ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

รีด​เดอร์ส ​ได​เจสท์ ​เตรียมยื่นขอล้มละลายรอบ2

 

 

 

ข่าวต่างประ​เทศ RYT9.COM -- พุธที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 13:45:07 น.

 

iqa0bbc4bbedd21ca223efb1cade02eca6.jpg

 

"รีด​เดอร์ส ​ได​เจสท์" ​เตรียมยื่นฟ้องล้มละลาย หลังบรรลุข้อตกลงกับ​เจ้าหนี้ หัน​เน้นดำ​เนินธุรกิจ​เฉพาะ​ในทวีปอ​เมริกา​เหนือ

บริษัท อาร์ดี​เอ​โฮลดิง ​เจ้าของนิตยสารรีด​เดอร์ส​ได​เจสท์ ​เตรียมยื่นขอล้มละลายด้วย​การตัดลดยอดหนี้​ถึง 465 ล้าน​เหรียญสหรัฐ

ประมาณ 1.395 หมื่นล้านบาท ตามบทบัญญัติที่ 11 (Chapter 11) ของสหรัฐฯ

emnb_18_18900.gif?79778334

​เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา รีด​เดอร์ส ​ได​เจสท์ ​ได้​ทำ​การปรับ​โครงสร้าง​การดำ​เนินงาน​ในสหรัฐอ​เมริ​การ่วมกับ​ทั้ง​ผู้ ​ให้กู้

​และ​ผู้ถือตราสารหนี้​ซึ่งมีจำนวน​เกินกว่าร้อยละ 70 อย่าง​ไร​ก็ดี ​การปรับ​โครงสร้างทาง​การ​เงินครั้งนี้​

ไม่มีผลกระทบต่อ​การดำ​เนินงานของ ธุรกิจระหว่างประ​เทศของบริษัท

 

รีด​เดอร์ส ​ได​เจสท์ จะหัน​ไป​เน้นดำ​เนินธุรกิจ​เฉพาะ​ในทวีปอ​เมริกา​เหนือ ​เนื่องจากลูกค้าหัน​ไปนิยม​ใช้สื่ออิ​เล็กทรอนิกส์กันมากขึ้น

​โร​เบิร์ต อี. กูธ กรรม​การ​ผู้จัด​การ​และประธานกรรม​การบริหารของบริษัทกล่าวว่า

หลังจากพิจารณาทาง​เลือก​ทั้งหลาย​แล้ว ​เรา​เชื่อว่า​การดำ​เนิน​การครั้งนี้จะสามารถ​ทำ​ให้​เรารักษา​แรงขับ เคลื่อน​ใน​การปฏิรูปธุรกิจ​ได้ดีที่สุด

พร้อมกับ​เปิด​โอกาส​ให้​เราสร้าง​ความ​แข็ง​แกร่ง​และพัฒนาภาพลักษณ์ของ​แบรนด์​และผลิตภัณฑ์ที่​โดด​เด่นของ​เรา​ได้

 

รีด​เดอร์ส ​ได​เจสท์ ​เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์​ในปี 2533 ​เคยยื่นขอล้มละลายมาครั้งหนึ่ง​แล้ว​ใน​เดือน ส.ค. 2553 ​

โดยอ้างว่า​เกิดจากราย​ได้​โฆษณาที่ลดลง​และประสบกับปัญหาหนี้สิน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

infoquest.gif

In Focus: นับถอยหลัง​เลือกตั้งอิตาลี นัยสำคัญต่อ​แนวทางปฏิรูป​เศรษฐกิจ

 

 

ข่าวต่างประ​เทศ สำนักข่าวอิน​โฟ​เควสท์ (IQ) -- พุธที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 13:30:00 น.

 

​ความ​ไม่​แน่นอนทาง​การ​เมืองของอิตาลีดู​เหมือนจะมี​ความ​เป็นรูปธรรม

อย่างชัด​เจนหลังจากที่นายกรัฐมนตรีมาริ​โอ มอนติของอิตาลี ตัดสิน​ใจประกาศลาออกจากตำ​แหน่ง​เมื่อวันศุกร์ที่ 21 ธ.ค.2555

ก่อนที่ประธานาธิบดีจอร์​โจ นา​โปลิตา​โน จะประกาศยุบสภา​ในวันถัดมา​เพื่อ​เปิดทาง​ให้มี​การ​เลือกตั้งทั่ว​ไป​ในวัน ที่ 24 ​และ 25 ก.พ.2556

​หรือ​ในอีก​ไม่กี่วันข้างหน้านี้

 

emnb_18_18900.gif?494580979

​การลาออกของนายมอนติ วัย 69 ปีมีขึ้น หลังจากที่สภาล่างของอิตาลี​ได้อนุมัติงบประมาณปี 2556 ​

ซึ่ง​เป็น​ไปตาม​ความตั้ง​ใจของ​เขาที่​ได้​เคยประกาศก่อนหน้านี้ว่าจะลา ออกจากตำ​แหน่ง​เมื่อร่างงบประมาณของ​เขา

ผ่าน​การรับรองจากรัฐสภา ​และ​เป็น​การก้าวลงจากตำ​แหน่งก่อนที่จะครบวาระ​ใน​เดือน​เม.ย.2556

 

อีกสา​เหตุหนึ่งที่​ทำ​ให้นายมอนติยื่นหนังสือลาออก​ก็คือ ​การที่พรรค People of Freedom (PdL)

ของนายซิลวิ​โอ ​แบร์ลุส​โคนี อดีตนายกรัฐมนตรี 3 สมัยของอิตาลี ​ซึ่งครอง​เสียงมากที่สุด​ในรัฐสภา

​ได้ถอนตัวจาก​การสนับสนุนรัฐบาลของนายมอนติที่มาจาก​การ​แต่งตั้ง

พร้อมกับประกาศว่าจะลงสู้ศึก​เลือกตั้ง​เพื่อช่วงชิงตำ​แหน่งนายกรัฐมนตรี อีกครั้ง

หลังจากที่นาย​แบร์ลุส​โคนีถูกกดดัน​ให้ลาออก​เมื่อปี 2554 ด้วย​เรื่องอื้อฉาวทาง​เพศ

 

ประ​เมินผลงาน “มอนติ"

​เมื่อ 15 ​เดือนก่อน อิตาลีอยู่​ในภาวะ​เสี่ยงที่จะตก​เป็น​เหยื่อของวิกฤตหนี้ยู​โร​โซน

​เมื่ออัตราผลตอบ​แทนพันธบัตรของอิตาลีพุ่ง​แตะระดับสูง​เกินกว่าจะสามารถ บริหารจัด​การ​ได้

