ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

ส้มโอมือ

ขาใหญ่
  • จำนวนเนื้อหา

    5,036
  • เข้าร่วม

  • เข้ามาล่าสุด

  • วันที่ชนะ

    15

ทุกๆอย่างที่โพสต์โดย ส้มโอมือ

  1. ขึ้นดอกเบี้ย.25% แนวโน้มขาขึ้น ลั่นครั้งหน้าปรับมากกว่าเดิม! โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 14 กรกฎาคม 2553 23:24 น. เข้าสู่ดอกเบี้ยขาขึ้น กนง.ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ครั้งแรกในรอบ 15 เดือน ธปท.มั่นใจแบงก์พาณิชย์ปรับดอกเบี้ยตาม ขึ้นทั้งฝากและกู้ พร้อมส่งสัญญาณครั้งหน้าโอกาสขึ้นมากกว่า 0.25% พร้อมเพิ่มเป้าจีดีพีใหม่ 23 ก.ค.นี้ นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25%ต่อปี จากระดับ 1.25% มาอยู่ที่ระดับ 1.50%ต่อปี ซึ่งมีผลทันที โดยการเปลี่ยนทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่การประชุมกนง.ในวันที่ 8 เม.ย.52 ที่มีปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จากระดับ 1.50% มาสู่ระดับ 1.25%จนถึงปัจจุบัน หรือในช่วงระยะเวลา 15 เดือน ธปท.ใช้เวลาในการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ ทั้งนี้ ในวันที่ 23 ก.ค.นี้ ธปท.จะประกาศปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจปีนี้และปีหน้า เนื่องจากเศรษฐกิจดีขึ้น ในการประชุมกนง. 1-2 ครั้งที่ผ่านมา จากความไม่แน่นอนปัจจัยเสี่ยงด้านการเมือง ทำให้กนง.มีการชะลอปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ก่อน แต่ในการประชุมครั้งนี้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป เพราะปัจจัยการเมืองกระทบแค่วงจำกัดและไม่มากอย่างที่ตื่นตระหนกกัน ขณะเดียวกันภาคเอกชนและผู้ประกอบการจากการสำรวจความเชื่อมั่นปรับตัวดีขึ้นและความกังวลด้านการเมืองเริ่มผ่อนคลายกว่าในอดีต ทำให้กนง.มองว่าเศรษฐกิจไทยเริ่มแข็งแกร่งมากขึ้น จึงถึงเวลาแล้วที่ต้องมีการปรับอัตราดอกเบี้ยสู่ภาวะปกติตามลำดับ “การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25%ครั้งนี้ จะมีผลให้ตลาดการเงินปรับตัวไปในทิศทางใด ขึ้นอยู่กับการคาดการณ์ของตลาด แต่ที่แน่นอนตลาดทราบดีว่าเป็นช่วงเริ่มต้นของวัฎจักรดอกเบี้ยในทิศทางใหม่ ส่วนกลไกตลาดในการแข่งขันดึงเงินฝากจากลูกค้าหรือภาวะสภาพคล่อง ทำให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดปรับเท่าไหร่เป็นเรื่องที่ยากคาดเดา แต่หากเราส่งสัญญาณชัดเจนว่าอัตราดอกเบี้ยที่ผ่านมาจุดต่ำสุดแล้วก็เชื่อว่าธนาคารพาณิชย์จะทยอยปรับขึ้นในทิศทางเดียวกันกับเรา” ผู้ช่วยผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า การดำเนินนโยบายการเงินต้องมองไปข้างหน้าและติดตามผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปรับตัวของสถาบันการเงิน และมองว่าธนาคารพาณิชย์ควรปรับขึ้นทั้งอัตราดอกเบี้ยทั้ง 2 ขา คือเงินฝากและเงินกู้ ส่วนความช้าเร็วต่างกันของแต่ละสถาบันการเงิน ขึ้นอยู่กับภาวะสภาพคล่องและการแข่งขัน กนง.มองว่าแม้ในปีนี้อัตราเงินเฟ้อไม่ได้สูงมากนัก เนื่องจากมีมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐ แต่คาดว่าในปีหน้าอัตราเงินเฟ้อจะเร่งสูงขึ้นและมีโอกาสที่จะมีความเสี่ยงอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะสูงขึ้นจนหลุดกรอบบนของเป้าหมายในการดำเนินนโยบายการเงิน คือ 3% ภายในอีก 8 ไตรมาสข้างหน้า อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในครั้งนี้จะช่วยผ่อนคลายแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อได้บ้าง ดังนั้น แม้ขณะนี้อัตราเงินเฟ้อยังไม่สูงขึ้นมากนัก แม้ภาคเอกชนจะมีการเจรจาขอขึ้นค่าจ้างแรงงาน รวมถึงการขึ้นเงินเดือนและโบนัสให้แก่ข้าราชการ และมองว่าเป็นเรื่องปกติหากเศรษฐกิจขยายตัวได้ดี ทำให้ความต้องการลูกจ้างหรือแรงงานจะมีเพิ่มขึ้นตามไปด้วย หลังจากที่ผ่านมาตลาดแรงงานตึงตัวมาก แต่ กนง.จะติดตามปัจจัยกดดันให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ต้นทุนวัตถุดิบต่างๆ รวมถึงแรงกดดันอุปสงค์จากเศรษฐกิจที่ขยายตัวต่อเนื่อง “ถ้าแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อไม่ได้ลดลงก็ไม่ได้หมายความว่ากนง.จะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายแค่ 0.25% ตลอดไป แต่จะพิจารณาจากภาวะเศรษฐกิจและแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อในการประชุมแต่ละครั้ง เพื่อเป็นการชั่งน้ำหนักต่อไป ซึ่งมองว่าแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยยังมีอยู่ แม้แผ่วลงบ้างในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ เมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส แต่เฉลี่ยโดยรวมตลอดทั้งปีก็ยังมีแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจดีอยู่” นายไพบูลย์ กล่าวว่า แม้ไทยจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้ก็เชื่อว่าไม่ได้เป็นเหตุผลหลักให้เงินทุนไหลเข้าไทยมากขึ้น เนื่องจากประเทศแถบภูมิภาคเอเชียมีการเจริญเติบโตสูงกว่ากลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลัก(G3) รวมถึงไทยที่มีปัจจัยพื้นฐานที่ดีทำให้ล่าสุดมีการเกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมาก ทำให้มีเงินทุนเคลื่อนย้ายเข้ามายังไทยจำนวนมากอยู่แล้ว แต่การใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่ยืดหยุ่นตามกลไกตลาดก็สามารถช่วยดูแลได้ รวมถึงภาคเอกชนเองก็มีการปรับตัวอยู่แล้ว จึงไม่น่าเป็นห่วง อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่การประชุมกนง.ครั้งก่อนมองว่าแรงกระตุ้นทางด้านการคลังในหลายประเทศจะทยอยหมดลง รวมถึงการสะสมสินค้าคงคลังลดลง และแรงขับเคลื่อนจะแผ่วลงบ้าง ทำให้ภาวะเศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งหลังของปีนี้จะไม่ได้แข็งแกร่งเท่ากับช่วงครึ่งแรกของปีจากที่เศรษฐกิจในหลายประเทศเติบโตดีช่วงไตรมาสแรก แต่โดยรวมตลอดทั้งปีนี้เศรษฐกิจโลกก็ไม่น่าจะเกิดภาวะถดถอยรอบ 2 (Double Dip)
  2. ผลสำรวจธนาคารจีน เสี่ยงหนี้เสียเพิ่มขึ้นรุนแรง โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 14 กรกฎาคม 2553 18:46 น. เจ้าหน้าที่ธนาคากลางจีน กำลังตรวจนับธนบัตรซึ่งธนาคารปล่อยออกไปสู่มือผู้กู้ปริมาณมหาศาล และกำลังรอไหลกลับมาทั้งต้นทั้งดอก (ภาพเอเยนซี) เอเยนซี-ไชน่า โอเรียนท์ แอสเซท แมเนจเมนท์ คอร์ป เผยผลสำรวจความคิดเห็นของบรรดาธนาคารพาณิชย์ในประเทศจีนพบว่า ในอีก 2 -3 ปีข้างหน้านี้ อุตสาหกรรมการธนาคารของจีนอาจเผชิญความเสี่ยงที่จะมีหนี้เสียเพิ่มขึ้น เนื่องจากวงเงินกู้จำนวนมากที่ถูกปล่อยออกไปในปี 2552 ผลสำรวจที่เผยในวันที่ 13 ก.ค. คาดว่า ในปี 2555 ตัวเลขหนี้เสียจะพุ่งขึ้นสูงสุด และโดยส่วนใหญ่จะเป็นหนี้ในโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน และระบุว่าความเสี่ยงฯ ที่ธนาคารจะเผชิญ มีอาทิ ความเสี่ยงจากการปล่อยกู้ให้กับภาคอสังหาริมทรัพย์ สินเชื่อที่ปล่อยให้กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก และรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะสินเชื่อที่ปล่อยให้กับบริษัทด้านการเงินของรัฐบาลท้องถิ่น ซึ่งต้องติดตามอย่างใกล้ชิด นายเต๋า ถง นักวิเคราะห์จากเครดิตสวิส คาดว่าตัวเลขหนี้ค้างชำระของบริษัทการเงินท้องถิ่นของจีน จะเป็นเหมือนระเบิดเวลาของเศรษฐกิจจีน ที่เริ่มนับไปในอีก 3 ปีข้างหน้า โดยคาดว่า ภายในปีนี้ ตัวเลขหนี้ค้างชำระของบริษัทเหล่านั้น จะพุ่งขึ้นถึง 8 ล้านล้านหยวน หรือร้อยละ 19 ของยอดเงินกู้รวมในอุตสาหกรรมการเงิน และร้อยละ 24 ของจีดีพีจีน เช่นเดียวกับ ธนาคารเครดิต อกริโค ที่เปิดเผยว่า ในอีก 2 -3 ปีข้างหน้า ตัวเลขหนี้เสียและความเสี่ยงในอุตสาหกรรมการธนาคารของจีนจะสูงขึ้นอย่างน่ากลัว หลังอัตราการปล่อยสินเชื่อขยายตัว เพราะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจีนเป็นเหตุผลสำคัญ
  3. ยอดขาดดุล US สาหัสสุดในรอบ 18 เดือน โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 14 กรกฎาคม 2553 19:43 น. เอเอฟพี - ยอดขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ ในเดือนพฤษภาคม ทำสถิติสูงสุดในรอบ 18 เดือน โดยพุ่งขึ้นเกือบ 5 เปอร์เซ็นต์ จาก 40,300 ล้านดอลลาร์ ในเดือนเมษายน เป็น 42,300 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ ตามรายงานของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ที่นำมาเผยแพร่เมื่อวันอังคาร (13) ตัวเลขการนำเข้าของอเมริกา สูงขึ้นเกือบ 3 เปอร์เซ็นต์ ในเดือนพฤษภาคม คิดเป็นมูลค่า 194,500 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นมูลค่าสูงสุดในรอบ 19 เดือนเลยทีเดียว ถึงแม้ว่าการส่งออกจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.4 เปอร์เซ็นต์ ด้วยมูลค่า 152,300 ล้านดอลลาร์อันเป็นมูลค่าสูงสุดในรอบ 20 เดือนก็ตาม ข้อมูลล่าสุดนี้ทำเอาบรรดานักเศรษฐศาสตร์ผิดหวังไปตามๆ กัน จากที่เคยคาดหวังว่า ยอดขาดดุลในเดือนพฤษภาคมน่าจะลดลงมาเหลือ 39,400 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ พวกเขาประมาณการ ว่า ยอดขาดดุลนี้อาจบั่นทอนอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ระหว่าง 1-2 เปอร์เซ็นต์ในช่วงไตรมาสที่ 3 (1 เม.ย.-30 มิ.ย.) ที่ผ่านมา
