ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

ค้นหาในชุมชน

แสดงผลลัพธ์สำหรับแท็ก 'เด็กสมาธิสั้น'

  • ค้นหาโดยแท็ก

    พิมพ์แท็กแยกด้วยเครื่องหมายลูกน้ำ
  • ค้นหาโดยผู้เขียน

ประเภทเนื้อหา


ฟอรั่ม

  • มุมมือใหม่ หัดใช้เวปบอร์ด
    • แนะนำการใช้งานเวปบอร์ด
  • สภากาแฟ
    • สภากาแฟ
    • บทวิเคราะห์ราคาทองคำ
    • วิเคราะห์หุ้น-การเงิน-การลงทุน
    • เตือนภัยสังคม
    • เปิดประเด็น
  • เนื้อหาสาระเกี่ยวกับทองคำ การลงทุน
    • บทความเกี่ยวกับทองคำ
    • บทเรียนเกี่ยวกับทองคำ
    • ข่าวราคาทองคำ การลงทุน
    • การใช้งาน Software
  • นอกเรื่องนอกราว
    • เก็บมาฝาก
    • IT เทคโนโลยี
    • มุมสุขภาพ
    • ชวนกันทำบุญ
    • โฆษณา-ประชาสัมพันธ์

หมวด

  • Articles
    • Forum Integration
    • Frontpage
  • Pages
  • Miscellaneous
    • Databases
    • Templates
    • Media
  • รวมบทความ

บล็อก

ไม่มีผลลัพธ์จะแสดง

ไม่มีผลลัพธ์จะแสดง

หมวด

  • แฟ้มสาระ
    • MT4 Stuffs
    • Seminar ThaiGOLD 4
  • แฟ้มทั่วไป
    • เพลงน่าฟัง
    • อื่นๆอีกมากมาย

ค้นหาผลลัพธ์ใน...

ค้นหาผลลัพธ์ซึ่ง ...


