ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

World Today: สรุปข่าวต่างประเทศประจำวันที่ 19 ธันวาคม 2557

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 19 ธันวาคม 2557 17:00:00 น.

ความไม่แน่นอนในตลาดทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึง ราคาน้ำมันที่ร่วงลง การดิ่งลงของสกุลเงินรูเบิลรัสเซีย และการใช้นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณในภูมิภาคยูโรโซน ส่งผลให้นักลงทุนทั่วโลกมีความต้องการสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งรวมถึงสกุลเงินฟรังค์สวิส ดังนั้น ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) จึงดำเนินการล่าสุดเพื่อป้องกันไม่ให้ฟรังค์สวิสแข็งค่าเกินไป

 

 

 

-- กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศของจีนเปิดเผยว่า ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2557 บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ไอที และอิเล็กทรอนิกส์ของจีนมีผลกำไรรวมกันทั้งสิ้น 3.39 แสนล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 26.2%

 

-- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) มีมติคงนโยบายการเงินในการประชุมวันนี้ โดยระบุว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังมีการฟื้นตัวปานกลาง

 

-- นายฟูมิฮิโกะ ไอเกะ นายกสมาคมผู้ผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่นกำลังพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างพนักงานเพิ่ม เพื่อสนับสนุนโครงการริเริ่มในการกระตุ้นเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรีชินโสะ อาเบะ ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงในระยะนี้ก็ตาม

 

-- ผลการสำรวจโดยบริษัทวิจัย GfK เผยให้เห็นว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเยอรมนีในเดือนม.ค.เพิ่มขึ้นแตะ 9.0 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 8 ปี จาก 8.7 ในเดือนธ.ค. นับเป็นสัญญาณว่าผู้บริโภคชาวเยอรมนีมีมุมมองบวกมากขึ้นต่อภาวะเศรษฐกิจในช่วงต้นปีหน้า

 

-- ประธานาธิบดีบารัค โอบามาแห่งสหรัฐได้ลงนามในร่างกฎหมายคว่ำบาตรรัสเซียในระดับที่รุนแรงขึ้น

ผู้นำสหรัฐได้ลงนามในกฎหมาย Ukraine Freedom Support Act อย่างไรก็ดี คณะรัฐบาลยังไม่ได้ดำเนินการคว่ำบาตรรัสเซียครั้งใหม่ภายใต้กฎหมายดังกล่าว

 

-- บริษัท ไลน์ คอร์ป ผู้ให้บริการแอพส่งข้อความบนสมาร์ทโฟนเปิดเผยว่า บริษัทได้บรรลุข้อตกลงการเข้าซื้อมิกซ์เรดิโอ (MixRadio) บริการสตรีมมิ่งเพลงฟรีจากไมโครซอฟท์

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย สุนิตา พรรณรักษา โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: sunita@infoquest.co.th--

 

เงินบาทปิดตลาด 32.86/87 ทรงตัว มองกรอบสัปดาห์หน้า 32.75-33.00

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 19 ธันวาคม 2557 17:37:05 น.

นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 32.86/87 บาท/ดอลลาร์ จากเปิดตลาดช่วงเช้าที่ระดับ 32.86/88 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทไปทำโลว์ที่ระดับ 32.82 บาท/ดอลลาร์

"วันนี้เงินบาทขยับเล็กน้อยแค่ 5 สตางค์ ปริมาณซื้อขายเบาบาง สวนทางกับค่าเงินภูมิภาคที่อ่อนค่า" นักบริหารเงิน กล่าว

 

 

นักบริหารเงิน คาดว่า สัปดาห์หน้าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.75-33.00 บาท/ดอลลาร์

 

* ปัจจัยสำคัญ

 

- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 119.38 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 118.87 เยน/ดอลลาร์

- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.2275 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.2286 ดอลลาร์/ยูโร

- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,514.35 จุด ลดลง 2.44 จุด, -0.16% มูลค่าการซื้อขาย 57,702.52 ล้านบาท

- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 32.78 ล้านบาท(SET+MAI)

- ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) รายงานตัวเลขทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของไทย วันที่ 12 ธ.ค.57 อยู่ที่

158.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากวันที่ 5 ธ.ค.57 ที่ 156.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ฐานะฟอร์เวิร์ดสุทธิของไทย วันที่ 12 ธ.ค.57 อยู่ที่ 23.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับวันที่ 5 ธ.ค.57 อยู่ที่ 24.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศในรูปเงินบาทวันที่ 12 ธ.ค.57 อยู่ที่ 5,197.3 พันล้านบาท จาก 5,161.6 พันล้านบาท เมื่อวันที่ 5 ธ.ค.57

- นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน รองผู้ว่าการด้านบริหาร ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ระบุสถานการณ์เงินบาทอ่อนค่าในปัจจุบันยังไม่พบมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ และยังไม่พบการเก็งกำไรค่าเงิน แต่หากมีความผิดปกติเกิดขึ้น ธปท.ก็มีมาตรการพร้อมรองรับแล้ว เพื่อทำให้เงินบาทเป็นไปตามกลไกตลาด และสอดคล้องกับพื้นฐานเศรษฐกิจ

- สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) เผยบริษัท Standard and Poor’s (S&P’s) S&P’s ยืนยันอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะยาวและระยะสั้นสกุลเงินตราต่างประเทศ(Long-term/ Short-term Foreign Currency Rating) ที่ระดับ BBB+/A-2 และอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ระยะยาวและระยะสั้นสกุลเงินบาท(Long-term/Short-term Local Currency Rating) ที่ระดับ A-/A-2 พร้อมยืนยันแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยที่ระดับมีเสถียรภาพ(Stable Outlook) และยืนยันอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยบน ASEAN Regional Scale ระยะยาวที่ axAA และระยะสั้นที่ axA-1 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังได้ประเมินการเคลื่อนย้ายและความคล่องตัวในการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศคงที่อยู่ในระดับ A

