ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
ginger

ใบไม้ผลิบนดวงจันทร์

โพสต์แนะนำ

 

45471.ความกลัว (พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก)

 

 

เรื่องที่พระพุทธเจ้าให้พระอริยสาวกสร้างเจดีย์ให้แก่พาหิยะ ทำให้อาจารย์นึกถึงเมื่อครั้งออกธุดงค์เมื่อพ.ศ.2529 ตอนนั้นเป็นพรรษาที่ 12 ของอาจารย์ เมื่อออกพรรษาแล้ว อาจารย์สุจิตโต ซึ่งเป็นชาวอังกฤษ พำนักอยู่ที่วัดอมราวดี ประเทศอังกฤษ ส่งจดหมายมาที่วัดป่านานาชาติ เล่าว่าท่านมีภารกิจมาก เหนื่อยจากงานสร้างเจดีย์ อยากจะกลับมาพักผ่อนเดินเที่ยวป่าในเมืองไทย และท่านเองก็นับถืออาจารย์แบนซึ่งเป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่น จึงอยากไปนมัสการท่านที่วัด แล้วพักอยู่ศึกษาปฏิปทาของวัดสายหลวงปู่มั่นสักอาทิตย์หนึ่ง

 

เป้าหมายหลักของคณะอาจารย์ก็คือ ไปสักการะเจดีย์สามองค์ที่กาญจนบุรี โดยเดินธุดงค์ตามแบบของพระป่า

เพื่อเพิ่มพูนความรู้และรับประสบการณ์ต่างๆ ที่น่าสนใจ

นั่นคือธุดงค์ท่องเที่ยวไปโดยรักษาสติ รักษาใจ รักษาข้อวัตรปฏิบัติของพระไว้

ยังชีพด้วยการบิณฑบาต ไม่รับปัจจัย ไม่ใช้เงินทอง ถ้าไม่มีใครนิมนต์ขึ้นพาหนะเดินทางก็เดินเท้าไปด้วยตัวเอง

แต่สุดท้ายอาจารย์ก็เดินทางข้ามจังหวัดจากอุบลราชธานีมายังนครราชสีมา ต่อไปจันทบุรี เข้ามากรุงเทพฯ

ขึ้นเหนือไปเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แล้วล่องลงมาจนถึงด่านเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรี มีทั้งเดินเท้าอยู่กลางป่า

นั่งรถส่วนตัว ขึ้นรถโดยสาร นั่งเครื่องบิน ไปแม้กระทั่งจุดที่ลึกลงไปใต้ดินถึงสามร้อยเมตร เรียกได้ว่าเจอมาทุกรสชาติ

 

ช่วงนั้นอาจารย์ก็อยู่ที่วัดหนองป่าพงเป็นหลัก คอยอุปัฏฐากหลวงปู่ชาซึ่งกำลังอาพาธ จะอยู่อุปัฏฐากสองอาทิตย์

พักสองอาทิตย์ แล้วกลับไปสลับเปลี่ยนเวรวนไปอย่างนี้ ระหว่างที่อยู่ที่นั่นก็ได้ยิน

พระหลายรูปคุยกันเรื่องประสบการณ์การเดินธุดงค์ในป่า สมัยนั้นเวลาพระคุยกันก็มักเป็นเรื่องการธุดงค์เสียส่วนใหญ่

อาจารย์เลยได้ฟังประสบการณ์ธุดงค์มาหลายเรื่อง คนแต่ละพวกเวลาเข้าป่าก็จะกลัวไม่เหมือนกัน

 

พระธุดงค์ส่วนใหญ่จะกลัวเสือกันมากที่สุด นายพรานจะไม่กลัวเสือเท่าไรนัก เพราะเสือที่กินคนไม่ค่อยจะมีให้เห็น

แต่จะกลัวงูเพราะมองเจอตัวยาก ถ้าเข้าไปใกล้ก็อาจโดนฉกถึงตายได้ ส่วนชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในป่าจะกลัวหมี

เพราะหมีชอบบุกเข้ามาในกระท่อมเพื่อรื้อหาของกิน ชาวบ้านเลยอาจถูกหมีทำร้ายเอาได้

 

เวลาไปตามป่าตามเขาแบบนี้ ใกล้ๆ แหล่งน้ำมักจะมีรอยเท้าสัตว์ป่าต่างๆ ให้เห็น เห็นรอยเท้าสัตว์อื่นๆ ก็น่าตื่นเต้นดี

แต่พอเห็นรอยเท้าเสือแล้วก็มักจะตื่นเต้นกันเป็นพิเศษ เคยมีคนเจอรอยเท้าเสือที่ทุ่งใหญ่นเรศวร

ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่ถึง 25 เซนติเมตร มีคนประมาณจากขนาดรอยเท้าว่า

เสือตัวนี้น่าจะตัวใหญ่ขนาดวัดจากหัวถึงปลายหางได้ถึง 4 เมตร

ถึงแม้ว่าจะไม่ค่อยมีพระป่าที่ไหนเดินประจันหน้ากับเสือแบบจังๆ บ่อยนัก

แต่แค่รอยเท้าหรืออะไรก็ตามที่ชวนให้นึกถึงเสือ

แม้กระทั่งกิตติศัพท์เรื่องเล่าก็สามารถทำให้จิตของเราปรุงแต่งจนเกิดความรู้สึกหวาดกลัวอย่างรุนแรงได้

 

มีพระที่อาจารย์รู้จักรูปหนึ่ง ท่านไปธุดงค์กับพระอีกหลายสิบรูปที่ทุ่งใหญ่นเรศวร พอตกเย็นพระท่านที่อาจารย์รู้จักเกิดรู้สึกเหนื่อย ต้องเดินช้าๆ สุดท้ายก็เดินไม่ทันคนอื่นเหลืออยู่แค่รูปเดียว สักพักฟ้าก็เริ่มมืด ระหว่างกำลังเดินข้ามห้วย พระท่านนั้นก็เหลือบไปเห็นรอยเท้าเสือ ท่านก็ร้องโอยในใจ แย่แล้ว มีเสือด้วย ว่าแล้วท่านก็รีบเดินให้ทันเพื่อน

แต่จะเร่งฝีเท้าเท่าไรก็ไม่ทันสักที เร่งตามไปจนฟ้ามืดสนิทก็ยังไม่เจอใครเลย

กลายเป็นว่านอกจากท่านที่อยู่กลางป่าคนเดียวตอนกลางคืนแล้ว

ก็มีเสืออยู่เป็นเพื่อนอีกตัว ท่านเลยกลัวจนทนไม่ไหว ทิ้งบาตรทิ้งบริขารที่แบกมาทั้งหมด วิ่งตามเพื่อน

