ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
jarurote

วิเคราะห์แมวๆ เพื่อการลงทุนกองทุนทองคำ

โพสต์แนะนำ

เมี้ยวๆๆๆ ดีคร้าบทุกคน !La

 

มาสักที 1416 สำหรับคนตกรถ ที่ได้สอยในรอบ Gold Online คืนนี้

 

ส่วนพวกทียังดอยฉูงๆ คงต้องอดใจรอสักหน่อย มันเหมือนรถหวานเย็น ต้องจอดรอพวกตกรถ โดยวิ่งย้อนกลับมารับสักก่อน :lol:

 

กองทุน K-Gold กสิกร และ T-GoldBullion-H ของธนชาติ คงได้เจิมในสัปดาห์หน้าพอดี

 

ตราบใดเดือนนี้ถ้าไม่มีอะไรแปลกๆ ก็เป็นไปตาม pattern ส่วนใหญ่ของเดือนนี้ นั้นคือขึ้นแบบเป็นแนวเส้นตรงไปถึงปลายเดือนนั่นเอง

 

auapr01.gif auapr02.gif auapr03.gif auapr04.gif auapr05.gif auapr06.gif auapr07.gif auapr08.gif auapr09.gif auapr10.gif

 

ปัจจัยสำคัญตามฤดูกาลก็คือ มีเทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนาเช่นเทศกาลแต่งงานอินเดียที่ใกล้จะมาถึงในเดือนพฤษภาคม

 

และราคาทองคำสูงสุดมักจะไปปรากฏอยู่ในเดือนพ.ค.บ่อยครั้งนั่นเอง ซึ่งมันก็ไม่เสมอไป

 

 

(คำเตือน อย่าคาดหวังความสมบูรณ์แบบของการขึ้นลงราคาทองคำตามปฏิทินมากนัก เพราะมันก็ไม่มีอะไรรับประกันความถูกต้องได้เต็ม 100% ดูตัวอย่างบางกรณี ก็จะเห็นได้ว่า มีบางปีที่เป็นขาลงไปเฉยๆ ได้เช่นกัน)

 

ส่วนเรื่องราคาน้ำมันก็มีส่วนเอี่ยวอยู่แล้วเช่นกัน ป่านนี้ไม่ยักจะลงมาถึงเลขสองหลักสักที

 

น้ำมันก็แพงต่อไป อาชีพที่น่าจะได้รับกระทบโดยตรงก็คือ

 

พวกวินมอไซด์ เพราะตัวเครื่องติดถังแก๊สไม่ได้ เติมดีเซลก็ไม่ได้ ซวยขนานแท้อาชีพนี้จริงๆ เฮ้อ !ghost

 

หง่าวววว !37 ได้เวลาไปนอนแล้ว

 

บ๊ายบายคร้าบ เมี้ยวๆๆๆ !bye

ถูกแก้ไข โดย Meaw_Joe

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย

 

ทองก็เช่นกัน ฟังเพลงแก้เซ็งกันหน่อย

 

เพลง "ฤดูที่แตกต่างกัน" :lol:

 

http://www.youtube.com/watch?v=S19A8LxzGEk&feature=related

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เมี้ยวๆๆๆ !37

 

ผิดถูกอย่างไร คิดเอาเองละกัน สำหรับคนที่มานั่งบ่นเรื่องกองทุนน้ำมันแบบคิดย้อนหลัง แต่ส่วนตัวเชื่อว่าไม่มีกองทุนไหนสามารถนั่งไทม์แมชชีนย้อนหลังไปซื้อได้หรอก มีแต่ลงทุนสิ่งที่เกิดขึ้นในวันข้างหน้าต่างหาก -_-

 

เอกซเรย์ผลงาน..กองทุน 'ทองคำ & น้ำมัน'

โดย: สรวิศ อิ่มบำรุง

กรุงเทพธุรกิจ - วันที่ 27 มิถุนายน 2553 04:00

 

 

 

การทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่องของราคา "ทองคำ"- "น้ำมัน" ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มว่ายังคงอยู่ใน “ทิศทางขาขึ้น” ค่อนข้างชัดเจน

 

Fundamentals สัปดาห์นี้ จะพามาเจาะลึกเรื่องราวของ “กองทุนทองคำ” และ “กองทุนน้ำมัน” ผ่านมุมมองของนักวิเคราะห์กองทุนรวมกันอีกครั้ง

 

 

@ กองทุนทองคำ

“สานุพงศ์ สุทัศน์ธรรมกุล” นักวิเคราะห์กองทุนรวม บมจ.หลักทรัพย์ฟิลลิป (ประเทศไทย) บอกว่า ปัจจุบัน “กองทุนทองคำ” ได้รับความนิยมจากนักลงทุนไทยเป็นจำนวนมากและมี บลจ.ต่างๆ สนใจออกกองทุนทองคำมาเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุนอยู่หลาย บลจ.เช่นเดียวกัน

 

