ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
GoldGeneration

การดูแลบ้า​น, ไฟฟ้า และเชื้อรา หลังน้ำท่ว​ม

โพสต์แนะนำ

“น้ำลด ราผุด” และ แนวทางกำจัด เชื้อราภายในบ้านและวัสดุเครื่องเรือนหลังน้ำท่วม

 

 

(เรียบเรียง by Nattawut Boonyuen ใน http://www.vcharkarn.com/vblog/115186

/images/thumbsup.gif

 

 

เอกสารและข้อมูลอ้างอิง

 

@อ้างอิงบางส่วนจาก "A Brief Guide to Mold, Moisture and Your Home" www.epa.gov/mold/pdfs/moldguide.pdf

@อ้างอิงบางส่วนจาก "Mold Removal Guidline for Your Flooded Home", Louisiana State University Agricultural Center

@ข้อมูลบางส่วนจาก ห้องปฏิบัติการราวิทยา หน่วยวิจัยเทคโนโลยีทรัพยากรชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

@อ้างอิงบางส่วนจาก http://inspectapedia...khouse/mold.htm

@อ้างอิงบางส่วนจาก www.vcharkarn.com/vcafe/66372

@อ้างอิงบางส่วนจาก www.vcharkarn.com/vblog/114955/1/30

 

 

 

ภายหลังน้ำลดแล้ว บางครั้งเราสามารถเจอเชื้อราในบ้านและอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องได้

เช่น เฟอร์นิเจอร์ วอลเปเปอร์ ฝ้า ผนัง หนังสือ เครื่องเรือน เครื่องหนัง เครื่องใช้ไฟฟ้า

ห้องน้ำ เพดานท่อน้ำที่มีการรั่วซึม และอุปกรณ์อื่นๆที่มีการเปียกชื้น

 

วัสดุที่เปียกที่ถูกน้ำท่วมมักจะมีความชื้นสูงและมีอากาศไม่ถ่ายเท

ซึ่งสภาพแวดล้อมดังกล่าวเหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราบางชนิดได้

ซึ่งบางคนอาจมีความไวต่อการเชื้อราดังกล่าว เมื่อหายใจเอาสปอร์ของเชื้อราเข้าไป

อาจจะทำให้เกิดผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจได้

โดยเชื้อราอาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาแพ้ต่างๆได้

เช่น เกิดอาการคัดจมูก หอบหืด ไอ หายใจไม่ออก เป็นต้น

 

บางคนได้รับสปอร์ของเชื้อราเข้าไปนานๆและปริมาณมาก

ก็อาจทำให้เนื้อเยื่อปอดผิดปกติได้ โดยเฉพาะเด็กเล็ก

ผู้สูงอายุและผู้ป่วยอาจมีความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าวมากที่สุด

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น ภูมิต้านทานแต่ละคน

ปริมาณของเชื้อราที่ได้รับสู่ร่างกาย ระยะเวลาที่สัมผัสกับเชื้อรา

ชนิด/สายพันธุ์ของเชื้อรา สภาพแวดล้อมทางกายภาพ

และชีวภาพของแหล่งสะสะสมเชื้อรา เป็นต้น

 

 

246363.jpg

 

ภาพประกอบเอื้อเฟื้อจาก http://www.thaigoodview.com/node/48236

ถูกแก้ไข โดย GoldGeneration

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เชื้อราเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทจุลินทรีย์ จัดเป็นเซลล์ยูคาริโอต อยู่ในอาณาจักรรา

เชื้อรามีระบบสืบพันธุ์ที่เรียกว่าสปอร์ ในรูปแบบทั้งอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ

ซึ่งมีทั้งชนิดที่ก่อให้เกิดโรค และชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดโรค

 

เชื้อราที่พบในบ้านหลังน้ำท่วมส่วนใหญ่มักจะพบบนวัสดุที่เปียกชื้น

และมีปัจจัยสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโต

เช่น เฟอร์นิเจอร์ที่ถูกน้ำท่วมมีองค์ประกอบของไม้และ

น้ำตาลเชิงไม่ซับซ้อนอาจเป็นอาหารอย่างดีของเชื้อรา

ซึ่งนำไปสู่การเสื่อมสภาพและสร้างความเสียหายต่อ เฟอร์นิเจอร์

ยิ่งไปกว่าน้ำถ้าเป็นราที่ก่อให้เกิดโรคนำไปสู่ผลเสียต่อสุขภาพร่างกายได้

 

246362.jpg

ภาพประกอบเอื้อเฟื้อจาก http://teerawatsri.multiply.com/journal/item/472

 

 

 

