ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
little devil

หวนกลับมาอิงทองคำ

โพสต์แนะนำ

หวนกลับมาอิงทองคำ

 

เขียนโดย ระพิน ใจดี

วันจันทร์ที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๙

 

ผู้จัดการ

โดย ปีเตอร์ มอริซี 16 พฤษภาคม 2549 16:50 น.

 

ตอนนี้ ทองคำซื้อ-ขายกันกว่า US$700 ต่อออนซ์*ไปแล้ว เมื่อปี 2001 มันยังมีราคาเพียงแค่ $258 เหรียญเท่านั้น นี่เป็น 1 ในหลาย ๆ สัญญาณของการตื่นทอง ที่ได้กลายเป็นกระแสโลกไปแล้ว นอกจากนี้ เรายังเห็นวี่แววจากธนาคารกลางหลายแห่งในโลก ว่าอาจจะหวนกลับไปใช้ทองคำ เป็นเครื่องหนุนค่าเงินสกุลต่าง ๆ อีกครั้งหนึ่ง อะไรเป็นสาเหตุหลัก ? เรื่องของเรื่องก็คือนโยบายเศรษฐกิจของทำเนียบขาว นั่นเอง

 

548000021018401.jpg

 

SPEAKING FREELY

 

หวนกลับมาอิงทองคำ

โดย ปีเตอร์ มอริซี

 

Back to the gold standard

By Peter Morici

Speaking Freely is an Asia Times Online feature that allows guest writers to have their say. Please click here if you are interested in contributing.

 

ตอนนี้ ทองคำซื้อ-ขายกันกว่า US$700 ต่อออนซ์*ไปแล้ว เมื่อปี 2001 มันยังมีราคาเพียงแค่ $258 เหรียญเท่านั้น นี่เป็น 1 ในหลาย ๆ สัญญาณของการตื่นทอง ที่ได้กลายเป็นกระแสโลกไปแล้ว นอกจากนี้ เรายังเห็นวี่แววจากธนาคารกลางหลายแห่งในโลก ว่าอาจจะหวนกลับไปใช้ทองคำ เป็นเครื่องหนุนค่าเงินสกุลต่าง ๆ อีกครั้งหนึ่ง อะไรเป็นสาเหตุหลัก ? เรื่องของเรื่องก็คือนโยบายเศรษฐกิจของทำเนียบขาว นั่นเอง

(*1 ปอนด์อะวัวร์ดูปอยส์ = 16 ออนซ์อะวัวร์ดูปอยส์

1 ออนซ์อะวัวดูปอยส์ = 28.349 กรัม หรือ = 0.283 ขีด

1 ชั่งหลวง เท่ากับ 600 กรัม = 80 บาท (น้ำหนัก) = 320 สลึง)

 

ปัจจุบัน อุตสาหกรรมเครื่องประดับและเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นตัวใช้อุปทานทองคำที่ออกใหม่ ปีละ 85% แม้การผลิตจะลดลงนิด ความต้องการใช้ในภาคอุตสาหกรรมดังกล่าวจะสูงขึ้นหน่อย แต่ทั้งหมดนี้ก็เอามาอธิบายราคาทองคำแพงขึ้นไม่ครบ เพราะหากนำทองบ่อใหม่ขึ้นมาขาย ราคาก็จะยังถูกกว่า $700 เหรียญ/ออนซ์ เพราะคนซื้อ-ขายทองหน้าใหม่ ที่ใหญ่มาก ๆ ในตลาดทองคำ ตอนนี้คือกองทุนการซื้อ-ขายเงินตรา (exchange-traded funds) ทองแท่งไม่ทราบจำนวนเท่าไหร่ ไหลไปเก็บอยู่ตามโกดังของนักลงทุน ที่หมดความเชื่อถือในเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว และบางที พวกเขาก็อาจจะช่วยกันเบิกฤกษ์ กลับไปใช้ทองคำหนุนค่าเงิน ดังเช่นที่แล้วมาก็เป็นได้

 

ในปี 1944 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund) ก่อตั้งระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ (fixed currency-exchange rates)* ขึ้นมา ยังผลให้เงินดอลลาร์และเงินสกุลอื่น ๆ ต้องอิงกับราคาทองคำ แต่ระบบนี้ล้มเหลว เพราะต้นทุนการผลิตทองคำที่สูงขึ้น ๆ ดันราคาทองคำในอุตสาหกรรม ให้สูงขึ้นกว่ามูลค่าที่ใช้อิงกับเงินตรา อัตราแลกเปลี่ยนจึงไม่คงที่อีกต่อไป และรับไม่ไหว ความสามารถในการผลิต และสมรรถนะการแข่งขันในญี่ปุ่นและเยอรมนี สูงกว่าสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา และการขาดดุลการค้า ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ค่าเงินปอนด์ เงินฟรังก์ และเงินดอลลาร์