- สบน.เผยผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือน พ.ย.57 โดยกระทรวงการคลังได้กู้เงิน และเบิกจ่ายเงินกู้ ได้แก่ 1.การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณโดยการออกพันธบัตรรัฐบาลจำนวน 9,970 ล้านบาท 2.การเบิกจ่ายเงินกู้ต่อให้แก่ รฟม.เพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจำนวน 37.82 ล้านบาท รวมถึงการเบิกจ่ายเงินกู้ต่อให้แก่ ร.ฟ.ท.เพื่อจัดทำโครงการรถไฟสายสีแดงจำนวน 13.10 ล้านบาท และโครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย 8 สายทางจำนวน 82.30 ล้านบาท 3.การเบิกจ่ายเงินกู้จำนวน 960 ล้านบาท ซึ่งเป็นการกู้เงินบาททดแทนเงินกู้จากธนาคารโลก เพื่อใช้ในโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน(DPL) ที่ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้เมื่อวันที่ 30 ก.ค.57 วงเงิน 3,000 ล้านบาท ส่วนการปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาล ได้แก่ 1.พันธบัตรรัฐบาลที่ออกภายใต้ พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะฯ พ.ศ. 2548 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551 ที่ครบกำหนดจำนวน 36,000 ล้านบาท 2.การทำธุรกรรมแลกพันธบัตร(Bond Switching) โดยกระทรวงการคลังดำเนินการแลกพันธบัตรที่ออกภายใต้ พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ.2548 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2551 รุ่น LB155A จำนวน 76,235.20 ล้านบาท กับพันธบัตรรัฐบาลที่เป็น Benchmark 4 รุ่น จำนวน 71,017 ล้านบาท ซึ่งทำให้ยอดหนี้คงค้างของพันธบัตรรัฐบาลลดลง 5,218.02 ล้านบาท และ 3.การปรับโครงสร้างหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ครบกำหนดในวันที่ 19 พ.ย.57 ภายใต้ พ.ร.ก.ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูระยะที่สองฯ(FIDF 3) จำนวน 3,778.61 ล้านบาท โดยวิธีการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน 3,778.60 ล้านบาท และยืมเงินทดรองจ่ายจากบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง(Premium FIDF 3) จำนวน 5,796 บาท

- นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เผยช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2558(ต.ค.-พ.ย.57) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 335,911 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 6,490 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.0(ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.6)

- นายทาเกฮิโกะ นากาโอะ ประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ(GDP)ของไทยปี 57 เหลือโตราว 1% จากเดิม 1.4-1.5% เนื่องจากมองว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 ไม่ได้เป็นไปตามที่คาดการณ์ และมองว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 อาจจะมีความล่าช้าจากปัญหาเรื่องการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐซึ่งทำให้แรงส่งต่อเศรษฐกิจยังไม่เกิดผลเท่าที่ควร

- ที่ประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น(บีโอเจ) มีมติคงนโยบายการเงินในการเพิ่มฐานเงินที่อัตรา 80 ล้านล้านเยนต่อปีเพื่อให้บรรลุเป้าเงินเฟ้อที่ 2% เนื่องจากเศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังมีการฟื้นตัวในระดับปานกลาง ขณะที่ยังคงมีความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้นในตลาดการเงินอันเนื่องมาจากการร่วงลงของราคาน้ำมันในช่วงที่ผ่านมา

- GfK เผยผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเยอรมนีในเดือน ม.ค.เพิ่มขึ้นแตะ 9.0 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 8 ปี จาก 8.7 ในเดือน ธ.ค. นับเป็นสัญญาณว่าผู้บริโภคชาวเยอรมนีมีมุมมองบวกมากขึ้นต่อภาวะเศรษฐกิจในช่วงต้นปีหน้า ส่วนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อการคาดการณ์เศรษฐกิจและดัชนีแนวโน้มการซื้อในเดือน ธ.ค.ต่างก็ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากอำนาจการซื้อของผู้บริโภคมีความยืดหยุ่นมากขึ้น หลังราคาพลังงานปรับตัวลง

- ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปีปิดเพิ่มขึ้นในวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนเทขายพันธบัตรซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ภายหลังจากที่ตลาดหุ้นโตเกียวปรับตัวสูงขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรหมายเลข 336 ซึ่งเป็นมาตรวัดอัตราดอกเบี้ยระยะยาว ปิดที่ 0.350% เพิ่มขึ้น 0.005% จากระดับปิดเมื่อวานนี้ ขณะที่ราคาสัญญาพันธบัตรอายุ 10 ปี ส่งมอบเดือน มี.ค.ลดลง 0.12 จุด แตะระดับ 147.54 ที่ตลาดหุ้นโอซาก้า

- สำนักงานสถิติแห่งชาติฝรั่งเศส(Insee) เผยความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคการผลิตของฝรั่งเศสเดือน ธ.ค.ทรงตัวที่ระดับ 99 ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน พ.ย. โดยกลุ่มผู้ผลิตชั้นแนวหน้าระบุว่ามีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ขณะที่มองว่าการผลิตมีแนวโน้มหยุดนิ่ง

- สมาคมแลกเปลี่ยนทองคำและเงินของจีน เผยราคาทองคำที่ตลาดฮ่องกงปิดทรงตัวที่ระดับ 11,090 ดอลลาร์ฮ่องกง/ตำลึงในวันนี้ ราคาดังกล่าวเทียบเท่ากับ 1,201.18 ดอลลาร์สหรัฐ/ทรอยออนซ์

อินโฟเควสท์ โดย ธนวัฏ เสือแย้ม/นิศารัตน์ โทร.02-2535000 ต่อ 322 อีเมล์: nisarat@infoquest.co.th--

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

10862630_10152974461467450_7174076854495017951_o.jpg

 

สวัสดีวันจันทร์

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 22 ธันวาคม 2557 06:43:08 น.