  4. “มูดี้ส์” ลดเรตติ้ง “โปรตุเกส” 2 ขั้น โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 13 กรกฎาคม 2553 19:37 น. เอเจนซี/เอเอฟพี - มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส หนึ่งในบริษัทเครดิตเรตติ้งยักษ์ใหญ่ของโลก วันนี้ (13) ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้รัฐบาลโปรตุเกสลง 2 ขั้น คือ จาก AA2 เหลือ A1 โดยให้เหตุผลว่า เนื่องจากมีแนวโน้มที่ 1 ในชาติยูโรโซนรายนี้ จะต้องมีหนี้สินภาครัฐเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่การเติบโตของเศรษฐกิจจะอ่อนแอต่อไป นอกจากนั้น ยังระบุด้วยว่า โปรตุเกสจำเป็นจะต้องเพิ่มมาตรการรัดเข็มขัดมากขึ้นอีกในงบประมาณประจำปี 2011 ของตน ประกาศของ มูดี้ส์ ทำให้ค่าเงินยูโรอ่อนตัวลง ทว่า ปฏิกิริยาจากตลาดในวงกว้างอยู่ในสภาพค่อนข้างเฉยๆ เพราะมองว่ามูดี้ส์เพียงเดินตามคู่แข่งรายสำคัญของตน คือ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) ซึ่งได้ลดเรตติ้งของโปรตุเกสลงตั้งแต่เดือนเมษายนแล้ว โดยที่ระดับ A- ซึ่งเอสแอนด์พีให้แก่ประเทศนี้ในปัจจุบัน ก็ยังต่ำกว่า A1 ของมูดี้ส์อยู่ถึง 2 ขั้นด้วยซ้ำ
  5. นักธุรกิจสเปนยื่น 1.6 ล้านซื้อหมึกพอล ประเด็น:เกาะติดฟุตบอลโลก2010 , 12 กรกฎาคม 2553 เวลา 19:49 น. ผลงานโดดเด่นในฟุตบอลโลกทำให้หลายองค์กรต้องการคว้าหมึกพอลไปร่วมทีม ล่าสุดนักธุรกิจสเปนเสนอค่าตัว 1.6 ล้านบาท พอลได้ถ้วยแชมป์โลกกับเค้าด้วย เว็บไซต์เดลิชิลลีรายงานว่า กลุ่มนักธุรกิจในเทศบาลคาร์บายิโน ประเทศสเปน เสนอค่าตัว 3.8 หมื่นยูโร หรือคิดเป็นเงินไทยเกือบ 1.6 ล้านบาท เพื่อขอซื้อ พอล ปลาหมึกเจ้าของผลงานทำนายผลฟุตบอลโลก 2010 ถูกต้องทั้ง 8 นัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำนายว่า สเปนจะเป็นแชมป์ฟุตบอลโลกก่อนที่ทีมกระทิงดุจะผงาดครองแชมป์โลกจริงๆ ทำให้ชาวสเปนหลงรักเจ้าหมึกตัวนี้ไม่น้อย คาร์ลอส มอนเตซ เทศมนตรีเมืองคาร์บายิโน หวังจะให้หมึกอัจฉริยะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนแห่งนี้ แต่ต้องเผชิญกับคู่แข่งหลายราย โดยหนังสือพิมพ์เทเลกราฟรายงานว่า บ่อนพนันหลายแห่งทั่วโลกติดต่อเพื่อขอซื้อตัวพอลไปร่วมงานด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ซี ไลฟ์ อควาเรียม ต้นสังกัดในเยอรมนี ออกมายืนยันว่า หมึกพอลไม่ได้มีไว้ขาย นอกจากนี้ยังได้เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัย หลังจากที่ความต้องการตัวหมึกพอลมีมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งผู้ที่เจตนาคว้าตัวไปร่วมงานและผู้ที่เจตนาจะคว้าตัวไปปรุงอาหาร ขณะที่นายกรัฐมนตรี โฆเซ หลุยส์ โรดริเกซ ซาปาเตโร ของสเปน ให้สัมภาษณ์กับสถานีวิทยุแห่งหนึ่งของสเปนว่า เขาเตรียมส่งทีมรักษาความปลอดภัยไปสมทบ “ผมห่วงเจ้าปลาหมึกนั่นและกำลังคิดจะส่งทีมเข้าไปอารักขา” คาดว่า ฟุตบอลโลกหนนี้จะเป็นทัวร์นาเมนต์สุดท้ายของพอล วัย 2 ขวบครึ่ง เนื่องจากปลาหมึกจะมีอายุขัยเพียง 4 ปี ทำให้เขาไม่น่าจะมีชีวิตอยู่ถึงฟุตบอลยูโร 2012 ด้านหมึกพอลล่าสุดมีทวิตเตอร์ PPsychicOctopus เป็นของตัวเองเพื่อใช้ติดต่อกับบรรดาแฟนคลับ หลังจากที่ก่อนหน้านี้เปิดหน้าเฟซบุคและมีสมาชิกเกือบ 1.6 แสนคนแล้ว
  6. IMF แนะเอเชียรับมือทุนทะลักเข้า หนุนลงทุน-บริโภคภายในแทนส่งออก โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 กรกฎาคม 2553 19:27 น. เอเจนซี/เอเอฟพี - กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เตือนว่า บรรดาชาติในเอเชียต้องเตรียมพร้อมรับมือปัจจัยต่างๆ ที่อาจกลายเป็นภัยคุกคามต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยที่ความท้าทายด้านนโยบายในขณะนี้ก็คือ การควบคุมการไหลทะลักเข้ามาของเงินทุนภายนอก รวมทั้งการกระตุ้นภาคการลงทุนและการบริโภคภายในประเทศเพื่อทดแทนการส่งออกที่อาจหดตัวลง สืบเนื่องจากเขตเศรษฐกิจพัฒนาแล้วมีแนวโน้มลดการนำเข้า อย่างไรก็ตาม เขาไม่เชื่อว่าเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอยระลอกที่สอง ในระหว่างการประชุมที่จัดขึ้นโดยไอเอ็มเอฟ ซึ่งเกาหลีใต้รับหน้าเสื่อเป็นเจ้าภาพ ที่เมืองแดจอง เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (11) โดมินิก สเตราส์-คาห์น กรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟ แสดงปาฐกถาว่า ภูมิภาคเอเชียซึ่งจวบจนปัจจุบันพึ่งพาปัจจัยการส่งออกเป็นหลักในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ จำเป็นต้องกระตุ้นภาคการลงทุน และภาคการบริโภคภายในประเทศด้วย นอกจากนี้ผู้กำหนดนโยบายต้องเตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบในแง่ลบ จากวิกฤตหนี้สาธารณะในยูโรโซน และการที่เงินทุนทะลักเข้ามาในเอเชียมากขึ้น ตลอดจนความเสี่ยงต่างๆ จากภาวะเศรษฐกิจที่ร้อนแรงเกินไป “ความท้าทายในด้านนโยบายสำคัญๆ เป็นต้นว่า จะหาวิธีที่ดีที่สุดในการจัดการกับเงินทุนที่หลั่งไหลกลับเข้ามาอย่างรุนแรง และความเสี่ยงจากสภาพเศรษฐกิจที่ร้อนแรงเกินไป รวมทั้งภาวะฟองสบู่ในภาคสินเชื่อและตลาดสินทรัพย์อย่างไร” สเตราส์-คาห์น บอก เขากล่าวว่า ความจำเป็นที่เอเชียต้องกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศมีเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เพื่อถ่วงดุลการพึ่งพาการส่งออกของตนเองที่อาจลดลง สืบเนื่องจากบรรดาประเทศคู่ค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐฯ และยุโรป มีแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจชะลอตัวลงต่อเนื่องไปอีก อย่างไรก็ตาม สเตราส์-คาห์น ไม่ได้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอยระลอกที่สอง (Double-dip Recession) ตามที่หลายฝ่ายได้วิเคราะห์ไว้ก่อนหน้านี้ โดยเขาย้ำว่าเศรษฐกิจทั่วโลกยังคงอยู่ในกระบวนการฟื้นตัว “ผมไม่เชื่อว่าจะมีการทรุดตัวลงไปอีกครั้ง พวกเรากำลังอยู่บนวิถีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ” เขาบอก นอกจากนี้ สเตราส์-คาห์น ยังได้กล่าวชื่นชมภูมิภาคเอเชียที่ดำเนินบทบาทสำคัญในการปลุกเศรษฐกิจโลกให้ฟื้นคืนจากสภาพวิกฤตได้อย่างรวดเร็ว โดยเขากล่าวว่า อิทธิพลของเศรษฐกิจเอเชียต่อโลกสามารถขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากได้ทำการปฏิรูปด้านต่างๆ จนเข้ารูปเข้ารอยไปแล้ว นับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งก่อนที่มีจุดเริ่มต้นจากแถบเอเชียตะวันออกในช่วงปี 1997-98 ด้านเจ้าภาพเกาหลีใต้ ยุน จองฮยุน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เรียกร้องให้ไอเอ็มเอฟแสดงบทบาทต่างๆ ในการป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตการเงินครั้งใหม่ด้วย โดยเขาเห็นว่า ไอเอ็มเอฟควรเสนอหรือออกมาตรการที่เป็นรูปธรรมและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับเครือข่ายด้านความปลอดภัยทางการเงินทั่วโลก ยุน บอกว่า ความพยายามทั้งหลายแหล่จากพวกประเทศกำลังพัฒนานั้นไม่เพียงพอที่จะต้านทานผลกระทบภายนอกจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินทุนที่หลั่งไหลเข้ามา รวมทั้งความผันผวนที่มาพร้อมกันนี้ด้วย นอกจากนี้ รัฐมนตรีคลังโสมขาวยังขอให้มีการเปลี่ยนแปลงสิทธิการออกเสียงของบรรดาประเทศในเอเชียบนเวทีไอเอ็มเอฟด้วย เพื่อรองรับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันที่บทบาทและอิทธิพลของเศรษฐกิจเอเชียทะยานขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง
  7. ผมตามระบบคุณเสมครับ อย่างที่คุณเสมเคยบอกไม่ต้องไปเที่ยวหาสูตรที่ดีสุดยอดอะไรจิตวิทยากับMoney Managementสำคัญที่สุด