(*ตามข้อตกลงที่เบรตตันวู๊ด ที่กำหนดให้ค่าเงินดอลลาร์ต้องอ้างอิงกับทองคำ)

 

พอเงินปอนด์กับเงินฟรังก์แข็งค่าเกินจริง เงินทั้ง 2 สกุลก็ถูกปรับค่าลง เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ เงินเยน และเงินมาร์ก และพอค่าเงินดอลลาร์แข็งเกินจริงบ้าง ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันก็สั่งยกเลิกอิงค่าเงินดอลลาร์กับราคาทองคำในปี 1972 และในที่สุด ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ ก็เป็นอันถูกยกเลิกไปในปลายปี 1973 นั้นเอง ผลก็คือราคาทองถีบตัวขึ้นเรื่อย ๆ จนมาถึงราคาสูงสุดที่ $700 เหรียญ เมื่อเดือนตุลาคม 1980

 

ตลอด 2 ทศวรรษที่ผ่านมานี้ ธนาคารกลางของชาติต่าง ๆ ต้องค่อยปลดเปลื้องตนเอง ออกจากการใช้ทองคำเป็นเงิน และหันมาสำรองเงินดอลลาร์มากขึ้น ๆ และก็ทำแบบเดียวกับเงินเยนและเงินมาร์ก (ต่อมาก็เป็นเงินยูโร) แต่ในปริมาณที่น้อยกว่า พวกเขาระบายทองคำออกขาย จนในที่สุด ราคาทองคำก็ตกลงมาเหลือ $255 เหรียญ/ออนซ์ เมื่อเดือนกรกฎาคม 1999 และมาที่ $258 เหรียญ/ออนซ์ เมื่อเดือนเมษายน 2001

 

สิ่งนี้เกิดขึ้นได้ด้วย 2 ปัจจัย คือ 1) ในสหรัฐ ผู้ว่าธนาคารกลางพอล โวลค์เก้อร์ (Federal Reserve chairman) ลงแส้จัดการกับภาวะเงินเฟ้อ และ 2) ประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์ และโรนัลด์ เรแกนช่วยกันวางทิศทางเศรษฐกิจในประเทศ โดยการเปิดเสรีให้กับอุตสาหกรรม (deregulation) มาตรการทั้ง 2 ช่วยปลดปล่อยพลังการผลิตและความคิดประดิษฐ์สร้าง ทำให้สหรัฐมั่งคั่งขึ้นกว่า 15 ปีที่แล้วมา และทำให้ค่าเงินดอลลาร์มีค่าสูงกว่า และคงที่กว่า เหมาะสำหรับกักตุน (สำรอง) ดีกว่าทองคำ

 

แต่เพียงไม่กี่ปีมานี้ การขาดดุลงบประมาณแบบทำลายสถิติมาเรื่อย นโยบายพลังงานและสภาพแวดล้อมที่บ้อท่า และค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าเกินไป เมื่อเทียบกับเงินหยวนจีน และเงินสกุลอื่น ๆ ในเอเชีย ก็ทำให้สหรัฐขาดดุลการค้าอย่างมากมายมหาศาล เงินดอลลาร์ และหลักทรัพย์ที่ซื้อ-ขายโดยเงินดอลลาร์ ไหลออกสู่ตลาดทุนระหว่างประเทศ (capital markets*) เพิ่มขึ้นปีละ $700 พันล้านเหรียญต่อปี จนขณะนี้มีมูลค่าถึง $5 ล้านล้านเหรียญเข้าไปแล้ว และนี่เองที่ทำให้ความเชื่อมั่นต่อค่าเงินดอลลาร์ลดลง ๆ

(*การลงทุนและการปล่อยกู้ระยะยาว)

 

เพื่อที่จะคุมไม่ให้เงินหยวนจีน สูงค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ รัฐบาลจีนต้องขนเงิน $200 พันล้านเหรียญ ออกไปซื้อหุ้นในต่างประเทศทุก ๆ ปี มีธนาคารกลางในโลกน้อยรายนัก ที่จะกลับไปซื้อทองคำมาสำรองไว้อีก ขณะนี้นักเศรษฐศาสตร์บางคน กำลังหารือกับธนาคารนกลางจีน (People's Bank of China) ให้ออกไปซื้อทองคำมาตุน แทนเงินดอลลาร์บ้าง