โดยกองทุนทองคำทั้งหมดของทุก บลจ.นี้จะนำเงินไปลงทุนในกองทุนแม่กองทุนเดียวกันทั้งหมดนั่นก็คือ “กองทุน SPDR GOLD TRUST” ซึ่งเป็นกองทุนอีทีเอฟ (EXCHANGE TRADED FUND : ETF) ที่ลงทุนในทองคำแท่งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก จัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จัดตั้งและจัดการโดย WORLD GOLD TRUST SERVICES, LLC ที่ถือหุ้นโดย WORLD GOLD COUNCIL (WGC) ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร โดย “กองทุน SPDR GOLD TRUST” มีนโยบายมุ่งเน้นลงทุนในทองคำแท่ง เพื่อสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับผลตอบแทนของราคาทองคำหักด้วยค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกองทุน

 

“แม้ว่ากองทุนทองคำของทุก บลจ.จะไปลงทุนในกองทุนหลักคือกองทุน SPDR GOLD TRUST กองเดียวกันก็จริง แต่ผลการดำเนินงานของกองทุนทองคำที่ออกมาของแต่ละ บลจ.ก็ยังแตกต่างกันออกไป ซึ่งมาจากหลายปัจจัยด้วยกันแต่ที่สำคัญที่สุดคือ นโยบายเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน ในการป้องกันความเสี่ยงของค่าเงิน ซึ่งในบางช่วงอาจจะทำให้ผลการดำเนินงานของกองทุนทองคำต่างกันได้ 2 - 5% เลยทีเดียว”

 

ปัจจุบันกองทุนทองคำมีนโยบายเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ 3 ประเภท ด้วยกัน คือ

  1. กลุ่มที่ไม่มีการป้องกันความเสี่ยงในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน (NON HEDGE) ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ของกองทุนทองคำแม้ว่าบางกองทุนจะเปิดโอกาสให้ผู้จัดการกองทุนสามารถทำการป้องกันความเสี่ยงในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนได้ก็ตาม แต่ในภาวะปกติจะไม่มีการป้องกันความเสี่ยงในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเอาไว้
  2. กลุ่มที่มีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน (FULLY HEDGE) ซึ่งมีเพียง 2 กองทุน ได้แก่ “กองทุนเปิดเคโกลด์ (K-GOLD)” ของ บลจ.กสิกรไทย และ “กองทุนเปิดแอสเซทพลัสโกลด์ (ASPGOLD)” ของ บลจ.แอสเซท พลัส และ
  3. กลุ่มที่มีการป้องกันความเสี่ยงแบบไดนามิค (DYNAMIC HEDGING) มี 1 กองทุน ได้แก่ “กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล โกลด์ ฟันด์ (I-GOLD)” ของ บลจ.เอ็มเอฟซี

 

สานุพงศ์ ยังบอกอีกว่า “กองทุน SPDR GOLD TRUST” ยังเป็นกองทุน ETF ทองคำที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ถึง 4 ประเทศ ได้แก่ ตลาดหลักทรัพย์ “นิวยอร์ก” ตลาดหลักทรัพย์ “ญี่ปุ่น” ตลาดหลักทรัพย์ “ สิงคโปร์ ” และตลาดหลักทรัพย์ “ฮ่องกง” ซึ่งแต่ละ บลจ.อาจจะเลือกกองทุนที่จดทะเบียนในตลาดที่แตกต่างกันไปก็ส่งผลให้ผลการดำเนินงานแตกต่างกันได้เช่นเดียวกัน เพราะกองทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ต่างกันก็จะมีการใช้เงินลงทุนในสกุลเงินที่ต่างกันด้วย โดยกองทุนทองคำในไทยส่วนใหญ่จะเลือกไปลงทุนในกองทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ซึ่งซื้อขายไป “ฮ่องกงดอลลาร์” และตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ที่ซื้อขายเป็น “ดอลลาร์สหรัฐ” มากกว่า

 

จะมีเพียง “กองทุนเปิดทหารไทยโกลด์ฟันด์ (TMBGOLD)” ของบลจ.ทหารไทย เพียงกองทุนเดียวที่เลือกไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ซึ่งจะลิงก์ไปถึงในเรื่องของนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่ต่างกันของแต่ละกองทุนด้วย

 

การที่กองทุนทองคำในไทยเลือกลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงและสิงคโปร์เป็นส่วนใหญ่ ก็จะทำให้ราคาที่นำมาใช้ในการคำนวณมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (NAV) ของกองทุนใช้เวลาปิด (T) ของวันนั้นได้เลย เพราะอยู่ใน TIME ZONE เดียวกัน จะมีเพียงกองทุน TMBGOLD เท่านั้น ที่ต้องใช้ราคา ETF ที่นำมาคำนวณราคาเป็นวันทำการถัดไป คือ T+1 ก็ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ผลการดำเนินงานของกองทุนทองคำต่างกันได้ นอกจากนี้ปัจจัยเรื่องต้นทุนในการลงทุนในกองทุนทองคำต่างๆ ก็เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลให้ผลการดำเนินงานของกองทุนทองคำแม้จะลงทุนในกองทุนหลักเดียวกันออกมาแตกต่างกันได้

 