  8. ตัวบอกเหตุ..สิ่งควรสังเกตก่อนการลงทุน? กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 08 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ณ นาทีนี้ “ตัวบอกเหตุ” ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าที่โด่งดังที่สุด หนีไม่พ้นเจ้า “พอล” ปลาหมึกยักษ์ 8 หนวด อายุ 2 ขวบ ที่มีบ้านเกิดอยู่ที่อังกฤษ ของพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำในเมือง Oberhausen ประเทศเยอรมนี ครับ ในมหกรรมฟุตบอลโลก 2010 นี้ เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ได้จัดให้เจ้าหมึก “พอล” ทำนายผลการแข่งขันของทีมชาติเยอรมันกับทีมคู่แข่ง ด้วยการเลือกกินอาหาร (หอยตระกูลเดียวกับหอยแมลงภู่) จากกล่อง 2 กล่องที่ติดด้วยธงชาติเยอรมันและชาติคู่แข่ง หากพอลเลือกกินจากกล่องใด ก็แปลว่า “เจ้าพอล” เลือกทีมนั้นให้เป็นผู้ชนะ ตั้งแต่รอบคัดเลือกเป็นต้นมา ทีมชาติเยอรมันลงเล่นมาเป็นจำนวน 5 นัด ได้แก่ รอบคัดเลือก 3 นัด รอบ 16 ทีมที่พบกับอังกฤษ และรอบ 8 ทีมที่พบกับอาร์เจนตินา ผลปรากฏว่า เจ้าหมึกพอล สามารถทำนายผลการแข่งขันได้ถูกต้องทั้ง 5 นัด หรือ 100% เต็ม โดยทั้ง 5 นัดนี้ เยอรมันก็ไม่ได้ชนะรวดทั้ง 5 นัด นะครับ เนื่องจาก มีนัดที่ไปแพ้เซอร์เบีย 1-0 ในรอบคัดเลือก ด้วย สำนักข่าวต่าง ๆ เช่น AP และ BBC ต่างยกย่องให้ “หมึกพอล” เป็น Oracle (หมึกผู้หยั่งรู้) บ้าง เป็น Psychic (หมึกพลังจิต) บ้าง แฟนบอลอังกฤษบางรายถึงขนาดเขียนด่า “เจ้าพอล” ในเว็บไซต์ว่าเป็นหมึกทรยศ เมื่อครั้งในรอบ 16 ทีมสุดท้าย ที่ไปทำนายให้เยอรมันชนะประเทศบ้านเกิดของตัว บ้าไปกว่านั้น ก่อนที่เจ้าพอลตัวจริงจะทำการพยากรณ์ผลนัดรองชนะเลิศระหว่าง สเปน-เยอรมัน เพื่อแกล้งให้แฟนบอลเยอรมันขวัญเสีย มีแฟนบอลไม่ทราบสัญชาติ (ก็น่าจะเป็นสเปน) ตัดต่อภาพให้ “หมึกพอล” เลือกทีมสเปน แล้วนำเผยแพร่ลงอินเทอร์เน็ต จนทางพิพิธภัณฑ์ต้องออกมาปฏิเสธว่า “พอล” ยังไม่ได้ทำการพยากรณ์แต่อย่างใด แต่ท้ายที่สุด ผลพยากรณ์อย่างเป็นทางการก็ออกมาว่า “เจ้าพอล” ได้เลือกทีมสเปนให้เป็นผู้ชนะในแมทช์รอบรองคืนนี้จริง ๆ แน่นอนว่าคำทำนายดังกล่าวเป็นที่ขัดใจของชาวเยอรมัน โดยเฉพาะกับกุนซือ โยอัคคิม เลิฟ และขุนพลเยอรมันได้ข่าวว่ากำลังใจหายไปพอสมควร คงต้องรอลุ้นผลกันคืนวันที่ 7 ครับว่าผลจะเป็นอย่างไร ซึ่งหากผลเป็นไปตามคำทำนายแล้วละก็ สวัสดิภาพของ “เจ้าพอล” ก็คงน่าเป็นห่วงครับ Hemline Index ในโลกของการลงทุน ก็มี “ตัวช่วยบอกเหตุ” ในทำนองของ “เจ้าพอล” เหมือนกัน เช่น ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1926 (พ.ศ. 2469) นักวิเคราะห์หุ้นชื่อว่า George Taylor ได้ริเริ่ม Hemline Index ขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกัน “สภาพตลาดหุ้น” กับ “ระดับชายกระโปรงของผู้หญิง” หรือ Hemline ในช่วงเวลาเดียวกัน กล่าวคือเมื่อใดที่ “กระโปรงยาว หรือ ชายกระโปรงต่ำ” เป็นที่นิยม สภาพดัชนีหุ้นในช่วงเวลานั้นก็จะตกต่ำตามไปด้วย ในขณะที่ช่วงใดที่ กระโปรงสั้นเป็นที่นิยม (ระดับชายกระโปรงสูง) ช่วงนั้นสภาพดัชนีตลาดหุ้นก็จะปรับตัวสูงขึ้นไปด้วย The Wall Street Journal รายงานว่า ดัชนี “ชายกระโปรง” นี้สามารถพยากรณ์สภาวะตลาดหุ้นได้ถูกต้องในช่วงทศวรรษที่ 1920 ช่วงที่กระโปรงสั้นเป็นที่นิยม ตลาดหุ้นก็เฟื่องฟู ก่อนที่ตลาดจะตกต่ำลงอย่างมากในช่วง Great Depression ทศวรรษ 1930 ซึ่งเป็นช่วงที่กระโปรงยาวหันกลับมาฮิตกันมากในช่วงนั้น อีกทั้ง สามารถพยากรณ์สภาพตลาดได้ถูกต้องในช่วงทศวรรษ 1960 ที่ตลาดหุ้นกลับมาบูมอีกครั้งในเวลาเดียวกันกับกระโปรงสั้น และช่วงตลาดหุ้นตกต่ำในปี ค.ศ.1987 ที่กระโปรงยาวเริ่มกับมานิยมอีก (อ่านเพิ่มเติมจาก “Hemlines Are Dropping. Sell Everything” WSJ.com, September 6, 2007) Super Bowl Indicator ถัดมาจาก ดัชนีชายกระโปรง “ตัวบอกเหตุ” โด่งดังมากอีกตัวในสหรัฐอเมริกา ก็คือ ผลการแข่งขันซูเปอร์โบว์ล หรือที่รู้จักกันดีในนามของ Super Bowl Indicator ที่ระบุว่า หากในปีใด ทีมผู้ชนะซูเปอร์โบว์ลมาจากสาย Original National Football Conference (NFC) หรือ NFC ดังเดิม (เช่น ทีม Green Bay Packers หรือ Dallas Cowboys) ตลาดหุ้นในปีนั้นจะมีแนวโน้มที่จะสดใส ในขณะที่หากปีใด ทีมจากสาย Original American Football Conference (AFC) หรือ AFC ดั้งเดิม เป็นผู้ชนะ (เช่น Denver Broncos หรือ New England Patriots) ก็มีแนวโน้มว่าตลาดหุ้นในปีนั้นมีแนวโน้มจะตกต่ำ The Wall Street Journal รายงานได้ว่า ถึงแม้ว่าในช่วงเวลา 4-5 ปีมานี้ เจ้าดัชนีซูเปอร์โบว์ลนี้จะผิดพลาดไปบ้าง แต่โดยรวมแล้ว Super Bowl Indicator สามารถพยากรณ์ได้แม่นยำถึง 79% หรือ ทำนายถูก 34 จาก 43 ครั้ง รวมถึงปีที่แล้ว (อ่านเพิ่มเติมจาก “Super Bowl Indicator Says Stocks to Rise” WSJ.com, January 28, 2010) สำหรับปีนี้ ผู้ชนะคือ New Orleans Saints จากสาย NFC ระบุถึงคำทำนายว่าปีนี้ตลาดหุ้นปีนี้น่าจะสดใส ก็คงต้องรอลุ้นจนถึงปลายปีว่าตลาดจะสดใสจริงตามนั้นหรือไม่ Golden & Death Cross เป็น “ตัวบอกเหตุ” ที่เกิดจากการตัดของเส้นค่าเฉลี่ยของราคาย้อนหลัง 50 วัน (50-day MA) กับเส้นค่าเฉลี่ยของราคาย้อนหลัง 200 วัน (200-day MA) ที่นิยมกันมากในการวิเคราะห์ทางเทคนิค จุดตัดนี้จะบอกถึงแนวโน้มของตลาดในอนาคต มี 2 ประเภท คือ Golden Cross หรือ “จุดตัดทองคำ” ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเส้น 50-day MA ตัดขึ้นผ่าน เส้น 200-day MA แสดงถึงแนวโน้มที่สดใสของตลาดในช่วงเวลาข้างหน้า อีกตัวหนึ่งคือ Death Cross หรือ “จุดตัดมฤตยู” ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเส้น 50-day MA ตัดลงผ่าน เส้น 200-day MA แสดงถึงแนวโน้มในอนาคตที่มืดมนของตลาด โดย ณ วันที่ 6 ก.ค. 53 นี้ เกือบจะเกิด Death Cross ขึ้นในกราฟของดัชนี Dow Jones และ ดัชนี S&P 500 แล้ว (หลังจากที่ได้เกิดขึ้นมาแล้วกับดัชนี Nikkei 225 ของญี่ปุ่นมาเมื่อปลายเดือนที่แล้ว) นักลงทุนในตลาดคงต้องคอยติดตามสภาพตลาดอย่างใกล้ชิด และเมื่อ Death Cross เกิดขึ้นกับดัชนีหลักทั้ง 2 แล้ว คงต้องรอลุ้นว่าแนวโน้มของตลาดจะเป็นไปอย่างที่ทำนายไว้หรือไม่ ท้ายนี้ ไม่ว่า “ตัวบอกเหตุ” จะบ่งชี้ออกมาเป็นอย่างไร คงต้องยอมรับกันว่าเรื่องราวในอนาคต อะไรก็เกิดขึ้นได้ครับ เหมือนอย่างคำที่ว่า “ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน” ซึ่งสภาวการณ์ที่ไม่แน่นอนอย่างเช่นปัจจุบันนี้ นักลงทุนทุกท่านควรลงทุนด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่งครับ
  9. ศูนย์วิจัยกสิกรฯ ชี้ถึงเวลา กนง.ขึ้น “ดอกเบี้ยนโยบาย” เป็น 1.50% โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 กรกฎาคม 2553 17:54 น. คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น “ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” คาด การประชุมบอร์ด กนง.รอบนี้ (14 ก.ค.) หรือรอบถัดไป (25 ส.ค.) อาจมีการปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีก 0.25% เป็น 1.50% เหตุความเสี่ยงเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนธนาคารพาณิชย์จะขยับเพิ่มดอกเบี้ยเงินฝาก-สินเชื่อตาม บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ระบุว่ามีความเป็นไปได้ที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทยจะมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับผ่อนคลายอย่างมากที่ 1.25% เป็น 1.50% ในการประชุมรอบที่ 5 ของปีในวันที่ 14 ก.ค.นี้ ซึ่งเป็นโอกาสที่ใกล้เคียงกันกับความเป็นไปได้ที่ กนง.อาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมในการประชุมรอบที่จะถึงนี้ และเตรียมการณ์สำหรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมรอบถัดไปในวันที่ 25 ส.ค.53 ทั้งนี้ ไม่ว่ามติการประชุมรอบนี้จะมีข้อสรุปออกมาเป็นเช่นไรในระหว่างสองกรณีข้างต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าจังหวะเวลาที่ห่างกันเพียง 1 รอบการประชุม หรือประมาณ 6 สัปดาห์ คงไม่มีความแตกต่างกันมากนักสำหรับการดำเนินการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเข้าสู่ระดับที่เป็นปกติมากขึ้น (Normalized) ท่ามกลางสถานการณ์ที่ความเสี่ยงด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้มีแนวโน้มอยู่ในขอบเขตที่บริหารจัดการได้ ขณะที่ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในปีข้างหน้า นอกจากนี้ การดำเนินการดังกล่าว หากเกิดขึ้น ยังเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับแนวโน้มการคุมเข้มนโยบายด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลายแห่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สำหรับผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยในระบบหรือต้นทุนทางการเงินนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าการปรับตัวของตลาดการเงินในระยะถัดไป นอกจากจะขึ้นกับมติ กนง.ในการประชุมรอบนี้แล้ว คงจะอยู่ที่การส่งสัญญาณของ กนง.ถึงความต่อเนื่องในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายว่าจะมีมากน้อยเพียงใดในระยะที่เหลือของปี รวมไปถึงมุมมองต่อแนวโน้มเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะมีผลต่อการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ของนักลงทุน ประเด็นสำคัญเพิ่มเติมสำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์นั้น อยู่ที่ความสามารถในการขยายสินเชื่อใหม่ของธนาคารพาณิชย์ ตลอดจนกลไกการส่งผ่านนโยบายการเงินโดยการดูดซับสภาพคล่องผ่านการใช้เครื่องมือต่างๆ ของทางการ โดยมองว่า หาก กนง.มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จะส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์พิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมตาม แต่จังหวะเวลาและขนาดการปรับขึ้นนั้น คงจะอยู่ที่ความเข้มแข็งของเศรษฐกิจ ภาวะการแข่งขัน และการบริหารจัดการสภาพคล่องในระบบของทางการเป็นสำคัญ ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 8 ก.ค.ที่ผ่านมา ธนาคารกลางมาเลเซียได้ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจาก 2.50% เป็น 2.75% ส่วนดอกเบี้ยประเทศอื่นๆเป็นดังนี้ ฟิลิปปินส์ 4.00%, อินโดนีเซีย 6.50%, เวียดนาม 8.00%, ไต้หวัน 1.375%, และไทย 1.25% ใช้อัตรานี้มาตั้งแต่ เม.ย.52
