ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
moddang

โรคลมชัก เกร็ง ไม่รู้สึกตัว

โพสต์แนะนำ

โรคลมชัก เกร็ง ไม่รู้สึกตัว เหม่อ ชั่วขณะ

 

 

อาการ ชักที่เกิดจากโรคลมชัก มีหลายลักษณะด้วยกัน รวมทั้งสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคลมชักก็มีมากมายหลายสาเหตุ ดังนั้นเพื่อให้ผู้อ่านได้รับทราบข้อมูลในเรื่องนี้ “X-RAY สุขภาพ” จึงมาพูดคุยกับ รศ.น.พ.อนันต์นิตย์ วิสุทธิพันธ์ หัวหน้าหน่วยประสาทวิทยาภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี

 

รศ.น.พ. อนันต์นิตย์ กล่าวว่า โรคลมชัก เป็นความผิดปกติของสมองอย่างหนึ่ง เกิดจากการที่สมองเสียการทำงานไปชั่วขณะเกิดการปลดปล่อยกระแสไฟฟ้าที่ผิด ปกติออกมาชั่วครู่ทำให้ผู้ป่วยแสดงอาการชักออกมา ซึ่งมีหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น ชักกระตุก เกร็งไปทั้งตัว หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าลมบ้าหมู ซึ่งเป็นอาการชักที่รุนแรง ผู้ป่วยจะแสดงอาการเกร็งทั้งตัว ตาเหลือก กัดฟัน น้ำลายไหล บางคนชักแบบเหม่อ ตาค้าง หรือชักแบบทำอะไรโดยไม่รู้สึกตัว เช่นอาจจะมีพฤติกรรมแปลก ๆ เป็นระยะเวลาสั้น ๆ จำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้

 

แต่ ปัญหาคืออาการที่เกิดในบางครั้งไม่ใช่อาการชักที่เกิดขึ้นในบางครั้ง และถึงแม้ว่าจะเป็นการชักจริงก็ไม่ได้เกิดจากโรคลมชัก แต่อาจจะเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ หรือเป็นโรคอื่น ๆ สาเหตุของโรคลมชักเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม เกิดจากการที่มีรอยโรคในสมองที่อาจจะเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ และมีอีกกลุ่มที่เกิดโดยไม่ทราบสาเหตุ

 

ระหว่างเด็กและผู้ใหญ่

 

ใน ผู้ใหญ่โดยมากมักจะมีสาเหตุจากความผิดปกติในสมอง เช่น เนื้องอกในสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ ขอด จากการที่เลือดออกในสมองหรือเคยมีเลือดออกในสมอง สมองฝ่อ การติดเชื้อในสมอง แต่โรคลมชักในเด็ก ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ เด็กบางคนอาจเกิดจากการติดเชื้อระหว่างการตั้งครรภ์ หรือระหว่างตั้งครรภ์มีการตกเลือด คลอดยาก ซึ่งเด็กที่เป็นโรคลมชักจากสาเหตุเหล่านี้มักจะมีพัฒนาการด้านร่างกายและ สมองผิดปกติตามมาด้วย นอกจากนี้สภาพแวดล้อมบางอย่างก็สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการชักได้ เช่น แสงไฟ วูบ ๆ วาบ ๆ เป็นจังหวะ ๆ เป็นต้น

 

ประเด็น หนึ่งที่ต้องแยกแยะออกมา เด็กที่มีอาการชักซึ่งมิใช่โรคลมชักคือ อาการชักที่เกิดร่วมกับการมีไข้ พบได้ในเด็กอายุประมาณ 5 เดือนไปจนถึง 5-6 ขวบ อาการชักที่เกิดมักจะเป็นอาการชักกระตุกเกร็งทั้งตัวเป็นระยะเวลาสั้น ๆ 2–3 นาที ในวันแรกที่เกิดมีไข้สูง มักจะเป็นเด็กที่ปกติแข็งแรงดี มีพัฒนาการปกติ อาจจะมีประวัติครอบครัวหรือมีญาติพี่น้องที่มีอาการเช่นเดียวกันนี้ อาการชักในลักษณะเช่นนี้อาจจะเกิดซ้ำ ๆ ได้อีกหลาย ๆ ครั้ง และจะไม่เกิดอาการอีกภายหลังอายุ 6 ขวบ และจะไม่อันตรายต่อสมองหรือพัฒนาการใด ๆ

 

