ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

Honeymew

ขาใหญ่
  • จำนวนเนื้อหา

    290
  • เข้าร่วม

  • เข้ามาล่าสุด

คะแนนนิยม

6 ปานกลาง

เกี่ยวกับ Honeymew

  • คะแนนนิยม
    ขาใหญ่
  • วันเกิด มิถุนายน 20

Profile Information

  • เพศ
    หญิง
  • ที่อยู่
    กรุงเทพมหานคร
  1. Honeymew

    หลักการเลือกไข่มุก

    การเลือกซื้อมุกนั้นผู้ซื้อต้องทราบก่อนว่าเราต้องการซื้อมุกชนิดอะไร เนื่องจากมุกแต่ละชนิดมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันไป การเลือกซื้อมุกควรดูมุกด้วยแสงธรรมชาติเพื่อให้เห็นความวาวตามความจริง และพื้นหลังของวัสดุที่รองมุกควรเป็นสีขาว โดยการเลือกมีหลักดังนี้ 1. ขนาด (Size) การวัดขนาดของมุกจะใช้การวัดเป็นมิลลิเมตร mm โดยวัดจากเส้นผ่าศูนย์กลาง ซึ่งถ้าเป็นสร้อยมุก จะวัดขนาดตั้งฉากกับรูที่เจาะ มุกที่ขนาดใหญ่จะมีผลกับราคา คือยิ่งใหญ่มากจะยิ่งราคาสูง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับชนิดและคุณภาพของมุกนั้นด้วย การเลือกขนาดของมุกยังขึ้นอยู่กับบุคลิกและการแต่งกาย มุกขนาดไม่ใหญ่เหมาะกับการสวมใส่สไตล์น่ารัก เป็นต้น 2. รูปร่าง (Shape) รูปร่างกลมสนิทเป็นรูปร่างที่หายากที่สุดและมีมูลค่าสูงกว่ารูปร่างแบบอื่นๆ โดยมุกมีรูปร่างต่างๆดังต่อไปนี้ รูปร่างกลม (Round) รูปร่างเกือบกลม (Near-Round) รูปหยดน้ำ (Drop) รูปไข่ (Oval) รูปเหรียญ (Coin-shaped) รูปกระดุม (Button) รูปร่างกึ่งเบี้ยว (Semi-Baroque) รูปร่างบิดเบี้ยว (Baroque) เนื่องจากมุกเซาท์ซี South sea มีขนาดใหญ่จึงเป็นมุกที่ไม่กลมสนิท รวมถึงมุกน้ำจืดส่วนใหญ่นั้นไม่ได้ใช้ลูกปัดเป็นแกนมุก รูปร่างจึงไม่กลมสนิทเช่นเดียวกัน จึงมีหลักการประเมินอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย 3. สี (Color) สีของมุกประกอบด้วย 3 ส่วนประกอบ คือ สีพื้นหรือสีหลัก (Body Color) ได้แก่ บริเวณที่เป็นสีอยู่ในพื้นหลังหรือในเนื้อมุก สีพื้นสามารถแบ่งออกได้เป็นอีก 3 ประเภท คือ 1. สีเป็นกลาง (Neutral) – สีขาว สีดำ และ สีเทา 2. สีเกือบกลาง (Near neutral) – สีเงิน สีครีม และ สีน้ำตาล 3. สีแฟนซี (Fancy color) – สีอื่นๆ เช่น ชมพู เขียว ฟ้า ส้ม