศัพท์บ้านโทรหาเพื่อนก็ไม่ต้องโทรไป ลูกต้องเคารพพ่อแม่ของเพื่อน เหมือนอย่างที่ต้องการให้เพื่อนเคารพพ่อและแม่ของลูก

 

5. กฏเหล็กการใช้โทรศัพท์ แม่จะไม่ให้ลูกพกมันไปโรงเรียน ลูกต้องคุยสื่อสารกับเพื่อนด้วยปาก ซึ่งเป็นทักษะการเข้าสังคม รู้จักมีสังคมปกติบ้าง **หากเรียนแค่ครึ่งวัน, มีทริปออกนอกสถานที่ หรือหลังจากที่ทำกิจกรรมที่โรงเรียนเสร็จแล้ว จะมีการพิจารณาอีกครั้งว่าจะให้ลูกใช้โทรศัพท์หรือไม่**

 

6. กฏเหล็กการใช้โทรศัพท์ ถ้ามันหล่นลงในโถส้วม ตกพื้น หรือหายไป ลูกจะต้องเป็นคนจ่ายค่าซ่อมหรือค่าซื้อใหม่ ด้วยการใช้เงินออมที่ได้รับจากวันเกิด หรือรับจ้างทำงานพิเศษ เช่น พี่เลี้ยงเด็ก ตัดสนามหญ้าหน้าบ้าน ซึ่งมันจะต้องเกิดขึ้นแน่นอน ลูกควรจะเตรียมตัวเอาไว้

 

 

7. กฏเหล็กการใช้โทรศัพท์ ห้ามใช้เทคโนโลยีในการโกหก หลอกลวง หรือแกล้งคนอื่น ห้ามร่วมวงสนทนาที่ให้ร้ายผู้อื่น ทำตัวเป็นเพื่อนที่ดี และอยู่ห่าง ๆ จากคนทะเลาะกัน

 

8. กฏเหล็กการใช้โทรศัพท์ ห้ามส่งอีเมล ข้อความผ่าน iphone ถ้าลูกไม่คิดจะพูดมันออกมาด้วยปาก

 

9. กฏเหล็กการใช้โทรศัพท์ ห้ามส่งอีเมล ข้อความ หรือพูดอะไรกับใคร ในสิ่งที่คุณคิดว่าพ่อแม่ของเขาคงโมโหถ้าได้ยินเข้าเด็ดขาด

 

10. กฏเหล็กการใช้โทรศัพท์ ห้ามดูหนังโป๊ แต่ใช้เพื่อหาข้อมูลความรู้ต่าง ๆ

 

11. กฏเหล็กการใช้โทรศัพท์ ปิดมันหรือปิดเสียงมัน เมื่ออยู่ในที่สาธารณะ เช่น ร้านอาหาร โรงหนัง หรือตอนที่กำลังพูดกับคนอื่นอยู่ ลูกไม่ใช่คนหยาบคาย อย่าให้ iphone เปลี่ยนชีวิตลูก

 

12. กฏเหล็กการใช้โทรศัพท์ ห้ามรับ-ส่งรูปภาพของลับของลูก หรือของคนอื่น ห้ามหัวเราะ สักวันลูกจะถูกแบล็คเมล์ด้วยเรื่องนี้ หรือกระทั่งโดนเอาไปปล่อยต่อ ซึ่งไม่มีทางที่จะตามลบได้หมด

 

 

13. กฏเหล็กการใช้โทรศัพท์ ห้ามถ่ายรูปหรือวิดีโอจนเมมเต็ม ลูกไม่จำเป็นต้องถ่ายทุกอย่างเก็บไว้ แต่ให้เก็บมันเอาไว้ในความทรงจำแทน

 

14. กฏเหล็กการใช้โทรศัพท์ ให้วาง iphone ไว้ที่บ้านบ้างบางครั้ง ไม่ต้องพกติดตัวออกไปข้างนอก เรียนรู้ที่จะอยู่โดยไม่มีมัน ก้าวข้ามความรู้สึก FOMO (fear of missing out)

 

15. กฏเหล็กการใช้โทรศัพท์ ให้ฟังเพลงใหม่ ๆ หรือเพลงคลาสสิก หรือเพลงที่แตกต่างจากที่คนอื่นเขาฟังกัน สมัยนี้รุ่นลูกสามารถเข้าถึงข้อมูลพวกนี้ได้ง่าย ๆ อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ดังนั้นต้องรู้จักใช้ประโยชน์จากมัน

 

16. กฏเหล็กการใช้โทรศัพท์ ให้เล่นเกมที่เกี่ยวกับ words puzzle หรือเกมลับสมองต่าง ๆ

 

17. กฏเหล็กการใช้โทรศัพท์ ตื่นตัว มองโลกรอบตัวเอง มองออกไปนอกหน้าต่าง ฟังเสียงนกร้อง ออกไปเดินเล่น พูดคุยกับคนแปลกหน้า ให้หาข้อมูลโดยไม่ใช้กูเกิล

 

18. กฏเหล็กการใช้โทรศัพท์ ถ้าทำผิดกฎแม้เพียงข้อเดียว แม่จะยึดโทรศัพท์ของลูก และเราจะมานั่งจับเข่าคุยกันถึงเรื่องที่เกิดขึ้น และเราพร้อมที่จะเริ่มสัญญาให้ยืม iphone ใหม่อีกครั้ง ลูกและแม่พร้อมที่จะเรียนรู้ แม่อยู่ข้างเดียวกับลูก เราสองคนอยู่เรือลำเดียวกัน

 

นอกจากนี้ ในสัญญา นางเจเนล ฮอฟฟ์แมน ผู้เป็นแม่ ยังได้กล่าวทิ้งท้ายในสัญญาด้วยว่า แม่ อยากให้ลูกยอมรับและทำตามกฎนี้ เพราะข้อปฏิบัติเหล่านี้ไม่ใช่สามารถนำมาใช้กับ iPhone ได้อย่างเดียว แต่ยังนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตของลูกได้ด้วย หวังว่าลูกจะมีความสุขและสนุกไปกับ iPhone เครื่องใหม่ สุขสันต์วันคริสต์มาสจ้ะ

 

 

สำหรับกฏเหล็กนี้เราเองก็สามารถนำไปปรับใช้ได้นะคะ สำหรับท่านใดที่มีลูกแล้ว NangFah คิดว่ามันเป็น กฏเกณฑ์ที่ดีไม่น้อยในการสอนลูก ^^สวัสดีวันเด็กคร๊าาาา

http://www.stock2mor...ead.php?t=40039

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

431229_380216548741968_326732943_n.jpg

ยิ้มไว้หล่อเกินร้อย

 

23747_380098718753751_1098412420_n.jpg

ต้องรดน้ำให้โตอ่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สแตนชาร์ตห่วงปมการเมืองสหรัฐ-ยุโรป ก่อความเสี่ยงเศรษฐกิจโลก ทำให้เศรษฐกิจอิงกลไกตลาดกลายเป็นเศรษฐกิจต้องใช้การเมืองเป็นแรงขับเคลื่อน

 

 

 

ในงานสัมมนาเรื่อง "การสรุปวิเคราะห์เศรษฐกิจโลกปี2556" จัดโดยธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด หรือสแตนชาร์ต (ไทย) กลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งมีผู้บริหารของธนาคารเข้าร่วมให้ข้อมูลครั้งนี้ คือ อุสรา วิไลพิชญ์นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสธนาคารสแตนชาร์เตอร์ด (ประเทศไทย) , เดวิด มานน์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยภูมิภาคเอเชียของสแตนชาร์ต, คอลลัม เฮนเดอร์สัน หัวหน้าฝ่ายวิจัยอัตราแลกเปลี่ยนสแตนชาร์ต, และสตีฟ ไบรซ์ หัวหน้าฝ่ายวางแผนการลงทุนของสแตนชาร์ต

@ห่วงการเมืองทำศก.โลกเสี่ยง

ทั้งนี้ มานน์ให้ความเห็นจากคำถามที่ว่าส่วนใดที่เขากังวลมากที่สุดสำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2556 ว่าเขามองประเด็นการเมืองระดับประเทศอย่างสหรัฐที่เกิดจากปัญหาหน้าผาการคลัง หรือความพยายามการตัดลดงบประมาณกับรายจ่ายของรัฐบาลสหรัฐ และการเมืองในระดับภูมิภาคในยุโรปอาจทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐและยุโรปอยู่ใกล้ปากเหวอีกครั้ง