  10. ยุโรปทดสอบความแข็งแกร่งแบงก์ 91 แห่ง ให้หายข้องใจว่าจะรับมือกับวิกฤตได้เพียงใด โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 กรกฎาคม 2553 20:56 น. เอเอฟพี/เอเจนซี - คณะกรรมาธิการแห่งหน่วยงานกำกับตรวจสอบการธนาคารของยุโรป (ซีอีบีเอส) แถลงในตอนเย็นวันพุธ(7)ว่า บรรดาธนาคารในสหภาพยุโรป (อียู) ที่กำลังถูกดำเนินการทดสอบฐานะความเข้มแข็งทางการเงินในปีนี้ มีทั้งสิ้น 91 แห่ง ในจำนวนนี้ครอบคลุมถึงธนาคารทุกแห่งที่ดำเนินกิจการในประเทศต่างๆ มากกว่า 1 ประเทศ ตลอดจนพวกธนาคารระดับท้องถิ่นในเยอรมนี และ สเปน ซึ่งเป็นพวกที่ถูกตลาดการเงินสงสัยข้องใจมากที่สุดว่าจะเป็นจุดอ่อนแอมีปัญหาหนัก การทดสอบซึ่งเรียกกันว่า stress test นี้ มุ่งที่จะประเมินความสามารถของแบงก์เหล่านี้แต่ละแห่งว่าจะยังคงมีฐานะทางงบดุลบัญชีมั่นคงมากน้อยแค่ไหน ถ้าหากต้องเผชิญกับวิกฤตการเงินชนิดแทบที่จะทำให้ระบบการธนาคารในยุโรปพังครืน สำหรับจำนวนแบงก์ยุโรปที่ถูกทดสอบในปีนี้ สูงขึ้นหลายเท่าตัวจากปีที่แล้วซึ่งมี 22 แห่งเท่านั้น และซีอีบีเอส ยืนยันตามที่ทางการเยอรมนีกับฝรั่งเศสได้เคยให้ข่าวมาก่อนหน้านี้ นั่นคือจะมีการเผยแพร่ผลการทดสอบของปีนี้ในวันที่ 23 กรกฎาคม ทั้งนี้ การทดสอบแบบนี้สหรัฐฯเคยทำกับบรรดาธนาคารของตนมาก่อน และบังเกิดผลดีในการทำให้ตลาดการเงินกลับมีความมั่นอกมั่นใจเกี่ยวกับฐานะของแบงก์เหล่านี้
  11. วิเคราะห์แนวนโยบายของกลุ่มจี 20 คอลัมน์ เศรษฐกิจต้องรู้ โดย ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 08 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4225 การประชุมกลุ่มจี 20 ที่ผ่านมาเมื่อ 26-27 มิ.ย.ที่นครโทรอนโตประเทศแคนาดานั้นถูกจับตามอง โดยเฉพาะในประเด็นที่เกิดความแตกแยกทางความคิดระหว่างยุโรปกับอเมริกา โดยฝ่ายแรกเห็นว่า จะต้องรัดเข็มขัดทางการคลัง (ลดการขาดดุลงบประมาณ) ทันทีและเร่งรัดให้หนี้สาธารณะต่อจีดีพีหยุดขยายตัวโดยเร็ว ในขณะที่สหรัฐอยากให้กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายการคลังอย่างต่อเนื่อง เพราะเศรษฐกิจโลกยังฟื้นตัวอย่างกระท่อนกระแท่น หากถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจก่อนเวลาอันควรเศรษฐกิจโลกอาจฟุบตัวได้ในปี 2011 ดังนั้นแถลงการณ์ของจี 20 ที่ออกมาเมื่อ 27 มิ.ย.จึงมีความยาวเป็นพิเศษคือ 48 ย่อหน้ากับอีก 3 ภาคผนวกมีความยาวรวมทั้งสิ้น 27 หน้า เปรียบเทียบกับการประชุมจี 20 ที่กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษเมื่อวันที่ 2 เมษายน ซึ่งแถลงการณ์ในครั้งนั้นเร่งรัดให้ทุกประเทศโถมกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย ทุกมาตรการที่มีอยู่อย่างไม่ต้องยั้งมือ โดยแถลงการณ์มีเพียง 29 ย่อหน้า ยาวไม่ถึง 10 หน้า เพราะต่างฝ่ายมีความเข้าใจและความมุ่งมั่นไปในทิศทางเดียวกัน ทำไมสหรัฐกับยุโรปจึงแตกคอกันในเชิงของการมองทิศทางนโยบายไปสู่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ? ประเด็นหลักน่าจะมาจากการที่ประเทศในยุโรปต้องรับภาระจัดการดูแลผลกระทบจากปัญหาหนี้สาธารณะของกรีซ ซึ่งตอกย้ำว่าหาก รัฐบาลใช้จ่ายเกินตัวและสร้างหนี้สาธารณะให้อยู่ที่ระดับสูงก็อาจถูกกลไกตลาด (นักลงทุนที่ซื้อตราสารหนี้รัฐบาล) ลงโทษ อย่างรุนแรงและไม่ไว้หน้า กล่าวคือ ประเทศกรีซนั้นแม้ว่าช่วงที่เศรษฐกิจโลกวิกฤตอย่างหนักในปลายปี 2008 ถึงปลายปี 2009 ก็ยังสามารถกู้ยืมเงินจากตลาดได้ โดยการ ออกพันธบัตรรัฐบาลและจ่ายดอกเบี้ยประมาณ 5-6% ต่อปีสำหรับพันธบัตร 10 ปี และจ่ายดอกเบี้ย 2-4% สำหรับพันธบัตร 2 ปี แต่ในปลายเดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤษภาคมที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวแล้ว พันธบัตรรัฐบาลกรีกต้องถูกกดราคาลง ทำให้รัฐบาลกรีกต้องยอมจ่ายดอกเบี้ยสูงถึง 12-18% ต่อปี สำหรับพันธบัตร 2 ปีถึง 10 ปี และแม้จะได้รับอนุมัติกองทุนช่วยเหลือฉุกเฉินจากยุโรปและไอเอ็มเอฟเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 110,000 ล้านยูโร หรือเกือบ 50% ของจีดีพีของกรีซในเดือนพฤษภาคม แต่ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลก็ยังสูงถึง 10% ในปัจจุบัน กล่าวคือ ประเทศยุโรปเห็นถึงภัยอันตรายของประเทศที่ไม่รักษาวินัยทางการคลัง นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอังกฤษเร่งออกมาตรการลดการขาดดุลงบประมาณจาก 11% ของจีดีพีในปี 2009 ให้สามารถจัดงบประมาณสมดุลได้ในเวลา 4 ปี โดยบอกกับประชาชนว่าไม่ต้องการให้ประเทศอังกฤษอยู่ในภาวะเสี่ยงภัยเช่นที่ได้เกิดขึ้นกับประเทศกรีซ ดังนั้นแถลงการณ์ของกลุ่มจี 20 จึงได้กำหนดเป้าหมายของการลดการขาดดุล งบประมาณให้เหลือครึ่งหนึ่งใน 3 ปี และให้หนี้สาธารณะต่อจีดีพีไม่เพิ่มขึ้นภายใน ปี 2016 อย่างไรก็ดี เป้าหมายดังกล่าว มีข้อยืดหยุ่นให้ประเทศต่าง ๆ ปรับนโยบายการคลังให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ของตนเช่นกรณีของญี่ปุ่นซึ่งเศรษฐกิจขยายตัวช้าและหนี้สาธารณะอยู่ที่ระดับสูง (เกือบ 200% ของจีดีพี) ทำให้ต้องปรับตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่จี 20 ก็แสดงความเป็นห่วงว่าการปรับลดการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายการคลังนั้นต้องทำด้วยความระมัดระวังเพื่อให้ภาคเอกชนสามารถฟื้นตัวต่อไปได้และมีความเสี่ยงว่าหากรัฐบาลทุกประเทศรัดเข็มขัดพร้อมกัน (synchronized fiscal adjustment) ก็จะส่งผลกระทบในทางลบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยัง ไม่อยู่ตัว (recovery and repair remaining incomplete, recovery of private demand not yet fully in place) ดังนั้นจึงชี้นำให้ประเทศพัฒนาแล้วที่ขาดดุล (น่าจะหมายถึงขาดดุลทั้งงบประมาณและขาดดุลบัญชีเดินสะพัด) เพิ่มการออมและเร่งขยายตลาดส่งออก (ย่อหน้า 11 ของแถลงการณ์) ในขณะที่ประเทศซึ่งเกินดุล (หมายถึงเกินดุลบัญชีเดินสะพัด) กล่าวคือประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะจีนให้ ปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อลดการพึ่งพาตลาด ส่งออกและเน้นการขยายตลาดภายในประเทศให้เป็นหัวจักรของการขยายตัว ทางเศรษฐกิจ (ย่อหน้า 12 ของแถลงการณ์) อ่านดูอย่างผิวเผินแล้วก็อาจวางใจในระดับหนึ่งว่า ข้อเสนอของจี 20 จะทำให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวได้โดยต่อเนื่องไม่สะดุดตัวลง แต่ผมเป็นห่วงว่ากระแสการ รัดเข็มขัดทางการคลังจะรุนแรงกว่าที่คิดกัน เพราะในยุโรปนั้นไม่สบายใจกับการ ขาดวินัยทางการคลังเป็นทุนมาก่อนแล้ว ด้วยอุดมการณ์ที่อนุรักษนิยมโดยเฉพาะเยอรมนีซึ่งเคยเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อ อย่างรุนแรงในช่วงระหว่างสงครามโลก ครั้งที่ 1 และ 2 ที่ประชาชนต้องนำเงินใส่รถเข็นไปซื้อขนมปังปอนเดียว ทำให้เยอรมนีประกาศลดการขาดดุลงบประมาณกว่า 80,000 ล้านยูโรภายใน 3 ปี ทั้ง ๆ ที่สหรัฐมองว่าเยอรมนีควรกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการขาดดุลงบประมาณต่อไป เพราะหนี้สาธารณะยังต่ำและประเทศก็เกินดุลบัญชีเดินสะพัด ในสหรัฐเองก็มีปัญหาว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมหึมามูลค่า 8 แสนล้านเหรียญกำลังจะอ่อนแรงลง ทำให้รัฐบาล โอบามาพยายามออกงบประมาณรอบสองมูลค่า 2 แสนล้านเหรียญ แต่ต้องเผชิญกับแรงต่อต้านในสภา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากวุฒิสภา) ทำให้ต้องลดทอนลงมาเหลือ 113,000 ล้านเหรียญ แต่ก็ถูกวุฒิสภา เสียงข้างน้อยสกัดกั้นในที่สุด โดยงบฯกระตุ้นเศรษฐกิจล่าสุดนั้นได้รับเสียงสนับสนุนจากวุฒิสภาเพียง 57 เสียง (วุฒิสมาชิกมีอำนาจมากในการชะลอกฎหมายหากเสียงข้างมากมีไม่ถึง 60 เสียงจาก 100 เสียง) ประเด็นคือทั้งสหรัฐและยุโรปอาจเข้าสู่สภาวะรัดเข็มขัดทางการคลังในปี 2011 ทำให้ต้องพึ่งพาภาคเอกชนเป็นหลัก เพราะธนาคารกลางเองก็ไม่สามารถปรับดอกเบี้ยลงได้อีกและอาจต้องปรับดอกเบี้ยขึ้นบ้างในกรณีที่ค่าเงินอ่อนตัวลงไปมาก เช่นกรณีของเงิน ยูโรอาจทำให้ยุโรปต้องพิจารณาการปรับขึ้นดอกเบี้ยในปลายปี 2011 เป็นต้น อีกข้อเสนอหนึ่งที่ยังแฝงอยู่ในความต้องการของประเทศพัฒนาแล้ว คือการกดดันให้จีนปล่อยให้เงินหยวนแข็งค่าและกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศด้วยนโยบายการคลังเพื่อขับเคลื่อนการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก การปรับค่าเงินหยวนไปสู่การกำหนดค่าด้วยตะกร้าเงินที่ธนาคารกลางจีนประกาศออกมาก่อนการประชุม จี 20 หนึ่งสัปดาห์ได้ทำให้ประเทศในเอเชียตื่นเต้นว่าเมื่อจีนปรับค่าเงินหยวนแล้วเอเชียก็จะได้ประโยชน์และส่งสินค้าออกไปที่จีนเพิ่มขึ้นไปด้วย