วันที่สร้าง

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


อัปเดตล่าสุด

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


กรองโดยสมาชิกของ

เข้าร่วม

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


กลุ่ม


AIM


MSN


Website URL


ICQ


Yahoo


Jabber


Skype


ความชื่นชอบ

พบผลลัพธ์จำนวน 2 รายการ

  1. เด็กสมาธิสั้น เป็นหนึ่งในอาการที่น่าเป็นห่วงที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรจะละเลย ซึ่งอาการเด็กสมาธิสั้นนั้นจะพบได้มากในกลุ่มอายุไม่เกิน 12 ปี จากสถิติแล้วอาการสมาธิสั้นสามารถพบได้ถึงร้อยละ 8 ในประชากรเด็ก ตัวอย่าง เช่น ถ้าเด็กในห้องเรียนมี 50 คน จะพบเด็กสมาธิสั้นได้ราว 4 คน หรือมากกว่า แต่ทั้งนี้เด็กสมาธิสั้นสามารถหายได้จากการรักษาในหลายวิธี หนึ่งในนั้นคือการพาไปรักษาที่โรงพยาบาลที่เปิดรับการรักษาอาการเด็กสมาธิสั้นที่ รพ.นนทเวช หรือโรงพยาบาลอื่น ๆ ที่มีการเปิดรักษาโรคสมาธิสั้น อาการของโรคสมาธิสั้น · อาการขาดสมาธิต่อเนื่อง (Inattention) ทำให้ขาดความละเอียดรอบคอบ วอกแวกตามสิ่งเร้าหรือเปลี่ยนความสนใจง่าย ทำงานไม่เสร็จ เหม่อลอย ทำของหายบ่อย และหลงลืมกิจวัตรที่ควรทำเป็นประจำ อาการขาดสมาธิจะเป็นมากขึ้นหากเด็กต้องทำในสิ่งที่ตนเองไม่ชอบ แต่จะน้อยลงเมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สงบหรือได้รับการเอาใจใส่แบบตัวต่อตัว และเป็นกิจกรรมที่ชอบ เช่น เล่นเกม ต่อเลโก้ · อาการซนมากกว่าปกติหรือไม่อยู่นิ่ง (Hyperactivity) มีความบกพร่องในการควบคุมการแสดงออกทางพฤติกรรมทำให้เด็กมีพฤติกรรมซุกซนมากกว่าปกติ เคลื่อนไหวหรือเล่นโดยไม่หยุด ในขณะที่นั่งมักจะยุกยิกใช้มือหยิบจับสิ่งของมาเล่น นอกจากนี้ยังอาจมีอาการพูดมากกว่าปกติ ส่งเสียงดัง และชวนเพื่อนคุยขณะเรียน · ขาดการยั้งคิดหรือหุนหันพลันแล่น (Impulsivity) เป็นความบกพร่องในการหยุดยั้งตนเอง ทำให้ใจร้อน ไม่สามารถรออะไรได้นาน ทำอะไรมักขาดการยั้งคิด เช่น เล่นรุนแรงโดยไม่ตั้งใจ พูดแทรก หรือพูดโพล่งออกไปในขณะที่คุณครูยังอธิบายไม่จบ แนวทางหลักๆ ในการรักษาโรคเด็กสมาธิสั้น 1. การรักษาด้วยยา ยากระตุ้น: เช่น มีทิลฟีนิเดต (Methylphenidate) และแอมเฟตามีน (Amphetamines) ใช้เพื่อช่วยเพิ่มความสามารถในการจดจ่อและลดอาการหุนหันพลันแล่น ยาไม่กระตุ้น: เช่น อะโทมอกเซทีน (Atomoxetine) และกวนฟาซีน (Guanfacine) ใช้สำหรับผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อยากระตุ้นหรือมีผลข้างเคียงจากยากระตุ้น 2. การบำบัดทางพฤติกรรม การบำบัดร่วมกับครอบครัวและโรงเรียน: การสอนเทคนิคการจัดการพฤติกรรมให้กับผู้ปกครองและครูเพื่อช่วยเหลือเด็กในการจัดการกับอาการ การบำบัดสำหรับเด็ก: ช่วยให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับการควบคุมตนเองและการจัดการกับอารมณ์และพฤติกรรมของตนเอง 3. การปรับแต่งสภาพแวดล้อมและการสนับสนุนทางการศึกษา การปรับเปลี่ยนในห้องเรียน: เช่น การจัดที่นั่งที่มีการรบกวนน้อย, การให้คำแนะนำทีละขั้นตอน, และการใช้เทคนิคการสอนที่เน้นการมีส่วนร่วม การใช้เครื่องมือช่วยเหลือ: เช่น ตารางเวลา, การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 4. การสนับสนุนทางอารมณ์และสังคม การสร้างความมั่นใจ และการสนับสนุนทางอารมณ์: สำคัญในการช่วยเหลือเด็กให้รู้สึกมั่นคงและมีความสุขในการเรียนรู้และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น กลุ่มสนับสนุน: การมีส่วนร่วมในกลุ่มสนับสนุนสำหรับเด็กที่มี ADHD และครอบครัวของพวกเขา ทั้งนี้การเข้าใจและจัดการกับเด็กที่มีสมาธิสั้นไม่เพียงแต่ช่วยให้พวกเขามีพัฒนาการที่ดีขึ้นในโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างความมั่นใจ และศักยภาพในการใช้ชีวิตในสังคมได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย การให้การสนับสนุนที่เหมาะสม และการสร้างความเข้าใจทั้งในครอบครัว ในสังคมเป็นกุญแจสำคัญในการช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้นให้สามารถเติบโตและพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ที่สุดค่ะ