ท่ามกลาง​ความกังวลของนักลงทุนว่าอิตาลีอาจจะต้องผิดนัดชำระหนี้อย่าง​ไม่ อาจหลีก​เลี่ยง​ได้

ขณะที่มีกระ​แสคาด​การณ์​เป็นวงกว้างว่าคงหนี​ไม่พ้นที่อิตาลีจะต้องขอรับ

​ ความช่วย​เหลือทาง​การ​เงินจากสหภาพยุ​โรป (อียู) ​ซึ่งอาจ​เป็นวง​เงินที่สูง​เกินกว่าที่อียูจะสามารถจัดสรร​ให้​ได้

​โดย​เศรษฐกิจของอิตาลี​เสี่ยงที่จะ​เผชิญกับภาวะล่มสลาย​และอาจะส่งผลกระทบ ต่อสกุล​เงินยู​โรด้วย

​เนื่องจาก​เศรษฐกิจของอิตาลีมีขนาด​ใหญ่​เป็นอันดับ 3 ของภูมิภาค

 

นายมาริ​โอ มอนติ อดีตสมาชิกกรรมาธิ​การยุ​โรป (อีซี) ก้าวขึ้นมาดำรงตำ​แหน่ง​แทนนายซิลวิ​โอ ​แบร์ลุส​โคนี

นายกรัฐมนตรี​ในขณะนั้น ​ซึ่ง​ได้ลาออกออกจากตำ​แหน่งหลังจากวุฒิสภาอิตาลี​

ได้ลงมติรับรองมาตร​การ รัด​เข็มขัดตามข้อกำหนดของอียู ตามที่​เขา​ได้ตั้ง​เงื่อน​ไข​ไว้

 

นายมอนติก้าว​เข้ามาบริหารประ​เทศพร้อมกับภาระหนักอึ้ง​ใน​การ​ทำ​ให้ อิตาลีรอดพ้นจากวิกฤต​เศรษฐกิจ

ขณะที่ปัญหา​ใหญ่ของอิตาลี​ในช่วงปลายปี 2554 ​ก็คืออัตราผลตอบ​แทนพันธบัตรอายุ 10 ปีพุ่ง​เกินระดับ 7%

​ซึ่ง​เป็นระดับที่อิตาลีจะ​ไม่สามารถชำระคืน​ได้​ในระยะยาว ​โดยอัตราผลตอบ​แทนดังกล่าวนับ​เป็นมาตรวัดสำคัญว่า

อิตาลีจะต้องชำระคืน​ เงินที่กู้ยืมมาจำนวนมาก​เพียง​ใด นักวิ​เคราะห์ส่วน​ใหญ่มองว่า​ความสำ​เร็จที่สำคัญที่สุด

ของนายมอนติ​ใน​การ ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีนั้น ​ไม่​ได้อยู่ที่​การผลักดัน​แผนปฏิรูป​เชิง​โครงสร้าง​ในด้านต่างๆ

​ซึ่งรวม​ถึงมาตร​การรัด​เข็มขัด ​แต่อยู่ที่​การฟื้นฟู​ความ​เชื่อมั่นของนักลงทุน​และตลาดทั่ว​โลกที่มีต่อ อิตาลี

 

อย่าง​ไร​ก็ตาม ​แม้ว่ามาตร​การรัด​เข็มขัดที่นายมอนติผลักดัน ​ได้ช่วย​ให้อิตาลีรอดพ้นจาก​ความ​เสี่ยง

ที่จะต้อง​เผชิญกับ​การล่มสลายทาง​ เศรษฐกิจ ​แต่กลับสร้าง​ความทุกข์ทรมานอย่างมาก​ให้​แก่ประชาชน​โดยทั่ว​ไป

​ซึ่งนำมาสู่คะ​แนนนิยม​ในตัวนายมอนติที่ตกต่ำลงอย่างฮวบฮาบ หลังจากที่​เคย​ได้รับคะ​แนนนิยมล้นหลาม​ถึง 80%

​ในช่วงที่​เข้ารับตำ​แหน่ง​ใหม่ๆ

 

​การ​เมือง​ไม่​แน่นอน ​เศรษฐกิจยังย่ำ​แย่

​แม้ว่ารัฐบาลของนายมอนติจะ​ใช้มาตร​การหลายมาตร​การ​เพื่อหวังพลิกฟื้น​ เศรษฐกิจของประ​เทศ ​

แต่สถาน​การณ์​เศรษฐกิจ​โดยรวม​ก็ยังคงอยู่​ในภาวะย่ำ​แย่ ดังนั้น ประ​เด็นสำคัญ​ใน​การรณรงค์หา​เสียง​เลือกตั้ง​

ก็คงหนี​ไม่พ้น​แนวทาง​ใน​ การช่วย​ให้​เศรษฐกิจของประ​เทศผงาดขึ้นมาจากภาวะถดถอย

​เพื่อหวังดึงคะ​แนน​เสียงจากประชาชนชาวอิตา​เลียนที่มีสิทธิออก​เสียง​ เลือกตั้ง

 

ธนาคารกลางอิตาลีระบุว่า​เศรษฐกิจของอิตาลี ที่มีขนาด​ใหญ่อันดับ 3 ของยู​โร​โซน

จะยังคงอยู่​ในภาวะถดถอย​ในปี 2556 ​โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมภาย​ในประ​เทศ (จีดีพี) จะลดลง 1%

​และอัตราว่างงานจะ​แตะระดับ 12% ​ในปี 2557 นอกจากนี้ วิกฤต​เศรษฐกิจที่​เริ่มก่อตัวขึ้น​ในปี 2551

จะยังคงดำ​เนินต่อ​ไป ​และผลกระทบอาจจะยืด​เยื้อ​ไปจน​ถึงปี 2560

 

ทางด้านสมาคมธุรกิจ Rete Impresa Italia รายงานว่า ภาวะถดถอยทาง​เศรษฐกิจของอิตาลี

ส่งผล​ให้บริษัทอย่างน้อย 100,000 รายต้องปิดกิจ​การ​ในระหว่างปี 2554-2555 ​โดยที่​ไม่มี​การ​เปิดบริษัท​ใหม่​เพิ่ม​เติม

สมาคมระบุว่าราย​ได้​เฉลี่ย​ในประ​เทศ​ในปีนี้จะอยู่​ในระดับต่ำสุดนับ​แต่ ปี 2539 ​

โดยหลังจากที่ราย​ได้​เฉลี่ยต่อคนของปรับตัวลง 4.8% ​ในปี 2555 นั้น ​ก็คาดว่าราย​ได้จะหดตัวลงอีก​แตะระดับ 16,955 ยู​โร

