ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

'พิเชียร'แนะจับตาประชุมเฟดเลิกQE

ข่าวเศรษฐกิจ วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2557 18:22น.

 

"พิเชียร อำนาจวรประเสริฐ" แนะจับตาประชุมเฟด เลิก QE ชี้อาจกระทบดอกเบี้ยฉุดตลาดหุ้นทั่วโลก

ในการสัมมนาทิศทางเศรษฐกิจ การลงทุน และพลังงานไทย ปี 2558 จะไปทางไหน นายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ นักวิชาการอิสระ กล่าวว่าทิศทางเศรษฐกิจ และการลงทุนในตลาดโลก ต้องมีการจับตาการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด ในวันอังคารและวันพุธที่จะถึงนี้ว่า จะมีการตัดสินใจอย่างไรในการยกเลิกมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน หรือ QE ของสหรัฐที่ยังเหลืออยู่ 1.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หากยกเลิกเร็วขึ้นกว่ากำหนดเดือนต.ค.นี้ จะส่งผลต่อการปรับอัตราดอกเบี้ยสหรัฐให้ขยับตัวสูงขึ้น

 

ซึ่งจะกระทบต่อกองทุนทั่วโลก ตลาดหุ้น ทองคำ และน้ำมัน โดยดัชนีดาวโจนของสหรัฐจะได้รับผลกระทบก่อนตลาดอื่นๆ โดยมองเศรษฐกิจจีน กลุ่ม ISIS และเหตุชุมนุมในฮ่องกงที่ยืดเยื้อยังเป็นปัจจัยเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หุ้นไทยเสี่ยงลงต่อ เตือนแรงขายต่างชาติก่อนถกเฟด

ข่าวเศรษฐกิจ วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2557 18:02น.

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาด หุ้นไทยสัปดาห์หน้ามีโอกาสปรับลง เตือนแรงขายต่างชาติ ก่อนประชุมเฟด

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปความเคลื่อนไหวการลงทุนในตลาดหุ้นไทยรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 20-24 ต.ค. 2557 ว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับลดลงในช่วงต้นสัปดาห์ ท่ามกลางแรงขายทำกำไรของนักลงทุน ก่อนที่จะปรับขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางสัปดาห์ โดยได้รับแรงหนุนจากข้อมูลจีดีพีไตรมาส 3/57 ของจีน และเครื่องชี้ภาคการผลิตเดือน ต.ค. ของยูโรโซนที่ออกมาดีกว่าคาด รวมทั้งแรงซื้อจากกองทุน LTF และ RMF

 

สำหรับแนวโน้มสัปดาห์ถัดไป ระหว่างวันที่ 27-31 ต.ค. บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด และบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีมีโอกาสปรับลดลง โดยต้องระวังแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะในช่วงก่อนการประชุมเฟดในวันที่ 28-29 ต.ค. 57 รวมถึงต้องติดตามเครื่องชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะทยอยรายงานออกมา อาทิ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน เครื่องชี้รายได้ส่วนบุคคล และความเชื่อมั่นผู้บริโภค (U of Mich) รวมทั้งการเปิดเผยผล Stress Test ของธนาคารในยูโรโซนด้วย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กสิกรไทยคาด27-31ต.ค.ค่าบาท32.30-32.60/$

ข่าวเศรษฐกิจ วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2557 18:18น.

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาด ค่าเงินบาทสัปดาห์หน้า เคลื่อนไหวในกรอบ 32.30-32.60 บาทต่อดอลลาร์ฯ จับตาประชุมเฟดทิศทางดอกเบี้ย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 20-24 ต.ค. 2557 ว่า เงินบาทขยับแข็งค่าในช่วงแรกตามแรงขายเงินดอลลาร์ฯ เพื่อทำกำไรท่ามกลางความกังวลต่อแนวโน้มชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่ ข้อมูลจีดีพีจีนประจำไตรมาส 3/57 ที่ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด ก็เป็นปัจจัยหนุนสกุลเงินในเอเชียด้วยเช่นกัน

 

 

อย่างไรก็ดี เงินบาทกลับมาอ่อนค่าในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ตามแรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ ของกลุ่มผู้นำเข้า และนักลงทุนหลังจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ โดยวานนี้ (24 ต.ค.) เงินบาทอยู่ที่ระดับ 32.42 เทียบกับระดับ 32.36 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (17 ต.ค.)