“อย่างไรก็ตามในมุมมองของนักวิเคราะห์กองทุนรวมเราแนะนำให้นักลงทุนเลือกลงทุนในกองทุนที่มีการป้องกันความเสี่ยงในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเป็นหลัก เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่อาจจะมากินผลตอบแทนจากการลงทุนในทองคำไปได้ และแนะนำให้เลือกลงทุนในกองทุนที่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการลงทุนต่ำ โดยปัจจุบันกองทุนทองคำที่บริษัทแนะนำได้แก่ กองทุน K-GOLD ของ บลจ.กสิกรไทยและ กองทุน I-GOLD ของ บลจ.เอ็มเอฟซี ซึ่งในแง่ของผลการดำเนินงานของกองทุนเองก็ถือว่าอยู่ในระดับที่ดีเช่นกัน”

 

 

 

 

@ กองทุนน้ำมัน

ปัจจุบันนอกจากกองทุนทองคำแล้ว สานุพงศ์ บอกว่า “กองทุนน้ำมัน” ถือเป็นกองทุนอีกประเภทที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนไทยค่อนข้างมาก และมีหลาย บลจ.ที่นำเสนอกองทุนน้ำมันเพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุน โดยกองทุนน้ำมันของทุก บลจ.ต่างไปลงทุนในกองทุนหลักกองเดียวกันนั่นก็คือ “กองทุน POWERSHARES DB OIL FUND” ซึ่งเป็นกองทุน ETF ที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ “นิวยอร์ก” ที่มีนโยบายลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบ WEST TEXAS INTERMEDIATE (WTI) เพื่อให้ได้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนี DEUTSCHE BANK LIQUID COMMODITY INDEX - OPTIMUM YIELD CRUDE OIL EXCESS RETURN ซึ่งเป็นดัชนีที่มุ่งสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าน้ำมันดิบ WTI บริหารจัดการโดย DB COMMODITY SERVICES LLC. ทั้งนี้การลงทุนในกองทุนหลักจะลงทุนในสกุลเงิน “ดอลลาร์สหรัฐ”

 

“แม้ว่ากองทุนน้ำมันของแต่ละ บลจ.จะไปลงทุนในกองทุนหลักกองเดียวกันก็ตาม แต่ผลการดำเนินงานก็แตกต่างกันได้เนื่องมาจากเหตุผลที่สำคัญ 2 เรื่องหลัก คือ

  1. นโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน และ
  2. การใช้ราคาในการคำนวณ NAV ที่แตกต่างกันของแต่ละ บลจ.นั่นเอง”

 

สานุพงศ์ อธิบายเพิ่มเติมว่า แม้ว่ากองทุนน้ำมันของทุก บลจ.จะไปลงทุนในกองทุนหลักกองเดียวกัน จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เดียวกัน และลงทุนในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเหมือนกันก็ตาม แต่รายละเอียดในเรื่องของนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของแต่ละ บลจ.จะแตกต่างกันออกไป ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือ

  1. กลุ่มที่ไม่มีการป้องกันความเสี่ยงในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน ( NON HEDGE) ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ของกองทุนทองคำแม้ว่าบางกองทุนจะเปิดโอกาสให้ผู้จัดการกองทุนสามารถทำการป้องกันความเสี่ยงในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนได้ก็ตาม แต่ในภาวะปกติจะไม่มีการป้องกันความเสี่ยงในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเอาไว้
  2. กลุ่มที่มีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน (FULLY HEDGE) ซึ่งมีเพียง 2 กองทุน ได้แก่ “กองทุนเปิดเคออยล์ (K-OIL)” ของบลจ.กสิกรไทย และ “กองทุนเปิดแอสเซทพลัสออยล์ (ASP-OIL)” ของ บลจ.แอสเซท พลัส และ
  3. กลุ่มที่มีการป้องกันความเสี่ยงแบบไดนามิค ( DYNAMIC HEDGING) มี 1 กองทุน ได้แก่ “กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล ออยล์ ฟันด์ (I-OIL)” ของ บลจ.เอ็มเอฟซี

 

“นโยบายป้องกันความเสี่ยงที่แตกต่างกัน ก็จะส่งผลต่อผลการดำเนินงานของกองทุนน้ำมันให้แตกต่างกันด้วยเช่นกัน”

 

อีกปัจจัยที่สำคัญได้แก่ การนำราคาที่มาใช้คำนวณ NAV ของกองทุน ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มหลัก คือ

  1. “ใช้ราคาคืนนี้” มี 4 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิด K-GOLD, กองทุนเปิด ASP-GOLD, “กองทุนเปิดซีมิโก้ ออยล์ แทรคกิ้ง ฟันด์ (S-OIL)” ของ บลจ.ซีมิโก้ และ “กองทุนเปิดทหารไทย ออยล์ฟันด์ (TMBOIL)” ของ บลจ.ทหารไทย และ
  2. “ใช้ราคาเมื่อคืน” มี 4 กองทุน ได้แก่ “กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล ออยล์ ฟันด์ (I-OIL)” ของ บลจ.เอ็มเอฟซี, “กองทุนเปิดกรุงศรีอออยล์ (KF-OIL)” ของ บลจ.อยุธยา, ”กองทุนเปิดทิสโก้ออยล์ฟันด์ (OIL-FUND)” ของ บลจ.ทิสโก้ และ “กองทุนเปิดเคแทม ออยล์ ฟันด์ (KT-OIL)” ของ บลจ.กรุงไทย