ในสหรัฐเขามองว่าสถานการณ์ดูดีขึ้น หลังจากผู้นำสหรัฐและสภาคองเกรสสามารถคลี่คลายปัญหาหน้าผาการคลังไปได้ส่วนหนึ่ง ขณะที่การเติบโตของสหรัฐค่อนข้างอ่อนแอในปีนี้จากคาดการณ์จีดีพีโต 2.3% และ 3%ปีหน้า และความเสี่ยงยังมีอยู่จากผลในการเจรจาแก้ปัญหาหน้าผาการคลังนั้นยังไม่รู้จะออกมาเป็นอย่างไรในที่สุด แต่เชื่อว่าสถานการณ์คงไม่ซ้ำรอยปี 2554 ที่กระทบต่อความเชื่อมั่นมาก

นอกจากนี้เขาเตือนว่า ต้องระวังสถานการณ์การเมืองในยุโรปทั้งในปีนี้และปีหน้า เป็นเรื่องต้องติดตาม หากเกิดความเคลื่อนไหวทางการเมืองใดๆ มีปัญหาในไตรมาส3 ปีนี้ หรือหากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเมืองอาจทำให้ยังมีแรงกดดันช่วงที่ต้องแก้ปัญหาวิกฤติภายในภูมิภาคอยู่

ด้านเฮนเดอร์สัน มองว่าเศรษฐกิจโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วนั้น ทำให้ความรู้สึกกังวลส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการเมือง เพราะเป็นห่วงว่าเศรษฐกิจซึ่งอิงและเป็นไปตามกลไกตลาด จะกลายเป็นเศรษฐกิจที่อิงกับการเมืองได้การเมืองขับเคลื่อน โดยปัญหาหน้าผาการคลังในสหรัฐและวิกฤติหนี้รัฐในยุโรปหากได้การตัดสินใจทางการเมืองที่แย่ ย่อมส่งผ่านเป็นผลกระทบไปถึงเศรษฐกิจในประเทศด้วย

"การเมืองเข้ามายุ่ง จะทำให้ดุลทางเศรษฐกิจเปลี่ยนไป อย่างญี่ปุ่นมีนโยบายประชานิยมมากขึ้น สะท้อนให้เห็นว่าการเมืองมีผลต่อเศรษฐกิจและการลงทุน ดุลการเมืองเข้ามายุ่งเศรษฐกิจส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกตะวันตก ขณะที่ประเด็นนี้เห็นว่าเอเชียยังต้องบริหารจัดการเศรษฐกิจของแต่ละประเทศไว้ให้ดี" นายเฮนเดอร์สันกล่าว

@ชี้ 3 เหตุการเมืองป่วนศก.ไทย

ขณะที่ อุสรา มองปัจจัยเสี่ยงการเมืองมีผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศและภูมิภาคสำคัญอย่างยุโรปเช่นกัน เพราะปัญหาหน้าผาการคลังของสหรัฐหรือวิกฤติยุโรปที่มีชาติสมาชิกถึง 17 ชาติ ซึ่งผู้นำทางการเมืองต้องได้การตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหา หากมีฝ่ายเห็นขัดแย้งในสภาหรือผู้นำคนใดคนหนึ่งในชาติสมาชิกยุโรปไม่เห็นด้วยอาจส่งผลกระทบต่อประเทศสมาชิกอื่นในกลุ่มได้

"มีความเสี่ยงอยู่ทุกที่ไม่ว่าจะในสหรัฐหรือยุโรปหรือในจีน ในเรื่องความต่อเนื่องในนโยบาย ซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจโลกเผชิญความเสี่ยง สำหรับเศรษฐกิจไทยนอกจากยุโรปแล้ว จะเห็นได้ว่าจากกลุ่มลูกค้าที่เข้าร่วมฟังสัมมนาครั้งนี้ ยกให้การเมืองของไทยเป็นความกังวลอันดับ2 ซึ่งเรามองว่าเป็นความเสี่ยงในประเทศเกี่ยวข้องกับ 2-3 เหตุการณ์ที่ต้องจับตากันอย่างใกล้ชิด"อุสราให้ความเห็น

เธออธิบายว่า เหตุการณ์แรกเป็นเรื่องผลการพิจารณาของศาลโลกเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทเรื่องเขตแดนกับเขาพระวิหาร จะกลับมาเป็นประเด็นร้อนทำให้เกิดการชุมนุมประท้วงผลการตัดสินได้ เหตุการณ์ที่สองที่คาดว่าเป็นประเด็นร้อนเกิดจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะมาตรา 309 ซึ่งว่าด้วยกฎหมายนิรโทษกรรม อาจทำให้อุณหภูมิการเมืองกลับมาร้อนแรงยิ่งขึ้น สุดท้ายเป็นเหตุการณ์เกี่ยวกับคดีในศาลของผู้คนเกี่ยวข้องกับการเมือง และมีบทบาททางการเมืองไม่ว่าจะเป็นคนสีไหนในช่วงตั้งแต่ม.ค.จนถึงกลางปีหน้า

นอกจากนี้อีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจไทยไปได้หรือราบรื่นหรือไม่ ต้องดูความเสี่ยงซึ่งต้องให้น้ำหนักมากขึ้นกับสถานการณ์การเมืองในไทย เพราะหากรัฐบาลไร้เสถียรภาพ ไม่ว่าการลงทุนในโครงการบริหารจัดการน้ำและการลงทุนในสาธารณูปโภคก็อาจไม่เกิดขึ้น เพราะมีพ.ร.กพิเศษเพื่ออนุมัติเงินใช้ลงทุนสาธารณูปโภค หากไม่สามารถอนุมัติได้เศรษฐกิจไทยอาจขยายตัวไม่ราบรื่น อาจขับเคลื่อนด้วยแรงอ่อนๆ จากการส่งออก การลงทุนและการบริโภคภาคเอกชน

"ขนาดปีที่แล้วการเมืองไม่มีอะไรเกิดขึ้น การเบิกจ่ายเพื่อลงทุนของรัฐก็ล่าช้าอยู่แล้ว หากเกิดปัญหามีการเบิกจ่ายล่าช้าอีก ต้องจับตาดูไตรมาส2 ปีนี้ จะผ่านพ.ร..กพิเศษได้ราบรื่นหรือไม่นั้นต้องระวัง เพราะเศรษฐกิจอาจโตไม่ได้ดีอย่างที่หวังไว้ โดยทางแบงก์ชาติเองประเมินไว้ว่าปีนี้อาจมีการเบิกจ่ายแค่ 5 หมื่นล้านบาท และการเบิกจ่ายไปขยายตัวมากขึ้นในอีก 2-3 ปีข้างหน้า"

อุสราอธิบายว่า เศรษฐกิจสหรัฐกับจีนทรงตัวและนิ่ง จีนผ่านพ้นความกลัวว่าเศรษฐกิจจะตกลงกระแทกแรง แต่ยุโรปมีความท้าทายต้องแก้ไขและมีความไม่แน่นอนเชิงนโยบายการเมือง ยุโรปยังอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย ดังนั้นจึงคาดว่าส่งออกไทยจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป อัตราโตต่ำไม่หวือหวาอาจใกล้เคียงกับปีก่อนที่ 5%-8% และปีนี้การบริโภคกับการลงทุนภาคเอกชนคงโตในอัตราช้าลงเมื่อเทียบปีก่อน ปีนี้คงเป็นเรื่องของภาครัฐที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ขยายตัว

"เราคิดว่าเศรษฐกิจไทยจะโตต่อเนื่อง แต่ก็มองแบบระมัดระวัง ทำให้ปีนี้เราคาดการณ์ว่าจีดีพีไทยอาจโตที่ 4% ด้วยแรงขับเคลื่อนสำคัญจากการลงทุนของภาครัฐ ซึ่งระดับดังกล่าวถือว่าต่ำกว่าระดับที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ 5-5.5% และที่สำคัญอยากให้จับตาสถานการณ์การเมืองไว้"

@คาดธปท.ลดดอกเบี้ยไตรมาส2

อุสรามองว่าทิศทางดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.75% ปัจจุบันค่อนข้างผ่อนคลายเทียบกับเงินเฟ้อ จึงมีโอกาสที่ดอกเบี้ยจะเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยปีนี้ อาจปรับลดลงในไตรมาส2 และคาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รอสัญญาณจากสหรัฐและหากมีอุบัติเหตุอื่นๆ ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น ก็จะมีช่องให้ธปท.อาจปรับลดดอกเบี้ยลงได้อีก ซึ่งหลังๆ ธปท.เองให้น้ำหนักกับทิศทางค่าเงินบาทเช่นกัน ถ้าเงินไหลเข้ามามากจนบาทแข็งค่าขึ้น ธปท.อาจตัดสินใจเรื่องดอกเบี้ย โดยให้น้ำหนักเรื่องนี้ มากกว่าการเติบโตกับเงินเฟ้อ