 

 

สำหรับแนวโน้มสัปดาห์ถัดไป ระหว่างวันที่ 27-31 ต.ค. เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 32.30-32.60 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยต้องจับตาสัญญาณเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากถ้อยแถลงหลังการประชุม FOMC ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) วันที่ 28-29 ต.ค. นี้ ซึ่งน่าจะเป็นรอบการประชุมที่มีการยุติมาตรการ QE อย่างเป็นทางการ

 

 

ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวของตลาดสินทรัพย์เสี่ยงในช่วงต้นสัปดาห์ อาจผันผวนไปตามการประกาศผลการทดสอบภาวะวิกฤต (Stress Test) ของธนาคารในยูโรโซนโดยธนาคารกลางยุโรป (26 ต.ค.) ด้วยเช่นกัน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ประชุมเฟด 28-29 ต.ค. : ปิดฉากมาตรการ QE (27/10/2557)

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยออกบทวิเคราะห์"ประชุมเฟด 28-29 ต.ค. : ปิดฉากมาตรการ QE …เตรียมทยอยปรับนโยบายการเงินให้เป็นปกติมากขึ้น"

 

ประเด็นสำคัญ

 ในการประชุมเฟดในวันที่ 28-29 ตุลาคมนี้ คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับลดขนาดสินทรัพย์ที่เหลืออีก 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ทำให้สิ้นสุดมาตรการ QE อย่างเป็นทางการ หลังจากที่พื้นฐานของเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะหนุนนำการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า

 อย่างไรก็ตาม เฟดน่าจะยังคงย้ำแนวทางการยืนอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับต่ำต่อเนื่องอีก ระยะหนึ่ง เพื่อรอประเมินผลจากการสิ้นสุดมาตรการ QE ต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ และตลาดการเงินโลก ก่อนที่จะมีการส่งสัญญาณถึงแนวทางในการปรับเปลี่ยนการดำเนินนโยบายการเงิน สู่ระดับที่เป็นปกติมากขึ้นในระยะต่อไป

 สำหรับผลต่อประเทศไทย...การส่งสัญญาณถึงความระมัดระวังในการปรับเปลี่ยน นโยบายการเงินของเฟด คงไม่กระทบต่อการดำเนินนโยบายการเงินของไทยในระยะสั้น

 

นับตั้งแต่ที่วิกฤติสถาบันการเงินในสหรัฐฯ เกิดขึ้นในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายในหลายรูปแบบ ซึ่งนอกจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ แล้ว ยังรวมถึงการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ด้วยการอัดฉีดเงินจำนวนมหาศาลเข้าสู่ระบบการเงิน ผ่านการซื้อสินทรัพย์ขนาดใหญ่นับจากเดือนธันวาคม 2551 เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ สามารถก้าวข้ามวิกฤติเศรษฐกิจครั้งรุนแรงไปให้ได้

 

ทั้งนี้ ผลจากมาตรการผ่อนคลายต่างๆ ดังกล่าว ช่วยให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ทยอยฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง และทำให้เฟดตัดสินใจปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ลงในการประชุมเดือนธันวาคม 2556 ครั้งละ 1 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ต่อรอบการประชุม จนเหลือขนาดการซื้อสินทรัพย์ที่ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ในปัจจุบัน สำหรับการประชุมวันที่ 28-29 ตุลาคม 2557 นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ (FOMC) จะมีมติให้ปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ลงต่อเนื่อง 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ซึ่งหมายความว่าการซื้อสินทรัพย์ภายใต้โครงการ QE ของเฟดจะสิ้นสุดอย่างเป็นทางการหลังจากนั้น