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 19 ธ.ค.2557

 

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อวันศุกร์ (19 ธ.ค.) ซึ่งเป็นการปิดในแดนบวกติดต่อกัน 3 วันทำการ เนื่องจากนักลงทุนยังคงขานรับถ้อยแถลงในการประชุมครั้งล่าสุดของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ส่งสัญญาณว่า เฟดสามารถ "อดทนรอ" ในเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

 

 

ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 17,804.80 จุด เพิ่มขึ้น 26.65 จุด หรือ +0.15% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,765.38 จุด เพิ่มขึ้น 16.98 จุด หรือ +0.36% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,070.65 จุด เพิ่มขึ้น 9.42 จุด หรือ +0.46%

 

-- ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเมื่อวันศุกร์ (19 ธ.ค.) เพราะได้แรงหนุนจากการดีดตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มพลังงาน อย่างไรก็ตาม ภาวะการซื้อขายเป็นไปอย่างผันผวน เนื่องจากนักลงทุนบางส่วนได้เข้ามาเทขายทำกำไรหลังจากตลาดพุ่งขึ้นแข็งแกร่งเมื่อวันพฤหัสบดี อันเนื่องมาจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่าจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวขึ้น 0.4% ปิดที่ 340.3 จุด

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,241.65 จุด ลดลง 7.84 จุด หรือ -0.18% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,786.96 จุด ลดลง 24.10 จุด หรือ -0.25% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,545.27 จุด เพิ่มขึ้น 79.27 จุด หรือ +1.23%

 

-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดพุ่งขึ้นเมื่อวันศุกร์ (19 ธ.ค.) เพราะได้รับปัจจัยบวกจากการที่นักลงทุนเข้าซื้อหุ้นกลุ่มธนาคารและกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์

ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ปิดที่ 6,545.27 จุด เพิ่มขึ้น 79.27 จุด หรือ +1.23%

 

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อวันศุกร์ (19 ธ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้ามาช้อนซื้อเก็งกำไร หลังจากสัญญาน้ำมันดิบร่วงลงกว่า 2 ดอลลาร์เมื่อวันพฤหัสบดี

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนม.ค.พุ่งขึ้น 2.41 ดอลลาร์ ปิดที่ 56.52 ดอลลาร์/บาร์เรล

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.พ.พุ่งขึ้น 2.11 ดอลลาร์ ปิดที่ 61.38 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อวันศุกร์ (19 ธ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงขานรับธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่า เฟดสามารถอดทนรอในเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม สัญญาทองคำปรับตัวขึ้นในกรอบที่จำกัด เพราะตลาดได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.เพิ่มขึ้น 1.2 ดอลลาร์ หรือ 0.10% ปิดที่ 1,196 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 9.6 เซนต์ ปิดที่ 16.030 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนม.ค.ร่วงลง 10 เซนต์ ปิดที่ 1,197.00ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.พุ่งขึ้น 12.95 ดอลลาร์ ปิดที่ 805.10 ดอลลาร์/ออนซ์

 

-- สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ (19 ธ.ค.) หลังจากนายจอห์น วิลเลียมส์ ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโกได้ออกมาแสดงความคิดเห็นว่า เฟดควรจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงกลางปีหน้า

ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 119.51 เยน จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 118.81 เยน และแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9842 ฟรังค์ จากระดับ 0.9800 ฟรังค์

ยูโรอ่อนค่าลงแตะระดับ 1.2225 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.2283 ดอลลาร์สหรัฐ เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะระดับ 1.5636 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5670 ดอลลาร์สหรัฐ และดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงแตะระดับ 0.8142 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8157 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 17,804.80 จุด เพิ่มขึ้น 26.65 จุด +0.15%

ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,765.38 จุด เพิ่มขึ้น 16.98 จุด +0.36%

ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 2,070.65 จุด เพิ่มขึ้น 9.42 จุด +0.46%

 

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,545.27 จุด เพิ่มขึ้น 79.27 จุด +1.23%

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,786.96 จุด ลดลง 24.10 จุด -0.25%

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,241.65 จุด ลดลง 7.84 จุด -0.18%

 

ดัชนี ALL ORDINARIES ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,312.70 จุด เพิ่มขึ้น 123.00 จุด +2.37%

ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,338.60 จุด เพิ่มขึ้น 127.80 จุด +2.45%

ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันปิดที่ 8,999.52 จุด เพิ่มขึ้น 120.89 จุด +1.36%

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดที่ 17,621.40 จุด เพิ่มขึ้น 411.35 จุด +2.39%

ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 1,929.98 จุด เพิ่มขึ้น 32.48 จุด +1.71%

ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดที่ 3,108.60 จุด เพิ่มขึ้น 51.07 จุด +1.67%

ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 7,125.63 จุด เพิ่มขึ้น 96.35 จุด +1.37%

ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 23,116.63 จุด เพิ่มขึ้น 284.42 จุด +1.25%

ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 5,144.62 จุด เพิ่มขึ้น 31.27 จุด +0.61%

ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 3,279.53 จุด เพิ่มขึ้น 35.88 จุด +1.11%

ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดที่ 1,715.99 จุด เพิ่มขึ้น 16.04 จุด +0.94%

ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 27,371.84 จุด เพิ่มขึ้น 245.27 จุด +0.90%

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย นรินรัตน์ พรหมพิทักษ์/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

07:59 ภาวะตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ CBOT: สัญญาธัญพืชปิดลบ จากแรงขายทำกำไร ภาวะตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ CBOT เมื่อคืนวันศุกร์ (19 ธ.ค.) สัญญาสินค้าโภคภัณฑ์เกษตร…

07:47 รายงานการซื้อขายหุ้นผ่าน NVDR ประจำวันที่ 19 ธ.ค. 2557 สรุปภาพรวมการซื้อขายหุ้นผ่าน NVDR ประจำวันที่ 19 ธันวาคม 2557 พบว่ามีมูลค่าการซื้อสุทธ…

07:39 รายงานหุ้นถูกชอร์ตเซล ประจำวันที่ 19 ธ.ค. 2557 หลักทรัพย์ ปริมาณหุ้นที่ มูลค่าการ %ปริมาณการขายชอร์ต ขายซอร์ต ขายชอร์ต เทียบกับปริมาณการซื้อข…

07:38 ภาวะตลาดหุ้นโตเกียว: นิกเกอิเปิดพุ่ง 64.13 จุด ขานรับดาวโจนส์บวก ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวเปิดตลาดปรับตัวขึ้น 64.13 จุด หรือ +0.36% แตะที่ …

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รายการ Morning Talk วิเคราะห์แนวโน้มฟิวเจอร์ส วันจันทร์ ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2557 โดย ฝ่ายวิจัย บริษัท คลาสสิก โกลด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

thaipr.jpg

สรุปราคาซื้อขายทองคำ และ Gold Futures ภายในประเทศ ณ วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2557เวลา 9.00 น.

ข่าวหุ้น-การเงิน ThaiPR.net -- จันทร์ที่ 22 ธันวาคม 2557 10:21:14 น.

กรุงเทพฯ--22 ธ.ค.--MTS Gold Group

 

ราคาทองคำเปิดตลาดที่ระดับ 1,197 เหรียญ/ออนซ์ และกลับมาปิดช่วงกลางคืนที่ระดับ 1,197เหรียญ/ออนซ์ (22.30น.) ค่าเงินบาทปิด 32.84 บาท/ดอลลาร์ ราคาสมาคมเปิดที่ 18,600 บาท กับ 18,700 บาท และกลับมาปิดที่ 18,550 บาท กับ 18,650 บาท

ปริมาณการซื้อขาย Gold Futures 50 บาทอยู่ที่ 893 คู่สัญญา แบบ 10 บาทอยู่ที่ 4,202 คู่สัญญา Open Interest แบบ 50 บาท ลดลง 5.66 % แบบ 10 บาท ลดลง 0.29% GFZ14 ปิด 18,740 บาท และ GFG14 ปิด 18,840 บาท GF10Z14 ปิดที่ 18,740 บาท GF10G14 ปิดที่ 18,840 บาท

 

 

สัญญา Comex เพิ่มขึ้น 1.2 ดอลล่า ปิดที่ระดับ 1,196 ดอลลาร์/ออนซ์ NYMEX เพิ่มขึ้น 2.41 ดอลลาร์ ปิดตลาดที่ระดับ 56.52 ดอลลาร์/บาร์เรล SPDR ถือครองทองคำอยู่ที่ระดับ 724.55 ตัน ( ซื้อเข้า 2.99 ตัน )

 

ข่าวที่สำคัญ

-นักวิเคราะห์จากรอยเตอร์ส ระบุว่า ทองคำปิด +0.10% ที่ระดับ 1,196 เหรียญ/ออนซ์ โดยปัจจัยกดดันหลักสำหรับตลาดทองคำยังคงเป็นค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่เห็นความชัดเจนมากขึ้นถึงโอกาสที่เฟดจะเริ่มต้นปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีหน้า

-นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ คาดการณ์ว่า ปริมาณการซื้อขายในสัปดาห์นี้จะค่อนข้างเบาบาง และราคาทองคำน่าจะทรงตัวบริเวณ 1,200 เหรียญ +/- เนื่องจากใกล้เข้าสู่ช่วงวันหยุดยาวต่อเนื่อง 2 สัปดาห์ ในเทศกาลคริสมาสต์และเทศกาลปีใหม่ และมีโอกาสที่เราจะเห็นราคาทองคำจะค่อยๆปรับตัวลงไปทดสอบบริเวณ 1,000 เหรียญ/ออนซ์ ในปี 2015

-นักวิเคราะห์ค่าเงินจาก Forexlive กล่าวว่า ขณะที่สถานการณ์ทางการเงินของรัสเซียยังคงเป็นที่น่าติดตาม เนื่องจากยังคงมีความเป็นไปได้สูงที่รัสเซียจะตัดสินใจเริ่มต้นเทขายทองคำที่สำรองไว้ในปีหน้า เพื่อสนับสนุนค่าเงินรูเบิลและเศรษฐกิจของประเทศ

-ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าสู่ระดับ 1.2225 ยูโร/ดอลลาร์ จากระดับ 1.2283 ยูโร/ดอลลาร์ ขณะที่เช้าวันนี้ทรงตัวบริเวณ 1.2230 ยูโรต่อดอลลาร์ หลังจากที่นายจอห์น ซี. วิลเลียม ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโก กล่าวสนับสนุนให้เฟดพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงกลางปีหน้า

-โดยประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโก ระบุว่า ในช่วงเดือนมิถุนายน 2015 จะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่เฟดจะเริ่มต้นขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งเมื่อพิจารณาจากการขยายตัวที่ดีขึ้นเกินคาดของตัวเลขการจ้างงาน จะพบว่าการจ้างงานโดยรวมของสหรัฐฯจะสามารถขยายตัวได้อย่างเต็มรูปแบบในช่วงสิ้นปี 2015

-ขณะที่ นายเจฟฟรี แลคเกอร์ ประธานเฟดสาขาริชมอนด์ ระบุว่า โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าเฟดจะเริ่มต้นปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า เนื่องจากข้อมูลทางเศรษฐกิจสหรัฐฯโดยภาพรวมมีการฟื้นตัว และตลาดแรงงานยังคงมีแนวโน้มที่แข็งแกร่ง

-รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของเยอรมนี แสดงความกังวลต่อการใช้มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียของกลุ่มอียูในระดับที่รุนแรงขึ้น เพราะอาจทำให้เศรษฐกิจรัสเซียเผชิญกับภาวะไร้เสถียรภาพและอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ซึ่งหากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของรัสเซียรุนแรงขึ้นก็จะเป็นเรื่องยากที่จะควบคุม

-ด้านนาง เอลวิรา นาบิอัลลินา ฝ่ายปกครองของธนาคารกลางรัสเซียเผยว่า ค่าเงินรูเบิลฟื้นตัวขึ้น 4% กลับมาแข็งค่าสู่ระดับ 59.14 รูเบิล/ดอลลาร์ หลังจากที่ธนาคารกลางทำการอัดฉีดเม็ดเงินกว่า 38.8% เป็นจำนวน 1.5 แสนล้านรูเบิล (2.5 พันล้านดอลลาร์) เพื่อกระตุ้นให้อุปสงค์พันธบัตรรัฐบาลเงินฝากเฉลี่ย 10 วันเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงได้รับแรงสนับสนุนจากกระแสเงินสดที่เข้ามาหลังจากที่ธนาคารกลางประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับสูงสุด 17%

-สำหรับสถานการณ์ในอิรักและซีเรียยังคงมีการปะทะกันอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ในช่วงวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยข้อมูลล่าสุดเมื่อวานนี้ระบุว่า กลุ่มจิฮัดจ์ ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของกลุ่ม IS ได้เข้าปะทะกับกองกำลังทหารของอิรักอีกครั้ง โดยมีจุดมุ่งหมายในการปิดล้อมโรงกลั่นน้ำมันไบยี (Biyi) ทางบริเวณตอนเหนือของเมืองซาลาดินอีกครั้ง ซึ่งจากการปะทะกันที่ผ่านมาทำให้กลุ่มก่อการร้ายสามารถยึดโรงกลั่นบริเวณใกล้เคียงได้แล้วบางส่วน

-ตลาดหุ้นดาวโจนส์ยังคงปิดแดนบวกติดต่อกัน 3 วันทำการ โดยคืนวันศุกร์ปิด +0.15% ซึ่งยังคงขานรับกับถ้อยแถลงเฟดที่ยังคงอดทนรอ และยังไม่เร่งรีบในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวได้ 3%

-นักบริหารเงิน ประเมินว่า ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.75 – 33.00 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อย จากปริมาณการซื้อขายที่เบาบาง สวนทางกับค่าเงินภูมิภาคที่อ่อนค่า

-ธปท. เผยถึงสถานการณ์ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าในปัจจุบันว่า ยังไม่มีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ และยังไม่พบการเก็งกำไรค่าเงิน แต่หากเกิดความผิดปกติขึ้น ทาง ธปท. มีมาตรการที่พร้อมรองรับ เพื่อให้เงินบาทเป็นไปตามกลไกตลาดและสอดคล้องกับเศรษฐกิจพื้นฐาน

 

ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญเมื่อคืนวันศุกร์

- ไม่มีตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ

 

ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญในคืนนี้

- Existing Home Sales ตัวเลขเดิมอยู่ที่ระดับ 5.26M ตัวเลขที่คาดการณ์อยู่ที่ระดับ 5.21M

 

ทิศทางราคาทองคำ

สภาพตลาดทองคำยังคงเคลื่อนไหวในกรอบแคบ โดยที่ค่าเงินดอลลาร์เองยังอยู่ในทิศทางแข็งค่าเมื่อเทียบกับยูโรและเยน โดยล่าสุดค่าเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.2228 ยูโร/ดอลลาร์ ขณะที่ค่าเงินเยนอยู่ที่ระดับ 119.45 เยน/ดอลลาร์ ขณะที่ราคาทองคำเองโดยทั่วไปยังคงเคลื่อนตัวในกรอบ 1,190 – 1,205 เหรียญ ยังเคลื่อนตัวในกรอบแคบ ขณะที่ค่าเงินบาทเองแข็งค่าขึ้นสู่ในกรอบ 32.80 – 32.90 บาท/ดอลลาร์ โดยทั่วไปราคาทองคำยังคงเคลื่อนตัวในกรอบแคบ ซึ่งตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐอเมริกาในคืนนี้ ได้แก่ Existing Home Sales คาดว่าจะออกมาแย่ลงเล็กน้อย ซึ่งยังคงต้องจับตาตัวเลขเศรษฐกิจและค่าเงินดอลลาร์ต่อไป ทางด้าน SPDR ซื้อทองคำเพิ่มในวันศุกร์ที่ผ่านมาอีก 2.99 ตัน ปัจจุบันถือครองทองคำที่ระดับ 724.55 ตัน