ทั้งนี้ อุสราให้ความเห็นถึงทิศทางค่าเงินบาทเทียบดอลลาร์ว่า จะยังคงแข็งค่าขึ้นปีนี้ และบาทน่าจะยังแข็งขึ้นไปแตะ 29.75 บาทต่อดอลลาร์ และทิศทางของบาทจากนี้ไปไม่แข็งค่าอย่างเดียว คงมีความผันผวนจากแนวโน้มปัจจุบัน ที่ในไทยมีการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ ออกไปลงทุนในประเทศต่างๆ ในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) หรือเออีซี ซึ่งแนวโน้มนี้เกิดขึ้นต่อเนื่อง เมื่อมีบริษัทใหญ่ของไทยไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น ทำให้การเคลื่อนไหวของบาทในอนาคตมีทั้งแข็งและอ่อน เป็นการเข้าๆ ออกๆ จนต้องบริหารจัดการความเสี่ยง

เธอยังให้เห็นเกี่ยวกับเงินเยนด้วยว่า ปีนี้เยนเทียบดอลลาร์อาจอ่อนค่าได้ต่อเนื่อง เยนกำลังอ่อนอยู่ อาจทดสอบที่ระดับ 90 เยนต่อดอลลาร์ พร้อมย้ำเป็นการสรุปเรื่องค่าเงินปีนี้ว่า ขอให้ระวังปัจจัยการเมืองต้องบริหารจัดการความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยต่ำไม่ได้คงอยู่ตลอดไป

@ลงทุนหุ้นดีสุดปีนี้

ในส่วนของ ไบรซ์ ซึ่งพูดในหัวข้อ "กลยุทธ์การลงทุนปี2556" ว่าปีนี้การลงทุนในหลักทรัพย์ถือว่าดีที่สุดพิจารณาจากมูลค่า ซึ่งค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับพันธบัตร และปีนี้เป็นปีแห่งการเปลี่ยนผ่านจากการลงทุนพันธบัตรไปเป็นหุ้นแทน โดยหลักทรัพย์ให้ผลตอบแทนและเงินปันผลดีกว่าพันธบัตรที่ให้รีเทิร์นแค่ 1.9% แต่พันธบัตรไม่ได้ป้องกันเงินเฟ้อ รีเทิร์นพันธบัตรต่ำกว่าเงินเฟ้อ แต่หุ้นกลับให้ผลตอบแทนดีกว่า

เขากล่าวว่าในปีที่แล้ว หุ้นให้ผลประกอบการแข็งแกร่งเฉลี่ยอยู่ที่ 15.25% และอัตราผลตอบแทนกับเงินปันผลของหลักทรัพย์ก็แข็งแกร่งเกือบ 20% ปีนี้เขามองว่าเศรษฐกิจโลกโดยรวมจะฟื้นตัวช่วงครึ่งปีหลัง สามารถขยายตัวได้ ความเสี่ยงก็ลดลงเรื่อยๆ

ทั้งนี้นายไบรซ์ระบุว่าเขาชอบหุ้นให้อัตราผลตอบแทนสูงและควรลงทุนหุ้นกลุ่มนี้ คิดว่าหุ้นในเอเชียดีกว่าสหรัฐ ไม่ว่าญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง เกาหลีใต้และไทย ตอนนี้เราให้น้ำหนักลงทุนตลาดเหล่านี้เหนือเกณฑ์เฉลี่ย มองว่าพันธบัตรเอเชียสกุลเงินท้องถิ่นน่าสนใจสุดคิดว่ายังให้อัตราผลตอบแทนดึงดูดใจ ในภาวะเงินเอเชียยังแข็งค่าขึ้นช่วง 2-3 เดือนแรกปีนี้ รวมถึงพันธบัตรสหรัฐให้อัตราผลตอบแทนสูงก็น่าลงทุนเช่นกัน

Tags : อุสรา วิไลพิชญ์หนี้ยุโรปหน้าผาการคลัง •BIZNEWS

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วรวรรณ ธาราภูมิ ·


  •  
     
     
    ‎"บางคนอาจมองว่าหากรัฐบาลสหรัฐสร้างหนี้เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ภาระย่อมจะต้องตกอยู่กับลูก-หลานของชาวอเมริกันในอนาคต แต่ผมสงสัยว่าภาระนั้นอาจตกอยู่กับเจ้าหนี้ของรัฐบาลสหรัฐมากกว่า"
     
    ... ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
     
    (บทความดึงมาจาก กท ธุรกิจ)
     
    --------------------------------------------------------------------------
     
    นโยบายการคลังกับนโยบายการเงินสหรัฐ
     
    ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
    14 มกราคม 2556
     
    ในครั้งที่แล้วผมสรุปประเด็นสำคัญๆ ของข้อตกลงเพื่อหลีกเลี่ยงหน้าผาทางการคลังที่ออกมาเป็นกฎหมายได้อย่างรีบเร่ง ทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวสูงขึ้นถึง 2-3% ในวันที่ 2 มกราคม ทั้งๆ ที่ข้อตกลงดังกล่าวทำให้นักธุรกิจและนักเศรษฐศาสตร์ “ผิดหวัง” กับความคืบหน้าในการแก้ปัญหาการขาดวินัยทางการคลัง เพราะมิได้มีการวางกรอบเพื่อแก้ปัญหาทางการคลังแต่อย่างใด
    บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือมูดีส์ มองว่าข้อตกลงดังกล่าวมิได้ทำให้ภาระหนี้สาธารณะลดลงและ “อาจไม่เพียงพอ” ที่จะทำให้สหรัฐสามารถรักษาระดับความน่าเชื่อถือที่ AAA อย่างต่อเนื่อง
     
    ในส่วนของเอสแอนด์พีซึ่งได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐลงไปเมื่อปี 2011 มองว่ามาตรการที่มีอยู่ในข้อตกลง “ยังไม่สามารถทำให้หนี้สาธารณะของสหรัฐมีแนวโน้มที่จะทรงตัวในระดับที่ยั่งยืนได้ในระยะกลาง”
    ทั้งนี้ ทั้งสองบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือบอกว่าจะรอดูผลการเจรจาเพื่อปรับเพดานหนี้สาธารณะในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมก่อนที่จะพิจารณาทบทวนอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐ
     
    หากข้อตกลงที่ทำขึ้นเมื่อ 1 มกราคมมีจุดอ่อนให้ตำหนิอย่างมากมายดังที่ผมกล่าวถึงในบทความเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คำถามคือทำไมตลาดหุ้นจึงปรับตัวขึ้นและโบรกเกอร์ต่างๆ จึงแนะนำกลยุทธ์การลงทุนในปีนี้ให้เพิ่มการลงทุนในหุ้นเกือบทุกราย ? คำตอบอาจมีอยู่ 3 ข้อคือ
     
    1. ก่อนที่จะเผชิญหน้าผาทางการคลังนั้นนักลงทุนได้พยายามลดความเสี่ยงโดยการขายหุ้นล่วงหน้าและเมื่อความเสี่ยงดังกล่าวหมดลงก็คงมีการปรับพอร์ตยกเลิกการขายหุ้นล่วงหน้า
     
    2. เป็นที่รับรู้กันก่อนสิ้นปี 2012 ว่าอัตราภาษีที่เก็บจากราคาสินทรัพย์ที่ปรับขึ้น (Capital gains tax) และภาษีที่เก็บจากเงินปันผล (dividend tax) จะต้องถูกปรับขึ้น ทำให้นักลงทุนรีบขายหุ้นออกไปก่อนที่ต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้นและหลายบริษัทก็จ่ายเงินปันผลพิเศษ ต่อมาเมื่อทราบแน่นอนแล้วว่าภาษีอยู่ที่ระดับใดก็อาจจะมีการกลับเข้าไปซื้อหุ้นเพิ่มเพื่อปรับพอร์ตกลับไปสู่สภาวะปกติ
     