บ้านและเครื่องเรือนที่ถูกน้ำท่วม

อาจสามารถมองเห็นโคโลนีของเชื้อราบนพื้นผิวของวัสดุได้ด้วยตาเปล่า

โคโลนีของเชื้อรามักมีรอยจุด และมีสีต่างๆ เช่นสีดำ (เป็นสีที่พบมากที่สุด)

สีน้ำตาล สีเขียว สีแดง สีเหลือง สีขาว เป็นดวงและมีกลิ่นอับ ๆ

นั่นคือสัญญาณบอกเหตุให้รู้ว่า

เชื้อราได้เข้าโจมตีบ้านและวัสดุที่เปียกในบ้านหลังน้ำท่วมเข้าให้แล้ว

 

 

246375.jpg

ภาพประกอบเอื้อเฟื้อจาก http://ldthealthsolutions.com/ldtrxtest/FacilityDesign.aspx

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สีโคโลนีของเชื้อราดังกล่าวคือกลุ่มสปอร์ขนาดเล็กจำนวนมาก

ขึ้นอยู่กับสกุลและสายพันธุ์เชื้อรา

 

มีการรายงานการปนเปื้อนของเชื้อราบางสกุลหรือ จีนัสมักพบกับ วัสดุ

เช่น หนังสือ เฟอร์นิเจอร์ที่เปียกชื้น เช่นจีนัส Aspergillus

จีนัส Cladosporium จีนัส Chaetomium จีนัส Trichoderma

จีนัส Stachybotrys และเชื้อราในสกุล Epicoccum

เชื้อราดังกล่าวมักถูกพบอยู่บ่อยครั้ง

 

 

246359.jpg

ภาพประกอบเอื้อเฟื้อจาก http://news.mthai.co...ews/138740.html

 

 

ขั้นตอนง่ายๆทำลายเชื้อรา 6 ขั้นตอน

ดัดแปลงจากคู่มือ “A Brief Guide to Mold, Moisture and Your Home

 

 

246377.jpg

www.epa.gov/mold/pdfs/moldguide.pdf

 

 

1. สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย

 

โดยเฉพาะคนที่มีความไวต่อสปอร์เชื้อรา ควรสวมหน้ากากป้องกัน

หรือ เครื่องช่วยหายใจที่รับการจัดอันดับ (N - 95 หรือสูงกว่า)

หน้ากากป้องกันบางชนิดอาจมีวาล์วเพื่อให้ง่ายต่อการหายใจ

ควรสวมถุงมือ รองเท้าบู๊ทยาง หมวกคลุมผม เสื้อคลุม และสวมใส่แว่นป้องกันตา

เพื่อป้องกันการสัมผัสทางผิวหนังโดยตรง ในระหว่างการทำความสะอาด

 

alarm.gifข้อควรระวังการซื้อหน้ากากป้องกัน ต้องเป็นหน้ากากอนามัยชนิด N-95 เท่านั้น

เพราะ หน้ากากฟองน้ำ และ หน้ากากแบบผ้าทั่วไปไม่สามารถป้องกันสปอร์ของเชื้อราได้

 

 

246738.jpg

ภาพประกอบเอื้อเฟื้อจาก http://ikarithai.blo...-reactions.html

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

2. แยกพื้นที่ทำงานและระบายอากาศ

 

โคโลนีของเชื้อราในระหว่างการทำความสะอาดสามารถปล่อยสปอร์จำนวนมากไปในอากาศได้

ควรเปิดประตู หน้าต่าง ม่าน ให้อากาศถ่ายเทในห้อง ให้มีแดดส่องถึง

และไม่ควรใช้ระบบระบายอากาศภายในบ้าน หรือเปิดแอร์ และพัดลม

ในระหว่างการทำความสะอาดป้องกันการฟุ้งกระจายของเชื้อรา

 

หลีกเลี่ยงการใช้น้ำด้วยระบบแรงดันสูงฉีดในการทำความสะอาด

เนื่องจากจะทำให้เชื้อราฟุ้งกระจายได้เช่นกัน

 

 

246361.jpg

ภาพประกอบเอื้อเฟื้อจาก http://www.decorreport.com

 

 

3. เปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ต่างๆที่พบเชื้อรา

 

โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ที่ทำมาจากวัสดุที่มีลักษณะเป็นรูพรุน

ซึ่งไม่สามารถชำระล้างและทำให้แห้งได้

รวมทั้ง พรม เบาะผ้า ที่นอน ฟูก วอลเปเปอร์ ฝ้าผนัง แผ่นยิปซั่ม

ผลิตภัณฑ์ไม้แผ่นฝ้า ไม้เนื้ออ่อน ผลิตภัณฑ์กระดาษ

หนังสือและเครื่องเรือนที่เป็นวัสดุที่มีลักษณะเป็นรูพรุน

เพื่อลดการแพร่กระจายของสปอร์ราและทำลายแหล่งเพาะเชื้อรา

อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆเหล่านี้ ควรทิ้งใส่ในถุงพลาสติกและมัดอย่างดี