 

 

พื้นฐานของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ปรับดีขึ้น เป็นเหตุผลหลักที่หนุนให้เฟดสามารถยุติมาตรการ QE ได้

 

 ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) คงจะมีมติสิ้นสุดมาตรการ QE อย่างเป็นทางการในการประชุมรอบวันที่ 28-29 ตุลาคม 2557 นี้ โดยสภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่การฟื้นตัวยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ดี น่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนหลักให้เฟดสามารถยุติมาตรการการซื้อสินทรัพย์ ตามกำหนดการเดิมที่เฟดได้เคยส่งสัญญาณไว้ในช่วงก่อนหน้า ทั้งนี้ หากพิจารณาถึงเครื่องชี้ในตลาดแรงงาน จะพบว่ามีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างมาก โดยการจ้างงานนอกภาคการเกษตรในช่วง 1 ปีที่ผ่านมามีการปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 213,000 ตำแหน่ง/เดือน ส่งผลให้จำนวนตำแหน่งงานนอกภาคการเกษตร ปรับเพิ่มขึ้นอยู่เหนือระดับในช่วงก่อนเกิดวิกฤติ ในขณะที่อัตราการว่างงานปรับลดลงสู่ระดับ 5.9% อันเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปี นอกจากนี้ เครื่องชี้เศรษฐกิจอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องชี้ภาคการผลิตและเครื่องชี้ภาคบริโภค ก็ยังคงส่งสัญญาณถึงการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เช่นกัน

 

 อย่างไรก็ดี คงต้องยอมรับว่า ปัจจัยเสี่ยงที่อาจกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เริ่มเด่นชัดขึ้น ได้แก่ สภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังอ่อนแอ และค่าเงินดอลลาร์ฯ ที่ปรับแข็งค่าขึ้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ อาจกดดันให้โมเมนตัมการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในระยะข้างหน้าชะลอลง รวมทั้ง ส่งผลให้แรงกดดันเงินเฟ้อปรับลดลงด้วย

โดยปัจจุบัน อัตราเงินเฟ้อยังคงทรงตัวในระดับที่ต่ำกว่าเป้าหมายระยะยาวของเฟดที่ระดับ ประมาณ 2% อยู่พอสมควร อันส่งผลให้สมาชิกเฟดบางท่านได้ส่งสัญญาณว่า เฟดคงไม่เร่งรีบที่จะปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยนโยบายนัก ในขณะที่ ตลาดการเงินก็เริ่มมีการปรับตัวในทิศทางที่สอดคล้องกัน ดังจะเห็นได้จากจากการปรับลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ รวมทั้ง Fed Fund Future Rate ก็ให้ภาพตลาดที่เริ่มมองถึงโอกาสที่เฟดอาจจะขยับจังหวะในการปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายออกไป

 

 โดยสรุปแล้ว พัฒนาการที่ปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจสหรัฐฯ น่าจะมีน้ำหนักเพียงพอในการสนับสนุนให้เฟดตัดสินใจยุติการซื้อสินทรัพย์ลงใน การประชุมรอบเดือนตุลาคม 2557 นี้ อย่างไรก็ดี ด้วยความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจที่มีมากขึ้น คงส่งผลให้เฟดมีท่าทีที่ระมัดระวังมากขึ้นต่อจังหวะการเริ่มปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายในระยะข้างหน้า ทั้งนี้ เชื่อว่าในมุมมองของเฟดนั้น จังหวะการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายคงจะขึ้นอยู่กับพัฒนาการทางเศรษฐกิจใน ระยะข้างหน้าเป็นสำคัญ ภายใต้การติดตามสถานการณ์ต่างๆ อย่างใกล้ชิด โดยหากปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้น มีโอกาสที่จะกระทบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ ก็อาจทำให้เฟดปรับเลื่อนจังหวะในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายออกไปได้