ตลาดหุ้นในเอเชียก็ปรับตัวขึ้นรับข่าวดีโดยทันที ผมเองสงสัยว่าพวกเราในเอเชียจะเหมาเอาว่าเป็นข่าวดีได้จริงหรือ สมมุติว่าเงินหยวนแข็งค่า เงินสกุลอื่น ๆ ในเอเชียก็น่าจะแข็งค่าตามไปด้วย เพราะเรามีสถานะเหมือนกับจีนคือพึ่งการส่งออก โดยกดค่าเงินให้ "แข่งขันได้ในตลาดโลก" และเกินดุลการค้าเป็นจำนวนมาก หากวิเคราะห์ตามทฤษฎีของ Robert Mundell ผู้ซึ่งถูกขนานนามว่าเป็น "บิดาของเงินยูโร" ก็จะสามารถไล่เรียงผลที่จะตามมาดังนี้ หากสมมุติว่าเงินทุนสามารถไหลเข้า-ออกในโลกได้โดยเสรี การกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศของกลุ่มประเทศเอเชียโดยอาศัยนโยบายการคลัง (หรือมาตรการใดก็ตามที่ส่งเสริมการใช้จ่ายของประชาชน) สิ่งที่จะตามมาคือ ดอกเบี้ยที่จะปรับสูงขึ้นตามการขยายตัว (ความร้อนแรง) ของเศรษฐกิจซึ่งจะนำไปสู่การไหลเข้าของเงินทุน หากรัฐบาลเอเชียต้องการตรึงไม่ให้ค่าเงินของตนแข็งค่าก็จะต้องเข้าแทรกแซงโดยซื้อดอลลาร์มาเก็บเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ หรือปล่อยให้เงินทุนที่ไหลเข้ามากระตุ้นเงินเฟ้อในประเทศหรือออกมาตรการกีดกันเงินทุนไหลเข้า (capital control) แต่ขณะนี้ประเทศพัฒนาแล้ว กดดันให้ประเทศกำลังพัฒนาปล่อยให้เงินของตนแข็งค่าขึ้น ในกรณีดังกล่าวการแข็งค่าขึ้นของเงินเอเชียจะทำให้การส่งออกของเอเชียลดและการนำเข้าเพิ่มขึ้น กล่าวคือ การส่งออกสุทธิของเอเชียจะต้องลดลงเท่ากับแรงกระตุ้นตลาดภายในที่เพิ่มขึ้น ทำให้โดยรวมแล้วจีดีพีของเอเชียจะไม่เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เพราะทั้งสองจะต้องหักลบกันพอดี คำถามคือ แรงกระตุ้นตลาดภายในเศรษฐกิจเอเชียหายไปไหน ? คำตอบคือแรงกระตุ้นดังกล่าวจะถูกส่งผ่านไปยังประเทศพัฒนาแล้วที่จะได้ประโยชน์อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยจากการส่งออกสุทธิของตนที่จะเพิ่มขึ้น หมายความว่าประโยชน์ ของการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศเอเชียทั้งหมดจะถูกโอนไปเป็นประโยชน์กับประเทศพัฒนาแล้วผ่านอัตราแลกเปลี่ยน ท่านที่อยากศึกษาทฤษฎีของ Mundell ในรายละเอียดสามารถอ่านได้จากตำราเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศที่มีอยู่ทั่วไปครับ
  12. กองทุนต่างชาติเมินหุ้นไทย โละ บจ.เกลี้ยงพอร์ต-ห่วงไปไม่กลับ โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 กรกฎาคม 2553 21:11 น. กองทุนต่างประเทศเมินหุ้นไทย พบเหลือการลงทุนในบริษัทจดทะเบียนเพียง 3 -4 บริษัท เหตุจากปัญหาทางการเมืองในประเทศที่ยังไม่ชัดเจน และการต่ออายุพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฉุดต่างชาติไม่เชื่อมั่น จะกลับมาหรือไม่ต้องลุ้นวิกฤตการเงินยุโรป และเศรษฐกิจสหรัฐฯ จี้ตลาดหลักทรัพย์ฯและบล.ต่างๆต้องไปให้ข้อมูลต่างประเทศมากขึ้น ส่วนที่ดัชนีอยู่ระดับ 800 จุด เป็นเพราะนักลงทุนในประเทศที่ผลักดันกันเอง นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทิสโก้ จำกัด เปิดเผยว่า บล.ทิสโก้ได้มีการไปพบกองทุนต่างประเทศ ประมาณ 20 กองทุนที่ลอนดอน ซึ่งกองทุนดังกล่าวตอบรับการไปให้ข้อมูลระดับกลางๆไม่เหมือนกับต้นปีที่ตอบรับการไปให้ข้อมูลของบริษัทอย่างมาก อีกทั้งพบว่า การลงทุนของกองทุนต่างประเทศ 20 แห่งนั้น เหลือลงทุนในหุ้นไทยน้อยมากเพียง 3-4 บริษัทเท่านั้น เนื่องจาก การที่ประเทศไทยมีปัญหาทางด้านการเมืองและยังไม่มีความชัดเจน ประกอบกับยังมีการต่ออายุพระราชกำหนด (พรก.)บริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน และปีหน้าก็จะมีการเลือกตั้งใหม่ ทำให้ยังไม่มีความมั่นใจในการเข้ามาลงทุนในประเทศ นอกจากนี้ยังได้รับผลกระทบจากการที่เศรษฐกิจโลกมีการเติบโตที่ชะลอตัว ทำให้เม็ดเงินลงทุนหันไปลงทุนในตลาดพันธบัตรจำนวนมาก จากความเสี่ยงต่ำ ทำให้ผลตอบแทน10 ปีของพันธบัตรสหรัฐเหลือเพียง 2.9 % โดยถือว่าต่ำมาก ซึ่งต้องติดตามเศรษฐกิจของสหรัฐฯว่าจะมีการชะลอตัวหรือไม่ เพราะจะทำให้ประเทศไทยยังไม่น่าสนใจเข้ามาลงทุน แม้ตลาดหุ้นไทยจะมีราคาถูกก็ตาม ซึ่งจะเห็นได้ว่านักลงทุนต่างประเทศก็จะมีการจายหุ้นไทยออกมาเป็นระยะ โดยในช่วงครึ่งปีหลังนี้เม็ดเงินต่างประเทศจะกลับมาลงทุนหร้อไม่นั้น ต้องรอความชัดเจนปัญหาวิกฤตการเงินยุโรป และเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาว่าจะมีการชะลอตัวหรือไม่ “ปัจจุบันกองทุนขนาดใหญ่เหลือลงทุนในหุ้นไทยเพียง 3-4 ตัวเท่านั้นซึ่งถือว่าน้อยมาก แต่ก็ยังดีขอเพียงแค่ยังมีหุ้นไทยอยู่ ซึ่งหุ้นไทยตอนนี้มีข้อดีในเรื่องที่มีอัพไซด์เยอะ โดยการที่กองทุนต่างประเทศลงทุนหุ้นไทยน้อยจากที่เราไม่เนื้อหอมเหมือนในอดีต เพราะเรามีปัญหาการเมืองเยอะ แม้ราคาถูกแต่ก็ไม่ดึงดูดให้นักลงทุนต่างประเทศมาลงทุน จากปีหน้าก็ต้องเลือกตั้งใหม่ ” สำหรับช่วงนี้ทางตลาดหลักทรัพย์ฯและบล.ต่างๆต้องมีการไปให้ข้อมูลแก่นักลงทุนต่างประเทศมากขึ้น เพื่อให้เข้ามาลงทุนจากตลาดหุ้นไทยยังมีโอกาสที่จะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก โดยดัชนีตลาดหุ้นไทยเชื่อว่าจะเคลื่อนไหวในระดับนี้เกิดจากการที่มีเพียงนักลงทุนไทยในประเทศที่จะพลักดันให้ดัชนีมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 800 จุด ****หุ้นไทยปิดลบ 0.84 จุด พักฐานเหมือนภูมิภาค ส่วนความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทยวานนี้ (7ก.ค.) ดัชนีปิดที่ระดับ 814.68 จุด ลดลง 0.84 จุด หรือ -0.10% มูลค่าการซื้อขาย 31,565.80 ล้านบาท โดยขยับขึ้นแตะจุดสูงสุดของวันอยู่ที่ระดับ 818.33 จุด ส่วนดัชนีจุดต่ำสุดของวันอยู่ที่ 813.02 จุด โดยมีหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงวานนี้ เพิ่มขึ้น 177 หลักทรัพย์ ลดลง 195 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 124 หลักทรัพย์ น.ส.มยุรี โชวิกรานต์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กิมเอ็ง(ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้พักฐาน เช่นเดียวกับตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียและตลาดแถบยุโรปที่อยู่ในลักษณะของการพักฐาน โดยรับแรงขายทำกำไรออกมาหลังจากที่เมื่อวานนี้ตลาดฯปรับตัวขึ้นไปมาก ขณะที่ปัจจัยจากภายนอกประเทศเวลานี้ยังไม่ได้มีประเด็นอะไรใหม่เข้ามา การปรับตัวลงของตลาดยุโรปในบ่ายนี้จึงไม่ได้น่ากังวล เป็นแค่รับผลจาก Sentiment เมื่อวานนี้ที่ปรับตัวขึ้นไปมาก เช่นเดียวกับปัจจัยในประเทศเวลานี้ยังไม่มีเรื่องใหม่เข้ามา อย่างไรก็ดี ยังมีมุมมองบวกต่อตลาดบ้านเราอยู่ โดยเฉพาะหุ้นที่กำลังจะไปออกโรดโชว์ในสัปดาห์หน้า ด้านน.ส.วชิราลักษณ์ แสงเลิศศิลปชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทรีนีตี้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้โดยรวมดูดีกว่าตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียที่จะอยู่ในแดนลบกันเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ ตลาดฯคงยังรับปัจจัยจากต่างประเทศอยู่ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะดัชนีภาคอุตสาหกรรมของจีนที่ยังดูไม่ดี ดังนั้น แนวโน้มการลงทุนในวันนี้(8 ก.ค.) มองว่า ตลาดฯคงจะแกว่ง Sideway ถึง Sideway Up โดยคงจะตอบรับปัจจัยจากต่างประเทศมากขึ้น เพราะจะมีการประกาศตัวเลขจีดีพีของยุโรป และการประชุมของธนาคารกลางยุโรป พร้อมแนะให้รอดูทิศทางดาวโจนส์คืนนี้ โดยให้กรอบการแกว่งตัวไว้ที่ 810-820 จุด
  13. ใช่ครับ แต่ช่วงที่side way ก็ต้องทำใจนะครับว่าเราจะต้องขาดทุน(เป็นการทดสอบจิตใจ
  14. copy แล้วเป็นภาษาอื่นครับ ลองตามไปอ่านดูก็แล้วกันครับhttp://www.nidambe11.net/ekonomiz/2010q3/2010July02p5.pdf