    3. แต่ผมเชื่อว่า สาเหตุหลักที่นักลงทุนมองว่าต้องซื้อหุ้น ลคือการมองว่ารัฐบาลสหรัฐจะดำเนินนโยบายการคลังที่ขาดดุลอย่างต่อเนื่องเพราะจะไม่สามารถปรับลดรายจ่ายได้ ดังนั้น การขาดดุลงบประมาณก็น่าจะมีแต่เพิ่มขึ้นไม่น่าจะลดลง ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นรัฐบาลสหรัฐก็จะต้องออกพันธบัตรและมีหนี้สินเพิ่มขึ้น แต่ผลตอบแทนจากพันธบัตรจะไม่เพิ่มขึ้น (ดอกเบี้ยไม่ปรับขึ้น) เพราะธนาคารกลางสหรัฐยังจะพิมพ์เงินออกมาซื้อพันธบัตรเพื่อกดดอกเบี้ยลง จนกระทั่งการลงทุนในพันธบัตรให้ผลตอบแทนที่ไม่คุ้มกับความเสี่ยง ตรงกันข้ามการใช้จ่ายเกินตัวของรัฐบาลอย่างน้อยก็จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัว ซึ่งจะทำให้บริษัทมีกำไรเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาหุ้นสามารถปรับตัวขึ้นได้ (ไม่เหมือนกับพันธบัตรรัฐบาลซึ่งราคาสูงเกินปัจจัยพื้นฐานไปมากแล้ว)
     
    4. ข้อตกลงเมื่อ 1 มกราคมนั้นมีความสำคัญคือ ทำให้ภาษีเงินได้ของชาวอเมริกัน 99% (ผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 4 แสนดอลลาร์ สำหรับคนโสดและไม่เกิน 450,000 ดอลลาร์สำหรับสามี-ภรรยา) ถูกปรับลดลงอย่างถาวร กล่าวคือก่อนหน้านี้ภาษีที่ระดับต่ำตามกฎหมายที่ออกสมัยประธานาธิบดีบุชนั้นเป็นการลดภาษีชั่วคราวที่ต้องมาต่ออายุกันครั้งละ 1 ปี แต่จากนี้เป็นต้นไป อัตราภาษีดังกล่าวได้ถูกกำหนดให้เป็นอัตราภาษีถาวรตามข้อตกลงเมื่อวันที่ 1 มกราคม ทำให้นักลงทุนเชื่อว่าผู้บริโภคจะมีความมั่นใจที่วางแผนการบริโภคเพิ่มขึ้น
     
    บางคนอาจมองด้วยความเป็นห่วงว่าการใช้จ่ายเกินตัวของรัฐบาลสหรัฐจะเป็นเรื่องดีได้อย่างไร
     
    คำตอบคือ
     
    1. เนื่องจากเศรษฐกิจของยุโรปก็ยังหดตัวอย่างต่อเนื่องและเศรษฐกิจญี่ปุ่นเองก็ยังเปราะบาง เศรษฐกิจสหรัฐและเงินดอลลาร์ก็ยังมีปัจจัยพื้นฐานที่น่าเชื่อถือมากกว่าเศรษฐกิจของประเทศหลักอื่นๆ อเมริกาจะไม่ห่วงว่านักลงทุนจะสามารถหันไปลงทุนที่อื่นและทิ้งตลาดสหรัฐอย่างมีนัยสำคัญได้
     
    2. ตราบใดที่ชาวโลกยังต้องพึ่งพาเงินดอลลาร์เป็นเงินสกุลหลักของโลก เพราะยังไม่สามารถหาเงินสกุลอื่นๆ มาทดแทนได้ การที่ธนาคารกลางสหรัฐจะพิมพ์เงินออกมาหลายล้านล้านดอลลาร์ก็จะไม่ทำให้เกิดปัญหาค่าเงินดอลลาร์อ่อนมากนัก เพราะยังมีผู้ที่ยินดีรับเงินดอลลาร์มาเก็บเอาไว้ในจำนวนที่ไม่มีขอบเขตจำกัด
     
    3. แม้รัฐบาลสหรัฐจะสร้างหนี้มากขึ้นเรื่อยๆ และต้องออกพันธบัตรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็ยังมีธนาคารกลางสหรัฐและนักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอย่างต่อเนื่อง ในกรณีของนักลงทุนต่างชาตินั้นเข้าใจว่าส่วนใหญ่จะเป็นธนาคารกลางของประเทศที่เกินดุลบัญชีเดินสะพัด โดยเฉพาะธนาคารกลางเอเชีย
     
    ตัวอย่างเช่นเมื่อวันที่ 3 มกราคมมีข่าวว่าเงินวอนแข็งค่าขึ้นมาก ทำให้หุ้นบริษัทรถยนต์เกาหลีปรับตัวลดลง 5% เพราะเกรงว่าจะส่งรถยนต์ออกไม่ได้ ทำให้มีข่าวว่าธนาคารกลางเกาหลีใต้ต้องเข้ามาแทรกแซงโดยซื้อเงินดอลลาร์และขายเงินวอนเพื่อให้เงินวอนอ่อนค่า เมื่อธนาคารกลางเกาหลีใต้ถือเงินดอลลาร์มากขึ้น ต่อมาก็คงจะต้องเปลี่ยนเงินสดไปเป็นพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ เพราะอย่างน้อยก็จะยังมีรายได้จากดอกเบี้ยบ้าง แต่หากเก็บเป็นเงินสดก็จะไม่ได้ดอกเบี้ยเลย
     
    กล่าวโดยสรุปคือ ผมมีความเห็นว่าหลายฝ่ายคงจะเห็นแนวโน้มว่ารัฐบาลสหรัฐน่าจะไม่สามารถรักษาวินัยทางการคลังได้
     
    เพราะกรอบนโยบายการคลังที่ประธานาธิบดีผลักดันอย่างต่อเนื่องคือการเก็บภาษีคนรวยเพื่อคงรัฐสวัสดิการให้กับคนจนและคนชั้นกลาง
     
    ปัญหาคือคนรวยที่ว่านี้มีอยู่ 1-2% ของประชากรทั้งหมด แต่รัฐสวัสดิการนั้นแจกเงินให้กับคนทั้ง 100% ของประเทศ
     
    สำหรับนักการเมือง “การปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน” และ “การเก็บภาษีคนรวยเพื่อให้ลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน” นั้นเป็นเรื่องที่ฟังดูผิวเผินแล้วเป็นเรื่องที่ถูกต้องและจะทำให้ชนะการเลือกตั้ง
     
    แต่การจะคาดหวังให้คน 1-2% รับภาระให้กับคน 100% นั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ ดังที่กล่าวในครั้งที่แล้วว่าข้อตกลงเมื่อวันที่ 1 มกราคมนั้น ทำให้เก็บภาษีเพิ่มขึ้น 6 แสนล้านดอลลาร์ใน 10 ปี ข้างหน้า แต่ทำให้รัฐบาลขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้น 4 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงเวลาเดียวกัน
     
    บางคนอาจมองว่าหากรัฐบาลสหรัฐสร้างหนี้เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ภาระย่อมจะต้องตกอยู่กับลูก-หลานของชาวอเมริกันในอนาคต แต่ผมสงสัยว่าภาระนั้นอาจตกอยู่กับเจ้าหนี้ของรัฐบาลสหรัฐมากกว่า
     
    ซึ่งเจ้าหนี้รายใหญ่ของรัฐบาลสหรัฐนั้นมีอยู่ 2 เจ้าคือ ธนาคารกลางสหรัฐและธนาคารกลางต่างประเทศ เจ้าหนี้ตัวจริงคือธนาคารกลางต่างประเทศ เพราะธนาคารกลางสหรัฐจะพิมพ์เงินดอลลาร์ออกมาอีกกี่ล้านล้านดอลลาร์ก็ได้ ซึ่งหากทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อและเงินดอลลาร์อ่อนค่าก็จะยังสามารถพิมพ์เงินออกมาเพิ่มได้อีกโดยไม่มีข้อจำกัด
     
    ดังนั้น ผู้ที่รับภาระแต่เพียงผู้เดียวคือชาวต่างชาติที่ซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ
     