 

จับ ตา...แนวทางบริหารจัดการงบดุลของเฟด ตลอดจนการส่งสัญญาณในการจัดการนโยบายการเงินในช่วงการปรับเปลี่ยนสู่การ ดำเนินนโยบายการเงินในภาวะปกติมากขึ้น (Policy Normalization)

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ในการประชุมรอบนี้ เฟดอาจไม่ได้สื่อสารถึงมุมมองต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ ตลอดจนแนวทางในการดำเนินนโยบายการเงินแก่ตลาด มากเท่ากับการประชุมครั้งก่อนหน้า ซึ่งเป็นจังหวะของการเปิดเผยประมาณการและการทบทวนตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจ ไปพร้อมๆ กับการประชุมนโยบายการเงิน ขณะที่ การเปิดเผยตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจดังกล่าว จะเกิดขึ้นอีกครั้งในการประชุมครั้งถัดไปในการประชุมรอบวันที่ 16-17 ธันวาคม 2557

 

อย่างไรก็ตาม ในระหว่างนี้ ประเด็นน่าสนใจที่ตลาดคงติดตาม ได้แก่ แนวทางในการจัดการงบดุลของเฟด ตลอดจน การจัดการสภาพคล่องส่วนเกินในระบบการเงินสหรัฐฯ เพื่อช่วยให้การดำเนินนโยบายการเงินของเฟดมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในระยะเปลี่ยนผ่านจากนโยบายที่ผ่อนคลายอย่างมาก เป็นนโยบายที่มีความเป็นปกติมากขึ้น ทั้งนี้ การดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ของเฟดได้ส่งผลให้ขนาดสินทรัพย์ของเฟดมีขนาดใหญ่ขึ้นอย่างมาก จากระดับประมาณ 0.9 ล้านล้านดอลลาร์ฯในช่วงต้นปี 2550 เป็นเกือบ 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ในปัจจุบัน ขณะที่ ผลจากการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงินได้ส่งผลให้ธนาคารสหรัฐฯ มีสภาพคล่องส่วนเกินสูงถึง 2.7 ล้านล้านดอลลาร์ฯ

 

 

o แนวทางในการจัดการงบดุล เฟดได้ส่งสัญญาณที่จะคงขนาดงบดุลในระดับปัจจุบันต่อเนื่องอีกระยะหนึ่งจน กว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะเกิดขึ้น ก่อนที่จะมีการส่งสัญญาณไปยังตลาดถึงแผนการลดขนาดของงบดุลผ่านการการทยอย ปรับลดขนาดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ลงในระยะข้างหน้า โดยอาจเริ่มจากการหยุดนำดอกเบี้ยรับไปซื้อสินทรัพย์ ตลอดจน การทยอยขายพันธบัตรในปริมาณที่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงนั้นๆ อย่างไรก็ดี ในส่วนของตราสาร MBS (ตราสารที่หนุนหลังด้วยอสังหาริมทรัพย์ หรือ Mortgage-Backed Securities) เฟดมีแนวโน้มที่จะถือครองตราสารเหล่านั้นจนครบกำหนด

 

o การจัดการสภาพคล่องส่วนเกินในระบบการเงินสหรัฐฯ เพื่อให้กลไกการส่งผ่านโยบายการเงินไปสู่อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงิน มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเข้าใกล้จังหวะการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่จะเกิดขึ้นใน อนาคต เฟดจึงจำเป็นที่จะต้องมีการบริหารจัดการสภาพคล่องในระบบการเงินให้มีขนาดที่ เหมาะสม ทั้งนี้ เนื่องด้วยสภาพคล่องส่วนเกินในตลาดการเงินสหรัฐฯ ที่ยังคงอยู่ในระดับสูงในปัจจุบัน ส่งผลให้เฟดมีการเตรียมเครื่องมือเสริมทางการเงินเพิ่มเติม อาทิ การใช้อัตราดอกเบี้ยที่จ่ายให้กับเงินสำรองส่วนเกินของสถาบันการเงินที่ฝาก ไว้กับเฟด (Interest on Excess Reserves: IOER) การทำธุรกรรม Overnight Reverse Repurchase (ON RRP) และ Term Deposit Facility (TDF) อันเป็นเครื่องมือที่มีกระทบต่อสภาพคล่องของตลาดการเงินโลกในทิศทางตรงกัน ข้ามกับมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณที่เฟดใช้มาเป็นระยะเวลาเกือบ 6 ปีที่ผ่านมา