สีโอเวอร์โทน (Overtone) คือสีเหลือบหรือประกายที่เห็นอยู่เหนือสีพื้นของมุก สีที่พบได้บ่อยในสีเวอร์โทนคือ สีชมพู (rose) สีเขียว สีฟ้า สีโอเวอร์โทนนี้เพิ่มมูลค่าให้กับมุกบางชนิดได้ เช่น มุกอะโกย่า สีพื้นสีขาวกับโอเวอร์โทนสีชมพู จะราคาสูงกว่า มุกอะโกย่าสีขาวที่มีโอเวอร์โทนสีเขียว โอเรียนท์ (Orient) เป็นปรากฏการณืสีรุ้งที่พบได้ในมุกและเปลือกหอย มุกทุกเม็ดจำเป็นต้องมีสีพื้น แต่ไม่จำเป็นต้องมีโอเวอร์โทนและโอเรียนท์ ปัจจุบันมีการปรับปรุงคุณภาพสีมุกที่มีคุณภาพต่ำเพื่อเพิ่มมูลค่าของมุกอยู่หลากหลายวิธี เช่น การย้อมสี การฉายรังสี การเผา หรือแม้แต่การฟอกสี การเลือกซื้อควรพิจารณาว่า เป็นสีธรรมชาติ หรือมาจากการปรับปรุงคุณภาพ ผู้ขายควรแจ้งให้ลูกค้าทราบเพื่อให้ลูกค้าเข้าใจถึงวิธีการดูแลรักษาและราคาที่เหมาะสม 4. ลักษณะความสะอาดที่ผิว (Surface characteristic) มุกควรมีผิวที่เรียบและมัน มีตำหนิน้อยที่สุด ไม่มีรอยขรุขระ หรือฟองอากาศ แต่ตำหนิของมุกก็เป็นตัวช่วยให้ทราบว่าเป็นมุกแท้หรือเทียมเนื่องจาก มุกแท้ (ทั้งมุกธรรมชาติและมุกเลี้ยง) ยากที่จะไม่มีตำหนิ การตรวจสอบมุกควรใช้พื้นหลังเป็นสีดำหรือเทา ใช้โคมไฟที่สว่างเพียงพอ และสังเกตขณะที่หมุน เพื่อตรวจหาดูตำหนิบนผิวของมุก 5. ความวาว (Luster) มุกที่มีคุณภาพดีควรมีความวาวใสเท่ากันทั่วทั้งเม็ด วิธีการตรวจคุณภาพความวาว ให้เราใช้แสงฟลูออเรสเซนต์สะท้อนที่ผิวของมุก แล้วสังเกตบริเวณที่เงาสะท้อนว่ามีความคมชัดของเงาสะท้อนมากน้อยเพียงใด ถ้าหากมุกมีคุณภาพความวาวดีเงาสะท้อนที่ผิวจะมีขอบที่คมชัด ความวาวที่ดียังบ่งบอกถึงคุณภาพของผิวมุกและคุณภาพของชั้นเนเคอร์ที่ดีด้วย มุกที่เลี้ยงในแถบภูมิอากาศที่เย็นมักจะมีความวาวมากกว่ามุกที่เลี้ยงในแถบอากาศร้อน เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่แล้ว มุกอะโกย่าจะเป็นชนิดที่มีความวาวสูงที่สุดเมื่อเทียบกับมุกชนิดอื่น 6. คุณภาพและความหนาของชั้นเนเคอร์ (Nacre quality) มุกที่มีคุณภาพของชั้นเนเคอร์ดี คือเนื้อเนเคอร์ค่อนข้างใส อาจเป็นได้ตั้งแต่โปร่งแสงไปจนถึงกึ่งโปร่งใส และจะมีความมันวาวใสที่ผิว (Luster) ที่ดีด้วย คุณภาพของชั้นเนเคอร์นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น