สุดท้ายก็ไม่ไหว มุดเข้าไปอยู่กลางกอไผ่หนามทั้งคืน

กอไผ่จะหนามเยอะขนาดไหนก็ไม่เป็นไร ความกลัวมันผลักไสให้ลุยเข้าไปได้ทุกที่

 

2_941.jpg

 

พอตอนเช้าท่านก็ตะเกียกตะกายออกจากกอไผ่ เดินต่อไปจนเจอชาวบ้าน

โยมเลยพาออกจากป่าแล้วส่งขึ้นรถจนเดินทางกลับวัดที่จังหวัดนนทบุรีได้ พออาจารย์ของพระรูปนี้รู้เรื่องเข้า

ก็ดุให้ท่านไปเอาบาตรที่ทิ้งไว้กลับมา เลยต้องเดินทางกลับมาที่ทุ่งใหญ่นเรศวรอีกที แต่ก็หาบาตรไม่เจอแล้ว

 

มีพระอีกกลุ่มหนึ่งไปธุดงค์ที่เขาใหญ่ แล้วพระรูปหนึ่งในคณะก็เกิดมีอาการเหมือนเป็นมาเลเรียขึ้นมา

ตัวจะหนาวสั่นเป็นระยะๆ ตลอดทั้งวัน พระที่ไปด้วยกันก็เป็นห่วง

เพราะถ้าติดเชื้อมาเลเรียจนอาการหนักขนาดนี้ก็มีสิทธิ์ถึงตายได้ อาจารย์ได้ยินมาว่าไข้มาเลเรียมีสองชนิด

ชนิดหนึ่งจะขึ้นสมอง อีกชนิดจะลงกระเพาะ แบบขึ้นสมองจะรุนแรงแต่รักษาง่าย

ส่วนลงกระเพาะจะไม่แรงเท่าไรแต่รักษายาก หมอต้องวินิจฉัยแล้วจ่ายยาให้ถูก ไม่อย่างนั้นจะเป็นอันตราย

พระในคณะธุดงค์ก็เป็นห่วงมาก กลัวพระท่านนี้จะเป็นอันตราย เลยรีบเรียกรถมารับตัวไปส่งโรงพยาบาล

แต่พอขึ้นรถแล้วพระท่านนั้นก็หายสั่นทันที ทุกคนก็งงว่าทำไมเมื่อกี้ยังสั่นแทบตาย พอขึ้นรถปุ๊บก็หายปั๊บ

ไล่ไปไล่มาก็เลยมารู้กันหมดว่า ที่สั่นๆ ทั้งวันนั่นไม่ใช่มาเลเรีย แต่สั่นเพราะกลัวเสือ

พอได้ขึ้นรถก็คิดว่ารอดแล้ว หายกลัวหายสั่นขึ้นมาทันที โดนจิตตัวเองหลอก จนต้องวุ่นวายไปทั้งคณะ

 

ความกลัวก็เหมือนการทำร้ายตัวเอง ความกลัวทำให้เราเป็นทุกข์

และยังทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนบางอย่างออกมา สัตว์ป่าก็จะรู้ว่าเรากลัว

ถ้าเข้าป่ากันสามคน แล้วเจอสัตว์ป่าจะเข้ามาทำร้าย สัตว์ป่าก็จะเลือกทำร้ายคนที่กลัวมากที่สุดก่อน

แต่ถ้าจิตเราหนักแน่น จิตเป็นอริยะ ก็จะไม่เกิดอันตรายจากสัตว์ป่าทั้งหลาย

สังเกตดูประวัติของอริยบุคคลทั้งหลาย ไม่ปรากฏว่าเวลาธุดงค์ในป่าแล้วถูกสัตว์ป่าทำร้ายเลย

ความกลัวบางครั้งก็ทำร้ายเราได้รุนแรงกว่าสิ่งที่เรากลัวเสียอีก

 

1_296.jpg

 

 

ที่มา : หนังสือ “เดินทางโดยสวัสดี” ของ พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ท

 

b39.gif รวมคำสอน “พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก”

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=38514

 

.....................................................

"องค์ใดพระสัมพุทธ สุวิสุทธสันดาน ตัดมูลเกลศมาร บ มิหม่นมิหมองมัว

หนึ่งในพระทัยท่าน ก็เบิกบานคือดอกบัว ราคี บ พันพัว สุวคนธกำจร"

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

%BE%C3%D0%CD%D2%A8%D2%C3%C2%EC%C1%D4%B5%AB%D9%E2%CD%D0%20%A4%E0%C7%CA%E2%A1~2.jpg

ธรรมไหลไปสู่ธรรม

พระธรรมเทศนาในงานสัปดาห์วันวิสาขบูชา ณ ท้องสนามหลวง

วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๓๔

โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

เจ้าอาวาสวัดป่าสุนันทวนาราม อ.ไทรโยค (กม.๙๐) จ.กาญจนบุรี

 

..............................................................

 

ขอความเจริญในธรรม จงมีแด่ท่านสาธุชนผู้ใฝ่ใจในการปฏิบัติธรรมทั้งหลาย

ชีวิตของเราที่ได้ล่วงมาถึงวาระนี้

ขณะนี้เป็นเวลาที่สำคัญที่สุดและมีค่ามากที่สุด ในชีวิตของเรา

เราจึงควรที่จะดำรงอยู่ด้วยความไม่ประมาท ทั้งกาย วาจา ใจ ในปัจจุบันนี้เถิด

อดีตได้ผ่านพ้นไปแล้ว ทำอะไรไปก็แก้ไขกลับคืนไม่ได้ ส่วนอนาคตก็ยังมาไม่ถึง

มีแต่ ปัจจุบันธรรม นี้เท่านั้นที่จะยังประโยชน์ให้สำเร็จได้

971109_608092529210819_1966598282_n.jpg

 

อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต

 

สิ่งที่เราประสบอยู่ในปัจจุบันล้วนเกิดมาจากเหตุในอดีต

อดีตเป็นเหตุ ปัจจุบันเป็นผล

ปัจจุบันเป็นเหตุ อนาคตเป็นผล

ปัจจุบันจึงเป็นที่รวมของทั้งเหตุและผล

เมื่อศึกษาปัจจุบันจนเข้าใจแล้ว เราย่อมเข้าใจทั้งอดีต ทั้งอนาคต ไปพร้อมกันด้วย

ฉะนั้น คุณงามความดีทั้งหลายที่เราได้สร้างสมมาทั้งหมดนับเอนกชาติ

ขอจงได้มาประชุมรวมกันลงในปัจจุบันนี้ ขณะนี้และเดี๋ยวนี้

 

โดยเฉพาะวาระนี้เป็นสัปดาห์วิสาขบูชา

ชาวโลกหลายล้านคนได้พร้อมกันรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ

ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ถือกันว่าวันวิสาขบูชานี้เป็นวันแห่งการประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของพระองค์ท่าน