 

การเปรียบเทียบเครื่องมือทางการเงินที่เฟดเตรียมจะใช้ เพื่อบริหารจัดการสภาพคล่องในระบบ ก่อนปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ผลต่อประเทศไทย: การส่งสัญญาณถึงความระมัดระวังในการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินของเฟด... คงไม่กระทบต่อการดำเนินนโยบายการเงินของไทย

 

สำหรับผลกระทบต่อตลาดการเงินไทย คาดว่า ท่าทีของเฟดที่มีความระมัดระวังมากขึ้น ต่อแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในระยะข้างหน้าดังกล่าว อาจส่งผลดีต่อตลาดการเงินไทยในระยะสั้น เนื่องจากการที่ตลาดอาจให้น้ำหนักมากขึ้นกับมุมมองว่าเฟดคงไม่จำเป็นต้อง ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรวดเร็วนั้น จะทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับลดลงในทิศทางเดียวกันกับอัตราผล ตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ รวมถึงช่วยคลายแรงกดดันต่อกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายจากนักลงทุนต่างชาติใน ตลาดทุนไทย ดังนั้น จึงไม่น่าจะสร้างแรงกดดันต่อการดำเนินนโยบายการเงินในลักษณะที่ค่อนข้างผ่อน คลายของไทยในปัจจุบัน ซึ่งถือว่ายังมีความจำเป็นในภาวะที่เศรษฐกิจไทยกำลังอยู่ในช่วงเริ่มแรกของ การฟื้นตัว และแรงกดดันเงินเฟ้อในประเทศยังอยู่ในระดับต่ำ

 

อย่างไรก็ดี เมื่อมองออกไปในระยะกลาง ด้วยพื้นฐานของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง คงส่งผลให้เฟดตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ในที่สุด อันจะทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรของประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย คงทยอยปรับขึ้นตาม นั่นหมายความว่า ต้นทุนทางการเงินของภาคธุรกิจไทยที่คงมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างยากจะ หลีกเลี่ยง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่มีโอกาสปรากฎชัดเจนขึ้นในช่วง 6-9 เดือนข้างหน้า ดังนั้น ภาคธุรกิจจึงควรหาแนวทางบริหารจัดการต้นทุนทางการเงินรองรับไว้ล่วงหน้า โดยเฉพาะธุรกิจที่มีแผนจะระดมทุนในตลาดตราสารหนี้

 

กระนั้นก็ดี สำหรับผลกระทบต่อเงินทุนเคลื่อนย้าย อันเป็นผลจากการที่นักลงทุนต่างชาติอาจทยอยนำเงินลงทุนในตลาดหุ้นและตลาดตรา สารหนี้ กลับไปลงทุนในสินทรัพย์สกุลดอลลาร์ฯ นั้น คาดว่าจะอยู่ในระดับที่ทางการไทยสามารถบริหารจัดการได้ เนื่องจากพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ดีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นระดับเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ที่มีสูงกว่าระดับหนี้ต่างประเทศ (External Debt)

 