การเรียงตัวของชั้นเนเคอร์ ความสะอาดของสิ่งแวดล้อม ปริมาณอาหาร สสารต่างๆในน้ำ อุณหภูมิของน้ำ สภาพภูมิอากาศ หรือแม้แต่ความสามาถในการสร้างมุกของหอยแต่ละตัว อีกคุณสมบัติหนึ่งที่ควรพูดถึงคุณภาพของเนเคอร์คือความหนาของชั้นเนเคอร์ ควรจะมีความหนาที่ดีพอ ถ้าหากความหนาของเนเคอร์ไม่ดีพอจะทำให้ความวาวไม่ดีด้วย และยังมีผลต่อความคงทนของมุกด้วย สาเหตุสำคัญที่มีผลต่อความหนาของชั้นเนเคอร์คือ ระยะเวลาในการเลี้ยงมุก จะต้องไม่น้อยเกินไป โดยทั่วไปฟาร์มมุกจะใช้เวลาในการเลี้ยงมุกประมาณ 6 เดือน ถึง 2 ปึ แล้วแต่ชนิดของหอยมุก ส่วนวิธีการตรวจสอบว่ามุกมีความหนาเพียงพอหรือไม่ ให้เราดูที่รูเจาะ จะเห็นความหนาของเนเคอร์ หากมุกไม่มีรู ให้เราฉายไฟที่ค่อนข้างแรงจากด้านหลังของมุก เราก็จะเห็นความหนาของเนเคอร์ แต่วิธีนี้ใช้กับมุกที่มีสีเข้มอย่างมุกตาฮิติไม่ได้ มีหลักในการเลือกมุกอีกข้อหนึ่งที่ควรคำนึงถึงคือ ความเหมือนกัน (Matching) ในการจับเป็นคู่หรือเข้าสร้อยเป็นชุด ให้เราใช้หลักหารทั้ง 6 ข้อข้างตันรวมกัน แล้วสังเกตุว่า มุกคู่ หรือชุดที่เราเลือกนั้นมีลักษณะเหมือนกันมากแค่ไหน หากความเหมือนกันของมุกในสร้อยมุกเดียวกันไม่ดี จะมีผลต่อความสวยงามของสร้อยมุกค่อนข้างมาก แต่หากเราใช้มุกเพียงเม็ดเดียว อย่างเช่นกรณีของ แหวน หรือ จี้ห้อยคอ ความเหมือนกันจะไม่มีผลต่อราคาของมุกแต่อย่างใด ข้อแนะนำในการดูแลมุก มุกเป็นอัญมณีอินทรีย์สารจึงควรพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้โดน น้ำหอม สบู่ ครีมทาผิว กรด หรือสเปรย์ใส่ผม เพราะอาจทำให้สีและความวาวของมุกเปลี่ยนไป โดย อาจารย์ สุรชาติ ปัญจธรรมวิทย์ @ http://www.ampornphan.com
  2. ว.วชิรเมธี อย่าสอนลูกให้ขี้เกียจ ที่มาhttp://kid.plearnkid.com/?p=7792 ในยุค 2010 คุณเป็นพ่อแม่ชนิดบรมโง่เขลามาก หรือเปล่า มีด้วยหรือ ? ที่พ่อแม่จะสอนลูกให้ขี้เกียจ ? ตอบว่า “มี” และมีอยู่เป็นจำนวนมากด้วย บางทีท่านที่กำลังอ่านหนังสือเล่มนี้อยู่นี่แหละ ถ้าท่านมีลูก ท่านก็อาจจะเป็นอีกคนหนึ่งที่เคยสอน หรือกำลังสอนลูกให้ขี้เกียจอยู่ ! ลองพิจารณาดูทีรึ ว่าจะเป็นความจริงไหม ? สมมุติว่า ลูกเรากำลังอยู่ในวัยเรียน อายุตั้งแต่ 3 หรือ 8 