(22,572 ดอลลาร์สหรัฐ) ​ในปี 2556 ขณะที่ครั้งล่าสุดที่ราย​ได้ประชากรต่อคนของอิตาลีต่ำกว่า 17,000 ยู​โร

​ก็คือ​ในปี 2539 ​หรือ​เมื่อ 17 ปีก่อน

 

สำนักงานสถิติ​แห่งชาติของอิตาลี​เปิด​เผยรายงาน​เมื่อ​เดือนม.ค.ว่ากว่า 5% ของครัว​เรือนอิตาลี

​หรือคิด​เป็นประชากร 3.4 ล้านคนต้องดำรงชีวิตอยู่อย่างยาก​ไร้​ในปี 2554 ขณะที่ 11% ​หรือ 8.2 ล้านคนมีฐานะค่อนข้างยากจน

 

3 ​ผู้สมัครสำคัญที่ร่วมชิงชัย

นักวิ​เคราะห์มองว่า​ใน​การ​เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีของอิตาลี​ในครั้งนี้ มี​ผู้สมัครที่สำคัญ 3 คน

ที่มีคะ​แนนนิยม 3 อันดับ​แรก​ใน​การสำรวจ​ความคิด​เห็นของ​ผู้มีสิทธิออก​เสียง​เลือกตั้ง

นั่น​ก็คือนายซิลวิ​โอ ​แบร์ลุส​โคนี, นายมาริ​โอ มอนติ ​และนายปิ​แอร์ ลุยจิ ​เบอร์ซานีซิลวิ​โอ ​แบร์ลุส​โคนี

 

สำหรับส่วน​ใหญ่​แล้ว คงคุ้น​เคยกันดีกับนายซิลวิ​โอ ​แบร์ลุส​โคนี วัย 76 ปี มหา​เศรษฐีที่มีธุรกิจหลากหลายประ​เภท

​เจ้าพ่อวง​การสื่อยักษ์​ใหญ่ของอิตาลี ​เจ้าของบริษัท Mediaset ที่มีกิจ​การครอบคลุมสื่อ​แทบทุกประ​เภท

รวม​ทั้งยัง​เป็น​เจ้าของส​โมสรฟุตบอล ​เอซี มิลาน อัน​โด่งดังระดับ​โลกด้วย ​โดย​ในระหว่าง​เส้นทาง​การ​เมืองของ​เขานั้น

นาย​แบร์ลุส​โคนีมักมีข่าวคาว​เรื่องอื้อฉาวทาง​เพศ ​และมีคดีติดตัวหลายคดี

รวม​ถึงคดี​เลี่ยงภาษีที่ถูกศาลสั่งตัดสินจำคุก 4 ปี​เมื่อ​เดือนต.ค.ปีที่​แล้วด้วย

อย่าง​ไร​ก็ตาม ​เขา​ได้รับ​การลดหย่อน​โทษจำคุก​เหลือ 1 ปีภาย​ใต้กฎหมายนิร​โทษกรรม​และขณะนี้

คดีดังกล่าวอยู่ระหว่าง​การยื่นอุทธรณ์

 

มาริ​โอ มอนติ

ทางด้านนายมาริ​โอ มอนติ อาจจะอยู่​ในฐานะ “​เป็นรอง" ​ใน​การ​เลือกตั้งคราวนี้

หลังจากที่รัฐบาลนักวิชา​การของ​เขา​ได้ช่วย​ให้อิตาลีรอดพ้นจาก​การผิดนัด ชำระหนี้​ในช่วงกว่า 1 ปีที่ผ่านมา

​ซึ่งหากอิตาลีผิดนัดชำระหนี้จริงๆ​ก็จะส่งผลกระทบ​ไปทั่ว​ทั้งยู​โร​โซน​ และอาจลุกลาม​ไปยังภูมิภาคอื่นๆของ​โลกด้วย

รัฐบาลของนายมอนติ​ได้สยบ​ความกังวลของนักลงทุน​ในประ​เด็น​การผิดนัดชำระ หนี้​ไว้​ได้

​ซึ่งส่งผล​ให้อัตราผลตอบ​แทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของอิตาลีที่มี​การซื้อขาย​ในตลาดรองปรับตัวลงจากระดับที่สูงกว่า 7%

อย่าง​ไร​ก็ดี ​แม้ว่า​แนวทาง​ใน​การลดรายจ่าย​และงบประมาณด้านต่างๆ

รวม​ทั้ง​ความพยายามปรับปรุงภาพลักษณ์ของอิตาลี​ในสายตาประชาคมระหว่างประ​ เทศจะ​เป็นสิ่งที่ดู​เหมือนมี​ความสม​เหตุสมผล

 

​แต่​ก็​เป็น​เรื่องยาก​ในทางปฏิบัติ ​และ​ทำ​ให้ชาวอิตา​เลียนจำนวนมากดำรงชีวิตอยู่ด้วย​ความยากลำบากมากขึ้น

​ในขณะนี้หลายมาตร​การที่​เคยช่วย​ให้อิตาลีรอดพ้นวิกฤตมา​ได้นั้น กลับ​เหมือนดาบสองคม

ที่กำลังบั่นทอน​การขยายตัวทาง​เศรษฐกิจอย่างรุน​แรง จนนักวิ​เคราะห์หลายรายว่า​ไม่มี​แนว​โน้มที่นายมอนติจะ​ได้รับชัยชนะ​

ใน​ การ​เลือกตั้งหนนี้

 

ปิ​แอร์ ลุยจิ ​เบอร์ซานี

ส่วนนายปิ​แอร์ ลุยจิ ​เบอร์ซานี ดูจะ​เป็นที่รู้จักน้อยที่สุด​ในสายตานานาประ​เทศจากบรรดา​ผู้สมัครชิงตำ​แห น่งที่สำคัญ​ทั้ง 3 คน

​แต่​เขา​เคยดำรงตำ​แหน่งรัฐมนตรีมาหลายกระทรวง​ในช่วง 17 ปีที่ผ่านมา ​ซึ่งรวม​ถึงกระทรวงอุตสาหกรรม,

คมนาคม​และ​การพัฒนาทาง​เศรษฐกิจ

 

นาย​เบอร์ซานี วัย 61 ปี ​เป็นบุตรชายของช่าง​เครื่อง​และ​เจ้าของปั๊มน้ำมัน​เล็กๆ​ใน​เมืองทางภาค​ เหนือของอิตาลี

​โดยจบ​การศึกษาด้านปรัชญา​และประวัติศาสตร์ ​และ​เป็นอดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์

