ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

รายการ Morning Talk วิเคราะห์แนวโน้มฟิวเจอร์ส วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ.2557 โดย ฝ่ายวิจัย บริษัท คลาสสิก โกลด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

Thanong Fanclub

23 minutes ago

 

39. ความผิดปกติที่กลายเป็นเรื่องปกติในระบบการเงินโลก

 

ช่วงนี้อีกสองสามสัปดาห์ รัสเซียยังพอมีเวลาหายใจ ต้องทำอะไรบางอย่างที่จะสลัดรูเบิ้ลออกจากการพันธนาการของดอลล่าร์ให้ได้ มีทางเดียวเท่านั้นสำหรับปูตินในชั่วโมงนี้คือหาหน้าเข้าหาจีนในการหาแหล่งเงินกู้ระยะสั้นเพื่อหล่อเลี้ยงระบบการเงิน เพราะว่ารัสเซียเจอเงินไหลออก เหมือนเลือดที่ไหลออกจากร่างกายไม่หยุด และเลือดใหม่ที่จะเติมเข้ามาถูกธนาคารตะวันตกบล๊อคหมด

 

เถ้าแก่สีกระเป๋าหนา มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ$4ล้านล้านและมีทองคำมากที่สุดในโลก อาจจะมีถึง16,000ตันไปแล้ว ได้เวลาที่ปูตินจะทิ้งดอลล่าร์แล้ว ยิ่งอยู่ในระบบดอลล่าร์ยิ่งจะล่มจม เพราะว่าเกมจะอยู่ในมือสหรัฐฯผู้พิมพ์ดอลล่าร์ผู้แจกสภาพคล่อง สหรัฐฯจะให้ดอลล่าร์ใครผู้นั้นก็รวยฟู่ฟ่า จะชักดอลล่าร์กลับผู้นั้นก็ตายอย่างเขียด จะเกิดการผิดชำระหนี้ สภาพคล่องตึงตัว ระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจพัง

 

เถ้าแก่สีรู้ตัวดีเหมือนกันว่า ถ้าหากรัสเซียล้ม เป้าต่อไปที่พวกสหรัฐฯและยุโรปจะเล่นคือจีน ถ้าจับมือกับปูตินพอสู้ได้ ถ้าเดี่ยวๆคงจะลำบากเหมือนที่ปูตินกำลังโดนยำใหญ่สาระพัดเวลานี้ ทางออกร่วมกันคือความร่วมมือทางการเงินระหว่างหยวนและรูเบิ้ลในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่ผนึกกันให้แกร่ง โดยมีทองคำของจีนและทรัพยากรน้ำมันของรัสเซียเป็นหลักทรัพย์ค้ำหนุน โดยมียูเรเซียเป็นตลาดใหม่ที่จะสร้างขึ้นมาให้เป็นเศรษฐกิจหลักของโลก ถ้าต้องเลิกค้ากับตลาดตะวันตก และทิ้งดอลล่าร์ไปเลยให้หมดพอร์ตต้องอยู่ให้ได้

 

การทำเช่นนี้ จะสร้างความแตกต่างและจะมีการเปรียบเทียบระหว่างระบบการเงินดอลล่าร์กระดาษกงเต๊กและระบบการเงินหยวน/รูเบิ้ลที่มีทั้งทองและทรัพยากรน้ำมันหนุนอย่างใหนจะมั่นคง หรือน่าเชื่อถือมากกว่ากัน ประเทศบริวารดอลล่าร์ทั้งหลาย โดยเฉพาะในเอเซียจะเริ่มมีการปรับตัวเข้าร่วมด้วย และจะเป็นฐานให้BRICSเติบโตต่อไป

 

ถ้าทำได้กลุ่มโอเปคจะอั้นราคาน้ำมันที่ตกต่ำได้ไม่นาน ต้องหาเหตุให้ราคาน้ำมันกลับไปสู่ระดับที่เป็นจริงมากกว่านี้ เมื่อนั้นรัสเซียถึงจะกลับมาหายใจได้ตามปกติ สงครามการเงินเข้มข้นขึ้นทุกวันระหว่างรัสเซียผู้ตั้งรับและสหรัฐนผู้เปิดเกมรุกก่อน และเป็นเงาที่มาก่อนสงครามโลก

 

thanong

17/12/2014

 

10801771_301527173376997_324751112435922710_n.jpg?oh=27a8924e9bf558514e56aa2fc628f360&oe=5547F5B0

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

by CLASSIC GOLD GROUP

 

 

 

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

Thanong Fanclub

9 hours ago

 

38. ความผิดปกติที่กลายเป็นเรื่องปกติในระบบการเงินโลก

 

ช่วงก่อนเทียงวันอังคาร พวกโบรกเก้อร์ค้าเงินบอกลูกค้าว่าให้ปิดบัญชีเทรดดอลล่าร์/รูเบิ้ลเพราะว่าธนาคารตะวันตกได้ยกเลิกการตั้งราคาเทรดดอลล่าร์/รูเบิ้ลไปแล้ว ไม่มีอะไรจะอ้างอิงต่อ ด้วยเหตุกลัวกันว่ารัสเซียจะใช้มาตรการควบคุมเงินไหลเข้าไหลออก (capital controls)