ขวบขึ้นไป ในวัยนี้เราสามารถที่จะให้ลูกช่วยเราทำงานบ้านได้ตั้งหลายอย่าง แต่พ่อแม่ส่วนมากก็มักจะไม่ให้ทำ ไม่ใช้ให้ทำ หรือไม่บังคับให้ทำ เช่น - ลูกควรตื่นนอนเวลา 05.00 น. หรือ 06.00 น. พ่อแม่รู้ว่า ถ้าลูกตื่นในช่วงนี้แล้วลุกขึ้นเก็บที่นอน ล้างหน้า แปรงฟัน อาบน้ำ กินข้าวเสร็จล้างถ้วยชามเสร็จก็จะได้เวลาไปโรงเรียนพอดีๆ แต่พ่อแม่บางคนหาได้ปลุกลูกในช่วงนี้ไม่ ไปปลุกเอาหลัง 06.00 น. หรือ 07.00 น. ซึ่งเป็นเวลาที่จะออกจากบ้านไปโรงเรียนแล้ว เลยต้องรีบทำอะไรๆ อย่างรีบด่วนไปหมด ขาดๆ ตกๆ ต้องเอะอะโวยวายลั่นบ้าน ให้เสียสุขภาพจิตของตนเองและลูก เพราะมีเวลาน้อย ตามปกติ ธรรมชาติย่อมสร้างความสมดุลแล้ว ไม่ว่าในการกิน การนอน การสืบพันธ์ หรือการออกกำลังกาย ถ้าปฏิบัติอย่างถูกต้องก็ย่อมจะไม่เกิดปัญหา ไม่ว่าระยะสั้นหรือระยะยาว - งานกวาดบ้าน ถูบ้าน ล้างถ้วยชาม รดน้ำต้นไม้ ดายหญ้า ทำความสะอาดบริเวณบ้าน เก็บกวาดเศษขยะต่างๆ ล้วนแต่ลูกในวัยนี้ช่วยได้ ทำแทนได้เกือบทั้งหมด แต่พ่อแม่ส่วนมากก็ไม่ใช้ให้ทำ - ถ้ามีรถส่วนตัว งานเช็ดรถ ล้างรถ ทำความสะอาดรถ ลูกในวัยนี้ก็ทำได้สบายมาก เป็นการช่วยให้ลูกได้ออกกำลังกายที่ดี ดีกว่าไปเล่นกีฬา และได้ประสบการณ์ด้วย คือ ช่วยให้ลูกทำงานคล่อง ทำงานเป็นและทำงานได้เรียบร้อย แต่พ่อแม่บางคนก็ไม่ใช้ให้ทำ - ลูกเล่นของเล่นต่างๆ แล้วทิ้งไว้เกลื่อนบ้าน แล้วพ่อแม่หรือคนใช้เก็บให้ แทนที่จะให้ลูกช่วยตัวเอง ก็กลับให้เป็นภาระแก่ผู้อื่น เป็นการสร้างนิสัยมักง่าย ความเห็นแก่ตัวสะสมขึ้นเรื่อยๆ - พ่อแม่มีงานบ้านเต็มมือจนหาเวลาว่างไม่ได้ แต่ปล่อยให้ลูกไปเที่ยวเล่นนอกบ้าน หรืออยู่ในบ้านก็ไม่ให้ช่วยแบ่งเบาภาระ ปล่อยให้นั่งๆ นอนๆ ดูทีวี หรือวีดิโอ หรือเล่นอะไรไปตามประสา สิ่งเหล่านี้ แสดงว่าพ่อแม่สอนให้ลูกขี้เกียจหรือไม่ ? ถ้ามองดูอย่างผิวเผิน พ่อแม่อาจนึกภูมิใจว่าตนเองรักลูก เมตตาลูก จึงไม่อยากเห็นลูกลำบากหรือเหนื่อย แต่แท้ที่จริงแล้ว นั่นย่อมแสดงให้เห็นพ่อแม่ชนิดนี้บรมโง่เขลามาก เพราะนอกจากพ่อแม่ส่งเสริมให้ลูกขี้เกียจแล้ว ยังเป็นการสะสมความเห็นแก่ตัวให้แก่ลูกอีกด้วย แสดงให้เห็นว่าทั้งพ่อแม่และลูกก็โง่พอๆ กัน แต่สำหรับพ่อแม่นั้นดูจะโง่มากกว่าลูกเสียอีก