กันแพร่กระจายของเชื้อราสู่อากาศ

 

อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนหรือจะเก็บเฟอร์นิเจอร์ หรือ อุปกรณ์ไว้นั้น

ให้พิจารณาว่าสิ่งของใดก็ตาม ที่ไม่สามารถกำจัดเชื้อราได้หมดหลังจากทำความสะอาด

และไม่มั่นใจที่สามารถทำให้สิ่งของดังกล่าวแห้งได้

ไม่ควรเก็บไว้ อย่าเสียดาย ให้ทิ้งไปให้หมด โดยเฉพาะวัสดุที่มีลักษณะเป็นรูพรุน

 

 

246740.jpg

 

ภาพประกอบเอื้อเฟื้อจาก http://www.cartoonst...m_furniture.asp

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

4. ทำความสะอาดและการทำลายเชื้อรา

 

ทำความสะอาดโดยการขัดล้างให้เร็วที่สุดที่สามารถทำได้ ภายใน 24 ถึง 48 ชั่วโมง

หรือ ภายใน หนึ่ง ถึง สองวัน หลังน้ำท่วมลดลง

 

เครื่องใช้บางประเภทที่ทำมาจากวัสดุที่ไม่มีลักษณะเป็นรูพรุน

เช่น เครื่องแก้ว เครื่องกระเบื้อง เมลามีน พลาสติก

คอนกรีต กระจก กระเบื้องเซรามิก โลหะ และไม้เนื้อแข็ง

(เชื้อราส่วนมากไม่สามารถเจาะไม้เนื้อแข็งได้)

ท่านสามารถทำความสะอาดและทำให้แห้งได้โดยไม่จำเป็นต้องทิ้งของใช้ดังกล่าว

 

ในระหว่างทำความสะอาด อย่าลืมเปิดประตูและหน้าต่าง

เพื่อระบายอากาศตามวิธีที่กล่าวมาแล้วข้อ 2

และสวมถุงมือยางทุกครั้ง

ถ้ามีพื้นที่ด้านนอก ให้ขยับอุปกรณ์ต่างๆหรือเครื่องใช้ ออกมาผึ่งอากาศที่โปร่งโล่ง กลางแจ้ง

หรือที่มีแดดส่องถึง ประมาณ สอง ถึงสามวัน ก็ยิ่งดี

 

 

emoticon85.gifemoticon105.gif ส่วนการทำลายเชื้อรา

เริ่มแรกควรล้างด้วยน้ำและสบู่หรือผงซักฟอกเพื่อขจัดสิ่งสกปรกออกก่อน

แล้วตามด้วยการขัดล้างด้วยน้ำยาโซเดียมไฮโปคลอไรด์ (NaOCl)

หรือ ใช้ผลิตภัณฑ์น้ำยาซักผ้าขาว ที่มีส่วนผสมของ โซเดียมไฮโปคลอไรด์ผสมอยู่

 

(หมายเหตุ:การซื้อผลิตภัณฑ์น้ำยาซักผ้าขาวมาใช้

ต้องอ่านข้างฉลากและต้องแน่ใจว่าเป็นยี่ห้อที่มี โซเดียมไฮโปคลอไรด์ 5-6%)

 

alarm.gifalarm.gif ข้อควรระวังการใช้น้ำยาซักผ้าขาว ควรใส่ถุงมือยางทุกครั้งก่อนใช้

และต้องใช้ในที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ควรเปิดประตู หน้าต่าง ให้อากาศถ่ายเทในห้อง

และห้ามสูดดมโดยตรงเป็นอันขาด

 

และที่สำคัญที่สุด alarm.gifalarm.gifalarm.gif

ห้ามผสมน้ำยาซักผ้าขาวที่มีส่วนผสมของโซเดียมไฮโปคลอไรด์ผสมอยู่ กับสารอื่นๆเด็ดขาด

ยกตัวอย่างเช่นห้ามนำน้ำยาซักผ้กขาวผสมกับแอมโมเนียเป็นส่วนประกอบเด็ดขาด

หรือ ห้ามนำน้ำยาซักผ้าขาวผสมกับน้ำยาหรือผลิตภัณฑ์ล้างอื่นๆที่มีสภาพเป็นกรด

เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาล้างโถส้วม เเละน้ำยาเช็ดกระจก เป็นต้น

เพราะจะเกิดก๊าซที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ alarm.gif alarm.gifalarm.gif

 