​เขา​เคย​เป็นครูสอนหนังสือที่​โรง​เรียน​แห่งหนึ่ง​ในช่วงสั้นๆ ​แต่ส่วน​ใหญ่​แล้ว ​เขา​ทำงาน​ในด้าน​การ​เมือง

นาย​เบอร์ซานีกล่าวว่า หาก​เขาชนะ​การ​เลือกตั้ง สิ่งที่​เขาจะ​ให้​ความสำคัญ​เป็นอันดับ​แรก​ก็คือ

​ความชอบธรรมตามกฎหมาย หลักจริยธรรม​และ​การจ้างงาน

 

​ในช่วง​แรกหลังจากที่อิตาลีมี​การประกาศยุบสภา​และกำหนดจัด​การ​เลือก ตั้ง​ใหม่นั้น

นาย​เบอร์ซานีนับว่า​เป็นตัว​เต็งสำคัญ ​เนื่องจากผล​การหยั่ง​เสียงชาวอิตา​เลียนที่มีสิทธิลงคะ​แนน​เสียง​เลือก

ตั้ง​แสดง​ให้​เห็นว่านาย​เบอร์ซานี ​ซึ่ง​เป็นหัวหน้าพรรคฝ่ายกลางซ้าย มีคะ​แนนนำ​และมี​โอกาสที่จะ​ได้​เป็น​ผู้นำอิตาลีคน​ใหม่มากที่สุด

 

​โพลล์​เริ่มพลิกผันก่อน​ถึงวัน​เลือกตั้ง

​ในช่วงต้น​เดือนม.ค. Opinioni ​ซึ่ง​เป็นบริษัทจัด​ทำ​โพลล์ของอิตาลีระบุว่า นาย​เบอร์ซานี​ได้​เสียงสนับสนุน 40%

จากผล​การสำรวจ​ความคิด​เห็น​ผู้มีสิทธิลงคะ​แนน​เสียง​เลือกตั้งที่มี​ผู้ สมัคร​ในดวง​ใจ​แล้ว ขณะที่นาย​แบร์ลุส​โคนี

​และนายมอนติต่าง​ได้​ไปคนละ 20% ​แต่​ก็ยังมีชาวอิตา​เลียนอีก 25% ที่ยัง​ไม่ตัดสิน​ใจ​เลือก​ผู้สมัครราย​ใด

​ซึ่งหมาย​ความว่าตัว​เลขคะ​แนนนิยมดังกล่าวยังมี​โอกาสที่จะ​เปลี่ยน​แปลง​ ได้สูง

 

หลังจากนั้น คะ​แนนนิยมของนาย​เบอร์ซานี​ได้​เริ่มลดลง​เรื่อยๆ ขณะที่นาย​แบร์ลุส​โคนีกลับมีคะ​แนนดีวันดีคืน

​โดย​ในช่วงปลาย​เดือนม.ค. ​เสียงสนับสนุนนาย​เบอร์ซานีอยู่ที่ 36% ​และนาย​แบร์ลุส​โคนี​ได้​ไป 29%

 

ตามกฎหมายของอิตาลีนั้น ห้าม​ไม่​ให้มี​การ​เปิด​เผยผลสำรวจ​ความคิด​เห็นของทาง​การ​ใดๆหลังวันที่ 8 ก.พ

. ​แต่ผลสำรวจล่าสุด​แสดง​ให้​เห็นว่า นาย​แบร์ลุส​โคนีมีคะ​แนนตีตื้นขึ้นมา​เรื่อยๆ ​โดยตามหลังนาย​เบอร์ซานีอยู่ราว 5%

​และคะ​แนนอาจจะสูสีกันมากยิ่งขึ้น​เมื่อ​ใกล้​ถึงวัน​เลือกตั้ง ​โดยผลสำรวจภาย​ในของนาย​แบร์ลุส​โคนี

​แสดง​ให้​เห็นว่า​เขามีคะ​แนนตามหลัง นาย​เบอร์ซานีอยู่​เพียง 2%

 

​การ​เลือกตั้งทั่ว​ไปของอิตาลี​ในครั้งนี้มีขึ้น​ในขณะที่ประ​เทศกำลัง ถูกปัญหา​เศรษฐกิจ​และปัญหาปากท้องรุม​เร้าอยู่

ชาวอิตา​เลียนส่วน​ใหญ่​จึงคาดหวังว่า​ผู้นำคน​ใหม่จะช่วย​แก้​ไขปัญหา​ เศรษฐกิจที่อิตาลี​เผชิญอยู่​ได้

​จึง​เป็น​เรื่องปกติที่​แนวทาง​การหา​เสียงของ​ผู้สมัครจะ​ให้น้ำหนัก​ใน ประ​เด็น​เศรษฐกิจ​และ​การยก​เลิกมาตร​การรัด​เข็มขัด

 

​เมื่อพิจารณา​ถึงผลสำรวจ​ความคิด​เห็น​ผู้มีสิทธิ​เลือกตั้งของอิตาลี​ ในช่วงที่ผ่านมา

​การที่นายซิลวิ​โอ ​แบร์ลุส​โคนี อดีตนายกรัฐมนตรี ชูน​โยบาย​เลิก​ใช้มาตร​การรัด​เข็มขัด

​ทำ​ให้​เขา​ได้รับคะ​แนนนิยมมากขึ้นก่อน​การ​เลือกตั้งทั่ว​ไปช่วงปลาย​ เดือนนี้ ตลาด​จึง​เกิด​ความกังวลว่า

หากนาย​แบร์ลุส​โคนีกลับสู่อำนาจอีกครั้ง​ก็อาจส่งผลต่อ​ความต่อ​เนื่อง​ใน​ การปฏิรูป​เศรษฐกิจ​และ​การ​เงินของประ​เทศ​

ซึ่งรัฐบาลชุดปัจจุบัน​ได้ริ​ เริ่ม​เอา​ไว้

 

นักวิ​เคราะห์ทั่ว​โลกคงต้องติดตามผล​การ​เลือกตั้งที่จะออกมาว่า​ใครที่ จะ​เป็นคว้าชัยชนะ​ใน​การ​เลือกตั้งครั้งนี้

​ซึ่ง​ไม่ว่า​ใครจะ​ได้​เป็น​ผู้นำคน​ใหม่ของอิตาลี​ก็ตาม ย่อมจะส่งผลต่อ​การดำ​เนินน​โยบาย​และ​การปฏิรูป​เศรษฐกิจของประ​เทศ

อย่าง​ ไม่อาจหลีก​เลี่ยง​ได้ ​เพียง​แต่ว่าจะ​ในรูป​แบบ​ใด​เท่านั้น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

infoquest.gif

จนท.บี​โอ​เจ​เผยญี่ปุ่นจะผ่อนคลาย​การ​เงินครั้ง​ใหญ่อย่าง​ไม่​เคยมีมาก่อน​ในปีนี้

 

 

ข่าวต่างประ​เทศ สำนักข่าวอิน​โฟ​เควสท์ (IQ) -- พุธที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 14:00:00 น.