เพราะการที่พ่อแม่ได้สร้างตัวมาจนบัดนี้ ก็ไม่ได้สร้างขึ้นมาจากความเกียจคร้าน แต่สร้างขึ้นมาได้ด้วยความขยัน แต่กลับไปปล่อยหรือยอมให้ลูกขี้เกียจ นี่ถ้าไม่เป็นเพราะบาปมันมาบังใจพ่อแม่แล้วมันจะเกิดจากอะไร ? ทั้งๆ ที่เขาก็รู้อยู่แก่ใจดีว่า ไม่มีใครร่ำรวยขึ้นมาได้จากความเกียจคร้าน แต่พ่อแม่ก็กำลังสร้างลูกให้เกียจคร้านอยู่ แล้วอนาคตของลูกจะเป็นอย่างไร จะมีพ่อแม่สักกี่คนที่จะอยู่เลี้ยงลูกจนตลอดชีวิตของลูก ? ลูกเราถึงจะมีความรู้ดี มีปริญญายาวเป็นหางว่าว มีความสามารถสูง แต่ถ้ามันขี้เกียจหรือเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อเสียอย่างเดียวแล้ว เขาจะเอาตัวก็ไม่รอด ! อย่าได้ไปคิดหวังว่า เขาจะเป็นที่พึ่งให้แก่พ่อแม่เลย ว่ามาถึงตรงนี้แล้ว พ่อแม่บางคนอาจเถียงว่า “ก็ฉันไม่ได้สอนให้เขาขี้เกียจนี่นา เขาขี้เกียจเอง ฉันเบื่อที่จะเคี่ยวเข็ญ ก็เลยต้องปล่อยเขาไป จะมาโทษฉันได้อย่างไร ? จะมีพ่อแม่คนไหนบ้างที่อยากจะเห็นลูกขี้เกียจ ?” การที่เราไม่ใช้ ไม่บังคับ และไม่ทำโทษลูก นั่นแหละคือ การสอนให้ลูกขี้เกียจละ เพราะเด็กเขาไม่รู้หรอกว่า ผลแห่งความเกียจคร้านมันจะเป็นอย่างไร ? แต่พ่อแม่นั้นย่อมจะรู้ดี จึงไม่ควรที่จะปล่อยให้ลูกขี้เกียจ การอ้างแต่เพียงว่า ลูกมันไม่เอาหรือไม่ทำเอง หาได้เป็นข้ออ้างที่พ้นตัวไม่ ก็เราเป็นพ่อแม่เขา ถ้าเราบังคับลูกหรือเลี้ยงลูกให้ดีไม่ได้แล้วเราจะเป็นพ่อแม่ที่ดีของลูกได้อย่างไร ? ขนาดลูกเราตัวเล็กๆ เรายังบังคับหรือสอนเขาไม่ได้ แล้วท่านแน่ใจหรือว่า เมื่อเขาโตแล้วเราจะสอนเขาได้ ? อย่าหวังเสียให้ยากเลย ไม้อ่อนย่อมดัดง่ายกว่าไม้แก่ฉันใด ? การไม่ดัดนิสัยขี้เกียจของลูกในยามเล็ก โดยหวังจะให้เขาไปขยันเอาเมื่อโตนั้น ก็ย่อมจะยากเย็น ฉันนั้น ! มาดูตัวอย่างภาพฟ้องให้เห็นว่าพ่อแม่เลี้ยงลูกไม่ถูกธรรม เลี้ยงลูกให้ขี้เกียจ หรือเลี้ยงลูกให้เป็นขโมย นั่นคือ พ่อแม่ต้องป้อนข้าวลูกหรือให้ลูกกินข้าวไปในรถ ขณะที่พาลูกไปส่งโรงเรียน ที่ลูกตื่นกินข้าวไม่ทันเพราะอะไร ? มีนิทานจีนชวนคิดเรื่องหนึ่ง เจ้าหน้าที่กำลังนำนักโทษคนหนึ่งจะไปประหาร แม่ได้เดินตามนักโทษไปพลางก็ร้องไห้ไปพลาง นักโทษไม่ได้เสียใจหรือร้องไห้ แต่ได้เรียกให้แม่มาหา