**หมายเหตุ สามารถหาซื้อผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปในการกำจัดเชื้อรา

ซึ่งมีหลายยี่ห้อในการช่วยฆ่าเชื้อรา alarm.gif แต่ต้องแน่ใจว่า

ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่จะนำมาใช้ฆ่าเชื้อรา ต้องมี "โซเดียมไฮโปคลอไรด์ผสมอยู่"

ซึ่งสามารถดูข้างฉลากว่ามีสารเคมีดังกล่าว หรือสารเคมีอื่นๆที่เกี่ยวข้องที่สามารถฆ่าเชื้อราได้

สามารถหาซี้อได้ตามท้องตลาด และ ซุปเปอร์มาเกตทั่วไป

 

alarm.gif ข้อควรระวังสุดท้าย

ควรศึกษาคู่มือการใช้ในผลิตสำเร็จรูปอย่างละเอียด

โดยให้ปฏิบัติตามป้ายและคำเตือนในการใช้อย่างระมัดระวัง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

@ ถ้าเป็นการการขัดผนังปูนหรือพื้นผิวที่หยาบควรขัดด้วยแปรงชนิดแข็ง

ถ้าไม่สามารถหาซื้อได้ให้ อาจผสมน้ำยาใช้เอง

โดยใช้ผงฟอกขาวที่มีใช้อยู่ตามบ้านและตามท้องตลาดผสมกับน้ำ

โดยมีอัตราส่วน คือ ปริมาณ 1 ถ้วยตวงของผงฟอกขาว ผสมกับน้ำ 1 แกลลอน (ประมาณ 3. 8 ลิตร)

 

 

246371.jpg

ภาพประกอบเอื้อเฟื้อจาก http://www.safemoldsolutions.com/basement_mold_removal.php

 

 

@หากพบเชื้อราขึ้นเป็นจุด ๆดวงๆ บน วอลเปเปอร์ และ ผนัง

อาจใช้ เช็ดแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซนต์ เช็ดทำความสะอาด

หรือหากพบว่ามีเชื้อราเป็นจำนวนมาก เกินกว่าจะกำจัดไหว

ก็ควรเปลี่ยนวอลเปเปอร์และ ผนังเสียใหม่ดีกว่า

 

 

246369.jpg

ภาพประกอบเอื้อเฟื้อจาก http://www.yourblackmoldguide.com/black-mold-pictures/

 

@หากพบเชื้อราขึ้นบน หนังสือ และ เครื่องเรือนประเภทไม้

อย่าใช้ผ้าชุบน้ำ เช็ด เพราะ น้ำ ทำให้เกิดการสะสมความชื้นอีก

และทำให้เกิดเชื้อรามากขึ้น

 

ในการทำความสะอาดผลิตเครื่องเรือนประเภทไม้

อาจใช้ผ้าชุป แอลกอฮอล์ 70 ปอร์เซนต์ หรือ ฟอร์มาลีนเจือจางเช็ด

และแล้วปล่อยให้แห้งเอง

หากมีเชื้อราขึ้นมากเกินการกำจัด

ก็ควรเปลี่ยนไม้ดีกว่าและทิ้งไปเลย ถึงแม้ว่าได้ทาแลกเกอร์เคลือบผิวก็ตาม

 

 

246368.jpg

 

ภาพประกอบเอื้อเฟื้อจาก http://www.moldbacteriaconsulting.com/mold-on-books.html

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

@หากพบเชื้อราขึ้นบนเครื่องเรือนและอุปกรณ์ประเภทเครื่องหนัง

ให้ใช้น้ำส้มสายชู เช็ดถู หลาย ๆ ครั้ง

เนื่องจากน้ำส้มสายชูมีสภาพเป็นกรดสามารถทำลายเชื้อราได้

 

หลังจากแห้งแล้วเราสามารถเช็ดทำความสะอาดโดยวิธีอื่นๆเพิ่ม

เช่น ใช้น้ำยาทำความสะอาดอีกครั้ง บางกรณีอาจใช้ครีมเช็ดรองเท้ามาเช็ดถูปิดท้าย

 

 

246370.jpg

 

ภาพประกอบเอื้อเฟื้อจาก http://www.alibaba.com/buyofferdetail/103369457/Buying_Mold_leather_Furniture.html

 

 

 

@หากพบเชื้อราขึ้นบนเครื่องเรือนและอุปกรณ์ประเภทที่ทำจาก ผ้า

เช่น เสื้อผ้า ปอกหมอน ม่านและเครื่อนนอนต่างๆ

ให้ต้มน้ำร้อนเดือดฆ่าเชื้อรา ทั้งนี้สามารถใช้วิธีอื่นๆร่วมด้วย

เช่น ใช้น้ำยาที่มีส่วนผสมของ โซเดียมไฮโปคลอไรด์แช่ไว้ก่อน

หากมีเชื้อราขึ้นมากเกินกำจัด ก็ควรเปลี่ยนและทิ้งไปเลย

 