 

บัญชีที่เทรดรูเบิ้ลเลยโดนบังคับขายออกมาทำให้ค่าเงินรูเบิ้ลแข็งขึ้นมาบ้างเล็กน้อยชั่วคราวซึ่งเป็นเรื่องทางเทคนิค แต่หลังจากนั้นรูเบิ้ลอ่อนค่าลงต่อเนื่อง เพราะว่าปัจจัยพื้นฐานยังไม่ได้เปลี่ยน

 

แต่สถานการณ์เงินรูเบิ้ลที่ได้ตกต่ำมากๆจะไม่ดีขึ้น แต่จะเลวร้ายลงเพราะว่าระบบแบงค์ของรัสเซียจะเป็นเป้าต่อไปของการถูกโจมตี ธนาคารของตะวันตกจะหยุดทำธุรกรรมการเงิน หรือโอนถ่ายสภาพคล่องให้ธนาคารรัสเซีย ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจของรัสเซียจะเจอวิกฤติหนักหน่วงเป็นทวีคูณขึ้นไปอีก เพราะว่าแบงค์รัสเซียจะช๊อทเงิน เพราะว่ากำลังจะถูกตัดขาดจากระบบแบงค์จากโลกภายนอก

 

ธนาคารอย่างGoldman Sachsได้ปฏิเสธที่จะให้ลูกค้าสถาบันทำธุรกรรมการเงินเป็นรูเบิ้ล แบงค์ตะวันตกอื่นๆเริ่มที่จะเอาอย่างห้ามลูกค้าทำธุรกรรมการเงินที่เป็นรูเบิ้ล แต่ในขณะเดียวกันตัวเองกลับเทรดรูเบิ้ลเพื่อเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข่าวว่าBank of America หรือCitigroupได้หยุดให้บริการธุรกรรมการเงินที่เป็นเงินสกุลรูเบิ้ล

 

สหรัฐฯและสหภาพยุโรปกำลังใช้ระบบแบงค์เพื่อทำลายเศรษฐกิจรัสเซียให้ย่อยยับ ถ้าใครบอกว่านี้ไม่ใช่WW3 แล้วมันคืออะไรกันแน่?

 

thanong

17/12/2014

 

http://www.zerohedge.com/news/2014-12-16/western-banks-cut-liquidity-russian-entities

 

10526053_301521240044257_584416673918856988_n.jpg?oh=f5383ed3dd561ea456612f0426a400d2&oe=553E640B

 

 

 

 

 

 

 

Thanong Fanclub

2 hrs · Edited ·

zF84oovpD-v.png ·

 

40. ความผิดปกติที่กลายเป็นเรื่องปกติในระบบการเงินโลก

ปูตินจะมีทางแก้เกมการเงินอย่างไร หลังจากที่รูเบิ้ลโดนถล่มอย่างไม่ยั้งในช่วงที่ผ่านมา?

เคยเขียนเรื่องนี้มาแล้วช่วงต้นเดือนนี้ เอามาลงให้อ่านกันใหม่ ทางรอดของรูเบิ้ลคือออกจากอิทธิพลดอลลาร์ (de-dollarization) และเลิกอิงรูเบิ้ลกับดอลล่าร์ แต่มาอิงกับทองคำแทน

รัสเซียสามารถเอาเงินรูเบิ้ลไปอยู่ภายใต้มาตรฐานแลกเปลี่ยนทอง (gold exchange standard) โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีทองคำสำรองมาก รัสเซียมีทองอยู่1,200ตัน หรือเทียบเท่า10%ของทรัพย์สินทั้งหมดของธนาคารกลางรัสเซีย ในการเริ่มต้นธนาคารกลางรัสเซียสามารถผูกค่าเงินรูเบิ้ลกับราคาทอง หรือประมาณ60,000รูเบิ้ลต่อหนึ่งออนซ์ทองคำ เรียกว่าราคาทองไปไหน เงินรูเบิ้ลขอเกาะตามไปด้วยอย่างเหนี่ยวแน่น

หลังจากกำหนดค่าเงินรูเบิ้ลกับทอง ณ ระดับใดระดับหนึ่งแล้ว ธนาคารกลางรัสเซียสามารถซื้อขายทองเพื่อรักษาค่าเงินรูเบิ้ลในระดับที่คงที่ แทนที่จะปล่อยลอยตัว ยิ่งไปกว่านั้นธนาคารกลางรัสเซียยังสามารถบริหารสภาพคล่องของรูเบิ้ลได้ด้วยการออกบอนด์ทองที่ให้ผลตอบแทนดอกเบี้ยให้ประชาชนหรือนักลงทุนทั่วไป ซึ่งจะให้ผลตอบแทนดีกว่าถือเงินสดเปล่าๆ การออกบอนด์ในลักษณะนี้จำทำให้ประชาชนรัสเซียได้ผลตอบแทนการลงทุนเป็นดอกเบี้ยที่ผูกกับทอง โดยไม่จำเป็นต้องขึ้นทอง แต่จะให้ผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบี้ยที่ใช้ในการกู้ยืมทองในตลาดลอนดอน