    เพราะสินทรัพย์ดังกล่าวจะเสื่อมค่าลงตามเงินเฟ้อที่สูงขึ้นและเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง ชาวอเมริกันที่ใช้เงินเกินตัว นำเข้าสินค้ามากกว่าส่งออกจึงได้ประโยชน์จากการซื้อสินค้าจากต่างประเทศโดยการจ่ายเงินที่ธนาคารกลางสหรัฐพิมพ์ออกมาอย่างไม่จำกัดจำนวน ในขณะที่สหรัฐกำลังเดิมพันว่าไม่มีรัฐบาลหรือธนาคารกลางต่างประเทศใดกล้าไม่ซื้อหรือกล้าขายพันธบัตรสหรัฐและเงินดอลลาร์ออกมา เพราะจะเผชิญกับสภาวะขาดทุนและการส่งออกก็จะต้องทรุดตัวลง เนื่องจากเงินดอลลาร์จะอ่อนค่าและดอกเบี้ยจะปรับขึ้นอย่างฉับพลัน
     
    ดังนั้น ประเด็นที่จะทิ้งท้ายเอาไว้คือการใช้จ่ายเกินตัวของสหรัฐนั้นสหรัฐอาจไม่เป็นห่วงมากนัก เพราะเชื่อว่าจะมี “เจ้ามือ” มาจ่ายให้ครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ศ.ดร.วรภัทร โตธนะเกษม

วิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ ที่เกิดขึ้นเมื่อปลายปี 2008 ทำให้สถาบันการเงินและบริษัทต่างๆ ประสบปัญหาขาดทุน และขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง

 

วิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ ที่เกิดขึ้นเมื่อปลายปี 2008 ทำให้สถาบันการเงินและบริษัทต่างๆ ประสบปัญหาขาดทุน และขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง มีอาการว่าจะล่มสลายต่อเนื่องกัน เป็นจำนวนมาก หนึ่งในนั้น ก็คือบริษัทประกันภัยยักษ์ใหญ่ของโลก “American International Group” หรือ AIG

 

อนาคตที่ส่อเค้าว่ากำลังจะดับวูบลง ทำให้ราคาหุ้น AIG ร่วงลงไปถึง 60% ในเวลาเพียงวันเดียว และในยามเป็นยามตายเช่นนั้น รัฐบาลอเมริกัน ได้ต้องตัดสินใจเข้าช่วยเหลือ AIG โดยด่วน ด้วยการปั๊มเงินเข้าไปถึง 182 พันล้านเหรียญ ซึ่งถือเป็นจำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเข้าช่วยเหลือและฟื้นฟูกิจการในอเมริกา และทำให้ลุงแซมกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน AIG ถึง 92%

 

การที่รัฐบาลนำเงินจำนวนมาก ไปประคับประคองสถาบันการเงินต่างๆ รวมทั้ง AIG ในเวลานั้น ทำให้เกิดข้อกังขาอย่างมาก เพราะเงินของรัฐบาลก็คือภาษีของประชาชน จึงถูกตั้งคำถามว่า นายธนาคารซึ่งเต็มไปด้วยความโลภและเป็นต้นเหตุของวิกฤติการณ์ กลับเดินออกไปจาก “Wall Street” ด้วยเงินโบนัสจำนวนมหาศาล ในขณะที่ประชาชนจาก “Main Street” คือเมืองเล็กเมืองน้อย ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย กลับต้องมารับภาระช่วยเหลือ ด้วยเงินภาษีของพวกเขา

 

กระทั่งนำไปสู่กระแสที่เรียกกันว่า “Occupy Wall Street” ที่กล่าวหาว่าคนรวยเพียง 1% ทำให้คนอีก 99% ต้องเดือดร้อนแสนสาหัส

 

การช่วยเหลือครั้งนั้นทำให้ AIG สามารถประคองตัวอยู่ได้ และค่อยๆ ฟื้นฟูกิจการจนแข็งแรงขึ้นตามลำดับ ในขณะที่ลุงแซมเองก็ได้รับเงินชำระกลับคืนจาก AIG อย่างต่อเนื่องเช่นกัน รวมทั้งทยอยขายหุ้นที่รัฐบาลถืออยู่ออกไปจนหมด และมีกำไรเหลืออยู่ส่วนหนึ่ง

 

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว AIG ได้คืนเงินกู้งวดสุดท้าย ให้แก่ลุงแซมเรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งฉลองอิสรภาพ ด้วยการออกประกาศในหน้าหนังสือพิมพ์และโฆษณาทีวีว่า “ขอบคุณนะ.....อเมริกา”

 

เป็นพฤติกรรมที่น่ารักอย่างยิ่ง เพราะแสดงถึงการรำลึกบุญคุณของชาวอเมริกัน และประเทศอเมริกา ที่ได้เอื้อมมือเข้าช่วยเหลือในยามที่กระเสือกกระสนจะจมน้ำตาย เพราะถ้า AIG ไม่ได้รับเงินช่วยเหลือด้วยเงินมหาศาลถึง 182 พันล้านเหรียญ กิจการก็คงดับสูญไปแล้วตั้งแต่ปี 2008 ไม่มีอะไรเหลือหลอให้เห็นในวันนี้ หรอกครับ

อย่างน้อยลุงแซมและคนอเมริกัน ที่ได้รับคำขอบคุณ ผ่านทางสื่อต่างๆ ก็คงมีความรู้สึกที่ดี แม้กระทั่งคนไทยอย่างเรา ก็คงรู้สึกรัก AIG ไปด้วยเช่นกัน เพราะคนไทยเรานั้น เรื่องความกตัญญู เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง

 

แต่อย่าเพิ่งชื่นใจไปมากกว่านั้นนะครับ เพราะหลังจากขอบคุณได้เพียงไม่กี่วัน เมื่อวันจันทร์นี้ก็มีข่าวออกมาว่าคณะกรรมการ หรือ บอร์ด ของ AIG กำลังพิจารณาว่าจะยื่นคำฟ้องเพื่อเรียกค่าเสียหายจากลุงแซม จากการที่ได้เข้าให้การช่วยเหลือ AIG ในวันนั้น........

 

ทำไมเหตุการณ์จึงโอละพ่อ ไปได้ขนาดนี้? ก็ถ้ารัฐบาลปล่อยให้ AIG ล้มไปตั้งแต่วันนั้น AIG ก็กลายเป็นประวัติศาสตร์ไปตั้งสี่ปีแล้ว ไม่มีบอร์ดที่จะมานั่งประชุม เพื่อเตรียมตัดสินใจฟ้องลุงแซม เหมือนที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้หรอก

 

สองสามวันที่ผ่านมา คนอเมริกัน และลุงแซม กำลังคิดถึงนิทานอีสป เรื่อง ชาวนากับงูเห่า และโกรธแค้นเจ็บปวดอย่างยิ่ง ที่ได้รับคำขอบคุณเพียงไม่กี่วัน ก็มีข่าวเช่นนี้ออกมา

 

AIG ไม่ได้ตั้งใจฟ้องเรื่องการที่รัฐบาลเข้าไปให้ความช่วยเหลือหรอกครับ แต่จะฟ้องในเรื่อง วิธีการและเงื่อนไขของการเข้าช่วยเหลือ เช่นการที่รัฐบาลเข้าไปถือหุ้นสูงถึง 92% หรือ เรื่องการคิดอัตราดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูง เป็นต้น โดยมองว่าทำให้ ผู้ถือหุ้นของ AIG ได้รับความเสียหายมากเกินไป นับพันล้านดอลลาร์ รวมทั้งยังขัดต่อ Fifth Amendment ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ซึ่งห้ามรัฐนำทรัพย์สินของเอกชนไป โดยไม่จ่ายค่าชดเชยในราคาที่ยุติธรรม อีกด้วย

 

ข่าวนี้แพร่ออกมาเมื่อวันจันทร์นี้ ทำให้เกิดปฏิกิริยารุนแรงทั้งจากประชาชน และนักการเมือง และมีสำนวนที่เปรียบเปรยออกมาแล้วว่านี่คือการ “ฉกมือที่เลี้ยงแกมา” (Biting the hand that feeds you) แต่นักวิเคราะห์ ก็พยายามมองว่าเรื่องนี้บอร์ดของ AIG น่าจะกังวลเรื่อง “ธรรมาภิบาล” คือ กังวลว่าถ้าไม่ฟ้องรัฐบาล บอร์ดอาจจะถูกผู้ถือหุ้นฟ้องก็ได้ ว่าไม่รักษาผลประโยชน์ ของผู้ถือหุ้น

 