  15. ข้อถกเถียงของนโยบายการคลัง กับผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เศรษฐศาสตร์จานร้อน : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 05 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ในสัปดาห์ที่แล้ว ผมเขียนถึงการประเมินนโยบายการคลังของประเทศอเมริกา และประเทศกลุ่มที่ใช้เงินสกุลยูโรว่าจะตึงตัวขึ้นเป็นลำดับจากการใช้นโยบายการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ในปี 2009 ค่อยๆ ลดลงในปี 2010 และเริ่มรัดเข็มขัดในปี 2011 คำถามคือทำไมนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการขาดดุลงบประมาณเป็นจำนวนมากเป็นสิ่งที่ดีในปี 2009 แต่กลับกลายมาเป็นสิ่งที่ไม่สมควรทำในปี 2010-2011 ทั้งๆ ที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังไม่แข็งแกร่ง เพราะการว่างงานก็ยังอยู่ที่ระดับสูง (10%) และราคาอสังหาริมทรัพย์ก็ยังตกต่ำและยังมีบ้านที่ต้องถูกยึดคืนรอขายต่ออีกหลายล้านหลัง หากเคยอ้างว่าการขาดดุลงบประมาณ จะทำให้มีการใช้จ่ายเพิ่ม จ้างงานเพิ่ม ซึ่งจะช่วยเพิ่มกำลังซื้อและความมั่นใจของประชาชน (ซึ่งพูดกันมากในปี 2009) ทำไมในปี 2010 กลุ่มจี 20 จึงกลับมาพูดถึงความจำเป็นที่จะต้องลดการขาดดุลงบประมาณและการรักษาวินัยทางการคลังในระยะกลาง เพราะหากรัฐบาลลดการใช้จ่ายก็จะยิ่งทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ถูกเหนี่ยวรั้ง จากการว่างงานและความซบเซาของภาคอสังหาริมทรัพย์ยิ่งขาดความชัดเจน และบั่นทอนความเชื่อมั่นของประชาชนและนักธุรกิจ จะเห็นได้ว่าความเห็นของประเทศหลักในยุโรป เช่น เยอรมนีและอังกฤษเริ่มแตกต่างอย่างชัดเจนจากความเห็นของผู้นำอเมริกา กล่าวคือ ทั้งประธานาธิบดีและรัฐมนตรีคลังของสหรัฐยังสนับสนุนการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการเพิ่มงบประมาณรายจ่ายและยอมให้ขาดดุลเพิ่ม โดยในสหรัฐนั้น กำลังปรึกษาหารือกันว่าหากจำเป็นก็อาจเพิ่มการกระตุ้นเศรษฐกิจอีก 50,000-80,000 ล้านดอลลาร์ ในขณะเดียวกัน ผู้นำของยุโรปแสดงท่าทีที่ชัดเจนอย่างมากกว่าต้องหันกลับมารักษาวินัยทางการคลังอย่างเร่งด่วน เช่น กรณีของเยอรมนีประกาศลดการขาดดุลถึง 80,000 ล้านยูโรใน 4 ปีข้างหน้าหรือ 3.5% ของจีดีพี โดยในปี 2011 จะลดการขาดดุล 1.1% ของจีดีพีทั้งๆ ที่เศรษฐกิจของเยอรมนีนั้นคาดการณ์ว่าจะขยายตัวในระดับ 2% ซึ่งน้อยกว่าการขยายตัวของสหรัฐที่ 3% ความเห็นที่แตกต่างกัน ซึ่งน่าจะเห็นได้ชัดเจนขึ้นต่อไประหว่างสหรัฐกับยุโรปนั้น อาจมองได้ว่ามาจากการยึดตำราเศรษฐศาสตร์คนละตำรากัน กล่าวคือ สหรัฐสะท้อนทฤษฎีของเคนส์ ที่ยึดมั่นว่าการกอบกู้เศรษฐกิจจากภาวะตกต่ำรุนแรงนั้น ต้องพึ่งพานโยบายการคลังเป็นหลักและการขาดดุลงบประมาณ ตลอดจนการสร้างหนี้สาธารณะนั้น จะไม่เป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจในระยะยาวเพราะหนี้สาธารณะ คือ การที่ "ประชาชนเป็นเจ้าหนี้-ลูกหนี้กันเอง" แต่ที่สำคัญ คือ การใช้จ่ายของรัฐบาลจะกระตุ้นการใช้จ่าย และการจ้างงานซึ่งจะกอบกู้เศรษฐกิจจากภาวะที่ประชาชนและนักธุรกิจไม่กล้าทำอะไรส่งผลให้เศรษฐกิจจมอยู่กับความตกต่ำยาวนานเกินจำเป็นในทางตรงข้าม ฝ่ายคลาสสิก (classical) มองว่าประชาชนมีความรอบรู้ทางเศรษฐกิจและเมื่อเห็นรัฐบาลใช้จ่ายเกินตัวและสร้างหนี้สินเป็นจำนวนมาก ประชาชนก็จะคาดการณ์ได้ว่าในอนาคตรัฐบาลจะต้องตามมาเก็บภาษีเพิ่มขึ้น เพื่อลดการขาดดุล ดังนั้น ประชาชนจะเตรียมออมเงินเอาไว้รอเสียภาษีในอนาคตตั้งแต่เดี๋ยวนี้ ผลคือเมื่อใดที่รัฐบาลพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการเพิ่มรายจ่ายหรือลดภาษี ประชาชนก็จะลดรายจ่ายและเพิ่มการออม ผลคือการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายการคลังจะได้ผลน้อยมาก ทฤษฎีนี้นักเศรษฐศาสตร์ขนานนาม ว่า Ricardian equivalence ตามชื่อนักเศรษฐศาสตร์ที่นำเสนอแนวคิดนี้มานานกว่าร้อยปีมาแล้ว แนวคิดของฝ่ายคลาสสิก นั้น ดูเป็นเหตุเป็นผล คือ หากพบว่ามีหนี้สาธารณะสูงถึง 100% ของจีดีพีอยู่แล้ว การจะขาดดุลงบประมาณเพิ่มก็น่าจะทำให้เชื่อได้ว่าจะต้องเพิ่มภาษีในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น รัฐบาลที่มี "มีสิทธิ" ใช้นโยบายการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจน่าจะเป็นรัฐบาลที่มีหนี้สาธารณะอยู่ที่ระดับต่ำเช่นต่ำกว่า 60% ของจีดีพี เป็นต้น แต่หากประเทศดังกล่าวไม่ใช้จ่ายเกินตัว กล่าวคือ หากประเทศโดยรวมมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ก็น่าจะเป็นอีกเหตุผลหนึ่ง ที่จะช่วยให้รัฐบาลสร้างหนี้สินเพิ่มได้ เพราะแม้ว่ารัฐบาลจะใช้จ่ายเกินตัวแต่ประชาชนของประเทศ ก็จะเป็นผู้ซื้อพันธบัตร (ปล่อยกู้ให้รัฐบาล) โดยไม่ต้องพึ่งพาต่างชาติ ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าประเทศกรีซมีหนี้สาธารณะ 123% ของจีดีพีและขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงถึง 11.2% ของจีดีพี (ปี 2009) จึงประสบวิกฤติการคลังดังที่เห็นอยู่ในขณะนี้ แต่ญี่ปุ่นมีหนี้สาธารณะสูงเกือบ 200% แต่ยังไม่มีปัญหา (เห็นได้จากดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล 10 ปีเพียง 1.5% ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลกรีซดอกเบี้ยสูงถึง 8%) ทั้งนี้ เพราะญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่อง ดังนั้น จึงไม่แปลกที่พบว่าพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นนั้นสัดส่วนที่ต่างชาติถือมีเพียง 7% เท่านั้น แต่เหตุผลดังกล่าวไม่สามารถอธิบายได้ว่า ทำไมประเทศสหรัฐซึ่งขาดดุลงบประมาณสูงถึง 9-10% ของจีดีพี และหนี้สาธารณะอยู่ที่ 90% ของจีดีพี จะยังเป็นประเทศที่ต้องการเพิ่มการใช้นโยบายการคลัง ในขณะที่ประเทศเยอรมนีซึ่งต้องการเร่งวินัยทางการคลังขาดดุลงบประมาณเพียง 5.3% ของจีดีพีและมีหนี้สาธารณะเท่ากับ 82% ของจีดีพี นอกจากนั้น ในขณะที่เยอรมนีเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเท่ากับ 4.8% ของจีดีพีในปี 2009 แต่สหรัฐขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 2.8% ของจีดีพีในปีเดียวกัน กล่าวคือ ประเทศที่ควรต้องเร่งการรัดเข็มขัดทางการคลัง น่าจะเป็นสหรัฐและประเทศที่จะสามารถสร้างหนี้สาธารณะเพิ่มได้ควรจะเป็นเยอรมนี ตรงนี้ผมขอนำเอา ประเด็นที่ถกเถียงกันในเชิงวิชาการเกี่ยวกับผลของนโยบายการคลัง ซึ่งอาจสรุปได้ดังนี้ 1. นโยบายการคลังส่งผลทำให้เศรษฐกิจขยายตัวมากน้อยเพียงใด สมัยก่อนที่ทฤษฎีเคนส์เป็นที่นิยมก็มักเชื่อว่าตัวทวีคูณ น่าจะสูงถึง 2 คือ รัฐบาลใช้เงินเพิ่ม 1 บาท จะทำให้จีดีพีเพิ่ม 2 บาท (ทั้งนี้ อาจเกิดจากสมัยก่อนการนำเข้าจากต่างประเทศน้อยกว่านี้ ทำให้มีการรั่วไหลของคำสั่งซื้อน้อยกว่าปัจจุบัน) ปัจจุบันงานวิจัยบางงานพบว่าตัวทวีคูณของนโยบายการคลังอาจต่ำกว่า 1 ก็ได้ 2. การขาดดุลงบประมาณที่เพิ่มขึ้น หมายถึง การออกพันธบัตรเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเบียดบังภาคเอกชน (crowding out) ทั้งนี้ จะต้องดูว่าเศรษฐกิจอยู่ในภาวะตกต่ำ จนกระทั่งมีการว่างงานสูงและการใช้ทรัพยากรต่ำ ทำให้มีสินเชื่อเหลือใช้เป็นจำนวนมาก ภาวะตกต่ำอย่างต่อเนื่องดังกล่าวเป็นสิ่งที่เคนส์พิสูจน์ให้เห็นว่าเกิดขึ้นได้ในภาวะที่นักธุรกิจและประชาชนขาดความเชื่อมั่น ในขณะที่สำนักคลาสสิกเชื่อว่าหากยินยอมให้ปรับราคาผ่านกลไกตลาดเสรี (ลดเงินเดือนและยึดบ้านเพื่อขายทอดตลาด) ก็จะทำให้ทุกอย่างปรับตัวได้เร็ว ตรงนี้อาจสรุปได้ว่าต้องพิจารณาว่าเศรษฐกิจขยายตัวต่ำกว่าเกณฑ์ระยะยาวมากน้อยเพียงใด (output gap) และเงินเฟ้อเป็นขาขึ้นหรือไม่ ขณะนี้ ซึ่งเงินเฟ้อกำลังเป็นขาขึ้น ก็น่าจะต้องระมัดระวังเกี่ยวกับการใช้นโยบายการคลัง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 3. ปัญหาปัจจุบันนั้นอาจพูดได้ว่าเป็นปัญหาซ้อนปัญหา กล่าวคือ มีการสร้างหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น เพื่อลดผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2008-2009 แต่ในขณะเดียวกัน ยุโรป อเมริกาและญี่ปุ่นก็เริ่มต้องเผชิญกับปัญหาภาวะการเงินจากประชากรที่แก่ตัวลงอย่างรวดเร็ว กลุ่ม Baby boom กำลังเข้าสู่วัยชราและทวงสิทธิตามเงื่อนไขรัฐสวัสดิการ ซึ่งรัฐบาลไม่มีทางจะรับภาระได้ เพราะมีประชากรจำนวนมาก และต่างก็อายุยืนเกินไป กล่าวคือ โลกกำลังต้องเผชิญกับปัญหาวินัยทางการคลังในเชิงโครงสร้าง ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างมาก และอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2011 ครับ
  16. เรื่องของจิตวิทยาเป็นเรื่องๆยากจริงๆ
  17. ----เวลาน้ำขึ้นอย่าไปคาดเดาว่าน้ำจะขึ้นไปถึงจุดไหนแล้วจะต้องลง รอให้น้ำเริ่มลงก่อนถึงชัดเจนว่าลงแล้ว(ขายตอนที่ราคาเริ่มถูกแล้วจากราคาที่ขึ้นไปสูง บางคนจึงพูดว่าขายตอนถูก) ----เวลาน้ำลงอย่าไปคาดเดาว่าน้ำจะลงไปถึงจุดไหนแล้วจะขึ้น รอให้น้ำเริ่มขึ้นก่อนถึงชัดเจนว่าน้ำขึ้นแล้ว(ซื้อตอนที่ราคาเริ่มขึ้นมาจากราคาต่ำแล้วถึงแพงแต่น่าซื้อ ถึงบอกว่าซื้อตอนแพง) ปีนี้น้ำในเขื่อนจะแห้งไปถึงระดับไหนไม่มีใครรู้จริง ทุกอย่างคือการคาดเดา เมื่อระดับน้ำในเขื่อนเริ่มขยับขึ้นก็ได้สัญญาณซื้อ ปีนี้น้ำในเขื่อนคงขยับขึ้นไม่เยอะแต่อย่าคาดเดา รอหลังจากระดับน้ำในเขื่อนขึ้นไปจนเริ่มลงแล้วถึงคิดว่าระดับน้ำในเขื่อนน่าจะลดจริงแล้ว(ผมยกตจัวอย่างน้ำในเขื่อน ปีนี้มีใครรู้จริงบ้างว่าระดับน้ำในเขื่อนจะขึ้นไปถึงไปถึงไปไหน แต่ถ้าระดับเริ่มลงแล้วอันนี้ของจริงคือลง พอเริ่มลงก็ขาย) ไม่แน่ใจว่ายิ่งงงขึ้นกว่าเดิมมั้ย
  18. หวังว่าวันที่น้องเสมเปิดอบรมพี่คงมีเวลาว่างแล้วนะถึงจะอีกนานก็จะรอ ช่วงนี้ไม่ว่างเลย(มีคนถามกองทุนทองคำยังไม่ว่างอธิบายเลย) แต่ไม่ว่างอย่างไรอย่างน้อยวันที่เสมเปิดอบรมวันแรกพี่ต้องไปแน่ครับ แต่ขอวันอาทิตย์นะ(จะชวนคุณน. ไปด้วยนะ ปกติคุณน.ไม่ว่างวันอาทิตย์แต่วันที่เสมเปิดอบรมวันแรก คุณน.น่าจะพอมีเวลาไปร่วมหรือไปให้กำลังใจบ้าง