ด้วยวิธีการนี้ รัสเซียจะค่อยๆสร้างสภาพแวดล้อมของระบบการเงินที่มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น และประชาชนจะค่อยๆปรับตัวเองกับภาวะดอกเบี้ยในตลาดการเงินรัสเซียที่สูงมากในขณะนี้ที่17% ในขณะเดียวกันธนารกลางรัสเซียต้องคุมการเติบโตของสินเชื่อให้ดี ไม่ให้ขยายตัวมากเกินไปจนทำให้การบริหารสภาพคล่องรูเบิ้ลเสียหลักไป การออกบอนด์เป็นการดึงเงินออกจากระบบจะทำให้ค่าเงินแข็ง ดอกเบี้ยขึ้น ในทางตรงกันข้าม การซื้อบอนด์กลับเข้าไปในกระเป๋าของธนาคารกลางเป็นการอัดสภาพคล่องเข้าระบบทำให้ค่าเงินอ่อน ดอกเบี้ยลดเหมือนกับที่เฟดของสหรัฐฯทำQE ในขณะเดียวกันนักลงทุนต่างชาติน่าจะสนใจซื้อพันธบัตรที่อิงทองของรัสเซียที่ให้ผลตอบแทนดี โดยไม่จำเป็นต้องขึ้นทอง

ทางธนาคารกลางรัสเซียแทนที่จะขายดอลล่าร์เพื่อซื้อรูเบิ้ลเพื่อปกป้องค่ารูเบิ้ล สามารถเอาเงินดอลล่าร์เพื่อสะสมทองเข้ามาในพอร์ตได้เพื่อช่วยในการบริหารรูเบิ้ลในระบบมาตรฐานแลกเปลี่ยนทอง

ถ้าขายดอลล่าร์ไปเรื่อยๆและได้ทองเพิ่มเรื่อยๆมาช่วยบริหารรูเบิ้ลภายใต้ระบบการเงินใหม่ ค่าเงินรูเบิ้ลจะกลับมาแข็งแกร่งมีเสถียรภาพกว่าเดิม เงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่รัสเซียมีอยู่สามารถซื้อทองไป10,000ตันสบายๆประเทศอื่นๆจะปรับตัวตามโดยเอาระบบมาตรฐานแลกเปลี่ยนทองคำมาใช้เมื่อเห็นว่ารัสเซียทำสำเร็จในการบริหารค่าเงินรูเบิ้ลอิงทอง จะมีการขายดอลล่าร์แลกทองกัน วิธีการนี้ปูตินจะประสบความสำเร็จในการปกป้องรูเบิ้ลจากการโจมตี และปลดอิทธิพลของดอลล่าร์จากระบบการเงินโลก

นอกจากนี้รูเบิ้ลสามารถเพิ่มการทำสว๊อปกับหยวน ให้เงินสกุลทั้งคู่ผูกกัน เงินรูเบิ้ลนะมีเสถียรภาพ เพราะว่าเกาะหยวนเข้าไว้ รูเบิ้ลผูกกับหยวนยิ่งจะทำให้ค่าเงินเถียรมากขึ้น มีการสวิงน้อยลง ดอลล่าร์จะโจมตีหยวนลำบาก เพื่อกระทบรูเบิ้ลลำบาก เพราะว่าเศรษฐกิจจีนดีกว่าสหรัฐฯ ค่าเงินของเศรษฐกิจที่อ่อนแอกว่าจะโจมตีค่าเงินประเทศที่แข็งแรงกว่าได้ไม่นาน

มีความเป็นไปได้ที่จีนที่ตอนนี้ผูกค่าเงินหยวนกับดอลล่าร์อย่างเหนี่ยวแน่นจะปลดล๊อคกุญแจมือดอลล่าร์ด้วยการใช้ระบบมาตรฐานแลกเปลี่ยนทองคำ เพราะว่าจีนต้องการประกาศตัวเองเป็นมหาอำนาจ ไม่ต้องการอิงสหรัฐฯหรือดอลล่าร์ แต่จะหันมาอิงกับทองแทน หยวนจะมีเสถียรภาพเพราะว่าจีนมีทองคำสำรองมากที่สุดในโลกแล้วเวลานี้ จะเป็นการดัมพ์ดอลล่าร์ทิ้งโดยปริยาย นอกจากนี้การทำหยวนสว๊อปกับประเทศคู่ค้ากว่า24ประเทศทำให้ลดการใช้ดอลล่าร์ในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ จีนและรัสเซียจับมือเรื่องนี้ได้เมื่อใด ระดบบการเงินโลกจะเปลี่ยนทิศจากระบบดอลล่าร์กระดาษ ค่าเงินลอยตัวตุ๊บป่องๆ เป็นระบบมาตรฐานแลกเปลี่ยนทองคำที่ค่าเงินค่อนข้างแน่นอนคงที อิงทอง ไม่ใช้พิมพ์ดอลล่าร์กระดาษออกมาเปล่าๆเหมือนเงินกงเต๊ก