 

ดังนั้น การปรับลดค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินหยวนลงให้มาก จึงดูเหมือนจะเลี่ยงไม่ได้เสียแล้ว และหากทำเช่นนั้น ก็เท่ากับต้องปรับกับค่าเงินเอเชีย ไปเกือบจะทุกสกุลเลยทีเดียว และในเมื่อสินค้าอุปโภค-บริโภคในโลกส่วนใหญ่มาจากจีนและเอเชีย สำหรับเจ้าของเหมืองทองในแอฟริกาใต้หรือรัสเซีย เงินดอลลาร์ก็ดูมีค่าน้อยกว่า และเงินสกุลอื่น ๆ ในเอเชียก็ดูมีค่ามากกว่า ในกรณีนี้ ราคาทองคำที่ซื้อด้วยเงินหยวนหรือเงินวอน (เกาหลีใต้) อาจจะไม่ขึ้น และอาจจะตกลงด้วยซ้ำ แต่หากใช้เงินดอลลาร์ซื้อ ราคาทองก็จะสูงกว่ามาก

 

นักลงทุนระหว่างประเทศ หากขืนเอาทรัพย์สินไปลงในเงินดอลลาร์ก็หน้าโง่ อย่างไรก็ตาม เงินสกุลที่ดูดีมีราคา แต่ทว่ามีรัฐบาลที่ห่วยแตก ในการดูแลควบคุมเงินเฟ้อ หรือรักษาสัญญากับนักลงทุนต่างชาติ ไม่เชื่อก็กลับไปบอกแม่ ให้เอาเงินไปซื้อพันธบัตรในเกาหลีหรือจีนดูสิ ?

 

หากนักลงทุนเอกชนก็ยังคลางแคลงใจในเงินดอลลาร์ และหันไปตุนทองเอาไว้เรื่อย ๆ ธนาคารกลางในประเทศต่าง ๆ ก็จะถูกบีบ ให้หันไปอิงราคาทองคำ หากนักลงทุนไม่มั่นใจในค่าเงินสกุลต่าง ๆ ที่มีเงินดอลลาร์หนุน ธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ที่หันไปหาพันธบัตร ที่ซื้อ-ขายโดยเงินหยวน เงินวอนเป็นหลัก ก็คงจะหน้าโง่พอ ๆ กับนักลงทุนเอกชนนั่นเอง

 

อะไรทำให้สหรัฐขึ้นมาเกยตื้นแบบนี้ ? ก็อย่างที่เอ่ยมาแล้วนั่นแหละครับ รากเง้าของมันคือการขาดดุลงบประมาณมหาศาล นโยบายเลว ๆ ต่อพลังงานและสภาพแวดล้อม ที่ยิ่งทำให้การค้าขาดดุลทรุดหนักลงไปอีก นั่นคือทำให้ประเทศต้องพึ่งพิงน้ำมันจากต่างชาติมากขึ้นเรื่อย ๆ และจากเหตุทั้งหลายทั้งปวงที่เอ่ยมา เงินเหรียญก็มาซบตาย (พูดให้เว่อร์ ๆ เอาไว้) อยู่ที่ตีนรัฐบาลของประธานาธิบดีจอร์ช ดับเบิลยู บุชนี่เอง ยิ่งเมื่อมีการตัดสินใจเมื่อสัปดาห์ก่อน ที่ไม่ยอมขึ้นป้ายว่าจีนเป็นพวกแหกกฎทางการเงิน (ที่ชี้ให้เห็นว่าประธานาธิบดีสหรัฐ ยังคงปฏิเสธไม่ยอมแก้ไขปัญหาการขาดดุลการค้าที่รากเง้าเสียที) ก็ยิ่งไม่ช่วยอะไรให้ให้ดีขึ้นมาบ้างเลย

 

หากรัฐบาลสหรัฐไม่จัดระเบียบเศรษฐกิจในบ้านของตน ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ทองคำก็จะกลายเป็นเงิน (ธนบัตร) และเงินสกุลอื่น ๆ หากต้องการเป็นเงิน (ธนบัตร) ก็จะต้องใช้ทองเป็นตัวหนุน

 

Peter Morici is a professor at the University of Maryland's Robert H Smith School of Business, former chief economist at the US International Trade Commission, and a commentator on economic and political issues.

{moscomment}

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...