  19. หยิ่นหลางรู่ซื่อ : ชักนำหมาป่าเข้าห้องหับ โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 มิถุนายน 2553 16:08 น. 《引狼入室》   引(yǐn) อ่านหว่า หยิ่น แปลว่า ชักนำ 狼(láng) อ่านว่า หลาง แปลว่า หมาป่า 入(rù) อ่านว่า รู่(ยู่) แปลว่า เข้า 室(shì) อ่านว่า ซื่อ แปลว่า ห้อง ภาพจาก http://img.blog.163.com มีคนเลี้ยงแกะผู้หนึ่ง ปล่อยแกะกินหญ้าอยู่ในหุบเขาลึก วันหนึ่งเขาพบว่าในที่ห่างไกลออกไปนั้น มีหมาป่าตัวหนึ่งค่อยๆ เลาะเลียบติดตามฝูงแกะอยู่ ช่วงเวลาดังกล่าวคนเลี้ยงแกะจึงได้เพิ่มความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น เวลาผ่านไปหลายเดือน หมาป่ายังคงตามฝูงแกะอยู่ห่างๆ เช่นเดิม ทว่าไม่ได้เข้าใกล้ฝูงแกะมากขึ้นแม้แต่น้อย ทั้งยังไม่ได้ทำร้ายแกะแม้สักตัวเดียว ทำให้คนเลี้ยงแกะค่อยๆ เปลี่ยนความคิดระแวดระวังในตัวหมาป่าลงเรื่อยๆ ต่อมาคนเลี้ยงแกะถึงกับคิดว่าการที่มีหมาป่าตามหลังฝูงแกะนั้นก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะทำให้ไม่ต้องคอยระวังภัยจากสัตว์ป่าอื่นๆ จะมาทำร้ายฝูงแกะ จากนั้นอีกไม่นานนัก คนเลี้ยงแกะจึงยึดถือว่าหมาป่าตัวนั้นเป็นเพียงสุนัขเลี้ยงแกะไม่มีพิษสง ถึงกับเรียกให้มันมาทำหน้าที่ดูแลฝูงแกะและคอยต้อนแกะ หมาป่าทำหน้าที่ดูแลแกะโดยอยู่ในสายตาของคนเลี้ยงแกะตลอดเวลา คนเลี้ยงแกะเห็นว่าหมาป่าทำหน้าที่ได้อย่างดี ในใจคิดว่า "ผู้คนต่างเห็นว่าหมาป่าเป็นสัตว์ร้ายไว้ใจไม่ได้ แต่ข้ากลับเห็นว่าความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น..." วันหนึ่ง คนเลี้ยงแกะมีธุระต้องเดินทางเข้าไปในเมือง จึงได้ฝากให้หมาป่าดูแลฝูงแกะตามลำพังด้วยความไว้ใจ มิคาด...เมื่อคนเลี้ยงแกะลับตาไป หมาป่ากลับเปล่งเสียงกู่ร้องเรียกฝูงหมาป่าออกมาจากป่า จากนั้นจึงจับฝูงแกะกินเป็นอาหารจนราบคาบ สำนวน "หยิ่นหลางรู่ซื่อ" หรือ "ชักนำหมาป่าเข้าห้องหับ" ใช้เปรียบเทียบกับการนำคนชั่วหรือศัตรูมาไว้ใกล้ตัวก็ไม่ต่างกับการนำเภทภัยมาไว้ข้างกาย สุดท้ายกลับส่งผลร้ายต่อตนเองเกินกว่าที่จะคาดคิด มีความหมายคล้ายคลึงกับคำว่า "ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน" ในภาษาไทย สำนวนนี้ใช้ในตำแหน่งภาคแสดง(谓语) หรือส่วนขยายนาม(定语) ตัวอย่างประโยค 雇请保姆照顾老人要更加小心,要不会变成引狼入室。 การจ้างแม่บ้านมาดูแลคนแก่ต้องระวังให้มาก มิฉะนั้นจะกลายเป็น ~
  20. เส้นทางปรับค่าเงินที่จีนต้องฝ่าข้าม และดันหยวนสู่สกุลเงินสากล โดย สุรัตน์ ปรีชาธรรม 26 มิถุนายน 2553 07:57 น. และแล้วธนาคารประชาชนจีน ซึ่งเป็นธนาคารกลาง ก็ได้ฤกษประกาศปรับค่าเงินหยวนให้มีความยืดหยุ่นและแข็งค่าขึ้นในวันเสาร์(19 มิ.ย.) ตามด้วยคำแถลงสำทับในวันถัดมาว่า จีนจะไม่ให้เงินหยวนแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือปรับค่าขึ้นในทีเดียว เหล่ากลุ่มการนำชาติอำนาจตะวันตกทั่วโลกต่างหันขวับมาจ้องการยืดหยุ่นเงินหยวนของจีน ที่ยืนหยัดต้านแรงกดดันจากนานาชาติที่ต้องการให้ค่าเงินหยวนแข็งค่าขึ้นมาสองปี ในวันจันทร์(21 มิ.ย.) ค่าเงินหยวนยังไม่เปลี่ยนแปลง โดยธนาคารกลางกำหนดค่ากลางของช่วงการเคลื่อนไหวอัตราแลกเปลี่ยน (trading brand) ที่ 6.8275 หยวน ต่อหนึ่งดอลลาร์ ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากระดับฯเมื่อวันศุกร์(18 มิ.ย.) อย่างไรก็ตาม ในวันจันทร์ค่าเงินหยวนแข็งค่า 0.4 กว่าเปอร์เซนต์ ปิดที่ระดับ 6.8154 หยวนต่อดอลลาร์ ที่ตลาดเซี่ยงไฮ้ นับเป็นระดับแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 5 ปี นับจากวันที่จีนปล่อยเงินหยวนลอยตัวครั้งหลักหมายเมื่อปี 2548 วันต่อมาสื่อโลกพาดหัวข่าวอย่างคึกคักว่าจีนเริ่มก้าวแรกทำจริงในการปรับค่าเงิน โดยธนาคารกลางได้กำหนดค่ากลางช่วงการเคลื่อนไหวอัตราแลกเปลี่ยน ที่แข็งค่าขึ้นในวันอังคารที่ระดับ 6.7980 หยวน ต่อดอลลาร์ หรือแข็งขึ้น 0.43 เปอร์เซนต์ เทียบกับอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อวันจันทร์ แต่หยวนก็กลับอ่อนค่าลง 0.2 เปอร์เซนต์ ในตอนปิดตลาดวันอังคาร ที่ 6.8136 หยวนต่อดอลลาร์ เนื่องจากปัจจัยธนาคารพาณิชย์ของรัฐจีนทุ่มซื้อเงินดอลลาร์ ในวันพุธ ธนาคารกลางมังกร ยังได้กำหนดค่ากลางฯ ที่อ่อนค่ากว่าวันอังคาร 0.18 เปอร์เซนต์ คือที่ 6.8102 หยวนต่อดอลลาร์ ทำให้ผู้เล่นในตลาดค้าเงินผิดหวังไปตามๆกัน รอยเตอร์สำรวจเศรษฐกร 33 คน คาดการณ์ว่า จนถึงปลายปีนี้ ค่าเงินหยวนจะแข็งค่าขึ้น ราว 2.4 เปอร์เซนต์ ที่ ระดับ 6.67 หยวนต่อดอลลาร์ การเคลื่อนไหวขึ้น-ลงตัวของค่าเงินหยวนเช่นนี้ ก็เป็นที่ตามที่ธนาคารกลางของพญามังกรประกาศแจ้งให้ทราบแล้วในปลายสัปดาห์แล้วว่าการปรับค่าเงินจีนจะไม่เป็นไปอย่างรวดเร็ว และในวันอังคาร กระทรวงต่างประเทศก็แถลงย้ำอีกครั้งว่าการปรับค่าเงินหยวนจะเป็นไปแบบค่อยเป็นค่อยไปเท่านั้น เรื่องปรับค่าเงินหยวนนี้ เป็นศึกงัดข้อระดับโลกที่ยืดเยื้อมาเกือบสองปี โดยเหล่ายักษ์ใหญ่ค่ายตะวันตกที่ขาดดุลการค้าอย่างสะบั้นกับจีน นำโดยสหรัฐอเมริกาต่างรุมชี้ว่าจีนจงใจปั่นค่าเงินให้อ่อนค่า โดยอ่อนกว่าความเป็นจริงถึง 40 เปอร์เซนต์ เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการค้าอย่างไม่เป็นธรรมแก่ผู้ส่งออกของตัวเอง จนในเดือนมี.ค.ที่ผ่านมากองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และธนาคารโลก ก็ร่วมออกโรงบีบให้จีนปรับค่าหยวน โดยย้ำว่าค่าเงินหยวนต่ำค่ากว่าความเป็นจริงจริงๆ ทั้งนี้จีนได้ยกเครื่องระบบอัตราแลกเปลี่ยนครั้งหลักหมายมา 5 ปี ที่ผ่านมานี้เอง โดยในปี 2548 ยกเลิกการตรึงค่าเงินเหรินเหมินปี้ หรือเงินหยวน กับดอลลาร์สหรัฐ และเงินหยวนก็ได้แข็งค่าขึ้นรวมๆแล้ว ราว 20 เปอร์เซนต์ กระทั่งในปลายปี 2551 จีนผจญวิกฤตการเงินโลกพ่นพิษใส่ภาคส่งออกจนอัตราเติบโตชะลอตัว จึงหันมาตรึงค่าเงินหยวนโดยพฤตินัย ไว้ที่ 6.83 หยวน ต่อดอลลาร์ ระหว่างเวลาเกือบสองปีนี้ ค่าเงินหยวนปรับตัวขึ้นลงไม่เกิน 0.5 เปอร์เซนต์ สร้างความขุ่นเคืองเหลือแสนแก่กลุ่มชาติอำนาจตะวันตก สำหรับการปรับค่าเงินจีนอย่างค่อยเป็นค่อยไปนี้ ยังสร้างความผิดหวังแก่กลุ่มผู้นำในสภาสูงสหรัฐฯที่ต้องการเห็นเงินหยวนแข็งค่าอย่างรวดเร็ว และอาจเตรียมเคลื่อนไหวยื่นร่างกฎหมายประณามโทษจีน แทรกแซงค่าเงินให้ต่ำค่า ต่อไป ทั้งนี้ทั้งนั้นการที่จีนได้ขยับปรับค่าเงินหยวนแข็งค่าขึ้นบ้างแล้วนี้ ก็ช่วยให้ประธานาธิบดีหู จิ่นเทา เข้าร่วมประชุมสุดยอดกลุ่มผู้นำ 20 ประเทศ หรือจี20 ในวันเสาร์(26 มิย.) ที่โตรอนโต ประเทศแคนาดา อย่างยิ้มย่อง และยืดอกพูดคุยกับประธานาธิบดี บารัก โอบามา และกลุ่มผู้นำชาติอื่นๆ วาระถกเถียงเรื่องค่าเงินหยวน ก็จะไม่ถูกหยิบยกขึ้นเป็นประเด็นร้อนเหมือนในการประชุมปีที่ผ่านๆมา จีนได้ทำตามที่ลั่นวาจาในการปรับค่าเงินให้แข็งขึ้น พร้อมกับรักษาท่าทีตามที่ยืนยันมาตลอด โดยนายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า แถลงในตอนปิดประชุมประจำปีของสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติเมื่อกลางเดือนมี.ค. ว่าเงินหยวนไม่ได้ต่ำกว่าความเป็นจริง ถ้าจะปรับก็เพื่อความสมดุลและเสถียรภาพของจีน และการปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนเป็นอธิไตยของจีน ใครจะมาสั่งไม่ได้ ในขณะเดียวกัน ผู้นำจีนก็ยอมรับการปรับค่าเงินหยวน ดังที่ นายโจว เสี่ยวชวน ผู้ว่าการธนาคารกลางจีนแถลงในเดือนต้นเดือนมี.ค.ว่า ในที่สุดแล้ว รัฐบาลจะต้องเลิกนโยบายเงินหยวน “พิเศษ” ซึ่งเป็นมาตรการฉุกเฉินอันหนึ่ง เพื่อรักษาเศรษฐกิจจีนให้เติบโต แม้จะมีเสียงคัดค้านจากกลุ่มนักวิเคราะห์ ที่กระตุ้นให้จีนย้อนมองบทเรียนประวัติศาสตร์การปรับเงินเยนของญี่ปุ่น ในช่วงต้น-กลางทศวรรษ1980 ตามแรงกดดันของผู้นำในวอชิงตัน โดยตอนนั้นรัฐบาลแดนปลาดิบได้เพิ่มค่าเงินเยนภายใต้ข้อตกลงพลาซ่า (Plaza Accord) ในปี 2528 จากนั้นญี่ปุ่นก็ประสบกับภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่อย่างยืดเยื้อ และเมื่อฟองสบู่แตกในปี 2533 ญี่ปุ่นก็เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยนานถึงสิบปี และขณะนี้เศรษฐกิจจีนก็มีสิ่งคล้ายคลึงกับเศรษฐกิจญี่ปุ่นในช่วงนั้น ได้แก่ มีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ และเกินดุลการค้าอย่างมาก และมีภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่เฟื่องฟู นายเม่ย ซินอี้ว์ นักวิจัยแห่งสถาบันความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ สังกัดของกระทรวงพาณิชย์จีน เตือนว่าหากจีนดำเนินรอยตามญี่ปุ่น ผลที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจจีนจะเลวร้ายยิ่งกว่า เพราะจีนยังอยู่ในช่วงกำลังพัฒนาประเทศ และพัฒนาอุตสาหกรรม และการขยับปรับค่าเงินจีนครั้งนี้ ก็เป็นจังหวะก้าวที่สอดคล้องกับแผนการผลักดันให้ค่าเงินหยวนเป็นสกุลเงินสากลและเป็นสกุลเงินที่แปลงค่าได้อย่างเต็มรูปแบบ โดยในวันอังคาร(22 มิ.ย.) ธนาคารกลางประกาศขยายโครงการทดลองใช้เงินหยวนในการค้าข้ามพรมแดนใน 20 เมืองและมณฑล อาทิ ในกรุงปักกิ่ง เทียนจิน เสฉวน และเจ้อเจียง เพื่อให้มีการทำธุรกรรมระหว่างประเทศในรูปเงินหยวนกันมากขึ้น โดยก่อนหน้าจีนได้ทดลองโครงการดังกล่าวในบริษัท 365 แห่งในนครเซี่ยงไฮ้ และอีก 4 เมืองในกว่างตง โดยอนุญาตให้ใช้เงินหยวนทำธุรกรรมกับเขตปกครองพิเศษฮ่องกง, เขตปกครองพิเศษมาเก๊า และ 10 ชาติในกลุ่มอาเซียน.
  21. ใครถือทองตอนนี้ควรหนีก่อนดีกว่าครับ