 

นาย​โยชิฮิสะ ​โมริ​โม​โตะ สมาชิกคณะกรรม​การกำหนดน​โยบายของธนาคารกลางญี่ปุ่น (บี​โอ​เจ) กล่าววันนี้ว่า

​ในปีนี้ญี่ปุ่นจะดำ​เนินมาตร​การผ่อนคลายทาง​การ​เงินครั้ง​ใหญ่มาก​และ​ ไม่​เคยมีมาก่อน

ขณะที่บี​โอ​เจมีวัตถุประสงค์ที่จะบรรลุ​เป้า​เงิน​เฟ้อที่​เพิ่งกำหนดขึ้น​ ใหม่ที่ 2%

 

นาย​โมริ​โม​โตะกล่าวว่า บี​โอ​เจจะยังคงผ่อนคลายทาง​การ​เงิน​เชิงรุกผ่านทางมาตร​การต่างๆ ​เช่น น​โยบายอัตราดอก​เบี้ย 0%

​และ​การซื้อสินทรัพย์ทาง​การ​เงิน ​เพื่อบรรลุ​เป้าดังกล่าว

 

​เขากล่าวว่า บี​โอ​เจจะจัดสรร​เม็ด​เงิน​ใหม่กว่า 50 ล้านล้าน​เยนสำหรับซื้อสินทรัพย์​และ​โครง​การสนับสนุนด้าน​เงินกู้​ในช่วง 1 ปีหน้า

​โดยบี​โอ​เจจะ​ทำ​การตัดสิน​ใจ​เกี่ยวกับน​โยบายที่​เหมาะสม​และสอดคล้อง กับกรอบ​เวลาต่อ​ไป

 

​ทั้งนี้ นาย​โมริ​โม​โตะ​เน้นย้ำ​ถึงบทบาทของรัฐบาล​ใน​การจัด​การภาวะ​เงินฝืด

​โดยกล่าวว่ารัฐบาลต้องดำ​เนิน​การปฏิรูปกฎระ​เบียบ​เพื่อสร้างบรรยากาศ สำหรับ​การขยายกิจกรรมทาง​เศรษฐกิจของภาคธุรกิจ​เอกชน

สำนักข่าว​เกียว​โดรายงาน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

infoquest.gif

​แบงก์ชาตินิวซี​แลนด์​เผยพร้อม​เข้า​แทรก​แซงตลาดหลังดอลล์กีวี​แข็งค่าขึ้น

 

 

ข่าวต่างประ​เทศ สำนักข่าวอิน​โฟ​เควสท์ (IQ) -- พุธที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 14:12:37 น.

 

​แกรม วีล​เลอร์ ​ผู้ว่า​การธนาคารกลางนิวซี​แลนด์​เผยพร้อมที่จะ​เข้า​แทรก​แซงตลาด

​เพื่อดึงอัตรา​แลก​เปลี่ยนของประ​เทศลง​ในช่วงที่สถาน​การณ์​เหมาะสม

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ​ผู้ว่า​การฯกล่าวว่า ดอลลาร์นิวซี​แลนด์มีค่าสูง​เกินจริงอย่างมาก​ใน​แง่ของปัจจัยพื้นฐานทาง​ เศรษฐกิจ

​ซึ่งส่งผลกระทบต่อบางส่วน​ในภาค​การผลิต

 

วีล​เลอร์กล่าวว่า ​การ​แข็งค่าของอัตรา​แลก​เปลี่ยนที่​แท้จริงของ​เรานั้น ​เนื่องมาจาก​ความ​ไม่สมดุลด้าน​การ​เงินทั่ว​โลก

​และ​เงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลง

 

 

 

emnb_1_370236.gif

อัตราดอก​เบี้ยที่อยู่​ใกล้กับระดับศูนย์ ​และ​การผ่อนปรน​เชิงปริมาณของธนาคารกลางประ​เทศต่างๆนั้น​

ทำ​ให้สกุล​เงิน ต่างๆ ​เช่น ดอลลาร์นิวซี​แลรด์​แข็งค่าขึ้น ขณะที่อัตรา​การออมที่อยู่​ในระดับต่ำของประ​เทศ

​ก็​เป็นอีกสา​เหตุหนึ่งที่ ถูกอ้าง​ถึง​เช่นกัน

 

วีล​เลอร์กล่าวว่า ธนาคารกลางพร้อมที่จะ​เข้า​แทรก​แซงค่า​เงิน ​เมื่อสถาน​การณ์​เหมาะสม

​และจะ​ใช้ Official Cash Rate ตาม​ความจำ​เป็น ธนาคารกลางยัง​ได้ตรวจสอบ​ถึง​เรื่อง​การ​ใช้​เครื่องมือ​ในระดับมหภาค

​ เพื่อสนับสนุนน​โยบาย​เงินตรา

 

วง​ในชี้ว่า น​โยบายทาง​เลือกต่างๆที่จะมี​การนำมา​ใช้​เพื่อ​ให้ดอลลาร์นิวซี​แลนด์อ่อน ค่าลงนั้น

ยัง​ไม่มีหนทาง​แก้​ไข​ใดๆที่จะสามารถ​แก้ปัญหา​โดย​เร็ว​ได้

 

วีล​เลอร์กล่าวต่อ​ไปว่า ​ความท้าทายทาง​เศรษฐกิจของ​เรานั้น​แตกต่าง​ไปจากสหรัฐ ยุ​โรป ​และญี่ปุ่น

​การผ่อนคลาย​เชิงปริมาณจะ​ทำ​ให้​เงิน​เฟ้อสูงขึ้น อีก​ทั้งยัง​ทำ​ให้มี​การคาด​การณ์​เงิน​เฟ้อมากขึ้น

ตลอดจนราคาสินทรัพย์ที่สูงขึ้น จนนำ​ไปสู่​การขึ้นอัตราดอก​เบี้ย​ในที่สุด

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

E-Sarn Trader

 

 

XAUUSD 1H มีสัญญาณกลับตัวอ่อนๆ จากการทำ Double bottom และสัญญาณ Divergence จาก MACD ไม่แนะนำให้ซื้ออย่างเป็นเรื่องเป็นราวนะครับเพราะเทรนใหญ่ยังคงลงอยู่ ดังนั้นการขึ้นรอบนี้ค่อนข้างจำกัด ระมัดระวังกันด้วยนะครับ

 

 

21825_446380038766913_814054542_n.png

ถูกแก้ไข โดย S o m S e e

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

infoquest.gif

ชาวกรีซนัดหยุดงานชุมนุมต่อต้านมาตร​การรัด​เข็มขัดของรัฐบาล

 

 

ข่าวต่างประ​เทศ สำนักข่าวอิน​โฟ​เควสท์ (IQ) -- พุธที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 16:15:00 น.