 

การใช้ราคาคืนนี้นักลงทุนก็ต้องรอให้ตลาดที่นิวยอร์กปิดก่อนถึงจะรู้ว่าจะซื้อหรือขายได้ที่ราคาเท่าไร ส่วนการใช้ราคาเมื่อคืนข้อดี คือนักลงทุนจะได้เห็นราคาที่จะซื้อหรือขายก่อน แต่ประเด็นที่น่ากังวลคือในภาวะที่ราคาน้ำมันมีความผันผวนอาจไม่เป็นผลดีต่อกองทุนได้เช่นกัน ยกตัวอย่างสมมติเมื่อคืนราคาน้ำมันปิดที่ 70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล นักลงทุนเข้าไปซื้อวันนี้เห็นแล้วว่าตัวเองจะซื้อได้ที่ราคา 70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล แต่กว่าจะเข้าไปซื้อนั้นมีกระบวนการในการลงทุนอยู่ มาวันนี้ราคาน้ำมันเป็น 76 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ณ วันที่ลงทุน กองทุนอาจจะต้องไปซื้อหน่วยในราคาที่แพงขึ้นเพราะไม่ใช่ 70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลแล้ว

 

นั่นอาจจะทำให้ผู้ที่ลงทุนอยู่เดิมและไม่มีการซื้อขายหน่วยเสียประโยชน์ไปได้ เพราะกองทุนอาจจะต้องใช้เงินมากขึ้นเพื่อไปซื้อหน่วยลงทุนมาให้กับผู้ลงทุนที่สั่งซื้อที่ราคา 70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เป็นต้น ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อ NAV ของกองทุนได้ในภาวะที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกผันผวน ดังจะเห็นได้จากผลการดำเนินงานของกองทุน OIL-FUND ของ บลจ.ทิสโก้ที่ออกมาไม่ค่อยดีนักในช่วงที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งก็เกิดจากปัญหาดังกล่าวนี้เช่นกัน ถ้านักลงทุนจะลงทุนในกองทุนน้ำมันที่ใช้ “ราคาเมื่อคืน” ในการคำนวณ NAV ก็ต้องรับความเสี่ยงในเรื่องดังกล่าวนี้เอาไว้ด้วยเช่นกัน

 

“สำหรับนักลงทุนที่สนใจจะลงทุนในกองทุนน้ำมัน บริษัทแนะนำให้เลือกลงทุนในกองทุนที่มีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเพราะมองในระยะยาวค่าเงินดอลลาร์ยังมีแนวโน้มอ่อนค่าลงต่อเนื่องเมื่อเทียบกับค่าเงินบาท และควรเลือกกองทุนที่ใช้ราคาคืนนี้ในการคำนวณมากกว่าเพื่อจะได้ไม่ต้องมาแบกรับความเสี่ยงในเรื่อง NAV ที่ผันผวนในกรณีที่ราคาน้ำมันมีความผันผวนมาก นอกจากนี้ยังควรเลือกลงทุนในกองทุนที่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต่ำในการลงทุนด้วย โดยปัจจุบันกองทุนน้ำมันที่บริษัทแนะนำให้ลงทุนได้แก่ กองทุน K-OIL และกองทุน I-OIL ซึ่งในแง่ของผลการดำเนินงานก็อยู่ในเกณฑ์ดี”

 

 

@ แนะเล่นรอบทองคำ-น้ำมัน

สานุพงศ์ ยังกล่าวอีกว่า จากปัญหาความกังวลในเรื่องหนี้ของยุโรปในช่วงที่ผ่านมา ทำให้นักลงทุนหันไปถือครองสินทรัพย์ที่ปลอดภัย (SAFE HEAVEN) ทั้งทองคำและดอลลาร์สหรัฐมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมาจึงทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเช่นเดียวกับราคาทองคำที่ปรับตัวสูงขึ้น จะเห็นได้จากปริมาณการถือครองทองคำของกองทุน SPDR ซึ่งเป็นกองทุนทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีการถือครองทองคำเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2553 ที่ผ่านมาจนทำสถิติสูงสุดที่ 1,306.14 ตัน (ณ วันที่ 11 มิ.ย.2553) ที่ผ่านมา และหากปัญหาหนี้ในยุโรปยังมีความต่อเนื่องก็มีความเป็นไปได้ที่จะทำให้ปริมาณการถือครองทองคำปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ต่อเนื่องเช่นเดียวกัน ซึ่งสอดคล้องกับมุมมองของนักวิเคราะห์ในตลาดทองคำที่มองราคาทองคำในปี 2554 สูงกว่าปี 2553 ทั้งสิ้น แสดงถึงทิศทางขาขึ้นของทองคำชัดเจน โดยราคาทองคำได้ขึ้นมาทดสอบแนวต้าน 1,250 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ มา 2 ครั้งแล้วแต่ไม่ผ่าน