แต่มองอีกแง่หนึ่ง ถ้ารัฐบาลไม่เข้าช่วยเหลือในวันนั้น ความเสียหายของผู้ถือหุ้น ก็หนักหนากว่านี้ คือล่มสลายไปแล้วทั้งบริษัทตั้งแต่ปี 2008 นอกจากนั้นทฤษฏีวิชาการเงิน ก็กล่าวว่าในยามวิกฤติ และรัฐบาลต้องเข้าช่วยเหลือบริษัทเอกชน รัฐบาลไม่ควรตั้งเงื่อนไขที่โอนอ่อนต่อผู้ถือหุ้นและผู้บริหารมากจนเกินไป เพราะรัฐบาลกำลังนำเงินของประชาชนผู้เสียภาษีมาช่วยเหลือ

 

ผมตามข่าว “งูเห่า ของ ลุงแซม” มาตลอดสัปดาห์ จนเช้าตรู่วานนี้เอง ที่บอร์ดของ AIG ก็ประกาศว่าจะไม่ดำเนินการฟ้องรัฐบาลแล้ว เหตุผลข้อหนึ่ง น่าจะเกิดจากการที่จะต้องต่อสู้กับกระแสสังคมอย่างหนักนั่นเอง.....เรื่องนี้จึงจบไปเมื่อวานนี้เอง และเหมือนจะพิสูจน์ว่า ความกตัญญู ก็ยังคงมีความหมายอยู่บ้าง

 

ผมนำเรื่องนี้มาเล่า เนื่องจากเป็น คดีในตลาดทุน ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง รวมทั้งยังเป็นการดึงความสนใจของคุณผู้อ่าน ออกมาจากคดีฟ้องร้องมากมาย ที่เกิดขึ้นในเมืองไทย ระหว่าง “ผู้เคยมีอำนาจ” กับ “ผู้มีอำนาจ”

 

เพราะตอนนี้ คดีพวกนั้นเราติดตามแทบไม่ค่อยจะทัน แล้วละครับ

 

Tags : วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Faithbook

ปฏิทินเดือนมกรา เวอร์ชั่น 2

 

คนดี สำคัญกว่าทุกสิ่ง

ไม่ใช่ว่ามีข้าวกินแล้วจะหมดปัญหา

ถ้ายังไร้ศีลธรรมและเห็นแก่ตัว ก็จะยังแย่งข้าวกินกันอยู่นั่นเอง

ความเห็นแก่ตัวต่างหาก ที่เป็นปัญหาไปเสียหมดทุกด้าน

ดังนั้น รีบจัดการกำจัดความเห็นแก่ตัวเถิด

ทั้งนักการเมืองเศรษฐกิจและสังคมศาสตร์

- พุทธทาสภิกขุ -

 

 

544033_409413172467226_824136767_n.png

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วรวรรณ ธาราภูมิ

‎"โลกเศรษฐกิจปัจจุบันเป็นโลกใหม่ที่ปัญหาหนี้ยังไม่มีการแก้ไข และผู้ทำนโยบายเลือกที่จะประคับประคองสถานการณ์ต่อไปบนต้นทุนของความอ่อนแอของเศรษฐกิจและความเดือดร้อนของคนในประเทศ ถ้าเทียบกับบริษัททั่วไป บริษัทที่มีหนี้สูงและไม่แก้ไขปัญหาคงจะอยู่ได้ยากและคงจะเติบโตไม่ได้

 

ผมคิดว่ามุมมองเศรษฐกิจโลกที่เขียนวันนี้เป็นสิ่งที่นักลงทุนควรทราบ เพื่อไม่ให้เรามองเศรษฐกิจโลกเฉพาะแค่ตัวเลขที่มีการเผยแพร่ออกมา"

 

.... ดร.บัณฑิต นิจถาววร

...

 

อีกมุมหนึ่งของเศรษฐกิจโลกที่ควรรู้

 

ดร.บัณฑิต นิจถาวร

14 มกราคม 2556

 

อาทิตย์ที่แล้ว ผมชอบบทความนำในนิตยสาร ดิ อิโคโนมิส (The Economist) ที่ได้วิจารณ์สหรัฐว่ากำลังเป็นเหมือนยุโรป หลังจากสหรัฐประกาศข้อตกลงแก้ไขปัญหาหน้าผาการคลัง ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมระหว่างรัฐบาลโอบาม่าและพรรคฝ่ายค้าน ที่โดยสาระแล้วไม่ได้มีข้อสรุปว่าจะแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะที่มีอยู่อย่างไร เพียงแต่เลื่อนการตัดสินใจออกไปอีกสามเดือน

 

ซึ่งก็เหมือนที่รัฐบาลสหภาพยุโรปมักจะทำในการแก้ไขปัญหา คือ ไม่ตัดสินใจในสาระสำคัญว่าปัญหาหนี้ที่มีอยู่จะแก้ไขอย่างไร มีแต่ตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาตามสถานการณ์หรือที่มาตามกำหนดเวลา แต่ไม่แตะสาระว่าจะลดหนี้ที่มีอยู่อย่างไร

 

อันนี้ทำให้นิตยสาร ดิ อิโคโนมิส ล้อเลียนว่า สหรัฐกำลังเป็นแบบยุโรป

 

การไม่ตัดสินใจหรือไม่มีมาตรการชัดเจนที่จะแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะของประเทศในยุโรปที่มีหนี้สูง ทำให้ปัญหาเศรษฐกิจยุโรปยืดเยื้อมามากกว่าห้าปี และปีนี้ก็ย่างเข้าปีที่หก

 

การไม่แก้ไขปัญหาทำให้ปัญหาสำคัญที่เศรษฐกิจยุโรปมีไม่ดีขึ้น คือ ระดับหนี้สาธารณะในประเทศที่มีหนี้มากยังสูง เศรษฐกิจขยายตัวต่ำหรือไม่ขยายตัว และอัตราการว่างงานสูง

 

ที่สำคัญสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยืดเยื้อทำให้ความเป็นอยู่ของคนในยุโรปลำบากขึ้นและนับวันจะแย่ลง ดูจากตัวเลขการว่างงาน ที่ล่าสุดในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วสูงเป็นประวัติการณ์ คืออัตราการว่างงานในกลุ่มประเทศยูโรโซนอยู่ที่ร้อยละ 11.8 อัตราการว่างงานของประชากรวัยหนุ่มสาวอยู่ที่ร้อยละ 24.4

 

และในประเทศที่มีปัญหาเศรษฐกิจมาก เช่น สเปน กรีซ อัตราการว่างงานของประชากรอายุต่ำกว่า 25 ปี อยู่ที่ร้อยละ 57 อัตราการว่างงานที่สูงขนาดนี้ นอกจากจะล่อแหลมต่อการเกิดปัญหาทางสังคมแล้ว ยังทำให้ยอดหนี้สาธารณะลดลงได้ยาก เพราะแรงกดดันต่อฐานะการคลังที่จะมาจากระบบสวัสดิการสังคมที่ประเทศเหล่านี้มีอยู่

 

ในกรณีของสหรัฐ ข้อตกลงหน้าผาการคลังโดยฝ่ายการเมืองก็คล้ายกัน

 

คือ ไม่มีการตัดสินใจในประเด็นสำคัญ มีแต่การออกกฏหมายเพื่อเพิ่มภาษีบางประเภท และเลื่อนการตัดสินใจเรื่องการตัดทอนการใช้จ่ายออกไปถึงเดือนมีนาคม

 

ทำให้ไม่ชัดเจนว่าการแก้ปัญหาหนี้ในสหรัฐจะเดินต่ออย่างไร คือ รัฐบาลสหรัฐจะลดการใช้จ่ายอย่างไร จะเพิ่มเพดานหนี้หรือไม่ และจะมีแนวทางอย่างไรที่จะลดระดับหนี้สาธารณะในระยะยาว

 

เมื่อไม่มีคำตอบ ถึงเดือนมีนาคมตลาดการเงินก็คงจะผันผวนอีก และฝ่ายการเมืองทั้งสองพรรคคงพยายามหาทางออกระยะสั้นเพื่อให้การใช้จ่ายตามงบประมาณสามารถเดินต่อได้ แต่ไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหนี้ที่มีอยู่

 

ความไม่แน่นอนของนโยบาย และการไม่มีแนวทางชัดเจนที่จะแก้ไขปัญหาหนี้ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐและยุโรปปัจจุบันจมอยู่ในวงจรความอ่อนแอ

 

จนพูดได้ว่าเศรษฐกิจยุโรปและสหรัฐขณะนี้กำลังอยู่ในโลกเศรษฐกิจใหม่

 