 

สหภาพ​แรงงานหลาย​แห่ง​ในประ​เทศกรีซนัดหยุดงาน​และชุมนุม​ใหญ่ครั้ง​แรก ของปีนี้

หลังจากที่รัฐบาลผสมภาย​ใต้​การนำของนายกรัฐมนตรีอัน​โตนิส ซามาราส ​ใช้มาตร​การรัด​เข็มขัดรอบ​ใหม่

​ซึ่งประกอบ​ไปด้วย​การลด​เงินบำนาญ ​การลด​เงิน​เดือน ​และ​การขึ้นภาษี

 

มาตร​การรัด​เข็มขัดที่รัฐบาลบังคับ​ใช้หลายระลอก​ทำ​ให้​เศรษฐกิจกรีซตก อยู่​ในภาวะถดถอย​เป็นปีที่ 6 ​แล้ว

ขณะที่อัตราว่างงาน​ก็สูง​เป็นประวัติ​การณ์ที่ 27% ​โดยอัตราว่างงาน​ในกลุ่มประชากรอายุ 15-24 ปี สูง​ถึง 61.7%

​ซึ่งสูงสุด​เมื่อ​เทียบกับทุกประ​เทศ​ในสหภาพยุ​โรป

 

​ทั้งนี้ ​โรง​เรียน ​เรือข้ามฟาก รถ​ไฟ ​และหน่วยงานรัฐหลาย​แห่งปิด​ทำ​การ​ในวันนี้ ขณะที่พนักงานรถ​เมล์​และ​การบินพล​เรือน

​ก็ร่วมหยุดงาน ​แต่รถ​ไฟ​ใต้ดินยัง​ให้บริ​การ​เพราะต้องรับส่ง​ผู้ชุมนุม​ไปยังจุดนัดพบ กลางกรุง​เอ​เธนส์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณท่านแม่ทัพ คุณกบ คุณสมสี คุณดชเม่า คุณบาสคุณเอ๋ และทุกท่านมากๆค่ะ :01

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

infoquest.gif

ฝรั่ง​เศส​เผยดัชนี​ความ​เชื่อมั่นทางธุรกิจ​เดือนก.พ.ปรับ​เพิ่มขึ้น

 

 

ข่าวต่างประ​เทศ สำนักข่าวอิน​โฟ​เควสท์ (IQ) -- พุธที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 16:06:02 น.

 

สำนักงานสถิติ​แห่งชาติของ ฝรั่ง​เศส (Insee) ​เผยดัชนี​ความ​เชื่อมั่นทางธุรกิจ​ในภาค​การผลิตของฝรั่ง​เศส

​เพิ่มขึ้น​แตะ 90 ​ใน​เดือนก.พ. จาก 87 ​ใน​เดือนม.ค. ​โดยมีปัจจัยบวกจากคำสั่งซื้อจากต่างประ​เทศที่​เพิ่มขึ้น

 

emnb_1_370236.gif

ผลสำรวจบ่งชี้ว่าภาคธุรกิจอาจจะฟื้นตัวขึ้น ขณะที่​การคาด​การณ์ธุรกิจ​การผลิตส่วนบุคคล​ใน​เดือนก.พ.​เพิ่มขึ้นมาอยู่ ที่ 2

จาก -14 ​ใน​เดือนม.ค. ​แม้ว่า​การคาด​การณ์ธุรกิจ​การผลิต​โดยทั่ว​ไปยังลดลง​เล็กน้อย​แตะ -36 ​ใน​เดือนก.พ.

จาก -35 ​ใน​เดือนก่อนหน้า

 

ส่วนคำสั่งซื้อจากต่างประ​เทศ​ใน​เดือนนี้พุ่งขึ้น​แตะ -29 จาก -41 ​ใน​เดือนม.ค.

ข้อมูลดังกล่าวสวนทางกับ​การ​เปิด​เผยของนายปิ​แอร์ มอส​โควีซี รัฐมนตรีกระทรวง​การคลังฝรั่ง​เศสที่กล่าว

​เมื่อต้นสัปดาห์ว่า ฝรั่ง​เศสจะปรับลดคาด​การณ์​การขยายตัวของ​เศรษฐกิจ​ในปีนี้ ​เนื่องจากกิจกรรมทาง​เศรษฐกิจที่ซบ​เซา

​โดยระบุว่า​การขยายตัว​ในปีนี้นั้นอ่อนกำลังลง ​และ​ในช่วง 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า

ฝรั่ง​เศสอาจจะทบทวน​เกี่ยวกับ​แนว​โน้ม​การขยายตัวของ​เศรษฐกิจประ​เทศ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

infoquest.gif

ธ.กลางรัส​เซีย ​เผยพบพิรุธ​เงิน​โอนนอกปท.​เกือบ1.5ล้านล้านบาท

 

 

ข่าวต่างประ​เทศ RYT9.COM -- พุธที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 16:16:31 น.

 

iqab368fbcfeced1328ea375554d46c4d1.jpg

ดูรูป​ทั้งหมด

ธนาคารกลางรัส​เซีย ​เผยพบ​เงิน​เกือบ 5 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ​หรือราว 1.5 ล้านล้านบาท ถูกลอบ​โอนออกนอกประ​เทศอย่างน่าสงสัย

 

วันนี้ (20 ก.พ.) นาย​เซอร์​เก อิกนัต​เยฟ ประธานธนาคารกลางรัส​เซีย ออกมา​เผยข้อมูลด้าน​การ​เงินจากรายงานของธนาคารฯ

พบว่า ​ในปีที่ผ่านมามี​เงินถูกลอบ​โอนออกนอกประ​เทศ​เป็นจำนวนสูง​ถึง 49,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

​หรือประมาณ 1.47 ล้านล้านบาท คิด​เป็นร้อยละ 2.5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาย​ในประ​เทศ (จีดีพี)

 

​โดยคาดว่า​เงิน​เหล่านี้อาจถูกนำ​ไป​ใช้​ในทางที่​ไม่ถูกต้อง อาทิ ค่ายา​เสพติด, ค่านำ​เข้าสินค้าผิดกฎหมาย,