 

246367.jpg

ภาพประกอบเอื้อเฟื้อจาก http://www.moneypit.com/question-and-answer/cleaning-mold-furniture

 

 

@นอกจากนี้หากพบเชื้อราฝังตัวอย่างแน่นหนาตามเครื่องเรือนประเภทไม้ ผนัง วอลเปเปอร์

ที่ไม่สามารถกำจัดออกได้ โดยการขัดล้าง ทำความสะอาด

โดยเฉพาะการฝังซ่อนตัวภายในชั้นวัสดุแทรกภายใน ซึ่งไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้

แนะนำให้เปลี่ยนใหม่ ไม่ควรทาสีกลบทับเพราะไม่สามารถทำลายสปอร์ที่เหลือได้

และอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อราขึ้นได้ภายหลัง

 

 

246372.jpg

ภาพประกอบเอื้อเฟื้อจาก http://www.inspectapedia.com/sickhouse/Green_Mold_Pictures.htm

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

5. การทำให้แห้ง

 

หลังจากทำความสะอาดและฆ่าเชื้อราในบ้านแล้ว

ให้ใช้พัดลมเป่าในบ้านและอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง

ยิ่งไปกว่านั้นควรเปิดหน้าต่าง เปิดประตู

เพื่อดึงสปอร์ราที่อยู่ในอากาศในบ้านออกไปนอกตัวบ้านหรืออาคารให้มากที่สุด

โดยใช้เวลา ผึ่งลมประมาณ 1 ชัวโมง

หรือ มั่นใจว่า บ้าน และอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องแห้งสนิทแล้ว

 

หากบ้านไหนมีเครื่องลดความชื้นก็อาจใช้ร่วมด่วย

บางกรณีอาจเลือกการทำให้แห้งของอุปกรณ์ต่างๆที่มีขนาดเล็ก

สามารถใช้เครื่องเปล่าผมไฟฟ้าซึ่งเป็นความร้อนแห้ง ช่วยทำให้แห้งไวขึ้น

 

 

246373.jpg

 

ภาพประกอบเอื้อเฟื้อจาก http://ldthealthsolutions.com/ldtrxtest/FacilityDesign.aspx

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

6. ตรวจสอบให้แน่ใจอีกครั้ง

 

ภายหลังจากความสะอาดแล้วผ่านไป 2 ถึง 3 วัน แล้ว

ให้ มองหาสังเกตการเจริญเติบโตของเชื้อรา

ซึ่งเชื้อราอาจถูกพบและเจริญเติบโตซ้ำได้

ถ้าวัสดุ เครื่องเรือน ดังกล่าวยังไม่แห้งดีพอ ซึ่งมีความชื้นอยู่

 

ถ้ายังพบเชื้อราอีกให้ทำความสะอาดซ้ำโดยวิธีที่กล่าวด้านบน ข้อ 1-ข้อ 5

โดยเฉพาะบ้านที่ใช้เครื่องปรับอากาศ อาจมีความบกพร่องของเครื่องปรับอากาศ

ในการดึงความชื้นออกจากอากาศภายในห้องได้ไม่ดีเท่าที่ควร

อาจเป็นสาเหตุหนึ่งในการกลับมาของเชื้อราดังกล่าว

ควรเรียกช่างแอร์ทำการแก้ไขโดยด่วน

 

กรณีการตรวจสอบปัจจัยต่างๆโดยละเอียด

ถ้ายังพบเชื้อราอีกอาจจะต้องตรวจสอบระบบการระบายอากาศ ระบบแอร์ทั้งหมด

ระดับความชื้นภายในอาคารด้วย ระดับอุณหภูมิ และสิ่งแวดล้อมทื่เกี่ยวข้อง

รวมทั้งอาจต้องมีการนำเครื่องมือเฉพาะทางมาตรวจสอบเชื้อรา

 

หลังจากการเข้าไปพักอยู่อาศัยแล้ว

หากมีสมาชิกในบ้านคนใดก็ตาม มีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

 

246374.jpg

ภาพประกอบเอื้อเฟื้อจาก http://ldthealthsolutions.com/ldtrxtest/FacilityDesign.aspx

 

 

 

หมายเหตุ การเก็บตัวอย่างเชื้อรามาตรวจสอบอย่างละเอียดในกรณีที่ต้องการระบุว่า

เชื้อราดังกล่าวเป็นตัวทำให้เกิดภูมิแพ้ หรือไม่

เช่น เชื้อราชื่อว่า แอสเปอร์จิลลัส ฟูมิกาตัส (Aspergillus fumigatus)