นอกจากนี้ แม้ว่าเม็ดเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในตลาดทุนไทย มีจำนวนคงค้างถึงหลายแสนล้านบาทในกรณีของตลาดตราสารหนี้ แต่หากพิจารณาโครงสร้างการพึ่งพิงแหล่งเงินทุนในระบบการเงินไทยแล้ว จะพบว่า แหล่งเงินทุนจากภายนอกประเทศมีสัดส่วนที่ไม่สูงมากนัก โดยสัดส่วนการกู้ยืมเงินต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยมีขนาดเพียง 6.3% ของขนาดสินทรัพย์ (ข้อมูล ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2557) ขณะที่สัดส่วนการถือตราสารหนี้ไทยของนักลงทุนต่างประเทศมีเพียง 8.5% (ข้อมูล ณ สิ้นเดือนกันยายน 2557) ซึ่งภาพดังกล่าว ผนวกกับความพยายามของทางการไทยที่จะเร่งเบิกจ่ายงบประมาณและโครงการลงทุน ต่างๆ อันน่าจะช่วยให้เส้นทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยมีความชัดเจนมากขึ้นในอนาคต นั้น คงมีผลลดทอนผลกระทบจากการบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางการเงินของเฟดและตลาดการ เงินโลกได้

 

กล่าวโดยสรุป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เฟดน่าจะยังคงดำเนินการปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ตามมาตรการผ่อนคลายเชิง ปริมาณลงอีก 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ในการประชุมครั้งที่ 7 ของปี 2557 ในวันที่ 28-29 ตุลาคม 2557 นี้ อันถือเป็นการสิ้นสุดการซื้อสินทรัพย์ภายใต้โครงการ QE อย่างเป็นทางการ หลังจากที่นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอย่างมากของเฟด ช่วยให้พื้นฐานของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้น จนสามารถหนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

 

อย่างไรก็ดี ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่ปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อที่ยังมีไม่มากนัก อาจส่งผลให้เฟดใช้ความระมัดระวังประเมินสภาวะของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด ก่อนที่จะเริ่มส่งสัญญาณที่ชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับการปรับนโยบายการเงินให้เป็น แบบปกติมากขึ้น ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่จะต้องติดตามในระหว่างนี้ ได้แก่ แนวทางในการจัดการงบดุล รวมทั้ง การจัดการสภาพคล่องส่วนเกินในระบบการเงินสหรัฐฯ

 

สำหรับผลกระทบต่อตลาดการเงินไทย คงต้องยอมรับว่า ท่าทีของเฟดที่มีความระมัดระวังมากขึ้น ต่อแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในระยะข้างหน้าดังกล่าว คงช่วยทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับลดลงในทิศทางเดียวกันกับ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และคลายความวิตกต่อกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายของนักลงทุนต่างชาติลงไปบ้าง แต่ท้ายที่สุดแล้ว การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดคงจะเกิดขึ้นไม่ช้าก็เร็ว คงทำให้อัตราผลตอบแทนในตลาดตราสารหนี้ไทยมีโอกาสขยับขึ้นตาม ซึ่งเป็นสัญญาณให้ภาคธุรกิจของไทยต้องเตรียมบริหารจัดการต้นทุนทางการเงิน รองรับไว้ล่วงหน้า

 

ขณะที่ คงเป็นเหตุการณ์ที่ทางการไทยคงติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินผลกระทบทางตรงและทางอ้อมต่อเศรษฐกิจและการดำเนินนโยบายการเงิน ของไทย แม้ว่าพื้นฐานเศรษฐกิจไทยที่มีความแข็งแกร่ง ท่ามกลางข้อเท็จจริงที่แหล่งเงินทุนในระบบการเงินไทยพึ่งพาเงินทุนจากภายนอก ประเทศในระดับต่ำ จะช่วยลดทอนผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินของเฟดได้ในระดับหนึ่งก็ ตาม

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 27 ตุลาคม 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธนาคารกลางยุโรป เผย แบงก์ที่ถูกตรวจสอบสถานภาพทางการเงิน มีเกือบ 1 ใน 5 ที่ไม่ผ่านเกณฑ์

 

สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานอ้างถ้อยแถลงของธนาคารกลางยุโรป หรืออีซีบี ที่ระบุว่า บรรดาธนาคารที่ถูกตรวจสอบสถานภาพทางการเงินโดยอีซีบี มีเกือบ 1 ใน 5 ที่ไม่ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบ แต่ไม่มีธนาคารรายใหญ่ๆ อยู่ในกลุ่มผลประกอบการแย่ โดยการตรวจสอบบัญชีครั้งนี้ มุ่งเป้าไปที่การป้องกันวิกฤติเศรษฐกิจถดถอยในยูโรโซน ไม่ให้เกิดขึ้นมาอีก ทั้งนี้ หลายฝ่ายเกรงว่า ภาวะฝืดเคือง รวมถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจกำลังจะหยุดนิ่งในประเทศสำคัญๆ อาทิ ฝรั่งเศส อิตาลี หรือแม้กระทั่งเยอรมนี ที่การส่งออกสดใส แต่ก็เติบโตช้าในแง่ของการลงทุน

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (วันที่ 27 ตุลาคม 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาทองคำเริ่มอ่อนตัวลงในการซื้อขายช่วงปลายสัปดาห์ก่อน หลังจากในการซื้อขายช่วงหลายวันก่อนหน้ามีแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ ปลอดภัยกลับเข้ามามาก ซึ่งส่วนหนึ่งคาดว่าเป็นแรงซื้อจากความต้องการใช้ทองคำจริงในช่วงเทศกาล สำคัญของอินเดียที่มีเข้ามา จนทำให้ราคาปรับตัวขึ้นมามาก โดยราคาทองคำปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ 1,228.16 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ ลดลง 3.94 ดอลลาร์ ราคาทำจุดต่ำสุดและจุดสูงสุดที่ 1,227 และ 1,234 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ ตามลำดับ

 

ส่วนราคาซื้อขายทองคำแท่งในประเทศชนิด 96.5% เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ขายออกที่บาทละ 18,950 บาท และรับซื้อคืนที่บาทละ 18,850 บาท กองทุน SPDR รายงานว่าได้ลดปริมาณการถือครองทองคำลงราว 4.48 ตัน ส่งผลให้ปัจจุบันกองทุนถือครองทองคำรวม 745.39 ตัน

 

ราคาทองคำได้รับแรงกดดันจากการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในช่วงค่ำของวันวันศุกร์ จนทำให้ราคาทองอ่อนตัวลงต่อเนื่องจากการซื้อขายช่วงกลางสัปดาห์ โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯรายงานว่า ยอดขายบ้านสำหรับครอบครัวเดี่ยวที่สร้างใหม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะระดับ 467,000 ยูนิต

 

นักวิเคราะห์กล่าวว่า ข้อมูลนี้เป็นหลักฐานว่าตลาดที่อยู่อาศัยกำลังฟื้นตัว ส่วนในช่วงกลางสัปดาห์นี้ความสนใจของตลาดจะมุ่งไปที่การประชุมคณะกรรมการ กำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ท่ามกลางกระแสคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะตัดสินใจยุติการซื้อสินทรัพย์ภายใต้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ และนักลงทุนรอดูว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะส่งสัญญาณเกี่ยวกับช่วงเวลาในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือไม่ ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะส่งผลต่อเงินดอลลาร์และทองคำ และด้วยในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ของธนาคารกลางสหรัฐฯ บางรายแสดงมุมมองเกี่ยวกับการปรับอัตราดอกเบี้ยว่ายังจะไม่เกิดขึ้น รวมทั้งวงเงินในการซื้อพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐฯ ที่อาจจะมีการคงวงเงินในระดับปัจจุบันต่อไป เนื่องจากการปรับลดวงเงินและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลให้เงินดอลลาร์ แข็งค่าและไม่เป็นผลดีต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ หากผลการประชุมกลับออกมาในลักษณะนี้ก็จะเป็นปัจจัยบวกที่ทำให้ราคาทองปรับ ตัวขึ้นได้ต่อไป

 