พอแม่เข้ามาใกล้เอียงหูมาจะฟังลูกพูด พอได้จังหวะ ลูกก็กัดใบหูของแม่เข้าเต็มแรง แม่ทั้งเจ็บทั้งตกใจ ร้องเสียงหลง เลือดไหลเป็นทาง ลูกนักโทษตะโกนใส่แม่ด้วยความแค้นว่า “เป็นเพราะแม่คนเดียวเชียว ที่ทำให้ฉันจะต้องถูกประหาร ฉันได้ลักเล็กขโมยน้อยเรื่อยมาแต่เด็กแม่ก็ไม่เคยห้าม จึงทำให้ฉันเสียนิสัย เลยต้องกลายเป็นนักโทษ ถ้าแม่สั่งสอนหรือห้ามปรามฉันเสียแต่เล็กๆ ไฉนฉันจะต้องมาถูกประหารด้วยเล่า ?” แม่ก็ได้แต่เดินก้มหน้าเสียใจ ว่าตนเลี้ยงลูกผิดไปแล้ว จากข้อคิดนี้ ถ้าพ่อแม่เห็นลูกได้อะไรติดมือมาจากโรงเรียน หรือที่ไหนก็ตาม ก็อย่าเพิ่งหลงดีใจที่ลูกบอกว่าเก็บได้ หรือเพื่อนให้เสมอไป ลูกอาจจะไปลักของใครมาก็ได้ มันอาจจะเป็นทุกขลาภในภายหน้า ถ้าพ่อแม่ไม่สอบสวนให้ถ่องแท้เสียก่อน ควรสอนลูกให้ตระหนักไว้ว่า เมื่อเก็บของได้ในโรงเรียนก็ควรเอาไปให้ครูทุกครั้งไป ไม่ควรจะถือเอามาเป็นส่วนตัว เพราะอาจจะถูกหาว่าเป็นขโมยก็ได้ อีกตัวอย่างหนึ่ง ที่แสดงถึงการเลี้ยงลูกไม่ถูกธรรม มีภาพลักษณ์ทางลบเกี่ยวกับแม่และลูก ประทับใจผู้เขียนอยู่ครั้งหนึ่ง ในสมัยที่ยังทำงานเป็นบุรุษไปรษณีย์ควบคุมถุงไปรษณียภัณฑ์อยู่ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง กทม. ในวันนั้นมีอาจารย์หญิงรุ่นอายุเลขตัวหน้าเกิน 4 กว่าๆ ไปมากแล้ว ได้มาส่งลูกสาวไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาจารย์หญิงของ รร.เตรียมอุดมศึกษา เป็นผู้สนใจธรรมะและรู้จักผู้เขียนที่กุฏิของหลวงตาแพรเยื่อไม้ ผู้เขียนจึงตามขึ้นไปคุยด้วยบนรถไฟขบวนเชียงใหม่ อากาศวันนั้นค่อนข้าง อบอ้าว และไปรถไฟชั้นสามด้วยทั้งแม่และลูกต่างก็เหงื่อไหลเต็มใบหน้า พอนั่งลงที่เก้าอี้ แล้วแม่ก็เอาพัดเล็กๆ ที่ติดตัวมาพัดให้ลูกอย่างเร็ว โดยที่ไม่พัดให้ตัวแม่เองเลยส่วนลูกก็ทำเฉยปล่อยให้แม่พัดให้ ผู้เขียนเห็นแล้วก็สลดใจ เพราะคิดไม่ถึง ที่จริงลูกน่าจะพัดให้แม่มากกว่า นี่แสดงให้เห็นถึงการเลี้ยงลูกไม่ถูกธรรม คิดเดาเอาเองว่า ถ้าอยู่ที่บ้านแม่คงจะทำอะไรให้ลูกสาวหมด แม้แต่กางเกงในก็คงซักให้ด้วย และก็คงจะยังไม่ได้ทำให้อยู่อย่างเดียวคือไม่ได้ล้างก้นให้เท่านั้นกระมัง ! และตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นไป