 

วิเคราะห์ราคาทองคำทางเทคนิค

ในเชิงเทคนิคราคาทองคำระยะสั้นเคลื่อนไหว Sideways โดยมีกรอบแนวต้านสำคัญบริเวณ 1,205 และ 1,210 เหรียญ และยังคาดว่าวันนี้ราคาทองคำจะเคลื่อนตัวในกรอบแคบต่อไป จนกว่าจะมีตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญในการผลักดันราคาทองคำ ในระยะยาวยังเป็นแนวโน้มทิศทางขาลง

 

กลยุทธ์การลงทุนในวันนี้

แนะนำให้เก็งกำไรในกรอบแคบดังกล่าวระหว่าง 1,185 – 1,205 เหรียญ ถ้าหลุด 1,185 เหรียญ ให้Follow Break กรณีเด้งขึ้นไปยังแนะนำให้ทำ Short มากกว่า Follow Buy

*อย่างไรก็ดี Gold Futures Z14 จะหมดอายุลงในวันที่ 29 ธ.ค. 57 จึงแนะนำให้นักลงทุนหันไปถือครองสถานะของ Gold Futures G15 แทน

 

- นักลงทุนที่ถือ Long Position และ นักลงทุนที่ถือ Short Position

ซื้อขายเก็งกำไรในกรอบแคบ เข้า-ออกไว

 

กลยุทธ์สำหรับนักลงทุน Weekly Trading

ยังเป็นแนวโน้มทิศทางขาลง

 

Gold Futures Z14 จะมีแนวรับที่ระดับ 18,610 บาท และแนวต้านที่ระดับ 18,810 บาท

Gold Futures G15 จะมีแนวรับที่ระดับ 18,740 บาท และแนวต้านที่ระดับ 18,940 บาท

 

บทวิเคราะห์ข้างต้น ยึดหลักตาม Technical Analysis บริษัทไม่ได้มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ต่อการวิเคราะห์ข้างต้นและโปรดระลึกเสมอว่าการลงทุนมีความเสี่ยงโปรดใช้วิจารณญาณในการลงทุนด้วยตัวของท่านเอง

10:26 (เพิ่มเติม) ดัชนี SET ต้นภาคเช้าพุ่งกว่า 10 จุด ตอบรับราคาน้ำมันรีบาวด์ ตลาดหุ้นไทยต้นภาคเช้าพุ่งไปกว่า 10 จุด ตอบรับราคาน้ำมันในตลาดโลกรีบาว…

10:13 IFEC ลบ 4.24% วอลุ่มคึกคักหลังหุ้นเพิ่มทุนต้นทุนแค่ 6 บ.เข้าเทรดวันแรก หุ้น IFEC ราคาไหลลง 4.24% มาอยู่ที่ 11.30 บาท ลดลง 0.50 บาท มูลค่าซื้อ…

10:12 (เพิ่มเติม) ปฏิทินหุ้น ประจำวันที่ 22 ธ.ค. 2557 21ต.ค. 25ธ.ค. CGS เสนอซื้อ 2,589,743,484 หุ้น สัดส่วน 1:1 ธันวาคม 2557 11ธ.ค. 16ก.พ.58 SCBLIF…

10:09 ดัชนี SET ต้นภาคเช้าพุ่งกว่า 10 จุด ตอบรับราคาน้ำมันรีบาวด์ ตลาดหุ้นไทยต้นภาคเช้าพุ่งไปกว่า 10 จุด ตอบรับราคาน้ำมันในตลาดโลกรีบาวด์ส่งผลให้ตล…

10:02 ภาวะตลาดหุ้นโตเกียว: นิกเกอิปิดเช้าบวกแค่ 0.26 จุด จากแรงขายทำกำไร ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวปิดภาคเช้าวันนี้ในแดนบวก เพราะได้แรงหนุนจากการป…

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

10865778_10152976313202450_2797579926849731909_o.jpg

 

10411204_10152976313182450_8864097699958462860_n.jpg?oh=b8dbe15b517fd9e79a32a64dcdfd6658&oe=54FC4FBB&__gda__=1426469462_bb8a9c1e1bb5139e0ad93bb4506464c1

 

10520899_10152976313252450_2130238390505181736_n.jpg?oh=71c293016f53ec70cc6406f9ceb6a086&oe=553CEC5C

บรรยากาศ ณ โรงพยาบาลศิริราช ขุนพลนักเตะช้างศึกเข้าถวายพระพรในหลวง /ภาพ นรินทร์ เครือคล้าย ‪#‎NationPhoto‬ ‪#‎NationTV‬

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

 

 

 

Thanong Fanclub

16 mins ·

 

12. สหรัฐฯเรียกหาความพ่ายแพ้ในWW3

Brandon Smithแห่งAlt-Market เชื่อว่าพวกโลกานิยม (globalists)คุมระบบการเงินโลกผ่านการผูกขาดธนาคารระหว่างประเทศ โดยที่ทั้ง Bank for International Settlements, IMFหรือแม้กระทั่งUS Federal Reserveก็ทำงานให้กลุ่มคนเหล่านี้ นายแบงค์ยักษ์และนายธนาคารกลางเป็นเพียงเครื่องมือของพวกโลกานิยมในการทำงานให้ระบบการเงินไปในทิศทางที่พวกเขาต้องการ