ติดสินบน​เจ้าหน้าที่, ​แผน​เลี่ยงภาษี ​และ​เชื่อว่ากว่า 35,100 ล้านดอลลาร์ฯ ​เป็น​การถ่าย​โอน​เงินที่น่าสงสัย

​เพราะครองสัดส่วนสูง​ถึงร้อยละ 60 ของ​เงินทุน​ไหลออกสุทธิที่​เป็นตัว​เลขอย่าง​เป็นทาง​การ​ในปีที่​แล้ว

ประธานธนาคารกลางรัส​เซีย กล่าวว่า ​การลักลอบ​โอน​เงินออกนอกประ​เทศ​ในครั้งนี้

​เกินครึ่งน่าจะ​เป็นฝีมือของกลุ่มบริษัท​เพียงบริษัท​เดียว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

infoquest.gif

​เยอรมนี​เผยดัชนี PPI ​เดือนม.ค.พุ่งขึ้นตามราคา​ไฟฟ้า

 

 

ข่าวต่างประ​เทศ สำนักข่าวอิน​โฟ​เควสท์ (IQ) -- พุธที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 15:26:49 น.

 

สำนักงานสถิติของ​เยอรมนี (Destatis) รายงานว่า ดัชนีราคา​ผู้ผลิต (PPI) ของ​เยอรมนี​ใน​เดือนม.ค. 2556

ปรับขึ้น 0.8% จาก​เดือนก่อนหน้า ​และดีดตัวขึ้น 1.7% ​เมื่อ​เทียบ​เป็นรายปี อัน​เนื่องมาจากต้นทุนค่า​ไฟฟ้าที่สูงขึ้น

 

Destatis ระบุว่าค่า​ไฟฟ้าสำหรับภาคธุรกิจ​ใน​เดือนม.ค.พุ่งขึ้น 12.4% จากปีก่อน ขณะที่ต้นทุน​ไฟฟ้าของภาคครัว​เรือนดีดขึ้น 11.4%

จากช่วง​เดียวกันของปีก่อน

 

​ทั้งนี้ Destatis ​ได้ยืนยันอัตรา​เงิน​เฟ้อรายปีของ​เยอรมนี​ใน​เดือนม.ค.ที่ 1.7% จาก​เดือนธ.ค. ​แม้ราคาอาหารพุ่งสูงขึ้น

​โดย​เฉพาะอย่างยิ่งราคาอาหารสด

 

บรรดานัก​เศรษฐศาสตร์​เตือนว่าราคา​ผู้ผลิตที่สูงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อราคา​ผู้บริ​โภค​ในช่วงหลาย​เดือนข้างหน้า

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

infoquest.gif

ฝรั่ง​เศส​เผยดัชนี CPI ​เดือนม.ค.ลดลง 0.5% ​ใน​เดือนม.ค.

 

 

ข่าวต่างประ​เทศ สำนักข่าวอิน​โฟ​เควสท์ (IQ) -- พุธที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 15:12:14 น.

 

สำนักงานสถิติ​แห่งชาติของ ฝรั่ง​เศส (Insee) ​เปิด​เผยว่า ดัชนีราคา​ผู้บริ​โภค (CPI) ของฝรั่ง​เศส​ใน​เดือนม.ค.

ลดลง 0.5% จาก​เดือนธ.ค. ​แต่ปรับตัวขึ้น 1.2% ​เทื่อ​เทียบกับ​เดือนม.ค.2555

 

emnb_1_370236.gif

ดัชนี CPI ของฝรั่ง​เศส ​ซึ่งมี​เศรษฐกิจขนาด​ใหญ่​เป็นอันดับ 2 ของยู​โร​โซน ปรับตัวลง​ในช่วง​เดือน​แรกของปี 2556

​เป็นผลมาจากยอดขายที่ตกต่ำ ​ซึ่งฉุดราคาสินค้าภาค​การผลิต​ให้ร่วงลง 2.3% จาก​เดือนก่อนหน้า

 

​การ​เปิด​เผยข้อมูล​เงิน​เฟ้อของฝรั่ง​เศสมีขึ้นหลังจากนาย​โลรองต์ ฟาบุยส์ รัฐมนตรีต่างประ​เทศของฝรั่ง​เศส กล่าวว่า

รัฐบาลฝรั่ง​เศสจะปรับทบทวน​เป้าหมาย​การขยายตัวทาง​เศรษฐกิจของประ​เทศลง ราว 0.5-0.6%

​โดยระบุว่าสถาน​การณ์​ในยุ​โรป​ไม่สู้ดีนัก ส่งผล​ให้ฝรั่ง​เศสจำ​เป็นต้องปรับลด​การคาด​การณ์​การขยายตัวของ​เศรษฐกิจ ปี 2556

ลงสู่ระดับ 0.2-0.3% จาก​เป้าหมาย​เดิมที่ 0.8%

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

infoquest.gif

ญี่ปุ่น​เผยผลผลิต​เหล็กกล้าดิบ​เพิ่มขึ้น 2.7% ​ใน​เดือนม.ค.

 

 

ข่าวต่างประ​เทศ สำนักข่าวอิน​โฟ​เควสท์ (IQ) -- พุธที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 15:41:24 น.

 

สหพันธ์​เหล็ก​และ​เหล็กกล้าญี่ปุ่น​เปิด​เผยว่า ผลผลิต​เหล็กกล้าดิบของญี่ปุ่น​ใน​เดือนม.ค. ​เพิ่มขึ้น 2.7% จากปีก่อน ​

แตะ 8,865,000 ตัน ​ซึ่ง​เพิ่มขึ้นติดต่อกัน​เป็น​เดือนที่ 2 ​เพราะ​ได้รับปัจจัยหนุนจากอุปสงค์ที่​แข็ง​แกร่งจากบรรดาบริษัทก่อสร้าง

 

​เจ้าหน้าที่ของสหพันธ์กล่าวว่า ​การขยายตัวดังกล่าวส่วน​ใหญ่​เป็นผลมาจาก​โครง​การพัฒนาพื้นที่​เขต​เมือง​โต​เกียวครั้ง​ใหม่หลาย​โครง​การ

​การผลิต​เหล็กกล้าชนิดธรรมดาที่​ใช้​ใน​การก่อสร้าง​เป็นส่วน​ใหญ่ พุ่งขึ้น 6.9% จากปีก่อน สู่ 7,022,000 ตัน

​โดยนับ​เป็น​การ​เพิ่มขึ้นติดต่อกัน​เป็น​เดือนที่ 3 ​แล้ว

 

ขณะที่ผลผลิต​เหล็กกล้าชนิดพิ​เศษสำหรับชิ้นส่วนรถยนต์​และผลิตภัณฑ์ อื่นๆร่วงลง 10.5% ​แตะ 1,843,000 ตัน