ประเทศไทยก็สามารถเปลี่ยนจากระบบที่อิงดอลล่าร์กระดาษ ค่าเงินลอยตัว มาเป็นระบบมาตรฐานแลกเปลี่ยนทองคำได้ ด้วยการผูกค่าบาทกับหยวนเมื่อหยวนใช้ระบบมาตรฐานแลกเปลี่ยนทองคำแล้ว วิธีการนี้ไทยไม่จำเป็นต้องมีทองมาก แต่สามารถใช้มาตรฐานแลกเปลี่ยนทองคำได้ เพราะว่าบาทอิงหยวนที่อิงทองอีกต่อหนึ่ง แล้วธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถทิ้งดอลล่าร์และสะสมทองเพื่อความมั่นคงในการบริหารเงินบาทในอนาคต

ถ้ารูปการเป็นเช่นนี้ ระบบดอลล่าร์กระดาษของกลุ่มแองโกลอเมริกันจะเสื่อม และระบบมาตรฐานแลกเปลี่ยนทองของกลุ่มBRICSจะมาแทน ระบบแรกพิมพ์เงินกระดาษกงเต๊กธรรมดาๆ ระบบที่สองใช้ทองคำหนุนการพิมพ์ธนบัตร ด้วยวิธีการนี้ตะวันออกจะชนะตะวันตกในโลกการเงิน เพราะว่าBRICSและอีก5ประเทศกำลังพัฒนารวมกันก็มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่าG-7แล้ว

thanong

17/12/2014

http://www.goldmoney.com/…/analy…/russia-s-monetary-solution

 

 

 

 

1653681_301594950036886_2687671949839445083_n.jpg?oh=113e427c94d8a3725052332468d8905a&oe=550C7771&__gda__=1426657702_b4554162993cbb66552f3adf93b2dc86

 

1546329_766531060063438_8190883650780743054_n.jpg?oh=d58e2dc2c3151ba5fb42d8521e9c29c6&oe=554216B1&__gda__=1426965104_499613b7065127b08241d9ffae7e7bac

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดอนุพันธ์: เทคนิเคิลรีบาวด์ ตลาดยังผันผวนจับตาFOMC คืนนี้-กังวลรัสเซียเทขายทอง

 

สรุปสภาวะตลาดทองคำแท่ง และโกลด์ฟิวเจอร์ส วันที่ 17 ธันวาคม 2557 โดย YLG

ข่าวหุ้น-การเงิน ThaiPR.net -- พุธที่ 17 ธันวาคม 2557 17:15:57 น.

กรุงเทพฯ--17 ธ.ค.--พีอาร์ดีดี

 

สภาวะตลาดวันที่ 17 ธันวาคม 2557 ราคาทองคำแกว่งตัวในกรอบที่ระดับ 1,195.10-1,201.20 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่ราคาทองคำแท่ง 96.5% ภายในประเทศขายออกอยู่ที่ 18,700 บาทต่อบาททองคำ โดยราคาปรับตัวลดลง 100 บาทก่อนหน้าที่ระดับ 18,800 บาทต่อบาททองคำ ขณะที่โกลด์ฟิวเจอร์ส GFZ14 อยู่ที่ 18,810 บาท โดยราคาปรับตัวลดลง 80 บาท จากวันก่อนหน้าที่ระดับ 18,890 บาท

 

 

(หมายเหตุ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้น ณ เวลา 16.51 น. ของวันที่ 17/12/14)

 

แนวโน้มวันที่ 18 ธันวาคม 2557

วิกฤติสกุลเงินรูเบิลของรัสเซียที่อ่อนค่าลงอย่างรุนแรงมาแล้วเกือบ 20 % จากช่วงต้นสัปดาห์นี้ และรูดลงมาแล้วกว่า 50 % จากช่วงต้นปีนี้ โดยการดิ่งลงของรูเบิลทำให้นักลงทุนนำเหตุการณ์นี้ไปเปรียบเทียบกับวิกฤติปี 1998 ที่รัสเซียผิดนัดชำระหนี้ในช่วงนั้น ภาวะปั่นป่วนวุ่นวายในตลาดการเงินรัสเซียทำให้นักลงทุนกังวลว่า รัสเซียอาจเผชิญความยากลำบากในรักษาอันดับความน่าเชื่อถือเกรดน่าลงทุนไว้ต่อไป ซึ่งสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือสำคัญทั้ง 3 แห่ง ซึ่งประกอบด้วยสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P), มูดี้ส์ และฟิทช์ ต่างก็จัดให้อันดับความน่าเชื่อถือของรัสเซียมีแนวโน้มในทางลบ ทั้งนี้ถ้าหากมีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของรัสเซียลงสู่สถานะขยะ นักลงทุนก็จะถอนเงินลงทุนออกจากตราสารหนี้ รัสเซียมากยิ่งขึ้น ขณะที่ทำเนียบขาวเปิดเผยว่า ประธานาธิบดีบารัค โอบามาจะลงนามในกฏหมายเพื่อดำเนินมาตรการคว่ำบาตรครั้งใหม่ต่อรัสเซียซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินการของรัสเซียในยูเครน ภายในสิ้นสัปดาห์นี้ โดยปัจจัยนี้ส่งผลให้ภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจเผชิญกับความผันผวนมากยิ่งขึ้น ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐปิดร่วงลงเป็นวันที่ 3 หลังการซื้อขายที่ผันผวนในวันอังคาร ส่งผลให้ราคาทองคำได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยจากความวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลก เบื้องต้นวายแอลจีแนะนำให้นักลงทุนเน้นการลงทุนระยะสั้นเช่นเดิม โดยคาดว่าราคาทองคำพยายามรักษาระดับไว้ น่าจะพอทำให้ในระยะสั้นนี้ราคาจะเคลื่อนไหวในกรอบ แนะนำนักลงทุนหาจังหวะขายทำกำไรเมื่อราคาขึ้นมาทดสอบแนวต้านที่ 1,217 หรือ 1,235 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ถ้าราคาไม่ผ่านแนวต้าน นักลงทุนอาจต้องระวังแรงขาย โดยหากราคามีการย่อตัวลงมาบริเวณแนวรับ ก็เป็นจุดที่เข้าซื้อเก็งกำไรจากการดีดตัวอีกครั้ง