ที่ สำคัญคือ ในบางครั้งการติดเชื้อที่สมองหรือเยื่อหุ้มสมองซึ่งเด็กจะมีไข้ร่วมอาจจะทำ ให้เกิดอาการชักได้ ดังนั้นในบางครั้งแพทย์จะต้องทำการตรวจวิเคราะห์น้ำไขสันหลังซึ่งจะช่วยใน การวินิจฉัยการติดเชื้อเหล่านี้ได้

ใน การวินิจฉัยโรคลมชัก จะอาศัยการซักประวัติเป็นหลัก รวมทั้งการตรวจร่างกาย การตรวจคลื่นสมอง จะช่วยในการยืนยันโรคหรือช่วยในการติดตามดูแลคนไข้ เช่นนำผลการตรวจคลื่นสมองมาใช้ในการพิจารณาหยุดยากันชัก

 

ดัง นั้นการตรวจคลื่นสมอง มิใช่ว่าต้องทำทุกราย ในกรณีที่ไม่สามารถตรวจได้ก็ไม่เป็นไร แพทย์สามารถให้การรักษาได้โดยการวินิจฉัยจากประวัติและอาการชักที่เกิด แต่ถ้าทำได้จะทำให้ได้ข้อมูลเพิ่มขึ้น

 

เนื่อง จากโรคลมชักในเด็กมักจะไม่มีสาเหตุ ดังนั้นโอกาสที่จะรักษาหาย และหยุดยากันชักมีมากกว่าผู้ใหญ่ ถ้าเป็นผู้ใหญ่ส่วนมากต้องกินยาและรักษาอย่างต่อเนื่อง แต่ในเด็กถ้ากินยาต่อเนื่องควบคุมอาการได้ มีโอกาสสามารถหายขาดได้สูงกว่า

 

ใน การรักษาโรคลมชักส่วนใหญ่จะใช้การรักษาด้วยยาเป็นหลัก นอกจากบางคนที่อาจจะไม่ต้องกินยากันชักแต่ใช้วิธีการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่มา กระตุ้นอาการชัก แต่จะมีคนป่วยจำนวนหนึ่งที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยากันชัก อาจต้องใช้การรักษาด้วยวิธีการอื่น ๆ อย่างอื่น เช่น การผ่าตัด การให้สารอาหารเฉพาะบางชนิด การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้ากระตุ้นเส้นประสาทสมอง

 

สำหรับ การเลือกใช้ยากันชักในผู้ป่วยแต่ละคน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ ปัจจัย เช่น ลักษณะอาการชัก เพศ อายุ ความสะดวกในการกินยา ราคาของยา ซึ่งแพทย์จะมีแนวทางเลือกยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยสำหรับผู้ป่วยแต่ละคน โดยผู้ป่วยจะต้องกินยาอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำ มิใช่กิน ๆ หยุด ๆ การที่ต้องกินยาต่อเนื่องก็เพื่อเป็นการป้องกันการชักซ้ำ และเพื่อเป็นการรักษาให้หายจากโรค

 

โดย ทั่วไป ถ้าไม่มีสาเหตุเฉพาะหรือเป็นโรคลมชักเฉพาะชนิด ถ้าผู้ป่วยไม่มีอาการชักในช่วงที่กินยาต่อเนื่องเป็นเวลา 2-3 ปีแล้ว แพทย์ก็จะพิจารณาให้หยุดยากันชัก แต่ถ้าอาการชักนั้น ๆ เป็นโรคลมชักมีสาเหตุเช่นเกิดจาก โรคเนื้องอกในสมอง โรคเส้นเลือดในสมองตีบหรือแตก โอกาสที่จะรักษาหายมีน้อย ก็อาจจะต้องกินยายาวนานขึ้น

 

คนทั่วไป มักเข้าใจผิดคิดว่ายากันชักจะไปกดสมอง ทำให้โง่ ในความเป็นจริงแล้วยาแต่ละชนิดมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ยากันชักสามารถช่วยควบคุมและรักษาโรคลมชัก แต่ก็มีบางชนิดที่อาจทำให้เกิดการง่วงซึมได้ แต่เป็นเพียงชั่วคราวชั่วขณะเท่านั้น ยาไม่ได้กดสมองไม่ได้ทำให้คนกินโง่ เพียงแต่บางชนิดอาจจะทำให้คิดช้า หรืออาจทำให้เซื่องซึมในระยะต้น ๆ บางชนิดอาจจะทำให้สมาธิไม่ค่อยดี ซึ่งอาจจะเป็นชั่วคราว มีบางรายเท่านั้นที่จะต้องเปลี่ยนไปใช้ยาชนิดอื่น ๆ