ในกรณีของสหรัฐ โลกเศรษฐกิจใหม่ก็คือ เศรษฐกิจขยายตัวต่ำ เงินเฟ้อต่ำ การว่างงานสูง รัฐบาลมีหนี้สูง นโยบายการเงินก็คืออัตราดอกเบี้ยใกล้ศูนย์ และธนาคารกลางอัดฉีดสภาพคล่องผ่านมาตรการคิวอี เพื่อหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจและระบบการเงิน

 

แต่ถึงเศรษฐกิจจะแย่ เงินดอลล่าร์สหรัฐยังเป็นเงินสกุลหลักที่โลกต้องการถือ ธนาคารกลางประเทศตลาดเกิดใหม่ยังแทรกแซงเงินสกุลของตนไม่ให้แข็งค่า และสะสมเงินดอลล่าร์สหรัฐเป็นทุนสำรองทางการ ขณะที่ตราสารหนี้รัฐบาลสหรัฐยังเป็นตราสารที่นักลงทุนมองว่าปลอดภัยที่สุด

 

ทั้งหมดนี้ได้ช่วยให้รัฐบาลสหรัฐสามารถชดเชยการขาดดุลการคลัง และเพิ่มการก่อหนี้ต่อไปได้

 

นี่คือโลกเศรษฐกิจปัจจุบันที่เป็นโลกใหม่ที่ปัญหาหนี้ยังไม่มีการแก้ไข และผู้ทำนโยบายเลือกที่จะประคับ ประคองสถานการณ์ต่อไปบนต้นทุนของความอ่อนแอของเศรษฐกิจและความเดือดร้อนของคนในประเทศ

 

ถ้าเทียบกับบริษัททั่วไป บริษัทที่มีหนี้สูงและไม่แก้ไขปัญหาคงจะอยู่ได้ยากและคงจะเติบโตไม่ได้

 

เศรษฐกิจก็เหมือนกัน ถ้าเศรษฐกิจมีหนี้สูง และไม่แก้ไข อนาคตเศรษฐกิจของประเทศก็มืดมน ดังนั้น ถ้าประเทศอุตสาหกรรมหลักไม่เร่งแก้ไขปัญหาหนี้ เศรษฐกิจประเทศเหล่านี้คงใช้เวลาอีกนานที่จะฟื้นตัว ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโลก

 

แต่ที่น่าสนใจก็คือห้าปีที่ผ่านมาที่สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น ตลาดการเงินและภาคธุรกิจเอกชนดูเหมือนจะยอมรับสภาพและไม่ได้พยายามผลักดันผ่านกลไกตลาด หรือในทางสังคมให้การแก้ไขปัญหาเกิดขึ้น ทำให้ฝ่ายการเมืองหรือผู้ทำนโยบายไม่มีแรงกดดันที่จะต้องแก้ปัญหาทันที

 

ตรงกันข้าม ตลาดการเงินและภาคธุรกิจได้เรียนรู้ที่จะปรับตัวเพื่อหาประโยชน์จาก “โลกใหม่”

 

เช่น บริษัทธุรกิจสหรัฐเสาะหาโอกาสธุรกิจโดยลงทุนในต่างประเทศ ขณะที่ตลาดการเงินก็ถ่ายเทสภาพคล่องที่มีอยู่ไปลงทุนในประเทศตลาดเกิดใหม่ในรูปเงินทุนไหลเข้า ทำให้ประเทศตลาดเกิดใหม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาฟองสบู่ และวิกฤติเศรษฐกิจ โดยเฉพาะถ้าเงินทุนไหลเข้ามีต่อเนื่องและรุนแรง

 

ประเด็นนี้ เป็นประเด็นสำคัญของการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคของประเทศในเอเชีย รวมถึงไทยในปีนี้

 

คำถามก็คือ ถ้าการแก้ไขปัญหาเป็นสิ่งที่ควรทำ แต่ยังไม่เกิดขึ้น อะไรจะเป็นปัจจัยผลักดันให้การแก้ไขปัญหาเกิดขึ้นในที่สุดทั้งในยุโรปและสหรัฐ

ผมคิดว่าคงมีอย่างน้อยสองเหตุการณ์ที่จะสร้างเงื่อนไขให้นักการเมืองต้องตัดสินใจแก้ไขปัญหาแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

เหตุการณ์แรก ก็คือตลาดการเงินหมดความอดทนต่อสิ่งที่เกิดขึ้น และผลักดันให้มีการแก้ไขปัญหาผ่านการกดดันให้อัตราดอกเบี้ยของประเทศที่มีหนี้สูงเพิ่มสูงขึ้น อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนลง มีการลดอันดับความน่าเชื่อถือ มีเงินทุนไหลออกจนสถานการณ์กระทบความสามารถในการชำระหนี้ของประเทศจนถึงขั้นวิกฤติ ถึงจุดนั้น ฝ่ายการเมืองคงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องแก้ไขปัญหาเพื่อความอยู่รอดของประเทศและรัฐบาล

 

เหตุการณ์ที่สอง ก็คือ ประชาชนในประเทศหมดความอดทน จากความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

 

สิ่งเหล่านี้เป็นมุมมองเศรษฐกิจโลกที่ต้องตระหนัก

 

ก็หวังว่าฝ่ายการเมืองหรือผู้ทำนโยบายทั้งในยุโรปและสหรัฐจะสามารถเร่งแก้ไขปัญหาได้ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ทั้งสองเหตุการณ์ที่พูดถึงเกิดขึ้น

 

ผมคิดว่ามุมมองเศรษฐกิจโลกที่เขียนวันนี้เป็นสิ่งที่นักลงทุนควรทราบ เพื่อไม่ให้เรามองเศรษฐกิจโลกเฉพาะแค่ตัวเลขที่มีการเผยแพร่ออกมา

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หน้าผาการคลัง หน้าผาฆ่าตัวเอง

blank.gif โดย ไสว บุญมา 13 มกราคม 2556 16:06 น.

blank.gif TabOver.gif ผู้ติดตามข่าวโลกคงได้ผ่านหูผ่านตากับคำว่า “หน้าผาการคลัง” กันบ้างแล้ว คำนี้เป็นคำใหม่ในแวดวงเศรษฐกิจซึ่งแปลมาจากคำว่า Fiscal Cliff ใครจะเป็นคนคิดขึ้นใช้ไม่เป็นที่ประจักษ์อย่างแจ้งชัดนักนอกจากมันเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าหมายถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา ถ้ารัฐบาลไม่ออกกฎหมายใหม่เพื่อแก้กฎหมายเก่าที่จะมีผลผูกพันทันทีเมื่อขึ้นปี 2556

 

หากไม่ออกกฎหมายใหม่มาแก้กฎหมายเก่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอเมริกามีสองอย่างด้วยกันคือ รัฐบาลกลางจะต้องลดการใช้จ่ายลงอย่างฮวบฮาบและภาคเอกชนจะต้องจ่ายภาษีเพิ่มขึ้นจำนวนมาก หากสองอย่างนั้นเกิดขึ้นพร้อมกัน มันหมายถึงการใช้จ่ายโดยทั่วไปในเศรษฐกิจจะลดวูบลงทันทีอันมีลักษณะคล้ายเดินๆ ไปแล้วทางสุดลงตรงหน้าผาทันที ผลที่ตามมาคือความถดถอยร้ายแรงของเศรษฐกิจอเมริกันซึ่งตกอยู่ในภาวะลูกผีลูกคนมานานหลังวันที่ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์แตกเมื่อปี 2551

 

รัฐบาลอเมริกันอันมีฝ่ายบริหารเป็นผู้นำสามารถหาข้อตกลงกับฝ่ายนิติบัญญัติได้ภายในกำหนดเวลา การตกหน้าผาจึงไม่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหายังไม่หมดไปเพราะอีกไม่นานรัฐบาลกลางจะต้องเผชิญกับเพดานหนี้ คงเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า รัฐบาลอเมริกันอยู่ได้ด้วยการกู้หนี้ยืมสินซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นดินพอกหางหมูติดต่อกันมานาน วันไหนที่รัฐบาลกู้เงินเพิ่มไม่ได้เพราะมีกฎหมายเพดานหนี้บังคับอยู่ วันนั้นก็จะเป็นวันที่เศรษฐกิจตกหน้าผาย่อยๆ สภาพเช่นนี้ทำให้มีผู้ตราเศรษฐกิจอเมริกันว่ากำลังเดินทางตามยุโรปอันเป็นการพูดเชิงดูแคลน

 

อะไรทำให้บางคนดูแคลนยุโรป

 