ถ้าเป็นเช่นนี้ การที่สหรัฐฯมีเรื่องกระทบกระทั่งกับรัสเซียเป็นแค่หน้าฉาก หลังฉากคือการที่พวกโลกานิยมกำลังดิ้นรนที่จะรักษาอำนาจในการคุมระบบการเงินโลกที่กำลังเสื่อมลงต่อไป และกันท่าทุกอย่างไม่ให้ระบบการเงินใหม่ที่อิงมาตรฐานทองคำของจีนและรัสเซีย หรือกลุ่มBRICSเกิดขึ้นมาได้ อันนำไปสู่การสั่งการให้นักการเมืองสหรัฐฯคว่ำบาตรรัสเซียทางการเงินและเศรษฐกิจ และเพิ่มแรงแดดันทางด้านการทหารต่อรัสเซีย

ถามว่ารัสเซียรู้หรือไม่ว่าพวกโลกานิยมอยู่เบื้องหลังความเลวร้ายทั้งหมดของระบบการเงินโลก คำตอบคือรู้ แต่ต้องเล่นไปตามเกมไปก่อน

อีกคำถามหนึ่งคือว่าพวกโลกานิยมกลัวตายไหม คำตอบคือกลัวตายแน่นอน และกลัวชาวโลกจะรู้ความจริง เพราะว่าทำคนอื่นหรือกับโลกมามากต่อมากแล้วในการไฟแนนซ์สงครามและทำลายประเทศต่างๆผ่านการปฏิวัติเพื่อการครอบงำผ่านลัทธิล่าอาณานิคมสมัยใหม่ที่ซ่อนรูปแยบยล

คำถามอีกต่อไปคือมีความเป็นไปได้ไหมที่พวกอิลิทนี้จะตกลงกับรัสเซียและจีนเพื่อขอแบ่งอำนาจในการดูแลระบบการเงินโลกต่อไป เพราะรู้ว่าไม่มีทางสู้จีนและรัสเซียได้ทั้งทางการเงินที่เพลี้ยงพล้ำไปแล้วจากวิกฤติ2008 และทางทหารที่รบกันไปอาจจะตายให้สองฝ่ายหมดประชากรหมดโลกไปเลย คำตอบคือมีความเป็นไปได้ แต่จีนหรือรัสเซียจะเล่นด้วยไม่ทราบ

การเคลื่อนไหวล่าสุดของทางกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือIMFชี้ให้เห็นว่า IMFกำลังจะไม่เอาสหรัฐฯ มีความพยายามในการปฏิรูปIMFตั้งแต่ปี2010 ด้วยการเพิ่มโควต้าการโหวตในองค์กรการเงินระหว่างประเทศนี้ให้กับประเทศเกิดใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้จีนมีสิทธิ์มีเสียงมากยิ่งขึ้น เพราะว่าเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่รวมกันใหญ่เท่าเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วรวมกันแล้ว แต่ปรากฎว่านักการเมืองสหรัฐฯบ่ายเบี่ยงเรื่องนี้มาตลอด รัฐสภาสหรัฐฯต้องอนุมัติเงินสมทบในการเพิ่มทุนให้IMFอีกด้วยที่ต้องการเพิ่มทุนจาก$300,000กว่าล้านเป็น$700,000กว่าล้าน เพราะว่าไอเอ็มเอฟเล็งแล้วว่าต้องมีประเทศจะเจอวิกฤติต้มยำกุ้งเหมือนประเทศไทยในปี1997อีกมาก จึงต้องหาเงินทุนหนาๆเอาไว้ก่อน จีนพร้อมที่จะใส่เงินเข้าIMFเพื่อยึดเลย แต่สหรัฐฯตีกันเพราะว่าสหรัฐฯมีสิทธิ์วีโต้ในองกรค์นี้ ไม่ต้องการให้จีนมาเป็นใหญ่ แต่ในขณะเดียวกันตัวเองก็ไม่ยอมจ่ายเงินเพิ่มทุนเพิ่ม เรื่องเลยคาราคาซังมาตลอด จนประเทศต่างๆเอือมนิสัยเอาแต่ได้ของสหรัฐฯ

ล่าสุดในช่วงเดือนธันวาคมนี้ ทางสภาคอนเกรซของสหรัฐฯมีการผ่านกฎหมายCromnibus spending bill มีเม็ดเงินทั้งหมด$1.1ล้านล้านเพื่อใช้จ่ายในปีงบประมาณ2015 ปรากฎว่าคอนเกรซที่คุมเสียงข้างมากโดยพวกรีพับรีแกนไม่ยอมโหวตงบประมาณส่วนเพิ่มทุนให้IMF แต่ให้งบทหารถึง$500,000กว่าล้านเพื่อเตรียมพร้อมทำศึกใหญ่ และมีบทเฉพาะกาลที่จะอุ้มธนาคารWall Streetในกรณีที่เล่นตราสารอนุพันธ์$303ล้านล้านเสียหาย ที่น่าประหลาดใจคือโอบามามีจุดยืนเหมือนกันกับนักการเมืองฝ่ายรีพับรีแกนในเรื่องงบประมาณComnibus spending billนี้ โดยพยายามล๊อบบี้ให้นักการเมืองเดโมแครทให้เห็นชอบ ทั้งๆที่เดโมแครทส่วนใหญ่ไม่เอาด้วย การเมืองหรือประชาธิปไตยของสหรัฐฯเละเทะถึงจุดต่ำสุดเมื่อปรากฎว่าCitiGroupเป็นผู้ร่างบทเฉพาะกาลที่จะอุ้มแบงค์Wall Streetในกรณีที่เจ๊งจากอนุพันธ์ที่ตัวเองเล่นอยู่$303ล้านล้าน และทางนายJamie Dimon ผู้เป็นCEOของJP Morgan Chase ซึ่งเป็นธนาคารที่ใหญที่สุดของสหรัฐฯได้ทำการล๊อบบี้ สส เดโมแครทให้สนับสนุนร่างงบประมานฉบับนี้เพื่ออุ้มแบงค์Wall Street