 

กลยุทธ์การลงทุน ทางวายแอลจีมีมุมมองว่า หากราคาทองคำขึ้นทดสอบแนวต้านบริเวณที่ 1,217 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือ 1,235 ดอลลาร์ต่อออนซ์ นักลงทุนที่สะสมทองคำไว้อาจมีการขายทำกำไรบ้างส่วนออกมาบ้าง หรือถ้าราคาสามารถผ่านไปได้ให้นักลงทุนที่รับความเสี่ยงสูงได้แนะนำให้ถือต่อไป เพื่อไปขายทำกำไรที่แนวต้านถัดไป และหากราคาทองคำมีการปรับตัวลดลงมา ไม่หลุดแนวรับ แนะนำนักลงทุนสามารถเก็งกำไร โดยเน้นไปที่การลงทุนระยะสั้น ทั้งนี้ประเมินแนวรับไว้ที่ 1,175 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยมีแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,160 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งนักลงทุนควรตั้งจุดตัดขาดทุนเพื่อควบคุมความเสี่ยง

 

ทองคำแท่ง (96.50%)

แนวรับ 1,175 (18,310 บาท) 1,160 (18,080บาท) 1,150 (17,920บาท)

แนวต้าน 1,217 (18,970บาท) 1,235 (19,250บาท) 1,250 (19,490บาท)

 

GOLD FUTURES (GFZ14

แนวรับ 1,175 (18,490 บาท) 1,160 (18,260บาท) 1,150 (18,100บาท)

แนวต้าน 1,217 (19,150บาท) 1,235 (19,430บาท) 1,250 (19,670บาท)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

10442920_845526188877666_1694675007965515361_n.jpg?oh=da6f8d82ba3bcc33f3e2c50c593546d3&oe=55102196&__gda__=1426324810_683fcdaeb464f15c4d90f3f5771088a6

สวัสดีเพื่อน โชคดีมีกำไร สุขกายบายใจนะคะ

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม 2557 07:41:43 น.

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 17 ธ.ค.2557

 

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดทะยานขึ้นแข็งแกร่งเมื่อคืนนี้ (17 ธ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนขานรับถ้อยแถลงของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ระบุว่า "เฟดสามารถอดทนรอต่อไปได้อีก ในการปรับท่าทีด้านนโยบายการเงินให้เข้าสู่ภาวะปกติ" นอกจากนี้ เฟดยังได้ปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจในปีนี้ และคาดการณ์ว่าอัตราว่างงานจะปรับตัวลดลงในปีนี้ด้วย

 

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,356.87 จุด พุ่งขึ้น 288.00 จุด หรือ +1.69% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,644.31 จุด เพิ่มขึ้น 96.48 จุด หรือ +2.12% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,012.89 จุด เพิ่มขึ้น 40.15 จุด หรือ +2.04%

 

-- ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเมื่อคืนนี้ (17 ธ.ค.) เพราะได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม ตลาดขยับขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากนักลงทุนเทขายหุ้นกลุ่มธนาคาร

ดัชนี Stoxx Europe 600 เพิ่มขึ้น 0.1% ปิดที่ 329.34 จุด

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,111.91 จุด เพิ่มขึ้น 18.71 จุด หรือ +0.46% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,336.48 จุด เพิ่มขึ้น 4.65 จุด หรือ +0.07% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,544.43 จุด ลดลง 19.46 จุด หรือ -0.20%

 

-- ตลาดหุ้นลอนดอนปิดขยับขึ้นเมื่อคืนนี้ (17 ธ.ค.) เพราะได้รับแรงหนุนจากการปรับตัวดีขึ้นของข้อมูลตลาดแรงงาน

ดัชนี FTSE 100 เพิ่มขึ้น 4.65 จุด หรือ 0.07% ปิดที่ 6,336.48 จุด

 

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (17 ธ.ค.) หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านรพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐปรับตัวลดลงในรอบสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งช่วยให้นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานที่มีอยู่มากเกินไป

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนม.ค.เพิ่มขึ้น 54 เซนต์ ปิดที่ 56.47 ดอลลาร์/บาร์เรล

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนม.ค.เพิ่มขึ้น 1.17 ดอลลาร์ ปิดที่ 61.18 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดขยับขึ้นเมื่อคืนนี้ (17 ธ.ค.) เพราะได้แรงหนุนจากการดีดตัวขึ้นของราคาน้ำมันดิบ WTI นอกจากนี้ ทองคำยังได้รับปัจจัยบวกจากการที่นักลงทุนเข้ามาช้อนซื้อเก็งกำไรหลังจากสัญญาทองคำร่วงลงติดต่อกัน 5 วันทำการก่อนหน้านี้