  2. โรคสมาธิสั้น เกิดจากความบกพร่องในการทำงานของระบบประสาท ซึ่งจะอยู่ตรงบริเวณสมองส่วนหน้าจะผลิตสารเคมีสำคัญที่ทำหน้าที่ในการควบคุมสมาธิ การจดจ่อ การควบคุมตนเอง หรือการยับยั้งชั่งใจ โรคสมาธิสั้น สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่วัยเด็ก จนไปถึงวัยผู้ใหญ่ โดยช่วงอายุของเด็กที่มักพบมากสุดคือช่วงอายุตั้งแต่ 3-12 ปี และพบมากสุดเฉลี่ยที่ 7 ปี และพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง โดยอาการเด่นของเด็กสมาธิสั้น คือ อยู่ไม่นิ่ง ขาดสมาธิ ไขว้เขวง่าย ส่งผลต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกทางด้านอารมณ์, พฤติกรรม, การเข้าสังคม และกระทบต่อคุณภาพชีวิตโดยรวมของเด็กด้วย อาการ เด็กสมาธิสั้น แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มอาการหลัก ดังนี้ 1. เด็กขาดสมาธิอย่างต่อเนื่อง (Inattentiveness) คืออาการที่เด็กไม่สามารถมีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน ทำให้เด็กไม่เอาใจใส่ จนเกิดเป็นความสะเพร่า และขาดการใส่ใจรายละเอียดในการทำงาน หรือการทำการบ้าน และการทำกิจกรรมอื่น ๆ ด้วย • ไม่มีสมาธิในการรับฟัง ไม่ตั้งใจฟังคู่สนทนา • ไม่ปฎิบัติตามคำสั่ง ทำงานหรือทำการบ้านไม่เสร็จ • ไม่สามารถจัดการการทำงาน จัดลำดับในการทำงาน หรือจัดการงานกิจกรรมได้ • หลีกเลี่ยงงานที่ไม่ชอบ หรืองานที่ต้องใช้สมาธิจดจ่อในการทำต่อเนื่อง ยาวนาน เช่น รายงาน • มักหลงลืมสิ่งของที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น หนังสือเรียน ปากกา ดินสอ กระเป๋าสตางค์ กุญแจ โทรศัพท์ หรือแว่นตา • วอกแวก ไปตามสิ่งเร้า หรือสิ่งที่ตนเองสนใจ เปลี่ยนความสนใจไปสู่สิ่งอื่นอย่างง่ายดาย 2.เด็กที่ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ อาการคือไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ขาดความยับยั่งชั่งใจ ใจร้อน วู่วาม หุนหันพลันแล่น จะซุกซนผิดปกติ และอยู่นิ่งไม่ได้ • ตื่นตัว และเคลื่อนไหวตลอดเวลา หลุกหลิก อยู่ไม่นิ่ง มักหยิบจับสิ่งของที่สนใจเล่นไปมา • นั่งไม่ติดที่ ลุกออกจากที่ทั้งในห้องเรียนและในสถานที่ต่าง ๆ • พูดไม่หยุด พูดไปเรื่อย ส่งเสียงดัง • ขัดบทสนทนา พูดแทรก หรือพูดโพล่งออกไปในขณะที่ผู้อื่นกำลังพูดอยู่ • ขัดกิจกรรมในชั้นเรียน ศูนย์เสียการควบคุมตนเองในการเข้าร่วมกิจกรรมอย่างสงบ • ไม่มีความอดทนในการรอคอย • ก้าวร้าว เอาแต่ใจ และมีอารมณ์ฉุนเฉียว รุนแรง 3. เด็กที่มีอาการร่วมกัน ทั้งการการขาดสมาธิ ขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง และอยู่ไม่นิ่ง • ขาดสมาธิในการจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างต่อเนื่อง • ขาดความสามารถในการควบคุมตนเองในการแสดงออกซึ่งอารมณ์ และพฤติกรรม และมักขาดการยั้งคิด • ขาดความสามารถในการยับยั้งตนเองจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่ได้ทำไปแล้ว หรือกำลังทำอยู่ให้สงบลง การรักษาเด็กสมาธิสั้นในปัจจุบัน สามารถทำได้หลายวิธี อย่างเช่น การใช้ยา, พฤติกรรมบำบัด, การฝึกอบรมผู้ปกครองรวมถึงวิธีในการเลี้ยงเด็กที่เป็นสมาธิสั้นที่ถูกต้อง ทั้งนี้ผู้ปกครองต้องคอยสังเกตอาการ และคอยรวบรวมพฤติกรรม อาการ เด็กสมาธิสั้น เพื่อนำไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการวินิจฉัยโรค โดยแพทย์จะทำการซักประวัติ และตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุของโรค และวางแผนการรักษาต่อไปได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้การเข้ารับการวินิจฉัยอาการตั้งแต่เนิ่น ๆ จะทำให้มีโอกาสประสบความสำเร็จในการรักษาได้สูงค่ะ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเด็กสมาธิสั้นได้ที่ : https://www.nonthavej.co.th/attention-deficit-hyperactivity-disorder.php
×
×
  • สร้างใหม่...