ผู้เขียนก็ไม่ติดต่อกับอาจารย์คนนั้นอีกเลยจนบัดนี้ เพราะผู้ที่ศึกษาธรรมะและปฏิบัติธรรมะอย่างถูกวิธีแล้ว เขาย่อมจะไม่เลี้ยงลูกให้เป็น “ลูกบังเกิดเกล้า” เช่นนี้อย่างแน่นอน การเลี้ยงลูกให้ถูกต้องจริงๆ ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เพราะต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย แต่ที่สำคัญจริงๆ ก็พ่อแม่นั่นแหละ จะต้องเป็นพ่อแม่ที่ทั้งเข้มและทั้งแข็งอย่างเสมอต้นเสมอปลาย แน่นอน, พ่อแม่บางคนเป็นคนใจอ่อน พอเห็นลูกเศร้าซึมหรือน้ำตาออกก็ใจแป้ว ไม่อาจจะบังคับหรือทำโทษลูกได้ ก็เลยยอมไม่ให้ลูกทำอะไรๆ ไปหมดทุกอย่าง บางคนลูกโตจนเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้วก็ยังซักเสื้อผ้าไม่เป็น เพราะแม่ทำให้หมด ที่ยังไม่ได้ทำให้ก็เห็นจะมีอยู่อย่างเดียวเท่านั้นคือยังไม่ได้ล้างก้นให้เท่านั้นแหละ ! ลูกโง่ๆ บางคนอาจนึกภูมิใจ ที่ตนมีพ่อแม่ที่ตามใจไปหมดทุกอย่าง (โตแล้วไปโรงเรียนก็ยังต้องรับส่งกันอยู่) ไม่ว่ากิจในบ้านหรือนอกบ้าน ลูกไม่ต้องรับผิดชอบอะไรด้วยเลย วันเสาร์อาทิตย์หยุดเรียนก็นั่งเล่นนอนเล่น หรือเที่ยวไปตามสบาย พ่อแม่มีเงินให้ใช้ไม่ข้องขัด ลูกทั้งหลายโปรดรับรู้ไว้เถิดว่า เธอไม่ใช่คนมีบุญหรอก มันเป็นบาปของเธอต่างหากที่ต้องมาเกิดเป็นลูกของพ่อแม่ชนิดนี้ เพราะการที่เธอไม่ทำอะไร โตขึ้นก็จะทำอะไรไม่เป็น และคนที่ ไม่ทำงานออกแรงร่างกายก็ย่อมจะอ่อนแอ มักจะเจ็บออดๆ แอดๆ ถูกแดดถูกฝนนิดหน่อยก็เป็นหวัดง่ายเพราะร่างกายไม่แข็งแรง บางคนอาจแย้งว่า จะปลุกลูกแต่ดึกได้อย่างไร ? ก็ลูกมันเพิ่งจะนอนได้ไม่กี่ชั่วโมงเพราะทีวีเพิ่งปิด ถ้าปล่อยให้ลูกนอนตอนทีวีปิด ปัญหานี้ก็แก้ไม่ได้ก็ต้องปล่อยให้อาจารย์ทีวีเขาแก้ให้สิ ! พ่อแม่บางคนก็เหี๊ยบกับลูกมากจนเกินไป ใช้ให้ลูกทำงานที่เสี่ยงต่ออันตรายมาก และหนักเกินไปจนลูกไม่มีเวลาไปวิ่งเล่นกับเพื่อนๆ อย่างนี้มันก็ตึงเกินไป ทางที่ถูกนั้นควรจะพบกันครึ่งทาง คือ ไม่ควรจะหย่อนยานจนลูกขี้เกียจ และก็ไม่ควรจะตึงจัดจนลูกเครียด อยู่ในระหว่างกลางๆ หรือมัชฌิมานั่นแหละเป็นดีที่สุด ——————————————— บุตรธิดา คือ กระจกเงาของพ่อแม่ …ในฐานะเป็นพ่อแม่ วันนี้คุณเอาอะไรใส่มือเด็กๆ ของคุณ” ว.วชิรเมธี
×
×
  • สร้างใหม่...