 

“ดังนั้นแนะนำนักลงทุนรอเข้าลงทุนในกองทุนทองคำเมื่อราคาทองคำอ่อนตัวลงมา ต่ำกว่า 1,200 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ โดยมีแนวรับที่น่าสนใจที่ 1,160 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ แต่ที่ผ่านมาราคาทองคำก็ไม่เคยลงมาถึงระดับนี้เลย พอแตะ 1,170 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ก็เด้งกลับตลอด ดังนั้นนักลงทุนที่สนใจอาจจะรอรับหากหลุดระดับ 1,200 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ลงมาแล้วเป็นสำคัญ เพื่อรอราคาขึ้นไปทดสอบแนวต้านสำคัญที่ 1,250 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์อีกครั้ง อย่างไรก็ตามจะเห็นว่าไม่มีนักวิเคราะห์รายใดมองราคาทองคำต่ำกว่า 1,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์เลย โดยในปี 2554 มีมองสูงสุดที่ 1,425 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ และต่ำสุด 1,150 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์”

 

ส่วนราคาน้ำมันเองก็ปรับตัวลดลงจากความกังวลปัญหาหนี้ในยุโรปที่อาจจะกระทบต่อปริมาณความต้องการใช้ในอนาคต แต่บริษัทยังมองกรอบราคาน้ำมันปีนี้เคลื่อนไหวระดับ 75 - 85 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่จะทำให้ปริมาณความต้องการใช้น้ำมันปรับตัวสูงขึ้นนั่นเอง โดยในช่วงที่ผ่านมาราคาน้ำมันลงไปต่ำกว่า 70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล แต่ปัจจุบันก็เด้งกลับมายืนอยู่ที่ระดับ 76 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล อยู่ในกรอบที่มองไว้ได้อีกครั้ง และมีแนวต้านถัดไปที่ 82 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล

 

“ทั้งนี้จะเห็นว่าสถาบันต่างๆ ได้มีการปรับเพิ่มคาดการณ์ราคาน้ำมันในเดือนพ.ค.2553 ขึ้นจากเดือนก.พ.2553 ทั้งสิ้นในทุกไตรมาส สะท้อนถึงแนวโน้มทิศทางราคาน้ำมันขาขึ้นได้เป็นอย่างดี นักลงทุนจึงสามารถเข้าไปลงทุนในกองทุนน้ำมันและกองทุนทองคำในลักษณะของการเล่นรอบได้ อย่างไรก็ตามคาดการณ์ราคาน้ำมันในกรอบ 75 - 85 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล นี้ บนสมมติฐานที่ปัญหาหนี้จำกัดวงในกลุ่ม PIGS เท่านั้น แต่หากขยายวงไปทั่วยุโรป เราอาจจะได้เห็นราคาน้ำมันกลับไปอยู่ที่ระดับ 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เหมือนในช่วงวิกฤติที่ผ่านมาอีกครั้งก็ได้”

 

 

@ แนวโน้มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น

โดยสานุพงศ์ มองว่า ในอนาคต “กองทุนทองคำ” และ “กองทุนน้ำมัน” มีแนวโน้มจะได้รับความนิยมจากนักลงทุนเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันต้องยอมรับว่านักลงทุนผ่านกองทุนรวมส่วนใหญ่ยังคงเน้นการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้เป็นหลัก ในส่วนของกองทุนหุ้นเองก็มีกลุ่มผู้ลงทุนกลุ่มหนึ่งเท่านั้นที่ลงทุนอยู่ไม่ได้เป็นกลุ่มนักลงทุนในวงกว้างเหมือนกองทุนตราสารหนี้ การเติบโตของกองทุนหุ้นเองจึงมีค่อนข้างจำกัด ในส่วนของนักลงทุนผ่านกองทุนรวมเองปัจจุบันเม็ดเงินที่ลงทุนผ่านกองทุนทองคำและกองทุนน้ำมันก็ยังเป็นสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับสินทรัพย์ของธุรกิจกองทุนรวมทั้งหมด หากนักลงทุนแบ่งเงินมาลงทุนในกองทุนทองคำและกองทุนน้ำมันมากขึ้นก็จะทำให้กองทุนทั้ง 2 มีโอกาสเติบโตขึ้นได้อีกมากทีเดียวในอนาคต

 

สำหรับนักลงทุนที่ลงทุนในหุ้นโดยตรงผ่านโบรกเกอร์เขาก็ไม่ชอบที่จะมาลงทุนในหุ้นผ่านกองทุนรวมแม้จะเป็นการลงทุนผ่านกองทุนที่ไปลงทุนในต่างประเทศ (FIF) ที่เป็นกองทุนหุ้นก็ตาม เพราะเขามีช่องทางการลงทุนในหุ้นรายตัวในต่างประเทศได้แล้วในปัจจุบันก็มักจะไปเลือกใช้ช่องทางนั้นมากกว่าถ้าจะไป แต่ “กองทุนทองคำ” และ “กองทุนน้ำมัน” กลับเป็นโปรดักท์ที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนกลุ่มที่ลงทุนในหุ้นโดยตรงเพราะ “เข้าใจง่าย” และ “สะดวกในการลงทุน”