เป็นเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคระบบทางเดินหายใจ

สามารถส่งบริการทั้งต่างประเทศและภายในประเทศ

ซึ่งในประเทศไทยการระบุชนิดของเชื้อราและการตรวจเชื้อราทางห้องปฏิบัติการ

โดยดูรูปลักษณะสัณฐานวิทยาและใช้เทคนิคเชิงโมเลกุลมาช่วยจำแนก ส

ามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้านราวิทยาโดยตรง

เช่น การบริการการจำแนกเชื้อรา ในมหาวิทยาลัยรัฐบางแห่ง

หรือ สถาบันวิจัยของภาครัฐบางแห่ง

หรือ หน่วยงานในกำกับของกระทรวงของภาครัฐบางแห่ง เป็นต้น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จบ เรื่อง "รา" เพียงเท่านี้ครับ

 

เดี๋ยวจะต่อด้วย เรื่อง "ไฟฟ้า" ครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คำแนะนำในการฟื้นฟูระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าหลังน้ำลด

 

 

จัดทำโดย ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

http://www.eng.chula.ac.th/?q=node/4058

 

 

 

คำแนะนำในการฟื้นฟูระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าหลังน้ำลด

 

 

ประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้

 

•1. การตรวจสอบระบบไฟฟ้าก่อนจ่ายไฟกลับเข้าสู่ปกติ

 

•2. การตรวจสอบแก้ไขสวิตช์และปลั๊กไฟจมน้ำ

 

•3. การตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน อาคาร

ถูกแก้ไข โดย GoldGeneration

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

1. การตรวจสอบระบบไฟฟ้าก่อนจ่ายไฟกลับเข้าสู่ปกติ

 

ในการเข้าไปปฏิบัติการฟื้นฟูตามขั้นตอนที่ 1-4 ต่อไปนี้

ถึงแม้จะตัดไฟฟ้าแล้ว แต่เพื่อความปลอดภัยทางไฟฟ้า

การสวมรองเท้ายางและถุงมือยาง เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

โดยเฉพาะกรณีที่พื้นบ้านเป็นพื้นดิน หรือพื้นที่ที่มีความชื้นของพื้นสูง

 

ขั้นตอนที่ 1:

(ในกรณีที่ได้ทำการ OFF เซอร์กิตเบรกเกอร์หลัก

หรือยกสะพานไฟ (คัทเอาท์) ของบ้าน อาคาร หรือโรงงาน ไว้แล้ว ให้ข้ามไปขั้นตอนที่ 2 ได้เลย)

 

ในกรณีที่ เซอร์กิตเบรกเกอร์หลัก หรือสะพานไฟ (คัทเอาท์) ยัง ON ไว้อยู่ตั้งแต่ที่โดนน้ำท่วม มีข้อควรปฏิบัติดังนี้คือ

  • ห้ามนําเด็กเข้ามาในบริเวณนั้นโดยเด็ดขาด!

  • เพื่อความปลอดภัย ควรติดต่อการไฟฟ้าให้ส่งเจ้าหน้าที่มาช่วยทำการ OFF เซอร์กิตเบรกเกอร์หลัก

  • หรือยกสะพานไฟ (คัทเอาท์) ของบ้าน อาคาร หรือโรงงาน

  • แต่หากมีความจำเป็นที่ไม่สามารถให้เจ้าหน้าที่การไฟฟ้ามาช่วยเหลือได้

  • และต้องทำการ OFF เซอร์กิตเบรกเกอร์หลัก หรือยกสะพานไฟ (คัทเอาท์)

  • ของบ้าน อาคาร หรือโรงงาน ด้วยตนเอง

  • เวลาเข้าไปปฏิบัติงานในบ้าน อาคาร หรือโรงงาน เพื่อตัดไฟฟ้า

  • มีข้อควรปฏิบัติดังนี้คือ
  • 1) เวลาเข้าไปปฏิบัติงานควรมีผู้ใหญ่เข้าไปด้วยกันอย่างน้อยอีก 1 คน
  • เพื่อคอยช่วยเหลือ เฝ้าระวัง กรณีฉุกเฉินจะได้ร้องขอความช่วยเหลือได้ทัน
  • 2) หากทราบว่าปลั๊กไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่จมน้ำอยู่ตำแหน่งไหนบ้าง
  • ไม่ควรเข้าใกล้ในระยะ 2 เมตร เพื่อป้องกันอันตรายจาก "ไฟดูด"
  • (ดูเพิ่มเติมจากเอกสาร เมื่อเจอน้ำท่วมปฏิบัติอย่างไร "ไฟไม่ดูด")
  • 3) ควรยืนบนเก้าอี้พลาสติกที่แห้ง และใส่รองเท้ายาง ถุงมือยาง เพื่อป้องกันไฟดูด
  • ในขณะที่ทำการ OFF เซอร์กิตเบรกเกอร์หลัก หรือยกสะพานไฟ (คัทเอาท์) ของบ้าน อาคาร หรือโรงงาน
  • 4) หากไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องความปลอดภัยทางไฟฟ้าเพียงพอ
  • อย่าดำเนินการด้วยตนเอง ควรเรียกช่างไฟฟ้าหรือผู้มีความเชี่ยวชาญทางไฟฟ้า มาให้ความช่วยเหลือ