ที่ สำคัญคือยากันชักทุกชนิดอาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ยาได้ แต่เกิดได้ไม่บ่อย ดังนั้นในกรณีที่แพทย์พิจารณาแล้วว่าจะต้องกินยากันชักต่อเนื่องจะต้องมีการ ติดตามการรักษากับแพทย์อย่างต่อเนื่อง

 

อนึ่ง ยากันชักอาจจะทำให้เกิดผลเสียต่อบุตรในครรภ์ของสตรีมีครรภ์ และเป็นโรคลมชัก ดังนั้นก่อนที่สตรีที่เป็นโรคลมชักจะตัดสินใจตั้งครรภ์ควรจะต้องปรึกษาแพทย์ ก่อนทุกคน

 

รศ.น.พ.อนันต์นิตย์ บอกว่า โรคลมชักส่วนใหญ่ไม่ได้อันตรายอย่างที่คิด สามารถรักษาให้หายขาดได้ การเสียชีวิตจากอาการชักมีน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการชักมากกว่า เช่น ศีรษะกระแทกพื้น หรือเกิดการสำลักจนทำให้ปอดอักเสบ ติดเชื้อ ดังนั้นคนที่เป็นโรคนี้อย่าคิดว่าเป็นปมด้อย หลายคนที่เป็นโรคลมชักก็สามารถเรียนจบปริญญาโท ปริญญาเอกได้ แพทย์บางคนก็เป็นโรคลมชัก

 

สิ่งที่พึง ระวังคืออาการชักอาจจะถูกกระตุ้นให้เกิดได้จากการที่ร่างกายพักผ่อนไม่พอ เพียง จากการอดนอน หรือจากสารกระตุ้นเช่นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือกาเฟอีน นอกจากนี้ควรจะหลีกเลี่ยงทำกิจกรรมบางอย่างที่มีความเสี่ยงต่อการเกิด อันตรายการว่ายน้ำคนเดียว การปีนป่ายที่สูง การขับขี่ยานพาหนะ การใช้เครื่องจักรที่เป็นอันตราย หรือการเล่นกีฬาที่อาจจะเกิดภยันตรายต่อศีรษะและสมอง

 

จะแนะนำวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้ป่วยโรคลมชักอย่างไร?

 

รศ.น.พ. อนันต์นิตย์ กล่าวว่า อันดับแรกผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ควรตั้งสติให้ดีก่อน ถ้าผู้ป่วยมีอาการชักกระตุกเกร็ง ควรจับผู้ป่วยนอนราบ พยายามนำสิ่งของรอบข้าง เช่น โต๊ะ เก้าอี้ออกไปให้ห่างจากผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยอาจชักรุนแรง จนศีรษะ แขน ขา ไปฟาดจนทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ ระหว่างนั้นอาจตะแคงหน้าผู้ป่วยเพื่อเปิดทางเดินหายใจ ถ้ามีน้ำลายไหลก็ช่วยเช็ด หรือถ้าเป็นเด็กมีไข้ก็ช่วยเช็ดตัวลดไข้ไปเลย

 

แต่ อย่าพยายามอ้าปากผู้ป่วย หรือเอาสิ่งของอะไรใส่ปาก เพราะกลัวว่าผู้ป่วยจะกัดลิ้นตัวเอง เพราะโอกาสที่ผู้ป่วยจะกัดลิ้นตัวเองมีน้อยมาก อีกทั้งถ้าเอาสิ่งของใส่เข้าไปอาจทำให้ผู้ป่วยฟันหัก และฟันที่หักอาจหลุดลงไปในหลอดลม ทำให้มีโอกาสเสียชีวิตได้

 

ไม่ ต้องใช้มือกด บีบ จับโดยที่คาดว่าจะทำให้การชักหยุดเร็วขึ้น เพราะการกด บีบ จับ โดยเฉพาะกับผู้ป่วยเด็กอาจทำให้ข้อเคลื่อน กระดูกหักได้ ส่วนใหญ่อาการชักจะหยุดไปเองภายใน 5 นาที แต่ถ้าชัก 5 นาทีแล้วไม่หยุดให้รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ความรู้เรื่องชักและการพยาบาลผู้มีภาวะชัก

 

อาการชัก (Seizure) เกิดจากภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลันของการทำงานของเซลล์สมองโดยมีการปลดปล่อยคลื่นไฟฟ้าที่ผิดปกติ ออกจากเซลล์สมองจำนวนมากพร้อมกันจากตำแหน่งหนึ่งกระจายไปสู่สมองส่วนอื่นๆ

 

 

 

ลักษณะของอาการชัก

 