พวกเราควรพากันตั้งอกตั้งใจปฏิบัติธรรมเป็นพุทธบูชา โดยพร้อมเพรียงกัน

 

เมื่อหวนระลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ให้เราน้อมเอาธรรมะของพระองค์เข้ามาสู่ใจของเรา

ไม่ต้องให้ความสำคัญกับชนชั้นวรรณะ

ให้พุทธภาวะ ภาวะแห่งความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ได้บังเกิดขึ้น

ในดวงใจของเรา ในปัจจุบันนี้และเดี๋ยวนี้

 

พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า

จิตดั้งเดิมของเรานั้นประภัสสร มีความบริสุทธิ์ ผ่องใสอยู่ก่อนแล้ว

แต่เมื่อเราปล่อยตัว ปล่อยใจไปตามความเคยชินของกิเลส

จิตของเราจึงเศร้าหมองขุ่นมัว ไม่บริสุทธิ์ผ่องใส อย่างที่ควรจะเป็น

ปกติคนเราไม่ค่อยได้สังเกตความนึกคิดของตัวเอง

เราคิดอะไรก็ไม่ค่อยรู้ตัว ส่วนมากก็คิดไปตามความเคยชิน

ตามอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง

เราไม่รู้ว่าการปล่อยความคิดให้แล่นไปตามกิเลสนี้

เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ขึ้นมา

1017119_608113982542007_1231728976_n.jpg

 

เมื่อเราปล่อยความคิดให้แล่นไป ทางโน้น ทางนี้อยู่เรื่อยๆ

คิดผิด คิดชั่ว คิดบ่น คิดดูถูกดูหมิ่นใครต่อใคร

บางทีก็เกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า ทำดีแล้วไม่ได้ดี แต่ทำชั่วแล้วสนุกสนาน

บางทีก็คิดไปว่าทำชั่วต่างหากที่ได้ดี

สังคมเราทุกวันนี้จึงวิปลาส มองจริงเป็นเท็จ มองเท็จเป็นจริง

มองชั่วเป็นดี มองถูกเป็นผิด เกิดความสับสนวุ่นวายขึ้นมา

สารพัดอย่างจนถึงกับกล่าวกันว่า

“ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป”

 

ที่เป็นเช่นนี้เพราะไม่รู้จักและไม่เข้าใจหลักความจริงที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้

ส่งผลให้ชีวิตของคนเราตั้งแต่เกิดมาจนกระทั่งตายไป

แม้จะแสวงหาความสุขมากมายเพียงไร ก็ไม่ได้พบความสุขที่แท้จริงสักที

เราจึงต้องปฏิบัติให้รู้ความจริงด้วยตัวของเราเอง

ด้วยกาย วาจา ใจ ของเราทั้งหลายนั่นแหละ

ต้องอดทน อดกลั้น และต้องต่อสู้กับความรู้สึกของตัวเอง

 

ในการปฏิบัตินั้น เราเริ่มต้นด้วยการรักษาศีล

ไม่ว่าจะเป็น ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗

อันนี้เป็นอุบายที่จะช่วยให้เกิดสติสัมปชัญญะขึ้นภายในใจ

ทำให้เรารู้จักตัวเองมากขึ้น สามารถพัฒนาตัวเองให้ก้าวหน้าได้ต่อไป

เมื่อเรามีสติสัมปชัญญะ มีความรู้สึกตัวสืบเนื่องกันไปโดยไม่ขาดตอนแล้ว

เราจะเกิดความรู้สึกผิดชอบชั่วดี

รู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์

ที่สำคัญจะเกิดความรู้อย่างหนึ่งว่า

ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามหลักของเหตุและผล

เมื่อทำเหตุดี ผลย่อมดี

เมื่อทำเหตุไม่ดี ผลย่อมไม่ดี

931313_608094042544001_133525180_n.jpg

 

ทั้งสองอย่างนี้เป็นสิ่งเดียวกับที่พวกเราได้ยินได้ฟังจนคุ้นหูว่า

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว นั่นเอง

ที่เราตั้งข้อสงสัยต่อหลักของเหตุและผลที่ว่า

“ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” นั้น

ก็เพราะเราไม่ได้ศึกษาจิตใจของตัวเองจนเกิดความรู้ ความเข้าใจ

อย่างแจ่มแจ้ง ให้เกิดหิริโอตตัปปะขึ้นมาในจิตใจของเรา

หิริ คือ ความละอายแก่ใจเมื่อเกิดอารมณ์ยินดียินร้าย

โอตตัปปะ คือ ความกลัวเกรงในอารมณ์ยินดียินร้ายนั้น

 

 

(มีต่อ ๑)

 

.....................................................

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อยากให้พี่ ginger นำบทความธรรมของท่าน อาจารย์มิตซูโอะ คาเวสโก มาลงบ้างค่ะ

ทำไมท่านถึงลาสิขา พอทราบไหมคะ

คือส่วนตัว ศรัทธาท่านจ้ะ....ขอขอบคุณค่ะ

น้องที่น่ารัก อีกเด๋ว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ใจเป็นศีล ศีลรักษาใจ

67390_394635957286766_1806336162_n.jpg

เมื่อเราปฏิบัติธรรม คือ ศึกษาจิตใจของตัวเอง

จนกระทั่งเกิดหิริโอตตัปปะขึ้นในใจอย่างมั่นคงแล้ว

เรียกว่าปฏิบัติจนกระทั่ง ศีลเข้าถึงใจ หรือ มีใจเป็นศีล มีใจเป็นธรรม

ขณะที่ปฏิบัติใหม่ๆ เราได้พยายามรักษาศีล

แต่เดี๋ยวนี้ และต่อไปนี้ เมื่อใจเราเป็นศีล ศีลจะรักษาเรา

 

เพราะเมื่อศีลเข้าถึงใจ เราจะมีความรู้สึกตื่นตัว

มีความละอาย มีความเกรงกลัว

ในขณะเกิดอารมณ์ยินดียินร้าย สติสัมปชัญญะ กับ หิริโอตตัปปะ รวมกัน

ควบคุมตัวเราไว้ได้อย่างมั่นคง

เราไม่กล้าทำชั่วทำบาป และไม่กล้าประมาทอีกต่อไปแล้ว

 

ถึงขนาดนี้แล้ว การประพฤติปฏิบัติของเรา จะเสมอต้นเสมอปลายตลอดเวลา

แม้ว่าอยู่ในที่ลับหูลับตา หรืออยู่ในป่าในเขาตามลำพัง

เราก็ไม่ประมาทพลั้งเผลอที่จะทำชั่วทำบาปแล้ว

เพราะเรามีหิริโอตตัปปะ เรามีตนเป็นที่พึ่งของตน

“อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ” ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน

 