หมายเหตุ ในกรณีที่มีบ้านติดกับเพื่อนบ้าน

อาจจำเป็นต้องระวังผลของระบบไฟฟ้าของข้างบ้าน

เช่น ข้างบ้านอาจจะไม่ได้ยกสะพานไฟ ทำให้อาจมีไฟฟ้าในระบบไฟฟ้าของข้างบ้าน

เช่น มอเตอร์ของประตูไฟฟ้าหน้าบ้าน หรือโคมไฟหน้าบ้าน เป็นต้น

ถูกแก้ไข โดย GoldGeneration

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขั้นตอนที่ 2: กวาดน้ำขังที่พี้นออกให้หมด และรอให้พื้นแห้งอีกสักหนึ่งวันก่อน

 

ขั้นตอนที่ 3: หลังจากพื้นแห้งดีแล้ว

ให้ปลดสายไฟของอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดที่ยังเสียบปลั๊กอยู่ออกให้หมดก่อน

เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เตาไมโครเวฟ พัดลม โทรทัศน์ รวมถึงปลั๊กพ่วงต่างๆ

โดยสวมรองเท้ายางและถุงมือยางในขณะปฏิบัติงาน

ให้สำรวจว่ามีสวิตช์ ปลั๊กไฟ และอุปกรณ์ไฟฟ้าใดจมน้ำอยู่บ้าง

นำมาจัดทำเป็นรายการอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จำเป็นจะต้องรื้อถอนเพื่อตรวจสอบสภาพ

 

ขั้นตอนที่ 4: เดินสำรวจด้วยตาเปล่า

เพื่อตรวจสอบว่ามีสายไฟฟ้าชำรุดเสียหายในบริเวณใดหรือไม่

โดยปกติสายไฟฟ้าสามารถจมน้ำอยู่ได้นานระดับหนึ่ง

หากสังเกตพบความเสียหายให้แจ้งช่างไฟฟ้ามาดำเนินการซ่อมแซม

 

ขั้นตอนที่ 5: แจ้งให้เจ้าหน้าที่การไฟฟ้า

(กฟน. MEA Call Center 1130 / กฟภ. PEA Call Center 1129)

หรือวิศวกร ช่วยตรวจสอบระบบไฟฟ้าว่า

ชำรุดเสียหายเนื่องจากฉนวนไฟฟ้าฉีกขาด หรือเสื่อมสภาพหรือไม่

 

โดยปกติ เจ้าหน้าที่หรือวิศวกร จะทำการทดสอบใน 2 เรื่อง คือ

  • ตรวจสอบความเป็นฉนวนของระบบไฟฟ้า (สายไฟ, ปลั๊กไฟ ฯลฯ)
  • ตรวจสอบกระแสรั่วลงดินของอุปกรณ์ไฟฟ้า

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

2. การตรวจสอบแก้ไขสวิตช์และปลั๊กไฟจมน้ำ

  • การตรวจสอบแก้ไขต้องกระทำเมื่อระดับน้ำลดต่ำกว่าสวิตช์และปลั๊กไฟแล้วเท่านั้น
  • OFF เซอร์กิตเบรกเกอร์ หรือยกสะพานไฟ (คัทเอาท์) เพื่อตัดการจ่ายไฟในบริเวณที่จะรื้อถอนสวิตช์ หรือปลั๊กไฟที่จมน้ำ

หมายเหตุ ต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่าไม่มีไฟที่สายไฟของสวิตช์หรือปลั๊กไฟจริงๆ

โดยใช้อุปกรณ์เช่น ไขควงตรวจไฟ หรือ มิเตอร์วัดไฟ เป็นต้น

และในขณะปฏิบัติงานควรสวมถุงมือยางและรองเท้ายาง

  • หากน้ำที่ท่วมสวิตช์และปลั๊กไฟมีความสกปรกสูง
  • เช่น มีโคลนปนมาก หรือไม่สามารถถอดปลั๊กหรือแผงสวิตช์มาทำความสะอาดได้
  • ควรซื้อสวิตช์และปลั๊กไฟใหม่มาเปลี่ยน