1. เกิดขึ้นทันทีทันใด

2. เกิดขึ้นเป็นระยะเวลาสั้นๆ ไม่เกิน 5 นาที ถ้านานเกิน 10 นาที เรียก Status Epilepticus

3. ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นเองแต่บางครั้งอาจมีปัจจัยกระตุ้น

4. ลักษณะจะเหมือนหรือคล้ายกันทุกครั้ง

 

ปัจจัยกระตุ้นการชัก ไข้ อดนอน ดื่มหรือหยุดสุรา แสงกระพริบ เสียงดัง ความเครียดรุนแรง การมีรอบเดือน ยาเสพติดเช่นใช้โคเคน

 

อาการหลังชัก ปวดศีรษะ ซึม หลับ สับสน หรือมีอาการทางจิตและหูแว่ว เห็นภาพหลอน บางคนแขนขาอ่อนแรงเฉพาะส่วน มักเป็นไม่นาน ไม่เกิน 24 ชั่วโมง

 

 

 

ประเภทของการชัก

 

1. Partial seizure (อาการชักเฉพาะที่)

 

* 1.1 Simple partial seizure (อาการชักเฉพาะที่แบบมีสติ)

* 1.2 Complex partial seizure ( อาการชักเฉพาะที่แบบขาดสติ)

* 1.3 ชักเฉพาะที่ตามด้วยชักเกร็งกระตุกทั้งตัว

 

2. Generalized seizure (อาการชักทั้งตัว)

* 2.1 ชักเหม่อ

* 2.2 ชักเกร็งกระตุกทั้งตัว

* 2.3 ชักกระตุกทั้งตัว

* 2.4 ชักเกร็งทั้งตัว

* 2.3 ชักตัวอ่อน

* 2.4 ชักสะดุ้ง

 

3. อาการชักที่จำแนกไม่ได้ เช่น Infantile spasms

 

โรคลมชัก (Epilepsy) เกิดจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในสมอง จำแนกเป็น 4 แระเภท

 

* 1. Localization relate epilepsy กลุ่มโรคลมชักที่มีอาการแบบ partial seizure

* 2. Generalized epilepsy กลุ่มโรคลมชักที่มีอาการแบบ generalized seizure

* 3. Undetermined epilepsy กลุ่มโรคลมชักที่ยังไม่สามารถได้ชัดเจนว่าอยู่ในกลุ่มไหน ใน2 กลุ่มที่กล่าวมาข้างต้น

* 4. Special syndrome ได้แก่กลุ่มโรคลมชักอื่นๆที่มีลักษณะและการพยากรณ์โรคที่จำเพาะกับกลุ่มอาการนั้นๆ

 

สาเหตุการชัก

 

* 1. โรคหลอดเลือดสมอง

* 2. การพัฒนาของสมองที่ผิดปกติ

* 3. อุบัติเหตุที่ศีรษะบ่อยๆ ในช่วงอายุ 15-24 ปี

* 4. โรคเนื้องอกในสมอง

* 5. ติดเชื้อในสมอง

* 6. โรคสมองเสื่อม

 

การวินิจฉัย

 

* 1. ซักประวัติ ตรวจร่างกาย

* 2. Blood Test Blood or Urine Screen Drug

* 3. LP EEG CT Scan MRI

 

การรักษา

 

การใช้ยาตามชนิดของการชัก ยาหลักที่นิยมใช้ ได้แก่ Phenobarbital (กินนานทำให้ไม่ฉลาด) sodium valproate (ทำให้น้ำหนักเพิ่ม) Phenytoin Carbamazepine Depakine ** ยากันชักบางตัวลดฤทธิ์ยาคุมกำเนิด ทำให้ท้องได้ เช่นยา Phenytoin Carbamazepine Depakine

 

 

 

การหยุดยากันชัก ควรทานยาต่อเนื่อง 2- 5 ปี แพทย์ปรับลดยา หากไม่มีอาการชัก พิจารณาหยุดยา

 

ผลเสียของของการชัก อุบัติเหตุ สมองขาดออกซิเจน เสียสุขภาพจิต Suicidal เสียชีวิต(น้อยมาก) การกัดลิ้นขณะชัก พบเพียง ร้อย 4 ไม่มีการกัดลิ้นขาด เพียงแต่ลิ้นมีแผลเล็กน้อย ไม่ควรใช้ช้อนหรือของแข็งงัดปากขณะชัก ทำให้ฟันหักอุดตันหลอดลมได้ (รศ.นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า, 2550)

 

 

 

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคลมชัก

 

1. รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง

2. ถ้ามีอาการเตือนก่อนชักให้ผู้ป่วยนอนลงกับพื้นเพื่อป้องกันการล้มกระแทกพื้น

3. หลีกเลี่ยงการขับรถ การอยู่ที่สูง การอยู่ใกล้อ่างน้ำหรือบ่อน้ำ ควรอาบน้ำด้วยฝักบัว

4. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด จำกัดจำนวนน้ำที่เข้าสู่ร่างกาย วันละ 1,000-1,500 ซีซี

5. หลีกเลี่ยงการอดนอน การดูโทรทัศน์ที่ปรับแสงไม่เหมาะสม

6. หลีกเลี่ยงการกระตุ้นด้วยไฟฟ้า

 

ภาวะชักในผู้ป่วยสุรา เป็น Seizure เกิดจากการขาดสุรา มักจะมีอาการในระยะ24-48 ชั่วโมงแรกหลังขาดสุรา ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยสุราในระยะถอนพิษยา ควรเฝ้าระวังภาวะชักทุกรายไม่ว่าจะเคยมีประวัติชักมาก่อนหรือไม่ สิ่งที่ควรระวังในผู้ป่วยที่มีภาวะชัก ก็คือ อุบัติเหตุขณะชัก และเสี่ยงต่อสมองขาดออกซิเจน ซึ่งก็พบได้น้อย มักจะพบในผู้ป่วยที่มีระยะเวลาการชักเป็นเวลานานๆ แบบ status

 

 

 

การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะชัก

 

การเฝ้าระวัง

 

1. ซักประวัติการชัก เก็บรวบรวมข้อมูลในเรื่องการชัก

2. สังเกตอาการ ประเมินปัญหา เช่นอาการนำก่อนชักได้แก่ ความรู้สึกไม่ค่อยสบาย กระสับกระส่าย ปวดศีรษะ

3. อาการเตือนก่อนชัก ได้แก่ เวียนศีรษะ จุกแน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หน้าซีด หน้าแดง เหงื่อแตก ขนลุก มีความผิดปกติทางอารมณ์ เช่นรู้สึกกลัว บางคนมีอาการเตือนได้หลายชนิด

 

การให้การพยาบาลขณะชัก

 

1. เปิดทางเดินหายใจให้โล่ง โดยจัดให้ผู้ป่วยนอนตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อป้องกันการสำลักและลิ้นตกอุดกั้นทางเดินหายใจ

2. นำอาหารหรือฟันปลอมที่มีอยู่ในช่องปากออก ปลดเสื้อผ้าที่รัดออกให้หายใจได้สะดวก

3. จัดให้นอนในบริเวณที่ปลอดภัย ป้องกันอันตรายจากการกระแทกกับของแข็ง

4. ห้ามใช้ไม้กดลิ้นหรือวัตถุใดๆสอดเข้าปากหรืองัดปากขณะผู้ป่วยเกร็งกัดฟัน

5. ป้องกันอันตรายจากการชัก โดยจัดสิ่งแวดล้อมดังนี้

6. ไม้กั้นเตียงต้องหุ้มด้วยวัสดุที่นุ่มๆ

 

* เตรียมเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับดูดเสมหะ

* ควรให้ผู้ป่วยนอนเตียงต่ำๆ

* ถ้ามีอาการเตือนก่อนชักให้ผู้ป่วยนอนลงกับพื้น

* หลีกเลี่ยงการผูกยึดผู้ป่วย

* หลังการชักให้ผู้ป่วยนอนตะแคงเพื่อให้มีการระบายเสมหะได้สะดวก

* ผู้ป่วยหลังชักอาจมีอาการงงอยู่ ขณะยังไม่รู้สติห้ามจับยึดผู้ป่วยเพราะจะกระตุ้นผู้ป่วยให้ทำการต่อสู้รุนแรงระหว่างนี้ควรดูแลอย่างใกล้ชิด จนกว่าจะฟื้นเป็นปกติ

* กรณีผู้ป่วยหลับหลังชักควรปล่อยให้หลับต่อ ห้ามป้อนอาหารหรือยาจนกว่าจะฟื้นเป็นปกติ เพราะอาจจะสำลักได้

* เมื่อผู้ป่วยตื่นมักจะลืมสิ่งต่างๆให้ทบทวนความจำต่างๆให้กับผู้ป่วย

 

 

อ้างอิง สมศักดิ์ เทียมเก่า (2550), คู่มือโรคลมชักสำหรับประชาชน / ศิริพจน์ มะโนดี, การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะชัก

 

เรียบเรียงโดย ลษิตา ศรีธรรมชาติ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

 

 

http://blog.drugcare.net/?p=27

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...