คำว่าตนเป็นที่พึ่งแห่งตนนี้ อาจจะพูดได้อีกอย่างว่า

ตนใหญ่ เป็นที่พึ่งของ ตนเล็ก

ตนใหญ่คืออะไร ตนเล็กคืออะไร อาจจะมีคนสงสัย

 

ตนใหญ่ คือ ตนที่แท้จริง ตนที่บริสุทธิ์

เป็นตนที่ สติสัมปชัญญะ กับ หิริโอตตัปปะรวมกันควบคุมจิต

ทำให้เกิดความรู้สึกตัวขึ้นมา

ตนนี้แล อตฺตา หิ เป็น ตนใหญ่

 

ส่วน ตนเล็ก คือ จิตที่เคยอยู่ใต้อำนาจของกิเลส ถูกกิเลสเบียดเบียน

จนได้รับความทุกข์ใจความเสียใจ

อันนี้แหละเป็นตนเล็กที่อ่อนแอ ไม่มีกำลัง

 

เมื่อใดก็ตามที่กำลังจะเกิดความรู้สึกที่เป็นกิเลส

ตนใหญ่ ที่เป็นสติสัมปชัญญะก็จะรู้ตัวและเกิดความละอาย

ความเกรงกลัวต่อบาป

พูดง่ายๆ ว่า ตนใหญ่จะมาจัดการกับกิเลสเองโดยอัตโนมัติ

 

อย่างนี้เรียกว่า เราได้ที่พึ่งของตัวเอง มีใจเป็นศีล มีใจเป็นธรรม

ซึ่งจะคอยรักษาเราอยู่ตลอดเวลา

 

ไม่ดูถูกตัวเอง

 

คำว่า มนุษย์ มาจาก มน+อุษย แปลว่า ผู้มีใจสูง

ปกติเมื่อยู่ตามลำพัง เรามักจะประมาทและปล่อยให้กิเลสเกิดขึ้นได้ง่าย

เช่นเราเห็นของดีๆ งามๆ แล้วเกิดความอยากได้

แม้จะรู้อยู่ว่ามีเจ้าของ แต่ก็ยังนึกอยากจะขโมยเอาให้ได้

มองหน้ามองหลัง มองซ้ายมองขวา พอเห็นว่าไม่มีใคร

ก็หยิบของใส่กระเป๋า รีบเดินหนีด้วยใจเต้นตึกตักๆ

อย่างนี้ก็จะเรียกว่าเป็นคนทำชั่ว

226209_347251252025237_535923157_n.jpg

คนที่ทำชั่วทำบาปได้ คือคนที่ไม่เคารพตัวเอง ดูถูกดูหมิ่นตัวเองมากที่สุด

ไม่ให้เกียรติแม้กระทั่งตัวเอง ว่าเป็นมนุษย์คนหนึ่งในโลก

เมื่อเราทำความชั่ว เราจะคิดว่าไม่มีคนรู้คนเห็นได้อย่างไร

คนที่รู้อยู่เห็นอยู่ก็คือตัวของเราเอง

แล้วตัวของเราเองนี้เป็นใคร

ไม่ใช่คน ไม่ใช่มนุษย์หรอกหรือ ? เป็นยักษ์เป็นเปรตหรือ ?

คนที่รักชีวิตของตัวเองอย่างแท้จริง จะทำชั่วทำบาปไม่ได้

แม้จะอยู่บนเขา อยู่ในถ้ำเพียงคนเดียว ก็ยังต้องสำรวม

ระวัง กาย วาจา ใจ ของตนให้เป็นปกติเรียบร้อยอยู่เสมอ

 

เมื่อเราสามารถรักษาศีล จนกระทั่ง ใจเป็นศีล ใจเป็นธรรมแล้ว

จะเกิดความรู้ชนิดหนึ่ง เรียกว่า อจล ญาณทัสสนะ

เป็นความหยั่งรู้ที่เป็นพยานแก่ตนเองได้อย่างมั่นคง ไม่หวั่นไหว

และเมื่อสามารถเอาตนเป็นพยานแห่งตนได้แล้ว

ก็ไม่ต้องเที่ยวหาคนอื่นนอกตัวมาเป็นพยาน

เราเองรู้ชัดอยู่กับตัวว่า ทำดี ทำถูก ทำไม่ผิดแล้ว

ใครจะว่าอย่างไร เราก็ไม่หวั่นไหว ไม่ต้องเป็นทุกข์เดือดร้อนใจ

ไม่ต้องคิดไปว่า ทำดีได้ชั่ว

เพราะทำดีเมื่อไรมันก็ได้ดีอยู่ที่ใจอย่างแน่นอน

 

ที่เขาตำหนิเรากล่าวหาเราว่า ทำไม่ดี ทำไม่ถูก หรือทำชั่ว

ก็อาจจะมีได้บ้างเหมือนกัน

อาจจะเป็นวิบากกรรมของเราเอง

หรือเพราะกิเลสเข้าครอบงำจิตใจของเขา

หรือไม่ก็อาจเป็นเพราะ อวิชชา เป็นเครื่องปิดบังไม่ให้รู้ความจริง

เขาจึงเข้าใจเราผิด ก็เป็นได้

 

และถึงแม้จะเป็นอย่างนั้น เราก็ไม่ต้องคิดอะไรมาก

พยายามทำใจของเราให้สะอาด สว่าง สงบ

ปล่อยให้กาลเวลาเป็นเครื่องแก้ไข

ในที่สุดเหตุการณ์ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะเปลี่ยนแปลงกลับคืนสู่สภาพปกติของมันเอง

เมื่อใดที่ศีลของเราสมบูรณ์แล้ว กาย วาจา และจิตของเราก็เข้าสู่ทางสายกลาง

มุ่งตรงต่อสมาธิ ปัญญา วิมุตติ และ วิมุตติญาณทัศนะ

 

 

(มีต่อ ๒)

 

.....................................................

ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธรรมไหลไปสู่ธรรม

285679_371579239592438_785433126_n.jpg

มีอยู่วาระหนึ่งที่พระพุทธได้ทรงแสดงถึงอาการที่เรียกว่า

“ธรรมไหลไปสู่ธรรม โดยไม่ต้องตั้งเจตนา”

เรามีหน้าที่เพียงแต่ ดูแลเอาใจใส่และรักษาธรรมให้ดีเท่านั้น

อันเป็นมูลเหตุเบื้องต้น

เพราะเมื่อเหตุดีแล้ว ก็จะผลิตดอกออกผลมาเอง

ส่วนจะเร็วหรือช้านั้น ก็เป็นเรื่องของสภาวะธรรมตามธรรมชาติ

ถ้าจะเปรียบเทียบก็เหมือนกับเราปลูกมะม่วงสักต้นหนึ่ง

หน้าที่ของเราคือ รดน้ำ ใส่ปุ๋ย พรวนดิน กำจัดแมลง

ทำอยู่อย่างนั้นนานนับเดือน นับปี

ต้นไม้ก็เจริญเติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ

 

แล้วในที่สุด ไม่วันใดก็วันหนึ่ง มันจะต้องผลิดอกออกผลขึ้นมา

ปีแรกๆ อาจจะมีผลิตผลไม่มาก

แต่ปีต่อๆ มาก็จะผลิดอกออกผลมากขึ้นเอง

หน้าที่ของเราจึงมีแต่เพียงศึกษาให้รู้ถึงวิธีการบำรุงรักษา และ

ดูแลบำรุงรักษาต้นไม้นั้นให้ดีที่สุดเท่านั้น

เมื่อเราทำเหตุให้ดีแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องห่วงว่าผลจะออกมาอย่างไร

 

ฉะนั้น ในการปฏิบัติธรรมเราจึงต้องรักษาจิตให้เป็นศีล

มีความพากเพียรในการเจริญสติ และมีสัมปชัญญะ ให้สืบเนื่อง

ติดต่อกันไปอย่างสม่ำเสมอไม่ขาดตอน

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงย่อมจะไหลไปสู่ธรรมตามลำดับ

ตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงเบื้องปลาย

คือความหลุดพ้นจากทุกข์เป็นที่สุด

 

กล่าวคือ

 

(๑) เมื่อศีลสมบูรณ์ ไม่มีโทษทางกายวาจาใจ

ไม่มีการเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นแล้ว ก็ไม่ต้องทำ “เจตนา” ว่า

“อวิปปฏิสาร ความไม่เดือดร้อนใจ จงบังเกิดขึ้นแก่เรา” ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า

เมื่อศีลสมบูรณ์แล้ว ความไม่เดือดร้อนใจย่อมเกิดขึ้นเอง

 

(๒) เมื่อไม่มีความเดือดร้อนใจแล้วไม่ต้องทำ “เจตนา” ว่า

“ปราโมทย์ ความปลื้มใจ จงบังเกิดแก่เรา” ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า

เมื่อไม่มีความเดือดร้อนใจแล้ว ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้นเอง

 

(๓) เมื่อปราโมทย์ คือ ความปลื้มใจเกิดขึ้นแล้ว

ไม่ต้องทำ “เจตนา” ว่า “ปีติ ความอิ่มใจ จงบังเกิดแก่เรา” ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า

เมื่อความปราโมทย์เกิดขึ้นแล้ว ปีติย่อมเกิดขึ้นเอง

 

(๔) เมื่อปีติความอิ่มใจเกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องทำ “เจตนา” ว่า

“กายของเราจงระงับเป็นปัสสัทธิ” ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า

เมื่อปีติเกิดขึ้นแล้ว กายย่อมระงับเอง

 

(๕) เมื่อกายระงับเป็นปัสสัทธิแล้ว ไม่ต้องทำ “เจตนา” ว่า

“เราจงเสวยสุข” ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า

เมื่อกายระงับเป็นปัสสัทธิแล้ว ย่อมเสวยสุขเอง

 

(๖) เมื่อมีความสุขแล้วไม่ต้องทำ “เจตนา” ว่า

“จิตของเรา จงตั้งมั่นเป็นสมาธิ” ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า

เมื่อมีความสุขแล้ว จิตย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิเอง

 

(๗) เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ไม่ต้องทำ “เจตนา” ว่า

“เราจงรู้เห็นตามความเป็นจริง” ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า

เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ยถาภูตญาณทัสสนะ

คือความรู้เห็นตามความเป็นจริง ย่อมเกิดขึ้นเอง

 

(๘) เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะ คือ ความรู้เห็นตามความเป็นจริงเกิดขึ้นแล้ว

ไม่ต้องทำ “เจตนา” ว่า “เราจงเบื่อหน่ายเป็นนิพพิทา” ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า

เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงแล้ว ย่อมเบื่อหน่ายเอง

 

(๙) เมื่อเบื่อหน่ายเป็นนิพพิทาแล้ว ไม่ต้องทำ “เจตนา” ว่า

“เราจงคลายกำหนัดเป็นวิราคะ” ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า

เมื่อมีความเบื่อหน่ายแล้ว วิราคะ คือ ความคลายกำหนัด ย่อมเกิดขึ้นเอง

 

(๑๐) เมื่อคลายกำหนัดเป็นวิราคะแล้ว ไม่ต้องทำ “เจตนา” ว่า

“เราจงทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสสนะ คือ ความรู้เห็นว่าจิตหลุดพ้น

จากอาสวะทั้งหลายแล้ว” ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า

เมื่อวิราคะเกิดขึ้นแล้ว วิมุตติญาณทัสสนะย่อมเกิดขึ้นเอง

1001770_551625478210127_763320604_n.jpg

ด้วยอาการอย่างนี้ เรียกว่า “ธรรมไหลไปสู่ธรรม”

ธรรมย่อมยังธรรมให้เต็ม

เปรียบประดุจกระแสน้ำที่ไหลไปตามลำคลองลงสู่ห้วงมหาสมุทร

น้ำย่อมยังห้วงน้ำให้เต็มได้ฉันใด

ธรรมย่อมยังธรรมให้เต็มได้ฉันนั้น

 

ผู้ศึกษาและปฏิบัติธรรม จึงควรใช้วิจารณญาณ สังเกตให้เห็นว่า

เราเพียงตั้ง “เจตนา” ในการกระทำให้ถูกต้อง

เป็นสัมมาปฏิบัติก็พอแล้ว

 

เราไม่ต้องตั้ง “เจตนา” ที่จะคาดหวังให้การกระทำนั้นออกผล

เพราะเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น แถมยังจะทำให้เกิดความกระวนกระวาย

หรือเป็นทุกข์ขึ้นมาอีกด้วย

คนโดยมากมักจะเข้าใจผิดในข้อนี้

นี่แสดงให้เห็นว่า เมื่อรักษาจิต ดำรงจิต และตั้งเจตนาให้ถูกต้อง

ในการกระทำ โดยรักษาศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์แล้ว

สมาธิ ปัญญา ความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงก็จะเกิดขึ้นเอง

โดยไม่ต้องตั้งเจตนาที่จะให้เกิด

 

อริยมรรค ๘ โพชฌงค์ ๗ สติปัฏฐาน ๔ และแม้แต่โอวาทปาฏิโมกข์

ก็อยู่ในที่นั้นครบทั้งหมด กล่าวคือ

เมื่อศีลสมบูรณ์แล้ว “การไม่ทำบาปทั้งปวง” ก็จะสมบูรณ์

 

เมื่อใจเกิดปีติ ปัสสัทธิ สุข และสมาธิแล้ว

ไม่ว่าจะทำอะไร ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเป็นกุศลไปทั้งหมด

“การทำกุศลให้ถึงพร้อม” ก็จะสมบูรณ์เอง

โดยไม่ต้องตั้งใจทำอะไรเป็นพิเศษ

 

เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง

คือ เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างชัดเจน

เกิดความจางคลายไปแห่งตัณหาและราคะ

เป็นการ “ชำระจิตให้ผ่องแผ้ว”

จนกระทั่งเกิดความรู้เห็นว่า จิตหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง

คือ วิมุตติญาณทัสสนะ ในที่สุด

 

 

(มีต่อ ๓)

 

.....................................................

ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อดกลั้นต่อสิ่งที่เข้ามากระทบ

397186_229404067143290_622396084_n.jpg

พระพุทธเจ้าทรงตรัสบอกพราหมณ์คนหนึ่งว่า

“พระนิพพานเป็นธรรมอันยิ่ง”

แต่สำหรับพวกเรา ขันติคือธรรมอันยิ่ง

ขนฺติ ปรมํ ตฺโป ตี ติกฺขา

ขันติ คือความอดกลั้น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง

นั่นคือ ความอดทนพากเพียรในการปฏิบัติ

และความอดทนอดกลั้นต่อสิ่งต่างๆ ที่เข้ามากระทบ

โดยสำรวมระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้เกิดความยินดียินร้าย

 

ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็น อายตนะภายใน

ส่วน รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นอายตนะภายนอก

ทั้งสองอย่างนี้เป็นบ่อเกิดของอารมณ์ทั้งหลายทั้งปวง

คือ เมื่อกระทบกันเข้า ก็เกิดความรับรู้

 

ตาเห็นรูป เกิด จักษุวิญญาณ

หูได้ยินเสียง เกิด โสตวิญญาณ

จมูกได้กลิ่น เกิด ฆานวิญญาณ

ลิ้นรับรู้รส เกิด ชิวหาวิญญาณ

กายรับรู้สัมผัส เกิด กายวิญญาณ

ใจรับรู้ธรรมารมณ์ เกิด มโนวิญญาณ

400576_213512852065745_2112402246_n.jpg

เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายรับรู้สัมผัส

เกิดผัสสะ เป็นขั้นตอนที่ ๑

ถ้าสติปัญญากำหนดรู้เท่าทัน ก็เป็น

สักแต่ว่าเห็น

สักแต่ว่าได้ยิน

สักแต่ว่ากลิ่น

สักแต่ว่ารส

สักแต่ว่าสัมผัส

ไม่เกิดเวทนา

 

แต่ถ้าขณะนั้นเกิดเผลอสติ ก็จะกลายเป็นอธิวจนสัมผัส

คือสัมผัสลึกซึ้งจนเกิดเป็นเวทนา ความรู้สึกชอบไม่ชอบ

ด้วยอำนาจจิตที่ปรุงแต่งไป เป็นขั้นตอนที่สอง

 

ตรงนี้แหละให้ระวังตัว

ถ้าเป็นไฟจราจรก็เป็นไฟเหลือง

เป็นสัญญาณเตือนภัยให้ระวังตัวให้มาก

ถ้าสามารถกำหนดรู้เท่าทันเวทนาได้ ก็ยังไม่เป็นทุกข์

แต่ถ้าเวทนาแรงกล้า จิตก็จะปรุงแต่งให้เกิดความทะยานอยาก

เป็นตัณหาขึ้น เป็นขั้นตอนที่สาม

 

เมื่อเกิดตัณหาแล้วท่านเรียกว่า สมุทัย เป็นเหตุให้เกิดทุกข์

ถ้าเป็นไฟจราจรก็เป็นไฟแดงแล้ว

ต้องหยุดที่ตรงนี้

ถ้าหยุดได้ก็ยังไม่เกิดทุกข์

แต่ถ้าหยุดไม่ได้ก็จะเกิดเป็นอุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นเอาจริงเอาจัง

ในความอยากนั้น เป็นขั้นตอนที่สี่

 

ลำพังความอยากเฉยๆ ยังไม่เป็นทุกข์

ถ้าจิตเชื่อฟังเหตุผล ยอมปล่อยวางความอยากลงได้ก็แล้วไป

แต่ถ้าเกิดอุปาทานยึดมั่นถือมั่นแล้ว ก็เกิดอัตตาตัวตน

ซึ่งเป็นตัวทุกข์ขึ้นมา หลังจากนั้นก็จะเกิดเป็นภพ

คือ ความมี ความเป็น ในขั้นตอนที่ห้า

382963_213393338744363_1152075909_n.jpg

ความนึกคิดนี้เป็นภพ

เมื่อนึกคิดปรุงแต่งเป็นเรื่องเป็นราว มีเรามีเขา ก็เกิดเป็นชาติ

เป็นอารมณ์ในใจ มีความพอใจไม่พอใจ

ถ้าอารมณ์ภายในใจนี้ มีกำลังรุนแรง จนไม่สามารถควบคุมไว้ได้

ก็จะแสดงออกมาทางกาย วาจา

เป็นการกระทำที่ออกจากศีล หรือ ผิดศีล

จากนั้น ชรา มรณะ โศกะ ปริเทวะ ความร่ำไร รำพัน ความทุกข์ โทมนัสก็เกิดตามมา

เป็นขั้นตอนที่หก เจ็ด แปด... เก้า... สิบ... ยี่สิบ... สามสิบ ยืดยาวต่อไปเรื่อยๆ

 

เพราะฉะนั้นเมื่อได้เห็นหรือได้ยินอะไรก็ตาม

ให้มีสติ น้อมเข้ามาสู่ใจของเรา

เพื่อที่จะเข้าไปดูอย่างลึกซึ้งในขณะที่รับอารมณ์นั้น

 

 

(มีต่อ ๔)

.....................................................

ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=6&t=20275

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รู้อะไร ก็สักแต่ว่ารู้

 

เมื่อดูเข้าไป ดูเข้าไป โดยอาศัยกำลังของสติและจิตอันหนักแน่นแล้ว

เราจะเห็นอารมณ์ และถ้าเห็นจริงๆ แล้ว ก็จะรู้ชัด

เป็นความรู้ที่มีกำลัง มีอำนาจ ในการต่อสู้กับกิเลสตัณหา

เรียกว่า ภาวนามยปัญญา

 

ภาวนามยปัญญา ไม่ใช่ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการขบคิดพินิจพิจารณา

ตามเหตุผลในระดับสมอง หรือปัญญาที่เกิดขึ้นจากการได้ยิน ได้ฟัง

เกิดความทรงจำ คิดได้พูดได้

ที่เรียกว่า จินตามยปัญญา และ สุตตมยปัญญา

 

แต่ภาวนามยปัญญานั้น อาศัยสติ และสมาธิที่หนักแน่น

เข้าไปดูลึกๆ ภายในจิตจนเห็นอารมณ์ของตนเองอย่างชัดเจน

ฉะนั้นการปฏิบัติธรรม คือการพยายามรักษาจิตตั้งเจตนาให้ถูกต้อง

เพื่อทวนกระแสแห่งอารมณ์

พยายามรักษาอารมณ์ให้รู้อยู่แต่อารมณ์ที่ ๑ คือผัสสะ

เห็นก็สักแต่ว่าเห็น ได้ยินเสียงก็สักแต่ว่าได้ยิน รู้ก็สักแต่ว่ารู้

แต่ถ้าหลุดไปเป็นอารมณ์ที่ ๒ คือเวทนา ก็อย่ายึดมั่นถือมั่น

ชอบไม่ชอบอย่ายึดมั่นถือมั่น เช่นนี้ไปเรื่อยๆ

1003443_608031165883622_692353099_n.png

อีกอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อเกิดกระทบอารมณ์

ก็พยายามให้ความรุนแรงของอารมณ์ลดลงๆ

เช่น แต่ก่อนเมื่อกระทบอารมณ์ได้ยินเสียงนินทาปุ๊บ จิตก็แล่นไปถึง

อารมณ์ที่ ๔ - ๕ - ๖ เลย คือเกิดเป็นอุปาทาน ภพ ชาติ ฯ

ปรุงแต่งไปเรื่อยๆ เกิดทุกข์เดือดร้อนเป็นเดือนเป็นปีก็มี

การปฏิบัติคือการพยายามลดอารมณ์รุนแรงนี้ให้หยุดอยู่

แค่อารมณ์ที่ ๓, ๒, ๑ ตามลำดับ

 

เคยทะเลาะกับภรรยาแล้วอารมณ์ไม่ดีอยู่ ๕ - ๖ วัน

ก็ให้ลดลงเหลือ แค่ ๑ วัน และต่อไปก็ไม่ต้องทะเลาะเลย เป็นต้น

นี่คือการพยายามลดความรุนแรงของอารมณ์จากขั้นที่ ๖ - ๕ - ๔

เป็น ๓ - ๒ - ๑ เป็นลำดับ และ เป็นการทวนกระแสแห่งอารมณ์

 

เราต้องระมัดระวังและกลัวความรู้สึกนึกคิด

ที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของเรา

เพราะเป็นมูลเหตุ ของบาปอกุศล และความทุกข์ทั้งปวง

เมื่อจิตนึกไป คิดไป ปรุงแต่งไปเรื่อยๆ ตามอำนาจของกิเลสตัณหาแล้ว

ก็จะแสดงออกมาเป็นการกระทำทางกาย ทางวาจา ในที่สุด

942846_607878315898907_1192612628_n.jpg

 

ดังนั้น สิ่งที่น่ากลัวที่สุด เป็นอันตรายร้ายกาจที่สุด

และเป็นศัตรูผู้จองผลาญก็อยู่ตรงนี้ ตรงที่ ความรู้สึกนึกคิดของตัวเราเอง

เราจึงต้องไม่ประมาท

เหมือนดังที่พระบรมศาสดาได้ทรงย้ำให้พวกเรารู้สึกตื่นตัวอยู่เสมอ

เสมือนว่า กำลังอยู่ในห้องที่มีอสรพิษ คอยจ้องอยู่ตลอดเวลา

 

 

(มีต่อ ๕)

 

.....................................................

ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

484712_530153537047380_287443758_n.jpg

ตัวไรน่ากัว

 

 

945128_533643473365053_962006200_n.jpg

แกล้งนี่แหล่วเคียดเด้อ (โกรธ,งอน)

 

โขด = โมโห

เกี๊ยด = โกรธ คำเมือง

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

188059_333563936722366_1469837437_q.jpg

สาระแห่งสุขภาพ

 

***วิธีดูแลรักษาไขมันเกาะตับ***

 

ไขมันเกาะตับ (fatty liver) เป็นโรคที่อาจพบร่วมกับไขมันไตรกลีเซอไรด์ (triglycerides) ในเลือด (ผู้ช่วยโคเลสเตอรอลฝ่ายร้าย) สูง, ระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ยสูง (HbA1C), ภาวะดื้อต่ออินซูลินในภาวะก่อนเบาหวาน (prediabetes) หรือเบาหวาน (กลุ่มโรคอ้วนลงพุง), หรือผลการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound) พบลักษณะเสียงสะท้อนของตับเปลี่ยนไปได้

 

คนไข้หลายๆ คนไม่มีอาการอะไรเลย เช่น อาจตรวจพบจากการตรวจสุขภาพ หรือตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง ฯลฯ บางคนอาจมีท้องอืด แน่นท้อง ตับอักเสบ

 

เรื่องที่น่ารู้ คือ โรคนี้ไม่มียารักษาโดยตรง แต่การปรับเปลี่ยนแบบแผนการใช้ชีวิต หรือไลฟ์สไตล์ (lifestyle) ช่วยได้มาก

 

วิธีบรรเทาอาการ หรือดูแลรักษาตนเองในโรคไขมันเกาะตับที่สำคัญได้แก่

 

(1). "ลด-ละ-เลิก" เครื่องดื่มเติมน้ำตาล น้ำอัดลม เครื่องดื่มกระตุ้นกำลัง แต่ถ้ายังดื่มกาแฟอยู่ ควรพิจารณาชงเอง เนื่องจากกาแฟซื้อจะกระหน่ำ (เติม) "น้ำตาล-ครีม-นม" ลงไปแบบไม่ยั้ง อาจใช้น้ำตาลเทียมช่วย น้ำตาลเทียมที่ไม่แพง คือ Lite Sugar - ไลท์ชูการ์ เป็นน้ำตาลผสมน้ำตาลเทียมอย่างละครึ่ง มีขายขนาด 1/2 กิโลกรัม ซื้อมาใส่ขวด แล้วแบ่งใช้ ไม่เกิน 1 ช้อนชา/ครั้ง (ถ้าเลิกได้ก็เลิกเลยดีกว่า)

 

(2). "ลด" อาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต (ข้าว-แป้ง-น้ำตาล) โดยเรียนรู้จากคู่มือคนไข้เบาหวาน หรือเปลี่ยนไปกินอาหารแบบที่คนไข้เบาหวานกินให้ได้อย่างน้อย 1/2 หรือครึ่งหนึ่ง คนไข้เบาหวานทั่วไปมักจะได้รับคำแนะนำให้ลด "ข้าว-แป้ง-น้ำตาล" ลงประมาณ 1/3 และเติมผักลงไปแทน เน้นผักที่กินง่าย สบายๆ เช่น ถั่วงอกลวก ผักใบเล็กนึ่ง ผักน้ำพริก (ผักที่กินควรมีแป้งน้อย ไม่ใช่ฟักทอง และไม่ใช่ผักทอด) ฯลฯ, เปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง, ขนมปังขาวเป็นขนมปังโฮลวีท (เติมรำ)