หลังจากสภาสหรัฐฯปฏิเสธที่จะโหวตเพิ่มทุนให้IMF Christine Lagardeกรรมการผู้จัดการใหญ่ของIMFออกมาแถลงเลยว่าจะหาทางอื่นในการเพิ่มทุนIMFโดยไม่รอสหรัฐฯอีกต่อไป โดยจะทำการปรึกษากับสมาชิกประเทศอื่นๆในช่วงเดือนมกราคมนี้ พูดง่ายๆจะขอตัดหางปล่อยวัดสหรัฐฯแล้วที่ไม่ให้ความร่วมมือ แต่ปัญหาคือสหรัฐฯมีสิทธิ์วีโต้ในIMF ถ้าวีโต้ไม่ยอมให้เพิ่มทุน หรือไม่ยอมสูญเสียอำนาจวีโต้จะเกิดอะไรขึ้น คงจะมั่วน่าดู

แต่มองอีกแง่หนึ่งนักการเมืองรีพับรีแกนเล่นตามเกมของอิลิทหรือไม่?

Brandon Smithมองเกมว่า พวกอิลิทต้องการคุมระบบการเงินโลกผ่านการมีธนาคารกลางโลกเพียงธนาคารกลางเดียวผ่านIMF และมีเงินสกุลหลักของโลกเพียงสกุลเดียวผ่านเงินSpecial Drawing RightsของIMF เพราะฉะนั้น ทั้งดอลล่าร์ รัฐบาลสหรัฐฯหรือUS Federal Reserve หรือการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯไม่ได้อยู่ในสายตาของพวกอิลิทถ้าสามารถผลักดันให้IMFเป็นธนาคารกลางของโลกและพิมพ์เงินSDRให้ทั่วโลกใช้ได้ ความจริงดอลล่าร์ต้องถูกทำลายด้วยซ้ำเพราะว่าหมดประโยชน์แล้ว เพื่อจะให้SDRแจ้งเกิด

Jim Rickardsผู้แต่งThe Death of Money หรือCIA การเงินของสหรัฐฯมีท่าทีสนับสนุนแนวทางนี้มาตลอด โดยส่งสัญญานว่าดอลล่าร์จะล่มในไม่ช้า และเฟดจะต้องโดนยำเละที่ทำให้ระบบการเงินล่ม แต่IMFจะมากู้สถานการณ์ด้วยการพิมพ์เงินSDRมาเพิ่มทุนแบงค์ หรืออัดสภาพคล่องเข้าไปในระบบการเงินโลก เพราะว่างบดุลของIMFยังใหญ่พอที่จะอุ้มระบบการเงินโลก ในขณะที่เฟดอุ้มระบบการเงินสหรัฐฯไปแล้วเกือบ$4ล้านล้าน ไม่สามารถจะleverageงบดุลเพื่ออุ้มวิกฤติดอลล่าร์ในรอบต่อไปได้

ปูตินได้พูดชัดเจนว่ามีความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูประบบการเงินโลก เพราะว่าระบบปัจจุบันไม่แฟร์สำหรับประเทศBRICSและเศรษฐกิจใหม่ๆ และประเทศBRICSต้องมีบทบาทมากขึ้นในการปฏิรูปและบริหารIMFและWorld Bank ระบบการเงินโลกในปัจจุบันที่พึ่งพาเงินดอลล่าร์ทำให้ทุกอย่างขึ้นอยู่กับนโยบายการเงินของเจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ ประเทศBRICSเห็นว่าได้เวลาของการเปลี่ยนแปลงแล้ว

เป็นไปได้หรือไม่ที่พวกอิลิทกำลังพยายามตกลงลับๆกับรัสเซียและจีนในการแบ่งอำนาจกันในIMFเพื่อว่าตัวเองจะได้มีส่วนในการคุมระบบการเงินโลกต่อไป แต่จะทำอย่างนั้นได้ สหรัฐฯต้องโดนบูชายัญเป็นข้อแลกเปลี่ยน หรือว่าการเร่งให้สหรัฐฯทำสงครามกับรัสเซียเป็นกลลวง ในขณะที่ภายในประเทศสหรัฐฯมีเรื่องการเหยียดผิว ปัญหาชนชั้น และความเหลื่อมล้ำที่กำลังถูกสร้างขึ้นมา เพื่อนำไปสู่วิกฤติภายในประเทศ ถ้าประชาชนแตกแยกอย่างนี้จะเข้าสู่สงครามได้อย่างไร ไม่เหมือนรัสเซียและจีนที่มีเอกภาพและวินัยของประชาชนมากกว่า

เอาเข้าจริงเมื่อต้องเผชิญหน้ากับรัสเซีย แล้วสหรัฐฯจะถูกพวกอิลิทลอยแพให้แพ้เพื่อโดนรุมยำ เพื่อเป็นข้อแลกเปลี่ยนให้ตัวเองอยู่รอด

แต่รัสเซียและจีนจะเอาหรือ เพราะว่าเกมนี้ใครชนะจะกินเรียบ ไม่มีการแบ่ง เกมกำลังเข้มข้น ต้องจับตาดูอย่างไม่กระพริบ

thanong

22/12/2014

http://www.alt-market.com/…/2444-imf-now-ready-to-slam-the-…

 

 

 

 

1506266_303496733180041_7346751463419828621_o.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...