ส่วนภาพการเคลื่อนไหวของราคาทองคำในทางเทคนิค ซึ่งราคาทองคำเริ่มอ่อนตัวลงในการซื้อขายสัปดาห์ก่อน และเริ่มมีสัญญาณการปรับฐานหลังจากราคาปรับขึ้นมามากในการซื้อขายช่วง 2 สัปดาห์ก่อนหน้า โดยมีแนวรับบริเวณ 1,220-1,225 ดอลลาร์ ต่อ ออนซ์ เป็นแนวรับสำหรับซื้อเก็งกำไรในระยะสั้น และหากไม่สามารถยืนเหนือแนวรับบริเวณนี้ คาดว่าจะมีแรงขายออกมามาก และราคาทองก็จะมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลงไปยังแนวรับบริเวณ 1,200 ดอลลาร์ ต่อ ออนซ์ ต่อไป โดยมีแนวต้านของวันอยู่ที่บริเวณ 1,245 ดอลลาร์ ต่อ ออนซ์

 

 

 

 

 

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ (27/10/2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฝรั่งเดาทองรายสัปดาห์ 27 ตุลาคม 57 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 57 กล่าวไว้ว่า ราคาทองถูกบังคับให้วิ่งอยู่ในกรอบ 12 เหรียญสหรัฐ ( $1226 - $1238 ) ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ดูเหมือนสัญญานซื้อเริ่มอ่อนแรง สัญญานรายวัน H1 รายสัปดาห์ H4 อยู่ในเขต ราคาทองย่อลง จนมีความเป็นไปได้ที่จะลงมาทดสอบ แนวรับแรก 1218 ซึ่งถ้ารับไว้ได้ ก็จะดีดขึ้น แต่ถ้าหลุด $1218 มาที่ $1215 ขายาว Long Position คงต้องรีบออกมานั่งพัก มองดู แต่สมมุติว่ามีการดีดขึ้น แนวต้าน $1244 จะดักตีหัวทำกำไรอยู่เสมอ แต่ถ้าเกิดเหตุที่ไม่ได้คาดฝัน ทะลุ $ 1246 ก็จะทำให้เกิดสัญญานด้านบวกต่อราคาทอง

 

พร้อมกันนี้ ขอส่งตัวเลขขาเสี่ยง ดังนี้

 

 

SHORT GOLD below 1224 SL 1227 TP 1218-1214-1208-1202

LONG GOLD above 1228 SL 1225 TP 1232-1236-1244-1250

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตื่นเช้ามา สวัสดีวันอังคาร ในขณะที่ราคาทองย่อลง แต่ยังไง ราคาทองในระเทศไทย ก็คงตั้งราคากั๊กสูง อาแปะยอมรับซื้อคืนในราคาแพง เพราะคงอยากกอดดอยทอง

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ในรหัส 5,35,9 สัญญานนำทางของค่าเงิน ดอลล์สหรัฐฯ จากที่เส้นดำเส้นแดงจะตัดกัน เพื่อเปลี่ยนสัญญานจาก ดอลล์อ่อนค่า เป็น ดอลล์แข็งค่า เปล่าเลย มันตีตัวออกห่าง ในขณะนี้ ก็ยังคงอยู่ในด้าน ดอลล์อ่อนค่า

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ส่วนค่าเงิน วันนี้ ว่ากันว่า น่าจะแข็งค่าขึ้น มาที่ 32.35-32.39 บาท ซึ่งตอนนี้ อยู่ที่ 32.43 บาท จากเหตุที่ดอลล์สหรัฐ อ่อนค่าลงมา

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ในส่วนของทองคำ รหัส 5,35,9 สัญญานนำทาง ตัดกันแล้ว และเส้นทางในอนาคตของเส้นแดง เดาว่าจะวิ่งอยู่เหนือเส้นดำ บ่นตามเส้นที่ปรากฎ ก็ต้องบอกว่า ออกเป็นสัญญานลบต่อราคาทอง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...