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.เพิ่มขึ้น 20 เซนต์ หรือ 0.02% ปิดที่ 1,194.5 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 17.6 เซนต์ ปิดที่ 15.928 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนม.ค. เพิ่มขึ้น 3 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,199.50 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.ลดลง 4.75 ดอลลาร์ ปิดที่ 779.25 ดอลลาร์/ออนซ์

 

-- ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบสกุลเงินหลักอื่นๆเมื่อคืนนี้ (17 ธ.ค.) เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ไม่ได้ให้คำมั่นเกี่ยวกับการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ใกล้ระดับ 0% “เป็นระยะเวลานาน" ในการส่งสัญญาณชี้นำเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ซึ่งหนุนกระแสคาดการณ์ของตลาดที่ว่าเฟดมีแนวโน้มมากขึ้นที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ย

ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2324 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.2486 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์ลดลงที่ 1.5560 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5726 ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับขึ้นเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 118.61 เยน เทียบกับระดับ 117.21 เยน และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9744 ฟรังค์ จาก 0.9619 ฟรังค์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8119 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8211 ดอลลาร์

 

 

ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 17,356.87 จุด เพิ่มขึ้น 288.00 จุด +1.69%

ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,644.31 จุด เพิ่มขึ้น 96.48 จุด +2.12%

ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 2,012.89 จุด เพิ่มขึ้น 40.15 จุด +2.04%

 

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,336.48 จุด เพิ่มขึ้น 4.65 จุด +0.07%

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,544.43 จุด ลดลง 19.46 จุด -0.20%

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,111.91 จุด เพิ่มขึ้น 18.71 จุด +0.46%

 

ดัชนี ALL ORDINARIES ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,140.60 จุด เพิ่มขึ้น 9.60 จุด +0.19%

ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,161.90 จุด เพิ่มขึ้น 9.60 จุด +0.19%

ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันปิดที่ 8,828.36 จุด ลดลง 122.55 จุด -1.37%

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดที่ 16,819.73 จุด เพิ่มขึ้น 64.41 จุด +0.38%

ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 1,900.16 จุด ลดลง 3.97 จุด -0.21%

ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดที่ 3,061.02 จุด เพิ่มขึ้น 39.50 จุด +1.31%

ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 6,966.21 จุด ลดลง 194.17 จุด -2.71%

ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 22,585.84 จุด ลดลง 84.66 จุด -0.37%

ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 5,035.65 จุด เพิ่มขึ้น 9.62 จุด +0.19%

ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดที่ 1,681.90 จุด เพิ่มขึ้น 7.96 จุด +0.48%

ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 3,227.23 จุด เพิ่มขึ้น 12.14 จุด +0.38%

ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 26,710.13 จุด ลดลง 71.31 จุด -0.27%

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย นรินรัตน์ พรหมพิทักษ์/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดบวก 20 เซนต์ หลังราคาน้ำมันฟื้นตัว

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม 2557 07:38:48 น.

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดขยับขึ้นเมื่อคืนนี้ (17 ธ.ค.) เพราะได้แรงหนุนจากการดีดตัวขึ้นของราคาน้ำมันดิบ WTI นอกจากนี้ ทองคำยังได้รับปัจจัยบวกจากการที่นักลงทุนเข้ามาช้อนซื้อเก็งกำไรหลังจากสัญญาทองคำร่วงลงติดต่อกัน 5 วันทำการก่อนหน้านี้

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.เพิ่มขึ้น 20 เซนต์ หรือ 0.02% ปิดที่ 1,194.5 ดอลลาร์/ออนซ์

 

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 17.6 เซนต์ ปิดที่ 15.928 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนม.ค. เพิ่มขึ้น 3 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,199.50 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.ลดลง 4.75 ดอลลาร์ ปิดที่ 779.25 ดอลลาร์/ออนซ์

นักลงทุนเข้ามาช้อนซื้อเก็งกำไร หลังจากสัญญาทองคำร่วงลงติดต่อกัน 5 วันทำการก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้รับแรงหนุนหลังจากสัญญาน้ำมันดิบ WTI ดีดตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ ขานรับรายงานของสำนักงานสารสนเทศด้านรพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ที่ระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐปรับตัวลดลงในรอบสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งช่วยให้นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานที่มีอยู่มากเกินไป

นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้รับปัจจัยบวกจากการคาดการณ์ที่ว่า เฟดอาจจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำต่อไป เมื่อพิจารณาจากตัวเลขเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายของเฟด โดยเมื่อวานนี้กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพ.ย. ปรับตัวลดลง 0.3% จากเดือนต.ค. ซึ่งถือว่าลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2551 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงเพียง 0.1% โดยปัจจัยที่ทำให้ดัชนี CPI เคลื่อนไหวต่ำกว่าเป้าหมายของเฟดที่ระดับ 2% นั้น มาจากราคาพลังงานที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

เฟดเผยสามารถทนรอต่อไปอีกในการปรับท่าทีนโยบายการเงินให้เข้าสู่ภาวะปกติ

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม 2557 06:04:26 น.

คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (เอฟโอเอ็มซี) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้เปิดเผยมติการประชุมระยะเวลา 2 วันซึ่งเสร็จสิ้นเมื่อวานนี้ (17 ธ.ค.) โดยระบุว่า "เฟดสามารถอดทนรอต่อไปได้อีก ในการปรับท่าทีด้านนโยบายการเงินให้เข้าสู่ภาวะปกติ" พร้อมกับยืนยันว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับใกล้ศูนย์ต่อไป

ในการประชุมครั้งนี้ เฟดระบุว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐยังคงขยายตัวปานกลางนับตั้งแต่เดือนต.ค.ปีนี้ ส่วนในเรื่องราคาพลังงานที่ปรับตัวลดลงในช่วงที่ผ่านมานั้น เฟดแสดงความเห็นว่า อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายระยะยาวของเฟด ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้ในราคาพลังงานที่ปรับตัวลดลง

นอกจากนี้ เฟดยังคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัวในอัตรา 2.3-2.4% ในปีนี้ ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ในเดือนก.ย.ที่ระดับ 2-2.2% และได้คงคาดการณ์เศรษฐกิจในปีหน้าไว้ที่ระดับ 2.6-3% ส่วนในด้านตลาดแรงงานนั้น เฟดคาดว่าอัตราว่างงานจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 5.8% ในปีนี้ และจะลดลงสู่ระดับ 5.2-5.3% ในปีหน้า

 

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

ภาวะตลาดน้ำมัน: น้ำมัน WTI ปิดบวก 54 เซนต์ หลังสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐร่วง

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม 2557 07:15:46 น.

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (17 ธ.ค.) หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านรพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐปรับตัวลดลงในรอบสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งช่วยให้นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานที่มีอยู่มากเกินไป

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนม.ค.เพิ่มขึ้น 54 เซนต์ ปิดที่ 56.47 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนม.ค.เพิ่มขึ้น 1.17 ดอลลาร์ ปิดที่ 61.18 ดอลลาร์/บาร์เรล

สัญญาน้ำมันดิบดีดตัวขึ้นหลังจาก EIA เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐในรอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 12 ธ.ค. ลดลง 847,000 บาร์เรล แตะ 379.9 ล้านบาร์เรล ส่วนสต็อกน้ำมันกลั่น ซึ่งรวมถึงฮีตติ้งออยล์และน้ำมันดีเซล ลดลง 207,000 บาร์เรล สู่ระดับ 121.5 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นราว 1 ล้านบาร์เรล

อย่างไรก็ตาม สต็อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิ่ง รัฐโอคลาโฮมา ซึ่งเป็นจุดส่งน้ำมัน ทะยานขึ้น 2.92 ล้านบาร์เรล และสต็อกน้ำมันเบนซินพุ่ง 5.3 ล้านบาร์เรล แตะ 222 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 2 ล้านบาร์เรล

นายอเล็กซานเดอร์ โนวัค รมว.พลังงานรัสเซียเปิดเผยกับผู้สื่อข่าวที่เมืองกาตาร์ ประเทศโดฮา ว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของรัสเซีย จะยังคงอยู่ที่ 10.6 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2558

"ราคาน้ำมันจะมีเสถียรภาพด้วยตัวเอง เรากำลังพิจารณาโครงการลงทุนบางแห่งของบริษัทพลังงาน แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการปรับเปลี่ยนใดๆ" นายโนวัคกล่าว

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์แข็งค่า หลังเฟดประกาศผลการประชุม

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม 2557 07:33:29 น.

ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบสกุลเงินหลักอื่นๆเมื่อคืนนี้ (17 ธ.ค.) เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ไม่ได้ให้คำมั่นเกี่ยวกับการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ใกล้ระดับ 0% “เป็นระยะเวลานาน" ในการส่งสัญญาณชี้นำเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ซึ่งหนุนกระแสคาดการณ์ของตลาดที่ว่าเฟดมีแนวโน้มมากขึ้นที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ย

 

 

ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2324 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.2486 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์ลดลงที่ 1.5560 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5726 ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับขึ้นเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 118.61 เยน เทียบกับระดับ 117.21 เยน และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9744 ฟรังค์ จาก 0.9619 ฟรังค์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8119 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8211 ดอลลาร์

หลังการประชุมกำหนดนโยบายเป็นเวลา 2 วัน เฟดได้เปิดเผยแถลงการณ์เมื่อคืนนี้ โดยระบุว่า “เฟดสามารถอดทนรอต่อไปได้ ในการเริ่มต้นปรับท่าทีด้านนโยบายการเงินให้เข้าสู่ภาวะปกติ"

นางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟดกล่าวในการแถลงข่าวหลังการประชุมว่า เฟดไม่มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมนโยบาย 2-3 ครั้งหน้าเป็นอย่างน้อยที่สุด โดยกล่าวเสริมว่า “ช่วงเวลาในการเริ่มปรับเพิ่มเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของเฟด รวมทั้งแนวทางสำหรับเป้าหมายหลังจากนั้น จะขึ้นอยู่กับภาวะทางเศรษฐกิจ"