  • หากน้ำที่ท่วมไม่สกปรกมากและประเมินได้ว่าสามารถทำความสะอาดสวิตช์และปลั๊กไฟได้

  • ® ให้ถอดกล่องสวิตช์และปลั๊กไฟที่จมน้ำ
  • ออกมาล้างทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาด เช็ดและผึ่งไว้ให้แห้ง
  • อาจเป่าด้วยลมร้อนจากเครื่องเป่าผม ใช้อุณหภูมิระดับปานกลางที่มือคนยังทนได้

  • ® อาจใช้น้ำยาล้างหน้าสัมผัส
  • (หาซื้อได้ตามร้านขายเครื่องมือช่างไฟฟ้า หรือร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์)
  • ฉีดทำความสะอาดขั้วโลหะบริเวณที่ต้องมีการสัมผัสเพื่อเชื่อมต่อทางไฟฟ้า สำหรับปลั๊กไฟ
  • อาจเสียบปลั๊กเข้าออก หลายๆ ครั้ง เพื่อขัดหน้าสัมผัสให้สะอาด
  • ทั้งนี้ ต้องทำในขณะยังไม่จ่ายไฟ

  • จะต้องกำจัดน้ำที่ท่วมขังในท่อร้อยสายไฟและกล่องสวิตช์หรือกล่องปลั๊ก
  • และเช็ดบริเวณดังกล่าวให้แห้งสนิทดี
  • ก่อนที่จะนำสวิตช์หรือปลั๊กไฟกลับไปติดตั้งเข้าในตำแหน่งเดิม

  • หลังจากนั้น จึง ON เซอร์กิตเบรกเกอร์ หรือสับสะพานไฟ (คัทเอาท์) ลง
  • เพื่อจ่ายไฟกลับเข้าสู่ระบบตามปกติ
  • นอกจากนี้ แนะนำให้ทิ้งไว้สักครึ่งวัน จึงค่อยเสียบปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อใช้งานตามปกติ
  • เพราะอาจจะยังมีกระแสไฟฟ้าปริมาณน้อยไหลผ่านปลั๊กหรือสวิตช์ที่ยังคงมีความชื้นหลงเหลืออยู่บ้าง
  • ความร้อนจากกระแสไฟฟ้าที่อาจไหลได้นี้ จะช่วยทำให้ไอน้ำหรือความชื้นระเหยออกไปด้วย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

3. การตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน อาคาร

 

การตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่จมน้ำ

หรืออุปกรณ์ที่อาจมีไอน้ำเข้าไปสะสมภายใน

ควรส่งให้ช่างผู้ชำนาญเป็นผู้ตรวจสอบและซ่อมแซมตามขั้นตอนและวิธีการที่เหมาะสม

 

ไม่ควรทำเอง !! โดยเฉพาะ

  • อุปกรณ์ที่มีแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบอยู่
  • เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องเล่น VDO/DVD ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ เหล่านี้
  • ช่างผู้ชำนาญจะต้องตรวจสอบและทำความสะอาดแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์
  • กรณีที่แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์เสียหาย จำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่ อุปกรณ์จึงจะทำงานได้ตามปกติ

  • อุปกรณ์ที่มีมอเตอร์ไฟฟ้า ประกอบอยู่ เช่น พัดลม คอมเพรสเซอร์และคอยล์ร้อนของเครื่องปรับอากาศ
  • ปั๊มน้ำ เหล่านี้ ช่างผู้ชำนาญจะต้องถอดมอเตอร์มาล้างทำความสะอาดโดยละเอียด
  • ตามขั้นตอนและวิธีการที่เหมาะสม ทั้งในส่วนของขดลวด ขั้วไฟฟ้า ตลับลูกปืน
  • แล้วจึงประกอบคืนและตรวจสอบการทำงานอย่างถี่ถ้วนอีกครั้ง

ไม่แนะนำให้ถอดรื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าที่เคยจมน้ำเหล่านี้มาตรวจสอบ

หรือทดลองจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ด้วยตนเอง!!

หากไม่ใช่ช่างที่มีความรู้และประสบการณ์ในการซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้า

ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัย เพราะอาจมีอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจร (Short-circuit)

ทำให้อุปกรณ์เสียหายอย่างถาวรได้ทันที

หรือกระทั่งทำให้ผู้ทดสอบได้รับอันตรายจากประกายไฟ หรือไฟไหม้

 

หมายเหตุ สำหรับการตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม

ต้องใช้ช่างหรือวิศวกรผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ

ติดต่อขอรับคำแนะนำเพิ่มเติมได้จาก

การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือที่ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

 

 

 

จัดทำโดย ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ถูกแก้ไข โดย GoldGeneration

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...