    1. Yai Carmungwed

      Yai Carmungwed

      คุณส้มโอมือทองจะลงเยอะเลยหรือครับ ผมยังไม่ได้ขายเลย

    2. Yai Carmungwed

      Yai Carmungwed

      ผมโดดออกมา50%ที่หมื่นแปดหกเพื่อลดความเสี่ยงแล้วครับคุณส้มโอมือ ขอบคุณมากครับ

  22. แรงกระฉูดในภาคส่งออกของ'จีน'อาจใกล้โรยแรงเร็ววัน โดย โรเบิร์ต เอ็ม คัตเลอร์ 20 มิถุนายน 2553 23:55 น. (เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com) China's exports surge, for now By Robert M Cutler 09/07/2009 ปักกิ่งนับวันแต่จะต้องเผชิญกับแรงกดดันที่มากขึ้นเรื่อยๆ แรงกดดันให้ต้องยอมปล่อยค่าเงินหยวนปรับสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากที่ตัวเลขส่งออกของเดือนพฤษภาคมฟ้องมาว่า จีนได้เปรียบในการค้าระหว่างประเทศอย่างมหาศาลขนาดที่ยอดส่งออกดังกล่าวสามารถขยายตัวในอัตราคึกคักระดับ 50% ทีเดียว ขณะเดียวกัน ปัจจัยภายในเองก็กดดันต่อเรื่องนี้ ในเมื่อปัญหาเงินเฟ้อนับวันแต่จะดุเดือดอย่างเหลือเกิน โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงราคาบ้านที่อยู่อาศัยซึ่งทะยานสูงแทบจะเป็นประวัติการณ์ พร้อมกับส่งสัญญาณเตือนถึงภัยเรื้อรังจากการที่ระบบเศรษฐกิจเติบโตร้อนแรงเกินไป กระนั้นก็ตาม ในยามที่อุปสงค์จากบรรดาประเทศกลุ่มยูโรโซนเต็มไปด้วยสัญญาณชี้บ่งถึงความเปราะบาง ดังนั้น ความแข็งแกร่งแห่งภาคส่งออกของจีนในช่วงนี้ อาจกลายเป็นความอ่อนแอในวันข้างหน้าก็เป็นได้ มอนทรีออล – แรงกดดันที่จีนได้รับจากการที่ระบบเศรษฐกิจของตนเติบโตอย่างชนิดที่ไม่เกรงใจใคร ถึงกับพุ่งปรี๊ดเมื่อปรากฏข่าวในวันที่ 10 มิถุนายน ว่ายอดส่งออกของจีนในเดือนพฤษภาคมสามารถขยายตัวในอัตราคึกคักระดับเกือบ 50% ทีเดียว ขณะที่ราคาบ้านที่อยู่อาศัยในเดือนเดียวกัน ก็ทะยานสูงแทบจะเป็นประวัติการณ์ ตัวเลขข้อมูลเหล่านี้เพิ่มความกดดันให้รัฐบาลจีนต้องพิจารณาจริงๆ จังๆ กับการเพิ่มค่าของเงินหยวน และเร่งโหมความวิตกให้ต้องดำเนินการมากขึ้นเพื่อลดอุณหภูมิอันร้อนแรงของระบบเศรษฐกิจ อีกทั้งขับเคลื่อนให้ราคาหุ้นผันผวนวุ่นวาย เดี๋ยวพุ่งพรวดพราด เดี๋ยวดิ่งลงต่ำ ทั้งนี้ สินค้าส่งออกของจีนได้ทะยานขึ้นไป 48.5% จากระดับของเดือนพฤษภาคม ปี 2009 นับเป็นอัตราขยายตัวที่ดุเดือดเสียยิ่งกว่าอัตราโตอันร้อนแรงระดับ 30.5% ของเมื่อเดือนเมษายน เมื่อปีที่แล้ว จีนเพิ่งแย่งตำแหน่งแชมป์โลกด้านการส่งออก จากเยอรมนี โดยที่จีนมีรายได้จากการส่งออกสูงถึง 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ ขณะที่เยอรมนีทำได้ที่ระดับ 1.12 ล้านล้านดอลลาร์ ในการนี้ มูลค่าการส่งออกเดือนพฤษภาคมได้ขึ้นไปถึงระดับ 131,760 ล้านดอลลาร์ ขณะที่มูลค่าการนำเข้าในเดือนเดียวกันอยู่ที่ระดับ 112,230 ล้านดอลลาร์ (หรือเท่ากับอัตราขยายตัวที่ 48.3%) ดังนั้น ยอดเกินดุลการค้าจึงอยู่ที่ 19,530 ล้านดอลลาร์ ตัวเลขทั้งหลายทั้งปวงนี้ (ไม่มากก็น้อย) เป็นอานิสงส์จากการส่งออกไปสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น 50% และไปสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น 44% ดังนั้น รัฐบาลจีนจึงยิ่งต้องถูกกดดันมากขึ้นเรื่อยๆ ให้ปล่อยเงินหยวนให้ดีดตัวและลดความได้เปรียบเชิงการค้าต่อประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐฯ ประเทศที่พวกนักการเมืองถูกบีบให้เร่งจัดการกับจีนซึ่งเชื่อกันว่าเป็นต้นเหตุของปัญหาการว่างงานในสหรัฐฯ อีกทั้งเชื่อกันว่าหากจีนไม่ใช้นโยบายเงินอ่อนมาสร้างความได้เปรียบทางการค้า บรรดาโรงงานในสหรัฐฯ จะไม่ต้องปิดตัว และประเทศก็จะยังรักษาระดับการจ้างงานได้ ช่องว่างทางการค้าที่ส่งผลไปเป็นแรงกดดันให้เงินหยวนแข็งค่ามากขึ้น (ซึ่งค่าของหยวนก็แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงเลยเมื่อเทียบกับค่าของดอลลาร์ นับจากเมื่อเดือนกรกฎาคม 2008) ยังคงปรากฏอยู่ และสำหรับบางคน มันเป็นหลักฐานบ่งชี้ว่าเงินของจีนนั้นต่ำกว่าความเป็นจริง ข้อความดังกล่าวซึ่งถูกนำไปอ้างอิงและเผยแพร่ในข่าวของสำนักข่าวบลูมเบิร์ก เป็นความเห็นของหลิวลี่กัง นักเศรษฐศาสตร์ของกลุ่มออสเตรเลีย แอนด์ นิวซีแลนด์ แบงกิ้ง กรุ๊ป ที่ตั้งสำนักงานอยู่ที่ฮ่องกง กระนั้นก็ตาม การอ่อนค่าของเงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ ได้ทำให้เงินหยวนแข็งตัวขึ้น 20% เมื่อเทียบกับเงินยูโร หรือเท่ากับเป็นการลดขีดความสามารถทำการแข่งขันของจีนบนพื้นที่ยูโรโซนเมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่างเกาหลีใต้ ข่าวของบลูมเบิร์กชี้ไว้อย่างนั้น โดยที่ยังมีเม็ดเงินทยอยหลั่งไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของจีน (ซึ่งก็คือตัวแพ็กเก็จกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 4 ล้านล้านหยวน หรือราว 585,000 ล้านดอลลาร์) นับจากเมื่อปลายปี 2008 ประกอบกับระบบเศรษฐกิจเมื่อไตรมาสแรกของปีนี้ ยังมีพลังการเติบโตด้วยอัตราสูงถึง 11.9% สภาพคล่องจึงท่วมท้นเข้าไปในตลาดบ้านที่อยู่อาศัย ตลอดจนสินทรัพย์อื่นๆ ทั้งปวง ปรากฏการณ์ที่เห็นคือ ราคาบ้านที่อยู่อาศัยในเดือนพฤษภาคมได้ทะยานตัวด้วยสถิติที่ร้อนแรงเป็นแชมป์ตลอดกาลอันดับที่สองทีเดียว โดยพุ่งขึ้นมา 12.4% จากเมื่อหนึ่งปีก่อนหน้า แต่แผ่วลงบ้างเมื่อเทียบกับอัตราเพิ่มของเดือนเมษายน ตลาดซึ่งร้อนแรงขนาดนั้นส่งผลอย่างต่อเนื่องกับความวิตกถึงปัญหาภาวะเศรษฐกิจร้อนแรงเกินไป ทั้งๆ ที่รัฐบาลก็ดำเนินมาตรการหลายประการไปแล้วในอันที่จะขจัดการเก็งกำไรออกไปบ้าง พร้อมกับคุมสภาพฟองสบู่ไว้ตั้งแต่ต้นมือ หากเกิดภาวะล่มสลายในตลาดบ้านที่อยู่อาศัย ผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมคงจะรุนแรงทีเดียว ทางเจพีมอร์แกนให้ประมาณการว่า ตลาดบ้านที่อยู่อาศัยเป็นแหล่งที่มาของอุปสงค์ต่อเหล็กราวครึ่งหนึ่งของประเทศ กับอีกหนึ่งในสามของอุปสงค์ต่ออะลูมิเนียมที่จีนผลิตได้ แล้วยังอุตสาหกรรมปูนซิเมนต์ก็อยู่ในข่ายด้วย หากว่าต้องเกิดภาวะฟองสบู่แตกในตลาดบ้านที่อยู่อาศัย อุปสงค์ต่อวัตถุดิบพื้นฐานเหล่านี้ย่อมจะสลายหายไป การดำเนินมาตรการของรัฐบาลจีนในช่วงที่ผ่านมา โดยมุ่งเพิ่มความเข้มงวดในภาคอสังหาริมทรัพย์ ก็จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน “ซึ่งจะกระทบต่อส่วนต่างกำไรของภาคธุรกิจ” บริษัทหลักทรัพย์เอเวอร์ไบร์ท ซีเคียวริตีส์ ระบุไว้ในบทวิเคราะห์ และจึงลดตัวเลขประมาณการอัตราโตของผลกำไรสุทธิของปี 2010 ลงเหลือ 21% จากที่เคยให้ประมาณการที่ระดับ 31% ดัชนีหลักทรัพย์เอสเอสอีซีของตลาดเซี่ยงไฮ้แสดงปฏิกิริยาลบต่อข่าวตัวเลขส่งออก โดยที่ว่าจากที่ปรับตัวขึ้นไป 2.8% เมื่อหนึ่งวันก่อนหน้า ก็กลับเป็นการอ่อนตัวลงราว 0.82% อยู่ที่ระดับ 2,562 รับข่าวตัวเลขส่งออก และเมื่อมองเป็นช่วงยาว ดัชนีตัวนี้ถดถอยอย่างต่อเนื่องจากช่วงต้นปีที่เคยอยู่ที่ระดับ 3,282 การสวนทางกันดังกล่าวไม่ใช่เรื่องลึกลับใดๆ ตัวเลขที่ทะยานขึ้นนี้เป็นภาพเชิงเปรียบเทียบกับตัวเลขเก่าของปีที่แล้วอันเป็นช่วงที่การส่งออกตกต่ำอย่างหนักภายในบริบทของภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่บ่อนทำลายอุปสงค์อย่างรุนแรง สำหรับสถิติการส่งออกล่าสุดนั้น แม้จะมีแนวโน้มการฟื้นตัวในอุปสงค์ของผู้บริโภคภายในยุโรปและอเมริกาเหนือ แต่มันยังไม่ได้สะท้อนหายนะทางเศรษฐกิจที่กำลังหยั่งรากอยู่ในยูโรโซน พื้นที่ที่รัฐบาลต่างๆ พากันหั่นค่าใช้จ่ายภาครัฐหลังถูกกดดันจากวิกฤตการคลังในกรีซ ด้านจีนเองก็ใช้ว่าจะอยู่ในสถานภาพมั่นคงแข็งแรง โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาถึงระดับความเสี่ยงที่ธนาคารพาณิชย์แบกรับอยู่ในระดับสูงขณะนี้ เมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์เงินเฟ้อระดับ 3% และเมื่อพิจารณาถึงสัญญาณของภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนั้น ในเวลาเดียวกัน บรรดาผู้ใช้แรงงานต่างรุกคืบเรียกร้องขอปรับเพิ่มค่าจ้าง ตัวอย่างเด่นคือการนัดหยุดงานที่โรงงานของฮอนด้าในมณฑลกวางตุ้งเมื่อเร็วๆ นี้ กระนั้นก็ตาม มาตรการของรัฐบาลที่จะลดภาวการณ์เก็งกำไรในตลาดบ้านที่อยู่อาศัย อาจกำลังส่งผลบ้าง อย่างน้อยก็สุดก็ในมิติของเงินทุน ในการนี้ เจพีมอร์แกนประมาณการว่ายอดขายอสังหาริมทรัพย์หมวดที่อยู่อาศัยในเขตปักกิ่ง ได้มีการปรับตัวลดลงถึง 80% จากที่เคยพุ่งสูงลิ่วในเดือนธันวาคม 2009 และถ้าเทียบกับระดับราคาเมื่อหนึ่งเดือนก่อนหน้า ยอดขายดังกล่าวลดลงราวกึ่งหนึ่ง ส่วนบาร์เคลย์ส แคปิตอลก็ให้ประมาณการด้วยว่า แม้ว่าราคาบ้านลดลงสัก 20%-30% ในอนาคตอันใกล้ แต่ขณะเดียวกัน การก่อสร้างที่อยู่อาศัยของภาครัฐจะจำกัดผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและต่ออุปสงค์ต่อวัตถุดิบ ดร. โรเบิร์ต เอ็ม คัตเลอร์ (http://www.robertcutler.org) สอนอยู่ที่สถาบันแมสซาชูเสตส์ อินสติติว ออฟ เทคโนโลยี (เอ็มไอที) และทำงานวิจัยกับเป็นผู้บรรยายให้แก่มหาวิทยาลัยหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา แคนาดา ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และรัสเซีย ปัจจุบันเป็นนักวิจัยอาวุโสของสถาบันอินสติติว ออฟ ยูโรเปียน รัสเซียน แอนด์ยูราเซียน สตัดดีส์ แห่งมหาวิทยาลัยคาร์ลตัน ในแคนาดา พร้อมกับให้คำปรึกษาเป็นการส่วนตัวในหลายสาขา
  23. “วีรพงษ์” ทำนายวิกฤติหนี้ยุโรปส่งผล 1 ยูโรจะเท่ากับ 1 ดอลลาร์สรอ. โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 30 มิถุนายน 2553 01:00 น. นายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังว่า แนวโน้มคล้ายกับต้นปีที่ผ่านมา โดยภาคส่งออกยังเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปข้างหน้า แต่ภาคการท่องเที่ยวจะเป็นตัวฉุดทำให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจเติบโตได้ ไม่มากนัก แต่สิ่งที่น่ากังวลคือวิกฤติการเงินยุโรป เชื่อว่าแก้ไขไม่ได้ และจะยิ่งเลวร้ายลง อาจจะลุกลามไปยังสหรัฐอเมริกามากขึ้น ค่าเงินยูโรมีแนวโน้มอ่อนค่าลงต่อเนื่อง คาดการณ์ว่า 1 ยูโร อาจจะอ่อนค่าถึง 1 ดอลลาร์สหรัฐ ภายใน 6 เดือนข้างหน้า ดังนั้นเศรษฐกิจสหรัฐคงจะช่วยยุโรปไม่ได้ เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐไม่ได้ฟื้นตัวอย่างมั่นคง ดังนั้น จีดีพีปีนี้จะโตถึงร้อยละ 6 ตามที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายไว้ได้หรือไม่นั้น คงไม่ต้องการขัดคอรัฐบาล เป็นที่น่าสังเกตว่า การที่ประเทศจีนยอมประกาศให้เงินหยวนแข็งค่าขึ้น เพราะต้องการช่วยเหลือยุโรปและสหรัฐอเมริกา ไม่ให้มีปัญหาแต่คงไม่เติบโตเหมือนที่ผ่านมา เนื่องจากเศรษฐกิจจีน อินเดีย และรัสเซีย มีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือเศรษฐกิจโลก ดังนั้นประเทศไทยต้องเดินหน้าคุยกับจีนเพื่อให้ยกเลิกคำเตือนนักท่องเที่ยวเดินทางมาไทย เพื่อหวังนักท่องเที่ยวจีนมีส่วนในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และรัฐบาลต้องรักษาศักยภาพการส่งออกให้โตได้ต่อเนื่อง แต่เศรษฐกิจไทยคงไม่ดีขึ้นมาก แต่ก็ไม่เลวร้ายเกินไป ส่วนภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทย คาดว่าดัชนีหุ้นไทยจะทรงตัว เนื่องจากเงินลงทุนต่างประเทศไม่ไหลเข้ามา เพราะกังวลเกี่ยวกับปัญหาการเมือง แต่ประเทศไทยยังมีเสถียรภาพการเงินแข็งแรง เนื่องจากทุนสำรองระหว่างประเทศมีจำนวนสูงมาก ขณะที่ค่าเงินบาทประเมินว่าคงจะไม่แข็งค่ามาก เพราะเงินยูโรที่อ่อนค่าลง เป็นตัวกดดันทำให้เงินสกุลต่าง ๆ ที่เทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า
  24. ใช่ครับ กองทุนทองคำตัวที่น่าจะให้ผลกำไรดีสุดน่าจะเป็นKGOLD เมื่อวานมีคนถามเรื่องกองทุนทองคำยังไม่มีเวลาตอบเลย คนถามรอหน่อยนะมีเวลาจะรีบตอบให้ครับ
×
×
  • สร้างใหม่...