 

สูตรอาหาร "ผักครึ่งหนึ่ง-อย่างอื่นครึ่งหนึ่ง" ของไทย หรือ "ข้าวคำ-ผักคำ" ของเวียดนาม เป็นสูตรอาหารที่ดีมาก

 

(3). "ลด-ละ-เลิก" อาหารทำจากแป้งขัดสี เช่น เค้ก คุ้กกี้ เบเกอรี่ ขนมใส่ถุง ฯลฯ

 

(4). เพิ่มผัก ปลาที่ไม่ผ่านการทอด (เช่น ปลานึ่ง ปลาต้ม ฯลฯ), ถั่วที่ไม่ผ่านการทอด (เช่น ถั่วต้ม ฯลฯ), นัท (nuts = เมล็ดพืชเปลือกแข็ง เช่น อัลมอนด์ ฯลฯ), ผลไม้ที่ไม่หวานจัดทั้งผล เช่น ฝรั่ง แอปเปิ้ล ชมพู่ ส้ม ส้มโอ มะละกอ ลูกหม่อน (mulberry), กล้วยไม่สุกมาก

 

ข้อควรระวัง คือ ถั่วต้ม นัท ส่วนใหญ่ให้กำลังงานสูง เช่น ถั่วลิสงต้ม 8 เมล็ด ให้กำลังงานพอๆ กับข้าว 1 ทัพพีเล็ก ฯลฯ, อาหารสุขภาพแบบนี้จะให้ผลดีมากถ้ากินแต่น้อย

 

(5). ลดเนื้อแดง หรือเนื้อสัตว์ใหญ่ (red meat) เช่น หมู วัว แพะ แกะ ฯลฯ, เนื้อสัตว์ใหญ่มีไขมันแฝงสูง แม้แต่เนื้อแดงไม่ติดมันก็มีไขมันที่มองไม่เห็นปนอยู่

 

สัตว์ปีก เช่น ไก่ ฯลฯ มีไขมันมากที่หนัง ควรถลกหนังออกก่อนปรุงอาหาร

 

(6). งดเนื้อสำเร็จรูป เช่น ไส้กรอก หมูยอ หมูแผ่น หมูหยอง แฮม ฯลฯ, เนื้อสำเร็จรูปส่วนใหญ่ใช้ไขมันสัตว์บดผสม ทำให้มีไขมันอิ่มตัวสูง งดอาหารทอด เพื่อป้องกันการได้รับไขมันที่มองไม่เห็นขนาดสูง

 

(7). ลดน้ำหนัก โดยเฉพาะถ้าน้ำหนักเกินเกณฑ์ คิดจากน้ำหนักเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตร 2 ครั้ง หรือเส้นรอบเอวเกิน 90 เซนติเมตรในผู้ชาย, 80 เซนติเมตรในผู้หญิง

 

การลดน้ำหนักประมาณ 1/2 กก.ต่อสัปดาห์ช่วยได้มาก วิธีที่ดี คือ ลดให้ได้ในระยะยาว 2-3 กก. ก็นับว่า ดีมาก, ดีที่สุด คือ ลดให้ได้ 5% ของน้ำหนักแรกเริ่มในระยะยาว

.

(8). ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ คนที่มีไขมันเกาะตับเพิ่มเสี่ยงเบาหวาน ควรตรวจเช็คเบาหวาน (น้ำตาลในเลือด) - ความดันเลือดทุก 6 เดือน โรคนี้เพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจ-ตับอักเสบ ควรปรึกษาหารือกับหมอที่ดูแลท่าน และควรเริ่มจากเบาไปหาหนัก (ถ้าไม่มีข้อห้าม) เช่น เดินเร็วปานกลางสลับเดินเร็ว 40 นาที/วัน (ทำเป็นช่วงๆ ละ 10 นาที นำเวลาสะสมรวมกันได้) ฯลฯ เมื่อเดินเร็วได้ดี 2-3 เดือน ค่อยๆ เพิ่มระดับการออกกำลังให้หนักขึ้น หรือนานขึ้น

 

(9). ไม่นั่งนาน ลุกขึ้นเดินไปเดินมา หรืออย่างน้อยทำท่า "นั่งเก้าอี้สลับยืนขึ้น" 5-10 ครั้งทุกๆ 1-2 ชั่วโมง ถ้าดู TV ให้นั่งเก้าอี้ เหยียดขาไปข้างหน้าเกือบตรง เตะขาขึ้นลงสลับกัน (ซ้ายขึ้น-ขวาลง, ซ้ายลง-ขวาขึ้น) ไปเรื่อยๆ เหนื่อยก็พัก

 

(10). ระวังระดับวิตามิน D ต่ำ ถ้าไม่มีข้อห้าม, อาจกินวิตามินรวมที่มีวิตามิน D วันละ 1 เม็ดพร้อมอาหารไขมันต่ำ หรือออกกำลังกลางแจ้ง รับแดดอ่อน 15 นาที/วัน

 

(11). นอนให้พอ และไม่นอนดึกมากเกิน

 

(12). ทำใจให้ได้ว่า คนเรามักจะทำอะไรดีๆ ได้มากกว่าที่คิดเสมอ โดยเฉพาะการไม่ดื่มหนัก เพื่อรักษาตับนี้ให้ทำหน้าที่คู่โลกได้นานๆ หน่อย (แอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์ ฯลฯ)

 

ที่มา : นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์/by สาระแห่งสุขภาพ — with Nanny Isa Iah and จิราภรณ์ วงศ์ภาคำ.

 

 

 

1006139_500161966729228_1913091585_n.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

943468_607609299259142_845725878_n.jpg

ดอกไม้

 

994175_607715325915206_1737441204_n.jpg

 

 

 

แจกัน หน้าต่าง ม่าน

1002408_608080175878721_839538366_n.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

558412_382103865195553_163799416_n.jpg

 

 

 

560372_382674201805186_1761749272_n.jpg

 

เพลงจันทร์เสี้ยว

 

http://youtu.be/Af3K6MfURo8

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ad7de13cee95dedb42d51edf0ae865ec_1274531587.gif

ขอขอบคุณค่ะ สำหรับคนที่หลงมนต์จันทรา....................

ถูกแก้ไข โดย Tfex.Gril..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

7799_312164215585012_609763258_n.jpg

 

:53 ระวัง หงายเงิบเด้อ !!!!! หลับคัก..หลับแนแถ่ะ...นกฮูก

 

 

 

:D ขอบคุณค่ะ คุณginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...