บรรดานักวิเคราะห์กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงในสัญญาณชี้นำดังกล่าวหมายความว่าเฟดกำลังมีแนวโน้มมากขึ้นอีกขั้นหนึ่งในการที่จะถอยออกจากนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน ขณะที่ตลาดแรงงานฟื้นตัวรวดเร็วกว่าที่คาดนั้น เฟดยังคงจับตาดูอัตราเงินเฟ้อของประเทศ ซึ่งอยู่ต่ำกว่าเป้าหมายที่ 2% มาเป็นระยะเวลานาน

กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยเมื่อคืนนี้ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพ.ย. ลดลง 0.3% จากเดือนต.ค. อันเนื่องมาจากราคาน้ำมันที่ร่วงลงอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนี CPI ลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2551 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงเพียง 0.1% ส่วนดัชนี CPI พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมราคาในหมวดอาหารและพลังงาน ปรับเพิ่มขึ้น 0.1%

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย พันธุ์ทิพย์ คำเพิ่มพูล โทร.02-2535000 อีเมล์: pantip@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดพุ่ง 288 จุด ขานรับถ้อยแถลงเฟด

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม 2557 06:23:13 น.

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดทะยานขึ้นแข็งแกร่งเมื่อคืนนี้ (17 ธ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนขานรับถ้อยแถลงของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ระบุว่า "เฟดสามารถอดทนรอต่อไปได้อีก ในการปรับท่าทีด้านนโยบายการเงินให้เข้าสู่ภาวะปกติ" นอกจากนี้ เฟดยังได้ปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจในปีนี้ และคาดการณ์ว่าอัตราว่างงานจะปรับตัวลดลงในปีนี้ด้วย

 

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,356.87 จุด พุ่งขึ้น 288.00 จุด หรือ +1.69% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,644.31 จุด เพิ่มขึ้น 96.48 จุด หรือ +2.12% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,012.89 จุด เพิ่มขึ้น 40.15 จุด หรือ +2.04%

ตลาดหุ้นนิวยอร์กทะยานขึ้นหลังจากมติการประชุมครั้งล่าสุดของเฟดระบุว่า "เฟดสามารถอดทนรอต่อไปได้อีก ในการปรับท่าทีด้านนโยบายการเงินให้เข้าสู่ภาวะปกติ"

นอกจากนี้ เฟดยังคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัวในอัตรา 2.3-2.4% ในปีนี้ ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ในเดือนก.ย.ที่ระดับ 2-2.2% และได้คงคาดการณ์เศรษฐกิจในปีหน้าไว้ที่ระดับ 2.6-3% ส่วนในด้านตลาดแรงงานนั้น เฟดคาดว่าอัตราว่างงานจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 5.8% ในปีนี้ และจะลดลงสู่ระดับ 5.2-5.3% ในปีหน้า

ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจที่สหรัฐเปิดเผยในช่วงค่ำวานนี้ตามเวลาไทยนั้น กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพ.ย. ปรับตัวลดลง 0.3% จากเดือนต.ค. ซึ่งถือว่าลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2551 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงเพียง 0.1% โดยปัจจัยที่ทำให้ดัชนี CPI เคลื่อนไหวต่ำกว่าเป้าหมายของเฟดที่ระดับ 2% นั้น มาจากราคาพลังงานที่อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง

หุ้นกลุ่มพลังงานดีดตัวขึ้น หลังจากราคาน้ำมันดิบ WTI ตลาดนิวยอร์กฟื้นตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ โดยหุ้นเอ็กซอน โมบิล และหุ้นเชฟรอน ต่างก็ปรับตัวขึ้นอย่างน้อย 3% ขณะที่หุ้นโนเบิล เอนเนอร์จี พุ่งขึ้น 10% หุ้นเนเบอร์ส อินดัสทรีส์พุ่งขึ้น 9.3% ส่วนหุ้นนิวฟิลด์ เอ็กซ์พลอเรชัน และหุ้นทรานส์โอเชียน ต่างก็พุ่งขึ้น 8.5%

หุ้นแมคโดนัลด์ พุ่งขึ้น 3.3% แต่หุ้นเฟดเอ็กซ์ ร่วงลง 3.7% หลังจากบริษัทเปิดเผยผลประกอบการรายไตรมาสที่น้อยกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ขณะที่หุ้นยูไนเต็ด พาร์เซิล เซอร์วิส ดิ่งลง 1.32%

นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐในวันนี้ รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเบื้องต้นเดือนธ.ค. และผลสำรวจภาวะเศรษฐกิจเดือนธ.ค.โดยเฟดฟิลาเดลเฟีย

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

10850315_738847196222451_7922607536153262032_n.jpg?oh=1d86c73a89f5e912f603d30fbce59978&oe=54FF20A4&__gda__=1425929500_cd0b36b9b0c9fc3b2c5ebc1e5695763e

 

วานนี้ พระองค์หญิงสิริวัณณวรีฯ ทอดพระเนตรเกมการแข่งขันฟุตบอลเอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2014 รอบชิงชนะเลิศ นัดแรก ระหว่างไทยเจอกับมาเลเซีย ที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน ..ผลการแข่งขัน ไทย ชนะ มาเลเซีย 2-0

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...