 

“แม้ปัจจุบันจะมีโกลด์ ฟิวเจอร์ส (GOLD FUTURES) แต่ก็เหมือนเป็นโปรดักท์ใหม่ที่ต้องเรียนรู้และอาจมีความยุ่งยากในการทำความเข้าใจสำหรับนักลงทุนที่ลงทุนในหุ้นโดยตรงกลุ่มเดิม แทนที่เขาจะไปลงทุนในโกลด์ ฟิวเจอร์ส ส่วนหนึ่งจึงหันมาลงทุนในโกลด์ สปอท (GOLD SPOT) ผ่านกองทุนทองคำแทน ในกรณีของน้ำมันก็เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามทั้งทองคำและน้ำมันจัดเป็น “สินทรัพย์เสี่ยง” เช่นเดียวกับการลงทุนในหุ้น ดังนั้นนักลงทุนควรจะมีการจัดสรรเงินลงทุนอย่างเหมาะสมเพื่อลงทุนเช่นเดียวกัน”

 

ปัจจุบัน “กองทุนทองคำ” และ “กองทุนน้ำมัน” ได้รับความสนใจจากนักลงทุนเพิ่มขึ้นตามลำดับ เชื่อว่าข้อมูลเหล่านี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนในการตัดสินใจเลือกกองทุนเพื่อลงทุนได้ดียิ่งขึ้น

ถูกแก้ไข โดย Meaw_Joe

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตามมาอ่านข้อมูลแน่น ๆของคุณเหมียวโจ้ครับ

 

กองทุนน้ำมันที่ใช้ราคาเมื่อคืน แต่ความเป็นจริงกองทุนก็ต้องเอาเิงินไปซื้อราคาในปัจจุบันอยู่ดีอย่างที่คุณเหมียวโจ้บอก เท่ากับต้องซื้อขาดทุน ก็เลยต้องเอาไปเฉลี่ยลดค่า nav จากกองทุนซึ่งเป็นเงินของนักลงทุนที่ซื้อมาก่อนแล้วนั่นเอง ดังนั้น คนที่ซื้อแบบถือยาวจึงเสียเปรียบเพราะจะถูกเอาเงินไปเฉลี่ยให้คนที่เพิ่งเข้าซื้ออยู่ตลอดเวลา นี่คืออีกเหตุผลหนึ่งสำหรับผมที่ต้องเล่นรอบในระยะสั้นมาก แบบชักสั้นขยันซอยนั่นเอง เพราะถ้าถือยาวเมื่อไหร่ก็เท่ากับว่าเอาเงินที่ลงไว้ไปช่วยโปะซื้อให้คนที่เิพิ่งซื้อใหม่ตลอดเวลา แล้วตูจะเอาเงินเก็บในกองทุนไว้ยาว ๆ ทำไมฟะ (ขอยืมสำนวนคัน ๆ คุณเหมียวโจ้หน่อย อิอิ) พอกำไรหน่อยก็เผ่นออก แล้วค่อยเข้าใหม่ไปเรื่อย ๆ เท่ากับได้เงินเพิ่มช่วยซื้อจากคนที่ถือยาว ๆ มาช่วยซื้อให้เราใหม่ทุกครั้งที่เข้ารอบใหม่อีกด้วย กำไรทั้งขึ้นทั้งล่อง อิอิ

(อันนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ อาจจะผิดก็ได้ คนที่ตั้งใจถือยาว ๆ อย่าเพิ่งหนาวไปหละ)

:ph34r:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตามมาอ่านข้อมูลแน่น ๆของคุณเหมียวโจ้ครับ

 

กองทุนน้ำมันที่ใช้ราคาเมื่อคืน แต่ความเป็นจริงกองทุนก็ต้องเอาเิงินไปซื้อราคาในปัจจุบันอยู่ดีอย่างที่คุณเหมียวโจ้บอก เท่ากับต้องซื้อขาดทุน ก็เลยต้องเอาไปเฉลี่ยลดค่า nav จากกองทุนซึ่งเป็นเงินของนักลงทุนที่ซื้อมาก่อนแล้วนั่นเอง ดังนั้น คนที่ซื้อแบบถือยาวจึงเสียเปรียบเพราะจะถูกเอาเงินไปเฉลี่ยให้คนที่เพิ่งเข้าซื้ออยู่ตลอดเวลา นี่คืออีกเหตุผลหนึ่งสำหรับผมที่ต้องเล่นรอบในระยะสั้นมาก แบบชักสั้นขยันซอยนั่นเอง เพราะถ้าถือยาวเมื่อไหร่ก็เท่ากับว่าเอาเงินที่ลงไว้ไปช่วยโปะซื้อให้คนที่เิพิ่งซื้อใหม่ตลอดเวลา แล้วตูจะเอาเงินเก็บในกองทุนไว้ยาว ๆ ทำไมฟะ (ขอยืมสำนวนคัน ๆ คุณเหมียวโจ้หน่อย อิอิ) พอกำไรหน่อยก็เผ่นออก แล้วค่อยเข้าใหม่ไปเรื่อย ๆ เท่ากับได้เงินเพิ่มช่วยซื้อจากคนที่ถือยาว ๆ มาช่วยซื้อให้เราใหม่ทุกครั้งที่เข้ารอบใหม่อีกด้วย กำไรทั้งขึ้นทั้งล่อง อิอิ

(อันนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ อาจจะผิดก็ได้ คนที่ตั้งใจถือยาว ๆ อย่าเพิ่งหนาวไปหละ)

:ph34r:

 

จ๊ากกก หนาวสิคะ เพราะนิสัยชอบซื้อถือยาวนี่แหละ เลยต้องเลิกเล่นไม่อยากขาดทุนเพราะไปถมให้ผู้ซื้อรายใหม่ เคยอธิบายไปนานแล้ว ( K-ASSET เคยแย้มๆข้อเสียให้ฟัง) เลยทดลองเล่นเปรียบเทียบ สรุปพอถือยาว กองทุนแบบ K OIL เลยได้ผลตอบแทนดีกว่า AYF OIL (เหมือน KT OIL แต่ค่าธรรมเนียมแพงกว่าเยอะค่ะ และการประกันอัตราแลกเปลี่ยนก็มีส่วนนะคะ)

ยิ่งมาเจอลูกเล่นของ DBO ยิ่งหนาวหนักขึ้นอีก

เดี๋ยวไปดักเก็บหุ้น PTT ดีกว่า

ถูกแก้ไข โดย ปุณณ์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณค่ะ คุณเหมียวโจ ถ้าอ่านบทความนี้ก่อน พี่ปุณณ์คงไม่ล้างกองทุนน้ำมัน เลิกเล่นไปตั้งแต่ปีที่แล้ว

ตอนนี้ถ้าจะเล่นใหม่ต้องขยันแบบคุณงูดิน ไม่รู้จะไหวหรือเปล่า

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับ กำลังเริ่มจะสนใจเรื่องกองทุนละ (น้ำมันหรือทอง..ไหนดีกว่าครับ) :)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผมเคยซื้อกองทุน k-oil ได้กำไรมานิดหน่อย ข้อเสียก็คือเวลาเห็นกำไรอยู่ดีๆ พอส่งคำสั่งขายคืน กว่าจะได้ราคาต้องใช้เวลานาน บางทีกำไรกลายเป็นขาดทุนก็มีครับ ตอนนี้ไม่ค่อยมีเวลาติดตามเลยไม่ได้ซื้ออีก

 

ที่มีอยู่ก็ k-gold k-set50 พอไปได้

 

gf ได้บ้างเสียบ้างส่วนมาจะเสียมากกว่า เป็นเพราะว่าชอบไป short ราคาไทยไม่ค่อยชอบ short ครับ ราคาที่ได้ก็เลยไม่ค่อยดี ถ้า Short ต้อง short(สั้นมาก)จริงๆ

หุ้นกลุ่มพลังงานบางตัว เก็บกำไรกับเงินปันผล ช่วงนี้เป็นขาขึ้นของหุ้นนะครับ กำลังดีอยู่

 

ทั้งหมดเป็นเห็นส่วนตัวครับ

ขอให้ทุกคนมีกำไรงามๆนะครับ สู้สู้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เมี้ยวๆๆๆ !37

 

ถ้าได้อ่านคอลัมน์นี้เมื่ออาทิตย์ที่แล้วในนสพ.ไทยรัฐ จะพบว่าประวัติศาสตร์มักซ้ำรอยเดิมอยู่เสมอๆ แสดงว่ายังมะเข็ด !_01

 

ธนบัตรใบแรกของโลก

 

คอลัมน์ นสพ. ไทยรัฐ: "คัมภีร์ จาก แผ่นดิน"

วันที่: วันอาทิตย์ที่ 27 มี.ค. 54

 

ปกหนังสือชื่อ ต้นกำเนิด 100 สิ่งแรกของโลก ชื่อภาษาอังกฤษ THE GENIUS OF CHINA (สำนักพิมพ์มติชน โรเบิร์ต เทมเพิล เขียน ดร.พงศาล มีคุณสมบัติ แปล) มีคำเหมือนโฆษณายั่วใจว่า เชื่อหรือไม่! สิ่งประดิษฐ์ยิ่งใหญ่ ในทุกวันนี้ ล้วนมีรากฐานมาจากจีนโบราณ

 

นักเลงหนังสือส่วนใหญ่ คงเคยอ่านกันมาบ้าง การเดินเรือสำรวจโลก เข็มทิศ กระดาษ เครื่องวัดแผ่นดินไหว ฯลฯ จีนค้นคิดและทำก่อนประเทศใดในโลก

 

ในหนังจีนกำลังภายใน หลายเรื่องมีการใช้ตั๋ว เงินกระดาษ และความจริงก็เป็นเช่นนั้น จีนเริ่มใช้ เงินกระดาษมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 8 หรือต้นศตวรรษ ที่ 9 หรือเมื่อกว่าพันปีที่แล้ว

 