ผู้ติดตามข่าวคงทราบดีแล้วว่าล่าสุด กรีซแซงหน้าสเปนในด้านการมีอัตราการว่างงานสูงสุดเป็นประวัติการณ์ นั่นคือ ผู้อยู่ในวัยทำงานถึง 26.8% หางานทำไม่ได้ในขณะที่อัตราในสเปนซึ่งครองอันดับหนึ่งมานานอยู่ที่ 26.6% อัตราการว่างงานในระดับนั้นหมายถึงอะไรคงไม่ต้องขยายความมากนักนอกจากการรอวันที่สังคมจะล่ม หรือตกหน้าผาตาย ในสเปน รัฐคาตาโลเนียซึ่งเป็นที่ตั้งของเมื่องบาเซโลนาที่มีความเป็นเลิศในหลายอย่างรวมทั้งฟุตบอลและเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งกว่ารัฐอื่นอาจขอแยกตัวออกเป็นเอกราช เหตุการณ์เช่นนั้นจะเป็นการเริ่มต้นของการแบ่งแยกสเปนซึ่งจะจบลงอย่างไรยากที่จะหยั่งได้

 

กรีซคงไม่ประสบปัญหาเช่นนั้น แต่ก็มีการฆ่ากันเกิดขึ้นแล้วหลังรัฐบาลตัดงบประมาณลงเพื่อทำตามความต้องการของสหภาพยุโรปและไอเอ็มเอฟในแนวที่ไทยต้องทำในปี 2540 ต้นตอของวิกฤตในกรีซได้แก่การใช้นโยบายประชานิยมแนวเลวร้ายติดต่อกันมานานโดยรัฐบาลจ้างพนักงานพร้อมให้สวัสดิการและค่าแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเพิ่มสวัสดิการให้พนักงานของรัฐก็ต้องเพิ่มให้ประชาชนโดยทั่วไป ในขณะเดียวกัน รัฐบาลก็พยายามเอาใจประชาชนโดยการลดอัตราภาษี หรือไม่เก็บเพิ่มขึ้นไปพร้อมกับการเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายส่งผลให้เกิดภาวะงบประมาณขาดดุลรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

 

เนื่องจากกรีซเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปซึ่งมีข้อตกลงว่าสมาชิกจะขาดดุลงบประมาณเกิน 3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือจีดีพี ไม่ได้ แต่รัฐบาลกรีซละเมิดกฏนั้นด้วยการตกแต่งบัญชีโดยมีธนาคารยักษ์ใหญ่ให้คำแนะนำ ก่อนที่เรื่องจะแดงออกมาและเศรษฐกิจของกรีซเดินเข้าสู่ภาวะวิกฤต ปรากฏว่ากรีซขาดดุลงบประมาณถึง 13% ของจีดีพีและเป็นหนี้สินแบบท่วมท้น กรีซยังโชคดีที่ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากสหภาพยุโรปและไอเอ็มเอฟ ครั้งหนึ่งมีการพูดถึงการไล่กรีซออกจากสหภาพยุโรป เมื่อไรกรีซถูกไล่ออก เมื่อนั้นหมายถึงการตกหน้าผาตายของกรีซ แม้จะยังไม่ตกหน้าผา แต่ตอนนี้ชาวกรีกก็ต้องทุกข์ทนจากผลของการใช้นโยบายประชานิยมและความฉ้อฉลของรัฐบาล อัตราการว่างงานที่ 26.8% เป็นตัวชี้บ่งตัวหนึ่งเท่านั้น ย้อนไปไม่นานชาวกรีกออกมาประท้วงรัฐบาลเรื่องการตัดสวัสดิการของพวกตนส่งผลให้ถูกปราบปรามจนถึงขั้นเสียชีวิต

 

อาจจำกันได้ว่ากรีซและสเปนมิได้เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปตั้งแต่เริ่มต้นเมื่อปี 2500 กรีซเข้าเป็นสมาชิกเมื่อปี 2524 และสเปนเมื่อปี 2529 ทั้งที่ทั้งสองต้องการเป็นสมาชิกมาก่อนนั้น การไม่ได้เป็นจากวันที่ต้องการเป็นมีเหตุสืบเนื่องมาจากสองประเทศนั้นยังมีการปกครองในแนวเผด็จการและมีสถาบันทางเศรษฐกิจและสังคมในแนวของประเทศกำลังพัฒนามากกว่าในแนวของประเทศก้าวหน้าซึ่งเป็นสมาชิกก่อตั้งสหภาพยุโรป ประเทศทั้งสองต้องใช้เวลาปรับเปลี่ยนสถาบันและกฎหมายของตนจนเป็นที่ยอมรับของสังคมประชาธิปไตยที่ใช้ระบบตลาดเสรีเป็นแนวบริหารจัดการเศรษฐกิจจึงเข้าเป็นสมาชิกของตลาดร่วมยุโรปได้ เหตุการณ์ที่เห็นอยู่ชี้บ่งว่า แม้จะเข้าเป็นสมาชิกของประเทศที่เรียกกันว่าพัฒนาแล้ว แต่หากยังไม่ระวังเรื่องการบริหารจัดการเศรษฐกิจให้รัดกุมจริงๆ สิ่งที่เกิดขึ้นอาจเป็นหน้าผาที่จะพาสังคมไปตายได้ไม่ยาก

 

สหรัฐอเมริกาต่างกับสหภาพยุโรปในแง่ที่มีรัฐบาลกลางอันแข็งแกร่ง ส่วนสหภาพยุโรปมีสมาชิกที่มีรัฐบาลเป็นของตนเองถึง 27 ประเทศ นอกจากนั้น รัฐบาลอเมริกันยังเป็นมหาอำนาจที่สามารถพิมพ์เงินดอลลาร์ออกมาใช้ได้มากมายโดยที่สังคมโลกทั่วไปยอมรับ นอกจากนั้น ทุกครั้งที่รัฐบาลต้องประสบกับเรื่องเพดานหนี้ รัฐสภาก็ร่วมมือหาทางออก อเมริกาจึงไม่น่าจะตกหน้าผาในรูปของกรีซหรือสเปน ส่วนการตกหน้าผาการคลังแบบทันทีทันใดก็ไม่น่าจะเกิดขึ้น ทั้งนี้เพราะเมื่อเข้าตาจนจริงๆ ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติก็จะหาทางออกได้ดังที่มีตัวอย่างให้ดูเมื่อวันขึ้นปีใหม่ที่ผ่านมา

 

หันมามองเมืองไทยจากมุมมองของหน้าผาซึ่งจะพากันไปตายหรือไม่จะพบว่า ไทยไม่มีหน้าผาการคลังแบบอเมริกา ฉะนั้น การเดินไปตกหน้าผาแบบทันทีทันใดจะไม่เกิดขึ้นแน่ แต่ไทยกำลังสร้างหน้าผาเพื่อฆ่าตัวเองในแนวเดียวกับกรีซ

 

จะเห็นว่ารัฐบาลเพิ่มการใช้จ่ายสารพัดอย่างเพื่อสร้างความนิยมให้แก่ตัวเอง แต่แทนที่จะเก็บภาษีเพิ่มเพื่อหาเงินมาสนับสนุนการใช้จ่ายพร้อมกันไปด้วย รัฐบาลกลับพยายามลดภาษี ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายๆ ได้แก่การลดอัตราภาษีเงินได้และการให้คืนภาษีแก่ผู้ที่ซื้อรถยนต์คันแรก การทำเช่นนั้นย่อมนำไปสู่การขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้น รัฐบาลปิดงบประมาณด้วยการกู้หนี้ยืมสิน แต่รัฐบาลไทยไม่สามารถพิมพ์เงินบาทออกมาใช้ได้เช่นรัฐบาลอเมริกันพิมพ์เงินดอลลาร์ ฉะนั้น ในวันหนึ่งข้างหน้ารัฐบาลไทยก็จะไม่สามารถหากู้ยืมเพิ่มอีกได้และในวันนั้นก็จะต้องคลานไปหาไอเอ็มเอฟซึ่งเป็นการล้มละลาย หรือตกหน้าผาฆ่าตัวตายในแนวเดียวกับกรีซ แน่ละ ผู้คลานไปหาไอเอ็มเอฟจะไม่ใช่ผู้บริหารบ้านเมืองชุดปัจจุบันซึ่งเชี่ยวชาญในด้านการตีกรรเชียงหลบเลี่ยงปัญหา แต่จะเป็นพรรคฝ่ายค้านเช่นเดียวกันกับเมื่อปี 2540

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...