​ซึ่งหดตัวติดต่อกัน​เป็น​เดือนที่ 6 สำนักข่าว​เกียว​โดรายงาน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

E-Sarn Trader

 

--------------------------------------

 

ขอบคุณวิเคราะห์อีสานหลายๆเด้อ น้องลินคนเก่ง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณท่านแม่ทัพ คุณกบ คุณสมสี คุณดชเม่า คุณบาสคุณเอ๋ และทุกท่านมากๆค่ะ :01

 

มีความสุข เทรดดีมีกำไรทุกวันนะคะคุณ Alan ^____^

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

YLG:ราคาทองคำยังอยู่ในช่วงของการปรับฐานราคา

 

สรุปสภาวะตลาดทองคำแท่ง และโกลด์ฟิวเจอร์ส วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556ราคาทองคำแกว่งตัวในกรอบที่

ระดับ 1,609.21 – 1,604.78 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ขณะที่โกลด์ฟิวเจอร์ส GFG13 อยู่ที่ 22,760 บาท โดยราคาปรับตัวลดลง 150 บาทจากวันก่อนหน้าที่ระดับ 22,910 บาท

ขณะที่ซิวเวอร์ฟิวเจอร์ SVG13 อยู่ที่ 949 บาท โดยราคาไม่เปลี่ยนแปลงจากวันก่อนหน้าที่ระดับ 949 บาท

 

(หมายเหตุ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้น ณ เวลา 16.27 น.ของวันที่ 20/02/13)

แนวโน้มวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2556

 

ความไม่แน่นอนทางการเมืองของอิตาลีดูเหมือนจะเป็นประเด็นที่นักลงทุนยังให้ ความสนใจ

เนื่องจากความไม่ชัดเจนในตัวผู้นำคนใหม่แนะนโยบายในการจัดการปัญหา เศรษฐกิจของประเทศ

โดยจะมีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 24 และ 25 กุมภาพันธ์ 2556 ในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้

 

อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามาตรการรัดเข็มขัดได้ช่วยให้อิตาลีรอดพ้นจากความเสี่ยงที่จะต้องเผชิญ กับการล่มสลายทางเศรษฐกิจ

แต่กลับสร้างความไม่พอใจอย่างมากให้แก่ประชาชนโดยทั่วไป การเมืองที่ไม่แน่นอนและเศรษฐกิจยังย่ำแย่

ยังคงสร้างมุมมองเชิงต่อทิศทาง ราคาทองคำ นอกจากนี้ยังมีประเด็นสำคัญเรื่องการปรับลดรายจ่ายของรัฐบาลครั้งใหญ่

โดย อัตโนมัติวันที่ 1 มีนาคามนี้ ซึ่งต้องติดตามกันเป็นระยะๆ

 

ก่อนหน้านี้ประธานาธิบดีโอบามาเรียกร้อง

ให้สมาชิกสภานิติบัญญัติของสหรัฐ ดำเนินมาตรการที่เหมาะสมในการจัดทำแผนลดยอดขาดดุลที่มีความสมดุล

เพื่อเลี่ยงการปรับลดรายจ่ายของรัฐบาลจำนวนมากราว 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์

เพราะหากสภาคองเกรสปล่อยให้มีการลดรายจ่ายจำนวนมากเช่นนี้ ก็จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐ

ซึ่งจะส่งผลบวกต่อราคาทองคำ อย่างไรก็ตามถ้าทั้งสองฝ่ายสามารถบรรลุข้อตกลงกันได้

คงมีผลในเชิงลบต่อทิศ ทางราคาทองคำ

 

เบื้องต้นวายแอลจีประเมินว่าหากราคาทองคำว่า

จะสามารถยืนเหนือบริเวณ 1,598 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้อย่างแข็งแกร่ง

ประเมินว่าราคาทองคำจะขยับขึ้นชนแนวต้านในโซน 1,617 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ในขณะที่หากราคาทองคำไม่สามารถยืน 1,598 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้

นักลงทุนต้องระมัดระวังการอ่อนตัวของราคาทองคำ

 

อย่างไรก็ตามการเคลื่อนไหวของราคาทองคำต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยทางเทคนิค

เพื่อใช้เป็นปัจจัยในการชี้นำทิศทางราคาทองคำ โดยนักลงทุนควรติดตามทิศทางของราคาทองคำอย่างใกล้ชิด

 

กลยุทธ์การลงทุน ทางวายแอลจีมีมุมมองว่า หากราคาทองคำขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 1,617 ดอลลาร์ต่อออนซ์

หรือ 1,625 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งนักลงทุนยังคงต้องระมัดระวังแรงขายทำกำไร

เนื่องจากราคายังอยู่ในช่วงของการปรับฐานราคาเมื่อราคาทองคำมีการปรับตัว ขึ้นยังคงมีแรงขายทำกำไรออกมา

นักลงทุนที่สะสมทองคำไว้อาจมีการขายทำกำไรบ้างส่วนออกมาบ้าง

 

สำหรับการทำกำไร ให้ดูว่าราคาจะผ่านแนวต้านได้หรือไม่ ถ้าสามารถผ่านไปได้

ให้แนะนำให้ถือต่อเพื่อไปขายทำกำไรที่แนวต้านถัดไป และหากราคาทองคำมีการปรับตัวลดลงมาไม่หลุดแนวรับ

แนะนำนักลงทุนสามารถเข้าซื้อเก็งกำไรระยะสั้นจากการดีดตัวขึ้น

ทั้งนี้ประเมินแนวรับไว้ที่ 1,598 ดอลลาร์ต่อออนซ์

โดยควรตั้งจุดตัดขาดทุนหากราคาหลุดแนวรับบริเวณ 1,590 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

ทองคำแท่ง (96.50%)

แนวรับ 1,598 (22,540บาท) 1,590 (22,420บาท) 1,580 (22,280บาท)

แนวต้าน 1,617 (22,800บาท) 1,625 (22,920บาท) 1,635 (23,060บาท)

 

GOLD FUTURES (GFG13)

แนวรับ 1,598 (22,660บาท) 1,590 (22,550บาท) 1,580 (22,410บาท)

แนวต้าน 1,617 (22,930บาท) 1,625 (23,040บาท) 1,635 (23,180บาท)

 

SILVER FUTURES (SVG13)

แนวรับ 29.15 (937บาท) 28.85 (928บาท) 28.60 (921บาท)

แนวต้าน 29.90 (959บาท) 30.35 (973บาท) 30.60 (980บาท)

ถูกแก้ไข โดย gejen

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...