ชื่อดั้งเดิมของเงินกระดาษ คือเงินปลิว มันเบามากจนถูกพัดปลิวหลุดมือได้ เงินกระดาษฉบับแรกคือตั๋วแลกเงิน มากกว่าจะเป็นเงินจริงๆ พ่อค้าฝากเงินสดของเขาไว้ที่เมืองหลวง แล้วรับกระดาษเอกสารรับรองเอาไปแลกเป็นเงินสดในมณฑลอื่นได้

 

กิจการนี้เริ่มโดยเอกชนในมณฑลซื่อชวนตอนใต้ รัฐบาลแต่งตั้งธุรกิจเอกชน 16 ราย (หรือธนาคาร) ให้ออกเอกสารแลกเปลี่ยน จนถึงปี 1023 รัฐบาลก็ดึงอำนาจคืนจากเอกชน ตั้งตัวแทนจากรัฐขึ้นมาออกธนบัตรหน่วยเงินต่างๆ ที่มีเงินสดสำรองที่ฝากไว้รองรับ

 

เราจึงอาจบันทึกได้ว่า ธนาคารของรัฐที่มีสกุล เงินสำรองแห่งแรกของโลก เกิดขึ้นในปี 1023

 

เงินที่ออกโดยธนาคารนี้ มีข้อความพิมพ์อยู่ในธนบัตรว่า ใช้ได้เพียงสามปี จนถึงศตวรรษที่ 19 ในปี 1107 ธนบัตรเริ่มพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์หลายอัน มีสีไม่น้อยกว่าหกสี

 

การออกเงินกระดาษโดยรัฐบาลเป็นเรื่องใหญ่

 

ปี 1126 มีการออกเงินกระดาษจำนวนเจ็บสิบล้านเส้น (แต่ละเส้นเท่ากับเงินสด 1,000 เหรียญ) แต่เงินกระดาษเหล่านี้ไม่มีการรับรองด้วยมูลค่าสำรองใดๆ จึงเกิดสภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง

 

ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาคือการปลอมแปลง เงินกระดาษถูกกระตุ้นให้เกิดการปลอมแปลง เนื่องจากมูลค่าของมันไม่อยู่ที่เนื้อสสาร (เหมือนเงินเหรียญ) แต่อยู่ที่อำนาจที่ได้รับมอบหมาย

 

ทางราชการต้องทำให้กระบวนการผลิตเงินกระดาษซับซ้อน จนไม่มีใครสามารถพิมพ์ออกมาได้เหมือน มีการรักษาความลับในการผลิตอันซับซ้อนไว้ ตั้งแต่ช่วงต้นที่มีเงินกระดาษ ซึ่งรวมการพิมพ์แบบหลายสี การใช้ ลวดลาย และส่วนผสมเฉพาะที่อยู่ในเยื่อกระดาษ

 

วัสดุพื้นฐานที่ใช้ทำกระดาษ คือเปลือกต้นสา บางทีมีการผสมผ้าไหมลงไปด้วย

 

ปี 1183 มีเรื่องเล่าถึงคดีปลอมแปลงธนบัตร ช่างแกะสลักแม่พิมพ์เอกคนหนึ่งใช้เวลาเพียงสิบวัน พิมพ์ธนบัตรปลอม 2,600 ใบ ในช่วงเวลาหกเดือนก่อน เมื่อถูกจับ เขามีโทษถึงประหารชีวิต

 

เมื่อชาวมองโกลครองอำนาจในจีน มีการออกเงินกระดาษแปลกๆ ที่เรียกว่าธนบัตรผ้าไหม สิ่งที่สำรองในการออกเงินตราสกุลนี้ไม่ใช่โลหะมีค่า แต่เป็นมัดเส้นด้ายไหม เงินรุ่นเก่าต้องนำมาแลกเป็นธนบัตรผ้าไหม ปี 1294 มีการใช้ธนบัตรผ้าไหมของจีนไปไกลถึงเปอร์เซีย

 

ปี 1375 สมัยราชวงศ์หมิง มีการออกธนบัตรใหม่ มีมูลค่าเดียวตลอดเวลาสองร้อยปี การกำหนดค่าแบบนี้ ไม่สะดวกต่อการค้าใดๆ แม้จะอนุญาตให้ใช้เหรียญทองแดง สำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ธนบัตรอันมีค่าเหล่านี้ค่อยๆเสื่อมมูลค่าจากสภาวะเงินเฟ้อ และถูกแทนที่ด้วยสินแร่เงิน

 

หลังจากผลิตพลาดมาร่วมสองศตวรรษ ราชวงศ์หมิงพยายามนำเงินกระดาษกลับมาใช้ใหม่ แต่ วิธีการใช้ก็แย่มาก จนทำให้เกิดสภาวะเงินเฟ้อครั้งใหญ่

 

ในที่สุดการใช้เงินกระดาษระดับชาติก็เสื่อมความนิยมลง จนกระทั่งมหาอำนาจยุโรป

 

นำเงินกระดาษกลับมาใช้ใหม่ และใช้กันยั่งยืนมาถึงปัจจุบัน.

 

 

...

 

บาราย

ถูกแก้ไข โดย Meaw_Joe

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...